RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181511
ทั้งหมด:13492749
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความรู้พื้นฐาน,ความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับระบบราง โดย นพ-พะ-ไนท์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความรู้พื้นฐาน,ความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับระบบราง โดย นพ-พะ-ไนท์
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 20/11/2013 10:50 pm    Post subject: ความรู้พื้นฐาน,ความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับระบบราง โดย นพ-พะ-ไนท์ Reply with quote

หลังจากที่เขียนข้อมูลลงในเพจของสาขามาซักพักนึง อาจารย์ตุ้ยได้มีความเห็นว่า ควรนำมาลงไว้ในเว็บดีกว่าปล่อยให้หายไปในเฟซบุ๊ค(แถมไว้ในเว็บอ่านง่ายกว่า) ตอนนี้คิดว่ามีพร้อมในระดับนึงจึงขอเปิดกระทู้ความรู้นี้ไว้ในเว็บนะบัดนี้

ฝากเพจของสาขาซักหน่อย (โฆษณาแฝง อิอิอิ) https://www.facebook.com/RailEng.KMITL
_________________
Click on the image for full size


Last edited by KnGEA4539 on 20/11/2013 10:57 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 20/11/2013 10:54 pm    Post subject: Reply with quote

ขอเริ่มต้นด้วย รถไฟความเร็วสูงเลยแล้วกันครับ

คำจำกัดความของรถไฟความเร็วสูง
คำจำกัดความของรถไฟความเร็วสูงมีหลายคำจำกัด แต่หลักๆแล้วมีแค่ 3 คำหลักๆ
คำจำกัดความของสหภาพยุโรป รถไฟความเร็วสูงจะต้องมี 3 องค์ประกอบหลักคือ
1.มีเส้นทางวิ่งแยกคุณภาพสูงต่างหาก
2.ตัวรถจะต้องวิ่งด้วนความเร็วอย่างต่ำ 250 km/h ในเส้นทางแยกต่างหากและต้องวิ่งเร็วได้ถึง 200 km/h ในทางเก่าที่ปรับปรุงแล้ว
3.ตัวรถต้องมีความปลอดภัยและมีคุณภาพ

คำจำกัดความของสหภาพรถไฟระหว่าประเทศหรือ UIC จะใช้คำจำกัดความเดียวกับยุโรป แต่รถไฟความเร็วสูงของ UIC จะจัดออกเป็น 2 แบบคือ High Speed (160-200 km/h) และ Very High Speed (200 km/h ขึ้นไป) โดยคุณภาพและความปลอดภัยของรถจะต้องสูงขี้นตามความเร็ว แต่บางประเทศก็มีรถไฟที่วิ่งได้ 200 km/h แต่ไม่ถูกจัดให้เป็น High Speed เช่น รถ IC ของเยอรมัน และรถด่วนของฝรั่งเศส

คำจำกัดความของสหภาพรถไฟอเมริกา รถไฟความเร็วสูงจะต้องมีความเร็วไม่ต่ำกว่า 110 mph (177 km/h) ขึ้นไป

ประวัติของรถไฟความเร็วสูง
เมื่อถนนหลวงและการบินเริ่มมีบทบาทในการขนส่งมากขึ้น คนเริ่มใช้รถไฟน้อยลง ทำให้มีการคิดรถไฟที่ทำความเร็วสูงๆขึ้น โดยเริ่มแรกเยอรมันได้ทำรถไฟฟ้าที่ทำความเร็วได้ 210.2 km/h ขึ้น หลังจากนั้นเยอรมันจึงได้ทำการปรับปรุงเส้นทางและนำรถไฟที่วิ่งได้ 160 km/h และใช้ Jacobs bogie(โบกี้แบบคร่อม 1 โบกี้จะรับตู้โดยสาร 2 ตู้ ตัวโบกี้จะอยู่แทนที่ขอพ่วง แยกตู้ออกจากกันไม่ได้ ต้องใช้เครื่องมือในการแยก) ก่อนฝรั่งเศสถึง 47 ปี

ส่วนอังกฤษได้ทำความเร็วเป็นสถิติโลกของรถจักรไอน้ำ โดยใช้รถจักรไอน้ำแบบ A4 วางล้อแบบ Pacific (4-6-2) หมายเลข 4468 ชื่อ Mallard วิ่งพร้อมตู้โดยสาร 6 ตู้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 126 mph แต่หลังการทุบสถิติหม้อน้ำได้พัง และเป็นสถิติครั้งสุดท้ายของรถจักรไอน้ำ

