RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264246
ทั้งหมด:13575529
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ผู้โดยสารโปรดทราบ...ที่นี่ "สถานีราชบุรี"
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ผู้โดยสารโปรดทราบ...ที่นี่ "สถานีราชบุรี"
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 25, 26, 27  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 30/09/2008 11:52 pm    Post subject: Reply with quote

ห้องทำงาน ดร.อุดม สมพร แกนนำคณะผู้ก่อการดี
ผู้อำนวยการจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว คนหัวปี
คุณวุฒิ ป.๔, ม.๖, ป.กศ.ต้น, ป.กศ.สูง, คบ., อม. และ ศศ.ด.

เพิ่มเติมในส่วนที่น้องปลานำเสนอไปก่อนหน้านี้ค่ะ
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 01/10/2008 12:11 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อเดินเข้ามาอีกหน่อยถัดจากส่วนแรก จะพบกับห้องที่แสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไท-ยวน (ดูคร่าวๆ ไม่ต่างกับวิถีชีวิตชาวไท-อีสาน) กับภาพนี้ค่ะ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ความเป็นมาโดยละเอียด จะมาเล่าให้ฟังกันพรุ่งนี้ค่ะ wave
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 01/10/2008 11:53 pm    Post subject: Reply with quote

จากภาพ เมื่อเจอครั้งแรกก็เข้าใจเลยว่าเป็นการอยู่ไฟของคุณแม่หลังคลอดบุตร (เคยเห็นตอนเด็กๆ นะคะ) ลองสอบถามจากคุณลุงวิทยากรที่นำชมแล้ว คุณลุงเล่าคร่าวๆ ว่าเป็นการอยู่ไฟของผู้หญิงหลังคลอด ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ไม่ทราบแน่ชัด แต่โชคดีที่คุณแม่ของป้าเคยเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งตอนคลอดป้าออกมา ประกอบกับความอยากรู้อยากเห็นถึงขั้นทำให้ต้องไปแอบดูว่าเค้าทำคลอดกันยังไง เลยได้เรื่องมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้คะ
เมื่อครั้งโบราณจนถึงประมาณ พ.ศ. 2514 (ตอนป้าเกิด) ตามชนบททั่วไปเวลาแม่จะคลอดลูก โดยทั่วไปจะใช้บริการหมอตำแย เนื่องจากการเดินทางไปโรงหมอ สมัยนั้นไม่สะดวก (ระยะทางไกล และยานพาหนะในการเดินทางค่อนข้างหาได้ลำบาก) ดังนั้นการคลอดโดยใช้หมอตำแยจึงเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป

คุณแม่เล่าว่า...
ตอนท้อง Patiew คุณแม่เริ่มเจ็บท้องตั้งแต่ 6 โมงเย็น ที่บ้านเตรียมการโดยพาคุณแม่เข้าไปในห้องโล่งๆ ที่มีเชือกท่วงขื่อ (ผ้ายาวๆ ที่ผูกจากขื่อบ้านแล้วทิ้งชายผ้ายาวลงมาถึงพื้นบ้าน) เอาไว้ให้จับทรงตัวเวลาจะคลอด แล้วคุณพ่อก็ต้องรีบไปตามหมอตำแยในหมู่บ้านมา 2 คน ชื่อ ยายผัง กับ ยายเฮียน เมื่อมาถึงหมอตำแยทั้งสองคนก็จะเข้าไปอยู่ในห้องกับคุณแม่ตามลำพัง ห้ามไม่ให้มีใครอื่นเข้าไปวุ่นวายในนั้น แม้แต่คุณพ่อเอง พร้อมกับออกคำสั่งให้ไปต้มน้ำเตรียมไว้ให้มากๆ และให้หาผ้าถุงสำหรับมาผัดเปลี่ยนให้คุณแม่ใส่สำหรับคลอดลูกได้สะดวกขึ้นด้วย

