Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179802
ทั้งหมด:13491034
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 76, 77, 78  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2021 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

สัญญาณดี! รถไฟสายใหม่ “เด่นชัย-เชียงของ/บ้านไผ่-นครพนม” ได้ไปต่อ
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
17 กันยายน 2564 เวลา 09:15 น.

สัญญาณดี! คณะกรรมการ 7 อรหันต์ ให้รถไฟทางคู่สายใหม่ “เด่นชัย-เชียงของ/บ้านไผ่-นครพนม” 1.2 แสนล้าน ได้ไปต่อ รฟท. ลุยชงบอร์ด 29 ก.ย.นี้ เคาะสั่งจ้างผู้ชนะประมูล 5 สัญญา คลอดแล้ว พ.ร.ฎ.เวนคืนสายบ้านไผ่-นครพนม 1.7 หมื่นไร่ กว่า 8 พันแปลง อดใจรอได้ใช้บริการ 2 เส้นพร้อมกันปี 71


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ในวันที่ 29 ก.ย.64 รฟท. จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. พิจารณาอนุมัติการสั่งจ้างผู้ชนะการประกวดราคา(ประมูล)โครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และโครงการรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.54 หมื่นล้านบาท จำนวน 2 สัญญา โดยการอนุมัติสั่งจ้างดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขให้รอผลการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้น 7 คนออกมาก่อน

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า รฟท. ได้เข้าชี้แจงข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ในการดำเนินโครงการฯ ให้คณะกรรมการดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว เบื้องต้นมีสัญญาณที่ดีว่าทั้ง 2 โครงการจะได้เดินหน้าโครงการต่อไป ทั้งนี้ที่ผ่านมา รฟท. ได้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ของการประมูลคู่ขนานไปกับการตรวจสอบความโปร่งใสของคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้เริ่มลงพื้นที่ประชุมร่วมกับชาวบ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินแล้ว แต่เริ่มได้เฉพาะในส่วนของสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของก่อน เนื่องจากในขณะนั้นสายบ้านไผ่-นครพนม ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน จึงไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะจะผิดกฎหมายได้

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในพื้นที่บางส่วนในท้องที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทอง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอธาตุพนม อำเภอเรณูนคร อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เพื่อดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม พ.ศ.2564 แล้ว


รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ที่ดินที่จะเวนคืนดังกล่าวจะนำไปใช้ในการสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม โดย พ.ร.ฎ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันถัดไปหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้มีผลใช้บังคับได้ 4 ปี พร้อมทั้งมอบให้ รฟท. เป็นเจ้าหน้าที่ในการเวนคืน และให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.นี้ ภายใน 120 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.นี้มีผลใช้บังคับ อย่างไรก็ตามสำหรับสายบ้านไผ่-นครพนม มีพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม ที่จะถูกเวนคืนที่ดินรวม 17,872 ไร่ 8,087 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 930 หลัง และไม้ยืนต้น 1,491 ไร่ ใช้งบประมาณในการเวนคืนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท



รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ยอมรับว่าขณะนี้ภาพรวมการดำเนินงานทั้ง 2 โครงการล่าช้าไปจากแผนงานที่วางไว้แล้วประมาณ 3 เดือน แต่ยังสามารถปรับแผนงานให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ได้ โดยโครงการรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ จะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 6 ปี แล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 71 ขณะที่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม เนื่องจาก พ.ร.ฎ.เวนคืนฯ เพิ่งประกาศและมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะเวนที่ดินแล้วเสร็จ และทยอยมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับผู้รับจ้างได้ภายใน ส.ค.67 โดยจะได้ที่ดินแปลงแรกประมาณเดือน ม.ค.66 ซึ่งผู้รับจ้างสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ มีระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการในปี 71.

อัพเดท! ทางคู่2สายใหม่เด่นชัย-เชียงของ/บ้านไผ่-นครพนม
*สัญญาณดี7กรรมการตรวจสอบการประมูลให้ไปต่อ
*รฟท.ชงบอร์ด29ก.ย.เคาะจ้าง5สัญญา 1.2แสนล้าน
*คลอดพ.ร.ฎ.เวนคืนบ้านไผ่-นครพนม19อำเภอ6จว.
*เวนคืน 1.7 หมื่นไร่กว่า 8 พันแปลงเยียวยาหมื่นล้าน
*อดใจรอได้ใช้บริการ2เส้นทาง678กม.พร้อมกันปี71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3001683076719857
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2021 4:19 pm    Post subject: Reply with quote

"อย่าปล่อยให้2รถไฟทางคู่ เหนือ-อีสานผ่านแบบ “ค้านสายตา”
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
19 กันยายน 2564 เวลา 9:01 น.

สะพัด ! คณะกรรมการตรวจสอบประมูล2 รถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน ชุดนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ ตั้งขึ้น ส่อเค้าปล่อยผีลุยต่อทั้งยังมีข้อกังขาอีกเพียบ "สามารถ ราชพลสิทธิ์"ออกโรงเตือน อย่าปล่อยให้ทางคู่เหนือ-อีสานผ่านแบบ “ค้านสายตา”



นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โฟสต์เฟซบุ๊กเมื่อวันที่19กันยายนว่า มีการเสนอข่าวว่าการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานที่กำลังถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการตรวจสอบประมูลรถไฟทางคู่ ที่ท่านนายกฯ(พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี) แต่งตั้งขึ้นมาอาจจะได้เดินหน้าต่อ ทั้งๆ ที่ยังมีข้อกังขาค้างคาใจของประชาชนทั้งประเทศ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง การประมูลโครงการอื่นในอนาคต คงได้เห็นราคาประมูลเฉียดฉิวราคากลางดังเช่นการประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสานกันอีกแน่นอน

ข้อกังขามีอะไรบ้าง?

การประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 72,918 ล้านบาท และสายอีสานช่วงบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 55,456 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งหมด 128,374 ล้านบาท สร้างความกังขาให้กับประชาชนทั้งประเทศ ดังนี้


1. จำนวนสัญญาการประมูลเท่ากับจำนวนผู้รับเหมาขนาดใหญ่พอดี

สายเหนือแบ่งการประมูลออกเป็น 3 สัญญา ส่วนสายอีสานแบ่งออกเป็น 2 สัญญา รวมเป็น 5 สัญญา เท่ากับจำนวนผู้รับเหมาขนาดใหญ่ที่สามารถเข้าประมูลได้พอดี ซึ่งในการประมูลที่เกิดขึ้นก็มีผู้รับเหมาขนาดใหญ่เข้าประมูล 5 ราย และชนะการประมูลทุกราย

2. ราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางเท่ากัน

2.1 สายเหนือ ประมูลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564

ราคากลาง 72,918 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 72,858 ล้านบาท นั่นคือประหยัดค่าก่อสร้างได้เพียง 60 ล้านบาท เท่านั้น คิดเป็น 0.08%

2.2 สายอีสาน ประมูลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564

ราคากลาง 55,456 ล้านบาท ราคาที่ได้จากการประมูล 55,410 ล้านบาท นั่นคือประหยัดค่าก่อสร้างได้แค่ 46 ล้านบาท เท่านั้น คิดเป็น 0.08% เท่ากันกับสายเหนืออย่างน่ากังขายิ่ง

นายกรัฐมนตรีตั้งกรรมการตรวจสอบ

จากความกังขาที่เกิดขึ้นทำให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือ-สายอีสานขึ้นมาในวันที่ 17 มิถุนายน 2564

คณะกรรมการฯ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องไปให้ข้อมูล แม้ผลการตรวจสอบยังไม่เป็นที่เปิดเผย แต่กลับมีกระแสข่าวออกมาว่ามีสัญญาณที่ดีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย นั่นคือได้เดินหน้าต่อ ไม่ต้องประมูลใหม่

ผมไม่เชื่อข่าวดังกล่าวจนกว่าจะได้รับฟังจากท่านนายกฯ หรือคณะกรรมการฯ แต่อยากฝากให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบการคัดค้านขอบเขตของงาน (ทีโออาร์) โดยผู้สังเกตการณ์ตามข้อตกลงคุณธรรม

ผู้สังเกตการณ์คัดค้านอะไร?