สถิติของรถไฟความเร็วสูงมาก (Very High Speed) ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 1954 ในประเทศฝรั่งเศส โดยใช้รถจักรไฟฟ้า CC 7100 วิ่งทดสอบ สถิติครั้งแรกอยู่ที่ 243 km/h แต่สุดท้ายก็ถูกจัดให้อยู่ในรถไฟฟ้าแบบหัวรถจักร

รถไฟความเร็วสูงที่ให้บริการจริงครั้งแรกของโลกเกิดที่ญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นพัฒนา Shinkansen ขึ้น โดย Shinkansen รุ่น 1000 ซึ่งเป็นรุ่นทดสอบและรุ่นต้นแบบทำสถิติโลกได้ที่ 256 km/h เมื่อปี 1962 หลังจากนั้นปี 1963 จึงมีการบริการเชิงพาณิช โดยใช้ Shinkansen รุ่น 0 ซึ่งวิ่งจำกัดไว้ที่ 220 km/h มาให้บริการ ซึ่งปัจจุบัน Shinkansen เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงที่ประสบความสำเร็จและมีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในโลก (เดี๋ยวแอดมินเหลืองจะมาเล่าเรื่อง Shinkansen อีกรอบนึง)

ในยุโรปและอเมริกาเองก็เริ่มกลับสู่งสังเวียนรถไฟความเร็วสูงอีกครั้ง โดยเมื่อปี 1965 เยอรมันได้เปิดเดินขบวนรถด่วนใช้รถจักรไฟฟ้า DB Class 103 ลากด้วยความเร็ว 200 km/h และในปี 1966 ฝรั่งเศสได้เปิดเดินขบวนรถด่วนใช้รถจักรไฟฟ้า SNCF Class BB 9200 ลากด้วยความเร็ว 200 km/h เช่นกัน ส่วนในอเมริกาได้มีการเปิดเดินขบวนรถ Metroliner โดยใช้ความเร็ว 200 km/h ในปี 1969 และอังกฤษได้เปิดเดินรถไฟดีเซลความเร็วสูง InterCity 125 ซึ่งก็ใช้ความเร็ว 200 km/h เช่นกัน

การวิวัฒนาการและการแข่งขันความเร็ว
เริ่มแรก การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในยุโรป เมื่อฝรั่งเศสได้สร้าง TGV 001 ขึ้นในปี 1977 โดยประกอบด้วย 8 ตู้ 2 รถกำลังไฟฟ้า และใช้ Jakobs bogies และต่อมาได้มีการสร้าง TGV Sud-Est และนำไปให้บริการในปี 1981 ด้วยความเร็ว 260 km/h และทำลายสถิติโลกที่ 380 km/h ในปีเดียวกัน
ต่อมาในปี 1988 เยอรมันได้สร้าง ICE-V ขึ้นและทำลายสถิติของฝรั่งเศสด้วยความเร็ว 406 km/h และสร้าง ICE 1 ขึ้นเพื่อเอาไปให้บริการด้วยความเร็ว 280 km/h

ในปี 1992 สเปนได้มีการสร้างรถไฟความเร็วสูง AVE โดยใช้เทคโนโลยีของฝรั่งเศส และในปีต่อๆมารถไฟความเร็วสูงจึงแพร่ไปยังเกือบทุกประเทศในยุโรป

ในอเมริกาเองก็มีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของตนเองโดยทำการซื้อรถไฟความเร็วสูง X2000 ของสวีเดนซึ่งมีเทคโนโลยี tilting train และ ICE 1 ของเยอรมัน จากนั้นจึงทำการวิจัยและได้รถไฟความเร็วสูง Acela Express ในปี 2000 โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 241 km/h และเป็นรถแบบ tilting train

ในเอเชียตะวันออก หลังจากที่ญี่ปุ่นให้บริการรถไฟความเร็วสูงในปี 1964 ก็ไม่มีประเทศอื่นในเอเชียเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงเลยจนกระทั่งปี 2004 เกาหลีใต้ได้มีการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงขึ้นโดยซื้อ TGV R?seau ของฝรั่งเศสมาใช้ และตอนนี้เกาหลีเองก็ทำรถไฟความเร็วสูงของตนเองมาใช้เรียบร้อยแล้ว

ส่วนในประเทศจีน โครงการรถไฟความเร็วสูงเริ่มขึ้นในปี 2003 และปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีระยะทางยาวที่สุดในโลก โดยจีนมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั้งสิ้น 4 ระบบ คือของอเมริกา เยอรมัน ญี่ปุ่น และของจีนเอง ซึ่งในปี 2008 จีนได้เปิดเดินรถไฟความเร็วสูงที่มีความเร็วในการบริการสูงที่สุดในโลกคือ 350 km/h แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถไฟความเร็วสูงชนกันเมื่อปี 2011 จึงได้มีการลดความเร็วในการให้บริการเหลือ 300 km/h

