Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262726
ทั้งหมด:13574006
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : โรงแรมรถไฟเชียงใหม่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : โรงแรมรถไฟเชียงใหม่
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2012 6:09 pm    Post subject: เรื่องน่ารู้ : โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ Reply with quote

สวัสดีครับ...

เรื่องนี้ มีคนเล่ามาหลายครั้ง หลายหนแล้ว พอดีผมได้เอกสารในพิธีเปิดโรงแรมรถไฟเชียงใหม่และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น เลยนำมาลงเผยแพร่ไว้ค้นคว้ากันต่อไป

ถึงแม้ว่าในปััจุบัน สถานที่ตั้งโรงแรมรถไฟเชียงใหม่และกิจการโรงแรมรถไฟได้กลายเป็นอดีตไปแล้วก็ตาม แต่ผมคิดว่าน่าจะมีสาระประโยชน์แก่ทุกท่านบ้างไม่มากก็น้อย และขอขอบคุณท่านเจ้าของภาพ ที่ผมขอยืมมาประกอบเนื้อเรื่อง พร้อมทั้ง ป๋าณัฐ (Natthaphong) ที่ให้ยืมหนังสือฉบับนี้ จนลิมแล้ว(กระมัง ?)Razz มา ณ โอกาสนี้

ประวัติของโรงแรมรถไฟเชียงใหม่

Click on the image for full size

ประวัติและความเป็นมาของโรงแรมรถไฟเชียงใหม่เดิม พอจะสรุปได้โดยย่อๆ ดังต่อไปนี้ คือ เมื่อครั้งที่การรถไฟฯ ยังมีฐานะเป็นกรมรถไฟหลวง และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟในขระนั้น เมื่อได้ก่อสร้างทางรถไฟสายเหนือสำเร็จลุล่วงไปจนถึงสถานีลำปาง และเชียงใหม่แล้ว จึงได้จัดการก่อสร้างบ้านพัก (Rest House) ขึ้น ณ ที่สถานีดังกล่าว ทั้ง ๒ แห่ง โดยมีพระประสงค์ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหลับนอนสำหรับเจ้าหน้าที่รถไฟ ซึ่งพนักงานรถไฟในสมัยนั้นเป็นชาวต่างประเทศเป็นส่วนมาก เพราะเมื่อทำการถึงสถานีปลายทางในเวลาค่ำคืนแล้ว เป็นการยากที่จะไปเที่ยวหาโรงแรมเพื่อพักอาศัยในชนบทต่างจังหวัดในระยะเวลา ๔๐ – ๕๐ ปีก่อนที่ผ่านมาแล้วได้สะดวก แม้แต่ในจังหวัดพระนครเอง ก็ยังไม่ค่อยจะมีโรงแรมให้พักอาศัยเป็นการเพียงพอและสะดวกสบาย

ด้วยความจำเป็นดังกล่าวแล้ว ในเวลาต่อมา จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารรถไฟ กรมรถไฟจึงได้จัดโรงแรมดังกล่าวให้ผู้โดยสารเช่าพัก และเมื่อเห็นว่าเป็นที่นิยมของผู้โดยสารเป็นอย่างดี จึงได้ขยายกิจการโดยจัดสร้างให้มีบังกาโลเพิ่มเติมในระยะต่อมาอีก ซึ่งนับเป็นนโยบายอันหนึ่งของทางราชการกรมรถไฟสมัยนั้น ดังจะเห็นได้จากบทความที่บันทึกไว้ตอนหนึ่งในรายงานด้านธุรการของเสด็จในกรมฯ
ดังต่อไปนี้ :-


Administration Report for the year B.E. 2464
Rest House. In order to secure greater comfort for passengers during their travel the Department has greatly extended the Southern Line policy of erecting rest-houses at certain termini and places where the trains stop for the night.
In the course of the year the following rest-houses where opened for public use.

Northern Line Lampang and Chiangmai
Southern Line Bangkok Noi and Haad Yai


ตามข้อความดังกล่าวนี้ พอจะอนุมานได้ว่า ในทางสายเหนือได้เปิดบริการบ้านพัก (Rest-House) ให้แก่ประชาชนผู้โดยสารรถไฟในปี พ.ศ.๒๔๖๔ เป็นต้นมา รวมทั้งที่สถานีลำปางด้วย และต่อมาได้ให้ผู้รับเหมารับช่วงไปดำเนินการอยู่ในระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็เลิกดำเนินการ

เครดิตภาพ : คุณบุญเสริม ศาสตราภัย

Click on the image for full size

ครั้นเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทยได้แยกออกมาดำเนินการเป็นเอกเทศแล้ว ก็พยายามที่จะหาทางปรับปรุงกิจการในด้านการโรงแรมให้เป็นผลดียิ่งขึ้น

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ การรถไฟฯ ได้พิจารณาเห็นว่าเป็นหัวเมืองเอกในภาคเหนือ มีภูมิประเทศอันสวยงามสดใส มีปูชนียสถานสำคัญๆ หลายแห่ง มีจารีตประเพณีอันดีงามสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ประชาชนพลเมืองมีอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการทัศนาจร จึงได้พิจารณาเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของทางราชการ ตามที่องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้โฆษณาชักจูงเพื่อให้ชาวต่างประเทศ และประชาชนชาวไทยทั่วไป ให้ม๊โอกาสสนใจเดินทางไปเที่ยวยังจังหวัดเชียงใหม่ให้มากๆ ขึ้น โดยหาทางปรับปรุงโรงแรมที่มีอยู่แล้วเสียใหม่ให้ทันสมัย เพื่อจะได้มีโอกาสต้อนรับได้ทั้งประชาชนคนไทยและชาวต่างประเทศ เพราะโรงแรมเดิมนั้น อยู่ค่อนข้างจะล้าสมัยเสียแล้ว และควรจะได้รับการพิจารณาปรับปรุงให้เป็นโรงแรมชั้น ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย

และโครงการปรับปรุงโรงแรมเชียงใหม่นี้ ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการตรวจงานภาคเหนือเกี่ยวกับกิจการโรงแรมของคณะกรรมการรถไฟ (พระยาโทณวนิกมนตรี) ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๑ ส.ค.๒๕๐๒ ซึ่งต่อมา ได้จัดทำแผนผังและงบประมาณ รายละเอียดเสนอขออนุมัติคณะกรรมการรถไฟฯ ใช้เงินสำรองสร้างโรงแรม เครื่องเรือน เครื่องใช้ และติดตั้งตามนโยบายของรัฐบาลเป็นเงิน ๑๕ ล้านบาท และที่ประชุมคณะกรรมการรถไฟฯ ครั้งที่ ๑๕/๒๕๐๔ เมื่อวันที่ ๕ ก.ค.๒๕๐๔ ลงมติอนุมัติในหลักการให้ดำเนินการได้โดยลำดับมา

Click on the image for full size

ต่อมา เมื่อการรถไฟฯ ได้รายงานตามลำดับขั้น ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขออนุมัติเรียกประกวดราคาแบบและรับเหมาก่อสร้าง เมื่อกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติแล้ว การรถไฟฯ จึงเรียกประกวดราคา ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคาที่ได้รับแต่งตั้งจากการรถไฟฯ ได้เปิดซองประกวดราคาแล้ว ปรากฎว่าในจำนวนผู้ประกวดราคาทั้งสิ้นรวม ๙ รายด้วยกัน คือ :-

