RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263246
ทั้งหมด:13574529
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น เกี่ยวกับรถไฟไทย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น เกี่ยวกับรถไฟไทย
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 10/12/2008 11:24 am    Post subject: Reply with quote

casanotoey wrote:
ทำไมไม่มีสถานีชุมทางบ้านภาชี (ต้นแบบของสถานี BTS สยาม )ในปัจจุบัน Embarassed


แหม! อันนี้เฉพาะที่ได้รับรางวัลนะครับ ซึ่งแน่นอนในตอนแรก ก็เข้าใจว่าอาคารสถานีรถไฟธนบุรี(เดิม) ก็คงจะติดไปกับเขาด้วย ผลปรากฏว่าไม่ใช่ จึงเลยงงอยู่เหมือนกันนะครับ Crying or Very sad
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 10/12/2008 11:24 am    Post subject: Reply with quote

เรียน อ.บ้านโป่ง 1

สถานีรถไฟหรืออาคารใด ที่ไหน มีความเป็นไปได้ที่จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นรายการต่อไป ของสมาคมสถาปนิค ฯ ขอรับ....แหะ ๆ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 412

PostPosted: 10/12/2008 11:47 am    Post subject: Reply with quote

ผมว่าถ้ามีโครงการรางคู่ช่วงต่อไปน่าจะออกแบบให้ทางผู้รับเหมา สร้างสถานีใหม่สักแห่งหรือ 2 แห่งให้อลังการ เพื่อให้เป็นศิลปะในยุคปี 2551 นี้ ดีไหมครับ เพราะผมเห็นว่าสถานีที่ก่อสร้างหรือปรับปรุงใหม่ในช่วงหลัง รวมไปถึงสะพานต่างๆ ไม่ค่อยสวยงามเหมือนที่สร้างในอดีตเลย
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 10/12/2008 1:32 pm    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:
เรียน อ.บ้านโป่ง 1

สถานีรถไฟหรืออาคารใด ที่ไหน มีความเป็นไปได้ที่จะได้ขึ้นทะเบียนเป็นรายการต่อไป ของสมาคมสถาปนิค ฯ ขอรับ....แหะ ๆ Embarassed


โครงการนี้เป็นการให้รางวัลครับ ไม่ใช่การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
สมาคมสถาปนิกฯ ได้จัดโครงการนี้มาราว 20 ปีแล้วครับ
เหตุผลในการทำโครงการนี้ของทางสมาคมฯ

"บทนำ :
การอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น กับ คุณค่าทางสถาปัตยกรรม

ด้วยสถาปัตยกรรม คือ สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจากฝีมือและความตั้งใจของมนุษย์ การดำรงอยู่ของงานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยมนุษย์ ต้องพึ่งพาความสมัครใจในอันที่จะสืบทอดหน้าที่ ในการดูแลรักษาสถาปัตยกรรมเหล่านี้ต่อมา ซึ่งจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามองเห็นคุณค่า และต้องการธำรงรักษาคุณค่านั้น เพื่อส่งมอบยังชนรุ่นต่อไปหรือไม่ อย่างไร

คุณค่าความสำคัญดังกล่าว คือเกณฑ์ในการพิจารณามอบรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามในข้อแรก แต่ในความเป็นจริงสิ่งที่สำคัญกลับมิใช่การที่ในช่วงเวลา 20 ปีที่ผ่านมานี้ เรามีอาคารที่ได้รับการพิจารณามอบรางวัลเป็นจำนวนถึง 174 รางวัล หากแต่อยู่ที่การแสดงเจตจำนงของท่าน ผู้ครอบครองอาคารทั้งหลาย ในการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมเหล่านี้ไว้ ซึ่งโดยความหมายของการอนุรักษ์นั้น ก็คือ การรักษาไว้ซึ่งคุณค่าแห่งความตั้งใจของผู้ที่ได้สร้างงานนั้นขึ้นมานั่นเอง เท่ากับว่า อาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นเหล่านี้ คือ ตัวอย่างของงานสถาปัตยกรรมส่วนหนึ่งของเราที่มีคุณค่าที่ผ่านการเลือกสรรของกาลเวลา มาจนเป็นตัวแทนของแต่ละรูปแบบ แต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี

เปรียบประหนึ่งเพชรน้ำงามที่รับการดูแลขัดแต่งเจียระไนมาอย่างดี ด้วยคุณค่าของตัวเพชร และเรือนแหวนที่แทนความตั้งใจที่จะเชิดชูคุณค่าของเพชรในกลุ่มนี้ พอนำมาจัดเรียงวางประชันกันเข้า ความโดดเด่น เจิดจ้า ในแต่ละด้านของอาคาร รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นเหล่านี้ มิเพียงจะทำให้เราตกตะลึงในความงามที่ละลานตาเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้มองเห็นพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย ทั้งที่เป็นสถาปัตยกรรมเอกลักษณ์ไทย สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่แสดงออกถึงลักษณะของแต่ละภูมิภาค ตลอดจนสถาปัตยกรรมที่เราได้รับรูปแบบ หรืออิทธิพลมาจากต่างประเทศ ในยุคสมัยช่วงเวลาต่าง ๆ โดยผ่านตัวอย่างลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารที่ได้รับรางวัลในรูปแบบที่ต่างกันออกไป ซึ่งพอจะจัดเป็นกลุ่ม ๆ ตามรูปแบบสถาปัตยกรรม ........"

ที่มา http://www.asa.or.th/heritage/introduction.html

สำหรับปีนี้ผมยังไม่เห็นเอกสารกำหนดการของสมาคมฯในเรื่องนี้ออกมาเลยครับ
แต่คาดว่าคงเร็วๆนี้จะมีประกาศออกมา อาจจะเป็น 2 ปี ต่อครั้ง
สมาชิกในเว็ปนี้ก็สามารถเสนอได้ครับ เพราะเท่าที่ผมเคยทราบมาไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสมาคมฯ
และป๋าณัฐคิดว่าเราน่าจะเสนออาคารที่เกี่ยวกับรถไฟไทยเราที่ไหนดีล่ะครับ
สถานี "บ้านปิน" เป็นไงครับ หรือ "โรงรถจักร....." ที่ไหนสักที่ หรือ ......
ต้องทำเอกสารมากพอสมควร และต้องสืบค้นรวบรวมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาด้วยครับ
แต่ถ้าใจรักซะอย่างคงไม่ยากกระมังครับ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/12/2008 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

suraphat wrote:
casanotoey wrote:
ทำไมไม่มีสถานีชุมทางบ้านภาชี (ต้นแบบของสถานี BTS สยาม )ในปัจจุบัน Embarassed


แหม! อันนี้เฉพาะที่ได้รับรางวัลนะครับ ซึ่งแน่นอนในตอนแรก ก็เข้าใจว่าอาคารสถานีรถไฟธนบุรี(เดิม) ก็คงจะติดไปกับเขาด้วย ผลปรากฏว่าไม่ใช่ จึงเลยงงอยู่เหมือนกันนะครับ Crying or Very sad


อาคารสถานีบ้านภาชีที่เห็นทุกวันนี้เก่ามาแต่ปี 2495 เพราะ ต้องสร้างใหม่เพื่อเตรียมการสร้างทางคู่ไปแก่งคอยซึ่งสำเร็จเพราะ เงินกู้เจบิกเมื่อปี 2546
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2016 8:43 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่เป็นไร - รอดูว่าจะมีสถานีไหนที่จะได้รางวัล - หลังจากที่ปางป๋วย กะ แม่พวกได้มาแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2016 1:19 pm    Post subject: Reply with quote

ขอคิดด้วยฅน : อาคารไม้สถานีรถไฟเก่า
โดย สันติสุข มะโรงศรี (แทน ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง)
แนวหน้า
21 พฤสจิกายน 2559


