Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263889
ทั้งหมด:13575172
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องจากอดีต : เปิดทางรถไฟสายลำนารายณ์ - บัวใหญ่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องจากอดีต : เปิดทางรถไฟสายลำนารายณ์ - บัวใหญ่

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 14/12/2006 3:17 pm    Post subject: เรื่องจากอดีต : เปิดทางรถไฟสายลำนารายณ์ - บัวใหญ่ Reply with quote

Click on the image for full size
ตั๋วโดยสาร ข.137 ชท.บางซื่อ (2) - หนองคาย เที่ยวสุดท้าย

หายไปหลายวันครับ…

เพราะช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสไปธุระที่ขอนแก่น จังหวะดีด้วยสิ เพราะใช้บริการรถเร็ว ข.137 บางซื่อ 2 – หนองคาย ขบวนสุดท้าย เมื่อวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2527 นี้เอง วันอาทิตย์รุ่งขึ้น ขบวนนี้จะไปเริ่มต้นที่หัวลำโพงเหมือนก่อน


ได้ยินจากประชาสัมพันธ์ตามสายเกือบทุกสถานีเลย วันนี้รถเร็วทำเวลาได้ดีมากครับ แวะสถานีตามกำหนด จะคลาดเคลื่อนบางสถานีเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น บังเอิญอีก จองได้ที่นั่งด้านซ้าย มุมมองเลยแตกต่างจากด้านขวาที่เคยนั่งมาก่อน

คงไม่เก็บภาพเส้นทางสายนี้ล่ะครับ เพราะสมาชิกชาวลพบุรี กับสายอีสาน เก็บภาพมาให้ดูกันหลายเที่ยวแล้ว แถมภาพยังสวยๆ อีกด้วย ขอสรุปย่อตามที่เห็นก็แล้วกัน

ช่วง ชุมทางบ้านภาชี – ชุมทางแก่งคอย ขาขึ้น รู้สึกว่าจะอุดมไปด้วยต้นพุทราริมทาง เกือบตีหน้า ตีมือผมตั้งหลายหน ฝากเจ้าหน้าที่รับผิดชอบช่วยเอาเลื่อยโซ่ปรามๆ ไว้บ้างนะครับ เป็นไม้ผลเศรษฐกิจก็จริง แต่ขึ้นชิดตู้รถไฟแบบนั้น ผู้โดยสารไม่มีโอกาสเก็บกินหรอกครับ ถูกกิ่งพุทราตีหน้าแหกมากกว่า

ช่วง ชุมทางแก่งคอย – แก่งเสือเต้น ดอกทานตะวันเริ่มบานแล้ว แต่ยังไม่เต็มทุ่ง มีคนไปเที่ยวชมไร่กันหนาตา แฟนๆ ทัวร์ทุ่งทานตะวันที่ไม่ได้ไปช่วงแนะนำ เตรียมตัว เตรียมใจ และก็เตรียมเงินเที่ยวกันได้แล้ว

ที่หยุดรถเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันนี้รถเร็วจอดส่งคนลงด้วยล่ะ

ผมเพิ่งรู้ว่า สถานีสถานีโคกสลุง ( เชยจริงแฮะ เรานี่ ) เป็นสถานีที่อยู่ระหว่างสะพานลอยข้ามอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ ถ้าไม่ได้นั่งด้านซ้ายมือเที่ยวนี้ก็คงไม่เห็น ผมเองต้องกลับไปแก้ไขลำดับรายชื่อสถานีที่จดไว้อีกแล้ว

อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำยังเต็มอ่าง อากาศเย็นสดชื่น แฟนๆ ทัวร์รถไฟคงถูกใจแน่ๆ

ผมเคยขึ้นรถเร็วสายนี้ไปขอนแก่นครั้งแรก ทางรถไฟยังวิ่งสายเดิม เห็นหัวงานก่อสร้างเขื่อนป่าสักฯ ตั้งอยู่ใกล้ๆ ทางรถไฟ ไม่เคยคิดว่าจะมีทางรถไฟลอยน้ำแบบนี้ มาอีกที แนวคันทางเก่าจมน้ำเกือบหมดแล้ว