๑. บริษัท ไทยสุวรรณ จำกัด
๒. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เฉลิมเกียรติบริการก่อสร้าง
๓. บริษัท วัฒนะกิจ จำกัด
๔. บริษัท บุ้นหงัน จำกัด
๕. บริษัท วิจิตรก่อสร้าง จำกัด
๖. บริษัท สีลมก่อสร้าง จำกัด
๗. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตรีเจริญชัยพาณิชย์
๘. ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกียรติชัยบริการก่อสร้าง
๙. บริษัท วิวัฒน์ชัยการก่อสร้าง จำกัด

แต่ละรายมีเอกสารและแบบที่เกี่ยวข้อง เสนอมารับการพิจารณาเป็นอันมาก ซึ่งเมื่อได้ตรวจพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการพิจารณา ควรถือการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรม โดยคำนึงถึงความสวยงาม การจัดวางรูป ขนาด จำนวนห้องที่จะอำนวยความสะดวกสบายแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยข้อกำหนดของการรถไฟฯ เป็นประการสำคัญ ซึ่งเมื่อได้รายงานให้คณะกรรมการรถไฟฯ พิจารณาแล้ว

คณะกรรมการรถไฟฯ พิจารณาแล้ว คณะกรรมการรถไฟฯ ได้ลงมติว่า ควรว่าจ้างเหมาบริษัท สีลมก่อสร้าง จำกัด ให้เป็นผู้รับเหมาดำเนินงานก่อสร้างในราคา ๗.๖ ล้านบาท ตามแบบและรายการที่บริษัทเสนอ กำหนดงานแล้วเสร็จภายใน ๓๖๕ วัน และได้รายงานขอรับความเห็นชอบไปยังกระทรวงคมนาคม ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้อนุมัติให้จัดการได้ และต่อมา ยังได้รับอนุมัติให้จัดทำสัญญาในราคาค่าก่อสร้างเกี่ยวกับฐานรากเพิ่มเติมอีกเป็นเงิน ๑๒๑,๐๗๖.- บาท ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ คค. ๙๙๑๖/๒๕๐๖ ลงวันที่ ๒๑ ส.ค.๒๕๐๖ จึงรวมเป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๗,๗๒๑,๐๗๖.- บาท

การรถไฟฯ จึงได้ทำสัญญากับบริษัทฯ ตามสัญญาเลขที่ ยธ ๙๘/ลป./๒๕๐๖ ลงวันที่ ๒๘ ส.ค.๒๕๐๖ โดยว่าจ้างบริษัทสีลมก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้รับเหมาทำการก่อสร้างต่อไป และการรถไฟฯ ได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๐ ก.พ.๒๕๐๖ โดยผู้ว่าการรถไฟฯ เป็นประธานในพิธี


Last edited by black_express on 31/12/2012 4:56 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2012 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รูปร่างลักษณะของโรงแรมมีดังนี้ :-

ตัวอาคารโรงแรม เป็นตึก ๖ ชั้น มีห้องนอนทั้งหมด ๗๖ ห้อง แบ่งออกเป็น

ห้องนอนเดี่ยว (Single Bedroom) ๔๔ ห้อง
ห้องนอนคู่ (Double Bedroom) ๒๔ ห้อง
ห้องนอน Suite Deluxe ๘ ชุด

- ในห้องนอน Suite Deluxe และห้องนอนคู่ มีเครื่องปรับอากาศและเครื่องต้มน้ำร้อนอาบ มีอ่างอาบน้ำทุกๆ ห้อง

- มีห้องสำหรับบริการโรงแรม เช่น ห้องจองตั๋ว สอบถาม ห้องไปรษณีย์ ห้องตัดผม เสริมสวย ขายของ พักแขกพิเศษ Night Club Game Room Soft Drink ห้องน้ำชา ซึ่งสามารถจัดรับงานเลี้ยงได้ และมีห้อง Cocktail สำหรับงานเลี้ยงโดยเฉพาะ

- มีห้องอาหารซึ่งแยกไปจากตัวโรงแรม มีทางเดินคลุมเป็นตึกสองชั้น

ชั้นล่าง มีบาร์สำหรับเครื่องดื่ม

ชั้นบน มีห้องอาหารและมีห้องอาหารพิเศษ สำหรับจัดไว้ใช้เป็นที่ประชุมได้ โดยสามารถปิดแยกการใช้ออกไปจากห้องอาหาร

เครื่องเฟอร์นิเจอร์สำหรับโรงแรม ได้จัดทำจากร้านที่มีฝีมือทั้งสิ้น มีเครื่องใช้สำหรับห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ฯลฯ คิดเป็นมูลค่า ๑,๒๖๙,๔๔๖.- บาท

มีโครงการสำหรับต่อเติมในอนาคต ตลอดจนโครงการที่จะทำสระว่ายน้ำในโอกาสต่อไป

ขณะนี้กำลังจัดทำสนามกอล์ฟสำหรับให้ผู้มาพักโรงแรมมีโอกาสเล่นได้ด้วย

.............................

Click on the image for full size

อัตราค่าเช่าห้องพักของโรงแรมรถไฟหัวหิน

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size


Last edited by black_express on 30/12/2012 6:30 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2012 6:29 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

รายงานของผู้ว่าการรถไฟ
ในการประกอบพิธีเปิดใช้โรงแรมรถไฟเชียงใหม่
วันที่ ๒๑ พฤกศจิกายน ๒๕๐๗


เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

วันนี้ นับเป็นศุภวาระดิถีที่จะได้กระทำพิธีเปิดอาคารโรงแรม หลังใหม่ที่ทันสมัยขึ้น เพื่อบริการประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ โดยรัฐมนตรีวิการกระทรวงคมนาคม โด้กรุณาเป็นประธานในการประกอบพิธีเปิด นับว่าเป็นเกียติแก่การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ และผู้ที่มาร่วมชุมนุมอยู่ด้วยเป็นอย่างสูง จึงขอแสดงความขอบคุณท่านรัฐมนตรีฯ ได้ ณ โอกาสนี้ด้วย และใคร่ขอประทานเรียนปฏิบัติถึงความเป็นมาของโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ดังต่อไปนี้

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่นี้ ได้เปิดกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๒ เป็นเวลานานถึง ๔๔ ปีเศาแล้ว โดยพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรไฟหลวงพระองค์แรกได้ทรวเล็งเห็นว่า จังหวัดเชียงใหม่นี้เป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดในภาคเหนือและเป็นสถานีปลายทางของทางรถไฟสายเหนือ จึงได้ทรงมีบัญชาใหก้จัดสร้างโรงแรมรถไฟขึ้นไว้ในชั้นแรก ๑ หลัง เพื่อเป็นที่พักสำหรับผู้โดยสาร นักธุรกิจ ตลอดจนนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เดินทางมายังจังหวัดเชียงใหม่ โรงแรมที่กล่าวนี้เดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มีห้องพักชนิดเตียงคู่รวม ๘ ห้อง ต่อมา กิจการโรงแรมได้เจริญก้าวหน้า เป็นที่นิยมของบรรดาพ่อค้าประชาชนขึ้นโดยลำดับ ในปี พ.ศ.-๔๙๕ ได้ดัดแปลงตึก ๒ ชั้น ซึ่งแต่เดิธนาคารสยามกัมมาจล ได้ขอเช่าเป็นสำนักงานให้เป็นห้องพักเพิ่มเติมขึ้นอีก ๑๐ ห้อง และในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้จัดสร้างบังกาโลเพิ่มขึ้นอีก ๘ หลัง
ถึงกระนั้น ก็ยังไม่การเพียงพอที่จะสนองคามต้องการของประชาชน