หลังจากนั้นยายทั้งสองก็จะช่วยกันจัดท่านั่งให้คุณแม่ โดยยายผังเป็นคนนั่งพยุงอยู่ด้านหลังของคุณแม่ ส่วนยายเฮียนจะเป็นคนบีบนวดแขนขาและหน้าท้อง พร้อมออกคำสั่งให้เบ่งอยู่เรื่อยๆ เป็นระยะ (ระหว่างนั้นคุณแม่ก็จะร้องโอ๊ยเจ็บๆ พร้อมส่งเสียงเบ่งตามคำสั่งของยายเฮียนไปเรื่อยๆ) เมื่อไรที่เห็นว่าคุณแม่เหนื่อยเกินไปหรือไม่มีแรงเบ่งแล้ว ยายเฮียนก็จะพ่นน้ำเย็นๆ ใส่ให้เป็นระยะๆ ตั้งแต่หัวจรดหน้าท้อง เวลาผ่านไปจนกระทั่งใกล้รุ่ง (ได้ยินเสียงไก่ร้องขันรับกันเป็นระยะ มาทราบทีหลังว่าขณะนั้นเวลา 6 โมงเช้าแล้ว) คุณแม่ก็ออกแรงเบ่งครั้งสุดท้าย และแล้ว Patiew ก็หลุดออกมาสู่โลกภายนอกในเวลานี้เอง

.…ได้ฟังแล้วรู้สึกว่าเรื่องต่างๆ ที่ได้ตอบแทนท่านไปบ้างแล้ว มันช่างเล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับความเจ็บปวดที่ได้ก่อไว้ตอนก่อนเกิดคราวนั้น....ใครที่คลอดวิธีเดียวกับ Patiew คงต้องหาเวลากลับไปดูแลคุณแม่ของตัวเองให้มากขึ้นกว่าที่ทำอยู่ตอนนี้แล้วนะคะ...ป้าเองนึกถึงทีไรอยากจะกลับบ้านไปนอนหนุนตัก ปรนนิบัติรับใช้ท่านให้ชื่นใจมากกว่านี้.. Crying or Very sad คิดถึงจังเลย


Last edited by Patiew on 04/10/2008 7:00 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 02/10/2008 12:42 am    Post subject: Reply with quote

***ตอนสู่โลกภายนอก***
พอคลอดออกมาแล้ว ยายเฮียนเป็นคนถือตัว Patiew ไว้ในมือ แล้วยายผังก็เปลี่ยนตำแหน่งมาอยู่ด้านหน้าของคุณแม่พร้อมมีดตัดสายสะดือคู่กาย (เป็นมีดเงินทั้งเล่ม ขนาดเท่ามีดปลอกผลไม้ในปัจจุบัน) 1 เล่ม และไม้ไผ่แบนๆ ยาวๆ อีก 1 อัน ปล่อยให้คุณแม่ยึดเชือกท่วงขื่อไว้เพียงลำพังก่อน

ขณะที่ยายเฮียนถือตัว Patiew ไว้ในมือ ยายผังก็นำไม้ไผ่แบนๆ มาวางไว้ใต้สายรกที่เชื่อมตัว Patiew กับรกก้อนโตๆ ที่หลุดออกมาพร้อมกันนั้น แล้วใช้มีดที่ถืออยู่ในมือตัดสายรกให้ขาดในครั้งเดียว นำเชือกด้ายสีขาวมาผูกสายรกด้านที่ยังติดกับสะดือของ Patiew ไว้ ส่วนสายอีกด้านที่อยู่ติดกับก้อนรกก็เก็บรวมเข้าไว้ด้วยกันแล้วนำไปใส่ใบตองที่จัดเตรียมไว้ จัดแจงห่อให้มิดชิดแล้วนำออกมาส่งให้คุณพ่อที่อยู่ห้องด้านนอกพร้อมกับสั่งให้นำไปทิ้งในจอมปลวก (ให้ปลวกกิน) ถ้าไม่มีจอมปลวกใกล้ๆ ก็ให้นำไปฝังไว้ใต้บันไดบ้าน (บันไดลิง) แล้วทำการก่อกองไฟ จุดไฟสุมให้เรียบร้อย

