Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269933
ทั้งหมด:13581220
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟเชื่อมกับเพื่อนบ้านของจีนแผ่นดินใหญ่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 135, 136, 137  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2016 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

จะข้ามฝั่งจากลาวกายไป ขึ้นรถไฟ ที่ Hekou North เพื่อ ขึ้นรถไฟไปคุนหมิง
http://asocialnomad.com/china/lao-cai-to-hekou/
https://www.tripadvisor.com/ShowTopic-g297467-i4881-k8614835-Hekou_to_Kunming_by_Train-Yunnan.html
http://chinatrain12306.com/travel/kunming-hekou-train.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2016 7:50 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟขนส่งสินค้ายกระดับการค้าจีน-โปแลนด์ไปอีกขั้น
สำนักข่าวซินหัว
21 มิถุนายน 2016

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา รถไฟขนส่งตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 41 ขบวนได้เดินทางออกจากเฉิงตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และได้เดินทางมาถึงเมืองลอดซ์ ประเทศโปแลนด์ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งบนขบวนรถไฟนั้นได้มีการติดป้ายโลโก้ใหม่ของเครือข่ายรถไฟบรรทุกสินค้าจีน-ยุโรป

บริการรถไฟด่วนเฉิงตู-ยุโรป เป็นบริการที่เชื่อมต่อระหว่างโรงไฟฟ้าในเมืองเฉิงตู กับเมืองลอดซ์ ศูนย์การจราจรแห่งใหม่ในยุโรป ซึ่งได้บรรทุกเครื่องมือที่มีความแม่นยำ ผลผลิตภัณฑ์ด้านไอที และเสื้อผ้าจากจีนไปยังยุโรป และได้ขนส่งอาหาร ไวน์และรถยนต์จากจีนจากยุโรปกลับมายังประเทศจีน สำนักงานท่าเรือและระบบการขนส่งของเฉิงตูรายงาน

กว่าสามปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การเดินทางครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน รถไฟสายนี้ได้ดำเนินงานขนส่งไปกลับถึง 300 ครั้งแล้ว มณฑลเสฉวนจึงได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างใกล้ชิดกับโปแลนด์ ทำให้ปริมาณการค้าระหว่างมณฑลเสฉวนและโปแลนด์นั้นมีมูลค่าสูงถึง 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2015 กรมศุลกากรนครเฉิงตูรายงาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2016 5:52 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว!หนานจิงออกเดินขบวนรถไฟขนส่งสินค้าไปยุโรป
สำนักข่าวซินหัว
30 มิถุนายน 2016

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. รถไฟขนส่งสินค้าออกเดินทางจากเมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน และจะถึงกรุงมอสโคในอีก 15 วัน

เส้นทางการขนส่งสายใหม่นี้จะช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าจากศูนย์กลางการขนส่งสินค้าในลุ่มแม่น้ำแยงซีไปยุโรป

ทั้งนี้ การขนส่งสินค้าทางรถไฟของจีนร้อยละ 60 มาจากเจียงซู อีกทั้งมณฑลใกล้เคียง เช่นเจ้อเจียง อันฮุย และเจียงซีก็แสดงความต้องการที่จะขนส่งสินค้าผ่านเส้นทางนี้เช่นกัน

ส่วนประเภทสินค้าที่ขนส่งระหว่างหนานจิงกับกรุงมอสโคประกอบไปด้วย เครื่องใช้ภายในบ้าน โคมไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้างและชิ้นส่วนยานยนต์

ทั้งนี้ หลังจากขบวนแรกเดินทางถึงกรุงมอสโคแล้ว ขบวนขนส่งสินค้าหนานจิง-มอสโคจะออกเดินทางทุกๆสองอาทิตย์ และทุกอาทิตย์ในปีหน้า เป็นเส้นทางเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างจีนกับรัสเซีย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2016 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการหลักของชุมทางรถไฟจีน-ลาว-เวียดนามสร้างเสร็จแล้ว
สำนักข่าวซินหัว
5 สิงหาคม 2016 15:26:28

