RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180357
ทั้งหมด:13491591
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 134, 135, 136  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2015 10:22 am    Post subject: Reply with quote

นี่ครับ มีคนบอกว่าสำหรับรถไฟไทย - จีน (中泰铁路) จะเอา CRH2G แบบ 8 ตู้ทำขบวนรถโดยสาร เพราะ ทำได้เร็ว 250 kph และ เอา รถจักร HXD38 กะ HXD3C ทำขบวนรถสินค้าเพราะขนได้ 8พันตันต่อเที่ยว และ ทำขบวนได้เร็ว 120 kph http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1604117&page=25
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2015 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

"จีน" เร่งเส้นทางสายไหม ปักธงจองพื้นที่รถไฟ "ไทย-ลาว"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
23 ธันวาคม 2558เวลา 21:01:41 น.


คืบหน้าขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อม 3 ประเทศ "จีน-ลาว-ไทย" ถึงจะยังไม่ลงเข็มก่อสร้างต้นแรก แต่ได้ฤกษ์ทำพิธีเริ่มต้นโครงการให้เห็นถึงความคืบหน้าในเวลาไล่เลี่ยกัน

หลังจีนแสดงเจตนาแน่วแน่จะเข้ามาลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้ายุทธศาสตร์การพัฒนาเส้นทางสายไหมการขนส่งทางบกและทะเล โดยลากเส้นทางจากคุนหมิง เวียงจันทน์ ไทย ท่าเรือมาบตาพุด และกรุงเทพฯ เพื่อขนส่งสินค้าจากจีน-ลาวส่งออกทางทะเล ขณะเดียวกันรับนักท่องเที่ยวจีนจากมณฑลยูนนานมาไทยไปปลายทางที่กรุงเทพฯ และจังหวัดในหัวเมืองหลัก

สำหรับ "รถไฟจีน-ลาว" เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2558 ทั้งรัฐบาลจีนกับรัฐบาลลาวได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์โครงการ ณ กรุงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าการสร้างเส้นทางรถไฟจีน-ลาวได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ หลังเจรจากันมานานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ปี 2553

โดยแนวเส้นทางเริ่มจากชายแดนบ่อหานของจีน ผ่านชายแดนบ่อเต็นของลาวเข้าสู่เวียงจันทน์ รวมระยะทาง 418 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 6,280 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯหรือประมาณ 226,080 ล้านบาท จะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปีครึ่ง มีกำหนดแล้วเสร็จปี 2563 โดยเส้นทางส่วนใหญ่กว่า 60% เป็นงานก่อสร้างสะพานและอุโมงค์ ขณะที่รถไฟจะใช้เทคโนโลยีจากจีนทั้งหมด วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ด้านรูปแบบการลงทุน "จีน-ลาว" ร่วมตั้งบริษัทร่วมทุนมีจีนเป็นผู้ลงทุนหลักถือหุ้น 70% ส่วนลาวถือ 30% โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุดลาวอยู่ระหว่างขอต่อรองอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากจีนที่เสนอมาอยู่ที่ 3%

ขณะที่ความเคลื่อนไหว "รถไฟไทย-จีน" ล่าสุดวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 1 ปี ที่ รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนเจรจาความร่วมมือพัฒนาโครงการร่วมกันมา หลังเซ็น MOU เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2557

