RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269947
ทั้งหมด:13581234
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 135, 136, 137  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 23/08/2013 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

เครือข่ายเส้นทางรถไฟขนส่งข้ามชาติ – กุญแจไขตลาดต่างชาติใหม่ของจีน

เขียนโดย : ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ กรุงปักกิ่ง
แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ China Daily ฉบับวันที่ 4 ก.ค. 56 หนังสือพิมพ์ China Daily ฉบับวันที่ 19 ก.ค. 56 http://www.chinanews.com (วันที่ 19 ก.ค. 56)

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาหลังจากที่ทางการจีนเริ่มดำเนินนโยบาย “เร่งพัฒนาภาคตะวันตก” และ “สนับสนุนการผงาดขึ้นของภาคกลาง” ภาคตะวันตกและภาคกลางของจีนได้พัฒนาความสามารถในการรองรับอุตสาหกรรมที่ย้ายฐานการผลิตมาจากภาคตะวันออกมากขึ้น แต่เนื่องจากภาคตะวันตกและภาคกลางห่างไกลจากท่าเรือฝั่งภาคตะวันออกค่อนข้างมาก ทำให้มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะแถบทวีปยุโรป ทั้งนี้ เมืองที่เป็นศูนย์กลางประจำเขตต่างๆ ในภาคตะวันตกของจีนอย่างนครฉงชิ่ง นครเจิ้นโจว จึงต้องแสวงหาช่องทางอื่น นี่คือที่มาที่ไปของเส้นทางรถไฟฉงชิ่ง-ยุโรป และ เจิ้นโจว – ฮัมบูร์กซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกใหม่ในการขนส่งคาร์โกจากภาคตะวันตกและภาคกลางจีนไปยังยุโรปโดยตรง


เปิดแล้ว!! เส้นทางรถไฟขนส่งข้ามชาติ ฉงชิ่ง -ซินเจียง-ยุโรป และ เจิ้นโจว – ฮัมบูร์ก

เมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ในฟอรั่ม “โอกาสการพัฒนาของมณฑล/นครภายใต้ความร่วมมือระหว่างจีน-ยุโรป” จัดขึ้น ณ นครฉงชิ่ง ผู้นำจีน-ยุโรปได้พบปะหารือและย้ำความสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์จีน-ยุโรปผ่านเส้นทางรถไฟขนส่งข้ามชาติฉงชิ่ง -ซินเจียง-ยุโรป และต่อมาเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 จีนได้เปิดเส้นทางรถไฟขนส่งข้ามชาติเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กอีกเส้นหนึ่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งนับว่าทั้งสองเส้นทางดังกล่าวเป็นทางเลือกใหม่ในการขนส่งสินค้าไปยังยุโรปจากภาคตะวันตกและภาคกลางจีน



“เส้นทางสายไหมเส้นใหม่” 16 วันถึงยุโรป ร่นเวลา 15-20 วัน ประหยัดต้นทุนด้วย

เส้นทางรถไฟสายฉงชิ่ง -ซินเจียง-ยุโรปมีความยาวทั้งสิ้น 11,179 กม. เชื่อมโยงนครฉงชิ่งกับเมืองดุยซ์บวร์ก เยอรมัน โดยผ่านคาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุสและโปแลนด์ เริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญ โดยตลอดระยะทางใช้เวลาเพียง 16 วัน ร่นระยะเวลาเดินทางกว่า 20 วันเมื่อเทียบกับเส้นทางทางทะเล และประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 4 ใน 5 เมื่อเทียบกับเส้นทางทางอากาศ ในปี 2555 เส้นทางรถไฟฉงชิ่ง-ซินเจียง-ยุโรปขนส่งสินค้าระหว่างจีนกับยุโรปรวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 3,000 ล้านหยวน

สำหรับเส้นทางรถไฟขนส่งข้ามชาติเจิ้นโจว – ฮัมบูร์ก ในอดีตหากเมืองในภาคกลางของจีนต้องการส่งสินค้าไปยังยุโรป จำเป็นต้องส่งผ่านท่าเรือที่เมืองชิงเต่า (青岛) หรือท่าเรือเมืองเหลียนหยุนกัง (连云港) ซึ่งนอกจากจะมีความไม่สะดวกต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการส่งสินค้าแล้ว ยังต้องใช้เวลาในการขนส่งค่อนข้างยาวนานแรมเดือนด้วย หลังจากเส้นทางเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กเริ่มเปิดใช้บริการ จากภาคกลางจีนสามารถส่งสินค้าไปยังยุโรปโดยตรงได้ ซึ่งเส้นทางรถไฟเจิ้นโจว – ฮัมบูร์เปรียบเสมือน “เส้นทางสายไหมเส้นใหม่” โดยรถไฟเส้นทางรถไฟขนส่งคาร์โกข้ามชาติเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กมีความยาวทั้งสิ้น 10,214 กม. เชื่อมโยงนครเจิ้นโจว มณฑลเหอหนาน กับเมืองฮัมบูร์ก เยอรมัน โดยผ่านคาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุสและโปแลนด์ เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าโดยตลอดระยะทางใช้เวลาเพียง 16 – 18 วัน ซึ่งได้ร่นระยะเวลากว่า 15 - 20 วันเมื่อเทียบกับเส้นทางทางทะเล และยังประหยัดค่าใช้จ่ายถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับเส้นทางทางอากาศ หรือลดต้นทุน 2,000 – 3,000 หยวนต่อ 1 ตู้คอนเทนเนอร์เมื่อเทียบกับการขนส่งทางด่วน นอกจากนี้ การขนส่งทางรถไฟยังมีความปลอดภัยมากกว่าการขนส่งทางเรือและอากาศ เนื่องจากมีผลกระทบจากสภาพอากาศที่รุนแรงน้อยกว่า

ส่งสินค้า “Made in China” ไป ขน “Made in EU” กลับ

ในฐานะมณฑลเหอหนานเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและโลจิสติกส์ของภาคกลางจีน เส้นทางรถไฟเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กไม่เพียงแต่ขนส่งสินค้าจากมณฑลเหอหนานเพียงมณฑลเดียว โดยรถไฟเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กเที่ยวแรกบรรทุกสินค้าหลากหลายประเภท อาทิ อะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ สายไหม เสื้อผ้ารองเท้าชั้นดี สิ่งทอผ้าฝ้ายคุณภาพสูง ที่มาจากมณฑลต่างๆ อาทิ มณฑลเหอหนาน มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฝูเจี้ยน มณฑลเจียงซี เป็นต้น ซึ่งบรรจุเต็มทั้ง 41 คอนเทนเนอร์โดยมีน้ำหนักทั้งสิ้น 614 ตัน และมีมูลค่าสินค้าทั้งสิ้น 14.3 ล้านหยวน