ขณะเดียวกันยายเฮียนก็นำตัว Patiew ไปล้างทำความสะอาดแล้วเอาผ้าอ้อมมาห่อตัวให้เรียบร้อย แล้วนำเข้าไปให้คุณแม่ดูใกล้ๆ ก่อนจะพา Patiew ออกมาให้ชาวบ้านที่รอกันอยู่ด้านนอกห้องดู พร้อมกับสั่งให้คุณพ่อเตรียมกระด้งรูปทรงกลม 1 อัน ผ้าห่มขี้งาหนาๆ 1 ผืน หมอนขิด 2 ใบ มีดอีโต้หรือมีดใหญ่ๆ 1 เล่ม สาก (ไม้ตีพริก) 1 อัน และด้ายขาวสำหรับผูกข้อมือเด็ก 1 มัด ไว้ให้พร้อม

หลังจากนั้นยายผังก็จัดแจงแต่งตัวให้คุณแม่ให้เรียบร้อยแล้วพยุงพาออกมานอนห้องด้านนอกเพื่อทำพิธีเข้าคอก (สำหรับเด็กแรกเกิด) เมื่อจัดแจงที่นอนให้คุณแม่เรียบร้อยแล้ว ยายผังก็หันมาจัดเตรียมข้าวของสำหรับพิธีเข้าคอกให้เรียบร้อยเพื่อรอให้ยายเฮียนนำตัว Patiew ออกมาทำพิธีเข้าคอก โดยการจัดเตรียมข้าวของนั้น ยายผังจะนำกระด้งมาวางไว้กลางห้องโถงใกล้ๆ กับที่คุณแม่นอนอยู่ก่อน แล้วเอาผ้าห่มขี้งามาวางรองกระด้งไว้สำหรับเป็นที่นอน ต่อมานำหมอนมาวางทับชายผ้าห่ม 2 ด้าน (ป้องกันไม่ให้ผ้าห่มด้านใดด้านหนึ่งพับกลับมาปิดจมูกเด็ก) เหลือตรงกลางไว้สำหรับวางตัวเด็ก เสร็จแล้วยายเฮียนก็นำตัว Patiew มาวางไว้ตรงกลางกระด้งระหว่างหมอนทั้ง 2 ใบนั้น

แล้วพิธีเข้าคอก (พิธีรับขวัญ) ก็เริ่มขึ้น โดย...
ยายเฮียนนำตัว Patiew วางลงไปในกระด้งใบนั้น แล้วหยิบมีดและสากขึ้นมาถือไว้ในมือ ยายผังยกกระด้งขึ้นมา แล้วยายเฮียนก็เริ่มนำมีดและสากเคาะที่ขอบกระด้งเป็นจังหวะ พร้อมกับท่องคาถาความว่า “หลังจากหนี่ กุ๊ดกูกุ๊ดกู ขั่นแมนลูกสูเอาไปมื่อนี่ ต๊อแต๊หนี่มื่อหน่าเป็นลูกกู” โดยพูดไปเรื่อยๆ จบครบ 3 จบ เสร็จแล้วยายผังก็จะนำกระด้งวางลงไว้ใกล้ๆ กับคุณแม่ แล้วทั้งยายผังและยายเฮียนจะนำด้ายขาวมาผูกข้อมือให้ Patiew คนละ 2 เส้น (ข้อมือทั้ง 2 ด้าน) ต่อมาให้คุณพ่อ และ คุณแม่ผูกข้อมือให้ Patiew ตามลำดับ ก็เป็นอันเสร็จพิธีเข้าคอก

แล้วพรุ่งนี้จะมาเล่าถึงความยากลำบากของการอยู่คีไฟ (ที่เห็นในภาพ) ให้ฟังกันค่ะ Nothing


Last edited by Patiew on 04/10/2008 7:04 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 03/10/2008 12:09 am    Post subject: Reply with quote

เหอๆๆ ถ้าอ่านกันมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกงงๆ ไม่ต้องแปลกใจค่ะ ป้าลืมบอกไปว่าการทำคลอดและพีธีกรรมที่เล่าสู่กันฟังในที่นี้ เป็นการทำคลอดของคนไท-อีสานนะคะ ไม่ใช่การทำคลอดของคนไท-ยวน หรือของคนภาคกลางแบบที่เราเคยดูในหนังนางนาก นั่น ต้องขออภัยอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ bow ข้าน้อยสมควรตายเป็นร้อยๆ ครั้ง Crying or Very sad แต่ครั้งนี้ขอไว้ก่อนนะ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2008 12:34 am    Post subject: Reply with quote

