RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179637
ทั้งหมด:13490869
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จากซูเปอร์ชาร์เจอร์ ถึงเทอร์โบชาร์ทเจอร์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จากซูเปอร์ชาร์เจอร์ ถึงเทอร์โบชาร์ทเจอร์
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 24/07/2006 2:16 pm    Post subject: จากซูเปอร์ชาร์เจอร์ ถึงเทอร์โบชาร์ทเจอร์ Reply with quote

ในอดีตนั้น (ย้อนหลังไปสัก 30 ปี) ถ้าได้เห็นเครื่องยนต์สักเครื่องนึงที่มีเทอร์โบชาร์ทเจอร์ หรือมีอุปกรณ์ในการทำซูเปอร์ชาร์ทเจอร์ติดมาด้วย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ออกจะน่าแปลกสักนิด เพราะมันหาดูยาก

ถ้าได้เห็นแล้วคงเป็นอะไรที่จะดูน่าตื่นเต้น เพราะด้วยที่ดูว่า เครื่องยนต์เครื่องนั้นมันคงมีอะไร ๆ ที่ดูจะเหนือกว่าเค้า เพราะด้วยเหตุที่ว่ามันมีใช้อยู่ในเครื่องยนต์ต้นกำลังที่ใช้เฉพาะที่ เฉพาะทาง แต่ในปัจจุบันนี้ เจ้าเทอร์โบชาร์ทเจอร์นี้ เกือบที่จะเรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเครื่องยนต์ในปัจจุบันนี้ไปเสียแล้ว

" แล้วมันมีดีอะไร ? "

ก่อนที่จะพูดถึงรายละเอียดต่อไปนั้น เรามาดูกันก่อนว่ามันมีที่มาที่ไปอย่างไร ก่อนที่จะมาเป็นเทอร์โบชาร์ท

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เริ่มมีการใช้เครื่องบินในการรบ แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วประกอบกับในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น การพัฒนาของเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยมี่ขนาดที่เล็กลง และมีสมรรถนะดีขึ้น

ดังนั้น การพัฒนาเครื่องยนต์ลูกสูบเพื่อใช้เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังในอากาศยาน จึงเน้นไปที่สมรรถนะสูง และน้ำหนักเบา ดังนั้นการทำซูเปอร์ชาร์ท จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับการเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์

แล้วการทำ ซูเปอร์ชาร์ท มันคืออะไร?

การทำซูเปอร์ชาร์ทนั้น ถ้าพูดถึงในส่วนของเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้ลูกสูบ เราต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนนะครับว่า เมื่อเราหมุนเพลาข้อเหวี่ยง จะทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นลงในกระบอกสูบ ผลที่เกิดขึ้นในกระบอกสูบ คือ การเปลี่ยนแปลงปริมาตรครับ

ดังนั้น เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลง จะทำให้ปริมาตรของกระบอกสูบเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ความดันภายในกระบอกสูบจะลดลง และเมื่อลิ้นไอดีเปิด อากาศก็จะไหลเข้าไปในกระบอกสูบครับด้วยความดันของบรรยากาศไม่ใช้เครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าไป ต้องเข้าใจพื้นฐานของหลักการนี้ก่อน

จากความเสียดทานในช่องทางต่าง ๆ ก่อนที่อากาศจะไหลเข้าไปถึงกระบอกสูบ จึงมีผลให้อากาศสามารถไหลเข้าไปบรรจุในกระบอกสูบได้เพียง 85 ถึง 90 เปอร์เซนต์ของความจุของกระบอกสูบเท่านั้น

และเราต้องเข้าใจก่อนครับว่า กำลังงานของเครื่องยนต์นั้น ได้มาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกระบอกสูบซึ่งมีพื้นที่ ๆ จำกัด และถ้าต้องการให้ได้กำลังงานจากการเผาไหม้มาก ๆ ทำอย่างไรก็ได้ให้การเผาไหม้นั้นสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำใด้

วิธีหนึ่งก็คือ การเพิ่มปริมาณอากาศในกระบอกสูบด้วยการซูเปอร์ชาร์ท การซูเปอร์ชาร์ทนั้นคือการบรรจุอากาศให้เข้าไปในกระบอกสูบให้มากกว่าปริมาตรบรรจุของกระบอกสูบเท่าที่จะทำได้ ผลก็คือ ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น และในทำนองเดียวกัน ถ้าอัดอากาศเข้าไปได้มากพอจนสามารถที่จะเพิ่มเชื้อเพลิงที่เข้าไปเผาไหม้ได้ จะเห็นได้ว่ากำลังของเครื่องยนต์มากขึ้นอย่างชัดเจน