ขณะเดียวกัน ในฐานะยุโรปเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของจีน และเพื่อไม่ให้รถไฟวิ่งเปล่าตอนขากลับ รถไฟเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กจะขนส่งผลิตภัณฑ์ high-end ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงจากยุโรป อาทิ เครื่องกลไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถยนต์และรถยนต์สำเร็จรูป อุปกรณ์วิศวกรรม และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไปยังภาคกลางจีน ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่า สินค้าที่จีนส่งไปยังยุโรปกับสินค้าที่ยุโรปส่งกลับมาเป็นสินค้าประเภทไม่เหมือนกัน จึงไม่เป็นการแข่งขันโดยตรงทางการค้า และเป็นการส่งออกเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สินค้าจากภาคตะวันออกที่จีนส่งออกไปยุโรปยังใช้เส้นทางการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก โดยขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือรอตเทอร์ดามก่อนแล้วค่อยกระจายไปทั่วยุโรป นอกจากนี้ นักธุรกิจยุโรปใช้เส้นทางฉงชิ่ง-ซินเจียง-ยุโรปน้อยมากเมื่อเทียบกับนักธุรกิจจีน เนื่องจากสินค้าที่จีนนำเข้าจากเยอรมันครองสัดส่วนเกือบร้อยละ 50 ของสินค้าที่จีนนำเข้าจากยุโรป ส่วนใหญ่แล้วเป็นรถยนต์ และสินค้าเทคโนโลยีที่มีน้ำหนักมาก ซึ่งใช้วิธีการขนส่งทางทะเลเป็นหลัก

ผ่านด่านสะดวก เปิด “ไฟเขียว” ตลอดทาง

จากรัฐบาลเจิ้นโจวเริ่มทำการวิจัยและประสานงานกับประเทศต่างๆ จนถึงการเปิดเส้นทางรถไฟเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กอย่างเป็นทางการ ใช้ระยะเวลาเพียงครึ่งปี และเพื่อลดขั้นตอนในการผ่านด่านและการตรวจสอบสินค้า สินค้าจะถูกตรวจสอบจากต้นทางที่นครเจิ้นโจวเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะไม่มีการตรวจสอบระหว่างทางใดๆ (ยกเว้นกรณีมีสินค้าประเภทพิเศษหรือมีการเกิดโรคระบาด) แล้วจะมีการตรวจสอบผ่านด่านอีกครั้งหลังจากถึงเมืองฮัมบูร์ก

แผนพัฒนาเครือข่ายเส้นทางรถไฟขนส่งข้ามชาติในอนาคต

ช่วง 4 -5 ปีที่ผ่านมา จีนได้เร่งการดำเนินการก่อสร้างระบบรางรถไฟอย่างต่อเนื่อง นอกจากโครงการระบบรางภายในประเทศ และเส้นทางรถไฟข้ามชาติอย่างเช่นรถไฟสายฉงชิ่ง – ซินเจียง – ยุโรปและเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กข้างต้นแล้ว ยังรวมถึงเส้นทางรถไฟสายแพนเอเชีย (Pan – Asia Railway) ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟข้ามชาติอีกสายหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่จับตา


สำหรับเส้นทางรถไฟเจิ้นโจว – ฮัมบูร์กดังกล่าวนั้น ภายในปีนี้จะมีการเปิดให้บริการ 6 เที่ยว และตั้งเป้าส่งออกและนำเข้าสินค้ามูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อถึงปี 2557 จะเพิ่มเที่ยวรถไฟถึง 50 เที่ยว เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออกและนำเข้าสินค้ามูลค่ามาก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ นครเจิ้นโจวกำลังพิจารณาเปิดเส้นทางรถไฟขนส่งคาร์โกเจิ้นโจว – อัลมาตี เจิ้นโจว – มอสโก และเจิ้นโจว – ไคลเปดาในเวลาที่เหมาะสม

ส่วนโครงข่ายรถไฟสายแพนเอเชียแบ่งได้เป็น 3 สาย ได้แก่

1) สายตะวันออก เริ่มต้นที่นครคุนหมิง ผ่านเมือง เหมิงจื้อ เมืองเหอโขว่ของมณฑลยูนนาน เข้ากรุงฮานอย และนครโฮจิมินห์ของเวียดนาม แล้วเข้าสู่กรุงพนมเปญของกัมพูชา กรุงเทพฯ ของไทย กรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียและปลายทางที่สิงคโปร์

2) สายตะวันตก เริ่มต้นที่นครคุนหมิง ผ่านเมืองต้าหลี่ และเมืองรุ่ยลี่ แล้วเข้าเมืองย่างกุ้งของเมียนมาร์ ต่อไปยังกรุงเทพฯ ของไทย โดยช่วงนครคุนหมิง – เมืองต้าหลี่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว

3 )สายกลาง เริ่มต้นที่นครคุนหมิง ผ่านเมืองจิ่งหง มณฑลยูนนาน แล้วเข้าสู่เวียงจันทน์ของลาว และกรุงเทพฯ ของไทย

ปัจจุบัน กรมรถไฟนครคุนหมิงกำลังเร่งการดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายตะวันตก สำหรับช่วงเหมิงจื้อ – เหอโขว่ของสายตะวันออกซึ่งสร้างเสร็จแล้วร้อยละ 64 และคาดว่าจะสามารถก่อสร้างเสร็จสิ้นได้ภายในปลายปีหน้า เมื่อเหมิงจื้อ – เหอโขว่สร้างเสร็จสิ้น จะสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายระบบรางของเวียดนาม ส่งผลให้ช่วยเพิ่มขีดความสารถการขนส่งสินค้าระหว่างจีน – เวียดนาม ตลอดจนเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอาเซียนอื่น ๆ ไปด้วย

ในอนาคต ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยเฉพาะมณฑลยูนหนาน จะอาศัยเส้นทางรถไฟแพนเอเชียนี้ก้าวเข้าสู่ตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดในประเทศอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2013 9:42 pm    Post subject: Reply with quote

ผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจากความสัมพันธ์กับจีน ในรอบ 20 ปี - มุมมองอาเซียน
ข่าวเศรษฐกิจ เดลินิวส์
วันพุธที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 00:00 น.
ทางด้านการเชื่อมต่อด้านคมนาคมนั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมบูรณาการทางด้านเศรษฐกิจอาเซียนกับจีน ถนนไฮเวย์ระหว่างคุนหมิง ถึงกรุงเทพฯ (Kunming–Bangkok Highway) ซึ่งจะผ่านลาว และต่อเนื่องไปถึงมาเลเซีย และสิงคโปร์ จะเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 2013 นี้

ส่วนทางรถไฟคุนหมิง สิงคโปร์ (Kunming– Singapore Railway) ก็ก้าวหน้าไปด้วยดี โดยฝ่ายจีนได้สร้างรางรถไฟของตนเองมาจ่ออยู่ที่ชายแดนลาว เวียดนาม พม่า พร้อมที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่ประเทศไทย ทันทีที่ฝ่ายไทยมีความพร้อม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2013 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

จีนเร่งการก่อสร้างทางรถไฟแพนเอเชีย ปัจจุบันสร้างแล้วเสร็จไป 150 กิโลเมตร
2013-09-04 13:42:50 cri

สำนักข่าวซินหวารายงานว่า เมื่อวันที่ 2 กันยายนที่ผ่านมา นายหลู ชุนฝาง รองผู้จัดการใหญ่บริษัทการรถไฟจีนกล่าวในที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการคมนาคมขนส่งว่าด้วยการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างจีน-อาเซียนที่กำลังจัดขึ้นที่เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซีว่า การที่จีนวางนโยบายเร่งสร้างทางรถไฟได้นำโอกาสสำคัญให้กับการก่อสร้างทางรถไฟแพนเอเชีย ขณะนี้ ทางรถไฟแพนเอเชียภายในดินแดนจีนได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นระยะทาง 150 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างประมาณ 650 กิโลเมตร ตลอดจนมีการเตรียมการก่อสร้างอีก 700 กิโลเมตร

ตามแผนการที่กำหนดไว้ สายตะวันออกของทางรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิงผ่านกรุงฮานอยถึงสิงคโปร์มีระยะทางทั้งหมด 5,450 กิโลเมตร ภายในดินแดนจีนมีระยะทาง 377 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มต้นจากเมืองคุนหมิงลงใต้สู่เมืองอี้ซี ผ่านเมืองเหมิงจื้อถึงเมืองเหอโข่วของมณฑลยูนนาน ส่วนสายกลางของทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากเมืองคุนหมิงผ่านกรุงเวียงจันทน์ถึงกรุงเทพฯ โดยมีระยะทางทั้งหมดประมาณ 3,900 กิโลเมตร ภายในดินแดนจีนมีระยะทางประมาณ 600 ตารางเมตร ซึ่งเริ่มจากเมืองคุนหมิง ผ่านเมืองอี้ซี ซือเหมา เชียงรุ้ง ซ่างหย่งและบ่อหาน และสายตะวันตกของทางรถไฟแพนเอเชียเริ่มจากเมืองคุนหมิงผ่านเมืองกว่างทง ต้าหลี่ เป่าซานถึงเมืองรุ่ยลี่ของจีนโดยมีระยะทางประมาณ 600 กิโลเมตร จากนั้นได้เข้าสู่ดินแดนเมียนมาร์ ซึ่งจากเมืองย่างกุ้งถึงสิงคโปร์มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 4,760 ตารางเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2013 11:16 am    Post subject: Reply with quote

ทำไมจีนอยากสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในอาเซียน?
โดย Prach
Voice TV
30 กันยายน 2556 เวลา 08:01 น.


ทางการจีนกำลังเสนอให้เงินกู้ และช่วยสร้างทางรถไฟความเร็วสูงในประเทศกลุ่มอาเซียนหลายประเทศ เช่น เมียนมาร์ ไทย และลาว อะไรทำให้จีนสนใจสร้างทางรถไฟในดินแดนแถบนี้นัก?

จีนอยู่ระหว่างการให้เงินกู้ประเทศลาว เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากเมืองคุนหมิง เมืองเอกในมณฑลยูนนาน ของจีน เชื่อมกับกรุงเวียงจันทน์ ของลาว โดยโครงการมูลค่าราว 200,000 ล้านบาทนี้ มีมูลค่าเกือบเท่ากับมูลค่าเศรษฐกิจภาคทางการของลาวทั้งระบบ

นอกจากนี้ จีนยังเสนอก่อสร้างทางรถไฟสายนี้ให้ โดยใช้แรงงานจีน 50,000 คน และมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 5 ปี ทางรถไฟสายนี้จะเชื่อมกับทางรถไฟสายอีสานของไทย ที่จังหวัดหนองคาย ทำให้กรุงเทพฯ กับคุนหมิง เชื่อมต่อกันด้วยทางรถไฟเป็นครั้งแรก

ขณะเดียวกัน จีนยังมีแผนสร้างทางรถไฟจากคุนหมิงไปยังท่าเรือน้ำลึกจ้าวผิ่ว หรือเจียวเพียว ในรัฐยะไข่ ของเมียนมาร์ ทางรถไฟสายนี้จะใช้เงินกว่า 600,000 ล้านบาท ซึ่งทางการจีนจะให้เมียนมาร์กู้เงินสร้างเต็มมูลค่า

ไม่เฉพาะเส้นทางสายใหม่เท่านั้น แต่จีนยังเสนอให้เงินกู้หลายประเทศ เพื่อใช้ปรับปรุงระบบรางรถไฟที่ล้วนมีสภาพเก่า ทรุดโทรม และแทบไม่ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ยุคอาณานิคม

แต่เหตุใดจีนจึงอยากสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศในอาเซียนนัก?

