RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181473
ทั้งหมด:13492711
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อยากไปเที่ยวทางรถไฟสายมรณะ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อยากไปเที่ยวทางรถไฟสายมรณะ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/03/2011 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

ก.วัฒนธรรมฯ เตรียมชง เส้นทางรถไฟสายมรณะ เป็นมรดกโลก
เนชั่นทันข่าว 3 มีค. 2554 15:58 น.

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2554 นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการ มรดกโลกทางวัฒนธรรม ครั้งที่ 1/2554 เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเมืองประวัติศาสตร์และป้อมของกรุงบริดจ์ทาวน์ เป็นมรดกโลกตามที่ประเทศบาร์เบโดสขอรับการสนับสนุน จากประเทศสมาชิก รวมทั้งได้เห็นชอบร่างเอกสารการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เป็นมรดกโลกของสำนักโบราณคดี กรมศิลปากรที่ได้มีการปรับปรุงเอกสารดังกล่าวให้เป็นไปตามรูปแบบที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด ทั้งนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบรับรองร่างเอกสารการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมเข้าสู่บัญชีเบื้องต้นของมรดกโลก (Tentative List) 3 แหล่ง ได้แก่
1. วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. สถาปัตยกรรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ
3. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ส่วนก่อนหน้านี้ที่จะมีการเสนอให้แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมอีก 4 แห่ง ได้แก่
1.แหล่งโบราณคดีเมืองเก่าเชียงแสนและสุวรรณโคมคำ
2. เส้นทางวัฒนธรรมไชยา นครศรีธรรมราช สทิงพระ ยะรัง ไทรบุรี (เคดาห์) ประเทศมาเลเซีย
3. แหล่งวัฒนธรรมล้านนา และ
4. พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม นั้น

ขณะนี้พบว่าเอกสารการนำเสนอยังไม่พร้อม และบางแห่งประชาชนคัดค้านการนำเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเนื่องจากเกรงว่า จะทำให้วิถีชีวิตของคนในพื้นที่เปลี่ยนไป

ที่สำคัญที่ประชุมได้มีมติให้มีการศึกษาแหล่งวัฒนธรรมเส้นทางรถไฟสายมรณะ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อนำเสนอขึ้นเป็นมรดกโลก โดยมอบหมายให้ สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ไปศึกษาและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของเส้นทางรถไฟสายมรณะ เริ่มตั้งแต่สถานีรถไฟธนบุรี - หนองปลาดุก-จนสิ้นสุดที่เมืองถันบีอูซายัต ในสหภาพพม่า ว่ามีคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลอย่างไรบ้าง และให้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป เพื่อพิจารณาว่าจะสามารถเสนอขึ้นเป็นมรดกโลกได้หรือไม่โดยจะมีการลงพื้นที่สำรวจในเดือนมี.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
theconandoi
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 05/07/2010
Posts: 327
Location: -๑ไฟฟ้ากำลัง๑-มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่

PostPosted: 03/03/2011 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าเปิดการเดินรถระหว่างประเทศ อย่าง ไทย-ลาวเป็นไง ถ้าทำได้จริงก็ต้องสร้างสถานีเพิ่มอีกทั้งในไทยและ พม่าด้วยใช่ใหมครับ
_________________
ซักวันผมจะเข้า วรฟ.ให้พี่ๆได้ภาคภูมิใจ จะเป็น พขร.ดั่งใจหวัง Evil or Very Mad
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 03/03/2011 10:01 pm    Post subject: Reply with quote

ผมว่าคงรักษาไว้เท่าที่มีเหลืออยู่ครับ หากจะเปลี่ยนแปลงสภาพทาง สถานีโดยสิ้นเชิง ขั้นตอนคงยุ่งยากขึ้น หากได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 04/03/2011 7:05 am    Post subject: Reply with quote

