RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264893
ทั้งหมด:13576176
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างอุโมงค์ขุนตาน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างอุโมงค์ขุนตาน
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/09/2010 2:03 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อช่องบนและช่องล่างของอุโมงค์ทะลุบรรจบกันแล้ว ก็ดำเนินการขั้นต่อไป คือ เทคอนกรีตเสริมเพดานของอุโมงค์ และเริ่มทำการเจาะขยายผนังช่องบน คือเจาะผนังเสมอระดับพื้นส่วนกลางให้ลึกเข้าไปอีกประมาณข้างละ ๑.๕๐ เมตร โดยทำให้เป็นวงโค้งขึ้นไปหาเพดาน

Click on the image for full size

เมื่อการขยายผนังได้ขนาดที่เหมาะสมแล้ว ก็เริ่มวางโครงแบบและเทคอนกรีตโค้งบนเป็นตอนๆ ตามเข้าไปทีละ ๘ เมตร ส่วนพื้นอุโมงค์ตามยาวตอนใต้รางตอนใดเป็นพื้นที่อ่อน ก็ทำกงยันเชิงกำแพงไว้ภายใต้ เพื่อให้มีความมั่นคงต่อการทานน้ำหนักที่อาจเกิดจากการบีบคั้นทั้ง ๒ ด้าน

เพดานตอนใดคอนกรีตแข็งดีแล้ว ก็เจาะหินส่วนกลางของอุโมงค์ที่เว้นไว้ออก แล้วเริ่มเสริมผนังอุโมงค์ด้วยคอนกรีตให้เป็นกำแพงรับโค้งเพดานตามเข้าไปในทำนองเดียวกัน แต่เว้นสลับฟันปลากัน ๔ เมตร

ตามผนังภายในอุโมงค์นี้ได้จัดทำช่องเล็กๆ สำหรับระบายน้ำที่ซึมอยู่ในหินรอบๆ ออก แล้วทำคูหาคอนกรีตโดยใช้ไม้ทำเป็นแบบก่อน แล้วจึงเทคอนกรีตซึ่งมีความหนาอย่างน้อยถึง ๑๕ ซ.ม. สำหรับคนงานหลบหลีกขบวนรถที่แล่นผ่านไว้ทุกๆ ระยะ ๑๐๐ เมตร

เมื่อทำคูหาเสร็จและคอนกรีตแข็งดีแล้ว จึงวางรางนำรถเข้าไปบรรทุกหินที่ทะลายอยู่ข้างๆ อุโมงค์ภายในออกมาถมทางภายนอก


Last edited by black_express on 23/12/2011 9:15 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/09/2010 2:04 pm    Post subject: Reply with quote

แต่ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ ช่องล่างใช้รถเล็กลำเลียงวัสดุก่อสร้างจากปากอุโมงค์ด้านใต้ไปยังปากอุโมงค์ด้านเหนือไม่ได้ เพราะบางตอนเตี้ยและแคบ เสาไม้ค้ำยันและแผ่นกระดานที่กรุผุพัง ซ้ำพื้นที่อ่อนเต็มไปด้วยน้ำและโคลน ทั้งหินแกรนิตเมื่อถูกน้ำเซาะก็กลายเป็นของเหลวเละได้ พนักงานและกรรมกรต้องก้มและคลานเข้าไป

การลำเลียงสิ่งของต่างๆ ส่งจากปากอุโมงค์ด้านใต้ อาทิ เช่น ปูนซิเมนต์ ต้องแบ่งใส่กระสอบเล็กๆ บรรทุกม้าฬ่อข้ามตามทางเดินบนไหล่เขา ผ่านที่พักวิศวกรไปลงทางปากอุโมงค์ไปลงทางปากอุโมงค์ด้านเหนือ

ส่วนทางปากอุโมงค์ด้านเหนือมีห้วย น้ำเซาะร่องทะลุลงมาในอุโมงค์อยู่ก่อน แม้จัดการอุดแล้วก็ไม่หายรั่วซึม น้ำนี้หยดจากเพดานและข้างอุโมงค์ เป็นเหตุให้ไม้ค้ำยันและกระดานที่กรุไว้ผุ ทั้งสายไฟฟ้าก็ชำรุด จึงต้องเลิกใช้ไฟฟ้าในอุโมงค์ วิศวกรและนายงานผู้เข้าไปปฏิบัติงานต้องใช้ตะเกียงกาซอาเซติลินแทน

บางคราวไฟหรี่เพราะอากาศไม่ดี หรือกาซออกไม่สะดวก ประกอบกับหยดน้ำตกลงถูกดวงไฟ ไฟก็เลยดับ ต้องคลำทางออกมาภายนอกโดยอาศัยไม้เท้านำทางและป้องกันตัว