แม่ผมคลอดผมที่ รพ.สงขลา เลยไม่ค่อยรู้รายละเอียดเกี่ยวกับหมอตำแยเท่าไหร่ครับ
เคยเห็นแต่ในหนัง
ฟังที่ป้าติ๋วเล่ามา ก็เลยเห็นว่าแต่ละชุมชนก็มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น

อย่างเช่นที่ หนองขาว อ.ท่าม่วง กาญจนบุรี ก็มีบันทึกไว้ว่าอย่างนี้ครับ

Quote:
ทุกชีวิตที่อยู่บนโลกนี้ล้วนต้องผ่านการเกิด ในสมัยโบราณการแพทย์ยังไม่เจริญเหมือนปัจจุบัน ดังนั้นในการเกิดของคนจึงต้องอาศัยหมอตำแย ซึ่งเป็นหมอกลางบ้าน ที่มีความสามารถในการทำคลอด และเป็นที่ไว้วางใจของคนในหมู่บ้าน

หมอตำแยของหมู่บ้านหนองขาว คือ นางพูล ยังชั่ว ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว ปัจจุบันมีลูกหลานของนางพูลได้สืบทอดความรู้ในการทำคลอดไว้คือ นางฉลวย อันเชิด
หญิงชาวบ้านหนองขาวก่อนคลอดจะทำงานตามปกติ จะหยุดทำงานก็เมื่อรู้สึกเจ็บท้อง

บางคนเล่าว่าเจ็บท้องขณะกำลังเกี่ยวข้าว แสดงให้เห็นว่าคนบ้านหนองขาวเป็นคนขยันในการทำมาหากินทำงานจนถึงวันคลอดลูก

ในขณะตั้งท้องจะห้ามนั่งขวางบันได เพราะเชื่อว่าจะคลอดยาก ห้ามอาบน้ำกลางคืน จะทำให้คลอดลูกยาก จะเป็นแฝดน้ำ

สิ่งที่จำเป็นในการคลอดลูก และอยู่ไฟ ได้แก่ ฟืนสำหรับอยู่ไฟ ผู้เป็นสามีจะเข้าป่าตัดไม้มาทำฟืน ได้แก่ ไม้สะแก ไม้มะขาม ไม้ตะเค็ด นำฟืนมาสุมตั้งเอาปลายขึ้น และจะผลักให้ล้มลงเมื่อเด็กคลอดจากท้องแม่ ยันต์ หรือ หนังวัว หนังควายฟั่นเป็นเชือกใช้เป็นเครื่องราง กำเกวียน สำหรับกั้นประตูห้อง กันไม่ให้ผีเข้าไป

ในห้องคลอด หม้อดินสำหรับใส่รกเมาะ กระด้ง เครื่องขวัญ ได้แก่ ข้าวสาร หมาก ๗ พลู ๗ ด้าย ๑ ใจ เงิน ๖ สลึง สำหรับหมอตำแยบูชาครู ไม้รวกสำหรับตัดสายรก
เมื่อหญิงที่ตั้งครรภ์เจ็บท้อง สามีจะติดยันต์และเครื่องต่างๆ ไว้รอบห้อง นำกำเกวียนมาวางขวางประตูเพื่อกันผีเข้า ปลดกลอนหน้าต่างทุกบานในบ้านเพื่อให้คลอดสะดวกหมอตำแยจะตั้งพานครู จากนั้นให้ผู้คลอดนั่งเหยียดขาเอาหลังพิงฝาหรือหลังผู้ช่วย แล้วหมอตำแยก็จะกล่อมท้องของผู้คลอด ส่วนนอกบ้านจะก่อไฟด้วยฟืนที่เตรียมไว้ และผลักกองฟืนให้ล้มลง เมื่อคลอดแล้วหมอตำแยจะตัดสายรก แล้วนำรกมาใส่หม้อดินนำไปฝังไว้ใต้บันใดบ้าน เพราะเชื่อว่าเด็กจะไม่ดื้อไม่เที่ยวซน นำทารกมาอาบน้ำ แล้วใส่กระด้งร่อนพร้อมกับพูดว่า “สามวันลูกผี สี่วันลูกคน ลูกใครเอาไป” แล้วส่งให้กับคนที่เลี้ยงลูกง่ายไม่ดื้อ ไม่ซน มีสุขภาพดีมารับไป คนมารับจะพูดว่า “อยู่กับแม่จนแก่จนเฒ่า ให้เลี้ยงง่ายเลี้ยงดาย โตขึ้นให้เป็นเจ้าคนนายคน” แล้วนำเด็กไปส่งให้กับแม่ของเด็ก แม่เด็กจะนำสมุดดินสอที่เตรียมไว้ใส่ในกระด้งข้างๆ ทารก เพราะเชื่อว่าจะทำให้เด็กเรียนหนังสือเก่ง หลังคลอดจะให้ผู้คลอดกินน้ำส้มมะขามกับเกลือหรือดินปืน ๑ ชามทันที เป็นการฟอกเลือด และขับเลือดเสียจากร่างกาย

