RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179902
ทั้งหมด:13491134
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2022 10:07 am    Post subject: สะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน Reply with quote

กรมขนส่งทางรางถกแผนเชื่อมรถไฟไทย - ลาว - จีน ดันหนองคายฮับการขนส่ง
กรุงเทพธุรกิจ 17 ก.ย. 2564 เวลา 9:25 น.

Click on the image for full size

กรมขนส่งทางรางถกเส้นทางเชื่อมรถไฟไทย - ลาว - จีน ดันสถานีหนองคายขึ้นแท่นฮับรองรับการขนส่ง รับเปิดบริการไฮสปีดครบเส้นทาง กรุงเทพฯ - หนองคาย ภายในปี 2571

กรมการขนส่งทางราง จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ครั้งที่ 1/2564 โดยมีนายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธาน พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมหารือ เพื่อจัดทำข้อเสนอในการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ และนำไปสู่การพิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ต่อไป

โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ พร้อมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาจัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่สถานีท่านาแล้งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศต่อไป อีกทั้งได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศไทย ดังนี้

แนวเส้นทาง

- โครงการรถไฟจีน – ลาว เตรียมเปิดดำเนินการในวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยเส้นทางรถไฟลาว-จีน มีระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 31 สถานี เริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป. ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย

- โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียด โดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป

การเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทยในการเชื่อมโยงทางรถไฟไทย ลาว จีน

ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - ลาว ไว้ 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 คือ การพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง

ระยะที่ 2 คือ

- การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร โดยเป็นสะพานรถไฟที่มีทั้งทางขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร โครงสร้างสะพานจะเป็นรูปแบบสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องก่อสร้างโดยวิธีคานยื่นสมดุล

- การจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน โดย ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์เอ๊กซเรย์ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service

ประโยชน์ของเส้นทางรถไฟเชื่อมจีน – ลาวมายังชายแดนหนองคาย

- ด้านการค้าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าไปลาวและจีนได้เพิ่มขึ้น อาทิสินค้าอุปโภค บริโภค และโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปยังประเทศจีนนั้นใช้เวลานาน โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นผลไม้เมืองร้อน มีอายุการเก็บรักษาสั้น การขนส่งที่ใช้เวลานานจะทำให้เกิดการเน่าเสียของสินค้า ดังนั้นการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟลาว - จีน จึงเป็นผลดีต่อสินค้าเกษตร ให้สามารถกระจายไปยังมณฑลต่างๆ ของจีนได้อย่างทั่วถึงในระยะอันสั้น

- ในด้านการบริการและการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวจีนและลาวจะมาเที่ยวไทยได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนธุรกิจบริการ อาทิกลุ่มบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล นวดแผนไทย เนื่องจากความเชื่อมั่นในคุณภาพ และมาตรฐานสาธารณสุขของไทย รวมถึง กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม เนื่องจากราคาสินค้าและบริการถูก รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มของไทยเป็นที่นิยมของทั้งชาวจีนและลาว ที่จะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยในการค้าขายผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2022 10:08 am    Post subject: Reply with quote

เปิดแผนเชื่อมรถไฟ “ไทย-ลาว-จีน” เร่งสร้างสะพานข้ามน้ำโขงแห่งที่2 | TNN ข่าวค่ำ | 14 ม.ค. 65
Jan 14, 2022
TNN Online

ไทยเร่งเดินหน้าแผนเชื่อมการขนส่งทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยของบกลางเพื่อออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ และเร่งดำเนินการก่อสร้าง เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งและพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้านรถไฟขนส่งระหว่าง จีน-ลาว ซึ่ง เปิดให้บริการครบ 1 เดือน สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ราว 670,000 เที่ยว และสินค้าราว 170,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 500 ล้านหยวน (ราว 78.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ )


https://www.youtube.com/watch?v=8hr72Nob77I
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2022 10:08 am    Post subject: Reply with quote

