View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
ExtendeD
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 15/08/2006 5:33 pm Post subject: |
|
|
รถดีเซลรางที่ไปสุรินทร์นี่ผมเคยขึ้นแค่ไม่กี่ครั้งครับ จำได้ว่าตอนนั้นพ่อแม่ผมพาไปเที่ยวงานช้างที่สุรินทร์น่ะครับ
2 ข้างทางตอนนั้นสวยมากครับ จำได้ลาง ๆ แต่พอผมผ่านไปทางอีสานใต้อีกครั้งช่วงเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ก็เปลี่ยนไปจนแทบจำไม่ได้เลยครับ สงสัยคงเป็นอดีตที่นานมาก ๆ แล้วจริง ๆ
ตอนนั้นยังนึกดีใจ รถสุรินทร์มีแค่ 3 ตู้เอง มีตู้แอร์ตู้เดียว รถพิษณุโลกมี 4 ตู้ ตู้แอร์ 2 แต่พอหลังจากนั้นมาหน่อย รถพิษณุโลกเปลี่ยนเป็น sprinter รถสุรินทร์กลับได้เป็น Daewoo ไปซะงั้น  _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
 |
|
Back to top |
|
 |
tuie
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 16/08/2006 7:58 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณ คุณแจน คุณเต้ย และคุณvasankp ที่ติดตามชมและร่วมรำลึกความหลังเกี่ยวกับรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศครับ ขอเล่าต่อเลยนะครับ
หลังจากบริษัทเชิดชัยดีเซลราง จำกัด รับสัมปทานให้บริการบนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายกรุงเทพ-สุรินทร์ ได้ประมาณ ๒ ปี ในปี ๒๕๓๐ บริษัทนี้ก็รับสัมปทานให้บริการอีกรูปแบบหนึ่งต่างจากรูปแบบเดิมซึ่งเป็นการให้บริการทั้งขบวนอยู่บ้าง กล่าวคือ เป็นการรับสัมปทานให้บริการบนโบกี้รถนั่งปรับอากาศที่การรถไฟฯให้บริษัทเชิดชัยฯนำรถนอนชั้นหนึ่ง บนอ.(พัดลม)รุ่นเก่าไปดัดแปลงสภาพใหม่ สภาพภายในคล้ายๆรถทัวร์วี.ไอ.พี.สมัยนี้ แล้วนำไปพ่วงในขบวนรถที่การรถไฟฯให้บริการอยู่แล้วตามปกติ ซึ่งการให้บริการรูปแบบใหม่นี้ เริ่มสายแรก คือ สายกรุงเทพ-หาดใหญ่ โดยนำรถปรับอากาศดัดแปลงพ่วงเข้ากับรถเร็วที่ ๔๕/๔๖ (ขบวน ๑๗๑/๑๗๒ ในปัจจุบัน) กรุงเทพ-สุไหงโกลก พ่วงเป็นโบกี้แรกติดกับหัวรถจักรเลยครับ เท่าที่ผมเห็นมีแค่โบกี้เดียวนอกนั้นเป็นการพ่วงโบกี้อื่นๆตามปกติของการรถไฟฯ รถเร็วขบวนนี้เที่ยวไปออกจากกรุงเทพ ๑๒.๓๐ น. ถึงชุมทางหาดใหญ่ ๔.๓๒ น. (ใช้เวลาเดินทาง ๑๖ ชั่วโมง) เที่ยวกลับออกจากชุมทางหาดใหญ่ ๑๔.๑๕ น. ถึงกรุงเทพ ๖.๓๕ น. แหม!ดูกำหนดเวลารถเร็วขบวนนี้ในสมัยปี ๒๕๓๐ แล้ว วิ่งเร็วพอๆกับขบวนรถด่วนที่ ๑๙/๒๐ (ขบวน ๓๗/๓๘ในปัจจุบัน)เลยครับ