ถ้าได้ขึ้นเป็นมรดกดลกจริง ก็จะดีมากๆเลย
ที่สำคัญจะเป็นการดึงนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งประชาชนในประเืทศด้วย Razz
บางคนผมเคยพูดถึงทางรถไฟสายนี้ให้ฟัง เค้ายังไม่ทราบเลยว่าอยู่ในจังหวัดอะไร Sad
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2011 9:27 am    Post subject: Reply with quote

คงอย่างที่พี่ตึ๋งบอกครับ รักษาไว้เท่าที่เหลืออยู่
ทางรถไฟสายมรณะ เป็นอนุสรณ์สถานครับ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า monuments and sites
คำว่า site บางทีบ้านเราก็แปลว่า แหล่งโบราณคดี ซึ่งนับว่าบัญญัติศัพท์ได้ดีทีเดียวครับ เพราะสถานที่หลาย ๆ แห่ง ไม่เหลือตัวอาคารอะไรให้เห็นแล้ว ต้องขุดลงไป จึงจะพบโบราณวัตถุ ดังนั้น จึงไม่เรียกบริเวณนั้นว่า โบราณสถาน เพราะไม่มี"อาคารสถานที่เก่า ๆ" ให้เห็นแล้ว แต่ยังมีประโยชน์ในการศึกษาอยู่ จึงเรียกว่า "แหล่ง"โบราณคดี

ส่วนคำว่า monument อาจจะเป็นของเก่าดั้งเดิมก็ได้ หรือบูรณะขึ้นมาใหม่ก็ได้ เช่น วัดวาอาราม ปราสาทราชวังหลาย ๆ แห่งในอยุธยา อันนั้นส่วนใหญ่ก็บูรณะขึ้นมาใหม่จากซากอิฐซากปูนทั้งนั้นครับ

กรณีทางรถไฟสายมรณะ ถ้าถามว่า เปลี่ยนหมอนไม้เป็นหมอนคอนกรีตโมโนบล็อคจะได้หรือไม่ ความเห็นผมคิดว่า ไม่มีปัญหา เพราะถือเป็นการบูรณะปฏิสังขรณ์
หรือจะสร้างอาคารสถานีลุ่มสุ่ม (อ้ายหิด) จำลองขึ้นมาให้เหมือนอาคารเดิมที่รื้อไปแล้ว ทำป้ายสถานีเป็นป้ายดำตัวหนังสือขาว ก็ไม่น่ามีปัญหาอีก เพื่อเป็น monument ไว้ระลึกถึงทางรถไฟในอดีต

แต่ถ้ารื้อสะพานถ้ำกระแซ เจาะเป็นอุโมงค์แทน อันนี้หากขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกไปแล้ว คงต้องถกกันหนักหน่อย
ที่จริงทางรถไฟสายมรณะในปัจจุบัน นอกจากอาคารสถานีดั้งเดิมกับตัวทางรถไฟเองแล้ว ก็แทบไม่เหลืออะไรจากสมัยสงครามให้เห็นครับ สะพานถ้ำกระแซ หรือแม้แต่สะพานข้ามแม่น้ำแควในปัจจุบัน นั่นก็เป็นการสร้างขึ้นมาใหม่ในภายหลัง ไม่ใช่ของเดิมสมัยสงคราม ทางรถไฟไปรับน้ำที่วังโพก็ไม่มีอะไรเหลือ

สิ่งที่เหลืออยู่จากสมัยสงครามจริง ๆ คงต้องไปดูในป่า ในอุทยานแห่งชาติไทรโยค ที่มีคันทางและหินโรยทางเหลืออยู่ ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ที่ผู้พัน tentarmy43 เคยสำรวจมาให้ชมนั่นแหละครับ

ลองดูภาพนี้ครับ ซากสามเหลี่ยมกลับรถจักรกาญจนบุรี สมควรต้องอนุรักษ์ไว้ต่อไป เพราะเป็นหลักฐานของยุครถจักรไอน้ำ

Click on the image for full size

ส่วนสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่ หน้าสถานีกาญจนบุรีแบบนี้ หากขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว การก่อสร้างอาจได้รับเสียงคัดค้านมากขึ้น