ต่อมาในสมัยรัฐบาลซึ่งมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้พยายามส่งเสริมกิจการท่องเที่ยวขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เพราะเห็นว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้น เป็นกิจการหนึ่งที่ทำเงินรายได้มาสู่ประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ได้มีนักทํสนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศพากันหลั่งไหลมาเที่ยวเป็นจำนวนมากเสมอทุกฤดูกาล ทั้งนี้เพราะจังหวัดเชียงใหม่เป็นดินแดนที่มีทิวทัศน์งดงาม มีขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ เป็นที่น่าสนใจยากจะหาจังหวัดใดเสมอเหมือน แต่โดยเหตุที่จังหวัดเชียงใหม่ยังมีโรงแรมชั้นดีที่จะให้บริการความสะดวกสบายแก่ทักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้ไม่เพียงพอ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงดำริที่จะจัดสร้างอาคารโรงแรมที่ทันสมัยขึ้นในบริเวณโรงแรมเดิมซึ่งมีพื้นที่อยู่ ๗๗ ไร่ ๓ งาน หลังจากที่ได้รับอนุมัติในหลักการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการแล้ว ได้จัดให้มีการประกวดแบบการก่อสร้างขึ้น โดยกำหนดความต้องการไว้ว่า การรถไฟฯ มีความประสงค์จะสร้างโรงแรมเป็นตึกสูง ๖ ชั้น พร้อมทั้งกำหนดอุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องสุขภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะสะดวกเท่าที่จะพึงมีพึงใช้ในโรงแรมทันสมัยเช่นเดียวับในต่างประเทศ ภายในวงเงินค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคาร ๗,๖๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ปรากฎว่ามีบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้ยื่นเสนอแบบก่อสร้าง ซึ่งทำการออกแบบโดยสถาปนิกวิศวกรที่ชำนาญงานต่อการรถไฟฯ รวม ๙ บริษัทด้วยกัน การรถไฟฯ ได้พิจารณาเห็นว่าแบบก่อสร้างของบริษัท สีลมก่อสร้าง จำกัด เป็นแบบที่เหมาะสม สวยงามและประหยัดที่สุด จึงได้ตกลงทำสัญญาจางเหมาให้บริษัท สีลมก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ทำการก่อสร้างอาคารหลังนี้ เมื่วันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๐๖ กำหนดแล้วเสร็จภายในเวลา ๑๕ เดือน การก่อสร้างดำเนินไปจนเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๐๗ สิ้นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

๑. ถมดิน ๓๐๓,๙๐๗.๕๙ บาท

๒. วางท่อประปา ๑๕๑,๔๐๐.๐๐ บาท

๓. ก่อสร้างอาคารโรงแรม ๗,๗๒๑,๐๗๖.๐๐ บาท

๔. ทำท่อระบายน้ำ ๕๒,๘๐๐.๐๐ บาท

๕. ทำรั้วด้านข้างโรงแรม ๕๗,๗๐๐.๐๐ บาท

๖. ถังพักน้ำใต้ดิน ๑๒,๐๐๐.๐๐ บาท

๗. เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าพร้อมติดตั้ง ๒๒,๕๐๐.๐๐ บาท

๘. ประตูเหล็กยึด ๓,๙๒๕,.๐๐ บาท

๙. ภาพประดับผนัง ๓,๐๐๐.๐๐ บาท

๑๐. ติดตั้งเดินสายไฟฟ้ากำลัง ๒๗๖,๒๗๖.๐๐ บาท

๑๑. ไฟนีออนบนดาดฟ้า ๘,๙๐๐.๐๐ บาท

๑๒. เตาหุงต้มระบบใช้แก๊ส ๙๘,๔๐๐.๐๐ บาท

๑๓. หม้อแปลงไฟฟ้าและเดินสายเคเบิล ๒๘๐,๐๐๐.๐๐ บาท

๑๔. พรมปูห้องพักและห้องบันได ๑๓๗,๖๑๒.๐๐ บาท

๑๕. เครื่องปรับอากาศ ๓๖๕,๑๒๐.๐๐ บาท

๑๖. เฟอร์นิเจอร์ ๑,๒๖๙,๔๔๖.๐๐ บาท

๑๗. สนามกอล์ฟ ๓๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท

รวมเป็นค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๑๑,๐๕๕,๐๖๒.๐๐ บาท


Click on the image for full size

โรงแรมนี้เป็นตึก ๖ ชั้น มีห้องนอนทั้งหมด ๗๖ ห้อง แบ่เป็นห้องนอนเตียงเดี่ยว ๔๔ ห้อง ห้องนอนเตียงคู่ ๒๔ ห้อง และห้องนอนพิเศษ suite deluxe อีก ๘ ชุด ภายในห้อง
พักมีเครื่องอำนวยความสะดวกสบายนานัปการ เช่น เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์ น้ำร้อน น้ำเญ้น อ่างอาบน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เท่าที่จำเป็น

นอกจากนี้ ยังมีห้องทั่วไปสำหรับเป็นบริการของโรงแรมอีก เช่น ห้องจองตั๋ว สอบถาม ไปรษณีย์ แต่งผมชาย เสริมสวยหญิง จำหน่ายของ พักแขกพิเศษ nightclub ห้องเล่นเกมส์ soft drink ห้องน้ำชา ห้องคอกเทล ห้องประชุม ห้องอาหาร ห้องทำคตวามเย็น ห้องลิฟท์คนและสิ่งของ เป็นต้น

เพื่อจะให้ผู้ที่มาใช้บริการโรงแรมได้รับความสุขสบายอย่างเต็มที่ การรถไฟฯ กำลังทำสนามกอล์ฟขนาด ๙ หลุม อยบู่ทางด้านหลังโรงแรมอยู่ในขณะนี้ และโครงการอนาคตจะจัดสร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน พร้อมทั้งขยายตัวอาคารต่อไปอีกตามความจำเป็น ส่วนที่ยังทำการก่อสร้างไม่เสร็จอันได้แก่การทำสวนดอกไม้ น้ำพุ สนามหญ้า ถนนลาดยางแอสฟัลต์ ถมดินเพิ่มเติม พร้อมทั้งก่อสร้างบ้านพักของเจ้าหน้าที่ของกองโรงแรม ก็จะจัดทำต่อไปในเร็วๆ นี้

บัดนี้ ได้เวลาอุดมมงคลฤกษ์แล้ว จึงขอเรียนเชิญท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กรุณาประกอบพิธีเปิดใช้อาคารโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ที่ได้สร้างขึ้นนี้ เพื่อเป็นศิริมงคลแก่การรถไฟฯ กับเพื่อยังความก้าวหน้าให้เกิดประโยชน์แก่พ่อค้าประชาชนตลอดถึงประชาชาติเป็นส่วนรวมสืบไป.