ถึงแม้โครงการยังมีรายละเอียดที่ต้องเจรจากันต่อ แต่มีการทำพิธีปักธงของ 2 ชาติ ที่ "สถานีเชียงรากน้อย" แสดงสัญลักษณ์เริ่มต้นโครงการ "รถไฟไทย-จีน" เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตร นอกจากจะแสดงความคืบหน้าตลอดปีที่ผ่านมา ยังเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าทั้ง 2 ประเทศจะพยายามเร่งผลักดันโครงการให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันที่ 19 ธ.ค. 2558 มีความสำคัญ เป็นการเปิดพิธีเริ่มโครงการความร่วมมือจะเดินหน้ารถไฟไทย-จีน และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างศูนย์ควบคุมและบริหารการเดินรถกลาง (OCC) ที่สถานีเชียงรากน้อย อีกทั้งยังเป็นการครบรอบ 1 ปี ที่สามารถทำให้เกิดความชัดเจนของโครงการจะเดินหน้าต่อแน่นอน ที่สำคัญเป็นการครบรอบ 40 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-จีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า สิ่งที่ฝ่ายไทยจะต้องดำเนินการต่อไปให้เสร็จก่อนจะมีการก่อสร้าง คือ เร่งสรุปแบบก่อสร้างที่จีนส่งให้เสร็จเดือน ม.ค.-ก.พ. 2559 ให้ได้มูลค่าการลงทุนเพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) จากนั้นถึงพิจารณารูปแบบและสัดส่วนการลงทุน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้รวมถึงการร่างสัญญาต่าง ๆ และสัญญาก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างได้ตามที่กำหนดไว้เดือน พ.ค. 2559 ขณะนี้อยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาตรวจสอบรายละเอียดค่าก่อสร้างที่ถูกต้องหลังจีนเสนอมาวงเงินกว่า 5.3 แสนล้านบาท

เป็นความคืบหน้าล่าสุด ณ เวลานี้ รอลุ้นกันอีกทีปีหน้าระหว่าง "ลาวและไทย" ใครจะตอกเข็มสร้างรถไฟความเร็วปานกลางก่อนกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/12/2015 3:24 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟจีน พม่า ช่วง ต้าหลี่ (大理) ผ่านเว่ยซาน (巍山) ไปนคร ลินจ้าง (临沧 - 臨滄) ก่อนไปถึงชายแดนพม่า (中缅口岸) ที่ด่านชิงซุยเหอ (清水河) งบก่อสร้าง 15,046 ล้านหยวน เป็นทางติดระบบรถไฟฟ้า ยาว 220 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้รับการอนุมัติให้ก่อสร้างเมื่อ 6 ธันวาคม 2015 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปีครึ่ง โดยในการนี้ได้มีการเจาะเทอกเขาอ้ายลาว (穿哀牢山) ข้ามแม่น้ำโขง (越澜沧江) ซึ่งต้องสร้างสะพานและ อุโมงค์ ยาว 176 กิโลเมตร ถ้าทำเสร็จแล้ว การเิดนทางจากคุนหมิง ผ่านต้าหลี่ไปลินจ้างจะใช้เวลาแค่ 3 ชั่วโมงครึ่งเอง
http://www.ce.cn/xwzx/gnsz/gdxw/201512/07/t20151207_7359752.shtml
http://www.wtoutiao.com/p/1ac97P9.html
http://www.sjcxh.com/news/?5933.html

เร่งการสร้างทางรถไฟ จากมณฑลยูนนานไปเชื่อมกะ เพื่อนบ้านโดยเร็วที่สุด
ทางรถไฟจีนลาวช่วงอิ๋วซีไปด่านโม่หานนั้น ได้ลงทุน 4900 ล้านหยวนเพื่อการนี้ - ลงทุนไป 96.5%
ทางรถไฟจีนพม่า ช่วงต้าหลี่ ผ่านเป่าซานไปด่านรุ่ยหลี่ ได้ลงทุุนไป 5,092 ล้านหยวน เพิ่งลงทุนแค่ 34.6%

ทางรถไฟจีนพม่า ช่วงต้าหลี่ไปนคร ลินจ้าง (临沧 - 臨滄) ก่อนไปถึงชายแดนพม่า (中缅口岸) ที่ด่านชิงซุยเหอ (清水河) เพิ่งเริ่มก่อสร้าง 6 ธันวาคม 2015 กว่าจะเสร็จก็ 5ปีครึ่ง

ทางรถไฟจีนพม่าอินเดีย (中缅印国际铁路通道) ช่วง จากคุนหมิง ผ่านเป่าซาน [保山] ช่วงมังสือ [芒市] ไปออกด่านชายแดนจีนพม่า (中缅口岸) ที่ หัวเฉียว (猴桥) มูลค่า 8580 ล้านหยวน เพิ่งลงทุนแค่ 34.6%
http://www.yn.xinhuanet.com/newscenter/2015-12/22/c_134940577.htm