ดังนั้น เมื่อวิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ได้โดยที่ทำให้น้ำหนักของเครื่องยนต์ไม่เพิ่มขึ้นมากนัก จึงได้มีการหาวิธีการในการที่จะทำซูเปอร์ชาร์ท ได้มีการคิดค้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอัดอากาศเข้ากระบอกสูบของเครื่องยนต์อย่างมากมาย แต่แล้วก็พบว่า การใช้เครื่องอัดอากาศแบบแรงเหวี่ยง เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำได้

ในยุคแรกนั้นเนื่องจากว่า เครื่องยนต์ของเครื่องบินส่วนใหญ่เป็นเครื่องยนต์ที่วางกระบอกสูบในแนวรัศมี (เครื่องสูบดาว) ดังนั้น จึงมีพื้นที่หน้าเครื่องยนต์มากพอที่จะติดตั้งเครื่องอัดกาศแบบแรงเหวี่ยง โดยอาศัยกำลังขับจากเครื่องยนต์ได้ และถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในอากศยานในยุคนั้น

ต่อมาในระยะเวลาไล่ ๆ กัน เครื่องยนต์ดีเซลก็ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงมาจนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องยนต์ต้นกำลังในหัวรถจักรของรถไฟแทนเครื่องจักรไอน้ำได้สำเร็จ และที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ นอกจากได้กำลังงานที่สูงขึ้นจากเครื่องยนต์ที่มีขนาดความจุเท่าเดิมแล้ว ผลที่ได้คือความสามารถในการประหยัดเชื้อเพลิง

แต่เนื่องจากว่า เครื่องอัดอากาศแบบแรงเหวี่ยงนั้นมีคุณลักษณะเฉพาะตัวตรงที่ว่า มันต้องใช้รอบหมุนที่สูงมากจึงจะสามารถอัดอากาศได้ หรือไม่ถ้าจะไม่เอารอบหมุนสูง ๆ ก็ต้องใช้ขนาดที่ใหญ่มาก ๆ แล้วข้อเสียอีกประการหนึ่งสำหรับการใช้เครื่องยนต์มาขับ ก็คือ เครื่องยนต์จะต้องเสียกำลังไปส่วนหนึ่ง ดังนั้น บรรดาวิศวกรทั้งหลายก็ต้องหาวิธีการกันล่ะครับว่า ถ้าลดขนาดของเครื่องอัดอากาศให้เล็กลงแล้วจะหาต้นกำลังที่ไหนมาขับให้เครื่องอัดอากาศมีรอบหมุนสัก 20,000-30,000 รอบต่อนาทีได้ (สำหรับเครื่องอัดอากาศที่ใช้ในเครื่องยนต์ของรถไฟ) ดังนั้นบรรดาวิศวกรทั้งหลายก็เล็งไปที่ท่อไอเสียแล้วก็พบว่า ก๊าซไอเสียที่กำลังจะปล่อยทิ้งออกไปนั้นมีพลังงานเหลือมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ได้ จึงได้คิดค้นออกแบบชุดกังหันแล้วนำเข้าประกอบร่วมแกนเข้ากับเครื่องอัดอากาศ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีเกิดกว่าที่คาดหมายไว้ ดังนั้นอุปกรณ์ตัวจึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า เทอร์ไบน์-ซูเปอร์ชาร์ท

แต่ต่อมาในภายหลัง ด้วยความหลากหลายในเรื่องของภาษาที่เรียก และเพื่อความสะดวกของการใช้ภาษาในการเรียกอุปกรณ์นี้ ซึ่งจะสื่อถึงอุปกรณ์นี้ให้เข้าใจง่าย ๆ อุปกรณ์ในการทำซูเปอร์ชาร์ทตัวนี้จึงถูกเรียกว่า เทอร์โบชาร์ทเจอร์ครับ ซึ่งเป็นที่เข้าใจทันทีว่า มันเป็นเครื่องอัดอากาศที่ถูกขับด้วยกังหัน
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 27/07/2006 2:32 pm    Post subject: เอ้ามาต่อสักหน่อย (กันลืมน่ะ) Reply with quote

ที่พูดทิ้งค้างไว้ว่า " มันมีดีอย่างไร? "

ข้อดีของมันนั้น ก็เป็นคุณลักษณะเฉพาะตัวของเครื่องอัดแบบแรงเหวี่ยงก็คือ ให้อัตราการไหลสูง แล้วมีขนาดที่ไม่ใหญ่ และน้ำหนักไม่มากนักเมื่อเทียบกับอัตราการไหลที่ได้เมื่อเทียบกับเครื่องอัดแบบอื่น และสามารถออกแบบให้ช่วงอัตราส่วนความดัน (อัตราส่วนการอัด) ให้อยู่ในระดับที่ได้ประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี (ประมาณ 60 - 75 เปอร์เซนต์)