สำนักข่าวซินหวารายงานว่า กรมทางรถไฟเมืองคุนหมิงแถลงข่าววันที่ 4 สิงหาคมว่า โครงการหลักของสถานีรถไฟเมืองอี้ว์ซี ซึ่งเป็นชุมทางรถไฟจีน-ลาวกับทางรถไฟจีน-เวียดนามสร้างเสร็จแล้ว ขณะนี้กำลังเร่งทดสอบและปรับการใช้งานของรางรถไฟ ติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าและสัญญาณไฟ

สถานีรถไฟเมืองอี้ว์ซีเป็นชุมทางที่เชื่อมต่อทางรถไฟจีน-ลาว ทางรถไฟจีน-เวียดนามและทางรถไฟคุนหมิน-อี้ว์ซีซึ่งออกแบบให้รถไฟวิ่งได้ด้วยความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังเปิดบริการจะบทบาทสำคัญต่อการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าระหว่างจีน ลาวกับเวียดนาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2016 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

ลงนาม MOU จัดตั้งด่านศุลกากร รถไฟ คุนหมิงเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินรถข้ามแดนไปฝั่งลาว
http://yndaily.yunnan.cn/html/2016-08/30/content_1088646.htm?div=-1
http://news.xinhuanet.com/fortune/2016-08/29/c_1119474771.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2016 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวล่าสุด

Click on the image for full size
รถขบวนปักกิ่ง - มอสโคว์ เดินสัปดาห์ละสองเที่ยว โดยผ่านแมนจูเรีย 1 เที่ยว (K19/K20) และ ผ่านมองโกเลีย 1 เที่ยว (K3/K4) - รถขบวนปักกิ่ง - แมนจูเรีย - มอสโคว์ (K3/K4) ใช้เวลาเดินทาง 146 ชั่วโมงแน

ตอนนี้ไม่มีการเดินรถ สาย ปักกิ่ง - อูลูมู่ฉี -Alashankou-Astana หรือสาย สาย ปักกิ่ง - อูลูมู่ฉี -Khorgos-Almaty. จะต่อรถก็ต้องลงที่ อูลูมู่ฉี ก่อน แล้วต่อรถ ขบวน K9795/K9796 (Urumqi - Almaty) หรือ ขวน K9797/K9798 (Urumqi - Astana)

https://www.travelchinaguide.com/china-trains/international-tickets/beijing-moscow-k3.htm
https://www.travelchinaguide.com/china-trains/international-schedule.htm#urumqi
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?p=135488090#post135488090
http://www.chinahighlights.com/travelguide/transportation/beijing-to-moscow-train.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/10/2016 12:20 am    Post subject: Reply with quote

“เส้นทางสายไหมใหม่” ของจีนเริ่มปรากฏให้เห็นผลในเชิงบวกแล้ว
China Xinhua News
27 กันยายน เวลา 13:10 น. ·

เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ฝางอ้ายชิง (房爱卿) รองรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่า การค้าระหว่างจีนกับประเทศในแถบเส้นทางสายไหมใหม่ได้พุ่งสูงถึง 6 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ประมาณ 21 ล้านล้านบาท) ซึ่งมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 26 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของจีนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2016
เขากล่าวระหว่างงานสัมมนาแนวความคิดเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดขึ้นในนครซีอาน เมืองเอกของมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม จีนได้ลงทุนไปมูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐในประเทศที่อยู่แถบเส้นทางสายไหม ผ่านสถาบันทางการเงินต่างๆ รวมไปถึง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงการพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) และกองทุนเส้นทางสายไหม (Silk Road Fund)
อีกทั้ง บริษัทจีนยังได้จัดตั้งเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้านอกชายฝั่งในประเทศแถบเส้นทางสายไหมมากกว่า 50 แห่ง ด้วยเงินลงทุนทั้งหมด 1.6 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ก่อให้เกิดรายได้จากภาษี 900 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และสร้างอาชีพให้กับประชาชนถึง 70,000 ราย
แนวความคิดเส้นทางสายไหมใหม่นี้หมายถึง “แนวความคิดเส้นทางสายไหมทางเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่ 21” (Silk Road Economic Belt and the 21st-Century Maritime Silk Road initiative) ซึ่งเสนอขึ้นโดยประธานาธิบดีสีจิ้นผิงเมื่อปี 2013 โดยจะเชื่อมโยงประเทศในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาผ่านช่องทางบนบกและทางทะเล
ทั้งนี้ เหอลี่เฟิง รองหัวหน้าคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน กล่าวว่า หลังจากเปิดตัวแนวความคิดดังกล่าว 3 ปีแล้ว มีประเทศลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับจีนแล้วมากกว่า 30 แห่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2016 1:24 am    Post subject: Reply with quote