ตั๋วโดยสารรถนั่งปรับอากาศสายนี้ มีลักษณะเดียวกันกับตั๋วโดยสารขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายกรุงเทพ-สุรินทร์ ที่บริษัทเชิดชัยฯรับสัมปทานให้บริการ คือ เป็นตั๋วสามส่วนมีรอยปรุแยกแต่ละส่วนออกจากกัน ส่วนแรกเป็นต้นขั้ว ส่วนที่สองสำหรับผู้โดยสาร ส่วนที่สามสำหรับเทรนโฮสเตทฉีกตอนตรวจตั๋ว ตามภาพตั๋วที่ผมนำมาให้ชมเป็นตั๋วที่ผมลองไปใช้บริการตอนช่วงปิดเทอมแรก(เดือนตุลาคม)ปี ๒๕๓๐ ความจริงมีแผนจะนั่งรถไฟเที่ยวไปถึงหาดใหญ่ด้วย แต่ผมมีให้ชมแค่ส่วนที่สองสำหรับผู้โดยสารนะครับ ส่วนที่สามถูกเทรนโฮสเตทฉีกไปแล้ว จะลงทุนซื้อทั้งใบเอาไว้สะสมแบบตั๋วขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายกรุงเทพ-สุรินทร์ ดังที่เคยนำเสนอให้ชมมาแล้ว ก็ไม่ไหวเนื่องจากมีกำลังทรัพย์ไม่พอครับ แม้ว่าตอนนั้นผมขึ้น ม.๔ แล้วได้ค่าขนมเพิ่มเป็นวันละ ๕๐ บาทก็ตาม เลยเหลือสมบัติมาโชว์ได้แค่นี้ครับ
ตั๋วตามภาพข้างต้นนั้น บริษัทเชิดชัยฯเรียกว่า บัตรโดยสาร (อีกแล้ว) มีลวดลายสัญลักษณ์ของการรถไฟฯสีม่วงอ่อนกระจายทั่วไปในตั๋วทั้งสามส่วน โดยมีตราสัญลักษณ์ของบริษัทเชิดชัยดีเซลราง จำกัด อยู่คาบรอยปรุระหว่างตั๋วส่วนที่สองกับส่วนที่สาม เป็นตั๋วที่พิมพ์เอาไว้แบบเดียวว่าจากกรุงเทพ-หาดใหญ่ ราคา ๔๐๐ บาท หมายความว่า ถ้าโดยสารในระยะทางใกล้กว่านั้นก็ใช้ตั๋วแบบพิมพ์เดียวกันนี้เหมือนกัน เพียงแต่เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วจะขีดฆ่าราคา ๔๐๐ บาท ออกไปแล้วเขียนราคาตามระยะทางที่โดยสารจริง อย่างตั๋วตามภาพดังกล่าวผมใช้โดยสารจากกรุงเทพ-ชุมพร เจ้าหน้าที่ก็ขีดฆ่าราคาที่พิมพ์ไว้หน้าตั๋ว ๔๐๐ บาท ออกแล้วเขียนราคาตั๋วจากกรุงเทพ-ชุมพร ๓๕๐ บาทให้แทน ราคาดังกล่าวเป็นราคาขั้นต่ำที่บริษัทนี้คิดจากผู้โดยสาร หากจะเดินทางในระยะสั้นกว่านี้ เช่น กรุงเทพ-หัวหิน กรุงเทพ-ประจวบฯ ก็ต้องเสียค่าโดยสารในราคาขั้นต่ำ ๓๕๐ บาทเช่นเดียวกันครับ ผมเข้าใจว่าบริษัทเขาก็ต้องคิดในเรื่องความคุ้มค่าและผลกำไรถึงได้คิดค่าโดยสารในลักษณะนี้ แพงหรือไม่แพง ยุติธรรมหรือไม่ ลองเทียบกับราคาค่าตั๋วรถนั่งชั้นสองปรับอากาศ (บชท.ป.)ของการรถไฟในยุคนั้น ต่อให้เป็นรถ บชท.ป.ที่พ่วงกับขบวนรถด่วนด้วยนะครับ ถ้าเป็นระยะทางจากกรุงเทพ-หาดใหญ่ ราคารวมค่าธรรมเนียมเบ็ดเสร็จ ๓๘๓ บาท ผมว่ายังพอรับได้ถ้าเทียบกับการจ่าย ๔๐๐ บาท แต่มีบริการอาหาร เครื่องดื่ม วีดิโอ เพลงฯลฯจากเทรนโฮสเตทสาวสวยตลอดการเดินทาง แต่ถ้าเป็นระยะแค่ประมาณครึ่งทางอย่างกรุงเทพ-ชุมพร ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับค่าตั๋วรถ บชท.ป.รวมค่าธรรมเนียมรถด่วนของการรถไฟฯ เป็นราคาแค่ ๒๔๒ บาทเองแล้ว การเดินทางด้วยโบกี้ปรับอากาศของบริษัทเชิดชัยฯจะแพงกว่าตั้ง ๑๐๘ บาท เชียวนะครับ (ยุคนั้นราคาข้าวแกงโดยเฉลี่ยจานละ ๑๐ บาท)
ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้ในวันที่ผมเดินทางด้วยรถโบกี้นี้ มีผมเพียงคนเดียวที่ลงสถานีชุมพร เพราะผู้โดยสารปกติทั่วไปที่เดินทางแค่กรุงเทพ-ชุมพร เขาจะไม่ใช้บริการโบกี้ปรับอากาศของบริษัทเชิดชัยฯให้เปลืองเงินกันหรอกครับ มีแต่ผู้โดยสารไม่ปกติ(หมายถึงมีเหตุผลพิเศษ ไม่ใช่ว่าเป็นคนบ้านะครับ)อย่างผมที่อยากทดลองนั่งรถเพิ่งจะดัดแปลงเสร็จใหม่ๆ อยากดูให้ชัดๆว่ายังเหลือเค้าเดิมของรถ บนอ.หรือไม่ เพียงใด กับอีกเหตุผลหนึ่ง คือ อยากจะสะสมตั๋วโดยสารถึงยอมจ่ายแพงเพื่อการนี้โดยเฉพาะครับ อ่านถึงตรงนี้บางท่านอาจจะสงสัยว่าในเมื่อผมจะนั่งรถไฟเที่ยวจนถึงหาดใหญ่อยู่แล้ว ถ้าผมกลัวขาดทุน ไม่คุ้มเงินที่จ่ายไป ๓๕๐ บาท แต่นั่งได้แค่ชุมพร ทำไมไม่จ่ายเพิ่มอีก ๕๐ บาท รวมเป็น ๔๐๐ บาท แล้วนั่งไปถึงหาดใหญ่เสียเลยล่ะ แหม! จะบอกเหตุผลที่แท้จริงให้ฟังก็เขินๆอยู่ แต่ไหนๆก็อยู่ในแวดวงพี่ๆน้องที่ต่างก็ชอบ(บ้า)รถไฟเข้าขั้นทั้งนั้น เล่าเรื่องต่างๆ(และบ่น)ให้ท่านฟังมาตั้งเยอะแล้ว สารภาพเลยก็ได้ครับว่า ในการเดินทางครั้งนี้ผม(คิดแบบเด็กๆไม่เอาเหตุผลเรื่องความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ-การเงินแบบผู้ใหญ่เขาคิดกันมาใช้)อยากได้ตั๋วมาสะสมให้มากที่สุด เลยตัดสินใจซื้อทั้งตั๋วโบกี้ปรับอากาศของบริษัทเชิดชัยฯจากกรุงเทพ-ชุมพร และซื้อตั๋วรถนอนพัดลม (บนท. ๓๒ ที่) (สมัยนั้นรถเร็วขบวนนี้มีรถ บนท. พ่วงโบกี้เดียว ไม่มีรถ บนท.ป.พ่วงนะครับ) ในระยะทางที่เหลือจากชุมพร-หาดใหญ่ เดินทางต่อไปโดยขบวนรถเดียวกัน ถือเสียว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เดินทางเที่ยวเดียวได้ตั๋วสองประเภทมาสะสม ได้นั่งทั้งรถปรับอากาศดัดแปลงและนอนหลับสบายบนรถ บนท.ครับ ตกลงการเดินทางจากกรุงเทพไปหาดใหญ่ครั้งนี้ ผมจ่ายค่าตั๋วไปทั้งหมดประมาณ ๗๐๐ บาท (บ้าสะสมตั๋วเข้าขั้นไหมครับ) ตอนลงรถที่หาดใหญ่ยังจำได้ว่าเทรนโฮสเตทเห็นผมแล้วทำท่างงงง คล้ายกับว่าเด็กคนนี้มันลงที่ชุมพรนี่หว่า แล้วมันมาโผล่ที่หาดใหญ่ได้อย่างไรกัน
โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ  |
|
Back to top |
|
 |
ExtendeD
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006 Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร
|
Posted: 16/08/2006 9:38 pm Post subject: |
|
|
ผมรอรำลึกความหลังกับขบวนสุดท้าย รถพิษณุโลกอยู่ครับ อาจจะดึงความทรงจำก๊อกท้ายสุดออกมาเล่าให้ทุกคนได้อ่านกัน จะมีเหลือตรงไหนอีกน้อ...  _________________ Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.
 |
|
Back to top |
|
 |
nathapong
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 16/08/2006 9:59 pm Post subject: |
|
|
แหะแหะ...สงสัยครับ
การบริการของเชิดชัย ในสายใต้ จะเหมือนรถทัวร์ไหมครับ...