ในการประมูลรถไฟฟ้าทางคู่สายเหนือและสายอีสาน การรถไฟฯ ได้ลงนามในข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) กับผู้เข้าร่วมประมูล และผู้สังเกตการณ์จากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ภายใต้โครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

ข้อตกลงคุณธรรมเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างการรถไฟฯ กับผู้เข้าร่วมประมูลว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการประมูล โดยมีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมสังเกตการณ์ทุกขั้นตอนตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงาน (ร่างทีโออาร์) ร่างประกาศเชิญชวน จนถึงขั้นตอนสิ้นสุดการประมูล

ผู้สังเกตการณ์เป็นบุคคลภายนอกหรือภาคประชาสังคมที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ และประสบการณ์ซึ่งจำเป็นต่อการประมูลรถไฟทางคู่ และจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีส่วนได้เสียกับการประมูล

ทราบมาว่าผู้สังเกตการณ์ต้องการให้การรถไฟฯ แยกงานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณออกจากงานก่อสร้างทางรถไฟเช่นเดียวกับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้ ซึ่งได้ผลดี ทำให้การรถไฟฯ สามารถประหยัดค่าก่อสร้างได้ 5.66% ของราคากลาง แต่การรถไฟฯ ไม่ยอมทำตาม

เหตุใดการรถไฟฯ จึงไม่ทำตามข้อเสนอแนะของผู้สังเกตการณ์? หากคำชี้แจงของการรถไฟฯ ฟังไม่ขึ้น หรือมีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตหรืออาจนำไปสู่การทุจริตได้ ผู้สังเกตการณ์จะต้องรายงานต่อ ACT เพื่อให้ ACT รายงานต่อฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (ค.ป.ท.) พิจารณาดำเนินการต่อไป

สรุป

ผมไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน ในทางกลับกันผมต้องการให้การรถไฟฯ เร่งลงมือก่อสร้าง เพราะเห็นว่ารถไฟทางคู่จะช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญ รถไฟทางคู่จะผลักดันการขนส่งของประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ถึงเวลาแล้วที่จะต้องขับเคลื่อนประเทศด้วยระบบราง

ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าผลการตรวจสอบของคณะกรรมการฯ จะออกมาอย่างไร จะให้เดินหน้าต่อหรือจะให้ประมูลใหม่ จะต้องหาทางทำให้การรถไฟฯ ประหยัดค่าก่อสร้างได้อย่างน้อย 5.66% ของราคากลาง (เท่ากับการประมูลรถไฟทางคู่สายใต้) ซึ่งคิดเป็นเงิน 7,266 ล้านบาท ไม่ใช่ 0.08% ของราคากลาง ซึ่งคิดเป็นเงินเพียง 106 ล้านบาทเท่านั้น ดังที่ได้จากการประมูลที่น่ากังขาและฉาวโฉ่

“มิฉะนั้น จะเป็นบรรทัดฐานในการประมูลที่สร้างความกังขาให้กับประชาชนว่าเป็นการสมยอมราคา (ฮั้ว) กันหรือไม่? แต่ถ้าภาครัฐมองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายก็จะค้านกับสายตาของประชาชน และขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้รัฐและประชาชนได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการประมูล”

ทั้งหมดนี้ ขอฝากความหวังไว้ที่กรรมการทุกท่าน

ข้อสงสัยดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อกังขาที่ผมและประชาชนทุกคนชอบที่จะต้องขอคำชี้แจงให้สิ้นสงสัยจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ด้วยเจตนาที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการนี้อย่างเต็มที่ โดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ทั้งสิ้นเท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2021 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ดีเดย์! กางผังรังวัดเดินหน้ารถไฟเด่นชัย-เชียงของ ทุนท้องถิ่นหวังลาวผ่อนกฎดันแลนด์ลิงก์รับเชื่อมโยง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 22 กันยายน 2564 เวลา 08:37 น.
ปรับปรุง: 22 กันยายน 2564 เวลา 08:37 น.

เชียงราย - รฟท.เตรียมรังวัดเวนคืนที่ดินรถไฟเด่นชัย-เชียงของเดือนหน้า ก่อนจ่ายเงิน ส่งมอบที่ดิน เริ่มสร้างปลายปี หลังผลักดันกันมากว่าครึ่งศตวรรษ ทุนท้องถิ่นหวังลาวปรับกฎระเบียบขนส่งเอื้อแลนด์ลิงก์หนุนการค้า-ท่องเที่ยวลุ่มน้ำโขงคึกคักขึ้น



โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่สายใหม่ อ.เด่นชัย จ.แพร่ ปลายทาง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ระยะทาง 323.10 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 72,921 ล้านบาท กำหนดระยะเวลา 72 เดือน (6 ปี) นั้น ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกติดตั้งป้ายประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ประชาสัมพันธ์โครงการ สำรวจ-จัดทำข้อมูลรายละเอียดเพื่อการเวนคืนอย่างต่อเนื่อง

และมีกำหนดจะเริ่มรังวัดที่ดินในเดือน ต.ค. 2564 เป็นต้นไปแล้ว พร้อมกับจะเริ่มจ่ายเงินค่าเวนคืนที่ดินตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 ส่งมอบที่ดินแปลงแรกเพื่อการก่อสร้างโครงการในเดือน มิ.ย. 2565 เพื่อให้เริ่มก่อสร้างให้ทันในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน

ด้านนายสงวน ซ้อนกลิ่นสกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย และนักธุรกิจ อ.เชียงของ เปิดเผยว่า โครงการรถไฟสายนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 57 ปีกว่าจะมีการก่อสร้างจริง ดังนั้นสภาพพื้นที่จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก อย่างสถานีสุดท้ายที่ อ.เชียงของ พบว่าผ่าเข้ากลางเมืองและเฉือนที่ดินของเอกชน คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรีนบัส และโครงการหมู่บ้านไป 50-60% ครอบคลุมสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งผืนด้วย

เส้นทางที่เข้าสู่ตัวเมืองจะเป็นทางราบขนานไปกับถนนทางรถยนต์ มีการทำแนวกั้นรั้ว และผ่านถนนสายหลักทำให้แบ่ง ต.เวียง และ ต.สถาน อ.เชียงของ ออกเป็นสองฝั่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออาคารพาณิชย์และบ้านเรือนต่างๆ โดยเฉพาะการค้าและการคมนาคม หาก รฟท.สร้างเป็นทางยกระดับสำหรับรถไฟแยกจากทางรถยนต์ก็จะส่งผลดีต่อพื้นที่



ขณะเดียวกัน โครงการนี้ก็เริ่มทำให้เกิดการเคลื่อนไหวซื้อขายที่ดินกันบ้างแล้ว แต่ไม่คึกคักเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 นักลงทุนยังรอดูสถานการณ์ ส่วนเจ้าของที่ดินต้องการขายที่ดิน ทำให้ราคาที่ดินถูกกำหนดโดยผู้ซื้อ ทำให้ราคาใกล้เขตเวนคืนที่ดินทั่วไปไม่สูงมากนัก หากเป็นที่ติดถนนก็จะมีราคาไร่ละประมาณ 1 ล้านบาท และลึกจากถนนเข้าไปไร่ละประมาณ 400,000-500,000 บาท แต่ก็มีบางพื้นที่ที่ใกล้กับเส้นทางคมนาคมสำคัญอาจสูงถึงไร่ละ 11 ล้านบาท เช่น ปากทางเข้าด่านพรมแดนสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว ข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมถือว่ายังไม่คึกคัก คงต้องพ้นวิกฤตโควิด-19 เชื่อว่าจะคึกคักขึ้นอย่างแน่นอน

สำหรับในอนาคตคาดว่าสิ่งที่จะเจริญเติบโตขึ้นหากผ่านวิกฤตโควิด-19 และเส้นทางรถไฟแล้วเสร็จคือการท่องเที่ยว เพราะเชียงของถือว่าอยู่ใกล้กับประเทศจีนมากที่สุดเพียงประมาณ 254 กิโลเมตร เมื่อการคมนาคมสะดวกและมีทางเลือกมากขึ้นผู้คนก็จะเดินทางไปมาก ประกอบกับทางการจีนสร้างรถไฟความเร็วสูงจากมณฑลยูนนาน-สปป.ลาว-เวียงจันทน์-จ.หนองคาย ประเทศไทย ซึ่งจะเปิดเดินรถวันที่ 2 ธ.ค.นี้ โดยเส้นทางดังกล่าวผ่านสถานีบ่อเต็น-โมฮาน ชายแดน สปป.ลาว-จีน บนถนนอาร์สามเอ ทำให้นักท่องเที่ยวมีทางเลือกเดินทางจากไทยไปขึ้นรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวแล้วเดินทางไปได้หลายทิศทาง



ส่วนการค้าชายแดนนั้นเชื่อว่านักลงทุนโดยเฉพาะจากจีนกำลังดูต้นทุนการขนส่ง เนื่องจากตอนนี้ทางการ สปป.ลาวมีข้อกำหนดให้เปลี่ยนหัวลากรถบรรทุกข้ามแดนที่สถานีเปลี่ยนถ่ายเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ติดกับ อ.เชียงของ ทำให้รถบรรทุกต้องเปลี่ยนจากรถจากฝั่งไทยเป็น สปป.ลาว สลับกัน

“หากสินค้าขนส่งมากับระบบรางต้องขนใส่รถบรรทุกแล้วยังต้องเปลี่ยนหัวลากเพื่อขนส่งไปตามถนนอาร์สามเอไทย-สปป.ลาว-จีน จะยุ่งยากและล่าช้า อาจไม่เหมาะกับสินค้าสดได้ และเมื่อรถไฟความเร็วสูงเชื่อม จ.หนองคาย-มณฑลยูนนาน เปิดบริการ ทำให้มีทางเลือกมากขึ้นด้วย”

ดังนั้น กรณีการขนส่งสินค้าชายแดนต้องมองในระยะยาวว่าจะเติบโตขึ้นตามที่คาดหมายกันหรือไม่ โดยมีปัจจัยเรื่องต้นทุน ระเบียบใน สปป.ลาว เรื่องการขนส่ง การเสียค่าธรรมเนียมไม่เบ็ดเสร็จโดยต้องเสียถึง 2 แขวงทั้งแขวงบ่อแก้ว และแขวงหลวงน้ำทาก่อนถึงจีน จึงเห็นว่าลาวอาจต้องปรับเปลี่ยนหากต้องการเป็นแลนด์ลิงก์



สำหรับแนวเส้นทางรถไฟรางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ แพร่ ลำปาง พะเยา และเชียงราย จำนวน 59 ตำบล 17 อำเภอ มีสถานีทั้งสิ้น 26 สถานี ประกอบด้วย สถานีขนาดใหญ่ 4 สถานี สถานีขนาดเล็ก 9 สถานี และป้ายหยุดรถ 13 แห่ง จากการสำรวจของ รฟท.พบมีสิ่งปลูกสร้างในแนวเขต 8 อำเภอเฉพาะ จ.เชียงราย จำนวน 791 หลัง ไม้ยืนต้น 2,119 แปลง และมีแปลงที่ดินที่ถูกเวนคืนรวม 3,172 แปลง

รฟท.เร่งใช้งบหมื่นล้านจ่ายเวนคืนสร้างรถไฟเด่นชัย-เชียงของ

แม้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงการประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 โครงการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องการให้มีการตรวจสอบตามที่มีการร้องเรียนนั้นจะได้เรียกการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เข้าชี้แจงไปแล้ว 3 ครั้งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีคำตอบออกมาซึ่งแน่นอนว่าจะมีการรายงานผลการประชุมไปยังนายกรัฐมนตรีให้พิจารณาสั่งการขั้นต่อไป ส่วนจะได้เดินหน้าต่อหรือต้องเปิดประมูลใหม่นั้น ยังมีลุ้น!!!