มุมมองจีนแดง เกี่ยวข้องกับรถไฟไทย-จีน มูลค่า 179000 ล้านบาท (34600 ล้านหยวน) - งานนี้พุดถึงไทยว่าใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานกันระหว่าง จีนแดงและ ญี่ปุ่น เพื่อ เป็นการวางดุลยอำนาจ
https://www.letscorp.net/archives/110585
http://news.sina.com.cn/c/nd/2016-09-22/doc-ifxwevmf1961240.shtml

//-----------------


เริ่มการเดินรถไฟ ขนถ่านหินจากกรุงอูลานบาตอร์ ประเทศ มองโกเลีย ผ่าน จีนตรงไปลงท่าเรือ Qinhuangdao ที่เหอเป่ย ก่อนไปท่าเรืออินชอน ไปกรุงโซลประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และ ขนสินค้า 100 ตู้คอนเทนเนอร์ จากกรุงโซลประเทศสาธารณรัฐเกาหลี จากท่าเรือ อินชอน ไปท่าเรือ Qinhuangdao ที่เหอเป่ย ก่อนขนขึ้นรถไฟตรงไปส่งกรุงอูลานบาตอร์ ประเทศ มองโกเลีย เริ่ม 9 พฤศจิกายน 2016 ลดเวลาการเดินทางไปได้ตั้ง 4 วัน - และ รถสินค้าจากเกาหลีจะมีเดินทุกวันพุธ
http://news.xinhuanet.com/english/2016-11/10/c_135820405.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2016 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจพื้นที่ ตามรอยเส้นทางสายไหม เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (ตอน1)
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,206 วันที่ 3 – 5 พฤศจิกายน 2559

ยุทธศาสตร์เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 หรือ 21st Maritime Silk Road เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลจีนที่มุ่งสร้างความเชื่อมโยงแบบหลายมิติกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการเสริมสร้างมิตรสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-จีน ส่งเสริมการไปมาหาสู่และเร่งขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน

ศูนย์อาเซียน-จีน (เอซีซี) หรือ ASEAN-China Center ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลชาติอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน มีภารกิจหลักในการเชื่อมโยงประชาคมอาเซียนกับจีน โดยนางหยาง สิ่วผิง เลขาธิการศูนย์ฯ ณ กรุงปักกิ่ง ได้เล็งเห็นความสำคัญของนโยบายยุทธศาสตร์ดังกล่าว จึงได้จัดโครงการสื่ออาเซียนเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนบนเส้นทางสายไหมยุคใหม่ขึ้นระหว่างวันที่ 19-28 ตุลาคม 2559 เพื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงลึกและสัมผัสประสบการณ์จริงเกี่ยวกับศักยภาพในการเชื่อมโยงเครือข่ายการค้า การลงทุน รวมทั้งความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเส้นทางสายสำคัญดังกล่าว