การอยู่ไฟหลังคลอด พ่อบ้านจะนำดินจำนวน ๙ - ๑๑ กระบุงมากองและเกลี่ยให้เป็นวงกลมสำหรับก่อกองไฟ แล้วนำฟืนที่สุมเป็นกองไฟที่เตรียมไว้ มาก่อกองไฟบนกองดินแล้วนำเหล้ามาพ่นบนไฟเป็นการดับพิษไฟ ผู้คลอดจะนอนบนฟากที่ปูบนขอนไม้ห่างกองไฟประมาณ ๑ เมตร และจะอยู่ไฟประมาณ ๗, ๙, ๑๑, ๑๕ วัน บุตรคนแรกบางคนจะอยู่ไฟ ๑๕ วัน คนที่อยู่ไฟได้นานจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ไม่กลัว
ความเย็น ขณะอยู่ไฟหมอตำแยจะทำลูกประคบ ๓ ลูก โดยใช้ใบแจง ไพล มาตำรวมกันแล้วห่อด้วยผ้าขาว๒ ลูก นำประคบนมด้วยการกดแล้วรีดลงไป เพราะเชื่อว่าจะทำให้มีน้ำนมมากและน้ำนมไหลสะดวก ส่วนอีก ๑ ลูกจะเพิ่มเกลือลงไปนำห่อผ้าขาว แล้วนำไปให้ผู้คลอดนั่งทับเพื่อให้แผลแห้งเร็ว เป็นเวลา ๓ วัน ผู้อยู่ไฟจะอาบน้ำซึ่งต้มด้วยใบมะขามทุกวันขณะอยู่ไฟ นอกจากนั้นยังมีการรักษาดวงตา เพื่อไม่ให้ฝ้าฟางหลังคลอดบุตร โดยการนำก้อนถ่านที่ติดไฟใส่ในตะหลิวตักถ่านนำผงขมิ้นโรยบนก้อนถ่าน เพื่อให้เกิดควันแล้วนำมารมที่ตา
ตลอดการอยู่ไฟ

ในขณะอยู่ไฟห้ามผู้เข้าเยี่ยมพูดคำว่า “ร้อน” เพราะจะทำให้ลูกไฟขึ้นตามตัวผู้อยู่ไฟแล้วจะทำให้มีอาการแสบร้อนตามตัว


สัมภาษณ์นางละออ โพระดก อายุ ๗๐ ปี บ้านเลขที่ ๑๖๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองขาว
อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

http://www.nongkhao.com/nongkhao/nongkhao6.htm


Last edited by Mongwin on 04/10/2008 5:57 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 03/10/2008 1:49 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
หลังคลอดจะให้ผู้คลอดกินน้ำส้มมะขามกับเกลือหรือดินปืน ๑ ชามทันที เป็นการฟอกเลือด และขับเลือดเสียจากร่างกาย

กรณีนี้ คุณแม่เล่าให้ฟังว่า...ทางภาคอีสานจะให้ผู้คลอดกินเกลือกับมะนาวเป็นการฟอกเลือดและขับเลือดเสียออกจากร่างกายค่ะ จะจริงแท้แค่ไหนคงต้องรอผู้รู้ท่านอื่นๆ เข้ามาชี้แจงแถลงไขเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไปนะคะ Shocked
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Patiew
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 02/04/2008
Posts: 1058
Location: กำแพงแสน