คำตอบมีอยู่หลายประการ ประการแรกคือ การค้าระหว่างจีนกับอาเซียนเพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทำให้จำเป็นต้องมีระบบขนส่งสินค้าความจุมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น เมียนมาร์ และลาว ถึงแม้ไม่มีกำลังซื้อมาก และยังผลิตสินค้าส่งออกได้ไม่มาก แต่ก็มีทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นที่ต้องการของจีน และยังเป็นทางผ่านไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาค

ประการที่สอง ต้นทุนการขนส่งทางรถไฟนั้นจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งได้ ปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างจีน และประเทศอาเซียนแถบภาคพื้นทวีป ใช้รถและเรือเป็นหลัก แต่การขนส่งทางรถมีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่การขนส่งทางเรือใช้เวลานาน และต้องอ้อมขึ้นที่ท่าเรือทางภาคตะวันออกของจีน ก่อนลำเลียงสินค้าเข้าไปในมณฑลทางภาคตะวันตกของจีนอีกทอดหนึ่ง ทำให้ต้นทุนสูงกว่าการขนส่งโดยตรงทางรถไฟ

ประการที่สาม การทำให้คุนหมิงเป็นจุดส่งสินค้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะทำให้เศรษฐกิจของคุนหมิง และมณฑลยูนนาน ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเล เติบโตขึ้น อันจะเป็นการกระจายความเจริญจากชายฝั่งภาคตะวันออกเข้ามาสู่มณฑลชั้นใน

ประการที่สี่ จีนไม่มีดินแดนติดมหาสมุทรอินเดีย การเชื่อมต่อระบบรถไฟจีนกับท่าเรือน้ำลึกในเมียนมาร์ จะทำให้จีนสามารถขนส่งสินค้าในมหาสมุทรอินเดียได้สะดวกขึ้น ความสำคัญของเมียนมาร์ ในฐานะเป็นทางออกทางทะเลของจีนนั้น ไม่สำคัญเฉพาะด้านการค้า แต่รวมถึงด้านยุทธศาสตร์การทหารด้วย และนี่ก็คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่จีนเป็นพันธมิตรที่เหนียวแน่นกับรัฐบาลทหารเมียนมาร์มาตลอด

ประการสุดท้าย การเชื่อมต่อระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน จะช่วยให้จีนถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐฯ ในภูมิภาคนี้ได้ ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียน เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะไทยและฟิลิปปินส์ ที่ถือเป็นพันธมิตรหลัก ในสถานการณ์ที่สหรัฐฯ เริ่มเปลี่ยนนโยบายการต่างประเทศ มาให้ความสำคัญกับเอเชียตะวันอกเฉียงใต้มากขึ้น จีนจำเป็นต้องแข่งกับสหรัฐฯ จีบประเทศในภูมิภาคนี้ และวิธีหนึ่งในการเพิ่มอิทธิพลของจีนในอาเซียน ก็คือการทำให้ประเทศอาเซียนมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับจีนมากยิ่งขึ้น
by Prach
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 01/10/2013 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

เหมือนโฆษณาชวนเชื่อยังไงก็ไม่รู้ครับ ? ผมคิดเช่นนั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2013 12:24 am    Post subject: Reply with quote



ระหว่างงาน Kunming Fair ทำให้ทราบว่า ทางรถไฟจากคุนหมิงไปด่านบ่อหานกำลังก่อสร้างอยู่

//-------------------------------------------------------------

เครือข่ายเชื่อมโยงคมนาคมในยูนนานรุดหน้า: โอกาสเชื่อมไทยกับจีนตะวันตก


ภายในปี 2563 มณฑลยูนนานจะมีเส้นทางรถไฟระหว่างมณฑล 8 สาย ได้แก่ ยูนนาน-ทิเบต คุนหมิง-หนานหนิง คุนหมิง-เสฉวน คุนหมิง-กุ้ยหยาง คุนหมิง-เฉิงตู ยูนนาน-กวางสี คุนหมิง-ฉงชิ่ง และคุนหมิง-เซี่ยงไฮ้ และเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงออกต่างประเทศ 4 สาย ซึ่งอยู่ในแนวเดียวกับเส้นทางรถไฟ Singapore-Kunming Rail Link (SKRL) ได้แก่ จีน-เวียดนาม จีน-ลาว-ไทย จีน-เมียนมาร์ และจีน-เมียนมาร์-อินเดีย ประกอบขึ้นเป็นเส้นทางรถไฟ “8 สายเข้ายูนนาน 4 สายออกต่างประเทศ” โดย ณ สิ้นปี 2553 มณฑลยูนนานมีเส้นทางรถไฟระยะทางประมาณ 2,500 กม. และตั้งเป้าหมายจะมีเส้นทางรถไฟที่เปิดใช้งาน 5,000 กม. ภายในปี 2558

ตามที่ สำนักข่าวซินหัวในมณฑลยูนนาน รายงานเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 และ ข้ามแดนชมเส้นทางรถไฟในยูนนาน รายงาน มีรายละเอียดดังนี้

1. ทางรถไฟสาย ยูนนาน-ทิเบต (滇藏铁路) ระยะทาง 1,950 กม. ขณะนี้ ช่วงคุนหมิง-แชงกรีล่า เดิมมีอยู่แล้ว ช่วงแชงกรีล่า-ทิเบต คาดแล้วเสร็จปี 2558 เวลาเดินทางยังกำหนดไม่ได้

2. ทางรถไฟสาย คุนหมิง-หนานหนิง (南昆铁路) ระยะทาง 898 กม. ที่มีอยู่แล้ว ใช้ เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง

3. ทางรถไฟสาย คุนหมิง-เสฉวน (内昆铁路 - เน่ยเจียง – หลูโจว – อี๋ปิน – คุนหมิง) ระยะทาง 872 กม. ที่มีอยู่แล้ว ใช้ เวลาเดินทาง 18 ชั่วโมง

4. ทางรถไฟสาย คุนหมิง-กุ้ยหยาง (贵昆铁路) ระยะทาง 828 กม. ที่มีอยู่แล้ว ใช้ เวลาเดินทาง 12 ชั่วโมง

5. ทางรถไฟสาย คุนหมิง-เฉิงตู (ด่วน 200 กม/ชม - 成昆铁路复线) ระยะทาง 737 กม. ที่หมายใจว่าจะเสร็จ ปี 2563 กะว่าจะ ใช้ เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง เพื่อมาทดแทน ทางรถไฟ สาย คุนหมิง-เฉิงตู (成昆铁路) ที่เปิดการเดินรถแต่ปี 2508 ซึ่งใช้เวลาเดินทาง 19 ชั่วโมง รวมมูลค่าการลงทุนราว 55,200 ล้านหยวน เริ่มการก่อสร้างเมื่อปี 2552 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2557

6. ทางรถไฟสาย ยูนนาน-กวางสี (ช่วงยูนนาน ด่วน 200 กม/ชม และช่วงกว่างซี ความเร็วสูง 250 กม/ชม - 云桂铁路 - หนานหนิง – ไป่เซ่อ - เหวินซาน – คุนหมิง) ระยะทาง 715.8 กม. ที่หมายใจว่าจะเสร็จ ปี 2559 กะว่าจะ ใช้ เวลาเดินทาง 4-5 ชั่วโมง แทนเส้นทางเดิมที่ใช้เวลาตั้ง 12 ชั่วโมง รวมมูลค่าการก่อสร้าง 89,920 ล้านหยวน เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2552 และคาดว่าจะใช้เวลาราว 6 ปีจึงจะแล้วเสร็จ