การเดินทางครั้งนี้มีสื่อมวลชนจาก10 ประเทศอาเซียน โดย “ฐานเศรษฐกิจ” เป็นหนึ่งเดียวของสื่อมวลชนไทยที่ได้ร่วมลงพื้นที่และสัมภาษณ์พิเศษบริษัทเอกชนของจีนทั้งในมณฑลเจียงซูและยูนนาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญในเส้นทางดังกล่าวโดยเฉพาะในแง่การเชื่อมโยงจีนเข้ากับประเทศสมาชิกอาเซียน ทางคณะเริ่มต้นการเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติเซี่ยงไฮ้ผู่ตงไปยังเมืองตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ได้แก่ นครหนานจิงเมืองอู๋ซี เมืองซูโจว และเมืองฉางโจวซึ่งเป็นแหล่งผลิตในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่สำคัญของมณฑลเจียงซู ก่อนจะเดินทางต่อไปยังเมืองคุนหมิง เมืองเดฮอง และเมืองฉวี่จิ้งในมณฑลยูนนานที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เราประเดิมพบตัวแทนเอกชนจีนรายสำคัญในมณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นมณฑลชายฝั่งทะเลและเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตในภาคตะวันออกของจีน และพบว่าหลายรายมองภูมิภาคอาเซียนเป็นฐานการผลิตที่ดี มีทำเลใกล้ชิดตลาดจีน และพร้อมที่จะขยายการลงทุนเข้ามา

T10-320602 ฟีนิกซ์ อาร์ กรุ๊ป เล็งขยายฐานผลิตมาไทย

จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์บริษัทเอกชนในเมืองอู๋ซี ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมในมณฑลเจียงซู ทางชายฝั่งทะเลทิศตะวันออก “ฐานเศรษฐกิจ” ได้พบกับผู้บริหารของบริษัทฟีนิกซ์ อาร์ กรุ๊ปฯผู้ผลิตอุปกรณ์สร้างสรรค์งานศิลปะรายใหญ่ที่คร่ำหวอดกับตลาดในภูมิภาคอาเซียนมาระยะหนึ่งแล้ว โดยบริษัทได้ประเดิมขยายโรงงานไปยังประเทศเวียดนามและกัมพูชา อาศัยประโยชน์จากทำเลที่ตั้งใกล้ชิดติดกับจึงจีนลดต้นทุนด้านการขนส่ง แต่ในขั้นต่อไปบริษัทกำลังมองไทยเป็นฐานผลิตแห่งใหม่ในตลาดอาเซียน

นายลิน จินสงผู้ช่วยประธาน บริษัทฟีนิกซ์ อาร์ กรุ๊ป กล่าวว่า ประโยชน์ที่ได้รับจากเส้นทางการเชื่อมโยงทางการค้าใหม่ของจีนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “เส้นทางสายไหม” ภายใต้การริเริ่มของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง คือการได้เข้าไปลงทุนซึ่งจะช่วยกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น เพิ่มโอกาสการจ้างงาน และได้แลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงอุตสาหกรรมให้กับประเทศที่กำลังพัฒนา

ฟีนิกซ์ อาร์ กรุ๊ป เปิดฐานการผลิตในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้แห่งแรกที่ประเทศเวียดนาม ตามมาด้วยกัมพูชาในปี 2556เนื่องจากมีชายแดนใกล้ชิดกับประเทศจีนและสะดวกต่อการขนส่งสินค้าเพื่อป้อนให้กับบริษัทแม่
“เหตุผลว่าทำไมเราต้องออกมาลงทุนในต่างแดน คำตอบก็คือ ประเทศจีนมีวัตถุดิบไม่เพียงพอ และค่าจ้างแรงงานก็แพง ปัจจุบันโรงงานของบริษัทที่เวียดนามและกัมพูชา มีลูกจ้างเป็นคนในพื้นที่มากกว่า 800 คน ซึ่งส่วนใหญ่ชักชวนกันมาจากครอบครัวเดียวกันหรือคนรู้จักกัน ในอนาคตเรามองว่า ประเทศไทยน่าจะเป็นฐานการผลิตต่อไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการขนส่งสินค้าหรือค่าจ้างแรงงาน” นายจินสงกล่าว และยังย้ำว่า ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่นที่เข้าไปลงทุน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการศึกษา เขามองว่า เมื่อฟีนิกซ์ อาร์ กรุ๊ป เข้าไปลงทุนในประเทศไหน ประชาชนในประเทศนั้นต้องได้รับประโยชน์ด้วย ต้องเป็นการลงทุนที่ win-win ทั้ง 2 ฝ่าย