1. ได้อ่านเฟซบุ๊คของท่านอดีตอัยการสูงสุด “ตระกูล วินิจนัยภาค” พูดถึงอาคารไม้สถานีรถไฟเก่า บอกว่า

“ในฐานะอดีตกรรมการ..การรถไฟแห่งประเทศไทยและประชาชนคนหนึ่ง ผมขอคัดค้าน และได้คัดค้านมาโดยตลอด ในการรื้อถอนอาคารสถานีรถไฟ “เก่า” เพราะควรเป็นสถานที่ที่ควรอนุรักษ์ ทำนุบำรุง เก็บรักษาไว้ เป็นอนุสรณ์ ฯลฯ การรถไฟฯ มีที่ดินติดต่อข้างเคียงกับอาคารฯ เก่า.. พอที่จะสร้างอาคารสถานีใหม่ได้มากพอ...ครับ”



2. จากนั้น สืบค้นตามไปที่เฟซบุ๊ค “Parinya Chukaew” ซึ่งถูกแชร์ข้อมูลมา

ได้ทราบภายหลังว่า นั่นคือ คุณ “ปริญญา ชูแก้ว” ผู้เคยทำงานศึกษาวิจัย เรื่อง “การอนุรักษ์และพัฒนาอาคารสถานีรถไฟในฐานะมรดกทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของไทย”

ในเฟซบุ๊คของคุณปริญญา ได้แสดงทัศนะ และเชิญชวนผู้สนใจ ผู้ใส่ใจ และร้องขอต่อผู้บริหารการรถไฟฯ ผู้มีอำนาจในรัฐบาล นายกฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมไปถึงคนการรถไฟฯเองเพื่อช่วยกันหาทางออกที่จะรักษาไว้ซึ่งอาคารไม้สถานีรถไฟเก่าอย่างไร มิให้ถูก “รื้อทิ้ง” ไปในการสร้างรถไฟทางคู่

ฟังดูคุณปริญญามิได้ขัดขวางโครงการถไฟทางคู่เลย

เพียงแต่อยากจะเห็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งอาคารเก่า อาจจะโดยการ “รื้อไปประกอบใหม่” หรือ “ยกย้าย” ไปจากจุดที่ตั้งกีดขวางโครงการ เอาไว้ใกล้ๆ บริเวณที่มีความหมายและใช้ประโยชน์ได้ต่อไปก็ได้

นับเป็นมุมมองที่น่าสนใจ และใส่ใจมาก

คุณปริญญา โพสต์เชิญชวนไว้ตั้งแต่ 4 พ.ย. 2559 ความว่า

“สวัสดีครับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ

ในฐานะ “ประชาชนคนไทย” คนหนึ่งที่รักและหวงแหนมรดกของชาติ ถึงเวลาที่ “ผม” ต้องยอมแพ้จิตใจ “ผู้มีอำนาจตัดสินใจ” ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่เห็นสมควรให้รื้อ “อาคารสถานีรถไฟไม้” ที่บรรพบุรุษ “คนรถไฟ” ได้สร้างไว้เป็นจำนวนหลายหลัง

ถ้าวันนี้ผมมีเงิน 1,000 ล้านบาท ผมจะขอซื้ออาคารสถานีรถไฟไม้ทุกหลังที่จะถูกรื้อในราคาหลังละ 1 ล้านบาท แล้วผมจะปรับปรุงฟื้นฟูอาคารให้เป็น “ศูนย์เรียนรู้รถไฟท้องถิ่น” เพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่แต่ละสถานีได้ศึกษาหาความรู้และมี “ความภาคภูมิใจ” ในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง

ทำไมการรักษา “รากเหง้า” รถไฟไทยจึงเป็นเรื่องที่“ยากและซับซ้อน” มากมายถึงเพียงนี้ ผมเข้าใจ “ท่านๆ” ทั้งหลายนะครับว่าท่านอยากให้มีสถานีรถไฟใหม่ที่มีความทันสมัยสมฐานะของการรถไฟแห่งประเทศไทย แต่ในเวลาเดียวกันท่านก็สามารถรักษาอาคารสถานีไม้ได้