7. ทางรถไฟสาย คุนหมิง- มหานครฉงชิ่ง (渝昆铁路 ความเร็วสูง 250 - 350 กม/ชม. - รับเฉพาะคนโดยสาร) ระยะทาง 700 กม. ที่หมายใจว่าจะเสร็จ ปี 2563 กะว่าจะ ใช้ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง แทนทางเก่าที่ใช้เวลาเดินทางตั้ง 22 ชั่วโมง ขณะเดียวกันเส้นทางรถไฟสายดังกล่าวจะเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสายนครเจิ้งโจว (มณฑลเหอหนาน) – ฉงชิ่ง และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง – ฮ่องกง ซึ่งจะทำให้การเดินทางจากคุนหมิง – เจิ้งโจว ใช้เวลาเพียง 6 ช.ม. (เดิมใช้เวลา 34 ช.ม.) และคุนหมิง – ปักกิ่ง ใช้เวลา 9 ช.ม. (เดิมใช้เวลา 48 ช.ม.) เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2554 คาดว่าจะใช้เวลาราว 4 – 5 ปีจึงจะแล้วเสร็จ

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงฉงชิ่ง – คุนหมิง นับเป็นเส้นทางรถไฟสายหลักที่สำคัญในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ได้เข้าสู่แผนเครือข่ายเส้นทางรถไฟระยะกลาง – ยาวของจีนในปี 2551 และเป็นเส้นทางที่ถูกวางแผนให้เชื่อมกับเส้นทางเจิ้งโจว-ฉงชิ่ง และเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน รวมถึงเส้นทางรถไฟแพนเอเชีย ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่ประสานเศรษฐกิจจากจีนรอบทิศทางสู่อาเซียน โดยเฉพาะฉงชิ่งและเฉิงตูผ่านคุนหมิงสู่อาเซียน (มหานครฉงชิ่ง เป็นศูนย์กลางการคมนาคมระบบรางสำหรับผู้โดยสารที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจีน รองจากปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และอู่ฮั่น)

8. ทางรถไฟสาย คุนหมิง - มหานครเซี่ยงไฮ้ (上海 - 昆明 ความเร็วสูง 350 กม/ชม. - รับเฉพาะคนโดยสาร) ระยะทาง 2,181 กม. ที่หมายใจว่าจะเสร็จ ปี 2558 กะว่าจะ ใช้ เวลาเดินทาง 8 ชั่วโมง โดยเชื่อมกะ ทางรถไฟสาย กวางโจว - นครเซี่ยงไฮ้ ที่เปิดการเดินรถแล้วแต่ปลายปี 2553 เป็นเส้นทางที่สร้างขึ้นตาม “แผนพัฒนาเส้นทางรถไฟระยะกลาง-ยาวของจีน 8 เส้นทาง” *** เริ่มต้นจากมหานครเซี่ยงไฮ้ – เมืองหังโจว (มณฑลเจ้อเจียง) – เมืองหนานชาง (มณฑลเจียงซี) – นครฉางซา (มณฑลหูหนาน) – นครกุ้ยหยาง (มณฑลกุ้ยโจว) – นครคุนหมิง (มณฑลยูนนาน) มีระยะทางยาวประมาณ 2,100 กม. รองจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายปักกิ่ง-ฮ่องกง ซึ่งมีความยาวมากที่สุดในจีน ( 2,360 กม. ) ถูกออกแบบให้สามารถรองรับความเร็วได้ถึง 350 กม./ชม. มูลค่าการลงทุนประมาณ 280,000 ล้านหยวน และเป็นเส้นทางที่จะเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเซี่ยงไฮ้-ปักกิ่ง ดังนี้

ทางรถไฟสาย คุนหมิง - มหานครเซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 2,181 กม.ใช้เวลาเดินทาง 10 ชั่วโมง (เดิมใช้เวลา 37 ชม.) โดยจะแบ่งการก่อสร้างเป็นตอนๆ ดั่งนี้

เซี่ยงไฮ้ – หังโจว เริ่ม ก.พ. 2552 เปิดการเดินรถ ตั้งแต่ ต.ค. 2553
หังโจว – ฉางซา เริ่ม ธ.ค. 2552 เสร็จ ปลายปี 2557
ฉางซา - คุนหมิง เริ่ม มี.ค. 2553 เสร็จ ปลายปี 2558

ทางรถไฟสาย มหานครเซี่ยงไฮ้ - กรุงปักกิ่ง ระยะทาง 1,200 กม.ใช้เวลาเดินทาง 5 ชั่วโมง (เดิมใช้เวลา 11 ชม.)


ส่วนทางรถไฟที่เชื่อมมณฑลยูนนานกะเพื่อนบ้าน ที่กำลังทำอยู่ มี 4 สายได้แก่

1. สายตะวันออก คุนหมิง- ด่าน เหอโข่ว (เชื่อมเวียดนาม) ระยะ ทาง 390 กม. ประกอบด้วย

1.1. คุนหมิง-ยวี่ซี 108 กม. ปัจจุบันเป็นรถไฟธรรมดา กำลังพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูง เริ่มก่อสร้าง มิ.ย.2552 คาดเสร็จในปี 2557

1.2. ยวี่ซี-เมิ่งจื้อ เปิดใช้งาน 23 ก.พ.2556 ระยะทาง 141 กม.

1.3. เมิ่งจื้อ-เหอโข่ว 141 กม. เริ่มก่อสร้าง ก.ค. 2552 คาดเสร็จ ก.ย. 2557

2. สายกลาง คุนหมิง- ด่านบ่อหาน (เชื่อมลาว) ระยะทาง 596 กม.

2. 1. คุนหมิง-ยวี่ซี เป็นเส้นทางเดียวกับคุนหมิง-ยวี่ซีของสายตะวันออก

2.2. ยวี่ซี-บ่อหาน (ยวี่ซี่-ผูเอ่อร์- เมืองจิ่งหง (เมืองเชียงรุ้ง) - ด่านบ่อหาน) 488 กม. ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง ได้รับบรรจุในแผนระยะกลางและระยะยาวด้านการพัฒนาเส้นทางรถไฟของรัฐบาลกลาง

3 สายตะวันตก คุนหมิง- ด่านรุ่ยลี่ (ด่าน เมืองเมา เชื่อมพม่า) ระยะทาง 612 กม.