ฟีนิกซ์ อาร์ กรุ๊ป เป็นผู้ผลิตและส่งออกอุปกรณ์สร้างสรรค์งานศิลปะไปยัง 50 กว่าประเทศทั่วโลก ทั้งยังครองตลาดเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไก้แก่ กระดาษวาดภาพ สี พู่กัน เฟรมวาดภาพ ขาตั้งวาดภาพ เครื่องเขียนและอุปกรณ์ศิลปะต่างๆ โดยปีที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 525 ล้านบาท

ผู้ผลิตรายนี้ยังมีพื้นที่จัดแสดงภาพสีน้ำมันชื่อว่า “ฟีนิกซ์ อาร์ พาเลซ” ในเมืองหลักของจีน เช่นที่กรุงปักกิ่ง มีพื้นที่จัดแสดง 300 ตารางเมตร จัดแสดงและจำหน่ายภาพสีน้ำมันของศิลปินผู้มีชื่อเสียง นอกจากนี้ยังมีที่เมืองเซี่ยงไฮ้ซูหยางและอู๋ซี รวมถึง “ฟีนิกซ์ อาร์ มิวเซียม” และ “ฟีนิกซ์ อาร์ คลาส” ที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปะสำหรับเด็กเล็กจนถึงผู้ที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยด้านศิลปะ

ฟีนิกซ์ อาร์ พาเลซ มีส่วนร่วมอย่างมากในการพัฒนาอุตสาหกรรมศิลปะทั้งในประเทศจีนเองและในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่การเป็นสถานที่จำหน่ายภาพสีน้ำมันที่สนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่ บริษัทยังได้เพิ่มบทบาทในการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปะโดยร่วมมือกับสถาบันศิลปะต่างๆ เช่น สมาคมศิลปินภาพวาดของจีน และพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติของจีน เป็นต้น


//------------------------------------

สำรวจพื้นที่ ตามรอยเส้นทางสายไหม เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (ตอน2)
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,207 วันที่ 6 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

จากที่กล่าวไปแล้วในบทความตอนแรกว่า เมืองอู๋ซีทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซูในภาคตะวันออกของประเทศจีนนั้นเป็นแหล่งผลิตสำคัญในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ฉบับนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” จึงขอพาผู้อ่านเดินทางไปเยือนอาณาจักรเครื่องนุ่งห่มที่ใหญ่ที่สุดในจีน ที่รับผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ดังๆจากทั่วโลก รวมถึงแบรนด์ของตนเอง “โฮโด” (Hodo) เพื่อไปชมโรงงานผลิตและสัมภาษณ์ผู้บริหารของโฮโด กรุ๊ปถึงโครงการร่วมลงทุนตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศกัมพูชา

“โฮโด กรุ๊ป” ลุยร่วมทุนข้ามแดนในกัมพูชา

ในปี 2558 เวิลด์ แบรนด์แล็บ รายงานว่า โฮโด กรุ๊ป แห่งเมืองอู๋ซี ผู้นำอุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของจีน ภายใต้ยี่ห้อ “โฮโด” ติด 1 ใน 500 อันดับแบรนด์ที่ทรงคุณค่าและมีอิทธิพลที่สุดในโลก โดยภารกิจหลักของโฮโด คือการผลิตเสื้อผ้าของแบรนด์ดังต่างชาติ อาทิ กลุ่มแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าวัยรุ่นอย่าง “เอชแอนด์เอ็ม” (H&M) จากประเทศสวีเดน อย่างไรก็ตาม โฮโด กรุ๊ป ยังมีการผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าภายใต้แบรนด์ของตนเอง รวมถึงยางรถยนต์ ชีวเภสัชภัณฑ์ และอสังหาริมทรัพย์

ท่าเรือไท่ฉาง ที่กำลังพัฒนาให้เป็นช่องทางส่งออกที่สำคัญ
ท่าเรือไท่ฉาง ที่กำลังพัฒนาให้เป็นช่องทางส่งออกที่สำคัญ
นายเจคเฉินรองประธานของโฮโด กรุ๊ป กล่าวว่า ในฐานะเอกชนก็ตั้งเป้าจะดำเนินตามนโยบาย One Belt One Road ของภาครัฐโดยล่าสุดได้เข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทคู่ค้าในกัมพูชาตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกัมพูชา โดยปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์มีผู้ลงทุนจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจำนวน 103 ราย มี 88 บริษัทที่ดำเนินการผลิตแล้ว และมีการจ้างงานพนักงานในพื้นที่ประมาณ 16,000 คน ซึ่ง 70% มาจากครอบครัวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนั้น