แบบว่ารถออกแล้ว แจกน้ำ แจกของกิน เปิดวีดีโอหนังจีน แจกข้าว ... แจกผ้าห่ม....นอน
เก็บผ้าห่ม...... ไล่ลง...... อะ..ไม่ใช่......แจ้งผู้โดยสารว่าถึงปลายทางแล้ว ขอบคุณที่ใช้บริการ ... |
|
Back to top |
|
 |
tuie
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 17/08/2006 1:15 pm Post subject: |
|
|
ที่พี่ณัฐสงสัยว่า
Quote: | การบริการของเชิดชัย ในสายใต้ จะเหมือนรถทัวร์ไหมครับ... |
เท่าที่ผมสังเกตการบริการของเทรนโฮสเตท ก็คล้ายๆกับบัสโฮสเตทรถทัวร์ชั้นหนึ่งนะครับ แต่ออกจะทำให้ใกล้เคียงกับแอร์โฮสเตทมากกว่า ไม่ว่าจะด้านความสวยงามทั้งคนและเครื่องแบบ
ที่ต่างจากรถทัวร์ส่วนมากก็คือ การเสริฟอาหารมื้อเย็นให้บนขบวนรถ ไม่มีจอดแวะให้ลงไปรับประทานที่ร้านอาหารระหว่างทางแบบรถทัวร์ กับขอเติมเครื่องดื่มร้อน/เย็นนานาชนิดได้ แต่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสริฟอย่างบนเครื่องบินนะครับ
เวลาใกล้จะถึงสถานีที่ผู้โดยสารท่านใดจะลง โดยเฉพาะสถานีระหว่างทางเทรนโฮสเตทก็จะมากระซิบบอกผู้โดยสารท่านนั้น ไม่มีการตะโกนลั่นโบกี้ ให้ผู้โดยสารอื่นที่หลับอยู่และยังไม่ลง ต้องตกใจตื่นหรอกครับ นอกจากนี้ เทรนโฮสเตทยังมีหน้าที่คอยเปิดไฟ หรี่ไฟ ปรับความเย็นเครื่องปรับอากาศ ซึ่งบัสโฮสเตทไม่ต้องทำหน้าที่ดังกล่าวเนื่องจากคนขับรถทัวร์ทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว
แต่คาดว่า ไม่น่าจะมีกรณีเทรนโฮสเตทเอาขวดน้ำอัดลมโขก.... พขร.ที่ขับซิ่ง เหมือนขบวนรถบางสาย เพราะว่าคงปีนไปจัดการถึงบนหัวรถจักรไม่ไหวน่ะครับ
ขอบคุณพี่ณัฐและทุกๆท่านที่ติดตามชมนะครับ  |
|
Back to top |
|
 |
tongchit
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006 Posts: 1164
Location: ทับยาว เขต.ลาดกระบัง
|
Posted: 17/08/2006 5:52 pm Post subject: |
|
|
Quote: | อยากได้ตั๋วมาสะสมให้มากที่สุด เลยตัดสินใจซื้อทั้งตั๋วโบกี้ปรับอากาศของบริษัทเชิดชัยฯจากกรุงเทพ-ชุมพร และซื้อตั๋วรถนอนพัดลม (บนท. ๓๒ ที่) (สมัยนั้นรถเร็วขบวนนี้มีรถ บนท. พ่วงโบกี้เดียว ไม่มีรถ บนท.ป.พ่วงนะครับ) ในระยะทางที่เหลือจากชุมพร-หาดใหญ่ เดินทางต่อไปโดยขบวนรถเดียวกัน ถือเสียว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เดินทางเที่ยวเดียวได้ตั๋วสองประเภทมาสะสม ได้นั่งทั้งรถปรับอากาศดัดแปลงและนอนหลับสบายบนรถ บนท.ครับ ตกลงการเดินทางจากกรุงเทพไปหาดใหญ่ครั้งนี้ ผมจ่ายค่าตั๋วไปทั้งหมดประมาณ ๗๐๐ บาท (บ้าสะสมตั๋วเข้าขั้นไหมครับ) ตอนลงรถที่หาดใหญ่ยังจำได้ว่าเทรนโฮสเตทเห็นผมแล้วทำท่างงงง คล้ายกับว่าเด็กคนนี้มันลงที่ชุมพรนี่หว่า แล้วมันมาโผล่ที่หาดใหญ่ได้อย่างไรกัน |