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว อัตราส่วนการอัดที่ใช้ในการประจุอากาศของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะจะอยู่ที่ 1.5 - 2.2 ต่อ 1 ยกเว้นเครื่องยนต์ที่ต้องการให้มีสมรรถณะสูงอาจจะใช้สูงถึง 3 ต่อ 1 ที่ระดับน้ำทะเล แต่ถ้านำไปใช้ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ๆ แล้วต้องการสมรรถณะที่ไกล้เคียงกับระดับน้ำทะเลอาจต้องใช้อัตราส่วนการอัดสูงถึง 4 - 6 ต่อ 1

โดยปกติแล้ว เครื่องอัดอากาศแบบแรงเหวี่ยงชนิดอัดขั้นตอนเดียว สามารถออกแบบให้มีอัตราส่วนการอัดได้สูงถึง 5 ต่อ 1 และความขอบของล้อคอมเพรสเซอร์ได้สูงสุด 450 เมตร/วินาที ถ้าทำด้วยอะลูมินั่มอัลลอย

แต่ถ้าล้อคอมเพรสเซอร์ทำด้วยไททาเนียม ก็จะสามารถออกแบบให้มีอัตราส่วนการอัดได้ถึง 8 ต่อ 1 และทำความเร็วขอบของล้อคอมเพรสเซอร์ได้ถึง 600 เมตร/วินาที

แต่ข้อเสียของมัน ก็คือ ต้องการรอบหมุนที่สูงมาก ดังนั้น มีวิธีเดียวที่เหมาะสม ก็คือ ใช้กังหันมาขับ แล้วเป่าด้วยก๊าซไอเสีย ผลที่ได้รับกลับมาก็คือ ประสิทธิภาพทางความร้อนโดยรวมสูงขึ้น เพราะเป็นการนำเอาพลังงานความร้อนที่กำลังจะทิ้งไปกลับมาใช้ประโยชน์ในการอัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์

โดยเฉลี่ย กำลังงานที่ใช้ในการขับเครื่องอัดอากาศขนาด 0.3 - 0.5 กก./วินาที ที่อัตราส่วนการอัด 2.2 ต่อ 1 ที่ความเร็ว 85,000 - 100,000 รอบ/นาทีนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30 - 45 แรงม้าครับ

กำลังงานส่วนนี้ เราได้มาเปล่า ๆ จากก๊าซไอเสียครับ แล้วถ้าจะถามว่า เราเอากังหันไปขวางทางก๊าซไอเสีย โดยที่ว่าก่อนที่จะปล่อยก๊าซไอเสียทิ้งออกไปต้องไปเป่ากังหันก่อนจะทำให้ไอเสียออกไม่สะดวก แล้วมีผลทำให้เครื่องยนต์สูญเสียกำลังไปมั้ย?

ก็ตอบว่ามีผลอยู่บ้าง แต่สิ่งที่ได้รับกลับมามันมีมากกว่า แล้วจุดบกพร่องตรงนี้เราสามารถออกแบบระบบเพื่อแก้ไขได้ครับ

เอ้า แค่นี้ก่อน เดี๋ยวว่าง ๆ จะมาต่อ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
PaLm
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 18/07/2006
Posts: 143
Location: ทางรถไฟสายเก่า

PostPosted: 01/08/2006 3:18 am    Post subject: Reply with quote

หน้าตามันจะเหมือนกับหอยโข่งรถยนต์ไหมน้อ แล้วถ้าเหมือนกันขนาดคงใหญ่น่าดูชม พอเจอแรงอัดใบพัดก็หมุนติ้วๆ แล้วก็แดงเดือด อิอิ ท่านใดมีรูปหอยโข่งรถไฟมั่งครับของ HID ก็ดี อยากเห็นหอยโข่งที่ทำให้ HID แรง ขอบคุณครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 22/09/2006 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

มีภาพของเครื่องยนต์ Cummins เก็บไว้อยู่บ้างครับ ซึ่งก็จะได้เห็นหน้าค่าตาของเจ้า Turbo Charger นี้ด้วย

ภาพแรก เป็นเครื่องยนต์ Cummins รุ่น KT - 38 แบบ V-12 สูบ เทอร์โบคู่อัดอากาศขั้นตอนเดียว ความจุโดยประมาณ 38 ลิตร ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก = 159 x 159 มม. ครับ....

