RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179996
ทั้งหมด:13491228
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 46, 47, 48 ... 76, 77, 78  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2021 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เปิดแนวเวนคืนล่าสุด!!!!
พุธที่ 2 มิถุนายน 2564 เวลา 20:43 น.

ช่องทางติดต่อสำหรับผู้ถูกเวนคืน Line Official @566umldn เคลียร์ทุกข้อสงสัย ตำแหน่ง และค่าเวนคืน

วันนี้เอาความคืบหน้าที่สำคัญอีกส่วนนึ่งของทางรถไฟสายใหม่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คือการเตรียมงานเวนคืนหลังจากที่ ได้ประกาศเวนคืนไปในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทำการรังวัดพื้นที่จริง

ซึ่งล่าสุด ทางการรถไฟและที่ปรึกษาสำรวจพื้นที่ ได้เปิด Line Official @566umldn ของโครงการเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ รวมถึงชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืน สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิ์ และดูแนวเวนคืนโครงการ ซึ่งเป็นตัวที่ Update ล่าสุดได้เลย
ใครอยากดูแนวเวนคืนล่าสุดหลังปรับลดขนาดเพื่อลดผลกระทบ ดูได้จากในลิ้งค์นี้เลยครับ
https://www.google.com/maps/d/viewer?mid=1xSYtcIzLteb8yYPYEGGJhFeSDJd8RmEs&shorturl=1&ll=20.225240062304863%2C100.4368288552823&z=14&fbclid=IwAR1FYiPZml9o-3Zre9HkjrQOJ5dEVf4jd_W8mnzSo465DfFv-YdiXfCdJrM

โดยในโครงการได้ทำการประชาสัมพันธ์ รายละเอียดโครงการ จำนวนที่ดินที่ถูกเวนคืน และสิทธิ์ของผู้ถูกเวนคืน ตามลิ้งค์นี้
https://drive.google.com/file/d/1fUlfqwsv8Xw2jlBf7O1--nIIzoVQxV2A/view

น่าจะตอบคำถามหลายๆท่านเรื่องแนวการเวนคืน และรายละเอียดการเวนคืนได้มากครับ
ต่อไปก็จะมีการประชุมประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะผู้ถูกเวนคืนเพื่อ ชี้แจงค่าเวนคืน ยังไงก็รอติดตามจากในพื้นที่ หรือจากใน Line Official กันอย่างใกล้ชิดนะครับ
—————————
ขอบเขตการเวนคืนได้จาก พระราชกฤษฏีกา ตามลิงค์นี้ครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/036/T_0043.PDF

โครงการเด่นชัย-เชียงราย เป็นโครงการเก่าแก่มาก
มีการศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2503 ซึ่ง มีการออก พระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้วตั้งแต่ในปี 2510 แต่ก็ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง
หลังจากนั้นก็มีการรื้อโครงการออกมาศึกษา อยู่อีกหลายๆรอบ คือ 2512, 2528, 2537, 2541, 2547 และเล่มศึกษาปัจจุบันที่จะใช้ในการก่อสร้าง ศึกษาในปี 2554
และ มติครม. อนุมัติโครงการในปี 2561
เป็นโครงการก่อสร้างทรหดเหลือเกินกว่าจะได้สร้างจริงๆร่วม 60 ปี
ใครอยากอ่านพระราชกฤษฎีกา เวนคืนที่ดิน ปี 2510 ดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../PDF/2510/A/119/998.PDF
————————
เส้นทางโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้ คือการขนส่งสินค้า จากไทยไปจีน ผ่านช่องทางหลัก 2 ช่องทาง คือ
- ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน
- สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ)
รายละเอียดเส้นทาง
- ระยะทางรวม 308 กิโลเมตร
- เป็นทางรถไฟขนาด 1 เมตร
- ใช้รางมาตรฐาน UIC 60 E1
- รองรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุด 20 ตัน รองรับรถไฟใหญ่สุดของการรถไฟ (รถจักร CSR)
- รองรับความเร็วสูงสุด 160 กม/ชม
- ใช้อาณัติสัญญาณ ETCS Level 1 ตามมาตรฐานทางคู่ใหม่
ในโครงการมีอุโมงค์ทั้งหมด 4 แห่งคือ
- อุโมงค์ที่ 1 กม. 606+200-607+325 ระยะทาง 1.1 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 2 กม. 609+050-615+425 ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 3 กม. 663+400-666+200 ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
- อุโมงค์ที่ 4 กม. 816+600-820+000 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร
ระยะทางรวมอุโมงค์ของโครงการ 13.4 กิโลเมตร
มีสถานี 3 รูปแบบ คือ
- สถานีขนาดใหญ่ จะเป็นสถานีระดับจังหวัด
- สถานีขนาดเล็ก
- ป้ายหยุดรถไฟ
โครงการใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด แพร่ ——
- โครงการเริ่มต้นจากสถานีรถไฟเด่นชัย เป็นสถานีชุมทางใหม่ แล้วแยกออกไปทางตะวันออก ปรับปรุงสถานีเป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีสูงเม่น เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 547
- สถานีแพร่ เป็นสถานีขนาดใหญ่
- สถานีแม่คำมี เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 572
- ป้ายหยุดรถไฟหนองเสี้ยว กม. 584
- สถานีสอง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 590
- มีอุโมงค์ 2 จุดต่อกัน ที่กม. 606+200-607+325 และ กม. 609+050-651+425
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด ลำปาง ——
- ป้ายหยุดรถไฟแม่ตีบ กม. 617
- สถานีงาว เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 636
- ป้ายหยุดรถไฟปาเตา กม. 642
- มีอุโมงค์ ที่กม. 663+400-666+200
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด พะเยา ——
- สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 670
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโทกหวาก กม. 677
- สถานีพะเยา เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 683
- ป้ายหยุดรถไฟดงเจน กม. 689
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านร้อง กม. 696
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านใหม่ กม. 709
—— อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัด เชียงราย ——
- สถานีบ้านป่าแดด เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.724
- ป้ายหยุดรถไฟป่าแงะ กม. 732
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านโป่งเกลือ กม. 743
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านสันป่าเหียง กม. 756
- สถานีเชียงราย เป็นสถานีขนาดใหญ่ กม. 771
- ป้ายหยุดรถไฟทุ่งก่อ กม. 785
- สถานีเวียงเชียงรุ้ง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม.796
- สถานีชุมทางบ้านป่าซาง เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 806 และแยกไปสถานีเชียงแสน
- มีอุโมงค์ ที่กม. 816+600-820+000
- ป้ายหยุดรถไฟบ้านเกี๋ยง กม. 829
- ป้ายหยุดรถไฟศรีดอนชัย กม. 839
- สถานีเชียงของ เป็นสถานีขนาดเล็ก กม. 853
————————
ในโครงการจะมีการตัดกับถนนเดิมของประชาชน ซึ่งจะทำเป็นระบบปิด ซึ่งจะมีการก่อสร้างทางข้ามทางรถไฟและถนนออกจากกัน โดยมี 5 แบบคือ
- สะพานทางรถไฟข้ามถนน 31 แห่ง
- สะพานถนนข้ามรถไฟแบบตรง 53 แห่ง
- สะพานรถไฟข้ามคลองชลประทาน 35 แห่ง
- ถนนทางลอดทางรถไฟ 63 แห่ง
————————
การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร ในปีที่เปิดให้บริการ 4,811 คน/ วัน
การคาดการณ์ปริมาณสินค้าในปีแรก แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
1. ถ้าไม่รวมการส่งสินค้าจากจีน 313,669 ตัน/ปี
2. ถ้ารวมการส่งสินค้าจากจีน 1,603,669 ตัน/ปี
มูลค่าการลงทุนโครงการทั้งหมด 79,619 ล้านบาท
จากการประเมินมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (EIRR) 13.31%
การประเมินมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
รูปแบบการลงทุนที่ทำการศึกษา มี 2 รูปแบบ คือ
- รัฐบาลลงทุน 100% มีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) 1.02%
- รัฐบาลลงทุนงานโยธา และระบบควบคุม
เอกชนลงทุนบำรุงรักษา และดำเนินงาน
การรถไฟ เก็บรายได้
รัฐบาลมีความคุ้มค่าทางการเงิน (FIRR) -1.82%
ซึ่งจากที่ดูตามนี้รัฐบาลควรเป็นผู้เดินรถเอง และให้การรถไฟเป็นผู้เดินรถ แต่อาจจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมเดินรถ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2021 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