🚉 ไทยเตรียมก่อสร้างสะพานข้ามโขงแห่งใหม่ พัฒนาสถานีหนองคายรองรับรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันท์น
Sep 17, 2021
Pr-Pro MassComm Channel


https://www.youtube.com/watch?v=XFb1PCBx1bg

ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเชื่อมต่อและการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ ครั้งที่ 1/2564 ได้พิจารณาการเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดน ผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย - เวียงจันทน์ พร้อมมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาจัดขบวนรถรองรับการเดินทางช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าทางรางที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นที่สถานีท่านาแล้งของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นำไปสู่การเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศต่อไป อีกทั้งได้มีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศไทย ดังนี้

แนวเส้นทาง

- โครงการรถไฟจีน – ลาว เตรียมเปิดดำเนินการในวันชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยเส้นทางรถไฟลาว-จีน มีระยะทางประมาณ 420 กิโลเมตร มีสถานีทั้งหมด 31 สถานี เริ่มต้นที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน เชื่อมต่อที่เมืองบ่อเต็น สปป. ลาว และมีปลายทางที่นครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย
- โดยประเทศไทยอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. กำหนดเปิดให้บริการ ปี 2569 สำหรับระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ปัจจุบันได้ออกแบบรายละเอียด โดยมีกำหนดเปิดให้บริการ ปี 2571 โดยเตรียมหารือร่วมกันสามฝ่ายเพื่อเตรียมการเดินรถเชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน ต่อไป

การเตรียมความพร้อมของฝ่ายไทยในการเชื่อมโยงทางรถไฟไทย ลาว จีน

ประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน - ลาว ไว้ 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 คือการพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดยให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ระยะที่ 2 คือ
- การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ซึ่งอยู่ห่างจากสะพานเดิมประมาณ 30 เมตร โดยเป็นสะพานรถไฟที่มีทั้งทางขนาด 1 เมตร และ 1.435 เมตร โครงสร้างสะพานจะเป็นรูปแบบสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่องก่อสร้างโดยวิธีคานยื่นสมดุล
- การจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับศูนย์ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน โดย ตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์เอ๊กซเรย์ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service

ประโยชน์ของเส้นทางรถไฟเชื่อมจีน – ลาวมายังชายแดนหนองคาย

- ด้านการค้าไทยจะสามารถส่งออกสินค้าไปลาวและจีนได้เพิ่มขึ้น อาทิสินค้าอุปโภค บริโภค และโดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร เนื่องจากการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไปยังประเทศจีนนั้นใช้เวลานาน โดยเฉพาะผลไม้ไทยเป็นผลไม้เมืองร้อน มีอายุการเก็บรักษาสั้น การขนส่งที่ใช้เวลานานจะทำให้เกิดการเน่าเสียของสินค้า ดังนั้นการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟลาว - จีน จึงเป็นผลดีต่อสินค้าเกษตร ให้สามารถกระจายไปยังมณฑลต่างๆ ของจีนได้อย่างทั่วถึงในระยะอันสั้น
- ในด้านการบริการและการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวจีนและลาวจะมาเที่ยวไทยได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนธุรกิจบริการ อาทิกลุ่มบริการสุขภาพ เช่น โรงพยาบาล นวดแผนไทย เนื่องจากความเชื่อมั่นในคุณภาพ และมาตรฐานสาธารณสุขของไทย รวมถึง กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม เนื่องจากราคาสินค้าและบริการถูก รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มของไทยเป็นที่นิยมของทั้งชาวจีนและลาว ที่จะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยในการค้าขายผ่านแนวเส้นทางดังกล่าว

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากกรมการขนส่งทางราง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/09/2022 10:13 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมสร้างสะพานรถไฟแห่งใหม่ ไทย-ลาว-จีน
Sep 17, 2022
Thai PBS News