นับถือในความพยามของคุณตุ้ย ถึงกับยอมอดค่าข้าว ค่าขนมลงทุนเพียงเพราะอยากได้ตั๋วที่ต้องการมาเก็บไว้สะสม  _________________ ความผิดฅนอื่นเท่าขุนเขา ความผิดเราเท่าขุมขน
 |
|
Back to top |
|
 |
tuie
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 19/08/2006 8:29 pm Post subject: |
|
|
ใครบอกว่าบ้ารถไฟนี่ ผมถือว่าเป็นคำชมนะครับ ขอบคุณ พี่ tongchit และทุกๆท่านที่ติดตามชม เล่าตอนต่อไปเลยนะครับ
เล่านอกเรื่องไปตั้งเยอะ กลับมาที่ตั๋วตามภาพข้างต้นอีกครั้งนะครับ มีข้อน่าสังเกตว่า บริษัทเชิดชัยฯเขาเรียกโบกี้รถปรับอากาศดัดแปลงนี้ว่า รถปรับอากาศพิเศษ ถ้าท่านใดได้ชมภาพซากของโบกี้รุ่นนี้ที่คุณ Alderwood กรุณานำมาให้ชมในตอนท้ายๆกระทู้ที่ผมเล่าเรื่อง เล่าเรื่องตั๋วแข็งหลากสีหลายชนิด แล้วจะเห็นตัวย่อเรียกโบกี้รุ่นนี้ว่า รปอ. ติดไว้อย่างชัดเจน ตามตั๋วระบุเลขที่นั่ง 10 B เพราะว่าระบบเลขที่นั่งสำหรับโบกี้รุ่นนี้ ใช้ตัวเลขเรียกลำดับแถวเก้าอี้นั่งจากต้นไปท้ายโบกี้ โดยมีอักษร A , B , C , D แสดงลำดับที่นั่งจากริมหน้าต่างด้านหนึ่งไปยังริมหน้าต่างอีกด้านหนึ่งทำนองเดียวกับการกำหนดเลขที่นั่งบนเครื่องบิน หรือรถทัวร์บางคัน ส่วนลำดับของโบกี้ในขบวนรถก็ไม่ยอมใช้คำว่า รถคันที่.... ตามมาตรฐานของการรถไฟฯ โดยใช้ภาษาพูดแบบประชานิยมว่า ตู้ที่ ซึ่งตามตั๋วไม่ระบุหมายเลขเอาไว้เพราะมีอยู่คันเดียวอยู่แล้ว คงละไว้ในฐานที่เข้าใจว่าผู้โดยสารน่าจะหาพบ ดีนะครับที่การรถไฟไม่เอาตรรกะแบบนี้มาใช้กับการออกตั๋วโดยสารรถบางชนิดที่ตามปกติในขบวนหนึ่งมีอยู่โบกี้เดียว เช่น บนอ.ป. ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต้องระบุหมายเลขรถคันที่.... กันละครับ ก็มันมีรถแบบนี้แค่โบกี้เดียวนี่ ผู้โดยสารน่าจะหาเจอ
เล่าเรื่องด้านหน้าตั๋วแล้วไม่พลิกดูด้านหลังเดี๋ยวจะไม่ครบเครื่อง ชมภาพด้านหลังตั๋วรถปรับอากาศพิเศษกรุงเทพ-หาดใหญ่กันดีกว่าครับ
ด้านหลังตั๋วตามภาพมีการระบุเงื่อนไข(กฎเหล็ก)ในการเดินทางเอาไว้ ดูกระท่อนกระแท่นหน่อยนะครับเพราะบริษัทนี้เขาพิมพ์กฎเหล็กคาบรอยปรุระหว่างส่วนที่สองกับส่วนที่สาม เวลาฉีกตั๋วส่วนที่สามไปตรวจแล้ว ผู้โดยสารก็เหลือข้อมูลไว้ศึกษากฎเหล็กเพียงแค่นี้ เหมือนอย่างที่เคยเล่าไปแล้วเกี่ยวกับตั๋วรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายกรุงเทพ-สุรินทร์น่ะครับ สาระสำคัญเท่าที่พอจับใจความได้นั้น เป็นไปทำนองเดียวกับกฎเหล็กในการโดยสารรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่บริษัทเอกชนรับสัมปทานนั่นแหละครับ อย่างข้อความในตั๋วตามภาพข้างต้นที่ว่า นั่งละ ๑ แสนบาท ไม่ใช่แจกเงินให้ที่นั่งละแสนบาทนะครับ(ไม่อย่างนั้นคงแย่งกันใช้บริการกันน่าดู) แต่เป็นวงเงินประกันภัยอุบัติเหตุให้แก่ผู้โดยสารทุกที่นั่ง