ใต้หวันเป็นอีกที่ในเอเชียที่ใช้รถไฟความเร็วสูง และเป็นที่แรกที่ใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น(ประเทศที่สองเป็นจีนและประเทศที่สามคืออังกฤษ) โดยใช้ Shinkansen Series 700/T มาบริการ

อุบัติเหตุของรถไฟความเร็วสูงมีทั้งหมด 3 ครั้งใหญ่ๆด้วนกัน
1.The 1998 Eschede accident
เป็นอุบัติเหตุครั้งแรกของรถไฟความเร็วสูง และทำให้เยอรมันเปลี่ยนไปใช้ล้อรีดทึบทั้งหมด รถที่เกิดอุบัติเหตุเป็นรถ ICE 1 สาเหตุของอุบัติเหตุเกิดจากปลอกของล้อของโบกี้ที่ 2 ในตู้ที่ 1 ได้เกิดแตกเนื่องจากความเครืยดและความล้าของปลอกล้อเกินขีดจำกัด และพุ่งเสียบเข้าไปในห้องโดยสาร แต่ส่วนที่ยื่นของปลอกล้อได้ไปตีกับประแจด้วนความเร็ว 200 km/h ทำให้ประแจเปลี่ยนทิศทางและโบกี้ที่ 2 ของตู้ 3 ได้เปลี่ยนทางทำให้ตู้ที่ 4 ไปตีตีนสะพานและสะพานถล่มทำให้ทับตู้ที่ 6-16 มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 101 จากทั้งหมด 287 คน

2.The 2011 Wenzhou accident
เป็นอุบัติเหตุร้ายแรงครั้งที่ 2 ของรถไฟความเร็วสูง สาเหตุเกิดจากฟ้าผ่าและระบบอาณัติสัญญาณล้มเหลว โดยเมื่อไฟฟ้าดับ รถ CRH1 ซึ่งสร้างโดย Bombardier (ขบวนหน้า) ได้หยุดลงตามระบบของ Bombardier แต่รถ CRH2 (E2 Series Shinkansen ที่จีนซื้อมา) มีระบบไฟฟ้าสำรอง ทำให้รถ CRH2 ยังคงวิ่งต่อด้วยความเร็ว 100 km/h แต่เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณของรถทั้ง 2 รุ่นต่างกันทำให้สัญญาณอ่านไม่ตรงกัน รถ CRH2 จึงไม่เห็นรถ CRH1 ที่อยู่ข้างหน้าและชนกันในที่สุด มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 40 คนจาก 1,630 คน

3.The 2013 Santiago de Compostela accident
เป็นเหตุการณ์ล่าสุด เกิดที่สเปน โดยรถ RENFE Class 730 ซึ่งเป็นรถ hybrid diesel-electric มีรถกำลัง 4 คัน (ไฟฟ้า 2 คันดีเซล 2 คัน) วิ่งเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงกว่ากำหนด(กำหนดที่ 80 km/h แต่รถเข้ามาด้วยความเร็ว 190 km/h) ทำให้รถหลุดจากรางและกระแทกเข้ากับกำแพงคอนกรีต มีผู้เสียชีวิต 79 คนจากทั้งหมด 218 คน จากการสอบสวนพบว่าพนักงานขับรถได้คุยโทรศัพท์และด้วยอุโมงที่เหมือนกันหลายแห่งในเส้นทางทำให้สับสน ประกอบกับระบบความคุมรถอัตโนมัติต่ำกว่ามาตราฐานและไม่มีระบบหยุดรถอัตโนมัติในเส้นทาง ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงนี้ขึ้น

รถไฟที่เร็วที่สุดในโลก
เจ้าแห่งความเร็วปัจจุบันอยู่ที่ฝรั่งเศส โดยรถไฟที่เร็วที่สุดในโลกคือรถ Alstom TGV รุ่น POS หมายเลข 4402 และ 4410 ซึ่งทดสอบความเร็วในโครงการทุบสถิติโลก V150 (หมายถึง 150 m/s) โดยวันเมื่อวันที่ 3 เมษายนปี 2007 TGV POS ในโครงการ V150 ได้ทำการทดสอบความเร็วโดยสามารถทำสถิติโลกที่ 574.8 km/h บนเส้นทาง LGV Est ซึ่งโครงการ V150 นั้นประสบความสำเร็จเนื่องจากรถสามารถวิ่งได้เฉลี่ย 159.7 m/s เกินเป้าหมายมา 9.7 m/s