สถานีรถไฟหนองคาย เป็นสถานีสุดท้ายของรถไฟไทย ก่อนจะเดินรถไปสิ้นสุดที่สถานีท่านาแล้งในลาว แม้ลาว-จีนจะสร้างระบบมาเชื่อมที่สถานีท่านาแล้งแล้ว แต่ขนาดรางของไทยและของประเทศเพื่อนบ้านไม่สอดคล้องกัน จึงต้องวางแนวทางจัดการทั้งระยะสั้นและระยะยาว


https://www.youtube.com/watch?v=1vpqq-Zjuj4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2022 10:50 am    Post subject: Reply with quote

เตรียมเยือนเวียงจันทน์หารือวางแนวเชื่อมทางรถไฟ
สำนักข่าวไทย 05/10/2565 09:22

ทำเนียบรัฐบาล 5 ต.ค.-รองโฆษกรัฐบาล เผย “อนุทิน” เตรียมนำทีมไทยแลนด์เยือนเวียงจันทน์ 6-7 ต.ค.นี้ หารือผู้แทน สปป ลาว วางแนวเชื่อมต่อทางรถไฟระหว่าง 2 ประเทศ

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 6-7 ต.ค. 65 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาวและจีน จะนำคณะทีมไทยแลนด์ ประกอบด้วยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง กรมทางหลวง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนหน่วยงานจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน เดินทางไปร่วมประชุมกับผู้แทนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ระหว่างไทยกับสปป.ลาว ช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์
    “ทั้ง 2 ฝ่ายจะหารือกันทั้งในส่วนของการเชื่อมโยงผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า แนวทางการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ตลอดจนการร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านคมนาคมทางถนน ทางรถไฟ โลจิสติกส์ และการบินพลเรือน นอกจากนี้จะเดินทางไปศึกษาดูการดำเนินงานและรับฟังข้อมูลการดำเนินงานของโครงการเวียงจันทน์โลจิสติกส์ปาร์ค (Vientiane Logistics Park : VLP) ซึ่งเป็นพื้นที่การบริหารจัดการการสินค้าที่ขนส่งระหว่างสปป.ลาวและจีนโดยเส้นทางรถไฟ เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผนงานการเชื่อมต่อขนส่งสินค้าที่จะมายังประเทศไทยในอนาคต” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้เตรียมพื้นที่สำหรับการพัฒนาศูนย์ขนส่งและกระจายสินค้าในพื้นที่จังหวัดหนองคายแล้ว ได้แก่ย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่สถานีนาทา โดยอยู่ภายใต้การพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่2 (นครราชสีมา-หนองคาย) นอกจากนี้ คณะฯ ยังมีกำหนดการรับฟังข้อมูลการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว พร้อมเยี่ยมชม Control Room และทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงจากสถานีนครหลวงเวียงจันทน์ ไปยังสถานีหลวงพระบาง

“สำหรับโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย เป็นแผนงานของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เพื่อสนับสนุนเส้นทางการขนส่งสินค้า ยกระดับการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยวจากกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคและเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในระยะต่อไปจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อรองรับทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การขนส่งต่าง ๆ ตามแนวเส้นทาง เกิดงานและอาชีพอีกจำนวนมากตามมา โดยปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน อยู่ระหว่างการพัฒนา ระยะที่1 (กรุงเทพฯ -นครราชสีมา) ระยะทาง 250.77 กม. มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2569 มีคณะกรรมการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย-ลาว และจีน รวมถึงคณะของกระทรวงคมนาคมติดตามความคืบหน้าโครงการและรายงานให้รัฐบาลรับทราบอย่างต่อเนื่อง” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2022 7:50 am    Post subject: Reply with quote

ส่องแผนเปิดเส้นทาง “รถไฟไทย-ลาว” คืบหน้าถึงไหน-เปิดให้บริการเมื่อไร
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 06 ต.ค. 2565 เวลา 7:00 น.

