RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13268073
ทั้งหมด:13579359
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เล่าถึงเหล่าเพื่อนผองของตั๋วแข็ง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เล่าถึงเหล่าเพื่อนผองของตั๋วแข็ง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 21/08/2006 9:03 pm    Post subject: Reply with quote

ที่คุณแจนสงสัยว่า
Quote:
เรื่องกระดาษพิเศษที่ต้องเจาะรูร้อยจะต้องเอาถึงขั้นมีภาพประกอบด้วยหรือครับ


ผมกลัวว่าน้องๆเด็กรุ่นใหม่จะมโนภาพไม่ออกว่า กระดาษพิเศษที่พี่ณัฐกล่าวถึงมีลักษณะอย่างไรน่ะครับ ถ้ามีภาพประกอบจะได้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น แต่ถ้าส่งกลิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้กระดาษพิเศษในบางสถานการณ์ได้ทางอินเตอร์เนต ผมเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ "วงแตก" เสียก่อนครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 21/08/2006 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อเลยนะครับ

๑.๓ สายกรุงเทพ-พิษณุโลก
บริษัทที่ได้รับสัมปทานให้บริการบนขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายนี้ คือ บริษัทแก่นอินน์การท่องเที่ยว จำกัด ชื่อบริษัทนี้สร้างความสับสนให้แก่ผู้โดยสารบางท่านพอสมควร เพราะเห็นคำว่า “แก่นอินน์ฯ” ก็นึกว่าเป็นผู้ให้บริการขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายกรุงเทพ-ขอนแก่น แต่ไม่ใช่นะครับ ผมก็เคยสับสนในทำนองนี้เหมือนกัน แต่ต่อมาหาวิธีจำ(แบบเด็กม.๒)โดยคิดว่า แก่นอินน์ ก็แก่นของพระอินทร์ ในวรรณคดีมีเรื่องราวของพระอินทร์เกี่ยวพันกับพระวิษณุ(หรือพระพิษณุ) พอเห็นคำว่าพิษณุก็โยงไปถึงเมืองพิษณุโลกจนได้ละครับ(กระบวนการทางความคิดมั่วดีไหมครับ เด็กคนนี้) ทีนี้เลยจำแม่นว่าบริษัทแก่นอินน์ฯ รับสัมปทานสายกรุงเทพ-พิษณุโลก ไม่มีผิดเพี้ยน ตามปกติการจัดริ้วขบวนรถสายนี้ประกอบไปด้วยรถดีเซลรางชั้นสามจำนวนสองคันอยู่หัวขบวนกับท้ายขบวน รถดีเซลรางปรับอากาศสองคันอยู่กลางขบวน รวมเป็น ๔ คัน

ตามข้อมูลตารางเดินรถสายเหนือ ฉบับลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๒๘ ซึ่งเป็นวันเริ่มเปิดบริการขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศทั้งสามสาย (กรุงเทพ-ขอนแก่น , กรุงเทพ-สุรินทร์ และกรุงเทพ-พิษณุโลก) ปรากฎว่ามีขบวนรถเที่ยวไปสามขบวน ขบวนแรกขบวนที่ ๙๐๑ ออกจากกรุงเทพ ๑๑.๐๕ น. ถึงพิษณุโลก ๑๖.๐๕ น. (ใช้เวลาเดินทางเพียง ๕ ชั่วโมง) ขบวนที่สองขบวนที่ ๙๐๓ ออกจากกรุงเทพ ๑๗.๐๕ น. ถึงพิษณุโลก ๒๒.๐๒ น.(ขาดอีก ๓ นาทีครบ ๕ ชั่วโมง) ขบวนที่สามขบวนที่ ๙๐๕ ออกจากกรุงเทพ ๒๓.๐๕ น. ถึงพิษณุโลก ๔.๔๕ น. ขบวนรถเที่ยวกลับมีสามขบวนเช่นกัน ขบวนแรกขบวนที่ ๙๐๒ ออกจากพิษณุโลก ๘.๔๕ น. ถึงกรุงเทพ ๑๓.๔๕ น. ขบวนที่สองขบวนที่ ๙๐๔ ออกจากพิษณุโลก ๑๗.๐๐ น. ถึงกรุงเทพ ๒๒.๑๐ น. ขบวนที่สามขบวนที่ ๙๐๖ ออกจากพิษณุโลก ๒๓.๓๐ น. ถึงกรุงเทพ ๔.๔๕ น. ทุกขบวนหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีกรุงเทพ สามเสน ดอนเมือง นครสวรรค์ ตะพานหิน พิจิตร และพิษณุโลก ต่อมาถึงหยุดสถานีชุมแสง บางมูลนาก เพิ่มเติม