Click on the image for full size

คำกล่าวปราศัยของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
กล่าวในการประกอบพิธีเปิดใช้โรงแรมรถไฟเชียงใหม่
วันที่ ๒๑ พฤษจิกายน ๒๕๐๗


ท่านผู้ว่าการรถไฟฯ ท่านผู้มีเกียรติ และผู้ปฏิบัติงานรถไฟทั้งหลาย

ข้าพเจ้ารู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีโอกาสมาร่วมในการประกอบพิธีเปิดใช้โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ในวันนี้ เท่าที่ได้ฟังรายงานของผู้ว่าการฯ กล่าวชี้แจงความเป็นมาของโรงแรมแห่งนี้ ซึ่งถือกำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๒ เป็นเวลาถึง ๔๔ ปีเศษ จนกระทั่งกิจการของโรงแรมนี้มีความเจริญก้าวหน้ามีความเจริญรุดก้าวหน้ามาเป็นลำดับ อันเป็นผลให้โรงแรมหลังเดิมซึ่งสร้างเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวมีห้องพักเพียง ๘ ห้อง ต้องแปรสภาพกลายเป็นโรงแรมตึกทันสมัยสูงสง่า ๖ ชั้น ดังที่ปรากฎอยู่เบื้องหน้าท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ณ บัดนี้นั้น นับว่าเป็นความวิวัฒนาการก้าวหน้าในกิจการรถไฟอย่างสำคัญประการหนึ่ง

แม้ว่า การก่อสร้างโรงแรมแห่งนี้จะยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณืครบถ้วนตามโครงการ ข้าพเจ้าก็มีความพอใจและภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง จึงขอบใจผู้ปฏิบัติงานรถไฟ หน่วยราชการ องค์กรของรัฐบาล ตลอดจนบุคคลอื่นๆ ที่ได้มีส่วนส่งเสริมให้การก่อสร้างอาคารโรงแรมทันสมัยแห่งนี้ได้บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จด้วยดี

บัดนี้ ได้ศุภฤกษ์แล้ว ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์ศิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลกเป็นมิ่งมังคลานุภาพ ดลบรรดาลให้การกระทำพิธีเปิดใช้อาคารโรงแรมรถไฟแห่งนี้เ)นทางนำไปสู่ความเจริญวัฒนาถาวรสำหรับกิจการรถไฟ และส่วนรวมทั้งของจังหวัดเชียงใหม่และของประเทศชาติสืบไปชั่วกาลนาน.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2012 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

การคมนาคม

Click on the image for full size

การเดินทางจากจังหวัดพระนครไปยังจังหวัดเชียงใหม่ มี ๓ ทาง คือ

Click on the image for full size

๑) ทางรถไฟ ทางรถไฟจากสถานีกรุงเทพ ถึงเชียงใหม่มีระยะทาง ๗๕๑ กิโลเมตร ในปัจจุบันนอกจากขบวนรถธรรมดาที่จัดให้เดินไปมา เป็นตอนๆ จนถึงเชียงใหม่แล้ว ยังมีขบวนรถด่วนเดินระหว่างกรุงเทพ - เชียงใหม่ และเชียงใหม่ - กรุงเทพเป็นประจำทุกวัน ขบวนรถด่วนดังกล่าวจะออกจากสถานีกรุงเทพเวลา ๑๗.๐๕ น. ถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่ในวันรุ่งขึ้นเวลา ๑๐.๓๐ น. และออกจากสถานีรถไฟเชียงใหม่เวลา ๑๖.๐๐ น. ถึงสถานีรถไฟกรุงเทพในวันรุ่งขึ้นเวลา ๙.๕๐ น.

อัตราค่าโดยสารรถไฟ จากสถานีกรุงเทพถึงเชียงใหม่ มีดังนี้

ชั้นที่ ๑ ๒๐๖ บาท

ชั้นที่ ๒ ๑๓๐ บาท

ชั้นที่ ๓ ๖๕ บาท

ในการโดยสารไปกับขบวนรถด่วน คงมีฌพาะชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒ เท่านั้น และนอกจากจะต้องเสียค่าโดยสารตามปกติแล้ว ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าธรรมเนียมรถด่วนอีกคนละ ๒ๆ บาท ทุกที่นั่ง

หากผู้โดยสารชั้นที่ ๑ ประสงค์จะโดยสารไปกับรถสำหรับนอน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับนอนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งมีอยู่สองประเภท คือ

ก. ค่าธรรมเนียมที่นั่งนอนในรถนอนเอก คนละ ๑๐๐ บาท

ข. ค่าธรรมเนียมที่นั่งนอนในรถนอนโท เตียงล่างคนละ ๖๐ บาท เตียงบนคนละ ๔๐ บาท

๒) ทางอากาศ มีเครื่องบินของบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด บินระหว่างกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ และเชียงใหม่ – กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกวัน

๓) ทางถนน มีเส้นทางถนนพหลโยธินจากจังหวัดพระนครไปจนถึงอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนสายอำเภอเถิน – เชียงใหม่ ระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๘๐๐ กิโลเมตร


Last edited by black_express on 07/01/2013 9:20 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2012 6:42 pm    Post subject: Reply with quote

ประเพณีชาวเชียงใหม่ที่ควรจะทราบ
กองกลาง ฝ่ายธุรการ การรถไฟแห่งประเทศไทย
รวบรวม

เรื่อง


Click on the image for full size

การรดน้ำดำหัว

การรดน้ำดำหัว เป็นประเพณีประจำปีซึ่งชาวเชียงใหม่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานแล้ว และทำกันในวันสงกรานต์หรือที่เรียกว่าวันขึ้นปีใหม่ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน โดยเริ่มต้นการรดน้ำดำหัวตั้งแต่ ๑๕ เมษายน เป็นลำดับไป และไปสิ้นสุดเอาปลายเดือนเมษายน

ความมุ่งหมายที่ให้มีการรดน้ำดำหัวนี้ก็คือ การที่ผู้น้อยไปรดน้ำดำหัวเท่ากับเป็นการขออภัยโทษในความผิดำพลาดที่ตนอาจมีต่อผู้ใหญ่ไปบ้างในปีที่ล่วงมา และเป็นการขอพรจากผู้ใหญ่ไปพร้อมกันด้วย ผู้ที่จะไปรดน้ำ จะนำน้ำใส่ขันพร้อมด้วยฝักส้มป่อยและมีของขวัญเล็กๆ น้อยๆ เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ติดมือไป เพื่อมอบให้แก่ผู้ใหญ่ที่ตนจะไปรดน้ำดำหัว เมื่อไปถุงก็จะนำน้ำในขันรดไปบนตัวท่านผู้ใหญ่หรือจะมอบให้ท่านรดของท่านเองก็ได้ ผ็ได้รับการรดน้ำก็จะรับของขวัญจากผู้น้อย พร้อมทั้งให้ศีลให้พรเป็นอันเสร็จพิธี

นอกจากการรดน้ำดำหัวที่จัดทำในหมู่ประชาชนแล้ว ทางวัดต่อวัด ก็มีการรดน้ำดำหัวอย่างเดียวกับประชาชนเหมือนกัน เช่น ทายกทายิกาวัดใดก็ดำหัวเจ้าอาวาสวัดนั้น แล้วเจ้าอาวาสวัดนั้นก็ไปดำหัวเจ้าอาวาสวัดที่มีอาวุโสมากกว่า โดยมีทายกทายิกาวัดนั้นๆ แห่แหนตามกันไปเป็นที่สนุกสนานครึกครื้น ส่วนชาวเมือง บรรดาข้าราชการก็ทำตามส่วนราชการ คือข้าราชการผู้น้อย พากันไปดำหัวข้าราชการที่เป็นผู้บังคับบัญชา แต่ในปัจุบัน ข้าราชการและประชาชนได้ร่วมกันจัดทำในคราวเดียวกัน นับว่าเป็นประเพณีที่เก่าแก่สนุกสนานเป็นอย่างยิ่ง