โฮโด กรุ๊ป เป็นบริษัทเอกชนจีนรายใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ นอกจากภูมิภาคเอเชียแล้ว บริษัทยังมีสำนักงานอีก 2 แห่งที่เมืองนิวยอร์กและลอสแองเจลิส ในประเทศสหรัฐอเมริกาโฮโด กรุ๊ป เป็นบริษัทเอกชนจีนรายใหญ่ที่มีการลงทุนในต่างประเทศ นอกจากภูมิภาคเอเชียแล้ว บริษัทยังมีสำนักงานอีก 2 แห่งที่เมืองนิวยอร์กและลอสแองเจลิส ในประเทศสหรัฐอเมริกา

“ในอนาคต โฮโด กรุ๊ปจะยกระดับการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นและจะสร้าง Cultural Branding ให้เป็นอันดับหนึ่งในจีนให้กับผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายภายใต้ชื่อแบรนด์โฮโด ที่ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ขายตัวผลิตภัณฑ์หรือชื่อยี่ห้อเท่านั้น แต่จะล้วงลึกเข้าไปถึงรูปแบบการใช้ชีวิต ที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการทั้งหมดด้วย”

หลังจากนั้นทางคณะได้ออกเดินทางต่อไปยังเมืองซูโจวในมณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นเมืองที่มีศักยภาพและเติบโตเร็วที่สุดในจีนโดยมีแรงผลักดันจากฐานอุตสาหกรรมและนโยบายของรัฐบาลท้องถิ่น ที่มีการสนับสนุนอย่างจริงจัง ให้มีทั้งการลงทุน การผลิตในเชิงอุตสาหกรรม และการเพิ่มขีดความสามารถทางโลจิสติกส์

ท่าเรือไท่ฉางประตูสินค้าจีน-อาเซียนบนเส้นทางสายไหมทางทะเล

หากดูจากแผนที่เส้นทางสายไหมทางทะเลแล้ว จะเห็นได้ว่าจีนได้วางแผนกำหนดบทบาทของตัวเองให้เป็นต้นทางของเส้นทางดังกล่าวและ “ท่าเรือไท่ฉาง” ก็เป็นอีกหนึ่งท่าเรือสำคัญของซูโจวที่กำลังพัฒนาให้เป็นช่องทางส่งออกที่สำคัญในอนาคต จากการลงพื้นที่ไปสัมภาษณ์ผู้บริหารของท่าเรือไท่ฉาง เราพบว่า ท่าเรือแห่งนี้จะมีบทบาทสำคัญอย่างมากบนเส้นทางสายไหมทางทะเล

ท่าเรือไท่ฉางก่อตั้งขึ้นมากว่า 20 ปี ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของประเทศจีนและติดลุ่มแม่น้ำแยงซี รวมถึงนครเซี่ยงไฮ้ โดยท่าเรือแห่งนี้กำลังจะยกระดับขีดความสามารถของการแข่งขันให้เป็นสถานที่ขนส่งและกระจายสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน สำหรับการดำเนินงานของท่าเรือไท่ฉางนั้นจัดให้มีเขตปลอดภาษีและการพัฒนาระบบอี-คอมเมิร์ซ รวมถึงการนำเข้าสินค้าผ่านการผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปออฟไลน์ ซึ่งทั้งระบบโลจิสติกส์และฐานการค้านี้ ทำให้มีปริมาณสินค้าสูงถึง100 ล้านหยวน