ปัจจุบันโครงการนี้อยู่ระหว่างการเร่งสำรวจพื้นที่เวนคืน ซึ่งความคืบหน้านั้นตามข้อมูลที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ให้ข้อมูลกับประชาชนทั้ง 4 จังหวัดเกี่ยวกับการเวนคืนโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-พะเยา-เชียงราย-เชียงของ ระบุว่า แนวทางปฏิบัตินั้นรฟท.จะเวนคืนเฉพาะที่ดินของภาคเอกชน ส่วนที่ดินของรัฐจะเป็นการขอใช้พื้นที่มาดำเนินการ

คาดส่งมอบพื้นที่ให้ได้ในกลางปี 65

ปัจจุบันกระบวนการเวนคืนอยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่สำรวจ และกำหนดค่าทดแทน การสำรวจใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน จากนั้นจะกำหนดค่าทดแทน แล้วเข้าสู่กระบวนการรังวัดที่ดิน ปิดท้ายด้วยการทำสัญญา และเข้าครอบครอง ดังนั้นต้นปี 2565 จะได้เห็นภาพชัดเจนต่อกรณีการเวนคืน ซึ่งบางขั้นตอนสามารถปฏิบัติคู่ขนานกันไป รฟท.จึงเร่งส่งมอบพื้นที่ให้ได้ในช่วงกลางปี 2565 เพื่อให้ผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ก่อสร้างช่วงปลายปี 2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ในส่วนงบประมาณการเวนคืนจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไปนั้นขณะนี้สำนักงบประมาณให้มาแล้วบางส่วนจากทั้งสิ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องเวนคืนจำนวน 7,035 แปลง หรือจำนวน 9,661 ไร่ โดยรฟท. จะต้องเบิกเงินออกมาใช้ให้เสร็จสิ้นในวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปีงบประมาณดังกล่าว

จากการรับฟังข้อมูลพบว่าพื้นที่เอกชนส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่แนวราบหากสามารถส่งมอบได้เร็วก็จะสามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้เร็ว ส่วนพื้นที่ของรัฐจะเป็นภูเขา ป่าไม้ ภูเขาส่วนใหญ่จะอยู่แนวจังหวัดแพร่ พะเยาและเชียงราย ซึ่งช่วงปากอุโมงค์จะเป็นพื้นที่รัฐคือกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชจะใช้บริเวณมากเนื่องจากใช้กองหิน ดินที่ขุดออกมาจากอุโมงค์ จึงควรต้องเร่งดำเนินการก่อน

เสนอขอใช้ที่ดินรัฐเพื่อให้พร้อมขุดเจาะอุโมงค์

ในส่วนงานเจาะอุโมงค์ 4 จุดและงานสร้างสะพานยกระดับช่วงผ่านพื้นที่หุบเขา เหวลึก การตัดผ่านหุบเขาต่างๆซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาขออนุญาตและก่อสร้างนาน รฟท. ได้ข้อมูลหลายส่วนพร้อมยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปบ้างแล้ว

ประการสำคัญตัวเครื่องจักรที่นำเข้าไปในอุโมงค์ ปริมาณหินและดินที่จะต้องขนออกมาแล้วไปกองไว้ที่นอกจุดการขุดจะต้องผ่านพื้นที่หลายจุด ดังนั้นจึงต้องเร่งเวนคืนเพื่อส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาเข้าไปดำเนินการได้อย่างเต็มที่ สะดวก รวดเร็วในการดำเนินงาน เนื่องจากเศษดิน หิน มีปริมาณมากโดยเฉพาะจุดที่ขุดเจาะอุโมงค์ทั้ง 4 จุด

สำหรับดิน หิน ที่คุณภาพยังใช้ได้ดีรฟท.ยังสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการถมคืนพื้นที่ระยะต่อมาได้อีกด้วยโดยไม่ต้องไปจัดหาใหม่ให้เสียงบประมาณอีก ประการสำคัญแต่ละหน่วยในฐานะเจ้าของพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นกรมป่าไม้ กรมทางหลวง กรมชลประทาน ฯลฯ ล้วนมีวิธีการและแนวทางปฏิบัติที่แตกต่างกันไปในการขออนุญาตใช้พื้นที่ต่างๆ

สค.-ธค.เร่งปักหลัก-สำรวจ-รังวัดแยกแปลง

นายปัฐตพงศ์ บุญแก้ว วิศวกรกำกับการกองควบคุมงานวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม 1 ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ให้รายละเอียดว่า กระบวนการด้านเวนคืนนั้น งานสำรวจ/ปักหลักเวนคืนกำหนดไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2564 พร้อมกับงานสำรวจรายละเอียดที่ดินที่ถูกเวนคืน ส่วนงานรังวัดแบ่งแยกแปลงที่ดินจะเริ่มเดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป งานสำรวจรายละเอียดสิ่งปลูกสร้างเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 พร้อมกับงานสำรวจรายละเอียดต้นไม้

ต่อจากนั้นในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 จะเป็นการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดราคาค่าตอบแทน ต่อเนื่องกับงานประมาณการค่าตอบแทนไปจนถึงเดือนมกราคม 2565 หลังจากนั้นเมื่อได้รายละเอียดต่างๆครบถ้วนจึงจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป โดยคาดว่าจะสามารถทำสัญญาได้ภายในเดือนเมษายน 2565 เริ่มจ่ายค่าทดแทนให้ผู้ถูกเวนคืนได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 พร้อมกับเริ่มเข้าพื้นที่รื้อถอนและการส่งมอบพื้นที่ควบคู่กันไป

นอกจากนั้นคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฏร จะลงพื้นที่ในวันที่ 23 กันยายนนี้เพื่อสอบถามรายละเอียดตามข้อร้องเรียนที่ดินเกี่ยวกับพื้นที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(สปก.) อีกทั้งคณะกรรมการจัดประกวดราคายังเตรียมนำเสนอเข้าสู่การประชุมเพื่อพิจารณาของคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.ในวันที่ 29 กันยายนนี้ในการพิจารณาผลการประกวดราคาเพื่ออนุมัติสั่งจากจากบอร์ดรฟท. ส่วนกรณีผลการตรวจสอบของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงการประมูลโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 โครงการที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีสั่งดำเนินการตามที่มีการร้องเรียนนั้นกระบวนการประกวดราคายังต้องรอผลการพิจารณาซึ่งกระบวนการขณะนีรฟท. สามารถปฏิบัติการควบคู่กันไปได้ หลังจากที่ได้ข้อสรุปครบถ้วนทั้งหมดแล้วจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการในท้ายที่สุดต่อไป

ทั้งนี้จากข้อมูลโครงการในการนำเสนอต่อประชาชนเพื่อรับฟังความเห็นระบุว่าเมื่อปี 2563 พบว่ามีจำนวนแปลงที่ดิน/เนื้อที่ที่ถูกเวนคืนรวม 8,137 แปลง รวมเนื้อที่ถูกเวนคืน 11,665 ไร่ (เป็นพื้นที่ป่า 1,338 ไร่) จำแนกรายจังหวัดดังนี้คือ จ.แพร่ จำนวน 2,761 แปลง เนื้อที่ 2,680 ไร่ (เป็นพื้นที่ป่า 325 ไร่) จัดเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ์ 2,592 แปลง ที่สปก. (ดูแลโดยปฏิรูปที่ดินจังหวัด) 42 แปลง ที่ ท.ค.(ครอบครอง รอการสอบสวนสิทธิ์) 103 แปลง ที่ น.ส.ล.หรือที่ดินของหลวง (ดูแลโดยธนารักษ์จังหวัด) 3 แปลง ที่สาธารณประโยชน์(ดูแลโดยกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น) 20 แปลง ป่าไม้(ดูแลโดยป่าไม้จังหวัด) 1 แปลง จ.ลำปาง 389 แปลง เนื้อที่ 1,991 ไร่ (เป็นพื้นที่ป่า 894 ไร่) มีที่ดินเอกสารสิทธิ์ 272 แปลง ที่สปก. 80 แปลงที่ ท.ค. 31 แปลง ที่น.ส.ล. 4 แปลง ป่าไม้ 2 แปลง จ.พะเยา 1,815 แปลง เนื้อที่ 1,716 ไร่ มีที่ดินเอกสารสิทธิ์ 1,648 แปลง สปก. 137 แปลง ที่ ท.ค. 19 แปลง น.ส.ล. 5 แปลง ที่สาธารณประโยชน์ 5 แปลง ป่าไม้ 1 แปลง และ จ.เชียงราย 3,172 แปลง เนื้อที่ 5,278 ไร่ (เป็นพื้นที่ป่า 119 ไร่) มีที่ดินเอกสารสิทธิ์ 2,466 แปลง สปก. 536 แปลง ที่ ท.ค. 164 แปลง น.ส.ล. 2 แปลง สาธารณประโยชน์ 2 แปลง และป่าไม้ 2 แปลง

