Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311279
ทั่วไป:13260683
ทั้งหมด:13571962
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ภาพเก่าเล่าอดีตสถานีรถไฟควนเนียง โดย คุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ภาพเก่าเล่าอดีตสถานีรถไฟควนเนียง โดย คุณพรเลิศ ละออสุวรรณ
Goto page Previous  1, 2, 3
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3292
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 11/12/2009 8:51 pm    Post subject: Reply with quote

มีข้อความจากหนังสือ "ที่ระลึกในวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟครบรอบ ๗๒ ปี" มาให้ลองอ่านเพื่อพิจารณาเทียบเคียงกันครับ Arrow ข้อความนี้ผมคัดลอกมาจากตอนท้ายของ โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายสุราษฎร์ธานี-พังงา-ท่านุ่น-ภูเก็ต


Quote:

กรรมการสิทธิที่ดิน
ทางรถไฟสายนี้การรถไฟฯได้กันเขตที่ดินสองข้างแนวทางไว้กว้างข้างละ ๘๐ เมตร ตลอดสายที่ดินเหล่านี้มีผู้ครอบครองถือกรรมสิทธิ์อยู่แล้วมีจำนวน ๑,๒๓๒ แปลง และการรถไฟฯได้รับความร่วมมือจากเจ้าของที่ดินด้วยการยกที่ดินอันเป็นที่ทำกินของเขาให้แก่การรถไฟฯโดยมิได้คิดค่าตอบแทนใดๆมีจำนวนถึง ๑,๒๐๓ แปลง คิดเป็นเงินค่าที่ดินสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๔-๙๕ เป็นเงินหลายล้านบาท รัฐบาลคงชดใช้เงินค่าทำขวัญเจ้าของที่ดินเพียง ๗๑,๒๑๗.๑๔ บาทเท่านั้น ทั้งนี้แสดงให้เห็นประจักษ์ชัดว่าประชาชนส่วนมากที่อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสายนี้มีความยินดีและกระตือรือร้นที่จะให้มีเส้นทางคมนาคมขนส่งนี้เกิดขึ้นเพื่อความเจริญในท้องถิ่นของเขา ซึ่งได้ขาดแคลนการคมนาคมที่ดีมาช้านานแล้ว จึงยอมเสียสละที่ทำมาหากินอันมีค่าซึ่งบางแห่งก็เป็นเขตลานแร่ หรืออยู่ในเขตเทศบาล มีทำเลเหมาะสมในการประกอบการค้าเป็นต้น

ต่อมารัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ เพื่อประสงค์จะสำรวจทำแนวไปยังจังหวัดภูเก็ต เป็นระยะทางอีกประมาณ ๕๐ กิโลเมตร สุดปลายทางที่อ่าวมะขาม ริมมหาสมุทรอินเดีย แต่ไม่ได้ทำการสำรวจเพราะขาดงบประมาณ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนครบ ๕ ปี จึงหมดอายุไป

อนึ่ง ที่ดินบริเวณท่าฉัตรไชย จังหวัดภูเก็ต ปรากฏหลักฐานทางทะเบียนที่ดินอำเภอถลางว่าสมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตได้ประกาศเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณนี้ไว้ ประมาณเนื้อที่ ๒,๘๐๐ ไร่ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๗๐ เพื่อประโยชน์ทางราชการ เป็นท่าเรือติดต่อระหว่างภูเก็ต-พังงา การสงวนที่ดินดังกล่าวนี้ได้ความจากท่านขุนเสนานิคม อดีตนายอำเภอถลาง ว่าเป็นความประสงค์ของเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน กำหนดว่าจะใช้ในการสร้างท่าเรือและกิจการของการรถไฟฯ จึงเป็นที่เข้าใจจนบัดนี้ว่าที่บริเวณท่าฉัตรไชยเป็นที่ดินสงวนของการรถไฟฯ ต่อมาที่ประชุมด้านเดินรถและขนส่งครั้งที่ ๒๔/๒๕๐๔ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๐๔ มีมติให้เอาที่ดินไว้เพียง ๕๐๐ ไร่ กับสองข้างทางรถไฟที่จะดำริจะสร้างข้างละ ๔๐ เมตร ที่ดินที่สงวนเอาไว้ส่วนใหญ่เป็นที่ดินระหว่างถนนและชายทะเลและศูนย์กลางทางรถไฟที่จะต่อแนวทางไปยังปลายทางที่อ่าวมะขามอีกข้างละ ๔๐ เมตร ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่รถไฟได้ไปสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมที่ดินได้ปักหลักเกษตรและได้ออกหนังสือที่หลวงให้แก่การรถไฟฯเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับว่าการรถไฟฯได้ตระเตรียมที่ดินสำรองไว้สำหรับงานก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ไว้เป็นอย่างดีแล้ว


อยากให้สังเกตตรงโครงการขยายทางรถไฟไปถึงอ่าวมะขาม ตรงย่อหน้าที่ 2 และย่อหน้าที่ 3 นะครับ (ย่อหน้าแรกเป็นทางช่วงบ้านทุ่งโพธิ์-ท่านุ่น ซึ่งได้เวณคืนที่ดินเรียบร้อยแล้ว) เพราะสงสัยว่าจะตีความเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าเป็นที่ของรถไฟแล้วหรือไม่ อย่างไร

Arrow แล้วถ้าจะลองมาเทียบเคียงกับโครงการปากบาราที่กล่าวถึงในที่นี้ ----> ถ้าเคยมีการกล่าวถึงจริง อาจเป็นประเด็นที่คล้ายกับโครงการอ่าวมะขามนี้หรือไม่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3
Page 3 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©