“รฟท.” เปิดแผนคืบหน้าสร้าง “รถไฟไทย-ลาว” เชื่อมระบบขนส่งทางราง 3 ประเทศ เผยเปิดให้บริการได้เมื่อไร มีแนวเส้นทางไหนบ้าง

สำหรับโครงการรถไฟจีน-ลาว ที่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา เป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างนครคุนหมิงกับนครหลวงเวียงจันทน์ ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างลาวกับจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งอยู่ใกล้กับจังหวัดหนองคาย โดยเส้นทางรถไฟดังกล่าวมีความสำคัญในการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เมื่อมีการเชื่อมต่อโครงข่ายโดยสมบูรณ์จากจีน ลาว มายังไทย ซึ่งขณะนี้ไทยได้มีแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการดำเนินงานรถไฟไทย-ลาว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเตรียมการประชุมกลุ่มย่อยในรายละเอียดสำหรับการเดินรถดังกล่าว ได้แก่ ด้านค่าโดยสารหรือประเด็นอื่นๆที่อาจเกี่ยวข้อง ล่าสุดรฟท.และการรถไฟลาว ได้หารือร่วมกันเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 และ 9 สิงหาคม 2565 และมีมติเห็นชอบให้สถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีระหว่างประเทศเช่นเดิม โดยการรถไฟลาวจะจัดส่งเจ้าหน้าที่ มาอบรม พนักงานขับรถและพนักงานรักษารถ คาดอบรมเสร็จเรียบร้อยแล้วภายในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 พร้อมการยืนยันการใช้ทางก็จะดำเนินการเปิดเดินรถต่อไป

ทั้งนี้แผนเปิดขบวนรถโดยสารของรถไฟไทย-ลาวระยะเร่งด่วน (ปี 2566) จะขยายต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถที่ให้บริการในปัจจุบัน ในฝั่งลาว จากสถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีบ้านคำสะหวาด จำนวน 4 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ) เริ่มให้บริการกลางปี2566 ส่วนแผนระยะกลาง (ปี 2567) จะขยายสถานีต้นทางและสถานีปลายของขบวน ในฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี จำนวน 4 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ) และเปิดเดินขบวนรถระหว่าง สถานีนครราชสีมา – บ้านคำสะหวาด จำนวน 2 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ) ขณะที่แผนระยะยาว (ปี 2568 เป็นต้นไป) จะจัดขบวนรถโดยสารทางไกล ระหว่างสถานีบางซื่อพัทยา – สถานีบ้านคำสะหวาด จำนวน 2 ขบวนต่อวัน (ไป-กลับ)

สำหรับแนวเส้นทางรถไฟไทย-ลาว ดังนี้
1.สถานีนาทา
2.สถานีหนองคาย
3.สถานีท่านาแล้ง
4.สถานีเวียงจันทร์บ้านคำสะหวาด

โดยแนวเส้นทางจะผ่านท่าเรือบก ท่านาแล้ง ,ย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) ที่ท่านาแล้ง และจุดเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้า ท่านาแล้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/10/2022 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

‘อนุทิน–ศักดิ์สยาม’ นำทีมลงพื้นที่ สปป.ลาว ถกรถไฟเชื่อมขนส่ง 2 ประเทศ
ไทยโพสต์ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 12:48 น.

‘อนุทิน–ศักดิ์สยาม’ขนทัพผู้แทนรัฐบาลไทย ลงพื้นที่ สปป.ลาว หารือโครงการเชื่อมต่อรถไฟ ช่วงหนองคาย–เวียงจันทน์ เชื่อมโยงด้านการขนส่งระหว่าง 2 ประเทศพร้อมกางแผนเชื่อมโยงทางรถไฟไทย–ลาว–จีน ยันไฮสปีดกรุงเทพฯ-โคราช เปิดใช้ปี 69 ส่วนเฟส 2 ถึงหนองคาย เตรียมให้บริการปี 71

6 ต.ค.2565-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 6 ต.ค. 2565นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับ นายเวียงสะหวัด สีพันดอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้าการลงทุนของ สปป.ลาว เกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย–เวียงจันทน์ โดยมีนางสาวจิรัสยา พีรานนท์ อุปทูตประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียงจันทน์ เข้าร่วมประชุมด้วย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ในครั้งนี้ เป็นการประชุมสำคัญที่ทั้งประเทศไทย และสปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ทั้งนี้ ประเทศไทยยืนยันว่า ต้องการจะส่งเสริมและสานต่อมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกัน โดยทั้ง 2 ประเทศต่างเป็น “บ้านใกล้เรือนเคียง” ที่ดี พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและมีความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงและคล้ายคลึงกัน ทั้งด้านภาษาวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่มีมาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกัน การเปิดให้บริการโครงการรถไฟลาว–จีน ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมนครหลวงเวียงจันทน์กับคุนหมิงนั้น จะส่งเสริมการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างลาวและจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