นอกจากนั้นข้อมูลของรฟท.ยังระบุอีกว่ามีข้อมูลการเวนคืนสิ่งปลูกสร้างรวม 1,679 หลัง จำนวนไม้ยืนต้นรวม 4,773 แปลง ดังนี้ คือ ใน จ.แพร่ จำนวนสิ่งปลูกสร้าง 254 หลัง จำนวนไม้ยืนต้น 1,036 แปลง จ.ลำปาง สิ่งปลูกสร้าง 162 หลัง ไม้ยืนต้น 363 แปลง จ.พะเยา สิ่งปลูกสร้าง 472 หลัง ไม้ยืนต้น 1,255 แปลง และจ.เชียงราย สิ่งปลูกสร้าง 791 หลัง ไม้ยืนต้น 2,119 แปลง

ทยอยประชุมชี้แจงเรื่องเวนคืนแก่ 4 จังหวัด

โดยเส้นทางช่วงที่ผ่านจ.แพร่ ได้ดำเนินการประชุมชี้แจงผู้ได้รับผลกระทบไปเรียบร้อยแล้วทั้งระดับตำบลและหมู่บ้านผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยภาพรวม จ.แพร่ มีจำนวนแปลงที่ดินถูกเวนคืนประมาณ 2,761 แปลง คือ เขต อ.เด่นชัย ที่ดิน 259 แปลง อ.สูงเม่น 750 แปลง อ.เมืองแพร่ 774 แปลง อ.หนองม่วงไข่ 136 แปลง และอ.สอง 842 แปลง

ส่วนจำนวนสิ่งปลูกสร้าง / แปลงไม้ยืนต้นที่ถูกเวนคืนในจ.แพร่ มีจำนวนสิ่งปลูกสร้างรวม 254 หลัง และจำนวนไม้ยืนต้น 1,036 แปลง จำแนกเป็นแต่ละอำเภอดังนี้ อ.เด่นชัย มีจำนวนสิ่งปลูกสร้าง 37 หลัง จำนวนไม้ยืนต้น 120 แปลง อ.สูงเม่น สิ่งปลูกสร้าง 81 หลัง ไม้ยืนต้น 279 แปลง อ.เมืองแพร่ สิ่งปลูกสร้าง 88 หลัง ไม้ยืนต้น 319 แปลง อ.หนองม่วงไข่ สิ่งปลูกสร้าง 16 หลัง ไม้ยืนต้น 40 แปลง และอ.สอง สิ่งปลูกสร้าง 32 หลัง ไม้ยืนต้น 278 แปลง

สำหรับแนวเส้นทางผ่าน จ.ลำปาง ซึ่งพื้นที่เวนคืนจะอยู่ในเขต อ.งาว มีจำนวนสิ่งปลูกสร้าง 162 หลัง ไม้ยืนต้น 363 แปลง โดยมีจำนวนแปลงที่ดินทั้งที่มีโฉนดและอื่นๆรวม 389 แปลง

ในส่วนการเวนคืนในพื้นที่จ.พะเยา มีสิ่งปลูกสร้างรวม 472 หลัง ไม้ยืนต้น 1,255 แปลง จำแนกเป็น อ.เมืองพะเยา สิ่งปลูกสร้าง 304 หลัง ไม้ยืนต้น 520 แปลง อ.ดอกคำใต้ สิ่งปลูกสร้าง 123 หลัง ไม้ยืนต้น 254 แปลง อ.ภูกามยาว สิ่งปลูกสร้าง 45 หลัง ไม้ยืนต้น 481 แปลง

แนวเส้นทางในพื้นที่จ.เชียงราย พบว่ามีแปลงที่ดินที่ถูกเวนคืน ทั้งที่ดินมีโฉนดและรูปแบบอื่นๆรวม 3,172 แปลง จำแนกเป็นเขต อ.เทิง 60 แปลง อ.ป่าแดด 469 แปลง อ.เมืองเชียงราย 652 แปลง อ.เวียงชัย 472 แปลง อ.เวียงเชียงรุ้ง 695 แปลง อ.ดอยหลวง 66 แปลง อ.เชียงแสน 25 แปลง และอ.เชียงของ 733 แปลง

โดยจะมีการเวนคืนสิ่งปลูกสร้างจำนวนรวม 1,679 หลัง ไม้ยืนต้นจำนวน 4,773 แปลง จำแนกรายละเอียดได้ดังนี้ อ.เทิง สิ่งปลูกสร้าง 7 หลัง ไม้ยืนต้น 43 แปลง อ.ป่าแดด สิ่งปลูกสร้าง 179 หลัง ไม้ยืนต้น 272 แปลง อ.เมืองเชียงราย 85 หลัง ไม้ยืนต้น 498 แปลง อ.เวียงชัย สิ่งปลูกสร้าง 82 หลัง ไม้ยืนต้น 312 แปลง อ.เวียงเชียงรุ้ง สิ่งปลูกสร้าง 331 หลัง ไม้ยืนต้น 501 แปลง อ.ดอยหลวงสิ่งปลูกสร้างไม่มี มีเพียงไม้ยืนต้น 50 แปลง อ.เชียงแสน สิ่งปลูกสร้าง 7 หลัง ไม้ยืนต้น 15 แปลง และอ.เชียงของ สิ่งปลูกสร้าง 100 หลัง ไม้ยืนต้น 428 แปลง
https://www.facebook.com/photo/?fbid=4445926358787608&set=a.3693103947403190
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2021 12:10 am    Post subject: Reply with quote

ปมพิรุธ 2รถไฟทางคู่เหนือ-อีสาน ส่อฮั้วประมูล มีแววได้ไปต่อ
หน้าเศรษฐกิจมหภาค Mega Project
26 กันยายน 2564 เวลา 19:55 น.

ปมพิรุธ 2โครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสานส่อฮั้วประมูล มีแววได้ไปต่อหลังรฟท.แย้มผลตรวจสอบคณะกรรมการฯชุดนายกรัฐมนตรี สรุปผลพิจารณาเรียบร้อยแล้วเตรียมชงบอร์ดรฟท.อนุมัติ จ้าง5สัญญาเร่งก่อนสร้างเปิดใช้เส้นทาง



ปมพิรุธส่อฮั้วประมูล 2โครงการรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 5สัญญา 5รับเหมาที่มีผลงานผ่านเกณฑ์ ทีโออาร์ แถมเสนอราคาห่างจากราคากลาง เพียง0.08% หรือประมาณหลักสิบล้านบาท เมื่อราว4เดือนก่อน ชนวนทำให้หลายฝ่ายร้องเรียนไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และในครั้งนั้นนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง7ราย ในที่สุดผลการพิจารณาออกมาส่อแววให้2โครงการได้ไปต่อ


ทั้งนี้แหล่งข่าวจากรฟท.ได้ออกมายืนยันว่า วันที่ 29 กันยายนนี้รฟท. จะนำ2โครงการทางคู่เสนอคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย(บอร์ดรฟท.) พิจารณาอนุมัติ การสั่งจ้างผู้ชนะประมูลทั้ง5สัญญา เพื่อก่อสร้างตามแผน ขณะเดียวกันได้ เดินหน้าลงพื้นที่หลังจากพระราชกฤษฎีกาเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ประกาศใช้ ครบทั้ง2เส้นทาง

สำหรับทางคู่ สายเหนือ ช่วง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และทางคู่ สายอีสาน ช่วงบ้านไผ่-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงิน 5.54 หมื่นล้านบาท จำนวน 2 สัญญา คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างและเปิดเส้นทางได้พร้อมกันในปี2571
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2021 1:31 pm    Post subject: Reply with quote

‘ขนส่ง’ตีปี๊บประมูล ศูนย์ขนส่งเชียงของ2,864ล้าน
วันจันทร์ ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.



นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบก ได้ประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 วงเงินโครงการรวมกว่า 2,864 ล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน และค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ และเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M) ทั้งหมด รวมทั้งผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้ภาครัฐตลอดระยะเวลา 15 ปีนับจากปีเปิดให้บริการ

ทั้งนี้ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย จัดเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) ของกรมการขนส่งทางบก ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ประชิดด่านพรมแดนเชียงของ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ - ห้วยทราย) บนเนื้อที่กว่า 335 ไร่ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนน เป็นสถานีปรับเปลี่ยนการขนส่งระหว่างประเทศไปสู่ภายในประเทศ รองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R3A เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีนฝั่งตะวันตก (นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน) รองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงาน CIQ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สามารถดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว


อีกทั้งยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Modal Shift) ระหว่างทางถนนกับทางราง ผ่านแนวการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการก่อสร้างแนวรางเข้ามายังพื้นที่โครงการอีกด้วย โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นศูนย์กลางทางด้าน โลจิสติกส์ของภาคเหนือ (Northern Logistics Hub) ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ


อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนที่สนใจสามารถติดต่อขอซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนในราคาชุดละ 50,000 บาท ได้ที่ส่วนพัสดุและแผ่นป้ายทะเบียนรถ อาคาร 6 ชั้น 4 กรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร

ขบ.เปิดประมูลร่วมทุนศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย 2.8 พันล้าน ขายซอง 11 ต.ค.-5 พ.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:13 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 15:13 น.