อาคารเก่าและอาคารใหม่อยู่ด้วยกันได้นะครับ”

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2559 อ.ปริญญา ได้โพสต์ข้อความอีกด้วยว่า

“สวัสดีครับ พี่น้องชาวไทย

ผมมีเรื่องขอปรึกษาหารือเกี่ยวกับการอนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟบ้านดอนใหญ่ ต.ดอนใหญ่ อ.คง จ.นครราชสีมา เนื่องจากอาคารไม้ที่มีคุณค่าหลังนี้จะถูกรื้อลงภายในเดือนธันวาคม ตามโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน

1. การรถไฟแห่งประเทศไทยอนุมัติให้รื้ออาคารตามแผนที่ได้วางไว้แล้ว ซึ่งเรา “คนไทย” จะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้

2. เรามีเวลาประมาณ 30 วัน ที่จะต้องหาทางรักษาอาคารหลังนี้ไว้

ความเป็นไปได้ในการรักษาอาคารในเวลาที่จำกัด คือ

1. สอบถาม “ผู้บริหารและมีอำนาจตัดสินใจ” ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คนไทย” ทั่วไปจะขอซื้ออาคารทั้งหลังได้หรือไม่ ถ้าซื้อได้จะอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ ท่านใดที่เข้าใจกฎระเบียบของการรถไฟฯอย่างลึกซึ้งช่วยหาคำตอบให้ “คนไทย” ด้วยครับ

2. ถ้าการรถไฟฯขาย เราต้องช่วยกันออกสื่อทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ เพื่อระดมทุนซื้ออาคาร

3. ในขณะที่กำลังดำเนินการในข้อที่ 1 และ 2 นั้น หน่วยงานรัฐและท้องถิ่น เช่น กรมศิลปากร สมาคมอนุรักษ์มรดกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นต่างๆ รวมทั้งชาวโคราชต้องพูดคุยกันถึงสถานที่ที่จะ“ยกและย้าย” อาคารหลังนี้ไปอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม

4. เมื่อได้อาคารมาแล้ว ต้องดำเนินการปรับปรุงฟื้นฟูและปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นโคราช ถ้าอาคารหลังนี้สามารถตั้งอยู่ที่บ้านดอนใหญ่เหมือนเดิมได้ยิ่งดีเพราะจะเป็นการส่งเสริมความรักชาติรักแผ่นดินบ้านเกิด

พี่น้องชาวไทยมีคำแนะนำหรือความเห็นอย่างไรบ้างครับ

ถ้าเป็นไปได้ช่วยแชร์ข้อความที่ผมเขียนนี้ให้ไปถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม อธิบดีกรมศิลปากร และผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ด้วยนะครับ เพราะผมเชื่อว่า“นายกฯตู่” และท่านผู้ทรงเกียรติก็อยากให้มรดกของชาติของแผ่นดินยังคงอยู่เหมือนพี่น้องชาวไทยครับ”

3. คุณปริญญายังได้โพสต์ตัวอย่างของการอนุรักษ์ และปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์อาคารไม้สถานีรถไฟเก่า ตามชุมชนต่างๆ มากมาย เช่น

อาคารสถานีรถไฟปางป๋วย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ประจำพุทธศักราช 2554



อาคารสถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ประจำพุทธศักราช 2555

4. นี่คือเหรียญอีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง

ผมเห็นว่า รถไฟไทยยุคปัจจุบัน กำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่

ที่เราเห็นๆ ก็มีตั้งแต่ขบวนรถไฟรุ่นใหม่ เริ่มทดลองให้บริการแล้ว สะดวกสบาย ปลอดภัย ทันสมัยกว่าเดิมมาก ยิ่งกว่านั้น ระบบรางพื้นฐาน มีการลงทุนพัฒนาจริงจังในยุคนี้ โครงการถไฟทางคู่ เฟสแรก รวม 7 เส้นทาง ระยะทาง 995 กิโลเมตร มีความคืบหน้าต่อเนื่อง ครม.เห็นชอบไปหมดแล้ว