ดูจากกำหนดเวลาเดินรถแล้วรวดเร็วดีไหมครับ ตอนที่ผมมีโอกาสเดินทางขบวนรถสายนี้เที่ยวกลางวัน เช่น ขบวน ๙๐๑ , ๙๐๒ ก็รู้สึกว่ารถวิ่งเร็วประมาณ ๙๐-๑๐๐ ก.ม./ชม. เกือบตลอดทางเลยนะครับ เพราะไม่มีทางตอนภูเขาระหว่างทางอย่างสายขอนแก่น หรือสายสุรินทร์ เวลาขบวนรถจะผ่านประแจสถานีรายทางจะต้องลดความเร็วเหลือ ๙๐ หรือต่ำกว่านั้นตามแต่กรณี เพราะประแจสมัยนั้นเท่าที่ผมสังเกตจากป้ายบอกความเร็วข้างทาง กำหนดให้วิ่งผ่านด้วยความเร็วสูงสุดเพียง ๙๐ กม./ชม.เท่านั้น ขนาดผ่านประแจด้วยความเร็ว ๙๐ ยังมีเสียงดัง(ยากจะบรรยายให้เหมือนจริงน่ะครับ) และขบวนรถโยกจนน่ากลัวจะหลุดออกนอกราง(ตามความคิดของผู้โดยสาร)เลยนะครับ แต่พอนั่งไปชักจะชินก็เลยรู้สึกมันส์ในอารมณ์ทุกครั้งที่ขบวนรถลดความเร็วลงเล็กน้อยแล่นผ่านประแจแล้วเร่งความเร็ว(มีเสียงเครื่องยนต์ดังกระหึ่ม)ต่อไปในระดับเดิม รถขบวนนี้(เที่ยวกลางวัน)แทบจะไม่ต้องจอดรอหลีกขบวนรถใดเลยตลอดทางดังที่อาจารย์ Cummins กรุณาเล่าให้ฟังถึงรถขบวนนี้ในกระทู้เล่าเรื่องตั๋วแข็งฯ แถมยังแซงขบวนรถอื่นๆอีกหลายขบวนครับ ทั้งเรื่องความสะดวก รวดเร็ว บริการดีน่าประทับใจ ทำให้ขบวนรถสายนี้เป็นที่นิยมมากในยุคนั้น ซึ่งทางหลวงไปพิษณุโลกยังไม่ได้ขยายเหมือนปัจจุบันนี้ จึงสามารถแข่งขันกับรถทัวร์ได้สบายๆ

สำหรับตั๋วโดยสารรถขบวนนี้ เท่าที่ผมเก็บสะสมไว้มีอยู่สองแบบ มีความงามในระดับสวยน้อยถึงไม่สวยเลย ผมว่ามาชมแบบไม่สวยเลยกันก่อนดีกว่านะครับ เผื่อเวลาชมตั๋วแบบสวยน้อยจะได้รู้สึกว่าสวยมากขึ้น

Click on the image for full size

ชมภาพตั๋วข้างต้นแล้วเป็นอย่างไรบ้างครับ ไม่สวยเลยใช่ไหมครับ ของจริงเป็นแค่กระดาษบางๆแผ่นเดียว ไม่มีสีสัน ไม่มีลวดลายที่งดงาม ดูไม่ค่อยจะมีคุณค่าน่าเก็บเท่าใดนัก(บ่นแล้วก็ยังอุส่าห์เก็บมาถึงทุกวันนี้) ด้านหลังก็เป็นกระดาษขาวๆไม่มีข้อความเงื่อนไขการเดินทาง(กฎเหล็ก)หรือข้อแนะนำในการใช้ตั๋วเหมือนกับตั๋วขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายอื่น ผมเลยไม่ถ่ายภาพด้านหลังตั๋วนี้มาให้ชมกันครับ ลักษณะของตั๋วแบ่งเป็นสามส่วนมีรอยปรุแบ่งแต่ละส่วนออกจากกันทำนองเดียวกันกับตั๋วของบริษัทเชิดชัยฯที่เคยนำเสนอไปแล้ว ส่วนแรกซึ่งไม่มีในภาพเป็นต้นขั้วที่ผู้จำหน่ายตั๋วกรอกข้อมูลเก็บไว้ ส่วนที่สองตามภาพด้านซ้ายทั้งตั๋วด้านบนและล่างเป็นของผู้โดยสาร ส่วนที่สามตามภาพตั๋วด้านบนขวาเป็นส่วนที่เทรนโฮสเตทฉีกเก็บไว้ตอนตรวจตั๋ว ซึ่งเมื่อฉีกแล้วก็จะเหลือแค่ส่วนที่สองตามภาพตั๋วด้านล่างซ้ายของภาพ ไม่ว่าจะโดยสารชั้นสาม หรือชั้นสองนั่งปรับอากาศก็จะได้ตั๋วแบบนี้ เพียงแต่การระบุหมายเลขโบกี้ และราคาจะแตกต่างกัน คือ โบกี้ที่ ๑,๔ เป็นรถดีเซลรางชั้นสาม โบกี้ที่ ๒,๓ เป็นรถดีเซลรางนั่งปรับอากาศ ข้อความที่ปรากฏหน้าตั๋วเป็นข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทาง ยังเรียกตั๋วว่า “บัตรโดยสาร” เรียกรถคันที่....ว่า “ตู้ที่...” ทำนองเดียวกับบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานรายอื่น หากท่านสังเกตดีๆจะเห็นข้อผิดพลาดในการออกตั๋วใบที่อยู่ด้านบนของภาพ เห็นไหมครับ ผู้ออกตั๋วระบุทั้งหมายเลข ๒ และ ๓ ในช่องตู้ที่ ยังดีนะครับที่ในส่วนที่สามระบุเฉพาะตู้ที่ ๒ เลยยังพอจะขึ้นรถได้ถูกคัน ถ้าเป็นคนที่หัดมองโลกในแง่บวกเพื่อสุขภาพจิตที่ดี ก็ควรคิดว่าเป็นการทดสอบไหวพริบของผู้โดยสารไปในตัวนะครับ เห็นแล้วจะได้ไม่ขุ่นเคืองในอารมณ์

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 22/08/2006 1:00 pm    Post subject: รออยู่นาน Reply with quote