นายอนุทิน กล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้ง 2 ประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ อีกทั้งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายได้ร่วมกันหารืออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับทั้ง 2 ประเทศ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้ง 2 ฝ่าย นำผลการหารือไปปฏิบัติเพื่อให้การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมมีความคืบหน้าและเกิดผลประโยชน์สูงสุดสุดร่วมกัน โดยเฉพาะการพัฒนาการประสานงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้อาเซียนเป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน และเชื่อว่าอาเซียนที่มีความเป็นปึกแผ่นจะเป็นอาเซียน ที่มีพลังและสามารถมีบทบาทสำคัญในประเด็นระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคนี้ต่อไป

ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมตระหนักถึงความสำคัญของโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟ ไทย–ลาว–จีน เพื่อรองรับการเดินทางและขนส่งระหว่างประเทศ และถือเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาในระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาคที่ยั่งยืน ที่จะสร้างโอกาสให้ทั้งสองประเทศในการส่งเสริมการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การค้า การลงทุนและบริการ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
โดยในขณะนี้ฝ่ายไทยได้มีแผนเตรียมความพร้อม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย–ลาว แห่งที่ 1 ได้ ซึ่งการหารือร่วมกันในวันนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีที่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือด้านการคมนาคมทั้ง 4 มิติ เพื่อที่การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ จะมีความคืบหน้าและบรรลุเป้าหมาย ตามที่ผู้นำของทั้ง 2 ฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกัน

นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน มีแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน มีรายละเอียด ดังนี้
1.แผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี2569,โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA คาดว่าเปิดให้บริการปี 2571,โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น–หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร (กม.) สถานีทั้งหมด 15 สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปี 2565

2.การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน
ได้แก่ การบริหารจัดการสะพานเดิมระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ โดยเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน รองรับขบวนละ 25 แคร่ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ทำการทดสอบการรับน้ำหนักรถไฟ ในระดับU–20 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพาน

และการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ใกล้กับสะพานเดิมที่มีอยู่ ห่างประมาณ 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและฝ่ายลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้กรมทางหลวงดำเนินการออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้สามารถรองรับรถยนต์ด้วย

ทั้งนี้ ทล. ได้ปรับการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study : FS Study) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) และระยะที่ 2 งานออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) และงานศึกษาทบทวนผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งขณะนี้ ทล. ได้ประกาศร่างขอบเขตของงาน (Terms of Reference : TOR ) สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ

3.การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้า โดยแนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทย–ลาว เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย–เวียงจันทน์ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
ระยะเร่งด่วน การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า การเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน–ลาว โดยมีการพัฒนาสถานีหนองคายให้รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม โดยเพิ่มรถไฟ จาก 4 ขบวนต่อวันเป็น 14 ขบวนต่อวัน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง

ทั้งนี้ รฟท. ได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร โดย รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่คงเหลือ จากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยออกเป็น 5 แปลง พื้นที่แปลงละ 11,200 ตารางเมตร เพื่อออกประกาศเชิญชวนจำนวน 4 แปลง และกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง 1 แปลง โดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบต่อไป

ระยะยาว การพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า (เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต) พัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทา จังหวัดหนองคาย ให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีน–ลาว และส่งออกไปยัง สปป.ลาว
ปัจจุบัน รฟท. อนุมัติให้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจังหวัดหนองคาย โดยคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2022 1:48 pm    Post subject: Reply with quote

ส่อง 3 เมกะโปรเจ็กต์ รุกเส้นทางขนส่งสินค้าไทย-ลาว-จีน
หน้าเศรษฐกิจ-ธุรกิจ
เศรษฐกิจ
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
05 ตุลาคม 2565 เวลา 13:07 น.