เรื่อง


Click on the image for full size

เครดิตภาพ : http://www.mju.ac.th

ประเพณีงานเลี้ยงขันโตก

งานเลี้ยงขันโตกนี้ เป็นประเพณีการเลี้ยงของชาวเหนือ ตามปกติแล้ว การรับประทานอาหาร ขันโตกเป็นประเพณีเก่าแก่ของลานนาโดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสามัญชน คหบดี หรือเจ้าผู้ครองนคร ก็รับประทานอาหารขันโตกเหมือนกันทั้งนั้น

“ขันโตก” เป็นภาษาชาวเหนือ แปลว่า ที่ใส่กับข้าว ซึ่งเป็นภาชนะทำด้วยไม้สัก มีรุ)ร่างคล้ายตะลุ่มทางภาคกลาง เว้นแต่ขันโตกของชาวเหนือนั้นมีขนาดเล็กกว่าตะลุ่ม ทว่าสูงกว่าและตื้นกว่า มีน้ำหนักเบากว่าตะลุ่ม

ปัจจุบัน พระภิกษุที่เชียงใหม่ยังคงฉันอาหารในขันโตกอยู่ตามเดิม สำหรับประชาชนทั่วๆ ไป ดูเหมือนจะหายากที่จะรับประทานในขันโตก นอกจากในเวลาที่มีปอย หรือปอยหลวง (งานสมโภช)

ในยามปกติ ประเพณีรับประทานอาหารขันโตกนั้นหายาก ตามชนบทบางแห่งยังคงใช้ขันโตกอยู่บ้างสำหรับผู้มีอันจะกิน ส่วนสามัญชนหรือคนจนย่อมไม่มีขันโตก อีกประการหนึ่ง การรับประทานอาหารขันโตก ต้องมีอาหารหลายๆ อย่างตักใส่ถ้วยตักวางใส่ถ้วยวางไว้ในขันโตกจนเต็ม

ในปัจุบัน ชาวเชียงใหม่ได้ฟื้นฟูประเพณีดังกล่าว โดยนำมาจัดเป็นงานเลี้ยงต้อนรับแขกสำคัญที่มาเยือนนครเชียงใหม่ และเรียกชื่อเสียใหม่ว่า “ขันโตกดินเนอร์” และปรากฎว่า เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นงานเลี้ยงที่มีบรรยากาศของคนเมืองอย่างมาก เป็นที่จับจิต จับใจของอาคันตุกะต่างถิ่นเป็นอย่างยิ่ง

งานเลี้ยงขันโตกนี้ ไม่ใช้โต๊ะ เก้าอี้ แต่ใช้เสื่อปูในที่กว้างๆ ประดับด้วยประทีปโคมไฟหลากสี ผู้ที่จะมาร่วมงานเลี้ยงขันโตก ต้องแต่งตัวในชุดคนเมืองทั้งหญิงและชาย เฉพาะสุภาพสตรีนั้น แต่งตัวน่ารักมาก นุ่งผ้าซิ่นสีสวย ใส่เสื้อแขนกระบอก ห่มด้วยผ้าสะใบเฉียงงามระยับ ที่เรือนผมมีดอกกล้วยไม้ประดับ และสวมมาลัยดอกรักหรือดอกมะลิ ส่วนผู้ชายใส่เสื้อม่อฮ่อมสีน้ำเงินเข้ม ใส่กางเกงพื้นเมืองคาดผ้าขาวม้าไว้ที่เอว รองเท้าไม่ต้องสวมเพราะนั่งกับเสื่อ แถมสวมพวงงมาลัยแบบเดียวกับสุภาพสตรี ส่วนอาหรที่รับประทานในงานขันโตกล้วนแต่เป็นอาหารพื้นเมืองของเชียงใหม่ขนานแท้ทั้งสิ้น เป็นต้นวา แกงฮังเล น้ำพริกหนุ่ม จิ้นหมู แคบหมู แกงแคไก่ และอีกหลายอย่าง รวมทั้งของหวานด้วย รอบๆ ขันโตก มีเมี่ยงจัดไว้เป็นที่ๆ บุหรี่ไชโยมวนยาวและน้ำต้นใส่น้าเย็นไว้พร้อม และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือข้าวเหนียว ส่วนในวงขันโตกของหนุ่มๆ มักจะมีเครื่องดื่มที่เป็นสุราอยู่ด้วย
ขันโคกวงหนึ่งๆ จะมีผู้ร่วมรับประทานประมาณ ๖ – ๘ คน โดยทั้งหญิงและชายจะนั่งสลับกัน และที่ขาดไม่ได้ คือ จะต้องมีคนงามซึ่งเป็นสุภาพสตรีประจำอยู่ทุกขันโตก นอกจากนี้ ยังมีวงดนตรีพื้นเมืองร่วมบรรเลงอย่างไพเราะ ช่วยให้บรรยากาศของงานครึกครื้นยิ่งขึ้น

ในระหว่างงานเลี้ยง ในปัจจุบันนี้ มักจะจัดให้มีการแสดดงพื้นเมืองให้ผู้ร่วมงานได้ชื่นชมด้วย เช่น การฟ้อนเล็บ อันเป็นการฟ้อนที่นิยมมากที่สุดในเชียงใหม่ เพราะมีลีลาการฟ้อนอันอ่อนช้อย ประกอบกับดนตรีพื้นเมืองอันไพเราะ นอกจากนี้มีการฟ้อนเทียน การรำสาวไหม และการรำมะผาบ เป็นต้น การฟ้อนเทียน เวลาฟ้อนจะต้องดับไฟทุกดวงหมด มีแต่แสงของดวงประทีปที่ประดับไว้ ทำให้บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความประทับใจ แสงเทียนเต้นพราวอยู่ในมือของช่างฟ้อน ส่วนการรำสาวไหม และ รำตบมะผาบ มีลีลาการร่ายรำทั้งนิ่มนวลและดุดันตามจังหวะเพลง เพราะเป็นการรำเพื่อข่มขวัญศัตรู นอกจากนี้ อาจจะมีการรำดาบคู่ของหญิง และชาย ซึ่งเป็นการแสดงที่เก่าแก่ของเชียงใหม่ ซึ่งมีลีลาน่าดูน่าชมมาก จังหวะการกวัดแกว่งดาบและการรำในท่าต่างๆ ล้วนแต่ทำให้ผู้ชมต้องตื่นเต้น ในระหว่างที่ชมการแสดง ผู้ที่ได้รับเชิญ บางคนจะอมเมี่ยงบ้าง สูบบุหรี่ไชโยบ้าง นอกจากนั้น เครื่องดื่มจะทะยอยมาเรื่อยๆ พร้อมกับของหวานและของว่าง สาวนสุภาพสตรีก็จะมีน้ำผลไม้เย็นๆ ดื่ม ทำให้ผู้ไปร่วมงานได้รับความเพลิดเพลินเป็นอย่างยิ่งและจะประทับความรู้สึกอยู่ตลอดไป.