หมอวรงค์ บ่น เรื่องการ ซื้อ "ฝื่น" ในการประมูลสร้างทางรถไฟสาย เด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ

Warong Dechgitvigrom wrote:
#ค่าซื้อฝิ่นแบบรถไฟทางคู่สายเหนือ
ผมได้รับการร้องเรียน จากผู้รับเหมาในวงการรถไฟ ยืนยันถึงการต้องจ่ายเงินค่าซื้อ"ฝิ่น"
"ฝิ่น"หมายถึง การซื้อแบบก่อนกำหนดเวลา และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการอำนวยความสะดวก
รับร้องเรียนมาเพื่อพิจารณาครับ

https://www.facebook.com/therealwarong/posts/2929874793950219

สวนกลับ! ‘ผู้ว่ารถไฟฯ’ โต้ ‘หมอวรงค์’ หลังโพสต์ภาพผู้รับเหมาร้อง จ่ายเงินซื้อแบบก่อนประมูลทางคู่ ‘เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ’ พร้อมเรียกความยุติธรรมให้องค์กร
พุธที่ 9 มิถุนายน 2564

“ผู้ว่ารถไฟฯ” สวนกลับ “หมอวรงค์” หลังโพสต์แฉเอกสารผู้รับเหมาร้องจ่ายใต้โต๊ะ ซื้อแบบประมูลทางคู่ “เด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ” ก่อนกำหนดเวลาการประมูล ลั่น! “พูดลอยๆ ไม่มีหลักฐาน” ชี้หากพิจารณาแล้วการรถไฟฯ เสื่อมเสีย เล็งแนวทางดำเนินการฟ้องร้อง พร้อมเรียกความยุติธรรมให้องค์กร
ตามที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ได้โพสต์รูปภาพผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (Warong Dechgitvigrom) ซึ่งเป็นภาพการประเมินค่าใช้จ่ายในการเตรียมเอกสารการประมูลโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ พร้อมระบุข้อความว่า ”ผมได้รับการร้องเรียน จากผู้รับเหมาในวงการรถไฟ ยืนยันถึงการต้องจ่ายเงินค่าซื้อ “ฝิ่น” ซึ่ง “ฝิ่น“หมายถึง การซื้อแบบก่อนกำหนดเวลา และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการอำนวยความสะดวกนั้น


นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การโพสต์ข้อความดังกล่าว โดยยังไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้น จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ได้นำเสนอ ทั้งนี้ ตนขอตั้งคำถามว่า เหตุใดถึงไม่ออกมาระบุเลยว่า ใครซื้อกับใคร หรืออย่างไร ซึ่งมองว่า เรื่องนี้ไม่มีความยุติธรรม และทำให้เกิดความเสียหายกับการรถไฟฯ เป็นอย่างมากมาก

การพูดลอยๆ แบบนี้ จะต้องรับผิดชอบ ซึ่งไม่แฟร์กับการรถไฟฯ เลย การประมูลโครงการรถไฟทางคู่นั่น มีการซื้อซองตาใกระบวนการของกรมบัญชีกลาง โดยเรื่องนี้ดำเนินการด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding เขาต้องเข้าใจก่อนว่า e-bidding มีกระบวนการอย่างไร เพราะฉะนั้นการที่จะพูดอะไร หรือการที่จะเชื่ออะไร จะฟังอะไรต้องรับทราบและเข้าใจกระบวนการก่อน ส่วนจะคำนวนราคาหรือถอดแบบออกมาคำนวนต้นทุนได้ในระยะเวลาเท่าไรทำไม่ไม่ไปถามเอกชน” นายนิรุฒ กล่าว

นายนิรุฒ กล่าวยอมรับว่า ขณะนี้ การรถไฟฯ ได้ถูกโจมตีในประเด็นดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สามารถดำเนินการได้แต่เมื่อการรถไฟฯ ได้ดำเนินการอย่างถูกต้อง ก็คือ สิ่งที่ถูกต้องตามกระบวนการ ส่วนผู้ที่ได้รับการนำเสนอจากฝ่ายต่างๆ ในเรื่องดังกล่าว แล้วจะเชื่อฝ่ายใดนั้น มองว่า อยู่ที่วิจารณญาณของแต่ละคน นอกจากนี้ เมื่อถามว่า การรถไฟฯจะมีการฟ้องร้องบุคคลที่ทำให้การรถไฟฯ เสื่อมเสียหรือไม่นั้น นายนิรุฒ กล่าวว่า หากพิจารณาแล้วว่า การกระทำดังกล่าว ทำให้การรถไฟฯ เสียหายจริง จะมีการพิจารณาว่า ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

บ้านเมืองต้องมีความยุติธรรม ไม่ใช่ว่าอยากจะว่าอะไร ใครก็พูดขึ้นมาโดยที่ไม่มีหลักฐาน พูดขึ้นมาลอยๆทำให้สังคมเชื่อกันไป เรื่องนี้เราต้องหาความยุติธรรมคืนมา โดยเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของการรถไฟฯ ที่จะทำให้สังคมเข้าใจให้ครบถ้วน” นายนิรุฒ กล่าว

รายงานข่าวจากการรถไฟฯ ระบุว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) มูลค่า 72,921 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย–งาว ระยะทาง 104 กม. มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม มีผู้เอกสารฯ รวม 5 ราย คือ กลุ่มแรก มีผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย และกลุ่มที่สองมีผู้ซื้อเอกสารฯ 2 ราย โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 17 ราย โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า กิจการร่วมค้า ITD-NWR ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) หรือ NWR เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท



สัญญาที่ 2 งาว–เชียงราย ระยะทาง 135 กม. มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม มีผู้เอกสารฯ รวม 4 ราย คือกลุ่มแรก มีผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย และกลุ่มที่สอง มีผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 18 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE ซึ่งประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด(มหาชน) หรือCK และบริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ STEC เสนอราคาต่ำสุดที่ 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 เชียงราย–เชียงของ ระยะทาง 84 กม. มีผู้เสนอราคาในนามกิจการร่วมค้า 2 กลุ่ม มีผู้เอกสารฯ รวม 4 รายคือ กลุ่มแรก มีผู้ซื้อเอกสารฯ 3 ราย และกลุ่มที่สอง มีผู้ซื้อเอกสารฯ 1 ราย โดยมีผู้ยื่นซองประมูล 2 ราย จากผู้ซื้อซองทั้งหมด 16 ราย โดยกิจการร่วมค้า CKST JOINT VENTURE เสนอราคาต่ำสุดที่ 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง19,406 ล้านบาท
https://www.facebook.com/pr.railway/posts/4704672369547597


Last edited by Wisarut on 21/06/2021 2:13 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/06/2021 12:03 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟ โต้ หมอวรงค์ ประมูลทางคู่ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” โปร่งใสแล้ว
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 19 มิถุนายน 2564 - 18:35 น.