ชื่อสถานีที่รถจอดและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อก็ขาดหายไปอย่างน่าเสียดาย ผมถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าการสื่อสารข้อมูลถึงผู้โดยสาร โดยอาศัยตั๋วโดยสารเป็นสื่อนั้น จะต้องวางแผนการสื่อสาร การจัดวางสาร(ข้อความ)และการใช้สื่อให้รอบคอบกว่านี้นะครับ มิฉะนั้นการสื่อสารก็จะไม่ประสบความสำเร็จและเกิดความคลาดเคลื่อนได้ง่าย เล่าๆไปชักจะกลายเป็นครูวิชาภาษาและการสื่อสารเสียแล้ว มาชมภาพภายในรถปรับอากาศดัดแปลงกันครับ เป็นภาพที่ผมสำเนามาจากโฆษณาปกหลังวารสารรถไฟสัมพันธ์ ฉบับพิเศษฯ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
ตามภาพข้างต้นคงพอจะเห็นได้ชัดเจนว่ารถ บนอ.(ที่รักของผม) แปลงร่างกลายเป็นรถทัวร์(เชิดชัย)ในคราบของรถไฟไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้นั่ง กระจกหน้าต่าง ชั้นวางของ การติดตั้งโทรทัศน์ ล้วนถอดแบบมาจากรถทัวร์ทั้งสิ้น มีเพียงการหมุนหันหน้าเก้าอี้ไปตามทิศทางที่ขบวนรถแล่นไปที่ยังเป็นไปในลักษณะเดียวกับรถ บชท.หรือ บชท.ป. ในโฆษณาดังกล่าวยังระบุว่า จะเปิดบริการเพิ่มในสายกรุงเทพ-อุบลฯ และกรุงเทพ-เชียงใหม่ด้วย แต่ในเวลาต่อมาเท่าที่ผมเห็นมีการเปิดบริการเพิ่มเพียงสายกรุงเทพ-อุบลฯ โดยพ่วงกับขบวนรถเร็วที่ ๓๙/๔๐ (ขบวน ๑๓๙/๑๔๐ ในปัจจุบัน) เที่ยวไปออกจากกรุงเทพ ๑๘.๔๕ น. ถึงอุบลฯ ๕.๑๕ น. เที่ยวกลับออกจากอุบลฯ ๑๘.๒๐ น. ถึงกรุงเทพ ๕.๑๒ น. ส่วนสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ไม่เห็นมีการเปิดบริการนะครับ บริการรถปรับอากาศพิเศษทั้งสายกรุงเทพ-หาดใหญ่ และกรุงเทพ-อุบลราชธานี มีอยู่ในระยะสั้นๆก็ยกเลิกเสียหมด ผมยังไม่ทันได้ไปทดลองใช้บริการสายกรุงเทพ-อุบลฯ บริษัทนี้ก็เลิกกิจการรถปรับอากาศพิเศษไปก่อนคงเหลือแต่กิจการขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศกรุงเทพ-สุรินทร์ ครับ เลยไม่มีตั๋วสายกรุงเทพ-อุบลฯมาให้ท่านชม ส่วนโบกี้ปรับอากาศรุ่นนี้ก็ถูกนำไปจอดทิ้งไว้ที่สถานีนครราชสีมาอยู่หลายปี ถูกเพลิงไหม้เหลือแต่ซาก(ดังที่คุณ Alderwood ถ่ายภาพไว้) คนรุ่นเก่าเห็นแล้วก็อดไม่ได้ที่จะหวนระลึกถึงเมื่อครั้งโบกี้รุ่นนี้ยังมีสภาพเดิมเป็นรถนอนเอก (บนอ.)อย่างเต็มภาคภูมิช่วงก่อนปี ๒๕๓๐ สรรพสิ่งในโลกล้วนอนิจจังจริงๆนะครับ