Click on the image for full size

ที่มา : กระทู้ สิ่งใหม่ ๆ ที่สถานีกาญจนบุรี

จากสาเหตุที่กล่าวมานี้แหละครับ ที่ทำให้หลาย ๆ ชุมชนไม่อยากขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เพราะจะส่งผลกระทบทำให้"หยุดพัฒนา" หรือ "พัฒนามากเกินไป"

ที่บริเวณเมืองเก่าสงขลาเอง ทางเทศบาลนครก็พยายามจะผลักดันให้เป็นมรดกโลก ห้ามชาวบ้านทุบอาคารสไตล์โคโลเนียลทิ้ง ต้องบูรณะ ขณะเดียวกันก็ต้องหวั่นเกรงอันตราย ไม่รู้บ้านจะทรุดพังลงมาเมื่อไหร่ เพราะกรมศิลปากรก็ไม่มีงบประมาณเข้าไปซ่อมแซมให้ ทิ้งคาราคาซังไว้ จะรื้อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์เพื่อสร้างมูลค่าก็ทำไม่ได้

หรืออย่าง หลวงพระบาง ชาวบ้านก็เกิดคำถามขึ้นว่า เป็นมรดกโลกแล้วดีจริงหรือไม่ นักท่องเที่ยวเข้ามามากเกินไป เพราะฝรั่งมาบอกว่าเป็นมรดกโลก รายได้เพิ่มขึ้นก็จริง แต่ถ้าไม่ได้เป็นมรดกโลก จะสงบ น่าอยู่เหมือนในอดีต จะดีกว่าหรือไม่

เหตุการณ์คล้าย ๆ หลวงพระบาง เกิดขึ้นแล้วที่ปาย และกำลังจะเกิดต่อไปที่เชียงคาน แม้ไม่ใช่มรดกโลก

อยุธยา ก็เกือบจะหลุดจากมรดกโลก เพราะขาดการรักษาดูแล

กลับมาที่กาญจนบุรี ถ้ารื้ออาคารสถานีกาญจนบุรีที่คับแคบ แล้วสร้างใหม่แบบสถานียะลาหรือสถานีอุตรดิตถ์ ผลจะเป็นอย่างไร ?

สร้างสถานีสะพานแควใหญ่ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว หรือรื้อฟื้นสถานีเขาปูนขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เป็นสถานีทางสะดวก ให้รถแฟร์มองต์ได้หลีก ไม่ต้องกลับมาสถานีกาญจนบุรีเวลาขบวนรถผ่าน จะได้หรือไม่ ดีกว่าไหม ?

ต้องคิดเผื่อไว้ครับ หากอยากจะเป็นมรดกโลก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2011 9:56 am    Post subject: Reply with quote

ขออนุญาตนำข่าวของสงขลามาให้อ่าน เป็นอุทาหรณ์ครับ
--------------------------------------

“กรมศิลป์” อุ้มดูแลบ้านโบราณสงขลาไม่คืบ-เจ้าของหวั่นพังไร้คนรับผิดชอบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 มกราคม 2554 13:44 น.

Click on the image for full size

สภาพบ้านที่ถูกร้องเรียนเรื่องความไม่ปลอดภัย (ขอบคุณภาพจากภาคีคนรักเมืองสงขลา)

Click on the image for full size
ขอบคุณภาพจากภาคีคนรักเมืองสงขลา

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ – ชาวบ้านร้องเรียนหวั่นบ้านโบราณกลางเมืองสงขลาพังเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบนถนน ซึ่งมีการรื้อถอนไปแล้วส่วนหนึ่งแต่ถูกกรมศิลปากรสั่งระงับและเข้ามาจัดการแทนท้องถิ่น โดยลงมือเขียนแบบบ้าน พร้อมลงขันก่อสร้าง ด้านเจ้าของบ้านสุดช้ำ ไร้กรรมสิทธิ์ดำเนินการและขาดรายได้เกือบ 3 ปี