3.1. คุนหมิง-ต้าหลี่ กำลังขยายเส้นทาง คาดแล้วเสร็จ พ.ค.2560 ร่นเวลาเดินทางเหลือ 2 ชม. แบ่งเป็น 2 ช่วง

3.1.1 คุนหมิง-กว่างทง 107 กม. เริ่มก่อสร้าง ต.ค. 2550 คาดเปิดใช้สิ้นปี 2556
3.1.2 กว่างทง-ต้าหลี่ 175 กม. เริ่มก่อสร้างปลายปี 2555

3.2. ต้าหลี่-เป่าซาน 134 กม. เริ่มก่อสร้าง มิ.ย.2551 คาดเสร็จปี 2557

3.3. เป่าซาน-รุ่ยลี่ 196 กม. เริ่มก่อสร้าง พ.ค. 2554 คาดเสร็จปี 2561

4. สายเหนือ คุนหมิง-โหวเฉียว -> เส้นทางภายในประเทศส่วนใหญ่ใช้เส้นทางเดียวกับสายตะวันตก โดยแยกจากเมืองเป่าซานไปยังด่านโหวเฉียว อำเภอเถิงชง เพื่อเชื่อมต่อไปยัง เมียนมาร์ บังกลาเทศ และอินเดีย ช่วงเป่าซาน-โหวเฉียวยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้าง อยู่ระหว่างการดำเนินงานขั้นต้น

โดยปี 2556 รัฐบาลยูนนานเตรียมงบประมาณก่อสร้างเส้นทางรถไฟ 21,700 ล้านหยวน หรือกว่า 1 แสนล้านบาท มากกว่าปี 2555 ถึง 1 เท่าตัว ตามที่ สำนักข่าวซินหัวในมณฑลยูนนาน รายงานเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2013 1:41 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Yuxi-Mengzi: China's newest railway
GoKunming.com 9 May 2013


ตรวจจาก Baidu และ ข่าว china news ทำให้รู้ว่าตอนนี้มีรถเดิน 2 คู่คือ

ขบวน L9656/L9657 คุนหมิง - อิ๋วซี - เมิ่งจื่อเหนือ - - เพิ่มเข้ามาเพื่อสนองความต้องการที่ เพิ่มขึ้น
ขบวน L9658/L9655 คุนหมิง - อิ๋วซี - เมิ่งจื่อเหนือ - ออกคุนหมิง 15.00 น. ถึง เมิ่งจื่อเหนือ 20.02 น.

ส่วนการคิดค่าตั๋ว คิดดั่งนี้
Click on the image for full size
คุนหมิง - อิ๋วซี ระยะทาง 108 กิโลเมตร คิดที่ 29 หยวน
อิ๋วซี - เมิ่งจื่อเหนือ ระยะทาง 150 กิโลเมตร คิดที่ 36.50หยวน
คุนหมิง - อิ๋วซี - เมิ่งจื่อเหนือ ระยะทาง 258 กิโลเมตร คิดที่ 49.50 หยวน

ตอนนี้กะให้ทางรถไฟสายนี้ส่งเสริมการท่องเที่ยวกะเวียตนาม ด้วยแม้ยังไมใ่เชื่อมกะด่านลาวกายก็ตามที
http://society.eastday.com/society/2013-10-09/841827.html
http://baike.baidu.com/picview/2447403/2447403/0/e1fe9925bc315c60ff8691b98cb1cb1349547751.html#albumindex=0&picindex=1
http://baike.baidu.com/view/2447403.htm
http://www.chinanews.com/df/2013/10-07/5347481.shtml
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2013 8:44 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟหนานหนิงพัฒนางานขนส่งผลไม้ทางรถไฟเชื่อมอาเซียน (เวียดนาม)

โดย : นายกฤษณะ สุกันตพงศ์
Last Update : 18 ตุลาคม 2556

แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ http://www.people.com.cn/ (人民网) (08 ตุลาคม 2556)
ที่มา : http://203.86.76.53/epaper/
ที่มา : http://203.86.76.53/epaper/
เว็บไซ์ข่าวประชาชน-นครหนานหนิง : อานิสงส์จากเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนช่วยให้ปริมาณการนำเข้าส่งออกผลไม้ระหว่างจีนกับอาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

กว่างซีเป็นแหล่งผลิตผลไม้เมืองร้อนแห่งหลักของประเทศจีน ผลไม้ที่ผลิตได้ อาทิ กล้วยหอมลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง กีวี ส้มชนิดต่าง ๆ องุ่น ส้มโอ เป็นต้น

พัฒนาการของธุรกิจผลไม้ในกว่างซีเริ่มเติบโตขึ้นจากการค้า “ภายในประเทศ” ไปสู่การค้า “ต่างประเทศ” อีกทั้ง รูปแบบและปริมาณการค้าก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากสินค้า “หาบเร่” ไปสู่ “รถบรรทุกขนาดใหญ่”

“อำเภอระดับเมืองผิงเสียง” (Pingxiang City, 凭祥市) เป็นเมืองหน้าด่านการค้าผลไม้แห่งสำคัญของกว่างซี (ติดกับจังหวัด Langson ของเวียดนาม) เนื่องจากอำเภอแห่งนี้เป็นที่ตั้งของด่านสากล และด่านชั้นสอง (ด่านการค้าชายแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน) อีกหลายแห่ง

โดยเฉพาะ “ด่านโหย่วอี้กวาน” (Youyiguan Border, 友谊关口岸) ด่านที่ผู้ประกอบการผลไม้ไทยรู้จักในฐานะด่านนำเข้าส่งออกผลไม้ ภายใต้พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทยและจีน (บนเส้นทาง R9)

ณ ปัจจุบัน อำเภอระดับเมืองผิงเสียง ถือเป็นเมืองหนึ่งเดียวของจีนที่มีเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศเชื่อมสู่อาเซียน (สิ้นสุดที่สถานี Gia Lam ในกรุงฮานอยของประเทศเวียดนาม)

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานการไฟรถนครหนานหนิง (Nanning Railways Bureau, 南宁铁路局) ได้แสดงการสนับสนุนอุตสาหกรรมผลไม้ของกว่างซี เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมผลไม้ของกว่างซีเติบโตอย่างมีสถียรภาพ ส่งเสริมรายได้ของเกษตรกร ช่วยเหลือเกษตรกรขยายช่องทางการจำหน่ายผลไม้ และส่งเสริมการค้าผลไม้ระหว่างกว่างซีกับอาเซียน