บางช่วงทาง เริ่มก่อสร้างแล้ว

บางช่วงทาง อยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคา ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ คาดว่า จะเริ่มก่อสร้างเมษายนปีหน้า เสร็จต้นปี 2563

จะเพิ่มประสิทธิภาพ และศักยภาพการขนส่งทางรถไฟ

ลดต้นทุนโลจิสติกส์ ลดเวลาเดินทาง ลดอุบัติเหตุ

สามารถวิ่งสวน วิ่งแซง และแก้ไขจุดตัดบนเส้นทางรถไฟ

ใน Action Plan ปี 2560 ที่กำลังจะเสนอ ครม.เร็วๆ นี้ ยังมีโครงการรถไฟทางคู่ เฟส 2 อีกหลายช่วงทาง เช่น

ช่วงจิระ-อุบลราชธานี ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานีช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา รวมถึงรถไฟขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ จะเชื่อมต่อกับทางมาเลเซีย ได้อย่างไม่เขินอาย



อาคารสถานีรถไฟแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ประจำพุทธศักราช 2554

นอกจากนี้ ยังมีรถไฟทางคู่เส้นทางใหม่ แตกแขนงเพิ่มขึ้นจากโครงข่ายรางเดิม ได้แก่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 76,980 ล้านบาท และสายบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม วงเงิน 60,353 ล้านบาท

หากดำเนินการต่อเนื่อง เป็นผลสำเร็จ จะพลิกโฉมการขนส่งระบบรางของประเทศเป็นอันมาก เพราะนี่คือโครงข่ายรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร เป็นระบบที่ชาวบ้านเข้าถึงได้ง่าย จับต้องได้จริง และคุ้นเคยมานาน

แต่การพัฒนาที่ยั่งยืน และคุ้มค่าที่สุดในโลกสมัยใหม่ จะต้องไม่ทำลายคุณค่าเดิมทิ้งไป

เสน่ห์อย่างหนึ่งของรถไฟไทย คือ อาคารไม้สถานีใหญ่น้อยตามรายทาง

แทนที่จะมองว่าเป็นส่วนเกิน หรืออุปสรรคการพัฒนา ทำไมไม่มองเป็นทรัพยากรที่มีค่า

แต่ละสถานี ล้วนผ่านวันเวลา และมีรูปลักษณ์ผสมผสาน มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์แตกต่างกันไป

น่ายินดีว่า อาคารไม้สถานีรถไฟที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ยังคงถูกอนุรักษ์ไว้

แต่ตามแผนการก่อสร้างรถไฟทางคู่นั้น สถานีที่เป็นอาคารไม้จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะสถานีเล็กๆ ระดับชุมชน กำลังจะต้องถูก “รื้อทิ้ง” เพื่อใช้พื้นที่สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่

บางแห่งโชคดีหน่อย ก็จะถูกปรับย้าย เปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน

ตัวอย่างที่ถูกเอ่ยถึง คือ อาคารสถานีรถไฟบ้านดอนใหญ่ ต.ดอนใหญ่ อ.คง จ.นครราชสีมา เป็นหนึ่งในอาคารไม้ที่คาดว่าจะถูกรื้อ ภายในเดือนธันวาคมนี้ ตามโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่



น่าคิดว่า รัฐบาลและการรถไฟ จะประเมินคุณค่าทางวัฒนธรรม ของอาคารไม้ที่มีอายุกว่า 50 ปี นี้อย่างไร?

จะปล่อยให้รื้อทิ้ง หรือควรจะยกย้าย ขยับไปอยู่ในจุดที่เหมาะสม?