เร่งสร้างทางรถไฟจากอิ๋งซีไปม่อหาน ระยะทาง 508.3 km มูลค้า 51,609 ล้านหยวน
http://www.docools.com/kandian/32046.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2016 1:18 am    Post subject: Reply with quote

จีนแดงลงทุนเชื่อมเพื่อนบ้านขนานใหญ่ ตามแผน 5 ปี ฉบับที่ 13 (2016 - 2020) ตามนโยบาย "One Belt, One Road (OBOR)" ที่ประธานาธิบดี Xi Jinping ย้ำนักย้ำหนาว่าให้ทำ

นี่คือเส้่นทางที่กำลังทำและจะทำ ตามแผน 5 ปี

จีน - รัสเซีย: สะพานรถไฟ Nizhneleninskoye-Tongjiang
จีน - มองโกเลีย: โครงการสร้างทางรถไฟช่วง Ganqimaodu Borderline Railway
จีน - เกาหลีเหนือ: การปรับปรุงเส้นทางช่วง Changchun-Tumen

จีน - คีร์กิสถาน - อุซเบกิสถาน: โครงการสร้างทางรถไฟช่วงKashgar-Ulugqat Railway
จีน - ปากีสถาน: โครงการสร้างทางรถไฟช่วง Kashgar-Khunjerab
จีน - คาซัคสถาน: การปรับปรุงเส้นทางช่วง Jinghe-Khorgos

จีน - เนปาล: Shigatse-Gyirong Railway
จีน - อินเดีย: Shigatse-Chomo Zong Railway

จีน - พม่า: โครงการสร้างทางรถไฟช่วง ต้าหลี่ - รุ่ยหลี่ (Dali-Ruili Railway) โครงการทางรถไฟ Lincang-Qingshuihe
จีน - ลาว - ไทย - กำลังก่อสร้าง
จีน - เวียตนาม: โครงการสร้างทางรถไฟช่วง Jingxi-Longbang Railway; โครงการสร้างทางรถไฟช่วง Fangchenggang-Dongxing Railway; การปรับปรุงเส้นทางช่วงหนานหนิง - ผิงเซียง
http://news.cb.com.cn/html/economy_9_29322_1.html

โครงการสร้างทางรถไฟช่วง Kashgar-Khunjerab
https://en.wikipedia.org/wiki/Khunjerab_Railway
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/01/2016 10:57 am    Post subject: Reply with quote

แผนการสร้างทางรถไฟจากจีนแดงผ่านเนปาลไปอินเดีย โดยการเจาะอุโมงค์ ผ่านเทือกเขาหิมาลัย (中-尼-印跨喜马拉雅铁路通道探讨)
http://www.doc88.com/p-1498501064334.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 15/01/2016 9:31 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

จีนคิดสร้างทางรถไฟ จากนครอุรุมุฉี ในเขตปกครองตัวเองซินเกียงผ่านด่าน Yining, กรุงAlmaty ในคาซักสถานี ผ่านนคร Samarkand ในอุซเบกิซสถาน นคร Ashgabat ในเติร์กเมนิสถาน ไปเชื่อมกรุงเตหะราน ของอิหร่าน เพื่อเป็นการฟื้นฟูเส้นทางสายไหมไปในตัว เพราะ ต่อไป เชื่อมยุโรป ถึงฮังการี และ เชื่อม อาเซียน ถึงอินโดนิเซีย - ซึ่งจะมีผลทำให้ปริมารณการค้าเพิ่มเป็น 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ และ จะมีผลทำให้ หันไปใช้เงินสกุลท้องถิ่นแทนที่จะใช้ดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายและ ทำให้ การ ผูกขาดการค่าทางเรือโดยยุโรปก็ต้อง เลิกรากันไป
.
http://www.presstv.ir/Detail/2015/11/21/438538/Iran-China-railway-Urumqi-Tehran-Silk-Road