รออยู่นานเลยครับกว่าจะถึงสายพิษณุโลกอย่างที่บอกล่ะครับ
ว่ามีความประทับใจหลายอย่าง ขอบคุณคุณตุ้ยครับที่เก็บตั๋ว
ไว้เป็นอย่างดีแล้วเอามาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวให้คนที่เคย
ทั้งใช้บริการ และเคยเป็นคนขับอย่างผมได้ระลึกความหรรษา
เมื่อได้นั่ง และความมันส์ยามเมื่อเป็นคนขับ ครับเมื่อเรื่องราว
ของคุณตุ้ยมาถึงตรงนี้ของผมเว้นอีกสองสามตอนครับเดี๋ยวเรา
ก็จะได้รู้กันล่ะครับว่า เมื่อเทรนโฮสเตสเข้ามา ว๊ากคนขับถึงในห้องขับ
พร้อมทั้งเอาถาดเคาะหัวอีกหนึ่งทีว่ามันสร้างความตลกขบขันให้
ผู้โดยสารขนาดไหน ส่วนคนขับนั้นไม่ต้องพูดถึง ไม่กล้าแม้จะลุก
ไปเข้าห้องน้ำครับ อายครับอายผู้โดยสาร
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 23/08/2006 9:21 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณอาจารย์Cummins และทุกๆท่านที่ติดตามชมนะครับ Very Happy เล่าช้าไปบ้างต้องขออภัยด้วยครับ ผมก็เป็นแฟนรายการ(กระทู้)ฝันที่เป็นจริงฯ ของอาจารย์เหมือนกัน รอติดตามชมอยู่ตลอดครับ 8)

เล่าต่อเลยนะครับ

ชมภาพตั๋วแบบไม่สวยไปแล้ว ผมมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ตั๋วแบบดังกล่าวนอกจากจะไม่สวยแล้วยังน่าจะถูกปลอมแปลงได้ง่าย เนื่องจากไม่มีมาตรการป้องกันการปลอมแปลงแบบตั๋วของบริษัทผู้รับสัมปทานรายอื่น เช่น การพิมพ์ลวดลายเฉพาะลงในตั๋ว การพิมพ์เครื่องหมายของบริษัทผู้รับสัมปทาน เป็นต้น จุดอ่อนในเรื่องนี้ได้รับการแก้ไขในการพิมพ์ตั๋วอีกแบบหนึ่งของบริษัทนี้ คือ แบบที่ผมว่าสวยน้อยหน่อย ตามภาพต่อไปนี้ครับ

Click on the image for full size

ตั๋วตามภาพข้างต้นเป็นส่วนที่สองฉบับผู้โดยสารถือในการโดยสารจากทั้งหมดสามส่วน มีลักษณะการแบ่งส่วนของตั๋วเช่นเดียวกับตั๋วแบบแรก(แบบไม่สวย)ของบริษัทนี้ และเหมือนกับตั๋วของบริษัทเชิดชัยดีเซลรางฯ(สายกรุงเทพ-สุรินทร์)ที่เคยนำเสนอไปแล้ว ลวดลายหน้าตั๋วเป็นรูปเครื่องหมายของบริษัทแก่นอินน์ฯเต็มไปหมด ดูเผินๆเห็นมีสัญลักษณ์ล้อติดปีกคล้ายกับเครื่องหมายของการรถไฟ แต่ไม่เหมือนกันนะครับ ข้อมูลที่ระบุไว้ในตั๋วส่วนมากและการใช้ภาษายังเป็นไปในทำนองเดียวกันกับตั๋วของบริษัทผู้รับสัมปทานรายอื่น ดังจะเห็นได้จากการเรียกว่า “บัตรโดยสาร” “ตู้ที่” ส่วนที่แตกต่างไปจากตั๋วรถร่วมเอกชนที่เคยนำเสนอก็คือ ช่องหมายเหตุด้านล่างตั๋ว โดยยังมีข้อความกำกับไว้อย่างเด่นชัดว่า “ตั๋วซื้อแล้วไม่รับคืน”

นำชมด้านหน้าตั๋วแล้วก็ต้องพลิกให้ชมด้านหลังตั๋วเช่นเคยนะครับ

Click on the image for full size

ข้อมูลที่ปรากฏด้านหลังตั๋วตามภาพประกอบไปด้วย เงื่อนไขการเดินทาง(กฎเหล็ก)ซึ่งมีเนื้อหาสาระทำนองเดียวกันกับกฎเหล็กของบริษัทผู้รับสัมปทานรายอื่นที่ผมเคยนำเสนอไปแล้ว โดยจัดพิมพ์ข้อความครบถ้วนสมบูรณ์จบเนื้อความในเขตพื้นที่ด้านหลังตั๋วส่วนที่ผู้โดยสารถือ ต่างจากตั๋วของบริษัทเชิดชัยฯที่พิมพ์กฎเหล็กเอาไว้คาบรอยปรุระหว่างส่วนที่สองกับส่วนที่สามดังที่เคยเล่า(บ่น)ให้ฟังมาแล้ว จึงไม่มีปัญหาด้านการสื่อสารเนื่องจากข้อความไม่ครบถ้วน แถมยังมีข้อความระบุถึงการส่งเรื่องราวร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่สะดวกในการบริการอีกด้วย นับว่าเป็นมิติใหม่ในยุคนั้นซึ่งกระแสในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า/ประชาชน การตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงาน และการใช้สิทธิของผู้บริโภคในการร้องเรียน ยังไม่เข้มข้นรุนแรงเหมือนกับยุคปัจจุบัน