เพิ่มเติม http://en.wikipedia.org/wiki/High-speed_rail

ข้อมูลรถไฟความเร็วสูงที่มีทั่วโลก แต่อาจมีไม่ครบเพราะมีเยอะจริงๆครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_high-speed_trains

Click on the image for full size

รูป ICE-3 ซึ่งอยู่ในตระกูล Siemens Velaro ถ่ายโดยอาจารย์ตุ้ย
บรรยากาศและระบบขนส่งทางรางของเยอรมันสามารถดูได้จากกระทู้ของท่านอาจารย์ตุ้ย (โฆษณาแฝง อีกแล้ว)
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2692

http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2813
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 20/11/2013 11:09 pm    Post subject: Reply with quote

ต่อมาก็คือ "โบกี้"

โบกี้ (Bogies) ตามจริงแล้วคือแคร่ล้อหรือชุดล้อนั้นเอง ซึ่งใน 1 โบกี้จะมี 4 ล้อ 6 ล้อหรือมากกว่านั้นก็ได้(ขึ้นอยู่กับการใช้งาน) ซึ่งโดยทั่งไปรถไฟ 1 ตู้จะมี 2 โบกี้ ยกเว้นหัวรถจักรบางรุ่นอาจจะมีถึง 3 โบกี้ได้ในคันเดียว(ส่วนใหญ่ที่มี 3 โบกี้จะใช้ในทางภูเขาที่ชันและโค้งที่แคบมากๆ) โบกี้โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือแบบแหนบ/สปริง กับแบบแอร์สปริง ซึ่งแบบแอร์สปริงจะให้ความนุ่มนวลในการโดยสารกว่า ในโบกี้หนึ่งจะประกอบด้วย โครงโบกี้ เพลาล้อ หม้อเพลา ฐานใส่ห้ามล้อ/จานเบรค ตัวซับแรง(แหนบ/สปริง/แอร์สปริง) ออยแดมเปอร์ ฐานยึดโบกี้กับตู้ และมอเตอร์(ในกรณีเป็นรถจักร รถ DMU และรถ EMU) ถึงแม้คำว่าโบกี้จะเป็นคำที่ดูเข้าใจง่าย แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด

Click on the image for full size

โบกี้ของรถดีเซลราง ภาพจากแกลลอรี่รถไฟไทย http://gallery.rotfaithai.com/details.php?image_id=4436
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 20/11/2013 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

โบกี้ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ หรือไม่รู้ว่าเรียกโบกี้แบบนี้ว่าอะไร ซึ่งโบกี้แบบนี้มีในรถไฟหลายรุ่น นั่นคือ Jacobs Bogies

Jacobs Bogies เป็นโบกี้แบบ 1 โบกี้รองรับรถได้ 2 ตู้ โดยโบกี้จะอยู่แทนขอพ่วง คิดค้นโดยวิศวกรขนส่งทางรางชาวเยอรมัน ชื่อ Wilhelm Jakobs

Jacobs Bogies มีข้อดีคือ

1.ใช้กับรถที่มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำได้ดี เหมาะกับรถที่มีพื้นรถเตี้ย

2.เพิ่มความปลอดภัยในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เพราะรถจะยังคงอยู่ในแนวเดียวกัน ไม่เกิดอาการปีนและขดบีบกัน

3.ลดเสียงเบียดรางและเสียงล้อกระทบรางเนื่องจากล้อน้อยลง

4.น้ำหนักรถเบาลง เรียบง่าย และราคาสร้างรถไฟลดลง เพราะตัวโบกี้รองรับน้ำหนักสูง แพง และซับซ้อน แต่มีจำนวนโบกี้ลดลงมากจึงถูกกว่าเมื่อเทียบกับโบกี้แบบปกติ

ส่วนข้อเสียของ Jacobs Bogies ก็คือ

1.เป็นรถแบบเซตเกือบถาวร ไม่สามารถแยกรถออกจากกันได้ ต้องทำการสับเปลี่ยนตัดรถในโรงงานหรือโรงซ่อมเท่านั้น ไม่สะดวกในการซ่อมบำรุงกรณีรถเสียหายเป็นบางคัน