จีนแดง คิดทำทางรถไฟจากนครคัชการ์ ในเขตปกครองตัวเองซินเกียงไปเชื่อมกรุงเตหะราน ของอิหร่าน โดยผ่าน คีกิสถาน ทาจิกิสถาน และ อัฟกานิสถาน นอกเหนือจากการผ่านด่าน Yining, กรุงAlmaty ในคาซักสถานี ผ่านนคร Samarkand ในอุซเบกิซสถาน นคร Ashgabat ในเติร์กเมนิสถาน ไปเชื่อมกรุงเตหะราน ของอิหร่าน
http://www.chinadaily.com.cn/china/2016-01/15/content_23096031.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/01/2016 11:43 pm    Post subject: Reply with quote


เริ่มการรสร้างสะพานข้ามแม่น้ำนูเจียง ยาว 1024.2 เมตร, สูง 211 เมตร, ช่วงกลางที่ติดโค้งสะพานเหล็กยาว 490 เมตร ทำเสร็จ 2021 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางรถไฟสายจีน - พม่า จากต้าหลี่ผ่าน เป่าซานไปด่านรุ่นหลี่ - รายงานโดยสำนักข่าวซินหัว
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=EGfVxCW9nDE
http://news.xinhuanet.com/fortune/2016-01/24/c_1117874689.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/01/2016 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

แม่น้ำนูเจียง ช่วงที่ผ่านพม่าเรียกว่า แม่น้ำสาละวินครับ

Sino-Myanmar Railway bridge with longest span in the world starts construction
By Huang Jin (People's Daily Online) 13:26, January 25, 2016

Click on the image for full size
Photo taken on Jan. 19 shows the pier and cable crane tower of the Nu River Bridge. (Photo/Xinhua)

Click on the image for full size
Photo taken on Jan. 19 shows the pier and cable crane tower of the Nu River Bridge. (Photo/Xinhua)

Construction begins on the Nu River Bridge, a project along the Sino-Myanmar Railway, on Jan. 24. It will be the steel truss railroad bridge with the longest span in the world.

Located at the junction of the Shidian county and Longling county in southwest China's Yunnan Province, the Nu River Bridge will have a total length of 1,024 meters. The height of the bridge above the river will be 211 meters. The bridge will mainly use steel truss arch beams with a span of 490 meters.

Yan Shuxin, a director from the constructors, China Railway 18 Bureau Group, said that due to restrictions arising from the special topography of the Nu River and Gaoligong mountains, the railway station will be built upon a deck. The width of the deck will reach 24.9 meters, which will be the widest among the same type of railway bridges in China. The construction of the Nu River Bridge will use over 46,000 tons of steel. It will require rare precision in the manufacturing of the steel trusses, and pose high risks in terms of assembling steel trusses at high-altitude.

The Sino-Myanmar Railway linking China's Kunming and Myanmar's Yangon covers a total length of 1,920 kilometers, among which, a 690-km-long section is in the territory of China. A 350-km-long railway from Kunming to Dali in China has been built. With the Nu River Railway Bridge, the 340-km-long railway linking Dali and Ruili will help to reduce the current travel time of 7 hours to about 2 hours by train.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2016 2:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
แม่น้ำนูเจียง ช่วงที่ผ่านพม่าเรียกว่า แม่น้ำสาละวินครับ

Sino-Myanmar Railway bridge with longest span in the world starts construction
By Huang Jin (People's Daily Online) 13:26, January 25, 2016


พ้นจาก การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำหนู่เจียง (สะพานข้ามแม่น้ำสาละวิน) ก็คือ การก่อสร้างอุโมงเกาลิกงซาน (Gaoligongshan Tunnel - 高黎贡山隧道), ยาว 34.531 กิโลเมตร ที่ China Railway tunnel Sanchu จะรับงานที่เพิ่งเปิดประมูลการก่อสร้าง Shaft 1 และ shaft 2 ไปหยกๆ
http://ctg.ha.cn/sdsc/tabid/630/InfoID/28836/frtid/630/Default.aspx
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2016 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

28 มกราคม 2016 เปิดการเดินรถสินค้าจาก Yiwu, ในมณฑล Zhejiang ไปออกด่าน Alataw Pass ที่ซินเกียง เพื่อส่งของไปกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ใช้เวลา 14 วัน กะระยะทาง 10,399 กิโลเมตร
http://www.chinadaily.com.cn/china/2016-01/29/content_23301073.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 32, 33, 34 ... 134, 135, 136  Next
Page 33 of 136

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©