“รฟท.” เผยคืบหน้าไฮสปีดไทย-จีน เร่งสร้าง 10 สัญญา ลุ้นลงนามต่ออีก 3 สัญญา เล็งเปิดประมูลเฟส2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ภายในปี 66 เตรียมพัฒนาสถานีหนองคาย 80ไร่ เชื่อมขนส่งสินค้าทางรถไฟไทย-ลาว-จีน

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ไฮสปีดไทย – จีน) ทั้ง 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา และรอลงนาม 3 สัญญาทั้งนี้ตามแผนจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ รวมทั้งทดสอบเดินรถเสมือนจริงได้ในปี 2569 เป็นเวลา 6 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการประชาชนต้นปี 2570

สำหรับ 3 สัญญาที่อยู่ระหว่างรอลงนามสัญญานั้น อยู่ในขั้นตอนของการดำเนินงาน ประกอบด้วย สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากศาลปกครองสูงสุด ในกรณีที่เอกชนยื่นฟ้องผลการพิจารณาคุณสมบัติการประมูล

ส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.2 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนการเจรจาแก้ไขร่างสัญญาระหว่างทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และกลุ่มซีพี เพื่อดำเนินการลงทุนพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนในโครงการไฮสปีดไทย - จีน และไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน





ขณะที่สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร ขณะนี้ รฟท.ได้ประสานไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อให้ความเห็นของเจรจาข้อเสนอจากเอกชนที่ประมูลและยื่นข้อเสนอเป็นรายที่ 2 เนื่องจากเอกชนรายที่ 1 ไม่ยืนราคาตามที่เสนอไว้



รายงานข่าวจากรฟท.กล่าวต่อว่า รฟท.มีแผนที่จะพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ปัจจุบันรฟท.ได้ดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จ ซึ่งอยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะดำเนินการประกวดราคาและก่อสร้างภายในปี 2566 เปิดให้บริการปี 2571






สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย วงเงินลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท มีระยะทาง 356 กิโลเมตร ซึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ หลังสถานีนครราชสีมจุดสิ้นสุดที่ ริมแม่น้ำโขง ฝั่งไทย ระยะทางทั้งสิ้น 356 กิโลเมตร สถานีทั้งหมด 5 สถานี ประกอบด้วย 1. สถานีบัวใหญ่ 2. สถานีบ้านไผ่ 3. สถานีขอนแก่น 4. สถานีอุดรธานี 5. สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย,ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา,ย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา





นอกจากนี้รฟท.ได้เตรียมความพร้อมในการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ระหว่างไทย-ลาว-จีน โดยเป็นการเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าทางรถไฟข้ามแดนช่วงหนองคาย – เวียงจันทน์ ในระยะเร่งด่วน ซึ่งเป็นการพัฒนาสถานีหนองคาย พื้นที่ 80ไร่รูปแบบการดำเนินการ (พื้นที่ส่วนกลาง) เบื้องต้นรฟท. จะสร้างถนนหินคลุกในพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทย – ลาว – จีน ปัจจุบัน รฟท. ได้ปรับปรุงพื้นที่ย่านยกขนสินค้าเสร็จเรียบร้อยแล้วและดำเนินการตรวจวัดพื้นที่ร่วมกันระหว่าง รฟท.และกรมศุลกากร ขณะนี้รฟท.อยู่ระหว่างจัดหางบประมาณในการก่อสร้างรั้วเพื่อจัดทำพื้นที่อารักขาตามระเบียบของกรมศุลกากร และ รฟท. จะจัดสรรพื้นที่ส่วนที่เหลือใหม่เพื่อออกประกาศให้เช่าต่อไป