วันนี้ (22 ม.ค.) จากกรณีที่มีการร้องเรียนถึงความไม่ปลอดภัยของบ้านโบราณอายุนับร้อยปีบนถนนนางงาม อ.เมือง จ.สงขลา ที่อยู่ในสภาพทรุดโทรมอาจพังทลายลงได้ทุกเมื่อ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรบนถนน ตลอดจนทรัพย์สินและบ้านเรือนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามที่ โดยมีการติดป้ายประกาศของเจ้าของบ้านความว่า

“อาคารหลังนี้ เจ้าของไม่มีอำนาจในการซ่อมแซมได้ เนื่องจากติดกฎหมายของกรมศิลปากร ถ้าเจ้าของทำการรื้อถอนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และเจ้าของได้ให้ทางกรมศิลปากรที่ 13 สงขลาทำการรื้อถอนและซ่อมแซมตามดุลพินิจ ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.54 เป็นต้นไป ดังนั้น ทางเจ้าของบ้านจะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการพังทลายของบ้านหลังนี้”

โดยการตรวจสอบของผู้สื่อข่าว ได้ทราบข้อมูลว่า บ้านหลังดังกล่าวมีรูปแบบบ้านทรงจีนโบราณ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 หรืออายุประมาณ 170 ปี ปัจจุบันในสภาพที่ทรุดโทรมมาก โดยทั้งในถนนนางงาม นครนอกและนครในมีบ้านโบราณอีกหลายหลังซึ่งเจ้าของบ้านที่เป็นทายาทรุ่นหลังได้แยกย้ายไปอาศัยที่อื่นแทน โดยบ้านที่ยังมีสภาพแข็งแรงมีการเปิดให้เช่าทำกิจการค้า แต่ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้รับการดูแลหรือซ่อมแซม เนื่องจากค่าซ่อมแซมสูงกว่าบ้านในรูปแบบปัจจุบัน และหาช่างที่มีฝีมือและความรู้ตลอดจนวัสดุได้ยาก ทำให้ก่อนหน้านี้มีการรื้อถอนบ้านเก่าในย่านดังกล่าวมาแล้วหลายหลัง และบางหลังมีกลุ่มนายทุนเข้ามากว้านซื้อไปแล้วก็มี

โดยในสมัยนายอุทิศ ชูช่วย ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีนครสงขลา ได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์เมืองเก่าสงขลา โดยการรักษาบ้านโบราณที่ตั้งอยู่บนถนนนางงาม นครนอกและนครใน ไม่ให้มีการรื้อถอน โดยมีกรมศิลปากรมาขึ้นทะเบียนบ้านเก่าในย่านดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการบูรณะหรือซ่อมแซมบ้านโบราณจากภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่เจ้าของบ้านนั้นก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการครอบครองบ้านและที่ดินได้เลย

และจากการสอบถามเจ้าของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งขอสงวนชื่อเนื่องจากติดปัญหากับหน่วยงานราชการที่ต้องการเข้ามาอนุรักษ์ และมีการติดต่อเพื่อกดดันกว้านซื้อจากกลุ่มนายทุน เปิดเผยว่า บ้านหลังดังกล่าวเป็นบ้านทรงจีนได้รับการตกทอดเป็นมรดกจากบรรพบุรุษที่สร้างมาตั้งแต่สมัย ร.3 และมีหลุมหลบภัย ขนาดหน้ากว้าง 20 เมตร ลึก 6.5 เมตร

แม้ตนซึ่งเป็นทายาทรุ่นหลังไม่ได้อยู่ใน อ.เมืองสงขลา แต่ได้รับประโยชน์จากการให้เช่า จนกระทั่งสภาพทรุดโทรมมากตามกาลเวลา และไม่มีผู้เช่าเนื่องจากหวั่นว่าจะอาคารจะพังลงมา ประกอบกับมีชาวบ้านโทรศัพท์ร้องเรียนถึงความไม่ปลอดภัยของตัวอาคารอยู่เป็นระยะ ด้วยเป็นบ้านเก่าที่ไม่มีรากฐานมีโครงสร้างเพียงอิฐ ปูน และตัวอาคารพังทลายลงมาเกินกว่าที่จะซ่อมแซม จึงต้องการที่จะรื้อถอนเพื่อสร้างตึกใหม่เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงชีพ

ดังนั้น ประมาณปี 2551 จึงแจ้งความจำนงต่อเทศบาลนครสงขลาในฐานะหน่วยงานในท้องที่ โดยกองช่างของเทศบาลช่วยประสานงานช่างเพื่อรื้อถอน และเทศบาลฯ เสนอให้ตนก่อสร้างใหม่ในแบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งอยู่ในสมัย ร.5 และขอให้เทศบาลฯ เป็นผู้เช่าในราคาเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 20 ปี แต่ตนยังไม่ตัดสินใจใดๆ เนื่องจากแบบที่เสนอไม่ตรงตามแบบเดิม อีกทั้งต้องออกเงินก่อสร้างเอง จึงรับทราบข้อเสนอเท่านั้น

“เมื่อมีการรื้อถอนดำเนินการเกือบเสร็จสิ้นก็มีชาวบ้านโทรศัพท์ร้องเรียนกรมศิลปากรว่ามีการทำลายบ้านโบราณ เนื่องจากเป็นบ้านอนุรักษ์ที่ถูกขึ้นทะเบียนแล้ว แม้ว่าจะยังไม่เคยเห็นหนังสือที่เป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน และมีคำสั่งระงับเพียงวาจาเท่านั้น แต่ก็ไม่กล้าดำเนินการต่อเนื่องจากเกรงว่าจะผิดกฎหมาย หลังจากนั้นเทศบาลนครสงขลาก็ไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกเลย” เจ้าของบ้านกล่าวต่อและว่า

และจากการติดต่อกับกรมศิลปากรทำให้ทราบว่า กำลังมีการเขียนแบบบ้านขึ้นใหม่เพื่อของบประมาณจากกรุงเทพฯ เพื่อสร้างใหม่ ล่าสุดเมื่อปี 2553 แจ้งว่ามีค่าก่อสร้าง 1.3 ล้านบาท ด้วยต้องใช้วัสดุทดแทนให้เหมือนของเก่า แต่รัฐมีงบประมาณเพียง 800,000 บาท นั่นหมายความว่าตนในฐานะเจ้าของจะต้องสมทบเงินเอง 500,000 บาท โดยที่แบบใหม่นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่เคยมีเจ้าหน้าที่มาสอบถามข้อมูลจากตนที่เป็นเจ้าของบ้านเลย และค่าก่อสร้างนั้นถือว่าแพงเกินไปด้วยพื้นที่ทั้งหมดเพียง 38 ตารางวาเท่านั้น อีกทั้งยังไม่รู้ว่าเมื่อลงทุนแล้วจะมีกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิ์ใดๆ บ้าง

ดังนั้น ตลอดเวลาที่ต่อมากรมศิลปากรได้เข้ามาเกี่ยวข้องนั้น ตนในฐานะเจ้าของทรัพย์สินไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้เลยเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ทำให้ขาดรายได้ และหวั่นว่าซากอาคารดังกล่าวที่พร้อมจะพังลงมาทุกเมื่อจะสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในบริเวณนั้น อีกทั้งยังไม่รู้ว่าอนาคตข้างหน้าจะสามารถดำเนินการอย่างไรกับบ้านหลังนี้ได้ เนื่องจากทุกฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์นั้นไม่มีความชัดเจนทั้งนโยบายและวิธีการปฏิบัติ ในขณะที่ผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องเดือดร้อนและยังคงเสียภาษีโรงเรือนทุกปี

สำหรับเรื่องนี้ มีแหล่งข่าววงในตั้งข้อสังเกตว่า จากที่หน่วยงานรัฐท้องถิ่นมีการกล่าวอ้างว่ามีการขึ้นทะเบียนบ้านที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปบนถนนนางงาม นครนอก และนครใน อ.เมืองสงขลา เพื่อเป็นการอนุรักษ์นั้น พบว่ายังไม่มีเจ้าของบ้านหลังใดเห็นเอกสารการจดทะเบียนแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อจะมีการรื้อถอนกลับถูกคัดค้านจากชาวบ้านและกรมศิลปากร ทำให้ลูกหลานของบ้านเก่าที่ได้รับมรดกตกทอดไม่สามารถดำเนินการใดๆ เช่นกรณีนี้ ขณะเดียวกันกลับถูกนักธุรกิจที่มีผลประโยชน์ร่วมกับนักการเมืองพยายามหว่านล้อมเพื่อขอซื้อในราคาถูก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 04/03/2011 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