ปอยหลวง

ประเพณีของจังหวัดเชียงใหม่อีกอย่างหนึ่งก็คือ ปอยหลวง คำว่า “ปอย” เป็นภาษาไทยลานนาโบราณ หมายความถึงงานสมโภช ส่วนคำว่า “หลวง” หมายความว่าใหญ่ ฉะนั้น คำว่า “ปอยหลวง” จึงหมายความถึงงานสมโภชใหญ่ซึ่งมีติดต่อกันหลายวัน ตามปกติ ปอยหลวง นั้น มักใช้เวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน และโดยมากเป็นงานสมโภชหรือฉลองวัดวาอาราม เป็นต้นว่า สร้างกุฏิใหม่ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหม่ หรือสร้างพระวิหารหลวงหรือศาลาการเปรียญใหม่ เมื่อเสร็จแล้ว ก็มีงานสมโภชเอิกเกริก จึงเรียกว่า ปอยหลวง

วัดที่ทำปอยหลวงนี้ ไม่บอกบุญแต่เพียงทายกทายิกาเฉพาะในวัดเท่านั้น แต่จะบอกบุญเรี่ยไรไปยังวัดวาอารามอื่นๆ ทั่วเมืองให้มาร่วมการกุศลกันด้วย เมื่อวัดอื่นๆ ได้ทราบแล้วก็บอกบุญทายกทายิกาขอตนให้นำเครื่องไทยทานมารวมกัน จัดเป็นขบวนแห่ครัวทาน นำไปมอบให้แก่วัดที่มีปอยหลวงนั้น เรียกว่า แห่ครัวทานเข้าวัด ในการจัดเครื่องไทยทานไปถวายวัดนี้ จัดเป็นขบวนแห่ประกวดประชันแสดงฐานะของวัดนั้นๆ ด้วย และมักจะมีการฟ้อนรำในงานนี้ คือ ทางวัดที่แห่ครัวทานมาก็มีขบวนฟ้อนรำคอบรำคอยรับ ตามปกติ วัดวาอารามต่างๆในเชียงใหม่ โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ มักจะมีงานปอยหลวงต่อเนื่องกันไป เมื่อวัดนี้เสร็จแล้ว วัดอื่นก็เริ่มต้นผลัดเปลี่ยนไปเช่นนี้ คอยระวังกันอย่างเดียว คือ มิให้เกิดปอยหลวงซ้อนกันขึ้นได้ เพราะการมีปอยหลวงซ้อน ทำให้วัดต้องแบ่งแยกกันไปช่วยงาน ทำให้คนน้อย งานก็ไม่สนุกเต็มที่.


การฟ้อน

การฟ้อนที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเชียงใหม่ มีอยู่สองชนิดคือ ฟ้อนเทียน และ ฟ้อนเล็บ

Click on the image for full size

เครดิตภาพ : taklong digital.com

ฟ้อนเทียน นับเป็นระบำ “แบบเย็น” แบบหนึ่ง ตามลักษณะของการฟ้อนของไทยฝ่ายเหนือ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้งสองมือ ตามปกติ ใช้ฟ้อนในที่กลางแจ้งเวลากลางคืน ยิ่งมีช่างฟ้อนมากคนยิ่งดี ถ้าเป็นกลางวัน มักจะเปลี่ยนเป็นฟ้อนเล็บ เข้าใจว่าฟ้อนเทียนนี้ แต่เดิมมา คงจะใช้เป็นการฟ้อนสักการะบูชาแก่สิ่งที่เคารพศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ Temple Dance ต่อมา ก็นำมาแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญในพระราชฐาน เช่น ในคุ้มเจ้าหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยโบราณจึงเป็นศิลปที่ไม่สู้จะได้ชมกันบ่อยนัก

ความงามของการฟ้อนอยู่ที่ชมแสงเทียน ที่ถือส่องหน้านักฟ้อน ในขณะที่นักฟ้อนจุดเทียนถือฟ้อนคนละคู่นั้น ไม่ควรจะให้มีแสงสว่างอื่นนอกจากแสงสว่างวับๆ แวมๆ จากดวงเทียนที่ถือในมือ ผัชมจะสังเกตเห็นนักฟ้อนบิดข้อมือที่ถือเทียนอย่างมีศิลป และอาการที่เคลื่อนไหวไปมาช้าๆ เพื่อมิให้ดวงเทียนดับ นับเป็นศิลปที่น่าดูแบบหนึ่ง


การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่ได้ยินเป็นที่เลื่องลือกันมาก ก็เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงสาวชาวเหนือให้ฟ้อนถวายรับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวเด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙

Click on the image for full size

เครดิตภาพ : คุณบุญเสริม ศาสตราภัย

ฟ้อนเล็บ การฟ้อนแบบนี้เป็นการฟ้อนรำอีกชนิดหนึ่งของไทยชาวเหนือ เรียกชื่อตามลักษณธของผู้ฟ้อนซึ่งแต่งตัวแบบไทยชาวเหนือแล้วสวมเล็บยาวทุกคน กระบวนการฟ้อนรำก็เหมือนกับฟ้อนเทียนทุกนิ้วเว้นแต่นิ้วหัวแม่มือ ส่วนฟ้อนเทียน ผู้ฟ้อนใช้มือถือเทียนสองข้างๆ ละเล่ม

นอกจากการฟ้อนทั้งสองชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตา ซึ่งเป็นศิลปแบบไทยภาคเหนือผสมกับศิลปพม่า จัดว่าเป็นการฟ้อนที่น่าชมอีกแบบหนึ่ง


ในปัจจุบันเรามักจะได้ชมการฟ้อนเล็บอยู่บ่อยๆ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จนำพระราชอาคันตุกะไปเยือนจังหวัดเชียงใหม่ ทางจังหวัดก็ได้จัดให้มีการฟ้อนรับเสด็จและส่งเสด็จอย่างเต็มที่ โดยใช้นักฟ้อนเป็นจำนวนมากหลายร้อยคน ปรากฎว่าเป็นที่ประทับใจและปลื้อมปิติแก่บรรดาราชอาคันตุกะที่ได้มาชมศิลปของไทยฝ่ายเหนือกันทุกพระองค์.


Last edited by black_express on 30/12/2012 9:45 pm; edited 8 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2012 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

มีของแถมครับ

เชียงใหม่...มณีเม็ดงาม
โดย คณะวารสารรถไฟ

Click on the image for full size

ปัจจุบันนี้เชียงใหม่...เป็นเมืองที่ชาวไทยและต่างประเทศรู้จักกันดีพอๆ กับกรุเทพฯ หรือบางกอก เพราะเชียงใหม่มีได้มีความสำคัญเฉพาะความเป็นเมืองใหญ่มีพลเมืองมาก หากแต่เชียงใหม่มีหลายสิ่งหลายประการที่เมืองอื่นมีไม่ทัดเทียม นับแต่ความงดงามของธรรมชาติ ความอบอวลของดินฟ้าอากาศ ความอ่อนโยนน่ารักของชาวเมือง ความขยันขันแข็งในทางกสิกรรม อุตสาหกรรม ความดึกดำพรรพ์ของโบราณสถาน ความโอ่อ่าของดอยสุงเสียดฟ้า ความร่มรี่นเย็นฉ่ำของธารน้ำไหล และโยเฉพาะอย่างยิ่งเชียงใหม่ได้เป็นที่ตั้งของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์อันเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานทางภาคเหนือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถอีกด้วย

เชียงใหม่มีที่ท่องเที่ยวมากมายหลายแห่ง จนได้ชื่อว่า เชียงใหม่เป็นมณีเม็ดงามแห่งหนึ่งของเมืองไทย มีนักท่องเที่ยว นักทัศนาจรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศแวะไปเยือนมิได้ขาด ด้วยเหตุนี้เอง การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้วางนโยบายสร้างโรงแรมชั้นดีที่สุด ณ บริเวณสถานีรถไฟเชียงใหม่ เพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยวตลอดจนนักธุรกิจขึ้นและการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ กรทำพิธีเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๗ เป็นต้นไป