นายเว่ย เกาลิน รองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของท่าเรือไท่ฉาง กล่าวว่า “เส้นทางสายไหมทางทะเลกำลังเชื่อมโยงเป็นไหมเส้นยาวที่สอดร้อยประเทศอาเซียนเข้าไว้ด้วยกัน ขณะเดียวกันท่าเรือนี้ก็กำลังพัฒนาให้เป็นต้นทางการส่งออกและปลายทางการนำเข้าสินค้าโดยการร่วมมือกับประเทศที่เป็นทางผ่าน อย่างเช่นประเทศเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในฐานะที่ไทยเป็นส่วนสำคัญของภูมิภาคอาเซียนจึงเป็นโอกาสของไทยที่จะได้รับประโยชน์จากเส้นทางนี้ ตามโครงการ One Belt One Road เพื่อเป็นเส้นทางการค้าขายระหว่างอาเซียน-จีนในการลำเลียงวัตถุดิบและสำหรับผู้ผลิตที่กำลังมองหาแหล่งวัตถุดิบ”

เมื่อถามถึงโอกาสของผู้ส่งออกของไทยรองผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ของท่าเรือไท่ฉางกล่าวเสริมว่า ผู้ส่งออกไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเส้นทางสายไหมทางทะเลจากจีนเพื่อส่งออกสินค้าและนำเข้าสินค้าจากประเทศต่างๆ ซึ่งการใช้เส้นทางนี้น่าจะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ในอนาคต


//-----------------------------

สำรวจพื้นที่ตามรอยเส้นทางสายไหม เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียน-จีน (ตอนจบ)
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,208 วันที่ 10 – 12 พฤศจิกายน 2559

คณะผู้สื่อข่าวอาเซียนและผู้บริหารศูนย์อาเซียน-จีน ออกเดินทางจากสนานบินหนานจิงในมณฑลเจียงซูมายังเมืองคุนหมิง นครหลวงของมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ที่ขยับเข้ามาใกล้กับประเทศไทย และจากการที่จีนเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในด้านการผลิตรถไฟความเร็วสูง ทำให้มีการเร่งผลักดันเส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกับต่างประเทศ และนับเป็นอาวุธสำคัญสำหรับการดำเนินยุทธศาสตร์ของจีน ดังเห็นได้จากเส้นทางสายไหมใหม่ สายแพนเอเชียหรือโครงการเส้นทางรถไฟสายสิงคโปร์-คุนหมิงที่เชื่อมโยงการขนส่งภายในอาเซียน โดยเริ่มจากคุณหมิงของจีน ผ่านเวียดนาม กัมพูชา ไทย มาเลเซีย จนถึงสิงคโปร์

นางหยาง สิ่วผิง เลขาธิการศูนย์อาเซียน-จีน (เออีซี) หรือ ASEAN –China Center กล่าวถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจีนที่เชื่อมโยงต่อระหว่างประเทศจีนและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า รถไฟความเร็วสูงจีนและไทย ก่อสร้างครั้งแรกได้เพียง 250 กิโลเมตรเท่านั้น แต่คาดว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงนี้จะขยายอีกหลายหมื่นกิโลเมตร เพื่อเชื่อมโยงประเทศจีนจนถึงสิงคโปร์ ซึ่งถ้าเส้นทางสายนี้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์จะกลายเป็นเส้นทางสายไหมไทยที่มีศักยภาพ

ประตูชายแดนจีน-เมียนมา
ประตูชายแดนจีน-เมียนมา
“แผนการริเริ่ม One Belt and One Roadหรือเส้นทางเส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ยั่งยืนและเชื่อมโยงระหว่างกัน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนมีความสำคัญกับประเทศจีนอย่างมาก ในปี 2558 มูลค่าการค้ารวมระหว่างอาเซียน-จีนอยู่ในระดับสูงถึง 4.7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การลงทุนระหว่างกันสูงถึง 1.5 แสนล้านดอลลาร์ฯ ”

สื่อมวลชนร่วมสัมภาษณ์หัวหน้าส่วนอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซของรุ่ยลี่
สื่อมวลชนร่วมสัมภาษณ์หัวหน้าส่วนอุตสาหกรรมอี-คอมเมิร์ซของรุ่ยลี่
ยูนนาน ประตูการค้าตะวันตกเฉียงใต้