ผมว่า คงมีข้อเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกันระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบกับเจ้าของอาคารหรือเปล่าครับ ?

ในกรณีที่อาคารชำรุดทรุดโทรมจนหมดสภาพใช้สอยนั้น ควรจะมีการหารือกันระหว่างเจ้าของอาคารกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบและจังหวัด ซึ่งอาจจะเป็นในรูปคณะกรรมการฯ ก็ได้ เพื่อหาข้อสรุปว่าจะให้คงอยู่ หรือรื้อทิ้งเพื่อสร้างใหม่ โดยให้ทรงรูปแบบอาคารเดิม

แน่นอนครับ จะมีคำถามตามมาว่า แล้วค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการตกแต่งอาคารตามรูปแบบเดิมนั้น ใครเป็นผู้รับผิดชอบ ?

ในความเห็นของผม เจ้าของอาคารคงรับผิดชอบด้านค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างอาคารที่ก่อสร้างใหม่ตามราคาจริง แต่การตกแต่งรูปทรงอาคารให้เป็นทรงเดิมนั้น ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบควรหาเงินมาสนับสนุนเพิ่มเติม หรืออาจตั้งเป็นกองทุนฯ เพื่ออาคารประวัติศาสตร์ หรืออะไรก็ตามแต่ เพื่อดำเนินการตกแต่งอาคารให้คงรูปแบบเดิม อาจมีเงื่อนไขว่า เจ้าของอาคารห้ามดัดแปลงแก้ไขลักษณะอาคารภายนอกให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อประโยชน์ด้านอนุรักษ์อาคารรูปทรงประวัติศาสตร์ของตัวเมืองสงขลา หรือเมืองอื่นๆ ที่มีลักษณะอาคารในเขตอนุรักษ์เช่นเดียวกันนี้

หากจะมองว่า ทำแบบนี้ไม่เสียคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไปหรือ กรณีนี้เห็นจะยกตัวอย่างกรุงวอร์ซอ นครหลวงของสาธารณรัฐโปแลนด์ ที่ถูกภัยสงครามทำลายอาคารประวัติศาสตร์จนราบคาบ แต่ทางการได้ตัดสินใจบูรณะอาคารเหล่านี้ขึ้นใหม่ ซึ่งคงลักษณะเดิม แต่ข้างในนั้น อาจเป็นสมัยใหม่ก็ได้

ถ้าทำได้แค่นั่งกอดเข่า ชี้ขาดเพียงว่า นี่เป็นอาคารอนุรักษ์ ห้ามดำเนินการอย่างใดทั้งสิ้น ไม่คิดหาทางออกให้เขา ก็ดูกำแพงเมืองสงขลาเป็นตัวอย่างก็แล้วกันครับ
Back to top
View user's profile Send private message
wiriya_aek
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 02/11/2009
Posts: 527
Location: สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2011 2:46 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:


ถ้าทำได้แค่นั่งกอดเข่า ชี้ขาดเพียงว่า นี่เป็นอาคารอนุรักษ์ ห้ามดำเนินการอย่างใดทั้งสิ้น ไม่คิดหาทางออกให้เขา ก็ดูกำแพงเมืองสงขลาเป็นตัวอย่างก็แล้วกันครับ


เหตุการณ์ ที่พี่ตึ้งว่า ผมยังจำไปตลอด เพราะก่อนวันพายุเข้านั้น ช่วงนั้นฝนตกลงมาหนัก ซึ่งเกิดรอยร้าวแล้ว ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ไว้ว่า รอยร้าวเกิดจากดินเหนียวที่เป็นแกนกลางของกำแพงอุ้มน้ำไว้มากจนรับไว้ไม่ไหวแล้ว