ขบ.เปิดเชิญชวนเอกชนประมูลร่วมลงทุน ”ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ” จ.เชียงราย มูลค่ากว่า 2,864 ล้านบาท โดยให้เข้าซื้อซอง 11 ต.ค.-5 พ.ย. 64

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกได้ประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 วงเงินโครงการรวมกว่า 2,864 ล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน และค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ และเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M) ทั้งหมด รวมทั้งผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้ภาครัฐตลอดระยะเวลา 15 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ

ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่สนใจสามารถติดต่อขอซื้อเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนในราคาชุดละ 50,000 บาท ได้ที่ส่วนพัสดุและแผ่นป้ายทะเบียนรถ อาคาร 6 ชั้น 4 กรมการขนส่งทางบก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ทุกวันทำการ ระหว่างเวลา 09.00 น. ถึง 15.00 น. ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ถึง 5 พฤศจิกายน 2564

และสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศเชิญชวน โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.dlt.go.th หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ สำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก โทร. 0-2271-8492-3 ในวันและเวลาราชการ

สำหรับโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย จัดเป็นหนึ่งในโครงการตามแผนพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (Truck Terminal) ของกรมการขนส่งทางบก ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประชิดด่านพรมแดนเชียงของ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) บนเนื้อที่กว่า 335 ไร่ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนน เป็นสถานีปรับเปลี่ยนการขนส่งระหว่างประเทศไปสู่ภายในประเทศ รองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R3A เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีนฝั่งตะวันตก (นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน) รองรับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยงาน CIQ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เป็นศูนย์ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) สามารถดำเนินพิธีการที่เกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออกได้ในจุดเดียว และยังรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Modal Shift) ระหว่างทางถนนกับทางราง ผ่านแนวการพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการก่อสร้างแนวรางเข้ามายังพื้นที่โครงการอีกด้วย

โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียง เป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ของภาคเหนือ (Northern Logistics Hub) ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางให้เป็นระบบการขนส่งหลักของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคม โดยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของภาคเอกชน ตลอดจนการดำเนินโครงการบนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน จะช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ประสบความสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/11/2021 7:38 am    Post subject: Reply with quote

เอกชนเมินร่วมลงทุนศูนย์ขนส่ง “เชียงของ”
เดลินิวส์ 22 พฤศจิกายน 2564 7:25 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

Click on the image for full size

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เปิดเผยว่า ตามที่ประกาศเชิญชวนภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมลงทุนโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 วงเงินโครงการรวมกว่า 2,864 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.-5 พ.ย.64 พบว่าไม่มีเอกชนสนใจซื้อเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน (Request for Proposal : RFP) สักราย สาเหตุคาดว่าขณะนี้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด-19 ทำให้ด่านพรมแดนปิด ซึ่งไม่รู้ว่าจะปิดนานแค่ไหน ทำให้ไม่มีความแน่นอน เรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว และ จีนด้วย 

Click on the image for full size

ขณะเดียวกันโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีผลต่อการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้าหมือนกัน เพราะรถไฟจะเป็นตัวสำคัญในการรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (Modal Shift) ระหว่างทางถนนกับทางราง เพื่อมาสู่ต้นทุนที่ถูกกว่า หากมีความชัดเจนจะทำให้เอกชนสามารถคำนวนผลประกอบการได้ อย่างไรก็ตามภายในเดือนนี้ ขบ. จะประชุมคณะกรรมการคัดเลือกที่เชิญชวนเอกสารร่วมลงทุนตามโครงการดังกล่าวเพื่อพิจารณา 2 ทางเลือก คือ
1.ปรับปรุงเงื่อนไข RFP เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมมากกว่านี้ และ
2.เชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนใหม่อีกครั้ง เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป
    

Click on the image for full size

รายงานข่าวแจ้งว่า โครงการนี้เอกชนจะร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน และค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ และเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M) ทั้งหมด รวมทั้งผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้ภาครัฐตลอดระยะเวลา 15 ปี นับจากปีเปิดให้บริการ  

Click on the image for full size

ขณะนี้โครงการดังกล่าวในระยะ (เฟส) แรกก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ เพื่อเก็บสินค้าแล้วตั้งแต่ช่วงกลางปี 64 ปัจจุบันมีเอกชนใช้บริการในการขนส่งสินค้าบ้าง แต่ยังมีน้อย เนื่องจากมีสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้านรุนแรง ทำให้ด่านพรมแดนปิด ไม่สามารถขนส่งสินค้าไปยัง สปป.ลาว และจีนได้ หรือถ้าขนส่งได้มีปริมาณขนส่งสินค้าน้อยและยังเงียบอยู่ หากอนาคตสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เปิดด่านพรมแดน อนุญาตให้ขนส่งสินค้าได้เหมือนเดิมอย่างเต็มรูปแบบ ปริมาณการขนส่งมีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ 

Click on the image for full size

ขณะเดียวกัน ขบ. เตรียมของบประมาณในปี 66 วงเงิน 660 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างในเฟส 2 ในการพัฒนาพื้นที่ลานที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์ทั้งตู้เปล่า และตู้ที่บรรจุสินค้าแล้ว (Container Yard) สำหรับการวางตู้คอนเทนเนอร์ รองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งกับทางราง และสอดคล้องกับการเปิดบริการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 68  

Click on the image for full size

ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ ตั้งอยู่ที่ ต.เวียง อ.เชียงของ ประชิดด่านพรมแดนเชียงของ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) บนเนื้อที่กว่า 335 ไร่ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าทางถนน เป็นสถานีปรับเปลี่ยนการขนส่งระหว่างประเทศไปสู่ภายในประเทศ รองรับการขนส่งสินค้าทางถนนระหว่างประเทศบนเส้นทางสาย R3A เชื่อมต่อการขนส่งระหว่างไทย-สปป.ลาว-จีนฝั่งตะวันตก (นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน) รวมทั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ จ.เชียงรายและพื้นที่ใกล้เคียงเป็นศูนย์กลางทางด้านโลจิสติกส์ของภาคเหนือ ช่วยลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการขนส่งสินค้า.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/12/2021 7:06 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่1.28แสนล.ฉลุย นายกฯรับทราบไร้ฮั้ว-เซ็น ม.ค.65
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, December 17, 2021 05:56

รถไฟทางคู่1.28แสนล.ฉลุยะผลสอบไร้ฮั้ว-นัดเซ็น ม.ค.65

ผู้จัดการรายวัน 360 "บอร์ด รฟท." อนุมัติผลประมูลรถไฟทางคู่สายเหนือ-อีสาน วงเงิน 1.28 แสนล้าน หลัง กก.สอบข้อเท็จจริงสรุปไม่มีการสมยอมราคา พร้อมรายงานนายกฯ แล้ว เดินหน้าเซ็นสัญญาภายใน ม.ค.65

วานนี้ (16 ธ.ค.) นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน มีมติอนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และโครงการรถไฟทางคู่ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55.458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการประกาศผลผู้ชนะ ตามขั้นตอนการ ประกวดราคาด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ซึ่งหากไม่มีการอุทธรณ์ภายใน 7 วันทำการ จะลงนามในสัญญาต่อไป โดยขณะนี้อัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

"หากไม่มีการอุทธรณ์ คาดว่าจะสามารถลงนามกับผู้รับจ้างทั้ง 5 สัญญาได้ในเดือน ม.ค. 65 และเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดิน และทยอยส่งมอบพื้นที่ให้ก่อสร้าง และเปิดเดินรถตามกำหนด ซึ่งขณะนี้ยังไม่ถือว่าโครงการมีความล่าช้าแต่อย่างใด" นายนิรุฒ ระบุ
นายนิรุฒ กล่าวว่าจากที่มีการร้องเรียนให้ตรวจสอบผลการประมูล และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างดังกล่าว โดยมี นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง ระบุว่า การดำเนินการประมูลเป็นไปตามระเบียบถูกต้องตามกฎหมายครบถ้วน ไม่ปรากฏพฤติกรรมว่ามีการสมยอมราคา ซึ่ง นายกฯ ได้ลงนามรับทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงไปเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 64 และส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมแล้ว

ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวอีกว่า หากต้องเปิดประมูลใหม่จะต้องมีการปรับราคากลางเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่าเส้นทางสายเหนือ (สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 4,600 ล้านบาท สายอีสาน (สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร-นครพนม) ราคาาคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 2,900 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด รฟท.พิจารณาทั้งผลการประมูล และกรณีราคากลางดังกล่าว จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องประมูลใหม่ ขณะที่ผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุดทั้ง 5 สัญญา ได้แจ้งยืนยันราคา จึงไม่กระทบต่อการดำเนินการต่อ

สำหรับรถไฟทางคู่ สายเหนือ (เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) ระยะทาง 323 กม. มี 3 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท กลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ร่วมกับบริษัท เนาวรัตน์ พัฒนาการ จำกัด(มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 26,568 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงรายระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,900 ล้านบาท และ สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท มี เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 19,390 ล้านบาท ซึ่งสัญญา 2 และ 3 เป็นกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) โดยแผนก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2570

ส่วนรถไฟทางคู่ สายอีสาน (บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ระยะทาง 355 กม. จำนวน 2 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท โดยบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด จอยต์เวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 27,100 ล้านบาท

สัญญา 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน) จอยเวนต์เจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 28,310 ล้านบาท โดยแผน ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2568.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 17 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2021 11:46 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟทางคู่1.28แสนล.ฉลุย นายกฯรับทราบไร้ฮั้ว-เซ็น ม.ค.65
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 05:56


ลิงก์ผู้จัดการมาแล้วครับ

นายกฯ เคลียร์ไร้ฮั้ว! ผลสอบทางคู่ 2 สายใหม่ 1.28 แสนล้าน บอร์ด รฟท.เคาะลุยเซ็นสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:27 น.
ปรับปรุง: วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:27 น.