ผมลองนึกๆดูแล้วน่าจะเป็นตั๋วรถไฟแบบแรกที่ระบุให้ผู้โดยสารสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนถึงความไม่สะดวกในการใช้บริการไว้อย่างชัดเจน ในขณะที่ตั๋วโดยสารของการรถไฟไม่ว่าจะเป็นตั๋วแข็ง(ตั๋วหนา) ตั๋วบางชนิดต่างๆเท่าที่ผมเห็นจนทุกวันนี้ ไม่ปรากฏว่ามีการระบุข้อความในลักษณะดังกล่าวไว้ในตั๋ว จะเคยมีระบุถึงช่องทางการร้องเรียนการบริการไว้ก็แต่ในกำหนดเวลาเดินรถฉบับแจกผู้โดยสารในยุคก่อนที่เป็นแผ่นพับหลายๆหน้าสีสันสวยงาม มีเนื้อหาทั้งตารางเวลาเดินรถ ภาพรถไฟ ระยะทาง ค่าโดยสาร ค่าธรรมเนียมฯลฯ(คิดว่าจะนำเสนอกำหนดเวลาเดินรถแบบสวยๆที่ว่านี้ พร้อมเนื้อหาที่น่าสนใจในโอกาสต่อไปครับ) ไม่ใช่มีแต่ตารางเดินรถแผ่นเดียวคล้ายเมนูของร้านอาหารตามสั่งอย่างที่แจกผู้โดยสารในปัจจุบันนะครับ

ด้านล่างของตั๋วมีการระบุสถานที่สำรองที่นั่งและหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อไว้ ถ้าสังเกตให้ดีชื่อผู้แทนจำหน่ายตั๋วที่นครสวรรค์ บางมูลนาก น่าจะเป็นชื่อของร้านขายยา ชื่อผู้แทนจำหน่ายตั๋วที่พิจิตร น่าจะเป็นชื่อของคลินิก หากดูแต่ชื่อดังกล่าวแล้วไม่เห็นมีลักษณะบ่งชี้ว่าเป็นผู้แทนจำหน่ายตั๋วรถไฟเลยนะครับ

โปรดติดตามชมตอนต่อไปครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 25/08/2006 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

เล่าต่อนะครับ

ชมภาพตั๋วของบริษัทนี้มาแล้วทั้งแบบไม่สวย และแบบสวยน้อย(ตั๋วรถไฟที่สวยที่สุดในความเห็นของผมคือ “ตั๋วแข็ง” เท่านั้นครับ) ลองชมแผ่นปลิวโฆษณากิจการขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศสายนี้กันครับ อาจจะไม่ค่อยสวยอีกเช่นเคยเนื่องจากไม่ค่อยใช้ศิลปะในการผลิตสื่อโฆษณาเท่าที่ควร ทำให้รูปแบบคล้ายกับใบปลิวโฆษณางานวัดเสียมากกว่า แต่ดูในภาพรวมแล้วก็ยังนับว่าเป็นเอกสารที่มีความน่าสนใจ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธในการดำเนินธุรกิจของบริษัทเอกชนผู้รับสัมปทานในยุคนั้น ซึ่งต่างจากการดำเนินธุรกิจขององค์การภาครัฐได้เป็นอย่างดี

Click on the image for full size

จากภาพแผ่นปลิวโฆษณาข้างต้น มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจสรุปได้ดังนี้ครับ

๑ มีการใช้คำขวัญเชิญชวนให้ใช้บริการรถไฟ โดยนำเอาจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัยซึ่งการขนส่งทางถนนสู้ไม่ได้ แถมรถขบวนนี้ยังใช้เวลาเดินทางแค่ ๕ ชั่วโมง กับการที่รถไฟเข้าถึงสถานีหัวลำโพงใจกลางกรุงเทพไม่ต้องต่อรถเข้าเมืองอีก มาเป็นจุดขาย

๒ มีการให้บริการขนส่งต่อเนื่อง รถไฟ-รถยนต์ ระหว่างกรุงเทพ-พิษณุโลก-สุโขทัย ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๒๙ เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร และขยายตลาดผู้ใช้บริการไปยังพื้นที่จังหวัดสุโขทัยซึ่งไม่มีทางรถไฟถึงตัวจังหวัด(มีแต่ทางรถไฟถึงอำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีนคร เท่านั้น)

๓ มีการจัดรายการส่งเสริมการขาย โดยการลดราคาตั๋วขบวนรถเที่ยวดึก(เที่ยวห้าทุ่ม) ให้มีราคาถูกกว่าราคาปกติ ๒๕ บาท

๔ มีการโฆษณาถึงความสะดวก สบาย สดชื่นรื่นรมย์ ในระหว่างการเดินทางทั้งจากอาหาร เครื่องดื่ม ภาพยนตร์ เพลง โดยมีพนักงานสาวสวย(เทรนโฮสเตท)ซึ่งผ่านการอบรมมาโดยตรงคอยให้บริการ ผมเห็นข้อความที่ว่า “ผ่านการอบรม” ในโฆษณาแล้ว อดนึกเล่นๆไม่ได้ว่า เหตุใดต้องเน้นข้อความถึงขนาดนี้ สงสัยผู้โดยสารบางท่านอาจจะเคยประสบปัญหาจากพนักงานที่เอาแต่สวยเพียงอย่างเดียวแต่กิริยามารยาทใช้ไม่ได้มาก่อนหรือไม่ เลยต้องเน้นข้อความให้ผู้โดยสารทราบว่าเทรนโฮสเตทขบวนรถสายนี้งามทั้งกาย กิริยา วาจาฯลฯอย่างแน่แท้ มิฉะนั้นคงไม่ผ่านการอบรม ยังอดนึกเล่นๆต่อไปไม่ได้(อีกแล้ว)ว่า ถ้าจะให้ดีกว่านี้น่าจะโฆษณาด้วยว่า มีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพการบริการให้อยู่ในระดับมาตรฐานอยู่เสมอ ผู้โดยสารจะได้มั่นใจในคุณภาพการบริการยิ่งขึ้นนะครับ