ก่อนจะจบตอนของรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายกรุงเทพ-สุรินทร์ ก็ขอกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของรถขบวนนี้ไว้พอสังเขปว่า หลังจากบริษัทเชิดชัยดีเซลราง จำกัด ไม่ได้รับสัมปทานให้บริการบนขบวนรถสายนี้แล้ว การรถไฟยังคงเดินรถขบวนนี้ต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขขบวนรถเที่ยวไปจากขบวน ๙๓๑ เป็นขบวน ๗๑ ขบวน ๙๓๓ เป็นขบวน ๗๓ เปลี่ยนแปลงหมายเลขขบวนรถเที่ยวกลับจากขบวน ๙๓๒ เป็นขบวน ๗๒ ขบวน ๙๓๔ เป็นขบวน ๗๔ มีการขยายปลายทางจากสุรินทร์ เป็นกรุงเทพ-ศีขรภูมิ(ขบวน ๗๒/๗๓) เป็นกรุงเทพ-อุทุมพรพิสัยและกลายเป็นกรุงเทพ-ศรีสะเกษ(ขบวน ๗๑/๗๔)ในที่สุด รถที่ใช้ทำขบวนยกระดับเป็นรถดีเซลรางปรับอากาศแดวู แต่ลดศักย์ขบวนรถจากรถด่วนพิเศษดีเซลรางฯเป็นรถด่วนฯ ความเร็วที่ใช้ในการเดินทางก็ลดลงตามไปด้วย จากเดิมสมัยเป็นขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางฯใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพไปสุรินทร์ประมาณ ๖ ชั่วโมง ก็เพิ่มเป็นประมาณ ๗ ชั่วโมงครับ
โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ  |
|
Back to top |
|
 |
nathapong
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006 Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom
|
Posted: 20/08/2006 5:20 pm Post subject: |
|
|
อ่า ติดตามชมอยู่นะครับ
ว่าแต่เรื่องกระดาษ ตอนนี้ได้มาบางส่วนแล้ว
แต่พอนึกถึงกระดาษพิเศษที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเจาะเชือกฟางร้อยในสมัยก่อน
และกรรมวิธีการใช้ และท่าทางประกอบ ที่พี่ เอ๋ อัคร...เล่าให้ฟัง
คุณ tiue จะขยายความตอนนี้หรือยกยอดไปตอนท้ายๆ ดีครับ
ส่วนเรื่อง ขวดโค้ก นั้น ผมว่าติดตามที่อาจารย์ Cummins เล่าดีกว่า นะครับ. อิอิ...  |
|
Back to top |
|
 |
tuie
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006 Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย
|
Posted: 20/08/2006 8:14 pm Post subject: |
|
|
ที่พี่ ณัฐ ถามว่า
Quote: | เรื่องกระดาษ ตอนนี้ได้มาบางส่วนแล้ว
แต่พอนึกถึงกระดาษพิเศษที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเจาะเชือกฟางร้อยในสมัยก่อน
และกรรมวิธีการใช้ และท่าทางประกอบ ที่พี่ เอ๋ อัคร...เล่าให้ฟัง
คุณ tiue จะขยายความตอนนี้หรือยกยอดไปตอนท้ายๆ ดีครับ |
ตามสะดวกเลยครับพี่ จะเล่าเลย หรือจะรอให้ได้ข้อมูลเรื่องกระดาษ และกระดาษพิเศษ(มีกลิ่น...ฟุ้งจรุงจิต) ครบถ้วนทั้งหมด แล้วพี่ณัฐจะกรุณารวบยอดเล่าให้ฟังในตอนท้ายๆก็ได้ครับ ถ้ามีภาพประกอบ(ภาพจริงหรือภาพจำลองก็ได้)ให้ชมจักขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ 8) |
|
Back to top |
|
 |
Gunnersaurus
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006 Posts: 1574
Location: เมืองช้าง
|
Posted: 21/08/2006 12:47 am Post subject: |
|
|
เรื่องกระดาษพิเศษที่ต้องเจาะรูร้อยจะต้องเอาถึงขั้นมีภาพประกอบด้วยหรือครับ
จะกลายเป็นหนังสี่มิติไปเลยหรือเปล่า....หุหุ
 |
|
Back to top |
|
 |
|