บอร์ด รฟท.เคาะจ้างสร้างรถไฟทางคู่ “สายเหนือและสายอีสาน” วงเงิน 1.28 แสนล้าน หลัง "นายกฯ" เคลียร์ผลสอบสรุปไม่มีฮั้วประมูล คาดเซ็นสัญญาใน ม.ค. 65 “นิรุฒ” เผยแผนงานเสร็จปี 68-70

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน วันที่ 16 ธ.ค. 2564 มีมติอนุมัติสั่งจ้างก่อสร้าง โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา โดยหลังจากนี้เป็นขั้นตอนการประกาศผลผู้ชนะ ตามขั้นตอนการประกวดราคาด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ซึ่งหากไม่มีการอุทธรณ์ภายใน 7 วันทำการ จะเป็นขั้นตอนการลงนามในสัญญาต่อไป โดยขณะนี้อัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว

“หากไม่มีการอุทรธณ์ คาดว่าจะสามารถลงนามกับผู้รับจ้างทั้ง 5 สัญญาได้ในเดือนม.ค. 2565 และเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดิน และทยอยส่งมอบพื้นที่ให้ก่อสร้าง และเปิดเดินรถตามกำหนด ซึ่งขณะนี้ยังไม่ถือว่าโครงการมีความล่าช้าแต่อย่างใด”

นายนิรุฒกล่าวว่า จากที่มีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบผลการประมูล และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ (สายเหนือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยมีนายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงระบุว่า การดำเนินการประมูลเป็นไปตามระเบียบถูกต้องตามกฎหมายครบถ้วน ไม่ปรากฏพฤติกรรมว่ามีการสมยอมราคา ซึ่งนายกฯ ได้ลงนามรับทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2564 และส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อ

นอกจากนี้ หากต้องเปิดประมูลใหม่จะต้องมีการปรับราคากลางเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่าเส้นทางสายเหนือ (สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 4,600 ล้านบาท สายอีสาน (สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 2,900 ล้านบาท ซึ่งบอร์ด รฟท.พิจารณาทั้งผลการประมูลและกรณีราคากลางดังกล่าว จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องประมูลใหม่ ขณะที่ผู้รับหมาที่เสนอราคาต่ำสุดทั้ง 5 สัญญาได้แจ้งยืนยันราคาไว้จึงไม่กระทบต่อการดำเนินโครงการต่อ

สำหรับรถไฟทางคู่ สายเหนือ (เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท มี 3 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท กลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,568 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,900 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท มีเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 19,390 ล้านบาท ซึ่งสัญญา 2 และ 3 มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เสนอราคาต่ำสุด โดยแผนก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570

รถไฟทางคู่ สายอีสาน (บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา ประกอบด้วย สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท โดยบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด จอยต์เวนเจอร์ กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 27,100 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จอยต์เวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 28,310 ล้านบาท โดยแผนก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2568


https://mgronline.com/business/detail/9640000124460

บอร์ดรฟท.เคาะเซ็นสัญญารถไฟทางคู่สายเหนือ/สายอีสานม.ค.65 หลังผลสอบไร้ฮั้ว

ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:24 น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตรเป็นประธาน วันที่ 16 ธ.ค.64 มีมติอนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา ประกอบด้วย



สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กม. ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท กลุ่มบมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ร่วมกับกับบมจ. เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,568 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย ระยะทาง 132 กม. ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท ผลเสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 26,900 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 87 กม. ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาทมี เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 19,390 ล้านบาท ซึ่งสัญญา 2 และ 3 มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST ประกอบด้วย บมจ. ช.การช่าง (CK) ร่วมกับบมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) เสนอราคาต่ำสุด โดยแผนก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2570


และโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท โดยบริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด จอยต์เวนเจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 27,100 ล้านบาท

และ สัญญา 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) จอยเวนต์เจอร์กับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด อยู่ที่ 28,310 ล้านบาท โดยแผน ก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2568

หลังจากนี้เป็นขั้นตอนการประกาศผลผู้ชนะ ตามขั้นตอนการประกวดราคาด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ซึ่งหากไม่มีการอุทรธณ์ภายใน 7 วันทำการ จะดำเนินการลงนามในสัญญา คาดว่าจะภายในเดือนม.ค. 2565 โดยในส่วนของร่างสัญญานั้น ขณะนี้อัยการสูงสุดได้ตรวจเรียบร้อยแล้ว

นายนิรุฒกล่าวว่า จากที่ มีการร้องเรียนให้มีการตรวจสอบผลการประมูลและพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ (สายเหนือ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายอีสาน สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยมีนายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ซึ่งได้สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงระบุว่า การดำเนินการประมูลเป็นไปตามระเบียบถูกต้องตามกฎหมายครบถ้วน ไม่ปรากฏพฤติกรรมว่ามีการสมยอมราคา ซึ่งนายกฯ ได้ลงนามรับทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 64 และส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคม เพื่อดำเนินการต่อ

ขณะที่กรณีที่จะให้เปิดประมูลใหม่นั้น พบว่า จะต้องมีการปรับราคากลางเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่า เส้นทางสายเหนือ (สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 4,600 ล้านบาทสายอีสาน (สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ราคากลางจะเพิ่มขึ้นอีก 2,900 ล้านบาท ซึ่งบอร์ดรฟท.พิจารณาทั้งผลการประมูลและกรณีราคากลางดังกล่าว จึงเห็นว่าไม่มีเหตุผลที่ต้องประมูลใหม่ ขณะที่ผู้รับหมาที่เสนอราคาต่ำสุดทั้ง 5 สัญญา ได้แจ้งยืนยันราคาไว้ จึงไม่กระทบต่อการดำเนินโครงการต่อ

ลิงต์เดลินวส์ก็มาครับ



ได้ไปต่อ! ทางคู่2สายใหม่เตรียมเซ็น5สัญญา1.2แสนล้าน
*เส้น ”เด่นชัย-เชียงของ”กับ”บ้านไผ่-นครพนม”
*ผลสอบร้องประมูลโปร่งใสนายกฯให้ไฟเขียว
*มอบของขวัญปีใหม่ประชาชนได้ใช้ปี69/ปี71
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3069958893225608

NWR-ITD วิ่งคึก! ลุ้นกิจการร่วมค้า เซ็นสัญญา “รถไฟทางคู่สายเหนือ” ม.ค.นี้
https://www.kaohoon.com/news/general/502042
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/12/2021 6:53 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรฟท.เคาะ เซ็น 5สัญญา 2รถไฟ ทางคู่ฉาว"เหนือ-อีสาน"1.28แสนล้าน ม.ค.ปี65
หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 18 ธ.ค. 2564 เวลา 15:54 น.

บอร์ดรฟท. เคาะเซ็น5สัญญา5ยักษ์รับเหมา 2รถไฟทางคู่ฉาว สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ -สายอีสาน บ้านไผ่-นครพนม 1.28แสนล้าน ได้ไปต่อ หลัง นายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ ปล่อยผ่าน ไม่เข้าข่ายฮั้วประมูลล็อกสเปก สร้างความกังขาทั่วบ้านทั่วเมือง

การประมูล 2โครงการรถไฟทางคู่ใหม่สายเหนือ –อีสาน มูลค่า1.28แสนล้านบาทของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เมื่อช่วงกลางปี2564ที่ผ่านมา หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตน่าจะส่อไปในทางล็อกสเปก ฮั้วประมูลเนื่องจาก มีเพียงผู้รับเหมารายใหญ่ เพียง5รายผ่าน เกณฑ์ทีโออาร์และในจำนวนนี้แบ่งงานครบทุกรายใน5สัญญา

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ยังเสนอราคาห่างจากราคากลาง เพียง0.08% หรือประมาณหลักสิบล้านบาท นอกจากไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันกีดกันผู้รับเหมารายกลางแล้วยังทำให้รัฐเสียงบประมาณค่อนข้างสูง ชนวนดังกล่าว ทำให้ มีการร้องเรียนไปยังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ในครั้งนั้นนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายเหนือและสายอีสาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง7ราย แต่ในที่สุดแล้ว แหล่งข่าวในนำเนียบรัฐบาล ได้ออกมาระบุว่า ผลการพิจารณาส่อ แววได้ไปต่อ เพราะคณะกรรมการอ้างว่ายังไม่พบปมพิรุธใดๆ