พอบริษัทแก่นอินน์ไม่ได้รับสัมปทานให้บริการบนขบวนรถสายนี้ การรถไฟก็ยังคงจัดเดินรถต่อมา มีการเปลี่ยนแปลงหมายเลขขบวนรถเที่ยวไปจากขบวน ๙๐๑/๙๐๓/๙๐๕ เป็นขบวน ๓/๕/๗ ขบวนรถเที่ยวกลับจากขบวน ๙๐๒/๙๐๔/๙๐๖ เป็นขบวน ๔/๖/๘ ตามลำดับ ช่วงประมาณปี ๒๕๔๒ มีการขยายปลายทางขบวน ๗/๔ ไปถึงสวรรคโลก โดยขบวน ๗ ออกจากกรุงเทพ ๒๓.๑๐ น. ถึงสวรรคโลก ๗.๐๕ น. ขบวน ๔ ออกจากสวรรคโลก ๗.๔๐ น. ถึงกรุงเทพ ๑๕.๑๕ น. ทุกขบวนใช้ระยะเวลาเดินทางช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ ๑ ชั่วโมง รวมเป็นเวลาเกือบ ๖ ชั่วโมง ต่อมามีการยุบขบวนรถสายนี้จากเดิมเหลือแค่ ๒ ขบวน ไป-กลับ ระหว่างกรุงเทพ-สวรรคโลก ซึ่งก็คือ ขบวน ๓/๔ ในปัจจุบัน


หากเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแก่ขบวนรถสายนี้กับสายกรุงเทพ-ขอนแก่น-อุดรธานี และสายกรุงเทพ-สุรินทร์แล้ว ผมเห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก มีทั้งยุครุ่งเรืองและยุคถดถอย ดังจะเห็นได้จากมีการนำรถดีเซลรางปรับอากาศสปรินเตอร์มาใช้ทำขบวนตั้งแต่ในยุคก่อนปี๒๕๓๙ ซึ่งตอนนั้นรถรุ่นนี้ยังเป็นรถดีเซลรางปรับอากาศที่มีสภาพดีและใหม่ที่สุด เนื่องจากยังไม่มีรถดีเซลรางปรับอากาศแดวูออกให้บริการ ในขณะที่สายอื่นยังใช้รถดีเซลรางปรับอากาศรุ่นแรกทำขบวนอยู่เช่นเดิม แต่พอมีรถดีเซลรางปรับอากาศแดวูเข้ามากลับไม่ได้นำมาทำขบวนสายนี้ ยังคงใช้รถสปรินเตอร์ทำขบวนต่อมาถึงปัจจุบันในสภาพที่ทรุดโทรม จำนวนเที่ยวเดินรถของขบวนรถที่เคยมีมากที่สุดในบรรดารถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศ คือ ไป-กลับ วันละ ๖ ขบวนในปี ๒๕๒๘ ปัจจุบันเหลือขบวนรถไป-กลับแค่วันละ ๒ ขบวน คือขบวน ๓/๔ แถมจำนวนผู้โดยสารก็ค่อนข้างจะบางตา ในขณะที่สายกรุงเทพ-ขอนแก่น-อุดรธานี/หนองคาย กับสายกรุงเทพ-สุรินทร์-ศีขรภูมิ/ศรีสะเกษ ในปัจจุบันยังคงปริมาณขบวนรถไป-กลับ วันละ ๔ ขบวน และยังมีผู้โดยสารค่อนข้างคับคั่งอยู่เช่นเดิม

เล่าเรื่องเกี่ยวกับตั๋ว และรถร่วมเอกชนมาพอสวมควรครบถ้วนทุกสายแล้ว ผมขอจบหัวข้อ ๑ ตั๋วรถร่วมเอกชนเพียงเท่านี้ ท่านใดจะร่วมรำลึกความหลังเกี่ยวกับขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศที่เอกชนรับสัมปทานให้บริการ หรือมีภาพตั๋วรถร่วมเอกชนจะนำเสนอเพิ่มเติม ก็เชิญเลยนะครับ Very Happy

โปรดติดตามชมหัวข้อที่ ๒ ตั๋วบาง (หลากหลายรูปแบบนับจากในอดีต-ปัจจุบัน) ในตอนหน้านะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 27/08/2006 2:36 pm    Post subject: Reply with quote

tuie wrote:
มีทั้งยุครุ่งเรืองและยุคถดถอย ดังจะเห็นได้จากมีการนำรถดีเซลรางปรับอากาศสปรินเตอร์มาใช้ทำขบวนตั้งแต่ในยุคก่อนปี๒๕๓๙ ซึ่งตอนนั้นรถรุ่นนี้ยังเป็นรถดีเซลรางปรับอากาศที่มีสภาพดีและใหม่ที่สุด เนื่องจากยังไม่มีรถดีเซลรางปรับอากาศแดวูออกให้บริการ ในขณะที่สายอื่นยังใช้รถดีเซลรางปรับอากาศรุ่นแรกทำขบวนอยู่เช่นเดิม แต่พอมีรถดีเซลรางปรับอากาศแดวูเข้ามากลับไม่ได้นำมาทำขบวนสายนี้ ยังคงใช้รถสปรินเตอร์ทำขบวนต่อมาถึงปัจจุบันในสภาพที่ทรุดโทรม