Advertisement
มณฑลยูนนานได้พัฒนากลายเป็นประตูเชื่อมจีนกับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากเส้นทางถนนที่เชื่อมไปยังประเทศต่างๆ ได้แก่ เส้นทางจากนครคุนหมิงไปยังกรุงย่างกุ้งของเมียนมา เส้นทางจากนครคุนหมิง-ไทยโดยเริ่มต้นจากนครคุนหมิง ตัดผ่านเขตสิบสองปันนา เข้าสู่ประเทศลาว ต่อไปยังภาคเหนือของประเทศไทย และไปสิ้นสุดที่กรุงเทพฯ และเส้นทางจากนครคุนหมิง-ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนาม นอกจากนี้ มณฑลยูนนานได้มีอาณาเขตติดต่อกับทิศเหนือของมณฑลเสฉวน ทิศตะวันออกติดกับมณฑลกุ้ยโจวและกว่างซี ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับเขตปกครองตนเองทิเบต ขณะที่เมืองฉู่จิ้งซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของมณฑลยูนนานนั้นยังคงเป็นหนึ่งในเส้นทางดั้งเดิมของเส้นทางสายไหมในอดีต ซึ่งปัจจุบันเส้นทางนี้ถูกส่งเสริมให้เป็นหนึ่งในเส้นทางผ่านของจีน เนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์ที่ตั้งติดกับพรมแดนของประเทศอาเซียน

เมืองรุ่ยลี่ เปิดช่องทางการค้าจีน-เมียนมา

จากเมืองคุนหมิง ทางคณะได้เดินทางต่อไปยังด่านรุ่ยลี่ของมณฑลยูนนานที่ได้กลายเป็นด่านสำคัญที่สุดสำหรับการค้าชายแดนจีน-เมียนมา ซึ่งเป็นเส้นทางจากนครคุนหมิงไปยังทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนนานโดยผ่านเมืองรุ่ยลี่ และตัดเข้าสู่กรุงย่างกุ้งของเมียนมา

เมืองรุ่ยลี่นี้มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา และเป็นจุดสุดท้ายของเส้นทางหลวงหังโจว-รุ่ยลี่โดยสินค้าหลักสำคัญที่ยูนนานนำเข้าจากเมียนมา คือ สินค้าเกษตรสำเร็จรูป วัสดุไม้ ผลิตภัณฑ์จากการประมง และสินค้าหลักสำคัญที่ยูนนานส่งออกไปยังเมียนมาคือ อุปกรณ์เครื่องจักรกล อะไหล่รถจักรยานยนต์ ทั้งนี้ ด่านรุ่ยลี่มีมูลค่าการนำเข้า-ส่งออก จำนวนประชาชนและรถยนต์ที่ผ่านเข้า-ออกสูงเป็นอันดับ1 ของด่านทางบกในมณฑลยูนนาน

“ทุกๆปี การส่งออกสินค้าของจีนไปเมียนมา ผ่านชายแดนรุ่ยลี่ มีมูลค่าสูงถึง 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 157,500 ล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทรถมอเตอร์ไซค์ อุปกรณ์อุตสาหกรรม และอุปกรณ์โทรคมนาคม” นายหง เหลี่ยง หัวหน้าส่วนอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจุดเช็กพอยต์สินค้าเข้า – ออกของรุ่ยลี่ กล่าว

ซึ่งในอนาคตหากเส้นทางรถไฟและเส้นทางด่วนที่เชื่อมต่อมายังเมืองรุ่ยลี่ก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะทำให้เมืองรุ่ยลี่กลายเป็นประตูสู่ต่างประเทศทางภาคตะวันตกของมณฑลยูนนาน ซึ่งเชื่อมต่อกับประเทศเมียนมา และสามารถผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชียใต้ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2016 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

เดินรถสินค้า จาก นครซีอัน (Xi’an International Trade and Logistics Park) ไปกรุงมอสโครว
http://shaanxi.chinadaily.com.cn/itl/2016-12/07/content_27600390.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 36, 37, 38 ... 135, 136, 137  Next
Page 37 of 137

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©