สอดคล้องกับแหล่งข่าวจากวงการรับเหมาระบุว่า ไม่เกิดการคาดเดาที่ว่าทั้ง2โครงการต้องผ่านเนื่องจากจะล้มโครงการคงทำให้ล่าช้า นั่นหมายถึงการหลับหูหลับตาให้ปล่อยผ่านทั้งที่มีผู้คัดค้านทั่วบ้านทั่วเมือง

สะท้อนจาก ที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) ในฐานะประธานบอร์ด รฟท. เป็นประธานเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา มีมติอนุมัติสั่งจ้างผู้ชนะการประกวดราคา(ประมูล)

โครงการรถไฟทางคู่ สายเหนือ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 7.29 หมื่นล้านบาท 3 สัญญาและโครงการรถไฟทางคู่สาย อีสาน บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินก่อสร้าง 5.54 หมื่นล้านบาท 2 สัญญาทั้งนี้คาดว่าจะลงนามกับเอกชนทั้ง 2 โครงการได้ในเดือน ม.ค.65 เป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน หลังจากรอคอยโครงการนี้มานาน

รายงานข่าวจากรฟท.ระบุว่า ในช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบฯ ประชุมทั้งสิ้น 13 ครั้ง โดยเชิญผู้ร้องเรียน และผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง จนได้ข้อสรุปว่า กระบวนการกำหนดราคากลาง และการเปิดเผยราคากลาง ทั้ง 2 โครงการ เป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ไม่ปรากฏพยานหลักฐานว่าดำเนินการใดๆ ที่กีดกันไม่ให้ผู้เสนอราคารายใดมีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างไม่เป็นธรรม

หากต้องประมูลใหม่ตามที่ผู้ร้องเรียนได้เสนอ รฟท. ต้องปรับราคากลางสูงขึ้นตามราคาวัสดุเหล็กก่อสร้าง ราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง และค่าใช้จ่ายอื่นๆซึ่งอาจทำให้ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินเพิ่มขึ้นสำหรับทางรถไฟสายเหนือประมาณ 4,200 ล้านบาท และสายอีสานประมาณ 2,900 ล้านบาท รวม 7,100ล้านบาท

ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบฯ ได้นำเสนอรายงานผลการตรวจสอบให้ พล.อ.ประยุทธ์ พิจารณาแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 พ.ย.64 และล่าสุดได้ลงนามสั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปดำเนินการ

พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะต่างๆ ของคณะกรรมการฯ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย อาทิ การทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ทันทีหากเกิดความเข้าใจผิดและควรกำหนด พร้อมเปิดเผยมาตรการ และวิธีการป้องกันการสมยอมในการเสนอราคาต่อสาธารณะ และควรแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวกับการเสนอราคาในรูปแบบของกิจการร่วมค้าให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการสมยอมกันในการเสนอราคา

สำหรับผลการประมูล สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 104 กม. กลุ่มกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท จากราคากลาง 26,599 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย ระยะทาง 135 กม. กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 2 เสนอราคาต่ำสุด 26,900 ล้านบาท จากราคากลาง 26,913 ล้านบาท และสัญญาที่ 3 ช่วง ช่วงเชียงราย-เชียงของ ระยะทาง84 กม. กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี 3 เสนอราคาต่ำสุด 19,390 ล้านบาท จากราคากลาง 19,406 ล้านบาท

ทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม สัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก ระยะทาง 180 กม. กิจการร่วมค้า เอเอส-ช.ทวี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ เสนอราคาต่ำสุด 27,100 ล้านบาท จากราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท

และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กม. กิจการร่วมค้า ยูนิค เสนอราคาต่ำสุดที่28,310 ล้านบาท จากราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท ทั้งนี้ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ใช้เวลาก่อสร้าง 6 ปีและเปิดให้บริการปี 71 ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และเปิดให้บริการปี 69




เคาะแล้ว2ทางคู่'เด่นชัย/บ้านไผ่' 1.28แสนล้านลงนามสร้างม.ค.65
Source - ประชาชาติธุรกิจ
Saturday, December 25, 2021 05:43

บอร์ดรถไฟเคาะผลประมูลทางคู่ 2 เส้นทาง "เด่นชัย-บ้านไผ่" วงเงินรวม 1.28 แสนล้านบาท แบ่ง 5 สัญญา หลังกรรมการตรวจสอบผลประมูลอี-บิดดิ้งไฟเขียว จ่อลงนาม ม.ค. 65 ตามแผนก่อสร้างเสร็จ/ทยอยเปิดบริการปี 2568-2571

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 อนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง วงเงินรวม 128,378 ล้านบาท ได้แก่ 1.ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา 2.ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กิโลเมตร วงเงิน 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา

ที่ผ่านมามีการตรวจสอบความโปร่งใส โดยวันที่ 17 มิถุนายน 2564 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ลับ ที่ 147/2564 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 มีนายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ

ล่าสุด คณะกรรมการชุดนายดนัยมีความเห็นว่า การประมูลทั้งหมดถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่พบพฤติกรรมสมยอมในการร่วมประกวดราคาของเอกชนที่เข้าร่วมประมูล รวมทั้งหากเปิดประกวดราคาใหม่จะทำให้ราคากลางของโครงการเพิ่มสูงขึ้น แบ่งเป็นช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ราคากลาง จะเพิ่มขึ้น 4,600 ล้านบาท, ช่วงบ้านไผ่มุกดาหาร-นครพนม ราคากลางเพิ่ม 2,900 ล้านบาท

หลังจากนี้จะดำเนินการประกาศรายชื่อผู้รับเหมาที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละสัญญา และเว้นระยะเวลา 7 วันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่จะร้องเรียนหรือยื่นคัดค้านผลการประกวดราคา หากไม่มีผู้คัดค้านก็จะกำหนดวันลงนามในสัญญาต่อไป คาดว่าสามารถลงนามได้ในช่วงเดือนมกราคม 2565 โดยหนังสือสัญญาผ่านการตรวจร่างจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
    "การก่อสร้างจะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง คาดว่าการเวนคืนของโครงการใช้เวลา 1-2 ปี ตามแผนก่อสร้างสายบ้านไผ่มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2568 และสายเด่นชัยกำหนดเสร็จปี 2571"

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุดทั้ง 5 สัญญา ประกอบด้วย

1.ช่วงเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ 3 สัญญา แบ่งเป็น

สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว ระยะทาง 103 กิโลเมตร ราคากลาง 26,599.16 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ร่วมกับ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด 26,568 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 31 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งาว-เชียงราย 132 กิโลเมตร ราคากลาง 26,913.78 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CKST (บมจ. ช.การช่างร่วมกับ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคา 26,900 ล้านบาท ต่ำกว่า ราคากลาง 13 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ 87 กิโลเมตร ราคากลาง 19,406.31 ล้านบาท กลุ่มกิจการร่วมค้า CKST เสนอราคา 19,390 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16 ล้านบาท

2.ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม 2 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านไผ่-หนองพอก 180 กิโลเมตร ราคากลาง 27,123.62 ล้านบาท มี บจ.เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) ร่วมกับบริษัทรับเหมาท้องถิ่น เสนอราคา 27,100 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 23 ล้านบาท

และสัญญาที่ 2 ช่วงหนองพอกสะพานมิตรภาพ 3 ระยะทาง 175 กิโลเมตร ราคากลาง 28,333.93 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ร่วมกับบริษัทรับเหมาท้องถิ่นเสนอราคา 28,310 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 23 ล้านบาท

บรรยายใต้ภาพ

678 กิโลเมตร - โครงการรถไฟทางคู่มีความคืบหน้าล่าสุดจากมติบอร์ดการรถไฟฯ ได้รับไฟเขียวให้ลงนามผู้รับเหมาเพื่อเดินหน้าก่อสร้าง 2 สายใหม่ "เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ" กับ "บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม"

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 - 29 ธ.ค. 2564



เซ็นสัญญาส่งท้ายปี! รถไฟทางคู่ "เด่นชัย-เชียงราย" และ "บ้านไผ่-นครพนม" 5 สัญญา 1.28 แสนล้าน
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2564 09:09 ปรับปรุง: 29 ธ.ค. 2564 09:09 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ไม่มีอุทธรณ์ รถไฟทางคู่ 2 สายใหม่ "เด่นชัย-เชียงราย" และ "บ้านไผ่-นครพนม" รฟท.จ่อเซ็นรับเหมา 5 สัญญาวันนี้ ปิดจ็อบส่งท้ายปี “ศักดิ์สยาม” เผยผลตรวจสอบโปร่งใส สั่งเร่งงานตามแผน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ว่า หลังจากที่คณะกรรมการตรวจสอบการประกวดราคาที่นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งขึ้น สรุปผลว่าการประกวดราคาทั้ง 2 โครงการเป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย และล่าสุดคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้อนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างแล้ว ซึ่งตนได้เร่งรัดให้รฟท.ดำเนินการโดยเร็ว

ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการประกวดราคาโครงการล่าช้ามาหลายเดือนแล้ว และส่งผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณด้วย ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันการดำเนินงาน ยึดระเบียบกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หากมีการสงสัยก็สามารถตรวจสอบให้ชัดเจนได้ ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่เป็นอีกตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าการดำเนิน โครงการขนาดใหญ่ทำยาก มีหลายประเด็นที่ส่งผลให้ล่าช้า