นี่เป็นเหตุผลที่ตัวผมเองก็เลี่ยงที่จะไม่ขึ้นรถสวรรคโลกครับ ส่วนใหญ่ช่วงแรก ๆ ถ้าจะไปพิษณุโลกก็จะไปรถเชียงใหม่มากกว่า นั่ง Daewoo สบาย ๆ แต่ช่วงหลัง ๆ นี่ซื้อกล้องแล้ว จะไป บชท. 555... ประหยัด + ได้ถ่ายรูปด้วยครับ Laughing
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tongchit
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1164
Location: ทับยาว เขต.ลาดกระบัง

PostPosted: 28/08/2006 7:25 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณคุณตุ้ยป็นอย่างมาก ที่นำเสนอสาระสิ่งดีๆให้แด่สมาชิกหลายๆท่านได้รำลึกความหลัง และสมาชิกรุ่นใหม่ๆได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตั๋วยุคเก่า ขอบคุณนะครับ thumbsup
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 28/08/2006 10:37 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณ คุณเต้ย พี่tongchit และทุกๆท่านที่ให้ความสนใจติดตามชมเสมอมาครับ Very Happy หวังว่าจะไม่รำคาญคนเล่าที่ขี้บ่นแบบผมนะครับ ตั๋วใบนิดเดียวไม่ทราบว่ามีความหลังอะไรมากมาย เล่าเสียตั้งเยอะ ประเภทอดไม่ได้น่ะครับ เวลาพิมพ์เรื่องเตรียมไว้ นึกถึงความหลังไปยิ้มไปพลางตรงหน้าจอคอมฯ จนใครๆผ่านมาเห็นสงสัยว่าผมดูภาพอะไรอยู่หรือ ถึงท่าทางมีความสุขจริงๆ

เล่าต่อเลยนะครับ คราวนี้ขึ้นหัวข้อใหม่

๒ ตั๋วบาง
เมื่อมีตั๋วหนาหรือที่นิยมเรียกกันว่า “ตั๋วแข็ง” เพราะทำจากกระดาษแข็งแล้ว ตั๋วโดยสารอีกแบบหนึ่งที่มีลักษณะของกระดาษที่ใช้ทำตั๋วตรงกันข้ามกับตั๋วแข็ง ก็เรียกว่า “ตั๋วบาง” เนื่องจากมิได้ใช้กระดาษแข็งทำตั๋วแบบตั๋วหนา สรุปง่ายๆว่ามีความบางของกระดาษที่ใช้ทำตั๋วมากกว่าตั๋วแข็งนั่นเอง แต่ถ้าท่านได้สัมผัสตั๋วบางของจริงแบบที่รูปร่างเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส หน้าตั๋วพิมพ์แบบฟอร์มคล้ายๆกับใบเสร็จรับเงิน หรือที่การรถไฟเรียกว่า “ตั๋วบางทั่วไป” ซึ่งสมัยนี้มีแต่สีเหลืองอ่อนแล้ว ท่านอาจจะเห็นพ้องกับผมก็ได้ว่า ตั๋วบางแบบนี้ก็ไม่ได้มีความบางสักเท่าไร แต่ถ้าเป็นตั๋วบางอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า “ตั๋วบางสำเร็จรูป” แบบที่จำหน่ายบนขบวนรถให้แก่ผู้โดยสารที่ขึ้นจากที่หยุดรถ หรือป้ายหยุดรถซึ่งไม่มีเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วให้ หรือที่มีจำหน่ายตามที่หยุดรถซึ่งมีเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วให้แล้ว ผมว่าตั๋วแบบนี้มีความบางของกระดาษที่ใช้ทำตั๋วอย่างแท้จริงสมกับที่เรียกว่าตั๋วบางเลยครับ

ขอเล่าเรื่องตั๋วบางแบบแรก คือ ตั๋วบางทั่วไป เป็นอันดับแรกนะครับ ตั๋วบางแบบนี้มีจำหน่ายมานานเคียงบ่าเคียงไหล่ร่วมสมัยกับตั๋วแข็งตั้งแต่ยุคที่ตั๋วแข็งยังรุ่งเรืองเฟื่องฟู คือ ยุคที่ตั๋วแข็งยังมีจำหน่ายเป็นปกติน่ะครับ เวลาไปซื้อตั๋วโดยสารที่สถานีรถไฟโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางด้วยขบวนรถที่ไม่มีการสำรองที่นั่งแล้ว แทบจะร้อยทั้งร้อยจะต้องได้ตั๋วแข็งไปใช้ในการเดินทางทั้งสิ้น นานๆครั้งถึงจะมีโอกาสได้ตั๋วบางทั่วไปมาใช้ในการเดินทาง ซึ่งจากที่ผมสังเกตในฐานะผู้โดยสาร มิได้มีความสันทัดจัดเจนในเรื่องระเบียบการจำหน่ายตั๋วโดยสาร พอจะสรุปกรณีที่ผู้ซื้อตั๋วมีโอกาสได้ประสบพบตั๋วบางทั่วไปในการซื้อตั๋ว แทนที่จะได้ตั๋วแข็งเจ้าเก่าขาประจำได้ดังนี้

กรณีแรก เป็นกรณีที่ไม่มีตั๋วแข็งที่ต้องใช้สำหรับการเดินทางครั้งนั้นจำหน่าย หรืออาจจะเป็นเพราะมีตั๋วแข็งบางชนิดที่ต้องใช้ควบกันหลายใบในการเดินทางครั้งนั้นๆจำหน่ายไม่ครบทุกชนิด เช่น การเดินทางด้วยรถนอนชั้นสอง (บนท.)ในขบวนรถเร็ว จากชุมพรไปยะลา หากจำหน่ายตั๋วโดยสารเป็นตั๋วแข็ง ก็จะประกอบไปด้วยตั๋วแข็ง ๓ ใบ คือ ตั๋วค่าโดยสารชั้นสองระยะทางจากชุมพร-ยะลา ตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็ว และตั๋วค่าธรรมเนียมรถนอน หากขาดตั๋วแข็งใบใดใบหนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็ต้องออกเป็นตั๋วบางให้แทนตั๋วแข็งตามภาพตั๋วบางเที่ยวเดียวนี้ครับ