2.น้ำหนักกดเพลาจะสูงกว่ารถแบบโบกี้ปกติ เนื่องจากน้ำหนักที่เฉลี่ยลงเพลาของรถจะลดลง รถแบบโบกี้ปกติจะมี 4 เพลา แต่ Jacobs Bogies มี 2 เพลา ทำให้น้ำหนักกดเพลาของ Jacobs Bogies มีสูงกว่ารถแบบโบกี้ทั่วไป 2 เท่า เพราะเพลาที่หารน้ำหนักลดลง

ปัจจุบัน Jacobs Bogies มีใช้ในรถไฟความเร็วสูงหลายตระกูล เช่น TGV(ทุกรุ่น), Eurostar, Talgo 250, Talgo 350 และอีกหลายๆรุ่น

Click on the image for full size

ในรูปจะเป็น Jacobs Bogies ของ TGV รุ่น Sud-Est ของฝรั่งเศส

รูปจาก อ.ตุ้ย ครับ
_________________
Click on the image for full size


Last edited by KnGEA4539 on 21/11/2013 10:26 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 21/11/2013 1:45 pm    Post subject: Reply with quote

เทคโนโลยีรถเพิ่มองศาการเอียงเองได้ตอนเข้าโค้ง(Tilting train)

เนื่องจากเทคโนโลยีรถไฟเพิ่มความเร็วขึ้นในทุกๆยุคทุกๆปี จนเริ่มมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รถไฟต้องคอยลดความเร็วอยู่เรื่อยๆ นั้นคือทางโค้ง

ทางโค้งส่วนใหญ่นั้นเป็นโค้งแบบเก่า รัศมีแคบ องศาความเอียงน้อยทำให้แรงหนีศูนย์กลางมีสูง สำหรับรถไฟความเร็วสูงมันคือปัญหาเพราะไม่สามารถทำความเร็วได้ วิศวกรจึงได้เริ่มมีการคิดวิธีแก้เพื่อให้รถไฟสามารถเข้าโค้งได้ด้วยความเร็วสูง ซึ่งในการคิดนั้นมีสิ่งที่ทำได้ 2 วิธี คือ 1.แก้รัศมีความโค้งและความเอียงของโค้งซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลาเป็นอย่างมาก และ 2.ทำให้รถมันเอียงซะเลย ซึ่งก่อนมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงได้มีการคิดค้นแคร่ล้อ(โบกี้)แบบใหม่คือเทคโนโลยีแอร์สปริงค์

วิศวกรได้แนวคิดใหม่ในการเพิ่มและลดลมในแอร์สปริงค์ให้ไม่เท่ากันในขณะเข้าโค้งนั้นคือ Tilting train หลักการของระบบ Tilting train คือเมื่อรถวิ่งเข้าโค้ง ระบบคอมพิวเตอร์จะคำนวณองศาความเอียงที่เหมาะสมโดยที่รถไม่ต้องชะลอความเร็วลง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2-6 องศา (มากสุดที่ 8 องศา) Tilting train ส่วนใหญ่ในโลกจะเป็นรถดีเซลรางแบบชุด (Diesel Multiple Unit) และรถไฟฟ้ารางแบบชุด (Electric Multiple Unit) มีส่วนน้อยที่เป็นรถแบบ Push-Pull train เนื่องจากรถแบบชุดนั้นสั่งการได้ง่ายกว่า

ถึงแม้สุดท้ายเทคโนโลยี Tilting train จะไม่ได้ใช้กันรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด(เพราะส่วนใหญ่มีการสร้างทางต่างหากเพื่อไม่ให้ปนกับรถไฟธรรมดา) แต่ก็ยังมีรถไฟความเร็วสูงบางรุ่นและรถไฟด่วนหลายรุ่นใช้เทคโนโลยีนี้กันอย่างแพร่หลายและมีความสำคัญกับเทคโนโลยีรถไฟในอนาคต ประเทศที่มีเทคโนโลยีนี้ใช้ได้แก่ประเทศในสหภาพยุโรป อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย และมีใช้เยอะที่สุดที่ญี่ปุ่น

รูปข้างล่างเป็นรูปรถดีเซลรางแบบชุด (DMU) รุ่น KiHa 283 series ของ JR-Hokkaido ซึ่ง JR-Hokkaido มีรถดีเซลรางแบบ Tilting train มากที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งเส้นทางที่ใช้รถจะมีโค้งซึ่งส่วนใหญ่เป็นโค้งเดิมและไม่ถูกแก้ ส่วนใหญ่ใช้ในขบวนรถด่วน

Click on the image for full size

รูปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Tilting_train
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
tamz
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 01/10/2008
Posts: 457
Location: พัทยา