ทั้งนี้รูปแบบการเดินรถไฟจะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้า จำนวน 14 เที่ยว (ไป-กลับ) และขนส่งสินค้าขบวนละ 25แคร่ สามารถรองรับในการขนส่งสินค้าเพิ่มขี้นจากแบบเดิมถึง 8เท่า ส่วนการแบ่งพื้นที่บริเวณสถานีหนองคายให้เอกชนเช่าเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าและติดตั้งเครื่อง X-ray โดยกรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร ซึ่งรฟท.อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่คงเหลือจากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย เป็น 5 แปลง แบ่งเป็น พื้นที่แปลงละ 11,200 ตารางเมตร เพื่อออกประกาศเชิญชวน จำนวน 4 แปลง และกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง 42,016 ตารางเมตร จำนวน 1 แปลง โดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบการรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/10/2022 6:30 am    Post subject: Reply with quote

ขยับใกล้รถไฟไทย-ลาว-จีน
Source - เดลินิวส์
Friday, October 07, 2022 04:32
อนุทิน-ศักดิ์สยามชื่นมื่น

เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับนายเวียงสะหวัด สีพันดอน รมว.โยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้า การลงทุนของ สปป.ลาว เกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์

นายอนุทิน กล่าวว่า เป็นการประชุมสำคัญที่ทั้งประเทศ ไทย และ สปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ให้เป็น "หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ถือเป็นการยืนยันคำหมายมั่นของประเทศไทยที่ต้องการส่งเสริมและสานต่อมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกันทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ เชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ด้านนายศักดิ์สยาม กล่าวว่า แผนเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทย ลาว และจีน อาทิ 1.แผนก่อสร้างของการรถไฟ แห่งประเทศไทย (รฟท.) โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดบริการปี 69, โครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าเปิดบริการปี 71, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย 167 กม. 15 สถานี จะเสนอ ครม. ในปี 65

2.การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟ และการใช้สะพาน ระหว่างรอก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ เพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่เป็น 25 แคร่ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ทดสอบการรับ น้ำหนักรถไฟเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพาน สะพานแห่งใหม่ห่างสะพานเดิม 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร และรองรับรถยนต์ด้วย ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทยและฝ่ายลาวจะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย

3.การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าแนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทย-ลาว เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยระยะเร่งด่วนจะพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้าพื้นที่ 80 ไร่ ระยะยาว พัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทา รองรับการขนส่งจากจีน-ลาว และส่งออกไป สปป.ลาว

สำหรับแผนเปิดขบวนรถโดยสารแบ่งเป็น 3 ระยะ แผนเร่งด่วน (ปี 66) ขยายต้นทาง/ปลายทางฝั่งลาวจากสถานีท่านาแล้งเป็นสถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 4 ขบวน) เริ่มให้บริการกลางปี 66 ระยะกลาง (67) ขยายต้นทาง/ปลายของฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี (วันละ 4 ขบวน ) เปิดขบวนรถสถานีนครราชสีมา-บ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน) แผนระยะยาว (68 ) จัดขบวนรถโดยสารทางไกลระหว่างสถานีบางซื่อ/พัทยา-สถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน).

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 7 ต.ค. 2565

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/10/2022 6:36 am    Post subject: Reply with quote

"อนุทิน-ศักดิ์สยาม"เยือนลาว ถกแก้คอขวดเชื่อมรถไฟ
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Friday, October 07, 2022 04:51

'อนุทิน-ศักดิ์สยาม'เยือนลาวถกแก้คอขวดเชื่อมรถไฟ

วานนี้ ( 6 ต.ค.) ณ โรงแรม Muong Thanh Luxury Vientiane Hotel สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และคณะ ผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับ นายเวียงสะหวัด สีพันดอน รมว.กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้าการลงทุน และโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ และได้เข้าเยี่ยมชมการบริหารจัดการเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์ด้วย

นายอนุทิน กล่าวว่า ประเทศไทยและ สปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายเวียงจันทน์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศ ตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายนำผลการหารือไปปฏิบัติเพื่อให้การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมมีความคืบหน้าและเกิดผลประโยชน์สูงสุดสุดร่วมกัน