PostPosted: 03/10/2008 2:12 pm    Post subject: Reply with quote

มาต่อเรื่องการอยู่ไฟของคนไท-อีสานกันค่ะ

หลังการคลอดที่แสนลำบากในห้วงเวลายาวนานข้ามคืนผ่านพ้นไป คราวนี้ก็เป็นงานหนักของคุณพ่อบ้างแล้วค่ะ สิ่งสำคัญอันดับแรกที่คุณพ่อต้องทำอย่างเร่งด่วนและให้เรียบร้อยปลอดภัยสำหรับแม่และลูก คือ การประกอบกะบะสำหรับใส่ฟืนก่อไฟเพื่อต้มสมุนไพรให้คุณแม่ได้กินและอาบ ซึ่งการประกอบกะบะนี้ต้องทำให้แข็งแรงแน่นหนา ไม่งั้นกะบะอาจแตกออก ฟืนที่ติดไฟอาจกระเด็นมาโดนแม่และเด็กได้ Evil or Very Mad

ขั้นแรกคุณพ่อต้องมองหามุมเหมาะๆ บนบ้านให้ได้ 1 มุมเสียก่อน เมื่อเลือกได้แล้วก็นำไม้เนื้อแข็ง (อาจใช้ต้นกล้วยตัดเป็นท่อนๆ แทนได้) 4 ท่อนหนาพอประมาณ ให้ความยาวพอเหมาะที่จะวางไม้ฟืนชิ้นใหญ่ๆ ได้ เอามาประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นรูปกะบะสี่เหลี่ยมเหมือนในภาพ (ทางอีสานเรียกว่าคีไฟ) เสร็จแล้วนำกาบกล้วยสดๆ มาวางรองภายในกะบะปิดพื้นให้มิด แล้วขนดินทรายเข้ามาเททับลงไปในกะบะ ปริมาณทรายมากเกือบครึ่งกะบะ เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟไหม้พื้นบ้านเวลาก่อไฟ เสร็จแล้วก็จัดเตรียมที่นอนไว้ให้คุณแม่ โดยจัดวางให้ห่างจากคีไฟ 1 เมตร (ที่นอนเป็นไม้กระดานแผ่นใหญ่ๆ 1 แผ่น วางพาดบนต้นกล้วยที่ตัดเป็นท่อนๆ 3 ท่อน วางรองรับไม้กระดานไว้ เป็นระยะๆ ให้พอดี ความสูงของที่นอนนี้ให้สูงจากพื้นอยู่ในระดับเดียวกับความสูงของคีไฟ) เสร็จแล้วจัดวางเปลเด็กไว้ข้างๆ ที่นอนของแม่ เพื่อให้แม่ดูแลและให้นมลูกได้อย่างสะดวก dumbells

จากนั้นก็นำปิ๊บสะอาดๆ ที่มีหูจับมาใบหนึ่ง (ที่เติมน้ำฝนไว้แล้วครึ่งปิ๊บ) มาแขวนไว้กับตะขอเหล็กที่เกี่ยวไว้กับขื่อบ้านบริเวณเหนือกะบะสำหรับก่อไฟ แล้วนำแก่นไม้มะขาว ไม้มะเฟือง ไม้อีก้อม มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้ได้ปริมาณมากพอ (ส่วนใหญ่มักจะใช้แก่นไม้มะขามมากกว่าไม้ชนิดอื่นๆ เนื่องจากหาได้ง่าย) เทใส่ลงไปในปิ๊บ เสร็จแล้วก็นำฟืนมาก่อกองไฟในกะบะที่จัดเตรียมไว้ เมื่อน้ำเริ่มเดือดได้ที่ก็นำใบมะขามสดใส่เพิ่มลงไปอีก เสร็จแล้วก็ไปหาบน้ำมาใส่โอ่งใบเล็กที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ๆ คีไฟให้เต็ม แล้วก็จัดหาผ้าถุงสีดำมาเตรียมไว้ให้คุณแม่สำหรับใช้ผัดเปลี่ยนเวลาอาบน้ำ 1 ผืน จัดเตรียมที่อาบน้ำไว้ให้เรียบร้อย (ให้อยู่ในบริเวณเดียวกันเหมือนในภาพ)