PostPosted: 21/11/2013 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

KnGEA4539 wrote:
เทคโนโลยีรถเพิ่มองศาการเอียงเองได้ตอนเข้าโค้ง(Tilting train)

เนื่องจากเทคโนโลยีรถไฟเพิ่มความเร็วขึ้นในทุกๆยุคทุกๆปี จนเริ่มมีการพัฒนารถไฟความเร็วสูง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้รถไฟต้องคอยลดความเร็วอยู่เรื่อยๆ นั้นคือทางโค้ง

ทางโค้งส่วนใหญ่นั้นเป็นโค้งแบบเก่า รัศมีแคบ องศาความเอียงน้อยทำให้แรงหนีศูนย์กลางมีสูง สำหรับรถไฟความเร็วสูงมันคือปัญหาเพราะไม่สามารถทำความเร็วได้ วิศวกรจึงได้เริ่มมีการคิดวิธีแก้เพื่อให้รถไฟสามารถเข้าโค้งได้ด้วยความเร็วสูง ซึ่งในการคิดนั้นมีสิ่งที่ทำได้ 2 วิธี คือ 1.แก้รัศมีความโค้งและความเอียงของโค้งซึ่งจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลาเป็นอย่างมาก และ 2.ทำให้รถมันเอียงซะเลย ซึ่งก่อนมีการสร้างรถไฟความเร็วสูงได้มีการคิดค้นแคร่ล้อ(โบกี้)แบบใหม่คือเทคโนโลยีแอร์สปริงค์

วิศวกรได้แนวคิดใหม่ในการเพิ่มและลดลมในแอร์สปริงค์ให้ไม่เท่ากันในขณะเข้าโค้งนั้นคือ Tilting train หลักการของระบบ Tilting train คือเมื่อรถวิ่งเข้าโค้ง ระบบคอมพิวเตอร์จะคำนวณองศาความเอียงที่เหมาะสมโดยที่รถไม่ต้องชะลอความเร็วลง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2-6 องศา (มากสุดที่ 8 องศา) Tilting train ส่วนใหญ่ในโลกจะเป็นรถดีเซลรางแบบชุด (Diesel Multiple Unit) และรถไฟฟ้ารางแบบชุด (Electric Multiple Unit) มีส่วนน้อยที่เป็นรถแบบ Push-Pull train เนื่องจากรถแบบชุดนั้นสั่งการได้ง่ายกว่า

ถึงแม้สุดท้ายเทคโนโลยี Tilting train จะไม่ได้ใช้กันรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด(เพราะส่วนใหญ่มีการสร้างทางต่างหากเพื่อไม่ให้ปนกับรถไฟธรรมดา) แต่ก็ยังมีรถไฟความเร็วสูงบางรุ่นและรถไฟด่วนหลายรุ่นใช้เทคโนโลยีนี้กันอย่างแพร่หลายและมีความสำคัญกับเทคโนโลยีรถไฟในอนาคต ประเทศที่มีเทคโนโลยีนี้ใช้ได้แก่ประเทศในสหภาพยุโรป อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย และมีใช้เยอะที่สุดที่ญี่ปุ่น

รูปข้างล่างเป็นรูปรถดีเซลรางแบบชุด (DMU) รุ่น KiHa 283 series ของ JR-Hokkaido ซึ่ง JR-Hokkaido มีรถดีเซลรางแบบ Tilting train มากที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งเส้นทางที่ใช้รถจะมีโค้งซึ่งส่วนใหญ่เป็นโค้งเดิมและไม่ถูกแก้ ส่วนใหญ่ใช้ในขบวนรถด่วน

Click on the image for full size

รูปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Tilting_train


ชอบมากเลยครับ KIHA 283 อยากได้มาวิ่งในเมืองไทยจริงๆ
_________________
ผู้โดยสารโปรดทราบ  ที่นี่สถานีพัทยา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2013 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

KnGEA4539 wrote:
เทคโนโลยีรถเพิ่มองศาการเอียงเองได้ตอนเข้าโค้ง(Tilting train)
รูปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Tilting_train


เคยพูดถึงในส่วนรถดีเซลรางแบบเอียงตัวเมื่อเลี้ยวโค้งเพราะ ใช้กลไก แบบ active tile train บนเกาะ ชิโกกุ ที่เป็นแดนกันดารของญี่ปุ่น ที่ยังไม่มีระบบรถไฟฟ้า นอกเหนือจากเกาะฮอกไกโดที่มีไฟฟ้านิดหน่อยที่คุณแสดงให้เห็นแล้ว
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1724
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 21/11/2013 4:28 pm    Post subject: Re: ความรู้พื้นฐาน,ความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับระบบราง โดย นพ-พะ-ไนท์ Reply with quote