สถานีลำนารายณ์ มีหอประแจแยกต่างหากจากตัวสถานี และมีแบบเดียวกันที่สถานีจัตุรัส ชุมทางบัวใหญ่ เมืองพล บ้านไผ่ และขอนแก่น เลยจากนั้นไปยังไม่ทราบครับ เพราะลงจากรถไฟก่อน

ช่วงสถานีโคกคลี – ช่องสำราญ ผมว่า ถ้ามีขบวนรถรอหลีกกันช่วงนี้ ควรกักรถเที่ยวล่องไว้ที่สถานีช่องสำราญก่อน จนกว่ารถเที่ยวขึ้นผ่านไปแล้ว ค่อยปล่อยขบวนลงมา

เส้นทางลาดชันขนาดนั้น หากห้ามล้อไม่อยู่ ยังสามารถปล่อยให้เลยสถานีโคกคลีไปจนหมดความเร็วได้ ไม่ต้องเจออุบัติเหตุแบบนี้อีก ยังมีทราก บตญ.ขนน้ำตาลทิ้งอยู่ริมทางด้านซ้ายจนเดี๋ยวนี้

บนเขาช่วงบ้านวะตะแบก ลมหนาวพัดค่อนข้างแรง และช่วง บำเหน็จณรงค์ – บ้านเหลื่อม เห็นชาวบ้านกำลังลงแขกเกี่ยวข้าวอยู่หนาตา หนองน้ำบางแห่งเริ่มแห้งขอด ฝุ่นข้างทางปลิวเกาะจนเหนียวผมเหนียวตัว พอถึงขอนแก่นต้องรีบอาบน้ำโดยด่วน

ผ่านลานว่าที่ ไอ.ซี.ดี. สถานีท่าพระ กำลังเร่งก่อสร้างอยู่ กลางปีคงเสร็จเรียบร้อย

สถานีขอนแก่น ขอนไม้ชื่อสถานียังไม่เปลี่ยนแปลง แต่ตัวสถานีสร้างใหม่เป็นอาคาร คสล.สมัยใหม่ กะทัดรัด แต่ยังไม่เปิดเป็นทางการ

หากใครมีรูปถ่ายสถานีเก่า ช่วยเอามาโชว์รอเปรียบเทียบได้แล้วครับ Smile
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 14/12/2006 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

สำหรับเส้นทางช่วงลำนารายณ์ - บัวใหญ่ ผมค้นได้ภาพ – ข่าวการเปิดเส้นทางรถไฟสายนี้ จากนิตยสาร “ เสรีภาพ “ ฉบับที่ 145 ในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งคว้ามาเก็บได้ทันก่อนยายผมจะเอาไปทำเชื้อไฟ

แน่นอนครับ…. ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟ ก็มีอยู่ราว 2 - 3 ฉบับ โอกาสดีๆ จะเอามาลงเป็นครั้งๆ ไปนะครับ เดี๋ยวเรื่องเก่าๆ สูญหายหมด นี่ก็ต้นฉบับเริ่มหลุดเป็นชิ้นๆ แล้ว

นิตยสาร “ เสรีภาพ “ สมัยที่ผมยังเด็กเล็กๆ เป็นหนังสือที่น่าสนใจมาก เพราะพิมพ์ด้วยกระดาษเนื้อดีจากประเทศฟิลิปปินส์ คู่กับฉบับภาษาอังกฤษในชื่อ “ Free world " เป็นภาพสีเกือบทั้งเล่ม ต่างกับหนังสือบ้านเราในช่วงเดียวกันยังพิมพ์ด้วยภาพขาว – ดำเท่านั้น