ปัจจัยที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการอยู่ไฟ คือ “ฟืน” เพราะเมื่อเริ่มอยู่ไฟจะปล่อยให้ไฟดับไม่ได้ เนื่องจากมีความเชื่อว่าถ้าไฟดับจะทำให้คนคลอดเกิดอาการหนาวเย็นจนเป็นไข้ไม่สบายเอาได้ง่ายๆ ส่วนคุณแม่จะอยู่ไฟได้มากน้อยกี่วันก็ขึ้นอยู่กับคนหาฟืนหาน้ำให้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่ไฟกัน 7, 9, 13 หรือ 15 วัน กรณีของ Patiew คุณแม่อยู่ไฟได้ 7 วัน (ช่างบังเอิญจริงๆ เมื่อตรงกับวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันที่เกิดพอดี) ส่วนน้องคนสุดท้องคุณแม่เล่าว่าอยู่ไฟถึง 15 วันเลยทีเดียว yikes

**คนโบราณเชื่อกันว่ายิ่งอยู่ไฟได้นานเท่าไร คุณแม่จะแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ไม่กลัวความเย็น และผิวพรรณจะดีมากขึ้นด้วย** คนคลอดจึงชอบอยู่ไฟกันนานๆ แต่ผู้เป็นสามีคงไม่ชอบสักเท่าไร เพราะยิ่งอยู่นานก็เท่ากับว่าต้องลำบากในการหาบน้ำขนฟืนมาให้มากขึ้นไปด้วย Laughing

ระหว่างอยู่ไฟ มีข้อปฏิบัติที่คุณแม่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัด คือ ต้องนอนอยู่ข้างคีไฟตลอดเวลา ห้ามลุกเดินไปที่อื่นโดยเด็ดขาด เว้นแต่เวลาอาบน้ำหรือทำธุระในห้องน้ำเท่านั้น และน้ำที่ใช้อาบและกินก็ต้องตักออกมาจากปิ๊บที่ต้มน้ำสมุนไพรนี้เท่านั้น ส่วนอาหารการกิน ก็ให้กินเฉพาะข้าวเหนียวจิ้มกับเกลือบีบน้ำมะนาวลงไปหน่อย ห้ามกินอาหารอย่างอื่นโดยเด็ดขาด แงๆๆๆ คุณแม่เล่าว่าบางทีรู้สึกเบื่อๆ อยากกินโน่นนี่มากๆ ก็ปั้นข้าวเหนียวเป็นก้อนเล็กๆ นำไปผิงไฟให้ไหม้พอมีกลิ่นหอมๆ กินแก้ขัดไปก่อน ก็อร่อยไปอีกแบบ Laughing

นอกจากนี้คุณพ่อจะต้องคอยเปลี่ยนแก่นไม้ (สมุนไพรในปิ๊บ) ทุกๆ 3 วัน ซึ่งแก่นไม้นี้จะต้องเป็นชนิดเดียวกับที่ใส่เข้าไปตอนแรกทุกประการ (จะเปลี่ยนเป็นชนิดอื่นไม่ได้) และจะต้มนานกว่านั้นไม่ได้ไม่เช่นนั้นน้ำที่คุณแม่กินเข้าไปจะช่วยให้มดลูกเข้าอู่ช้า ต้องอยู่ไฟนานออกไปอีก (งานนี้เลยต้องเลือกเอาว่าจะเปลี่ยนสมุนไพรให้ตรงเวลา หรือจะขนฟืนมากขึ้นกว่าเดิม) Sad

ข้อพึงระวังที่คุณพ่อต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ ต้องสุมไฟให้ติดอยู่ตลอดเวลา (ถ้าไฟดับต้องเริ่มนับวันแรกของการอยู่ไฟใหม่) ต้องตักน้ำใส่ตุ่มใบเล็กให้เต็มอยู่ตลอดเวลา (เอาไว้ให้คนคลอดนำไปผสมกับน้ำร้อนที่ตักออกมาจากปิ๊บเพื่อนำไปอาบ) ต้องเปลี่ยนแก่นไม้ทุกๆ 3 วัน และที่สำคัญ ห้ามบ่นว่า “ร้อน” เมื่อเข้าใกล้คีไฟทุกครั้ง เพราะจะทำให้คุณแม่มีอาการแสบร้อนตามตัวตลอดการอยู่ไฟ Shocked