“รถไฟ” โต้กลับ “หมอวรงค์” ปมประมูลทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ยันโปร่งใสชัวร์ ตีความเห็น “ซูเปอร์บอร์ด” ที่ให้แยกงานโยธา-อาณัติสัญญาณเกิดปัญหาเยอะ รวมดีกว่า ส่วนการประมูลโยธา 3 สัญญาบริหารง่ายกว่าการซอยเป็น 7 สัญญาตามความเห็นเดิมของซูเปอร์บอร์ด

วันที่ 19 มิถุนายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ออกหนังสือชี้แจงกรณีการประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. จำนวน 3 สัญญา รวมวงเงิน 72,920 ล้านบาท ความว่า

ตามที่มีสื่อมวลชนบางสื่อได้เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Warong Dechgitvigrom มีเนื้อหาระบุว่า รถไฟทางคู่สายเหนือก่อนหน้านั้น ในสมัย คสช. ที่มีซูเปอร์บอร์ด (คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ) ได้มีมติการแบ่งสัญญาการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือเป็น 7 สัญญา แต่หลังจากนั้นมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา มีผลให้คณะกรรมการซูเปอร์บอร์ดต้องสิ้นสุดลง

และ ร.ฟ.ท.ถือโอกาสทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา ศึกษาทบทวนการแบ่งสัญญา การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือมาเหลือ 3 สัญญา โดยรวมระบบอาณัติสัญญาณเข้าด้วยกัน นั้น

ร.ฟ.ท. เห็นว่าข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้กับพี่น้องประชาชน จึงขอเรียนชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้



รวมงานโยธา-อาณัติสัญญาณดีกว่าแยก
1.การประมูลครั้งนี้ ได้ทบทวนการแบ่งสัญญาจากประสบการณ์ที่ได้ดำเนินการมาในอดีต ซึ่งมี 2 แนวทาง โดยแนวทางแรกเป็นการรวมงานอาณัติสัญญาณไว้ในสัญญาเดียวกันกับงานโยธา เช่น โครงการทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และโครงการทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย กับแนวทางที่สองเป็นการแยกงานอาณัติสัญญาณออกจากงานโยธา คือ โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยสัญญางานโยธา 10 สัญญา และสัญญางานอาณัติสัญญาณ 3 สัญญา รวม 13 สัญญา

จากผลการดำเนินการของโครงการทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และโครงการทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่รวมงานอาณัติสัญญาณไว้ในสัญญาเดียวกันกับงานโยธานั้น ไม่มีปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ไม่มีปัญหาเรื่องการประสานการทำงานระหว่างผู้รับเหมางานโยธาและผู้รับเหมางานอาณัติสัญญาณ และไม่มีปัญหาเรื่องความล่าช้าของการก่อสร้าง สามารถเปิดใช้งานให้บริการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะเป็นผู้รับเหมารายเดียวกัน ทำให้ไม่ต้องรองานส่วนใดส่วนหนึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วถึงจะทำการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาในกระบวนการถัดไป


ชี้แนวคิดประมูล “ซูเปอร์บอร์ด” เกิดปัญหามาก
แต่จากผลการดำเนินการของโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ที่แยกงานอาณัติสัญญาณออกจากงานโยธาตามแนวคิดของคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (คกจ. หรือ ซูเปอร์บอร์ด) พบปัญหาที่เกิดขึ้นหลายประเด็น เช่น การเริ่มต้นงานของผู้รับเหมางานอาณัติสัญญาณ ล่าช้า เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามแผน ได้ผู้รับจ้างงานโยธาก่อนผู้รับจ้างงานอาณัติสัญญาณถึง 2 ปี ซึ่งตามหลักการต้องได้ผู้รับเหมางานโยธาและงานอาณัติสัญญาณพร้อมกัน จึงส่งผลทำให้ผู้รับเหมางานโยธาขาดข้อมูลในงานที่เกี่ยวกับการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ และเป็นเหตุให้ผู้รับเหมางานโยธาขอขยายเวลาการก่อสร้าง

อีกทั้งส่งผลให้การเปิดให้บริการเดินรถต่อประชาชนล่าช้าออกไป เพราะต้องรอจนกว่าผู้รับเหมางานอาณัติสัญญาณฯ ทำงานแล้วเสร็จ ซึ่งทำให้รัฐเสียประโยชน์

สัญญามีน้อย ดีกว่าซอยย่อยเยอะ ๆ
​ส่วนเรื่องการแบ่งสัญญาโครงการสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็น 3 สัญญานั้น จากประสบการณ์การดำเนินโครงการในอดีตที่ผ่านมาเห็นว่า การแบ่งน้อยสัญญามีข้อดีมากกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อยจำนวนมาก ด้วยเหตุผลดังนี้

1.ด้านบริหารสัญญา การแบ่งสัญญาออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญา ทำให้การบริหารจัดการโครงการจะเกิดความทับซ้อน เช่น

การขออนุมัติทำงานต้องเสนอทุกสัญญา ได้แก่ การขออนุมัติแผนงานก่อสร้าง, การประกันภัยในงาน, วัสดุและฝีมือการทํางาน, เครื่องจักรก่อสร้าง อุปกรณ์ของผู้รับจ้าง งานชั่วคราว, สำนักงานสนาม, ที่พักบริเวณหน้างาน, Organization Chart and CVs , Geotechnical Investigation Report, Survey Report, Testing Lab, Quality Control Programme, การประสานงานกับส่วนราชการและผู้รับจ้างรายอื่น เป็นต้น

ส่วนการควบคุมงาน อาจมีการวินิจฉัยสัญญาแตกต่างกันในหัวข้อการพิจารณาเดียวกัน และการบริหารวัสดุก่อสร้างในสัญญาที่กำหนดให้ใช้วัสดุที่ได้จากการขุดมาใช้เป็นวัสดุถม การแบ่งหลายสัญญาอาจทำให้ไม่มีงานขุดกับงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสัญญาขนาดใหญ่ซึ่งมีงานขุดและงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกันก็สามารถนำวัสดุงานขุดไปใช้เป็นวัสดุงานถมได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้าง

2.ด้านงบประมาณ ในกรณีที่แบ่งเป็นสัญญาใหญ่สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ ค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายสำนักงานสนาม ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมบุคลากรควบคุมงาน ค่าใช้จ่ายเครื่องจักร ยานพาหนะ และค่าใช้จ่ายการจ้างที่ปรึกษา PMC เป็นต้น

ดังนั้น ร.ฟ.ท. จึงเห็นควรแบ่งสัญญาโครงการทางคู่สายเด่นชัยฯ ออกเป็น 3 สัญญา รวมงานอาณัติสัญญาณฯ และรายงานกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาเสนอ ครม. อนุมัติโครงการ ครั้งที่ 2 และ ครม. มีมติอนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 โดยแบ่งเป็น 3 สัญญา ตามที่ ครม. ได้เคยอนุมัติไว้แล้วตั้งแต่ครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2561

ซอย 7 สัญญาไม่ชัดเจน เหตุซูเปอร์บอร์ดถูกยุบ
​สำหรับการจัดแบ่งสัญญาสายเหนือเป็น 7 สัญญา ที่มีงานโยธา 6 สัญญา และงานอาณัติสัญญาณ 1 สัญญาโดย คกจ. (คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือซูเปอร์บอร์ด) ที่แต่งตั้งโดยคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช. นั้น ยังไม่มีการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าวจนกระทั่ง คกจ. ถูกยกเลิกตามคำสั่งที่ 9/2562 ของหัวหน้าคณะ คสช.

ร.ฟ.ท. จึงขอเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า การดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ โดยมุ่งเน้นและยึดถือประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน และประเทศชาติเป็นสำคัญ


รฟท.แจง "หมอวรงค์" รวบ3สัญญารวมอาณัติสัญญาณ รถไฟทางคู่สายเหนือถูกระเบียบ
หน้า ศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันที่ 18 มิถุนายน 2564 - 17:59 น.