ผู้อุปถัมภ์เป็นพี่เอื้อยใหญ่ค่ายประชาธิปไตย คือ สหรัฐอเมริกา ผ่านทางสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความเจริญก้าวหน้าของประเทศในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์พูนสุข ต่างจากค่ายคอมมิวนิสต์ที่ผู้คนหน้าตาซีดเซียว เอาคนมาไถนาแทนวัวควายนั่นแหละ

ถ้าไม่นับเรื่องโฆษณาชวนเชื่อ และเรื่องราวจากสหรัฐอเมริกาจากนิตยสารรายเดือนฉบับนี้ เราจะอ่านพบสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยน่าสนใจมากครับ อย่างเช่น ซีอาโต้ , ตชด. , พัฒนาชุมชน , หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ของ กรป.กลาง , รพช. , ถนนมิตรภาพสายนครราชสีมา – หนองคาย , เปิดท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ , เปิดถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ดินแดง – รังสิต , การใช้เครื่องบินพ่นยาปราบตั๊กแตนระบาดเป็นครั้งแรกที่ไชยบาดาล , เปิดทางรถไฟสายลำนารายณ์ – บัวใหญ่ และก็ ฯลฯ

หลังจากสหรัฐฯ ได้ถอนตัวจากสงครามอินโดจีนแล้ว มีการเปลี่ยนแนวของ “ เสรีภาพ " ไปเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตผู้คนและเรื่องราวด้านต่างๆ ในสหรัฐฯ เอง เป็นข่าวหลังสุดเกี่ยวกับนิตยสารชื่อนี้ ปัจจุบันจะพิมพ์อยู่หรือเลิกกิจการไป ผมก็ไม่ทราบ หากใครพบเห็นว่ายังมีอยู่ตามห้องสมุดใหญ่ๆ ช่วยบอกข่าวกันด้วยครับ

เป็นคนเก่าเล่าความหลังไปหน่อย มาดูเรื่องราวที่ผมคัดลอกมากับภาพถ่ายเมื่อสมัยก่อน ใครจำได้ว่าเป็นภาพอยู่ที่ตรงไหนบ้าง เปลี่ยนแปลงกันยังไง ? เชิญร่วมวง post กันได้เลยครับ Smile

Click on the image for full size
ขบวนรถไฟปฐมฤกษ์ จอดที่บริเวณปากอุโมงค์เขาพังเหย ( ด้านใต้ )

ทางรถไฟสาย แก่งคอย – บัวใหญ่

“ ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างสูง ที่ได้มาประกอบพิธีเปิดการเดินรถสายแก่งคอย – บัวใหญ่ ต่อจากสถานีลำนารายณ์ถึงสถานีบัวใหญ่ในวันนี้ และมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ประเทศไทยได้มีทางรถไฟเชื่อมระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคกลางอีกสายหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าคงจะก่อประโยชน์อย่างมากมายให้แก่พี่น้องประชาชนทั้งหลายสืบไป….”

ข้างต้นนี้ คือ คำกล่าวตอนหนึ่ง ของ ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เนื่องในพิธีเปิดเดินขบวนรถต่อจากสถานีลำนารายณ์ ถึงสถานีบัวใหญ่ เมื่อเช้าวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๐ เวลา ๑๑.๓๐ น. อันเป็นการเปิดการเดินรถไฟผ่านอำเภอจัตุรัส และ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ที่อุดมสมบูรณ์ของจังหวัดชัยภูมิ ไปบรรจบเชื่อมกับทางรถไฟสายนครราชสีมา – หนองคาย ที่สถานีบัวใหญ่

Click on the image for full size
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล ถนอม กิตติขจร ขณะทำพิธีเปิดเส้นทางรถไฟสายใหม่ ช่วงสถานีลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่

และในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ ๒๐ สิงหาคม ขบวนรถเร็วระหว่างกรุงเทพฯ กับหนองคายก็จะเดินผ่านในเส้นทางสายใหม่นี้ โดยออกจากกรุงเทพฯ เวลา ๐๖.๑๐ น. (สำหรับขบวนขึ้น) และออกจากหนองคายเวลา ๐๕.๐๐ น. (ขบวนล่อง) โดยจะเดินในเส้นทางใหม่ระหว่างสถานีแก่งคอย – บัวใหญ่ ไม่ผ่านสถานีนครราชสีมาอย่างแต่ก่อน และหยุดรับส่งคนโดยสารที่สถานีแก่งเสือเต้น สถานีสุระนารายณ์ สถานีลำนารายณ์ สถานีบำเหน็จณรงค์ และสถานีจัตุรัส ถึงปลายทางตามกำหนดเวลาเดิมคือ ถึงหนองคาย ๑๙.๐๐ น. และถึงกรุงเทพฯ ๑๗.๕๐ น.

Click on the image for full size
ขบวนรถไฟปฐมฤกษ์ที่จุดเริ่มต้นเส้นทางสาย ลำนารายณ์ - ชุมทางบัวใหญ่

การก่อสร้างทางรถไฟสายแก่งคอย – บัวใหญ่นี้

เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ และเปิดการเดินรถครั้งแรกจากสถานีแก่งคอย ถึงสถานีสุระนารายณ์ เป็นระยะทาง ๖๑ กม. เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ และต่อมาได้ก่อสร้าง ( ถึงสถานีลำนารายณ์ ? ) และเปิดการเดินรถโดยสาร และสินค้า เพื่อรับใช้ประชาชนทั้งสิ้นในเส้นทางสายใหม่นี้ ๘๔ กม. ต่อมาได้เสนอเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๙ ต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ

หลังจากได้รับความเห็นชอบแล้ว ก็ได้เริ่มงานก่อสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมา จนแล้วเสร็จเป็นระยะทาง ๑๖๖ กม. รวมเป็นระยะทางทั้งสิ้น ๒๕๐ กม. ทางสายนี้ สร้างขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระการขนส่งในเส้นทางสายเดิมระหว่างสถานีแก่งคอย – ปากช่อง ซึ่งต้องผ่านทางลาดชันบางตอน ถึง ๒๔ ใน ๑๐๐๐ เส้นทางสายใหม่ระหว่างสถานีแก่งคอย กับ สถานีบัวใหญ่ นี้ มีลาดชันสูงเพียง ๑๒ ใน ๑๐๐๐ และรัศมีของโค้งต่ำสุด ๔๐๐ เมตร นอกจากนั้น ทางรถไฟสายใหม่นี้ยังจะมีส่วนช่วยในการเปิดป่าให้เป็นแหล่งทำมาหากินของราษฎรเพิ่มขึ้น และเป็นการเตรียมรับโครงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐบาล รวมทั้งบางส่วนของโครงการพัฒนาลำแม่น้ำโขงอีกด้วย

Click on the image for full size
เส้นทางช่วง สถานีช่องสำราญ – บ้านวะตะแบก

ตลอดสองข้างทางรถไฟตั้งแต่แก่งคอย ถึง บัวใหญ่ มีสถานีและที่จอดรถรวม ๒๘ แห่ง ทิวทัศน์สองข้างทางเป็นภูเขาน้อยใหญ่สลับด้วยแหล่งเกษตรกรรมประเภทไร่และนาเป็นพื้น ลักษณะโดยทั่วไปในเขตที่เป็นนาดูค่อนข้างจะแห้งแล้ง

Click on the image for full size

Click on the image for full size
ที่หยุดรถเขาหินดาด และบริเวณสองข้างทางรถไฟ

“ ทางรถไฟสายนี้ นอกจากจะแบ่งเบาและบรรเทาความคับคั่งของการเดินรถในทางสายแก่งคอย - ปากช่อง นครราชสีมาลงแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการลากจูงขบวนรถอีกด้วย ” นี่คือคำกล่าวตอนหนึ่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในคำรายงานต่อประธานในพิธีเปิดฯ และอีกตอนหนึ่ง ฯพณฯ รัฐมนตรี กล่าวว่า “…เชื่อว่า เมื่อเปิดการเดินรถตลอดทางสายแก่งคอย – บัวใหญ่ แล้ว จักอำนวยประโยชน์ในการขนส่งผลผลิตทางเกษตรกรรมไปสู่ตลาดการค้าได้รวดเร็วขึ้น เป็นการสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาท้องถิ่นในสาขาต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังเร่งรัดจัดทำอยู่…”