การดำเนินงานของสำนักงานฯ อาทิ การพัฒนางานขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ การเสริมกำลังคนและอุปกรณ์ขนถ่าย รวมถึงการพัฒนาระบบนัดหมายตรวจสอบและผ่านพิธีการศุลกากรและจองตู้ล่วงหน้า เพื่อร่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าให้สั้นที่่สุด ลดต้นทุนให้ต่ำที่สุด และยกระดับการขนส่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด การใช้อุปกรณ์รักษาอุณหภูมิความเย็น เพื่อรักษาาความสดของผลไม้ โดยเฉพาะในสภาวะที่อากาศร้อนจัด

นอกจากนี้ ยังประสานร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงานด้านการตรวจปล่อยสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานศุลกากร สำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (CIQ)

ตามรายงาน ช่วงครึ่งปีแรก ปี 56 สถานีรถไฟผิงเสียง มีสินค้าผ่านเข้าออกสะสมมากกว่า 4 แสนตัน

BIC ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ผลไม้ไทยยังไม่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้าส่งออกผ่านด่านรถไฟของจีนแต่อย่างใด จึงเป็นที่มาของวลีในธุรกิจผลไม้ไทย-จีนที่ว่า “เปลี่ยนชฎาไปสวมชุดอ๋าวหญ่าย” รวมถึงการใช้ประโยชน์จากด่านชั้นสอง (จุดผ่อนปรนการค้าชายแดน)

ผลไม้เวียดนามที่ทางการจีนอนุญาตการนำเข้า มีทั้งสิ้น 8 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย กล้วยหอม ลิ้นจี่ แตงโต เงาะ ขนุน และแก้วมังกร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2013 8:47 pm    Post subject: Reply with quote

กว่างซีชูจุดแข็ง “เส้นทางรถไฟ” เชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้ากับอาเซียน
โดย : นายกฤษณะ สุกันตพงศ์
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
10 กันยายน 2556
แหล่งข้อมูล : เว็บไซต์ http://www.gx.xinhuanet.com (广西新华网) ประจำวันที่ 08 กันยายน2556 และเว็บไซต์ http://gx.people.com.cn (广西人民网) เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง /
ที่มา : http://www.gxnews.com.cn/
ที่มา : http://www.gxnews.com.cn/
สำนักข่าวซินหัว : ทางการกว่างซีเดินหน้าสร้าง “ความเชื่อมโยง” (Connectivity) เพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์การเป็น “ประตูสู่อาเซียน” (Gateway to ASEAN)

ทางการกว่างซีให้ความสำคัญกับการบูรณาการระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค

การรถไฟกว่างซีเป็นหนึ่งในเครื่องมือคมนาคมขนส่งที่แสดงบทบาทความสำคัญในฐานะเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของมณฑล

ปัจจุบัน กว่างซีเป็นมณฑลเดียวของประเทศจีนที่มีเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศเชื่อมต่อกับอาเซียน (เวียดนาม) โดยผ่านอำเภอระดับเมืองผิงเสียง (Pingxiang City, 凭祥市) เมืองชายแดนที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยของเวียดนามเพียง 167 กิโลเมตร

ความเป็นมาของเส้นทางรถไฟจีน-เวียดนาม เมื่อวันที่ 1 ส.ค.2498 ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มเปิดการขนส่งทางรถไฟระหว่างประเทศ ก่อนจะหยุดให้บริการเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2521 จากสภาวะตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสองฝ่าย และกลับมาให้บริการอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2539

เมื่อปี 2546 “นครหนานหนิง” ได้รับการกำหนดเป็นสถานที่จัดงานถาวรของงานมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน (CAEXPO) และการเริ่มดำเนินนโบบายลดภาษีบางส่วนทันที (Early Harvest Program) ส่งผลให้สินค้าที่ขนส่งผ่านด่านรถไฟผิงเสียงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ในในปีนั้น มีสินค้านำเข้าส่งออกผ่านด่านรถไฟฯ คิดเป็นน้ำหนัก 2.48 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 55 จนกระทั่งเมื่อปี 2550 ปริมาณสินค้าได้ทะลุหลักล้านตันเป็นครั้งแรกด้วยจำนวน 1.078 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 57

“ต้นทุนต่ำ” เป็นจุดแข็งที่ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้การขนส่งทางรถไฟมากขึ้น ปัจจุบัน กว่างซีใช้รถไฟส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักร วัสดุเหล็ก วัสดุก่อสร้าง และปุ๋ยเคมีไปยังเวียดนาม และมีการนำเข้าสินแร่ รวมถึงสินค้าเกษตรจากเวียดนาม

ปัจจุบัน มีขบวนรถไฟขนส่งสินค้าระหว่างประเทศให้บริการวันละ 3 เที่ยว มีปริมาณสินค้าส่งออกปีละกว่า 5 แสนตัน

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งเส้นทาง “รถไฟสายเต๋อป่าว-จิ้งซี” (Debao-Jingxi Railway, 德保-靖西铁路) ในเมืองไป่เซ่อ (Baise City, 百色市) เริ่มงานก่อสร้างเมื่อเดือน ก.พ.2553 และเริ่มเปิดใช้บริการไปแล้วเมื่อ 18 พ.ค.2556

รถไฟสายดังกล่าวเป็นช่วงต่อขยายจากรถไฟสายหนานคุน (นครหนานหนิงกับนครคุนหมิง) โดยขยายเส้นทางออกมายังอำเภอเถียนตง – อำเภอเต๋อป่าว – อำเภอจิ้งซี (อำเภอชายแดนติดเวียดนาม)

ความสำคัญของเส้นทางดังกล่าว ปัจจุบัน มีการใช้สำหรับการขนส่งสินค้าเชิงทรัพยากรจากเวียดนามเป็นหลัก (เช่น สินแร่เหล็ก ถ่านหิน) ถือเป็นเส้นทางรถไฟสายใหม่ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีนกับเวียดนามต่อจากเส้นทางผิงเสียง-ฮานอย

แม้ว่าปัจจุบันรถไฟสายนี้จะวิ่งเฉพาะในกว่างซี ทว่า เส้นทางนี้มีความพร้อมที่จะเชื่อมกว่างซีเข้ากับจังหวัด Cao Bang ของประเทศเวียดนามได้ในอนาคต

//-------------------------------------------------------------------------

หนึ่งเดียวของเส้นทางรถไฟเชื่อมอาเซียนของจีนมีผู้ใช้บริการแล้วกว่า 1.3 แสนคน
โดย : นายกฤษณะ สุกันตพงศ์
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครหนานหนิง
27 สิงหาคม 2556
แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ Modern Life (当代生活报) ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2556 และเว็บไซต์ http://zh.wikipedia.org เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง /

หนังสือพิมพ์ Modern Life : ขบวนรถ T8701/2 เป็นเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศเชื่อมอาเซียน (เวียดนาม) เพียงเส้นทางเดียวของจีนในปัจจุบัน

เส้นทางรถไฟสายดังกล่าวเริ่มเปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 จนถึงปัจจุบัน โดยมีกรมการรถไฟนครหนานหนิง (Nanning Railway Bureau, 南宁铁路局) เป็นผู้รับดำเนินการ

สถานีต้นทางอยู่ในนครหนานหนิง (สถานีรถไฟหนานหนิง หรือ “หนานหนิงหั่วเชอจ้าน”) ผ่านเมืองฉงจั่ว และอำเภอระดับเมืองผิงเสียง ก่อนเข้าสู่จังหวัด Langson ของเวียดนาม ผ่านจังหวัด Bac Giang และสิ้นสุดสถานีในกรุงฮานอย (สถานี Gia Lam) รวมระยะทาง 396 กิโลเมตร

ตลอดระยะเวลา 4 ปีกว่าของการให้บริการ พบว่า ผู้โดยสารมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยตลอด จาก 9,490 คนในปี 2552 เพิ่มเป็น 23,896 คนในปี 2553 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 152) ต่อมาในปี 2554 จำนวนผู้โดยสารเพิ่มเป็น 31,152 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30)

มาในปีก่อน (ปี 55) มีจำนวนผู้โดยสาร 39,396 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 26) และช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีจำนวน 26,903 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 16.2

BIC ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า รถไฟระหว่างประเทศจีน(กว่างซี)-เวียดนาม เลขขบวนรถที่ T8701/2 ให้บริการสัปดาห์ละ 2 เที่ยว ออกจากนครหนานหนิงเวลา 18:30 น. ตามเวลาท้องถิ่น และถึงสถานีปลายทางในกรุงฮานอยเวลา 05:00 น.ของวันถัดไป (รวมเวลาเดินทางราว 13 ชั่วโมง) ราคาบัตรโดยสาร(เตียงนอน)เที่ยวละ 290 หยวน

ปัจจุบัน การบริการยังไม่ได้รับความสะดวกรวดเร็วเท่าที่ควร เนื่องจากขบวนรถไฟจำเป็นต้องจอดพัก ณ ด่านพรมแดนผิงเสียงเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพื่อดำเนินพิธีการตรวจคนเข้าเมือง นับเป็นจุดอ่อนของการใช้บริการเส้นทางดังกล่าว ดังนั้น ผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังนิยมใช้รถ บขส. มากกว่า

ที่สำคัญ ขบวนรถ T5/6 ที่ออกจากสถานีรถไฟปักกิ่งตะวันตก (เป่ยจิงซีจ้าน) มายังนครหนานหนิงยังสามารถเชื่อมต่อกับขบวนรถ T8701/2 ไปยังกรุงฮานอยได้เช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2013 9:07 pm    Post subject: Reply with quote

คุนหมิง ศูนย์กลางรถไฟความเร็วสูงในภูมิภาค ใต้จรดสิงคโปร์ ตะวันออกจรดเซี่ยงไฮ้
โดย : โกสินทร์ บุณยวัฒโนภาส
มณฑลยูนนาน / ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครคุนหมิง
22 สิงหาคม 2556
แหล่งข้อมูล : www.yn.xinhuanet.com (21 สิงหาคม 2556)

เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2556 เอกอัครราชทูตจีน ประจำมาเลเซีย กล่าวว่า จีนหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารถไฟความเร็วสูงระหว่างสิงคโปร์-มาเลเซียจะเกิดขึ้นโดยเร็ว และขยายเส้นทางต่อเนื่องไปยังทิศเหนือเพื่อเชื่อมต่อกับไทย ซึ่งจะทำให้เครือข่ายการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากนครคุนหมิงไปถึงสิงคโปร์เสร็จสมบูรณ์

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังได้กล่าวเมื่อปลายเดือน ก.ค. 2556 ว่า แผนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสิงคโปร์-มาเลเซีย ได้รับการเห็นชอบจากรัฐบาลทั้งสองประเทศแล้ว โดยมีระยะทางกว่า 300 กม. ความเร็ว 350-450 กม./ช.ม. ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่างสิงคโปร์กับกัวลาลัมเปอร์ จาก 6 ช.ม.ในปัจจุบันให้เหลือเพียง 90 นาทีเท่านั้น คาดก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2563



เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสิงคโปร์-มาเลเซีย ถือเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟแพนเอเชียสายกลาง โดยในการประชุม World Congress on High Speed Rail ครั้งที่ 7 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง เมื่อปี 2553 จีน ลาว และไทย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ จะสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน ลาว และไทย

เมื่อปี 2553 รัฐสภาของลาวได้ลงมติเห็นชอบแผนการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างคุนหมิงกับเวียงจันทน์ โดยได้มีการเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เม.ษ. 2554 คาดแล้วเสร็จภายใน 4 ปี ใช้งบประมาณ 7,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ แบ่งเป็นฝ่ายจีนรับผิดชอบร้อยละ 70 ฝ่ายลาวรับผิดชอบร้อยละ 30 ขณะที่เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจาในการร่วมมือกับจีนก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 3 สาย คาดเริ่มก่อสร้างปี 2557

หากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสิงคโปร์-มาเลเซีย สามารถเกิดขึ้นได้จริง ก็จะทำให้เครือข่ายการเชื่อมต่อจากคุนหมิงไปถึงสิงคโปร์เสร็จสมบูรณ์ นอกจากนี้ หากผนวกกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงคุนหมิง-เซี่ยงไฮ้ ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 ช่วยให้การเดินทางระหว่างคุนหมิงกับเซี่ยงไฮ้ใช้เวลาเพียง 8 ช.ม. ก็เท่ากับว่า ภูมิภาคนี้จะมีเครือข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่มีระยะทางยาวมาก เชื่อมโยงเซี่ยงไฮ้ไปถึงสิงคโปร์ โดยมีคุนหมิงเป็นศูนย์กลางของเส้นทาง

ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายนี้ จะช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างจีนกับอาเซียน ซึ่งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อเทียบกับการขนส่งประเภทอื่นๆ แล้ว การขนส่งระบบรางมีศักยภาพสูงกว่า เร็วกว่า อีกทั้งยังสามารถขนส่งนักท่องเที่ยวจีนไปยังประเทศตามแนวเส้นทางรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 135, 136, 137  Next
Page 25 of 137

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©