ผมจึงฝากเสนอ กรมศิลปากรที่ 13 สงขลา ผ่านทางภาคีฯไปว่า "น่าจะหาผ้าใบขนาดใหญ่มาคลุมกันน้ำลงไปในกำแพงจะได้ไม่พังลงมา อาจจะเป็นผ้าใบใสๆก็ได้จะได้ไม่บดบังทัศนียภาพมากนัก เพราะฝนที่จะตกลงมาอีก 3 วันตามประกาศแจ้งเตือนของศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก"

ทางภาคีฯ ก็ไปได้คำตอบจาก ผอ.กรมศิลปากรที่ 13 สงขลา ในบ่ายวันที่ 1 พฤษจิกายน 2553 ว่า"จะไม่มีการคลุมกันฝนครับ และจะเริ่มงานหลังจาก ฝนหยุดปัจจุบันจะทำแค่การค้ำยันไปก่อน ส่วนการที่ไม่ใช้ผ้าใบคลุม เนื่องจากต้องการให้กำแพงระบายความชื้นได้"

ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ต้องคลุมทั้งหมดก็ได้ แค่ด้านบนก็พอไม่ต้องถึงฐานก็ได้ เพื่อช่วยบรรเทาได้บ้าง แทนที่จะไม่มีอะไรช่วยบรรเทาเลย และทางผู้เชี่ยวชาญจากหลายๆที่บอกว่าต้องรีบคลุมเต๊นท์ไม่ให้แกนดินละลาย

และในคืนวันเดียวกัน เวลาประมาณ 21.00 น. พายุก็ขึ้นสงขลาแล้วถล่มกำแพงเมืองสงขลาไปที่เรียบร้อยเลยครับ หลังจากนั้นก็ไม่มีคำตอบอะไรจาก กรมศิลปากรที่ 13 แต่อย่างใด มีเพียงขึ้นป้ายว่า รองบประมาณปรับปรุง ซึ่งตอนนั้นฝนก็ลงมาตลอดพร้อมกับกำแพงที่พังลงมาตลอดเช่นกันครับ

ผมยังมีข้อสงสัยว่า ค่าเหล็กค้ำยัน(ที่ไม่ทำให้กำแพงหยุดการพังทลาย) กับ ค่าผ้าใบขนาดใหญ่มาคลุม (ช่วยลดปริมาณน้ำที่ลงไปเพื่อชะลอการพังทลายได้ส่วนหนึ่ง)
อันไหนต้นทุนคุ้มค่ากับโบราณสถานมากมากกว่ากัน หรือ จะมีผลประโยชน์ทางธุรกิจเหล็กค้ำยันมาเกี่ยวข้องหรือป่าว Evil or Very Mad

ไม่อยากให้กรณีแบบนี้เกิดขึ้นกับที่อื่นอีกเลยครับ เพราะเกิดจากความประมาท ของผู้มีอำนาจในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
_________________
:: ร่วมปลุกเส้นทางสายสงขลาให้กลับมามีชีวิตชีวา ในโอกาสที่จะใกล้ครบ 100 ปี หลังจากหลับใหลไปในความทรงจำกว่า30 ปี :: http://www.facebook.com/songkhlastation
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 04/03/2011 3:58 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบราชการไทย ครับ... Shocked
มันจะอยู่คู่กับเราไปอีกนานแสนนาน เจออยู่แทบทุกวันครับ Sad
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
tentarmy43
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 10/10/2007
Posts: 665

PostPosted: 04/03/2011 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

สนับสนุนด้วยคนครับ....ที่ไปสำรวจไว้จะได้ฝันเป็นจริง...หากจะเห็นร่องรอยเยอะๆๆก็คงต้องปล่อยน้ำออกหมดเขื่อนวชิราลงกรณครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เส้นทางรถไฟ, ค่าโดยสาร และเรื่องเกี่ยวกับการเดินรถ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
Page 3 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©