รฟท.แจง "หมอวรงค์" รวบ3สัญญารวมอาณัติสัญญาณ รถไฟทางคู่สายเหนือถูกระเบียบ
การรถไฟฯ ขอชี้แจง"หมอวรงค์" ประกวดราคา ก่อสร้างทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียง ของ 7.2หมื่นล้านโปร่งใส รื้อ7สัญญารวบเหลือ3สัญญารวมอาณัติสัญญาณ ถูกต้องตามระเบียบ

ตามที่มีสื่อมวลชนบางสื่อ ได้เผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รักษาการหัวหน้าพรรคไทยภักดี ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Warong Dechgitvigrom มีเนื้อหาดังนี้ รถไฟทางคู่สายเหนือก่อนหน้านั้น ในสมัย คสช. ที่มีซูเปอร์บอร์ด(คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ) ได้มีมติการแบ่งสัญญาการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือเป็น 7 สัญญา หลังจากที่มีรัฐบาลชุดใหม่ มีนายกรัฐมนตรีคนเดิม แต่มีนายศักดิ์สยามมาเป็นรัฐมนตรีคมนาคม ได้มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2562

เพื่อยกเลิกประกาศ คสช. คำสั่งคสช. และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ไม่จำเป็น มีผลให้คณะกรรมการซุปเปอร์บอร์ดต้องสิ้นสุดลง ทาง รฟท. จึงถือโอกาสทำสัญญาจ้างที่ปรึกษา ลงนามวันที่ 16 มีนาคม 2563 เพื่อศึกษาทบทวนการแบ่งสัญญา การก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือจากเดิม 7 สัญญามาเหลือ 3 สัญญา โดยแต่ละสัญญาให้รวมระบบอาณัติสัญญาณเข้าด้วย โดยอ้างว่าถ้าซอย 7 สัญญา งานจะเสร็จช้ากว่า 3 สัญญาการรถไฟฯ เห็นว่าข้อมูลที่นำเสนอนี้อาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและไม่ถูกต้องให้กับพี่น้องประชาชน จึงขอเรียนชี้แจงและให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังนี้

การรถไฟฯ ได้ทบทวนการแบ่งสัญญาจากประสบการณ์ที่ได้ดำเนินการมาในอดีต ซึ่งมี 2 แนวทางโดยแนวทางแรกเป็นการรวมงานอาณัติสัญญาณฯไว้ในสัญญาเดียวกันกับงานโยธา เช่น โครงการทางคู่ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และโครงการทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย แนวทางที่สองเป็นการแยกงานอาณัติสัญญาณฯออกจากงานโยธา คือ โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยสัญญางานโยธา 10 สัญญา และสัญญางานอาณัติสัญญาณฯ 3 สัญญา รวม 13 สัญญา

จากผลการดำเนินการของโครงการทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และโครงการทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ที่รวมงานอาณัติสัญญาณฯไว้ในสัญญาเดียวกันกับงานโยธานั้น ไม่มีปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ไม่มีปัญหาเรื่องการประสานงานการทำงานระหว่างผู้รับเหมางานโยธาและผู้รับเหมางานอาณัติสัญญาณฯ และไม่มีปัญหาเรื่องความล่าช้าของการก่อสร้าง สามารถเปิดใช้งานให้บริการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพราะเป็นผู้รับเหมารายเดียวกันทำให้ไม่ต้องรองานส่วนใดส่วนหนึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้วถึงจะทำการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาในกระบวนการถัดไป แต่จากผลการดำเนินการของโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ที่แยกงานอาณัติสัญญาณฯออกจากงานโยธาตามแนวคิดของคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง (คจก. หรือ ซุปเปอร์บอร์ด) พบปัญหาที่เกิดขึ้นหลายประเด็น

เช่น การเริ่มต้นงานของผู้รับเหมางานอาณัติสัญญาณฯ ล่าช้า เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามแผนได้ผู้รับจ้างงานโยธาก่อนผู้รับจ้างงานอาณัติสัญญาณฯ 2 ปี ซึ่งตามหลักการต้องได้ผู้รับเหมางานโยธาและงานอาณัติสัญญาณฯพร้อมกัน จึงส่งผลทำให้ผู้รับเหมางานโยธาขาดข้อมูลในงานที่เกี่ยวกับการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณฯ และเป็นเหตุให้ผู้รับเหมางานโยธาขอขยายเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งส่งผลให้การเปิดให้บริการเดินรถต่อประชาชนล่าช้าออกไป เพราะต้องรอจนกว่าผู้รับเหมางานอาณัติสัญญาณฯ ทำงานแล้วเสร็จ ซึ่งทำให้รัฐเสียประโยชน์ส่วนเรื่องการแบ่งสัญญาโครงการสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็น 3 สัญญานั้น จากประสบการณ์การดำเนินโครงการในอดีตที่ผ่านมาเห็นว่าการแบ่งน้อยสัญญามีข้อดีมากกว่าการแบ่งเป็นสัญญาย่อยจำนวนมากด้วยเหตุผลดังนี้

1. ด้านบริหารสัญญา การแบ่งสัญญาออกเป็นสัญญาย่อยหลายสัญญาทำให้การบริหารจัดการโครงการจะเกิดความทับซ้อน เช่น การขออนุมัติทำงานต้องเสนอทุกสัญญา ได้แก่ การขออนุมัติแผนงานก่อสร้าง, การประกันภัยในงาน, วัสดุและฝีมือการทํางาน, เครื่องจักรก่อสร้าง อุปกรณ์ของผู้รับจ้าง งานชั่วคราว, สำนักงานสนาม, ที่พักบริเวณหน้างาน, Organization Chart and CVs , Geotechnical Investigation Report, Survey Report, Testing Lab, Quality Control Programme, การประสานงานกับส่วนราชการและผู้รับจ้างรายอื่น เป็นต้น การควบคุมงาน อาจมีการวินิจฉัยสัญญาแตกต่างกันในหัวข้อการพิจารณาเดียวกัน การบริหารวัสดุก่อสร้างในสัญญาที่กำหนดให้ใช้วัสดุที่ได้จากการขุดมาใช้เป็นวัสดุถม การแบ่งหลายสัญญาอาจทำให้ไม่มีงานขุดกับงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสัญญาขนาดใหญ่ซึ่งมีงานขุดและงานถมอยู่ในสัญญาเดียวกันก็สามารถนำวัสดุงานขุดไปใช้เป็นวัสดุงานถมได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณค่าก่อสร้าง


2. ด้านงบประมาณ ในกรณีที่แบ่งเป็นสัญญาใหญ่สามารถลดค่าใช้จ่ายค่าดำเนินการ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ ค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายสำนักงานสนาม ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมบุคลากรควบคุมงาน ค่าใช้จ่ายเครื่องจักร ยานพาหนะ และค่าใช้จ่ายการจ้างที่ปรึกษา PMC เป็นต้น

ดังนั้น รฟท.จึงเห็นควรแบ่งสัญญาโครงการทางคู่สายเด่นชัยฯ ออกเป็น 3 สัญญารวมงานอาณัติสัญญาณฯ และเสนอกระทรวงคมนาคมเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติโครงการ ครั้งที่ 2 และครม.มีมติอนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 โดยแบ่งเป็น 3 สัญญา ตามที่เคยเสนอ ครม.ในครั้งที่ 1 (เมื่อวันที่ 31 กค. 2561)

อนึ่งการจัดแบ่งงานสายเหนือเป็น 7 สัญญา งานโยธา 6 สัญญา และงานอาณัติสัญญาณ 1 สัญญาโดย คกจ. (คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง) ตามคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช. (ซุปเปอร์บอร์ด) ตามที่ รฟท. เสนอเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2561 นั้น ยังไม่ได้รายงานผลการพิจารณาแนวทางการดำเนินการแบ่งสัญญาให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแต่อย่างใด เนื่องจากหัวหน้า คสช. ได้มีคำสั่งที่ 9/2562 ส่งผลให้ คกจ. ถูกยกเลิกไปด้วยการรถไฟฯ จึงขอเรียนให้ทราบอีกครั้งหนึ่งว่า การดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของนี้มีความโปร่งใส มีกระบวนการตรวจสอบการดำเนินการอย่างเปิดเผยในทุกขั้นตอน และเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ และข้อกฎหมายทุกประการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2021 2:14 am    Post subject: Reply with quote


เจาะ สี่อุโมงค์สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ยาวรวม 13.4 กิโลเมตร
https://www.youtube.com/watch?v=05FSda2UYpc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 3:16 am    Post subject: Reply with quote