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ สร้างขึ้นด้วยงบประมาณ ๑๑ ล้านบาทเศษ เป็นตึก ๖ ชั้น มีห้องนอนทั้งหมด ๗๖ ห้อง แบ่งเป็นห้องนอนเตียงเดี่ยว ๔๔ ห้อง ห้องนอนเตียงคู่ ๒๔ ห้อง และห้องนอนพืเศษ suit Deluxe อีก ๘ ชุด ภายในห้องมีเครื่องอำนวยความสะดวกสบายหลายประการ เช่น เครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์ น้ำร้อน น้ำเย็น อ่างอาบน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ และเฟอร์นิเจอร์ทันสมัย นอกจากนี้ยังมีห้องทั่วไปสำหรับบริการผู้พักเป็นกรณีพิเศษอีก เช่น ห้องจองตั๋ว สอบถาม ไปรษณีย์ แต่งผมชาย เสริมสวยหญิง จำหน่ายของ ห้องพักพิศษ ไนท์คลับ ห้องเล่นเกมส์ต่างๆ ห้องน้ำชา ห้องคอกเทล ห้องประชุม ห้องอาหาร ห้องทำความเย็น ห้องลิฟท์สำหรับสิ่งของและบุคคลเพื่อให้บริการแก่ผู้พักอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น การรถไฟฯ ยังกำลังจัดสร้างสนามกอล์ฟขนาด ๙ หลุมทางด้านหลังของอาคาร กับมีโครงการจะจัดสร้างสระว่ายน้ำขนาดมาตรฐานพร้อมทั้งขยายตัวอาคารออกไปเท่าที่จำเป็นในอนาคตอีกด้วย จากการแนะนำสิ่งละอันพรรณละน้อยอันเป็นบริการของโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ดังกล่าวข้างต้น อาจทำให้ท่านสามารถมองเห็นภาพอันเกิดความสะดวกสบายที่จะใช้บริการโรงแรมรถไฟแห่งนี้เป็นอย่างดี

และเพื่อให้ท่านได้ทราบว่าเชียงใหม่มี ”ของดี” อะไรบ้าง เราจึงถือโอกาสเสนอสถานที่อันน่าท่องเที่ยวพอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้.-


Click on the image for full size

ดอยสุเทพ

จากตัวเมืองเชียงใหม่ ถึงดอยสุเทพ เป็นระยะทาง ๑๗ ก.ม. เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของเชียงใหม่

วัดพระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นสมัยพระยาลิไท มีสิ่งที่น่าชมมาก เช่น ประตูทางเข้าประดับด้วยลวดลายสีทอง และฉัตรสูงบนพระเจดีย์ทำด้วยทองคำแห้ บันไดนาคทางขึ้นสู่ดอยสลักเป็นลวดลายสวยงาม องค์พระธาตุตั้งเด่นอยู่ตรงกึ่งกลาง ล้อมรอบด้วยวิหารคตทั้งสี่ด้าน สีทองดอกบวบบุทั่วทั้งองค์ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันเป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป


Click on the image for full size

น้ำตกห้วยแก้ว

ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ เคยเป็นน้ำตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง ในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองไปแล้ว เพราะอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง ๖ ก.ม.เท่านั้น ในยามคำคืนมีบาร์และหนุ่มสาวตลอดจนนักทัศนาจร ต่างไปมาหาความสำราญกันได้เป็นอย่างดี

ผาเงิบ

ตั้งอยู่บนไหล่ดอยสุเทพ มีอ่างน้ำเล็กๆ ไหลริน และลานหินกว้างขวาง เหทาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างดี

หมู่บ้านแม้วดอยปุย

ไกลจากดอยบวกห้าไปอีก ๓ ก.ม. ก็จะถึงหมู่บ้านแม้วบนดอยปุย แม้วพวกนี้ได้รับการศึกษาขั้นต้นเป็นส่วนมาก บางคนสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ก็มี จึงมีนักท่องเที่ยวผ่านไปแวะเยี่ยมเพื่อดูความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีของเขาอยู่เสมอ

ฝาง

ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๔๘๑ เมตร ห่างจากตัวเมือง ๑๕๐ ก.ม. เป็นเมืองในหมอกของเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยภูเขาใหญ่น้อย นอกจากชาวพื้นเมืองแล้ว ยังมีชาวเขาเผ่าต่างๆ รวมอยู่อีกด้ว

น้ำตกแม่สา

ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริม ระยะทาง ๔๑ ก.ม. จากตัวเมือง เป็นน้ำตกที่สวยงามมีชื่ออีกเห่งหนึ่งของเชียงใหม่

ถ้ำเชียงดาว

อยู่ห่างจากเชียงใหม่ ๗๒ ก.ม. นับเป็นถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายในถ้ำประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ส่วนใหญ่เป็นแบบพม่า มีอภินิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือ ภายในถ้ำมีหินย้อยและหินงอกสวยงามมาก นอกจากนั้น ยังมีสิ่งที่น่าชมอื่นๆเช่น ห้องท้องพระ”ชโรงพญาทำหลวงแดง ห้องเห็ดยักษ์กินเต่ายักษ์ เป็นต้น

หุบเขาน้ำเดือด

จากฝางถึงหุบเขาน้ำเดือดเพียง ๑๑ ก.ม. ที่นี่มีบ่อน้ำร้อนถึง ๔๐ กว่าแห่ง มีบริเวณกว้างถึง ๔ ไร่เศษ ไอน้ำร้อนที่พุ่งออกมากลายเป็นหมอกขาวไปทั้งหุบเขา จนมีผู้ขนานนามว่า “หุบเขาน้ำเดือด”

ออบหลวง

ตั้งอยู่บนเส้นทางสายแม่สะเรียง-แม่ฮ่อวสอน ก.ม.ที่ ๑๖-๑๗ เป็นหน้าผาสูงลิบลิ่วเหมือนกำแพง อีกด้านหนึ่งของถนนเป็นที่ราบต่ำเป็นเส้นตั้งฉาก มีสายน้ำแม่แจ่มไหลผ่าน บนหน้าผาเป็นป่าเขียวและทิวเขาสี่ม่วงหลายลูก นับเป็นทัศนียภาพที่สวยงามที่สุดของเมืองไทยก็ว่าได้

วัดเจดีย์กู่กุด

หรือสุวรรณจังโกฏเจดีย์ ตั้งอยู่ห่างจากย่านใจกลางตัวเมืองลำพูนเล็กน้อย ภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระนางจามเทวี กษัตริย์องค์แรกของหริภุญชัย ลักษณะเป็นแบบเจดีย์เหลี่ยมที่พุทธคยา มีพระพุทธรูปปางประทานพรยืนเป็นชั้นๆ รวมทั้งหมดมี ๖๐ องค์

ลำพูน

ระยะทางห่างจากเชียงใหม่ ๒๖ ก.ม. ก็จะถึงเมืองลำพูนหรือหริภุญชัย เมืองที่พระนางจามเทวีสร้างขึ้นใน พ.ศ.๑๒๐๓ – ๑๒๐๖ วัดพระธาตุหริภุญชัยเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของลำพูน สร้างในสมัยพระเจ้าอทิตยราช กษัตริย์องค์ที่ ๒๙ ของหริภุญชัย

พระพุทธบาทตากผ้า

จากลำพูนผ่านป่าซางเป็นระยะทาง ๑๓ ก.ม. และจากตลาดป่าซางไปอีกประมาณ ๓ ก.ม. โดยแยกไปทางด้านซ้ายของถนน วัดพระพุทธบาทตากผ้าตั้งอยู่บนเนินสูง มณฑปที่ประดาฐานรอยพระพุทธบาทและหน้าผาหิน เป็นรอยตากผ้าของพระพุทธองค์ เป็นสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่น่าชมอีกแห่งหนึ่ง

สิ่งเหล่านี้...นับเป็นมณีล้ำค่าที่สามารถจูงใจนักทัศนาจรให้ไปเยือนเชียงใหม่อยู่เสมอเป็นประจำ ซึ่งเชื่อว่า โรงแรมอันทันสมัยของการรถไฟฯ จะสามารถให้ความอบอุ่นในบริการอันดีแก่ผู้สนใจไปเที่ยวชมเชียงใหม่ได้อย่างดียิ่ง ท่านไม่คิดไปเยือนดินแดนแห่งถิ่นไทยงามแห่งนี้บ้างหรือ ? เราเชื่อว่านครเชียงใหม่จะย้ำความจำให้ท่านรำลึกถึงเนื้อเพลงเก่าๆ ที่ควรแก่การจดจำอยู่ชั่วกาลนานที่ว่า...