Click on the image for full size

ตั๋วบางเที่ยวเดียวตามภาพข้างต้นนั้น ผมได้มาเนื่องจากเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋ว ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าสถานีกรุงเทพ มีแต่ตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็ว และตั๋วค่าธรรมเนียมรถนอนจำหน่าย แต่ไม่มีตั๋วค่าโดยสารชั้นสองระยะทางจากชุมพร-ยะลาจำหน่าย ก็เลยออกตั๋วบางให้แทน มูลค่าของตั๋วบางตามภาพจึงรวมทั้งค่าโดยสารชั้นสอง ค่าธรรมเนียมรถเร็วและค่าธรรมเนียมรถนอนเบ็ดเสร็จในใบเดียวกัน มีข้อสังเกตว่า ตั๋วบางทั่วไปในยุคนั้นแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ ตั๋วบางเที่ยวเดียว กับตั๋วบางไปกลับ แยกเป็นคนละแบบฟอร์มกัน และมีสีสันต่างกัน ตั๋วบางเที่ยวเดียวมีสีน้ำตาลคล้ายๆสีซองเอกสาร ซึ่งผู้ที่อยู่ในแวดวงกระบวนการยุติธรรมอาจบอกว่าคล้ายๆสีปกสำนวนการสอบสวน สีปกสำนวนของพนักงานอัยการ หรือสีปกสำนวนศาลตามแต่กรณี

กรณีที่สอง เป็นกรณีที่ผู้โดยสารมีหลายคน หากออกเป็นตั๋วแข็งให้แก่ผู้โดยสารครบตามจำนวนคน ผู้โดยสารก็จะได้ตั๋วแข็งเป็นปึกใหญ่หลายใบ เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือบางครั้งแม้จะมีผู้โดยสารคนเดียวแต่เดินทางด้วยรถนอนปรับอากาศ(บนท.ป.)ขบวนรถด่วน ตั๋วแข็งที่จะต้องใช้ในการเดินทางมีหลายใบตั้งแต่ตั๋วค่าโดยสารชั้นสอง ตั๋วค่าธรรมเนียมรถด่วน ตั๋วค่าธรรมเนียมรถนอนและตั๋วค่าธรรมเนียมรถปรับอากาศ รวม ๔ ใบ หากไม่มีตั๋วแข็งชนิดรวมค่าโดยสารและค่าธรรมเนียมดังกล่าวเบ็ดเสร็จในใบเดียวกันแล้ว เจ้าหน้า(ผู้หวังดี)ที่อาจจะจำหน่ายเป็นตั๋วบางให้ใบเดียว แทนที่จะจำหน่ายเป็นตั๋วแข็งรวม ๔ ใบได้ครับ

ถ้าเป็นผู้โดยสารปกติทั่วไปก็คงไม่มีข้อโต้แย้งใดๆให้มากเรื่อง อาจจะชอบด้วยซ้ำที่ไม่ต้องถือตั๋วแข็งหลายใบในการเดินทาง แต่ผมกลับไม่ชอบเลยเพราะเท่ากับเสียโอกาสจะได้ตั๋วแข็งต่างชนิดต่างสีกันตั้ง ๔ ใบไปสะสม เวลาซื้อตั๋วในกรณีเช่นนี้ พอผมเห็นเจ้าหน้าที่ทำท่าจะหยิบตั๋วบางมาเขียนทั้งๆที่มีตั๋วแข็งจำหน่ายให้ได้ ผมก็มักจะขอให้ออกเป็นตั๋วแข็งทันที ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้างขึ้นอยู่กับความใจดีของเจ้าหน้าที่แต่ละท่านที่จะนึกเอ็นดูเด็กประหลาดเรื่องมาก(ตอนนั้นยังเด็กครับ)คนนี้ เพราะอยากได้ตั๋วแข็งไปสะสมน่ะครับ เท่าที่ผมสังเกตเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วบางคนจะชอบออกตั๋วบางให้มากกว่าจะต้องจำหน่ายตั๋วเป็นตั๋วแข็งรวม ๔ ใบ เนื่องจากไม่ต้องเขียนข้อความบนตั๋วหลายๆใบ มองในแง่มุมนี้ก็นับว่าเป็นความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วด้วย

กรณีที่สาม เป็นกรณีที่ผู้โดยสารต้องซื้อตั๋วบนขบวนรถ อาจจะเป็นเพราะขึ้นรถจากที่หยุดรถที่ไม่มีตั๋วจำหน่าย แต่เดินทางในระยะไกลๆหากเจ้าหน้าที่ออกตั๋วบางสำเร็จรูปให้ก็จะเป็นปึกใหญ่เกินไป หรืออาจเป็นเพราะซื้อตั๋วโดยสารมาก่อนแล้ว แต่ต้องการจะขยายระยะทางที่เดินทางออกไปจากเดิม หรือต้องการเลื่อนชั้นการโดยสารให้สูงขึ้นมากกว่าตั๋วใบเดิมที่ซื้อไว้ เจ้าหน้าที่บนขบวนรถก็จะเขียนตั๋วบางเที่ยวเดียวให้ตามราคาค่าโดยสารที่จะต้องชำระ หรือชำระเพิ่มเติมตามแต่กรณี พร้อมเก็บเงินค่าโดยสารนั้น