KnGEA4539 wrote:
หลังจากที่เขียนข้อมูลลงในเพจของสาขามาซักพักนึง อาจารย์ตุ้ยได้มีความเห็นว่า ควรนำมาลงไว้ในเว็บดีกว่าปล่อยให้หายไปในเฟซบุ๊ค(แถมไว้ในเว็บอ่านง่ายกว่า) ตอนนี้คิดว่ามีพร้อมในระดับนึงจึงขอเปิดกระทู้ความรู้นี้ไว้ในเว็บนะบัดนี้


ขอใช้สิทธิพาดพิงสักนิดนะครับ Embarassed Laughing

ก่อนอื่นต้องขอบคุณน้องน่าคบ นพ-พะ-ไนซ์ (nice-น่าคบ,ดี,งาม) ที่เปิดกระทู้นำเรื่องราว สาระความรู้เกี่ยวกับการขนส่งระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องรถไฟความเร็วสูง มาให้ได้อ่านกัน ณ เวบไซต์ "รถไฟไทยดอทคอม" ซึ่งอ่านง่าย และสะดวกแก่การค้นคว้าในภายหลัง ยิ่งกว่าการลงในเฟสบุ๊ค รอติดตามอ่านต่อไปเรื่อยๆครับVery Happy

สำหรับภาพประกอบนั้น อนุญาตให้ใช้ภาพจากกระทู้ แลอัลบั้มต่างๆของพี่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้เต็มที่ มิต้องกังวลถึงปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์แต่ประการใด

Click on the image for full size

อย่างภาพ "Jacobs Bogies" นั้น ก็มีอยู่ในกระทู้ของฝากจากสวิสฯ ปี ๒๐๐๗ ของพี่ครับ
Cool

Click on the image for full size
_________________
นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 21/11/2013 10:28 pm    Post subject: Re: ความรู้พื้นฐาน,ความรู้ทั้วไปเกี่ยวกับระบบราง โดย นพ-พะ-ไนท์ Reply with quote

tuie wrote:
KnGEA4539 wrote:
หลังจากที่เขียนข้อมูลลงในเพจของสาขามาซักพักนึง อาจารย์ตุ้ยได้มีความเห็นว่า ควรนำมาลงไว้ในเว็บดีกว่าปล่อยให้หายไปในเฟซบุ๊ค(แถมไว้ในเว็บอ่านง่ายกว่า) ตอนนี้คิดว่ามีพร้อมในระดับนึงจึงขอเปิดกระทู้ความรู้นี้ไว้ในเว็บนะบัดนี้


ขอใช้สิทธิพาดพิงสักนิดนะครับ Embarassed Laughing

ก่อนอื่นต้องขอบคุณน้องน่าคบ นพ-พะ-ไนซ์ (nice-น่าคบ,ดี,งาม) ที่เปิดกระทู้นำเรื่องราว สาระความรู้เกี่ยวกับการขนส่งระบบราง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องรถไฟความเร็วสูง มาให้ได้อ่านกัน ณ เวบไซต์ "รถไฟไทยดอทคอม" ซึ่งอ่านง่าย และสะดวกแก่การค้นคว้าในภายหลัง ยิ่งกว่าการลงในเฟสบุ๊ค รอติดตามอ่านต่อไปเรื่อยๆครับVery Happy

สำหรับภาพประกอบนั้น อนุญาตให้ใช้ภาพจากกระทู้ แลอัลบั้มต่างๆของพี่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้เต็มที่ มิต้องกังวลถึงปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์แต่ประการใด

Click on the image for full size

อย่างภาพ "Jacobs Bogies" นั้น ก็มีอยู่ในกระทู้ของฝากจากสวิสฯ ปี ๒๐๐๗ ของพี่ครับ
Cool

Click on the image for full size

ขอบคุณครับอาจารย์ตุ้ย และขอบคุณสำหรับรูปด้วยครับ บางทีผมก็หาไม่เจอจริงๆ ๕๕๕๕๕
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
KnGEA4539
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 07/07/2010
Posts: 125
Location: ข.35/36 ข.283 วิศวกรรมขนส่งทางราง สจล

PostPosted: 23/11/2013 12:28 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ขอพูดเรื่องประวัติชินคันเซนตอนต้นแบบคร่าวๆหน่อยครับ

รถไฟความเร็วสูงนั้นมีการแข่งขันกันตั้งแต่ยุดรถจักรไอน้ำ โดยสมัยนั้นมีการแข่งขันด้านความเร็วเพียง 2 ชาติ คืออังกฤษกับเยอรมัน และฝ่ายชนะเป็นของอังกฤษ