“พิงคนคร สมนามกร นครเชียงใหม่ รุ่งเรืองช้านาน เป็นเมืองโบราณ แต่ยังสดใส มีดอยสูงเด่น เหมือนจะเป็น เครื่องเทิดเกียรติไทย ดอกไม้ก็สวย ผู้คนก็งาม สมศักดิ์สมนาม ของลานนาไทย...” ได้เป็นอย่างดี.

...........

ข้อมูล : หนังสือ "พิธีเปิดอาคารโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๗" การรถไฟแห่งประเทศไทย


Last edited by black_express on 07/01/2013 9:20 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2012 10:55 pm    Post subject: Reply with quote

ดีใจมากที่มีกระทู้เกร็ดประวัติศาสตร์จากหนังสือเก่า โดยพี่ตึ๋งมาให้อ่านกันอีกครับ Very Happy

เห็นภาพนี้ของคุณบุญเสริม ศาสตราภัย ซึ่งพี่ตึ๋งนำมาประกอบกระทู้
http://i132.photobucket.com/albums/q28/chayain/srt-chiangmai-0013_zps9dd4d6ed.jpg

แล้วนึกถึงภาพนี้ขึ้นมาทันทีครับ (ไม่ทราบที่มาของภาพถ่ายต้นฉบับ)
http://i284.photobucket.com/albums/ll8/Mongwin/chiangmairailwayhotel2469.jpg
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีประทับที่โรงแรมรถไฟ เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้างรับเสด็จระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙

ผมเพิ่งสังเกตวันนี้เองครับว่า อาคารหลังนี้ มีภาพมุมกว้างของคุณบุญเสริม ศาสตราภัยด้วย เดิมนึกตำแหน่งของอาคารไม่ออกครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42704
Location: NECTEC

PostPosted: 31/12/2012 6:43 am    Post subject: Reply with quote

ภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีประทับที่โรงแรมรถไฟ เพื่อทอดพระเนตรขบวนแห่ช้างรับเสด็จระหว่างเสด็จประพาสนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ -> หอจดหมายเหตุแห่งชาติครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44517
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/12/2012 8:10 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับคุณวิศรุต ผมเจอภาพดังกล่าวในเว็บไซต์ที่อยู่ที่ geocities ซึ่งปิดตัวไปแล้วครับ ตอนที่ค้นคว้าเรื่องโรงแรมรถไฟสงขลา Very Happy
Arrow http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=3727&postdays=0&postorder=asc&start=80
ผมว่าระยะหลัง ที่การถ่ายภาพเป็นดิจิทัล ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ที่ดูเหมือนไม่มีคุณค่าในช่วงแรก จะไม่ได้รับการส่งเข้าหอจดหมายเหตุครับ
ยกตัวอย่างเช่น ภาพการเปิดเดินรถดีเซลรางบนทางรถไฟสายสีแดง ขบวนแรก เช้าวันที่ 5 ธ.ค. 55 ตอนนี้ยังพอหาได้อยู่ แต่ต่อไปถ้าไม่มีใครเอาไปลงวารสารรถไฟสัมพันธ์ รับรองได้ว่าหาไม่ได้ครับ เพราะภาพถ่ายอยู่ตามเว็บไซต์เสียเป็นส่วนใหญ่ ยิ่งอยู่ตาม Facebook ยิ่งสูญหายเร็วขึ้น

แต่ต่อไปจะมี พรบ.จดหมายเหตุ แล้วครับ น่าจะช่วยให้อะไรดีขึ้นอีกนิด (หรือเปล่า)
Quote:
ไฟเขียว พ.ร.บ.จดหมายเหตุ ห้ามนำออกนอกประเทศ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 ธันวาคม 2555 18:40 น.

สภาฯไฟเขียว พ.ร.บ.จดหมายเหตุฯ บังคับส่งเอกสารทางประวัติศาสตร์-ป้องกันทำลายเอกสารสำคัญ ห้ามนำออกนอกประเทศ

นายสหวัฒน์ แน่นหนา อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตนได้รับรายงานว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.จดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ....ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขั้นตอนต่อไปนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคบใช้ โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.เพื่อรองรับหน้าที่ด้านจดหมายเหตุและคุ้มครองป้องกันเอกสารที่สำคัญไม่ให้ถูกนำออกนอกราชอาณาจักร นำไปซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือว่าทำการปลอมเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมถึงกำหนดให้ทุกหน่วยงานราชการ ส่งมอบเอกสารให้กรมศิลปากร ประเมินว่า เป็นเอกสารที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และมีคุณค่าที่ต้องเก็บรักษา ที่ผ่านมา พบว่า หน่วยงานราชการและผู้ถือครองเอกสารจดหมายเหตุไม่ยอมส่งเอกสารจดหมายเหตุและเอกสารที่คุณค่าทางประวัติศาสตร์มาให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติเก็บรักษา ดังนั้น พ.ร.บ.นี้จะเป็นเครื่องมือให้กรมศิลปากร ทำงานคล่องตัวมากขึ้นและมีอำนาจชัดเจนเรื่องจัดเก็บเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ ไปจะต้องให้ความรู้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงจัดทำคู่มือแจกให้แต่ละหน่วยงาน เพื่อทำการประเมินคุณค่าและจัดทำเป็นทะเบียนก่อนการนำมาส่งมอบ ที่สำคัญ ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดห้ามมิให้ส่ง หรือนำเอกสารจดหมายเหตุออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร เพราะที่ผ่านมามีการนำเอกสารจดหมายเหตุออกนอกประเทศและถูกทำลายจำนวนมาก เอกสารบางฉบับหลายคนมองว่าเป็นเอกสารที่ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าเวลาผ่านไป 50 ปีหรือว่า 100 ปี เอกสารดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์

พร้อมกันนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าวยังกำหนดให้ต้องตั้งกองทุนส่งเสริมจดหมายเหตุ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการบริหารจัดการเอกสารจดหมายเหตุด้วย ทั้งนี้ กรมศิลปากร กำลังเร่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำกฎกระทรวงประกอบ พ.ร.บ.ดังกล่าวด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 31/12/2012 2:29 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชมครับ

เรื่องกฎหมายของหอจดหมายเหตุ จนบัดนี้ เจ้าหน้าที่ทางธุรการของหน่วยงานผม ยังไม่เข้าใจเพียงพอว่าระเบียบงานสารบัญ ว่าด้วยการทำลายหนังสือ เขามีขั้นตอนทำอย่างไร ?

เอกสารกองเกลื่อนกลาดโดยไร้ที่เก็บ เกลื่อนทั้งที่ทำงาน น่ารำคาญมากครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©