"รฟท.ได้รายงานการดำเนินงานมาที่กระทรวงคมนาคมให้รับทราบแล้ว ส่วนการลงนามเป็นอำนาจของ รฟท.ที่ต้องทำตามระเบียบและข้อกฎหมายให้ครบถ้วนซึ่งหากลงนามได้เร็วจะเตรียมข้อมูลรายงานนายกรัฐมนตรี ที่จะมีการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดนครนพมในช่วงเดือนม.ค. 65 ต่อไป"

Click on the image for full size

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท.เปิดเผยว่า หลังจากบอร์ด รฟท.มีมติอนุมัติสั่งจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. วงเงิน 72,920 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา และรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 355 กม. วงเงินรวม 55,458 ล้านบาท จำนวน 2 สัญญา เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2564 รฟท.ได้มีการประกาศผลผู้ชนะตามขั้นตอนการประกวดราคาด้วยระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding) ในวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เป็นเวลา 7 วันทำการ (17 ธ.ค. 64 -27 ธ.ค. 64) ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 117 ไม่มีการอุทธรณ์ ซึ่งได้ดำเนินการครบทุกขั้นตอน โดย รฟท.และผู้รับจ้างมีความพร้อมในการลงนามสัญญาในวันนี้ (29 ธ.ค.) และถือเป็นของขวัญปีใหม่และเพื่อให้ผู้รับจ้างได้เตรียมพร้อมเพื่อเข้าเริ่มงานก่อสร้างได้เร็วที่สุด

รายงานข่าวจาก รฟท.แจ้งว่า หลังปิดรับคำอุทธรณ์วันที่ 27 ธ.ค. 2564 ไม่มีการอุทธรณ์ วันที่ 28 ธ.ค. 64 รฟท.จึงออกหนังสือถึงผู้ได้รับงานทั้ง 5 สัญญา แจ้งให้มาลงนามสัญญา โดยภาพรวม รฟท.มีความพร้อมในการลงนาม โดยอัยการสูงสุดได้ตรวจร่างสัญญาทั้งหมดแล้ว และมีการจัดทำรายละเอียด BOQ (Bill of Quantities) ซึ่งเป็นรายการแสดงปริมาณงานและราคาวัสดุก่อสร้าง เพื่อแนบกับสัญญา จัดทำเรียบร้อยแล้ว พร้อมกันนี้ ได้มีการรายงานไปยัง รมว.คมนาคมรับทราบมติบอร์ด รฟท.และขั้นตอนในการดำเนินการแล้ว

Click on the image for full size

สำหรับเอกชนนั้น จะต้องเตรียมเอกสารหลักประกันสัญญา ซึ่งต้องรอหนังสือที่รฟท.ส่งแจ้งให้เข้าลงนามสัญญา ไปประกอบการจัดทำหลักประกันสัญญากับสถาบันการเงิน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เพราะเอกชนประสานกับแบงก์เตรียมพร้อมคู่ขนานไปได้

ซึ่งหลังลงนามสัญญาคาดว่าจะทยอยเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ประมาณกลางปี 2565 โดยโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กม. เจ้าหน้าที่ รฟท.ได้ลงสำรวจรังวัด และติดตั้งป้ายประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ตาม พ.ร.บ.เวนคืนปี 2562 โดยการสำรวจมีพื้นที่เวนคืนจำนวน 7,292 แปลง ที่ดิน 9,661 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 1,200 หลังคาเรือน ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย มีค่าเวนคืน 10,660 ล้านบาท โดยจะเริ่มจ่ายเงินค่าเวนคืนที่ดินตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 ส่งมอบที่ดินแปลงแรกเพื่อการก่อสร้างโครงการในเดือน มิ.ย. 2565

ส่วนสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม) ระยะทาง 355 กม. มีพื้นที่เวนคืนทั้งหมด 17,499 ไร่ ที่ดิน 6,762 แปลง ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร นครพนม มีค่าเวนคืน 10,080.33 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/12/2021 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นรวด 5 สัญญา!ปิดดีลบิ๊กโปรเจ็กต์"รถไฟทางคู่"สายเหนือและสายอีสาน 1.28 แสนล้าน
เผยแพร่: 29 ธ.ค. 2564 16:37 ปรับปรุง: 29 ธ.ค. 2564 16:37 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รฟท.เซ็นรวด 5 สัญญา ก่อสร้างรถไฟทางคู่ “สายเหนือและสายอีสาน” วงเงิน 1.28 แสนล้าน “เด่นชัย- เชียงขอ” และ”บ้านไผ่-นครพนม” รับเหมาปิดดีลบิ๊กโปรเจ็กต์ ส่งท้ายปี 64 รฟท.เผยมอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน และยืนยันดำเนินการด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายอย่างครบถ้วน

วันที่ 29 ธ.ค. 2564 เวลา 14.30 น นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ร่วมลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ 2 เส้นทาง ประกอบด้วย สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม กับผู้รับจ้าง รวมทั้งสิ้น 5 สัญญา วงเงินกว่า 128,236 ล้านบาท เพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศ พร้อมมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทย โดยดำเนินการด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบข้อบังคับในการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนมีการลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) อย่างครบถ้วน

สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ซึ่งได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร วงเงินรวมทั้งสิ้น 72,921 ล้านบาท เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย โดยใช้วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-bidding ตามระเบียบข้อบังคับของการรถไฟฯ และระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ของกรมกระทรวงการคลัง ตลอดจนมีการลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระหว่างการรถไฟฯ ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ ผู้ประกอบการ และผู้สังเกตการณ์

โดยมีการลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง 3 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 ช่วงเด่นชัย-งาว มีกิจการร่วมค้า ไอทีดี-เนาวรัตน์ ประกอบด้วย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD และบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 26,560,000,000.00 บาท (สองหมื่นหกพันห้าร้อยหกสิบล้านบาทถ้วน) ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว โดยงานประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินและทางรถไฟยกระดับ รวมระยะทางประมาณ 103 กม. มีสถานี 5 สถานี ป้ายหยุดรถ 2 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 2 แห่ง และงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สัญญาที่ 2 ช่วงงาว-เชียงราย มีกิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี2 ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท บุรีรัมย์พนาสิทธิ์ จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 26,890,000,000.00 บาท (สองหมื่นหกพันแปดร้อยเก้าสิบล้านบาทถ้วน) ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว โดยงานประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินและทางรถไฟยกระดับ รวมระยะทางประมาณ 132 กม. มีสถานี 4 สถานี ป้ายหยุดรถ 8 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง และงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สัญญาที่ 3 เชียงราย-เชียงของ มี กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที-ดีซี3 ประกอบด้วย บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท เชียงใหม่คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 19,385,000,000.00 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันสามร้อยแปดสิบห้าล้านบาทถ้วน) ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว โดยงานประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินและทางรถไฟยกระดับ รวมระยะทางประมาณ 87 กม. มีสถานี 3 สถานี ป้ายหยุดรถ 3 แห่ง อุโมงค์รถไฟ 1 แห่ง และงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ส่วนโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่ ผ่านพื้นที่ทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, มุกดาหาร และนครพนม ระยะทางรวม 355 กิโลเมตร วงเงิน 66,848.33 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟฯ ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบข้อบังคับของการรถไฟฯ และระเบียบข้อบังคับของกรมบัญชีกลางในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างครบถ้วนเช่นกัน โดยมีการลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง 2 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 1 บ้านไผ่-หนองพอก มี กิจการร่วมค้า เอเอส-ช.ทวี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ประกอบด้วย บริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด บริษัท กิจการร่วมค้า ทีบีทีซี จำกัด บริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด และบริษัท เค.เอส.ร่วมค้า จำกัด เป็นผู้รับจ้าง วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 27,095,000,000.00 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันเก้าสิบห้าล้านบาทถ้วน) ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว โดยงานประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินและทางรถไฟยกระดับ รวมระยะทางประมาณ 180 กม. มีสถานี 10 สถานี และงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สัญญาที่ 2 หนองพอก-สะพานมิตรภาพ 3 มี กิจการร่วมค้า ยูนิค ประกอบด้วย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ บริษัท พี.ซีอีที จำกัด บริษัท ไทยพีค่อนและอุตสาหกรรม จำกัด และบริษัท วัชรขจร จำกัด เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้าง วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 28,306,000,000.00 บาท (สองหมื่นแปดพันสามร้อยหกล้านบาทถ้วน) ซึ่งรวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 แล้ว โดยงานประกอบด้วยงานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นดินและทางรถไฟยกระดับ รวมระยะทางประมาณ 175 กม. มีสถานี 9 สถานี และงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ โครงการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ 2 เส้นทาง ทั้งสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และสายบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ถือเป็นเส้นทางสำคัญที่ช่วยพัฒนาศักยภาพระบบการขนส่งทางรางของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้สามารถรองรับการขยายตัวของการค้าชายแดนและผ่านแดน ตลอดจนเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่กำลังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 โดยถือว่าเป็นข่าวดี เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนคนไทยที่จะมีรถไฟสายใหม่ไว้ให้บริการได้เพิ่มขึ้น

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 48, 49, 50 ... 76, 77, 78  Next
Page 49 of 78

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©