ในระหว่างการก่อสร้างยังคงดำเนินอยู่นี้ มีกรรมกรเสียชีวิตเนื่องจากความเจ็บไข้ อุบัติเหตุหินทะลายทับ รถทับ และความสับเพร่าฝ่าฝืนข้อบังคับในการใช้วัตถุระเบิดปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนหลายคน

นอกจากนี้มีนายงานชาวพะม่าคนหนึ่งชื่อหม่องสุริยะ ถูกทำร้ายด้วยขวานถูกก้านคอด้านหลังอาการสาหัส เมื่อได้รับการปฐมพยาบาลแล้ว ต้องใส่เปลบรรทุกรถไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนครลำปาง

ฉะเพาะคนงานที่ประสพอุบัติเหตุเพราะความสับเพร่าฝ่าฝืนข้อบังคับในการใช้วัตถุระเบิดนั้น ตามทางสอบสวนได้ความว่า ตามระเบียบการฝังแก๊ป (ปะทุ) ที่รูหินเพื่อป้องกันมิให้หลุดออกง่าย ต้องใช้คีมเหล็กบีบปะทุให้ยึดแน่นกับสายชนวน

แต่คนงานส่วนมากมีความมักง่ายไม่ใช้คีมบีบ ได้ใช้ฟันขบย้ำแทน จึงเป็นเหตุให้ประสพอุบัติเหตุได้ง่าย บางคนไม่ถึงเสียชีวิต เป็นเพียงฟันร่วงหมดปากเพราะความแรงของปะทุที่แตกออก


Last edited by black_express on 23/12/2011 9:18 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/09/2010 2:11 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

เมื่อภายในอุโมงค์เสร็จการก่อสร้างแล้ว ก็วางรางได้ตลอดโดยทำทางไว้ให้โค้ง มีระดับเทลงทั้ง ๒ ด้าน เพื่อให้น้ำที่ตกในบริเวณอุโมงค์ไหลออกมาทางปากอุโมงค์ได้ทั้งด้านเหนือและด้านใต้ ส่วนซุ้มปากอุโมงค์ทั้งสองด้านยังไม่ได้จัดทำ เพราะเป็นหน้าที่ของสถาปนิก ( มิสเตอร์ รีกาซ์ซี่ )

แต่เดิม อุโมงค์ขุนตาลนี้ได้ทำการก่อสร้างไว้สำหรับใช้กับทางรถไฟขนาด ๑.๔๓๕ เมตร แต่ในปัจจุบัน ทางรถไฟได้เปลี่ยนเป็นขนาด ๑.๐๐๐ เมตร แล้ว จึงแลดูประหนึ่งว่าช่องอุโมงค์นั้นใหญ่กว่าเขตต์พิกัดโครงสร้างไป

ถึงกระนั้นก็มีประโยชน์อยู่ เพราะทำให้มีอากาศผ่านเข้าออกได้ง่าย ทั้งเป็นเหตุให้ความแรงของลมที่ปะทะหน้าขบวนรถที่ลอดผ่านลดน้อยลงอีกด้วย

.............................

ผู้เรียบเรียง : มรว.กาจกำยำ สวัสดิกุล
สำนักงานเลขานุการกรม ฝ่ายธุรการ

จากหนังสือ งานฉลองรถไฟหลวง ครบ ๕๐ ปี
พิมพ์ที่โรงพิมพ์ กรมรถไฟฯ จำนวน ๓.๐๐๐ เล่ม
นายอุดม ปานพิพัฒน์ ผู้พิมพ์โฆษณา
มีนาคม ๒๔๙๐


............................

หมายเหตุ(เพิ่มเติม)

การก่อสร้างอุโมงค์รถไฟคอนกรีตที่เขาขุนตาลนี้ ใช้เวลาทำการก่อสร้างอยู่ถึง ๑๑ ปีจึงสำเร็จเรียบร้อย ในรายงานของกรมรถไฟประจำปี ๒๔๖๐ และ ๒๔๖๑ มีกล่าวไว้โดยเฉพาะดั่งต่อไปนี้ คือ

รายงานประจำปี ๒๔๖๐ “การสร้างถ้ำนี้ถึงแม้ว่าจะได้เจาะผ่านไปในพื้นที่ซึ่งเป็นหินร่วน และมีน้ำขังอยู่มากซึ่งเป็นการลำบากก็ดี แต่การก่อสร้างคงได้ดำเนินไปโดยเรียบร้อยตลอด ความดำเนินของการก่อสร้างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ เป็นทางให้คะเนได้ว่า การหล่อโค้งและการวางรางคงแล้วเสร็จตลอดในราวเดือนมิถุนายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๑ แต่นอกจากนี้ ยังมีงานอื่นที่ต้องทำอีกมาก เช่น การสร้างกำแพงกันข้างอุโมงค์ตลอดทาง และการสร้างโค้งล่างสำหรับตอนที่พื้นที่ไม่แข็งแรง การเหล่านี้กว่าจะสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อยตลอด ยังจะต้องใช้เวลาต่อไปอีกสัก ๑ ปี