จะรื้อไปประกอบ หรือยกย้าย แปรเปลี่ยนการใช้ประโยชน์อาคาร เช่น สามารถทำเป็นโฮสเทลท้องถิ่น ร้านค้า ร้านกาแฟ ขายของที่ระลึก สินค้าท้องถิ่น ร้านอาหาร หรือศูนย์การเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ฯลฯ ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับสถานีใหม่ ก็น่าจะทำได้ไม่ยากเลย (ทั้งหมด การรถไฟไม่จำเป็นต้องลงทุนเอง อาจเปิดให้เอกชนเข้ามาดำเนินการก็ได้)

อย่าลืมว่า ยังมีสถานีรถไฟอาคารไม้เล็กๆ ลักษณะนี้ อีกมากมายตามรายทาง ทุกภูมิภาค

เสน่ห์ของความเก่าไม่อาจซื้อได้ด้วยเงินทอง คงมีแต่สายฝน เปลวแดด และชีวิตผู้คนที่เคยได้สัญจรผูกพัน ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เป็นผู้หยิบยื่นให้ ฝากไว้เป็นมรดกความทรงจำ

แน่นอนว่า การอนุรักษ์จะต้องไม่ขัดขวางการพัฒนารถไฟทางคู่ เพียงแต่ทำอย่างไรไม่ให้การพัฒนานั้น บดขยี้คุณค่าทางวัฒนธรรมเล็กๆ ตามรายทาง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2017 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

คลาสสิกสุดใจ "7 สถานีรถไฟไทย" แสนสวย รวยเรื่องเล่า
โดย MGR Online
7 กุมภาพันธ์ 2560 13:52 น.


ประวัติศาสตร์การรถไฟของไทยได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี 2433 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมรถไฟ อยู่ในสังกัดกระทรวงโยธาธิการ และพระองค์ยังได้เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีเปิดการเดินรถไฟ ระหว่างสถานีกรุงเทพฯ-อยุธยา เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2439 การรถไฟจึงได้ถือเอาวันที่ 26 มีนาคม เป็นวันสถาปนาของรถไฟ ตั้งแต่บัดนั้น

เราจะไม่พูดถึงว่านับแต่ปี 2539 เป็นต้นมา รถไฟไทยได้พัฒนาไปอย่างไรบ้าง แต่เราจะมาพาไปชม “สถานีรถไฟ” หลายๆ แห่งในเมืองไทยที่มีความสวยและความคลาสสิกน่าไปเยี่ยมชมหากว่ามีโอกาสเดินทางไปกัน

คลาสสิกสุดใจ 7 สถานีรถไฟไทย แสนสวย รวยเรื่องเล่า
หลังคาทรงโดมเป็นเอกลักษ์

สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)

แน่นอนว่าหากพูดถึงสถานีรถไฟสุดคลาสสิก ต้องนึกถึง “สถานีรถไฟกรุงเทพ” หรือ “หัวลำโพง” ที่เพิ่งจะมีอายุครบ 100 ปี เมื่อเดือน มิ.ย. ปี 2559 ที่ผ่านมา

“สถานีกรุงเทพ” เป็นสถานีรถไฟหลักที่สำคัญที่สุดในประเทศ โดยเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2453 หรือในสมัย ร.5 ก่อสร้างแล้วเสร็จและเริ่มใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2459 ในสมัย ร.6 ซึ่งพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีกดปุ่มสัญญาณไฟฟ้าให้รถไฟขบวนแรกเข้าสู่สถานีด้วยพระองค์เอง


สำหรับสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของสถานีหัวลำโพงก็คือหลังคารูปทรงโดมที่เราเห็นจนชินตา เป็นการออกแบบโดยสถาปนิกชาวอิตาเลียนชื่อ มาริโอ ตามานโญ ลักษณะของสถานีเป็นโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแนวเรอเนสซองส์ โดยมีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟของเมืองแฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และวัสดุในการก่อสร้างก็นำเข้ามาจากเยอรมันด้วยเช่นกัน