นายอนุทิน กล่าวต่อว่า โครงการเวียง จันทน์โลจิสติกส์ปาร์ก (Vientiane Logistics Park : VLP) มีความสำคัญในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน และระบบโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้าข้ามแดน รวมถึงเป็นการใช้ประโยชน์จากการเปิดใช้รถไฟลาว-จีน ที่จะช่วยขยายการค้าการลงทุนระหว่างไทย-ลาว ซึ่งวันนี้ เอกชนไทยได้เข้าร่วมหารือซึ่งทำให้รับทราบถึงแนวทางและวิสัยทัศน์ของ สปป.ลาว ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระบบโลจิสติกส์ ของไทย รวมไปถึงการพัฒนาการเชื่อมโยงกับโครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) ชุมพร-ระนองให้เป็นรูปธรรมอีกด้วย

นายศักดิ์สยาม กล่าวเสริมว่า โครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ณ สปป.ลาว เพื่อพัฒนาโครงการเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟไทย-ลาว-จีน ขณะนี้ฝ่ายไทยมีแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ได้ โดยการขนส่งผ่านสะพานเดิม เพิ่ม จาก 4 ขบวนต่อวัน เป็น 14 ขบวนต่อวัน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ สำหรับการบูรณาการการเชื่อมโยงทางรถไฟ ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กทม.-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี 2569, โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงาน EIA คาดว่าเปิดให้บริการปี 2571 และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กม. สถานีทั้งหมด 15 สถานี คาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในปี 2565

นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงรายละเอียดด้านการคมนาคมเพื่อรองรับการบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างไทย-ลาว-จีน ว่า ฝ่ายลาวมีความยินดีที่ให้ฝ่ายไทยดำเนินการศึกษาแนวทางการก่อสร้างสะพานแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ทั้งในรูปแบบสะพานรถไฟและรถยนต์ โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณาผลการศึกษาร่วมกันต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นฝ่ายลาวเสนอว่าสะพานรถไฟ และรถยนต์ควรแยกออกจากกัน ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และการรถไฟลาว ได้มีมติเห็นชอบให้สถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีระหว่างประเทศเช่นเดิม โดยการรถไฟลาวจะจัดส่งเจ้าหน้าที่มาอบรม พนักงานขับรถ/พนักงานรักษารถ เมื่ออบรมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมการยืนยันการใช้ทางก็จะดำเนินการเปิดเดินรถต่อไป

รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับแผนการเปิดเดินขบวนรถโดยสาร แบ่งเป็น 3 ระยะ รายละเอียดดังนี้ แผนระยะเร่งด่วน (ปี 2566) ขยายต้นทาง/ปลายทางของขบวนรถที่ให้บริการในปัจจุบัน ในฝั่งลาว จากสถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีบ้านคำสะหวาด (วันละ 4 ขบวน ไป - กลับ) เริ่มให้บริการกลางปี 2566, แผนระยะกลาง (ปี 2567) ขยายต้นทาง/ปลายของขบวน ในฝั่งไทย จากสถานีหนองคาย เป็น สถานีอุดรธานี (วันละ 4 ขบวน ไป - กลับ) เปิดเดินขบวนรถระหว่าง สถานีนครราชสีมา - บ้านคำสะหวาด (วันละ 2 ขบวน ไป - กลับ) และแผนระยะยาว (ปี 2568 เป็นต้นไป) จัดเดินขบวนรถโดยสารทางไกล ระหว่างสถานีบางซื่อ/พัทยา - สถานีบ้านคำ สะหวาด (วันละ 2 ขบวน ไป-กลับ)

"จะมีการพัฒนาบริเวณสถานีหนองคายที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง โดย รฟท.ได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ กรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่ตรวจปล่อย จำนวน 46,800 ตารางเมตร ซึ่ง รฟท. อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่" นายศักดิ์สยาม ระบุ.

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 7 ต.ค. 2565

https://mgronline.com/business/detail/9650000095928

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3, 4  Next
Page 1 of 4

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©