จี้ล้มประมูลทางคู่ 8 กลุ่มรุมถล่ม สัญญาเอื้อรายใหญ่คว้างาน
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 01:05 น.
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,690 วันที่ 24 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จี้ล้มประมูลทางคู่ 8 กลุ่มรุมถล่ม สัญญาเอื้อรายใหญ่คว้างาน
8 กลุ่มนักการเมือง-นักวิชาการ-รับเหมา-นักกฎหมาย-คนรถไฟไล่จี้ “บิ๊กตู่” อาศัยอำนาจ พรบ.บริหารราชการแผ่นดินล้มประมูลรถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน มูลค่า1.28 แสนล้าน เอื้อ 5 ขาใหญ่ แนะยึดมติซูเปอร์บอร์ดเดิม แบ่ง 7 สัญญาสายเหนือเปิดเอกชนรายกลางร่วมแข่งขัน

การประมูลรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และ สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม รวม 5 สัญญา มูลค่า1.28 แสนล้านบาท ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กลายเป็นปมร้อนที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องเร่งแก้ปัญหา เพราะเกิดข้อครหาในวงกว้างว่าอาจส่อไปในทางสมยอมหรือเกิดการฮั้วประมูล นำพาซึ่งความไม่โปร่งใสมาสู่รัฐบาล ในทางกลับกันหากเพิกเฉยไม่ได้รับการแก้ไข ประเมินว่าเรื่องนี้ต้องร้อนฉ่าถึงสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อย่างแน่นอน

8 กลุ่มล้มประมูล 2 ทางคู่การเปิดหน้าชนจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไล่เรียงพบ มี 8 กลุ่มทั้งนักการเมือง ผู้รับเหมา นักวิชาการ แม้แต่พนักงานของการรถไฟฯเอง นำพาไปสู่การเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีชะลอการลงนามในสัญญาหรือล้มประมูลโครงการ รถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน เพราะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่าการประมูลในครั้งนี้ ไม่ชอบมาพากลในหลายด้าน รัฐไม่ได้ประโยชน์จากการแข่งขันสะท้อนจากผู้รับเหมารายใหญ่ผ่านเกณฑ์เงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) นำผลงานยื่นขอประกวดราคา ได้เพียง 5 ราย ที่สำคัญผลการประมูลราคาเสนอตํ่าสุดทั้ง 5 สัญญาห่างจากราคากลางเพียง 0.08% หรือ วงเงิน 1.28 แสนล้านบาท รัฐประหยัดงบประมาณเพียง 106 ล้านบาท ที่ลงลึกไปในรายละเอียดมากกว่านั้น คือทั้ง 5 บริษัท ได้งานครบทุกรายพอเหมาะพอดีทั้ง 5 สัญญา หรือที่นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้าพรรคไทยภักดี ออกมาระบุว่า 5บริษัท5สัญญา ครบตามเป้าหมาย หากมองด้วยสายตา จะทราบทันทีว่าส่อไปในทางฮั้วแน่นอนหมอวรงค์ยังสะท้อนอีกว่า เมื่อไม่มีการแข่งขันรัฐสูญงบประมาณ ไม่ตํ่ากว่า 7,000 ล้านบาท สอดคล้องนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ที่ออกมากระทุ้งหลายรอบ นอกจากราคาประมูลตํ่ากว่าราคากลาง หากเปรียบเทียบกับทางคู่สายใต้ช่วงนครปฐม-ชุมพร ที่ห่างจากราคากลางถึงกว่า 2,000 ล้านบาท เช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ระยะแรกช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ที่ราคาเสนอตํ่าสุดทิ้งห่างราคากลางค่อนข้างมาก ถึง 40% ทั้งที่เป็นการประมูลจากหน่วยงานเดียวแต่วิธีการต่างกันจนน่าแปลกไม่ต่างจากนายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคพลังธรรมใหม่ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การรถไฟที่ตั้งข้อสังเกตไม่ต่างกันว่า การประมูลครั้งนี้ไม่ชอบมาพากล ที่ต้องเร่งสะสางภายหลังจากกลุ่มดังกล่าว เรียกร้องให้ตรวจสอบการประมูล 2 ทางคู่ ล่าสุดผู้แทนคณะราษฎรไทยแห่งชาติ และนายศรีสุวรรณ จรรยา ได้รวมตัวกันยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลแบบสดๆร้อนๆ เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในข้อความระบุว่า ขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนการประมูลรถไฟรางคู่ที่ส่อฮั้วประมูลพร้อมทั้งขอให้นำเสนอต่อครม.ให้พิจารณาชะลอโครงการรถไฟทางคู่ที่ใช้เงินกว่า 1.28 แสนล้านบาท ออกไปก่อนเนื่องจากโครงการไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนประกอบกับภาวะวิกฤติการเงินการคลังของประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อทางราชการ ขณะก่อนหน้านี้ นายศรีสุวรรณ ได้มีหนังสือร้องไปยัง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) และป.ป.ช.ตามลำดับ เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องการเปิดให้ 5 ผู้รับเหมารายใหญ่ ทำให้รัฐเสียประโยชน์ด้านราคา
ทั้งนี้ การชะลอการประมูลโครงการดังกล่าวออกไป ทางนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล มีอํานาจจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้ และมีอํานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้





เปิดไส้ในส่อฮั้วประมูลสำหรับชนวนปัญหา เกิดจากรฟท. ได้ปรับลดสัญญา ทางคู่สายเหนือ จาก 7 สัญญ าประกอบด้วย งานราง 6 สัญญาและอาณัติสัญญาณ 1 สัญญา เหลือ 3 สัญญารวมอาณัติสัญญาน ภายหลังซุปเปอร์บอร์ดมีอันต้องหมดวาระลงตามรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มาเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเห็นว่า 7สัญญาอาจเกิดความล่าช้า ในทางกลับกันมีการตั้งข้อสังเกตว่า หากแบ่ง 3 สัญญาจะทำให้มูลค่าแต่ละสัญญาสูง ทำให้ผู้รับเหมารายกลาง หลุดจากเวทีแข่งขัน ส่วนสายอีสานซอยสัญญารอไว้ 2 สัญญา ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.) เห็นชอบและประมูลในเวลาไล่เลี่ยกัน ดังนั้น 5 บริษัท 5 สัญญาได้งานไปครองแบบพอเหมาะพอเจอะคงไม่เกินความจริงนัก
แจงยุบ 7 สัญญาทางคู่เหนือขณะการชี้แจงของ รฟท. และกระทรวงคมนาคม ออกมาเป็นระยะถึงความโปร่งใส สาเหตุหั่น 7 สัญญาประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือเหลือ 3 สัญญา นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงกรณีที่คณะราษฎรไทยแห่งชาติยื่นหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรีชะลอ2 ทางคู่ แต่ยืนยันว่าได้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายและขั้นตอนปกติด้านแหล่งข่าวรฟท.ระบุว่า รฟท.ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว หากมีการชะลอการประมูลโครงการฯออกไปจะได้รับผลกระทบต่อแผนการก่อสร้างโครงการฯ “การจัดแบ่งสัญญาสายเหนือเป็น 7 สัญญา ที่มีงานโยธา 6 สัญญา และงานอาณัต ิสัญญาณ 1 สัญญาโดย คกจ. (คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง หรือซุปเปอร์บอร์ด) ที่แต่งตั้งโดยคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช. นั้น ยังไม่มีการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าวจนกระทั่ง คกจ. ถูกยกเลิกตามคำสั่งที่ 9/2562 ของหัวหน้าคณะคสช.”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2021 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

13กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน หนุน รถไฟทางคู่-เหนือ-อีสาน
25 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 18:53 น.

13กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ภาคเหนือ-อีสาน ห่วง 2ทางคู่ถูกคนบางกลุ่มโจมดีไม่เป็นธรรม



การรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาชน 13 กลุ่ม ภาคเหนือและภาคอีสาน แสดงความเป็นห่วงกรณีมีคนบางกลุ่มพยายามนำประเด็นทางการเมือง เข้ามาโจมตีการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม อย่างไม่เป็นธรรม พร้อมแสดงจุดยืนสนับสนุนให้รัฐบาล กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ เร่งเดินหน้าโครงการเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติเป็นสำคัญ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การรถไฟฯ ได้รับแจ้งจากกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน 13 กลุ่ม ในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดลำปาง เชียงราย แพร่ พะเยา และ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม ได้แสดงความห่วงใยถึงกรณีมีกลุ่มคนบางกลุ่ม พยายามนำประเด็นทางการเมืองเข้ามาโจมตีการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง สายเหนือ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม อย่างไม่เป็นธรรมทั้งนี้ ภาคประชาชน ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ หอการค้าจังหวัด นักวิชาการ และนักการเมืองท้องถิ่นเห็นตรงกันว่า การลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ทั้ง 2 โครงการ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนคนไทยให้ได้รับประโยชน์นั้น ทั้งในด้านการจ้างงาน การกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น การลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน ก่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนภายในเศรษฐกิจชุมชน อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเพิ่มศักยภาพระบบขนส่งโลจิสติกส์ของประเทศได้อีกด้วยดังนั้น กลุ่มเครือข่ายภาคประชาชนจำนวน 13 กลุ่ม จึงขอแสดงจุดยืนสนับสนุนให้รัฐบาล กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฯ เดินหน้าโครงการลงทุนรถไฟทางคู่ให้เกิดขึ้นได้ตามแผน โดยยึดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศเป็นสำคัญ เพราะหากปล่อยให้ปัญหาทางการเมือง หรือเรื่องผลประโยชน์ของพวกพ้องมาส่งผลต่อโครงการแล้ว จะทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสเพิ่มขึ้นอีกหลังต้องหยุดชะงักโครงการมาแล้วกว่า 60 ปี และเป็นห่วงว่าหากจะกลับมาทำในอนาคต รัฐบาลอาจต้องจ่ายค่าลงทุนก่อสร้างแพงขึ้นกว่าเดิมอีกก้เป็นได้ปัจจุบัน ทางกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน ได้รวมตัวแสดงจุดยืนด้วยการทำป้ายสนับสนุนขอให้รัฐบาลช่วยเดินหน้าโครงการรถไฟทางคู่แล้วในหลายพื้นที่ เช่น “ประชาชนชาว อ.สอง จ.แพร่ ขอสนับสนุนเป็นกำลังใจให้รัฐบาลและการรถไฟฯ พร้อมคณะที่ปรึกษาสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” “เครือข่ายคนรักรถไฟล้านนาตะวันออก เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้ทำป้ายโปรดให้ฝันเป็นจริง 60 ปีที่รอคอย ส่งข่าวถึงผู้ใหญ่ใจดีผลักดันเป็นของขวัญที่เฝ้ารอ” โดยจะมีการเสนอเรื่องนี้ให้ ส.ส. และนักการเมืองภายในจังหวัดช่วยขับเคลื่อนสนับสนุนต่อไปอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2021 9:02 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ทางคู่สายประวัติศาสตร์ ประตูการค้าเชื่อมไทย-อาเซียน และจีนตอนใต้
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2564 17:03 ปรับปรุง: 30 มิ.ย. 2564 17:03 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ทางคู่สายประวัติศาสตร์ที่ประชาชนรอคอย เจาะอุโมงค์ลอดภูเขายาวที่สุดในไทย ผุดแลนด์มาร์กท่องเที่ยวแห่งใหม่ เปิดประตูการค้าชายแดนเชื่อม “ไทย-อาเซียน-จีน”

รถไฟทางคู่สายเหนือ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” เป็นเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ที่ใช้เวลาดำเนินการยาวนานมาก นับตั้งแต่เริ่มมีการศึกษาโครงการเมื่อปี 2503 ผ่านรัฐบาลหลายยุค มีการปรับนโยบายหลายต่อหลายครั้ง จากหลายปัจจัยทั้งด้านการเมือง ด้านงบประมาณที่จำกัด และยังถูกต่อต้านจากกลุ่มเอ็นจีโอ ด้วยเพราะเป็นเส้นทางสายใหม่ที่ต้องมีการเวนคืนตลอดโครงการ แต่ทว่า! กลับเป็นโครงการที่มีเสียงเรียกร้องจากประชาชน ภาคเอกชน หอการค้าจังหวัด ต้องการให้ก่อสร้างมากที่สุดสายหนึ่ง จนกระทั่งปี 2561 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติโครงการ หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้นำเสนอผลการศึกษา ซึ่งพบว่าโครงการมีผลตอบแทนและความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นเส้นทางรถไฟจะมีศักยภาพสูง ทั้งด้านการขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยว ถือเป็นการปลดล็อก 60 ปีที่รอคอย!!!

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 72 เดือน (6 ปี) มีจุดเริ่มต้นจากสถานีเด่นชัย จ.แพร่ มุ่งหน้าขึ้นเหนือผ่านจังหวัดลำปาง พะเยา สิ้นสุดที่บริเวณด่านพรมแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นเส้นทางที่จะเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง จากจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่ อ.เชียงของ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ไปยังเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ที่เมืองคุนหมิง สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภาคเหนือเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับ อ.เชียงของเป็นโลจิสติกส์ฮับของภาคเหนือ และส่งเสริม จ.เชียงรายเป็นเมืองโลจิสติกส์ (Logistic City) ของภูมิภาคในอนาคต

ขณะที่สามารถเชื่อมโยงจากประเทศจีนตอนใต้ ผ่านลาว มาไทยไปยังท่าเรือแหลมฉบัง รองรับการพัฒนาพื้นที่อีอีซีได้อย่างสะดวก เชื่อมโยงการเดินทาง ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยสามารถเชื่อมต่อกับท่าเรือ และสนามบิน รวมไปถึงโครงข่ายทางหลวงภายในประเทศ เป็นโครงการที่เชื่อมระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor : NSEC) และอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้อย่างสมบูรณ์ ลดต้นทุนด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน และเป็นการเปิดประตูสู่การค้าชายแดนภาคเหนือ เพิ่มช่องทางในการส่งออกสินค้าจากไทยและสร้างโอกาสที่ดีต่อการค้า การลงทุนของประเทศ

โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ที่จะเปิดพื้นที่ 4 จังหวัดภาคเหนือที่เปี่ยมด้วยศักยภาพ ทั้งด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและการค้า โดยผ่านพื้นที่ 59 ตำบล 17 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย มีสถานีทั้งสิ้น 26 สถานี ประกอบด้วย สถานีขนาดใหญ่ 4 สถานี สถานีขนาดเล็ก 9 สถานี และป้ายหยุดรถ 13 แห่ง

มีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลัก Universal Design และยังมีการออกแบบรั้วกั้นเขตแนวสายทาง มีสะพานรถไฟ สะพานรถยนต์ข้ามทางรถไฟ 40 แห่ง ทางรถยนต์ลอดรถไฟ 102 แห่ง มีทางเชื่อมรวมและกระจายจราจร ตลอดจนสะพานลอย ทางเท้า และทางรถจักรยานยนต์ข้ามและลอดทางรถไฟ แก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ 254 จุด ตลอดแนวเส้นทาง เพื่อให้สามารถเพิ่มระดับความเร็วในการเดินทางขนส่งได้อย่างปลอดภัย และยังมีลานขนถ่ายสินค้าจำนวน 4 แห่ง และย่านกองเก็บและบรรทุกตู้สินค้า 1 แห่ง ที่สถานีเชียงของ บนพื้นที่ 150 ไร่ พร้อมแนวถนนเชื่อมต่อด่านชายแดนเชียงของ

โดยเส้นทางอยู่ในพื้นที่ จ.แพร่ ระยะทาง 77.20 กิโลเมตร มี 6 สถานี คือ เด่นชัย, สูงเม่น, แพร่, แม่คำมี, หนองเสี้ยว, สอง