โดยรถจักรไอน้ำ Class A4 วางล้อแบบ Pacific (4-6-2) หมายเลข 4468 ชื่อ Mallard พ่วงรถโดยสาร 6 ตู้ทำความเร็วได้ถึง 125.88 mph (202.58 km/h) ขณะที่รถจักรไอน้ำ DRG Class 05 ของเยอรมันทำได้เพียงแค่ 124.5 mph (200.4 km/h) หลังจากหมดยุครถจักรไอน้ำจึงเริ่มมีการแข่งขันด้านรถไฟความเร็วสูงอย่างจริงจัง

ยุคแรกนั้นแข่งขันกันแค่ในชาติยุโรป (อังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศส) และต่อมา การรถไฟญี่ปุ่น(สมัยยังเป็นของรัฐ)ได้ประสบปัญหาขาดทุนเนื่องจากได้มีการสร้างทางด่วนและเปิดเส้นทางการบินในประเทศมากขึ้น ทำให้คนขึ้นรถไฟน้อยลงมาก

สถาบันวิจัยรถไฟของการรถไฟญี่ปุ่นจึงเริ่มคิดโครงการชินคันเซนขึ้น(ชินแปลว่าใหม่ คันเซนแปลว่ารถไฟ รวมกันจึงเป็นรถไฟแบบใหม่) โดยการคิดโครงการชินคันเซนของสถาบันวิจัยนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก จนกระทั้งได้เปิดสัมมนารถไฟความเร็วสูงที่โอซาก้า ทำให้มีคนไปรายงานกับบอร์ดผู้บริหารและผู้ว่าการรถไฟญี่ปุ่นเรียกหัวหน้าและวิศวกรให้ไปลองนำเสนอให้ฟัง เมื่อฟังจบผู้ว่าได้แต่พยักหน้าและให้คนของสถาบันวิจัยกลับได้ ไม่กี่สัปดาห์ต่อมาก็มีข่าวดี

เนื่องจากผู้ว่าได้นำเสนอโครงการชินคันเซนเข้าสู่รัฐบาลและรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุมัติโครงการ หลังจากนั้นงานหนังจึงได้เริ่มต้นขึ้น โดยโปรเจคได้เริ่มทำทางทดสอบขึ้นในปี 1957 จากนั้นชินคันเซนรุ่นทดสอบ (Shinkansen Series 1000) ถูกสร้างขึ้นมา 2 เซตเมื่อ 16 เมษายนปี 1962 (เซต A 2 คัน เซต B 4 คัน) และเริ่มทำการทดสอบ

ไม่นานโครงการก็ประสบปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากผู้ว่าได้เสนอทุนวิจัยน้อยกว่าความเป็นจริง(เพราะถ้าเสนอทุนจริงโครงการจะไม่ผ่านความเห็นชอบ) ผู้ว่าการรถไฟจึงได้ขอลาออก หลังจากนั้นจึงได้ทำการขอทุนเพิ่มจากธนาคารโลกจนคล่องตัวเมื่อปี 1963 และการทดสอบครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคมปี 1963

ในการทดสอบครั้งสุดท้ายจริงๆแล้วทางทีมวิจัยตั้งเป้าไว้ที่ 250 km/h แต่เมื่อความเร็วถึงเป้าหมาย คนขับรถที่ 2 (คุมคันเร่ง)ได้ผ่อนคันเร่งลง แต่คนขับรถที่ 1 ได้กดมือคนขับรถที่ 2 (ก่อนทดสอบ คนขับรถที่ 1 ได้พูดไว้ว่า จะวิ่งรถให้เร็วที่สุด) และเร่งต่อ ทำให้ได้สถิติโลกที่ 256 km/h เมื่อการทดสอบจบลง การก่อสร้างเชิงพาณิชจึงได้เริ่มขึ้น

ชินคันเซนรุ่นแรกสร้างโดยใช้แบบจากรุ่นทดสอบเป็นหลัก ซึ่งก็คือชินคันเซนรุ่น 0 การเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงเส้นแรกของโลก(สายโตเกียว-โอซาก้า)เปิดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมปี 1964 และเปิดมาจนถึงปัจจุบัน

Click on the image for full size

ชินคันเซนรุ่น 0 เซตสุดท้าย (เซต R-68) ถูกปลดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคมปี 2008

ภาพจาก http://old-staff.cocolog-nifty.com/blog/photos/uncategorized/2008/10/26/003.jpg
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©