สมัยก่อนยุคที่ยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ใช้ในการสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋ว ผู้โดยสารที่ขึ้นรถระหว่างทาง ประสงค์จะโดยสารรถ บนท. แต่ไม่ได้ซื้อตั๋วล่วงหน้าเอาไว้ เพิ่งจะตัดสินใจเดินทางในค่ำวันนั้นหลังจากขบวนรถออกจากกรุงเทพแล้ว เช่น ขึ้นรถด่วนกรุงเทพ-เชียงใหม่ ขบวน ๗ (หรือขบวน ๑๓ ในปัจจุบัน) จากนครสวรรค์ไปเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วประจำวันเดินทางที่สถานีนครสวรรค์ จะจำหน่ายตั๋วให้ได้แต่ตั๋วโดยสารชั้นสาม(ในยุคก่อนรถด่วนขบวนนี้เคยมีชั้นสามพ่วงอยู่ระยะหนึ่ง แล้วต่อมาก็ตัดออก) และค่าธรรมเนียมรถด่วน ไม่สามารถจำหน่ายเป็นตั๋วรถนอนชั้นสองให้ตามที่ผู้โดยสารต้องการได้ เพราะเมื่อรถออกจากกรุงเทพแล้ว ผังที่นั่งว่างก็อยู่กับเจ้าหน้าที่บนขบวนรถ สถานีนครสวรรค์ไม่มีทางทราบได้ว่าเหลือที่นั่ง/นอนว่างหรือไม่ เป็นรถคันที่เท่าใดที่มีที่นั่ง/นอนว่าง อย่างน้อยออกตั๋วชั้นสามให้ก่อน ผู้โดยสารก็ยังใช้โดยสารจากนครสวรรค์ไปเชียงใหม่ได้แน่ เพราะเป็นรถโดยสารชั้นเดียวที่อนุญาตให้ยืนโดยสารได้แม้ที่นั่งจะเต็ม

ในกรณีเช่นนี้ เมื่อขบวนรถมาถึงสถานีนครสวรรค์ และผู้โดยสารขึ้นรถแล้ว ผู้โดยสารต้องไปตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่บนขบวนรถด่วน ๗ เอาเองว่ารถ บนท. เต็มหรือไม่ ถ้ามีที่ว่างค่อยขอเลื่อนชั้นบนขบวนรถซึ่งจะได้ตั๋วบางเที่ยวเดียวตามราคาที่เพิ่มเงินเลื่อนชั้นจากเจ้าหน้าที่บนขบวนรถเป็นหลักฐานไว้ แต่ถ้าไม่มีที่ว่างเลยก็อดเลื่อนชั้น ต้องนั่งชั้นสามไปตามตั๋วที่ซื้อจากสถานีนครสวรรค์ต่อไป หรืออาจจะต้องยืนโดยสารในกรณีที่ที่นั่งชั้นสามเต็ม เท่าที่ผมสังเกตดูเหมือนว่าตั๋วชั้นสามนี้สามารถจำหน่ายได้เรื่อยๆไม่จำกัดจำนวนอย่างแน่ชัด เพราะแม้แต่รถชั้นสามในขบวนรถด่วน ขบวนรถเร็วที่มีการสำรองที่นั่งไว้ ถึงที่นั่งจะเต็ม เจ้าหน้าที่ก็ออกเป็นตั๋วแบบไม่มีที่นั่ง(ตั๋วยืน)ให้ได้ เป็นอย่างไรครับ การเดินทางของผู้โดยสารในระหว่างทางสมัยยังไม่มีระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ในการสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋วอย่างในปัจจุบันนี่ ยุ่งยากลำบากเหลือเชื่อดีไหมครับ

โปรดติดตามชมตอนต่อไปนะครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
ExtendeD
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 04/07/2006
Posts: 9054
Location: สังกัดหน่วยสำรวจสะพาน ตะลอนทั่วราชอาณาจักร

PostPosted: 29/08/2006 7:32 am    Post subject: Reply with quote

แต่ก่อนตอนที่ยังเรียนอยู่ ผมพาแฟนผมขึ้นรถไฟจากมักกะสัน มาลงที่หัวลำโพงบ่อย ๆ ( จริง ๆ แล้วหาเรื่องไปนั่งรถไฟเอง ) ก็เลยซื้อตั๋วเป็นตั๋วสัปดาห์ หรือตั๋วเดือนนี่แหละจำไม่ค่อยได้แล้ว แต่เป็นกระดาษสีเหลือง ๆ น่ะครับ พี่ตุ้ยมีรูปตั๋วแบบนี้อยู่มั้ยครับ
_________________
Life will knock us down . . . but we can choose to get back up.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 29/08/2006 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

สงสัยว่าตั๋วจากมักกะสัน-กรุงเทพ สีเหลืองๆของคุณเต้ยน่าจะเป็น "ตั๋วเดือน" น่ะครับ เสียดายที่ผมไม่มีตั๋วเดือนเก็บสะสมไว้ เลยไม่มีภาพตั๋วชนิดนี้มาให้ชมครับ Sad ลองดูในเวบของการรถไฟฯ แม้จะมีภาพตั๋วเดือน แต่ผมว่าไม่ค่อยเหมือนกับที่เคยเห็นในอดีตเท่าใด หากท่านใดพอจะมีภาพตั๋วเดือนในอดีตมาให้ชม ณ ที่นี้ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
Page 4 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©