ภายในอาคารทรงโดมมีการตกแต่งกระจกสีที่ช่องระบายอากาศทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ที่ช่วยเพิ่มความสว่างสดใสให้ตัวอาคารในเวลากลางวัน มีนาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีความเก่าแก่เท่ากับตัวอาคาร ในส่วนของที่ทำการกองโดยสารซึ่งอยู่ทางด้านขวามือของสถานีนั้น ก็มีลวดลายปูนปั้นที่งดงามอยู่ตามบันไดและเสาอาคาร ได้เห็นเมื่อไรก็รู้สึกได้ถึงความคลาสสิกเมื่อนั้น


สถานีรถไฟหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

อีกหนึ่งสถานีรถไฟสุดสวยเป็นที่เลื่องลือก็คือ “สถานีรถไฟหัวหิน” อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์สุดคลาสสิกยิ่งนัก

สถานีรถไฟหัวหินยังคงรูปแบบอาคารไม้อันสวยงามอ่อนช้อยทาด้วยสีครีมและสีแดง และสิ่งที่โดดเด่นก็คือ ใกล้กับตัวสถานีเป็นที่ตั้งของ “พลับพลาหลวง” หรือ “พลับพลาสนามจันทร์” ซึ่งเป็นพลับพลาจัตุรมุขที่สร้างขึ้นในสมัย ร.6 เดิมอยู่ในพระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม ใช้เป็นที่เสด็จประทับทอดพระเนตรกองเสือป่าและลูกเสือทั่วประเทศที่ฝึกซ้อมยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี

หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระองค์ การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงได้รื้อถอนนำมาสร้างใหม่ที่สถานีรถไฟหัวหิน และเรียกชื่อใหม่ว่า “พลับพลาพระมงกุฎเกล้าฯ” เป็นดังเอกลักษณ์อยู่คู่สถานีรถไฟหัวหินมาเนิ่นนาน




สถานีรถไฟบ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่

“สถานีรถไฟบ้านปิน” อ.ลอง จ.แพร่ มีความโดดเด่นตรงที่เป็นสถานีรถไฟแห่งเดียวของไทยที่สร้างในสไตล์ “เฟรมเฮาส์” แบบบาวาเรียน ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในแคว้นบาวาเรียนของประเทศเยอรมัน สถานีแห่งนี้สร้างในสมัย ร.6 โดยนายช่างชาวบาวาเรียนออกแบบสถานีแห่งนี้โดยใช้ไม้สักเป็นวัสดุสำคัญผสมผสานกับเรือนปั้นหยาแบบไทยๆ ออกมาเป็นสถานีรถไฟบ้านปินอันเป็นเอกลักษณ์และน่ารักไม่เหมือนใคร

สถานีรถไฟแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของ ร.5 แต่แล้วเสร็จพร้อมใช้งานในปี 2457 ในรัชสมัยของ ร.6 ควบคุมการก่อสร้างโดยการรถไฟหลวงแห่งสยาม ซึ่งมีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง จนออกมาเป็นสถานีรถไฟสไตล์เยอรมันแบบเฟรมเฮาส์แห่งเดียวในไทยนั่นเอง


“สถานีรถไฟนครลำปาง” อ.เมือง จ.ลำปาง

“สถานีรถไฟนครลำปาง” อ.เมือง จ.ลำปาง ได้ชื่อว่าเป็นสถานีรถไฟในบรรยากาศย้อนยุค ด้วยบรรยากาศของตัวอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้สองชั้นที่มีรูปแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยภาคเหนือกับยุโรป รั้วระเบียงอาคารชั้นบนและเหนือวงกบประตูและหน้าต่างเป็นไม้ฉลุลายสวยงาม ส่วนทางเข้าห้องโถงชั้นล่างซึ่งเป็นห้องจำหน่ายตั๋วและทางขึ้นชั้นบนเป็นประตูรูปโค้งขนาดใหญ่ งดงามและได้รับการดูแลอย่างดีจนได้รับการคัดเลือกให้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2536