Click on the image for full size
ราษฎรรอดูขบวนรถไฟปฐมฤกษ์ที่ สถานีบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ

อนึ่ง ขบวนรถไฟพิเศษที่จัดเดินเป็นปฐมฤกษ์ในวันนั้น หยุดที่สถานีในเส้นทางใหม่เพียง ๒ สถานี คือ สถานีบำเหน็จณรงค์ และ สถานีจัตุรัส ทั้งสองแห่งมีผู้คนมาคอยต้อนรับขบวนรถไฟสายปฐมฤกษ์กันอย่างเนืองแน่น

ชาวบ้านบางคนบอกว่าอุ้มลูกน้อยเดินทางมาเพื่อจะรอดูรถไฟขบวนพิเศษนั้นตั้งแต่เช้ามืดทีเดียว เพราะไม่เคยเห็นมาก่อนเลยในชีวิต

Click on the image for full size
การรถไฟฯ ได้เปิดการเดินรถสายแก่งคอย – บัวใหญ่ ระยะทาง ๒๕๐ กม. เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๐ ทางรถไฟสายนี้นอกจากจะอำนวยประโยชน์ในการโดยสารและรับส่งสินค้าแล้ว ยังเปิดป่าให้เป็นแหล่งทำกินของราษฎรด้วย ( สถานีแผ่นดินทอง จ.ลพบุรี )

และนอกจากจะได้ดูรถไฟสมความตั้งใจแล้ว ชาวบ้านราวหมื่นคนเศษเหล่านั้นยังโชคดี คือ พลอยได้รับการเยี่ยมเยียนจาก ฯพณฯ จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ซึ่งลงจากรถไฟ เดินปะปนทักทาย และพูดคุยกับราษฎรเหล่านั้นโดยใกล้ชิด แห่งละประมาณ ๒๐ นาทีอีกด้วย

ที่สถานีปลายทางสำหรับขบวนรถพิเศษ คือที่ สถานีบัวใหญ่ มีราษฎรนับหมื่นคนได้มาชุมนุมกันที่สนามฟุตบอลหน้าตลาด เพื่อคอยต้อนรับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีกับคณะ

ท่านนายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมเยียนและทักทายผู้ที่มาชุมนุมเหล่านั้นอย่างทั่วถึง ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มเช่นเคย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์กลับพระนคร.


Last edited by black_express on 18/12/2006 10:55 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
OutRun
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 26/05/2006
Posts: 1187

PostPosted: 14/12/2006 4:40 pm    Post subject: Reply with quote

เฮ้อ เห็นวันที่เปิดเส้นทางเดินรถแล้ว (19 สิงหาคม 2510) อยากให้เส้นทางคลองสิบเก้า -
แก่งคอย มีพิธีเปิดเดินรถโดยสารผ่านเส้นทางอย่างงี้มั่งจัง เพราะเส้นทางนี้ก็เคยมีพิธีเปิดใช้
เส้นมาก่อนแล้วเช่นกัน แถมตรงกับวันที่ 19 สิงหาคม เหมือนกันเสียด้วยสิ เพียงแต่เป็น
พ.ศ.2538 เท่านั้นเอง และคุณสมบัติของเส้นทางที่ใช้งานของทั้ง แก่งคอย - บัวใหญ่ และ คลอง
สิบเก้า - แก่งคอย ก็คล้าย ๆ กันเสียด้วยสิ คือช่วยลดภาระของอีกเส้นทางหนึ่งที่ไปในทิศทาง
เดียวกัน
_________________
นายจักรยานกับการรถไฟ ฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©