ทั้งหมดนี้ เป็นคำบอกเล่าจากคุณแม่ของ Patiew เองค่ะ (คุณแม่ประยูร ราชชารี: หญิงชาวบ้านในจังหวัดมหาสารคาม)


เป็นยังไงกันบ้างคะ จากเรื่องราวที่ Patiew นำมาเล่าสู่กันฟัง ผนวกกับเรื่องที่ อ.เอก นำเสนอ Laughing ถึงตอนนี้ ใครคิดถึงคุณแม่บ้างเอ่ย เสาร์-อาทิตย์นี้ ขอให้สุขกายสบายใจกับการดูแลเอาใจใส่คุณแม่กันทุกคนนะคะ wave
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 03/10/2008 11:23 pm    Post subject: Reply with quote

สำหรับผมกับน้องสาว แม่บอกว่าทำคลอดที่บ้าน โดยมีหมอตำแย และยายผมเป็นผู้ช่วยเหมือนกัน

ส่วนการอยู่ไฟนั้น เป็นการรักษาอุณหภูมิของร่างกายผู้เป็นแม่หลังคลอดไม่ให้ลดลงเร็วนัก สภาพร่างกายจะได้คืนสู่ปกติอย่างช้าๆ เป็นธรรมชาติ แต่ได้ยินว่าแม่บางคนอยู่ไฟไม่ได้ ต้องทานยาดองแทน ภายหลังการอยู่ไฟค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปเป็นชุดอยู่ไฟขนาดกระทัดรัด ใช้ผ้าหนาๆ คาดชุดที่มีเชื้อจุดไฟทำนองเดียวกับยากันยุงเป็นแท่งสั้นๆ ผูกติดหน้าท้องแทน แต่ต้องระวังไม่ให้เชื้อชุดติดไฟมากเกินไป อาจไหม้ผ้าที่คาด ทำให้ผิวไหม้ได้

สำหรับน้ำต้มอาบ ใส่ไม้ต่างๆ และใบมะขามลงไปด้วย สร้างกลิ่นหอม และเป็นการล้างเหงื่อไคล สิ่งสกปรกออกจากร่างกายได้ดีกว่าน้ำธรรมดา และรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ด้วย

ได้ยินจากแม่ยาย ซึ่งเป็นผู้หญิงสมัยอยู่ไฟแบบโบราณบอกว่า ถ้าอยู่ไฟครบกำหนด ร่างกายแข็งแรง เดินฝ่าฝนโดยไม่มีอาการสะท้าน ป่วยกระเสาะกระแสะ เหมือนคุณแม่สมัยใหม่ที่ใช้วิธีฉีดยาแทนการอยู่ไฟ ไม่กี่วันลุกขึ้นทำงานแล้ว จริงเท็จแค่ไหน ผมซึ่งเป็นผู้ชายไม่ขอยืนยันนะครับ หากคิดตามหลักธรรมชาติแล้ว คนโบราณเข้าใจสังเกตและประยุกต์มาใช้ได้ผลดีจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2008 6:32 am    Post subject: Reply with quote

อ่านแล้วก็ทำให้คิดต่อได้อีกยาวไกล
คนยุโรป อเมริกา แอฟริกา สมัยโบราณ
มีการอยู่ไฟหรือเปล่านะครับ Question

-------------------

สถานีรถไฟบ้านคูบัว น่าเสียดายที่กำหนดเวลาเดินรถไม่เหมาะกับการท่องเที่ยวเอาเสียเลย
ก็เลยขออนุญาตพี่ตึ๋ง นำภาพสถานีบ้านคูบัวมาลงประกอบ เพื่อความสมบูรณ์นะครับ

black_express wrote:

Click on the image for full size

สถานีบ้านคูบัว อาจไม่สำคัญนะครับ ถ้าหากลืมไปว่า มีโบราณสถานบ้านคูบัว ซึ่งเป็นเมืองเก่าในยุคสมัยทวาราวดี ตั้งอยู่ที่นี่ ซึ่งเป็นบริเวณริมอ่าวไทยในสมัยโบราณด้วยครับ

จากกระทู้ Arrow กับทริปเล็กๆ ที่เพชรบุรี
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=142&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 25, 26, 27  Next
Page 26 of 27

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©