ด้านหน้าสถานียังมีหัวรถจักรโบราณตั้งเด่นอยู่ที่เกาะกลางตรงทางเข้า โดยหน้าสถานีนี้ยังเป็นจุดจอดรถม้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของลำปางอีกด้วย โดยทางจังหวัดลำปางก็ได้จัดงานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ รถม้าลำปาง ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี เพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของรถไฟรถม้าลำปาง ซึ่งเป็นพาหนะสำคัญที่ชาวลำปางใช้สัญจรตั้งแต่อดีต ตั้งแต่รถไฟสายเหนือจากกรุงเทพฯ มาสู่นครลำปาง เป็นขบวนแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ในสมัย ร.6


สถานีสวรรคโลก อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

อีกหนึ่งสถานีรถไฟที่มีความคลาสสิกแบบเรียบง่ายคือ “สถานีรถไฟสวรรคโลก” อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ที่อดีตเคยเป็นหัวเมืองที่สำคัญของสุโขทัย สถานีรถไฟตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองสวรรคโลก โดยทางรถไฟที่มุ่งหน้ามาสวรรคโลกนี้เป็นทางรถไฟสายรองในระบบรถไฟระหว่างเมือง แยกมาจากสายเหนือที่สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้ววิ่งผ่านสถานีรถไฟคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย มาสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยนี่เอง

สำหรับตัวสถานีสวรรคโลกนี้มีอายุร้อยกว่าปีแล้ว ยังคงรูปแบบเดิมในสมัยเมื่อแรกสร้าง แต่ได้ปรับปรุงซ่อมแซมทาสีให้ดูใหม่สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ ด้านในยังมีบรรยากาศเก่าๆ จากตัวสถานีและอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานรถไฟ


สถานีรถไฟกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง

"สถานีรถไฟกันตัง" อ.กันตัง จ.ตรัง ที่นี่เป็นสถานีรถไฟสถานีสุดท้ายบนเส้นทางรถไฟฝั่งอันดามัน ซึ่งเริ่มเปิดใช้อย่างเป็นทางการมายาวนานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2456 ในสมัยที่กันตังยังเป็นจุดรับ-ส่งสินค้ากับต่างประเทศที่บริเวณท่าเรือกันตัง โดยจากบริเวณสถานีจะมีรางรถไฟต่อไปเป็นระยะทางอีกประมาณ 500 เมตรก็จะถึงท่าเรือกันตัง แต่ปัจจุบันรางรถไฟส่วนนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว

แม้วันเวลาจะผ่านมาเกือบ 100 ปีแล้ว แต่สถานีกันตังก็ยังคงตั้งตระหง่านโดดเด่นชวนมองอยู่ไม่เสื่อมคลาย โดยตัวสถานีเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวทรงปั้นหยา ทาสีเหลืองสลับน้ำตาล ตัวอาคารแบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านหน้ามีมุขยื่นตกแต่งมุมเสาด้วยลวดลายไม้ฉลุให้บรรยากาศคลาสสิคเป็นอย่างยิ่ง


"สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสนามไชย" กรุงเทพฯ

แม้จะยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์และยังไม่ได้เปิดให้ใช้บริการ แต่ก็ต้องขอพูดถึง “สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย” ที่ว่ากันว่าเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลกสักหน่อย

สำหรับสถานีสนามไชยนี้เป็นโครงการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายหัวลำโพง-บางแค โดยช่วงสถานีนี้จะอยู่ใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ ใต้แนวถนนสนามไชย บริเวณวัดพระเชตุพนฯ ตัวสถานีจึงจำลองเป็นห้องในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง ส่วนเพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือนปิดทองคำเปลว โดยฝีมือของ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ปี 2537 ที่ได้รับแรงบันดาลมาจากวัดและวังรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ก็ทำให้สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งนี้สวยไม่แพ้ต่างประเทศเลยจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2017 6:10 pm    Post subject: Reply with quote


อาคารสถานีรถไฟ 10 แห่งที่เสี่ยงโดนทุบทิ้ง เพราะโครงการทางคู่

https://www.youtube.com/watch?v=uhF6-HNiAt8
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©