Click on the image for full size

ภาพที่สอง เป็นภาพตัดบางส่วนของรุ่น KTTA - 50 แบบ V-16 สูบ เทอร์โบคู่อัดอากาศ 2 ขั้นตอน ความจุโดยประมาณ 50 ลิตร ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก = 159 x 159 มม. เครื่องยนต์รุ่นนี้เคยเป็นสเปคเครื่องยนต์ของรถจักร HID ก่อนที่จะถูกทยอยดัดแปลงจนสเปคเครื่องยนต์ปัจจุบันกลายเป็น KTA - 50 (ใช้เทอร์โบแบบอัดอากาศขั้นตอนเดียว)

Click on the image for full size

สุดท้าย เป็นรุ่น VTA-28 แบบ V-12 สูบ เทอร์โบคู่อัดอากาศขั้นตอนเดียว ความจุโดยประมาณ 28 ลิตร ความกว้างกระบอกสูบ x ระยะชัก = 140 x 152 มม. เจ้าตัวนี้ก็เคยประจำการอยู่ในรถจักร GE คุณปู่ของเรานี่เองครับ ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็น KT-38 ในปัจจุบันครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
rimura
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 16/08/2006
Posts: 778
Location: Suan luang Rama IX, Pravet, Bangkok

PostPosted: 23/09/2006 10:21 am    Post subject: Reply with quote

AtomosBao wrote:
แบ่งลูกล่ะ6สูบหรอครับ Question



ครับ, เทอร์โบ 1 ลูกสำหรับ 1 ฝั่งๆละ 6 สูบสำหรับรุ่น V-12 สูบครับ และฝั่งละ 8 สูบ สำหรับรุ่น V-16 สูบ (สำหรับแบบอัดอากาศขั้นตอนเดียว) Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Pom
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 11/07/2006
Posts: 53
Location: ปทุมธานี

PostPosted: 23/09/2006 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

แล้วพวกรถจักรสับเปลี่ยนเขาใช้เครื่องแบบไหนกันอ่ะครับ ใช้แบบคล้ายๆเครื่องรถบรรทุกหรือเปล่า พอดีที่บ้านเป็นอู่ซ่อมรถอ่ะครับ เลยเห็นเครื่องมาหลายแบบ และขอบคุณสำหรับคำตอบนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 23/09/2006 12:57 pm    Post subject: เครื่องรถจักรสับเปลี่ยน Reply with quote

ก็คล้าย ๆ กันนั่นล่ะดีเซลเหมือน ๆ กัน แต่ขนาดจะใหญ่หรือเล็กเท่านั้นเอง อย่างรถสับเปลี่ยนของอิตาเลี่ยน-ไทย ก็ใช้เครื่องเบ็นซ์ 10 สูบมันก็เครื่องหัวลาก หรือเครื่องรถทัวร์เบ็นซ์นั่นเอง หรือรถยนต์รางที่เป็นรถขนของเวลาซ่อมบำรุงทางสมัยผมฝึกงานบางคันก็เครื่องอีซูซุ 6BD1 มันก็เครื่องรถสิบล้อสมัยนั้นน่ะไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไรลอง ๆ คิดเล่น ๆ ดูแล้วกันรถดีเซลรางทั้งหลายแหล่น่ะถ้าไม่ใช้เครื่องคัมมินส์ N-855 หรือ NTA-855 ล่ะจะใช้ อีซูซุ ฮีโน่ หรือนิสสันเครื่องนอนที่เป็เครื่องรถทัวร์ได้หรือเปล่า
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Pom
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 11/07/2006
Posts: 53
Location: ปทุมธานี

PostPosted: 23/09/2006 3:11 pm    Post subject: Reply with quote

วันนั้นไปอ่านข้อมูลรถดีเซลราง สงสัยเลยมาถามว่า กำลังไฟฟ้า 235 แรงม้า มันหมายถึงอะไร รถดีเซลรางใช้เครื่องรถยนต์ แล้วทำไมมีเรื่องกำลังไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวด้วยอ่ะครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบ
_________________
โรงเรียนปากเกร็ด Pakkred Secondary School ปัญญา นราน๋ รตนํ ปัญญาเป็นดั่งแก้วของนรชน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 24/09/2006 8:49 am    Post subject: Reply with quote

Pom wrote:
วันนั้นไปอ่านข้อมูลรถดีเซลราง สงสัยเลยมาถามว่า กำลังไฟฟ้า 235 แรงม้า มันหมายถึงอะไร รถดีเซลรางใช้เครื่องรถยนต์ แล้วทำไมมีเรื่องกำลังไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวด้วยอ่ะครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบ


ข้อมูลจากที่ไหน ครับ
ในหนังสือ ,ที่เวบอื่นๆ หรือในเวบนี้ (ถ้าในเวบจะได้ตรวจทานและแก้ไขความถูกต้องของข้อมูลครับ)
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
PaLm
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 18/07/2006
Posts: 143
Location: ทางรถไฟสายเก่า

PostPosted: 24/09/2006 3:47 pm    Post subject: Reply with quote

จากรูปแล้วขนาดของหอยโข่งคงจะใหญ่เอาการแต่รูปทรงก็เหมือนกับหอยโข่งของเครื่องรถยนต์นี่เอง ถ้ารถยนต์ใส่หอยโข่งตัวเท่านี้อะไรจะเกิดขึ้นนี่ น่าคิดๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
Page 1 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©