อยู่ในพื้นที่ จ.ลำปาง ระยะทาง 52.40 กิโลเมตร มี 3 สถานี คือ แม่ตีบ, งาว, ปงเตา

อยู่ในพื้นที่ จ.พะเยา ระยะทาง 54.10 กิโลเมตร มี 6 สถานี คือ มหาวิทยาลัยพะเยา, บ้านโทกหวาก, พะเยา, ดงเจน, บ้านร้อง, บ้านใหม่

อยู่ในพื้นที่ จ. เชียงราย ระยะทาง 139.40 กิโลเมตร มี 11 สถานี คือ ป่าแดด, ป่าแงะ, บ้านโป่งเกลือ, สันป่าเหียง, เชียงราย, ทุ่งก่อ, เวียงเชียงรุ้ง, ชุมทางบ้านป่าซาง, บ้านเกี๋ยง, ศรีดอนชัย, เชียงของ

เนื่องจากเส้นทางต้องผ่านภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง และเขตอุทยาน จึงมีการออกแบบก่อสร้างเป็นคันทางระดับดินและทางรถไฟยกระดับ รวมถึงมีการเจาะภูเขาก่อสร้างอุโมงค์ 4 แห่ง ระยะทางในอุโมงค์ทั้งขาขึ้นและขาล่องรวม 27.03 กิโลเมตร โดยที่ จ.แพร่ มี 2 อุโมงค์ คือ ที่อำเภอสอง โดยอุโมงค์ที่ 1 มีความยาว 1.175 กิโลเมตร อุโมงค์ที่ 2 ความยาว 6.240 กิโลเมตร อุโมงค์ที่ 3 อยู่ที่บริเวณ อ.เมือง จ.พะเยา ความยาว 2.700 กิโลเมตร และอุโมงค์ที่ 4 อยู่ที่ อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ความยาว 3.400 กิโลเมตร

การเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาลอดใต้ผืนป่าอุทยานถึง 4 อุโมงค์ นอกจากเป็นไฮไลต์สำคัญของการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของแล้ว ยังจะสร้างสถิติใหม่ เป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย เหนืออุโมงค์รถไฟบ้านหินลับ ที่ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ที่มีระยะทางในอุโมงค์ทั้งขาขึ้นและขาล่องรวมกว่า 10.4 กิโลเมตร

และด้วยสภาพพื้นที่ตลอดสองข้างทางที่สวยงาม มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ผู้โดยสารจะเพลิดเพลินไปกับวิวผืนป่าที่เขียวชอุ่มและสดชื่นสบายตา เส้นทางรถไฟแล่นผ่านเทือกเขา สะพาน สลับกับการลอดอุโมงค์ จึงขึ้นแท่นเป็นเส้นทางรถไฟที่มีทัศนียภาพสวยงามตลอดเส้นทาง และจะสร้างความประทับใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสถานที่ท่องเที่ยวเดิม และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ประกอบกับเส้นทางรถไฟ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะลดระยะเวลาในการเดินทางได้เร็วกว่า 1 ชม.-1.30 ชม. เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถยนต์อีกด้วย จึงเป็นเส้นทางรถไฟแห่งอนาคตที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจการค้า สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่เส้นทางตัดผ่าน

ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ทำการเปิดประมูลตามมติ ครม.ไปแล้ว แต่มีการคัดค้านโครงการ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบและให้ชะลอการประมูล หรือยกเลิกและจัดทำทีโออาร์ จัดการประมูลขึ้นใหม่ โดยอ้างมีข้อสงสัยกำหนดทีโออาร์เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มผู้รับเหมารายใหญ่ มีการฮั้วราคา ทำให้รัฐเสียประโยชน์ เนื่องจากมีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเพียง 60 ล้านบาท

ซึ่งทุกประเด็นข้อสงสัย รฟท.ได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริงว่าได้ดำเนินการโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 และดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีการจัดทำราคากลางคำนึงถึงประโยชน์ของภาครัฐและประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยใช้ราคากลางเดือนตุลาคม 2563 ที่ รฟท.ไม่ได้ปรับราคาใหม่ หากใช้ราคากลางใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นเดือนที่ประมูลงานนี้ ค่าก่อสร้างรวมทั้งโครงการจะมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 4,600 ล้านบาท จึงทำให้รัฐประหยัดงบประมาณได้ถึง 4,600 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการภายใต้โครงการข้อตกลงคุณธรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยมีผู้สังเกตการณ์ที่กรมบัญชีกลางแต่งตั้งจำนวน 3 คนเข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตาม ตรวจสอบทุกขั้นตอน

โครงการมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนไปแล้ว และเปิดประมูลแล้ว ด้วยค่าก่อสร้างกว่า 7.2 หมื่นล้านบาท จะเป็นเม็ดเงินที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก ที่จะเกิดการจ้างแรงงาน สร้างงาน กระจายรายได้ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนี้ และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการเปิดให้บริการ จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการทำมาค้าขาย ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัด ช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ช่วยกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทาง

แต่หากเปิดประมูลใหม่ แน่นอนจะต้องจัดทีโออาร์ใหม่ ทำราคากลางใหม่ ใช้ต้นทุนปี 2564 ซึ่งราคากลางจะปรับเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาวัสดุหลักต่างๆ ที่ผันผวนอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะราคาเหล็ก ที่พบว่ามีการปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2563 แล้วมากกว่า 40% อีกทั้งการเปิดประมูลใหม่จะทำให้เกิดความล่าช้า และต้องเลื่อนโครงการออกไปอีกหลายปี ทำให้ประเทศเสียโอกาสในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ การประมูลใหม่ด้วยราคาใหม่ที่แพงกว่าเดิม สุดท้ายกลุ่มทุนผู้รับเหมาได้ประโยชน์...จะมีใครรับผิดชอบหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2021 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ” ทางคู่สายประวัติศาสตร์ ประตูการค้าเชื่อมไทย-อาเซียน และจีนตอนใต้
เผยแพร่: 30 มิ.ย. 2564 17:03 ปรับปรุง: 30 มิ.ย. 2564 17:03 โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ข่าวนี้ออกช่องห้าด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=K3NcicesBmE
ส่องรถไฟทางคู่สายเหนือ เจาะอุโมงค์ลอดยาวที่สุดในไทย
หน้าเศรษฐกิจมหภาค

พุธที่ 30 มิถุนายน 2564 เวลา 17:44 น.

รฟท.สร้างรถไฟ “เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ลุยเจาะอุโมงค์ลอดภูเขายาวที่สุดในไทย หวังลดระยะเวลาการเดินทางกว่า 1 ชม. ลั่นหากประมูลใหม่กระทบโครงการฯล่าช้า ทำต้นทุนก่อสร้างพุ่ง
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 72 เดือน ( 6 ปี) ปัจจุบันรฟท. ได้ทำการเปิดประมูลตามมติครม.ไปแล้ว แต่มีการคัดค้านโครงการ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบและให้ชะลอการประมูล หรือยกเลิกและจัดทำทีโออาร์ จัดการประมูลขึ้นใหม่ โดยอ้างมีข้อสงสัย กำหนดทีโออาร์เอื้อประโยชน์ให้กลุ่ม ผู้รับเหมารายใหญ่ มีการฮั้วราคา ทำให้รัฐเสียประโยชน์ เนื่องจากมีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเพียง 60 ล้านบาท ซึ่งทุกประเด็นข้อสงสัย รฟท.ได้มีการชี้แจง ข้อเท็จจริง ว่าได้ดำเนินการโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 และดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีการจัดทำราคากลางคำนึงถึงประโยชน์ของภาครัฐและประเทศชาติเป็นสำคัญ โดยใช้ราคากลางเดือนตุลาคม 2563 ที่ รฟท.ไม่ได้ปรับราคาใหม่ หากใช้ราคากลางใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นเดือนที่ประมูลงานนี้ ค่าก่อสร้างรวมทั้งโครงการจะมีมูลค่าสูงขึ้นกว่า 4,600 ล้านบาท จึงทำให้รัฐประหยัดงบเงินได้ถึง 4,600 ล้านบาท