ในปีนี้ อุบัติเหตุกระทำให้คนการซึ่งทำงานอยู่ในถ้ำเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ๖ คน”


รายงานประจำปี ๒๔๖๑ “การสร้างอุโมงค์ก็ได้ทำแล้วสำเร็จตลอดลงเมื่อปลายเดือนมีนาคม รวมทั้งสิ้นเมื่อได้วางรางเสร็จแล้ว วัดอุโมงค์ได้ยาว ๑,๓๖๑.๓๐ เมตร (ที่ถูกควรเป็น ๑,๓๖๒,๐๕ เมตร) งานได้ทำสำเร็จแล้วในศกนี้ คือ :-

การหล่อโค้งคอนกรีตข้างบนยาว ๕๓ เมตร
การขยายรูเล็กชั้นล่างยาว ๓๓๑ เมตร
การเปิดหินและการหล่อกำแพงคอนกรีตข้างๆ ยาว ๒,๒๘๖ เมตร
การเปิดหินและหล่อโค้งคอนกรีตข้างล่างยาว ๒๕๐ เมตร
การเปิดหินและหล่อร่องน้ำข้างๆ ยาว ๑,๑๐๔ เมตร
การเปิดหินและหล่อปากช่องอุโมงค์ ๒ แห่งหัวท้าย

ในระหว่างปีที่รายงานนี้ มีคนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตที่ในอุโมงค์ ๔ คน โดยมีอุบัติเหตุ”


............................
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/03/2013 10:56 pm    Post subject: พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ว่าด้วยการเจาะอุโมงค์ขุนตาน Reply with quote

พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ว่าด้วยการเจาะอุโมงค์ขุนตาน - ตีพิมพ์โลกนิติจำแลง ในดุสิตสมิต ราวๆ ต้นปี 2462

ภูเขาทั้งแท่งล้วน ศิลา
ลมพายุพัดมา บ่ฟื้น
กำแพงเพชร์บัญชา สั่งเจาะ
ทำอุมงค์รถครื้น ครั่นแหล้นทลุเขา
Back to top
View user's profile Send private message
pitch
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 14/07/2006
Posts: 694
Location: วังนารายณ์คู่บ้าน ศาลพระกาฬคู่เมือง ปรางค์สามยอดลือเรื่อง เมืองแห่งดินสอพอง แผ่นดินทองสมด็จพระนารายณ

PostPosted: 01/04/2013 11:07 am    Post subject: Reply with quote

ต้องขอบคุณทุกท่านที่นำเสนอข้อมูลดีๆมีคุณค่าและภาพที่หาดูได้ยาก Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 02/04/2013 3:59 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณครับ สำหรับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาล ซึ่งในสมัยก่อนนั้น การก่อสร้างเป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างมาก ทั้งอุปกรณ์ในการก่อสร้าง โรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งคนงานที่ใช้ในการก่อสร้าง เพราะกว่าจะสร้างอุโมงค์เสร็จเรียบร้อย ก็กินเวลาไปถึง 11 ปี หากเป็นสมัยปัจจุบัน อาจจะใช้เวลาเพียง 2 ปี ก็สามารถที่จะใช้งานได้ ต้องขอขอบคุณและเชิดชูวิศวกรและคนงานที่ก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาลในสมัยนั้น ต้องเหนื่อยยาก ลำบากขนาดไหนที่ก่อสร้างเส้นทางดังกล่าว จนทำให้เส้นทางรถไฟสามารถไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ได้โดยสะดวกจนถึงทุกวันนี้นะครับ
แต่การก่อสร้างอุโมงค์สมัยนั้น มีการคำนวณได้อย่างดีและแม่นยำ สำหรับให้หัวรถจักรและขบวนรถที่มีความสุงได้วิ่งผ่านได้โดยสะดวก หากเรามีรถจักรที่ใหญ่และสูงกว่าอุโมงค์ คงจะต้องแก้ไขอุโมงค์ขุนตาลกันอย่างสาหัสแน่ ๆ นะครับ

_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2020 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องการสร้างอุโมงค์ขุนตานตามที่นายไอเซนโฮเฟอร์ได้เล่าไว้ในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกการเจาะอุโมงค์ขุนตาน
https://www.facebook.com/charoen.tanmahapran/posts/3375098789241388
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/01/2024 8:00 am    Post subject: Reply with quote

อุโมงค์และสถานีรถไฟขุนตาน 2567
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Jan 13, 2024


https://www.youtube.com/watch?v=o0vYWPZiJs4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©