ทั้งนี้โครงการมีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนไปแล้ว และเปิดประมูลแล้ว ด้วยค่าก่อสร้างกว่า 7.2 หมื่นล้านบาทจะเป็นเม็ดเงินที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานราก ที่จะเกิดการเกิดการจ้างแรงงาน สร้างงาน กระจายรายได้ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนี้ และเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โครงการเปิดให้บริการ จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการทำมาค้าขาย ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับประชาชนในจังหวัด ช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ช่วยกระตุ้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทาง



“หากเปิดประมูลใหม่ แน่นอน จะต้องจัดทีโออาร์ใหม่ ทำราคากลางใหม่ ใช้ต้นทุนปี 2564 ซึ่งราคากลางจะปรับเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาวัสดุหลักต่างๆที่ผันผวนอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะราคาเหล็ก ที่พบว่ามีการปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดือน ตุลาคม 2563 แล้วมากกว่า 40% อีกทั้งการเปิดประมูลใหม่ จะทำให้เกิดความล่าช้า และต้องเลื่อนโครงการออกไปอีกหลายปี ทำให้ประเทศเสียโอกาสในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ การประมูลใหม่ ด้วยราคาใหม่ที่แพงกว่าเดิม สุดท้ายกลุ่มทุนผู้รับเหมาได้ประโยชน์จะมีใครรับผิดชอบหรือไม่”



สำหรับแนวเส้นทางโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นจากสถานีเด่นชัย จ.แพร่ มุ่งหน้าขึ้นเหนือผ่านจังหวัด ลำปาง พะเยาสิ้นสุด ที่บริเวณด่านพรมแดนเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นเส้นทางที่จะเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง จากจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า ที่ อ.เชียงของ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 4 ไปยัง เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว และ จีนตอนใต้ ที่เมืองคุนหมิง สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดภาคเหนือเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับ อ. เชียงของเป็นโลจิสติกส์ฮับของภาคเหนือ และส่งเสริม จ.เชียงรายเป็นเมืองโลจิสติกส์ (Logistic City) ของภูมิภาคในอนาคต ขณะที่ สามารถเชื่อมโยงจากประเทศจีนตอนใต้ ผ่านลาว มาไทยไปยังท่าเรือแหลมฉบัง รองรับการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ได้อย่างสะดวก





ทั้งนี้เส้นทางรถไฟสายดังกล่าวเป็นเส้นทางต้องผ่านภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง และเขตอุทยาน จึงมีการออกแบบก่อสร้างเป็นคันทางระดับดินและทางรถไฟยกระดับ รวมถึงมีการเจาะภูเขาก่อสร้างอุโมงค์ 4 แห่ง ระยะทางในอุโมงค์ทั้งขาขึ้นและขาล่องรวม 27.03 กิโลเมตร โดยที่ จ.แพร่ มี 2 อุโมงค์ คือ ที่อำเภอสอง โดยอุโมงค์ที่ 1 มีความยาว 1.175 กิโลเมตร อุโมงค์ที่ 2 ความยาว 6.240 กิโลเมตร อุโมงค์ที่ 3 อยู่ที่บริเวณ อ.เมือง จ.พะเยา ความยาว 2.700 กิโลเมตร และอุโมงค์ที่ 4 อยู่ที่ อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย ความยาว 3.400 กิโลเมตร โดยการเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาลอดใต้ผืนป่าอุทยาน ถึง 4 อุโมงค์ นอกจากเป็นเป็นไฮไลท์สำคัญของการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของแล้ว ยังจะสร้างสถิติใหม่ เป็นอุโมงค์รถไฟที่มีความยาวมากที่สุดในประเทศไทย ซึ่งจะลดระยะเวลาในการเดินทางได้เร็วกว่า 1 ชม.-1.30 ชม. เมื่อเทียบกับการเดินทางด้วยรถยนต์อีกด้วย จึงเป็นเส้นทางรถไฟแห่งอนาคต ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งด้านการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจการค้า สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่เส้นทางตัดผ่าน
รฟท.เมินทบทวน‘ทางคู่’ อ้างประมูลใหม่ทำต้นทุนพุ่ง
วันพฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 06.00 น.แ

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ตามที่ร.ฟ.ท.ประมูลโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ มีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาทแต่มีการคัดค้านโครงการ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบและให้ชะลอการประมูล หรือยกเลิกและจัดทำทีโออาร์ จัดการประมูลขึ้นใหม่ โดยอ้างมีข้อสงสัย กำหนดทีโออาร์เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มผู้รับเหมารายใหญ่ มีการฮั้วราคา ทำให้รัฐเสียประโยชน์ เนื่องจากมีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางเพียง 60 ล้านบาท



“ทุกประเด็นข้อสงสัย ร.ฟ.ท.เคยได้มีการชี้แจง ข้อเท็จจริงไปแล้วหากเปิดประมูลใหม่ แน่นอน จะต้องจัดทีโออาร์ใหม่ ทำราคากลางใหม่ ใช้ต้นทุนปี 2564 ซึ่งราคากลางจะปรับเพิ่มสูงขึ้นแน่นอน เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ราคาวัสดุหลักต่างๆที่ผันผวนอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 โดยเฉพาะราคาเหล็ก ที่พบว่ามีการปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนตุลาคม 2563 แล้วมากกว่า 40% อีกทั้งการเปิดประมูลใหม่ จะทำให้เกิดความล่าช้า และต้องเลื่อนโครงการออกไปอีกหลายปี ทำให้ประเทศเสียโอกาสในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ การประมูลใหม่ ด้วยราคาใหม่ที่แพงกว่าเดิม สุดท้ายกลุ่มทุนผู้รับเหมาได้ประโยชน์ จะมีใครรับผิดชอบหรือไม่”นายเอกรัช กล่าว

อีกทั้งโครงการนี้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนไปแล้ว และเปิดประมูลแล้ว ด้วยค่าก่อสร้างกว่า 7.2 หมื่นล้านบาท จะเป็นเม็ดเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2021 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

#นายกตั้งกรรมการตรวจสอบรถไฟทางคู่
Warong Dechgitvigrom
ศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 15.15 น..

ล่าสุดผมได้รับหนังสือ จากสำนักนายกรัฐมนตรี เชิญผมและผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล เรื่องการประมูลรถไฟทางคู่ โดยมีสาระสำคัญของหนังสือคือ
นายกรัฐมนตรีมีคำสั่ง ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2564 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประมูลการก่อสร้าง รถไฟทางคู่ทั้งสายเหนือและสายอีสาน
เนื่องจากการประมูล เป็นเรื่องที่สื่อมวลชนและสังคมให้ความสนใจ ประกอบกับมีการร้องเรียน ให้มีการทบทวนและตรวจสอบ การประกวดราคาดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส
คณะกรรมการจึงได้เชิญผม ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคุณสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ในวันที่ 5 ก.ค. 2564 เวลา 9.30 น.ห้อง 109 ชั้น 1 อาคารปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
ผมต้องขอขอบคุณท่านนายกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่รับฟังการท้วงติงจากพวกเรา และช่วยกันป้องกันการทุจริตครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/07/2021 6:24 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.มั่นใจประมูลสร้างรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ตามระเบียบ
Jul 17, 2021
สํานักข่าวไทย TNAMCOT

วันนี้จะพาไปดูประโยชน์ของทางรถไฟทางคู่สายใหม่ที่มีต่อเศรษฐกิจ และการยืนยันว่ามีการดำเนินการประมูลอย่างโปร่งใส จาการรถไฟฯ สำหรับรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ


https://www.youtube.com/watch?v=XRWfsqB8G1c
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 46, 47, 48 ... 76, 77, 78  Next
Page 47 of 78

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©