RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263645
ทั้งหมด:13574928
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความก้าวหน้า ของ รถไฟจีนแดง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความก้าวหน้า ของ รถไฟจีนแดง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 145, 146, 147  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2021 2:37 pm    Post subject: Reply with quote

“ครั้งแรก”...จีนสร้าง ‘รถไฟความเร็วสูงร่วมทุนเอกชน’ สายแรกของประเทศ
เผยแพร่: 2 ก.พ. 2564 20:04 ปรับปรุง: 2 ก.พ. 2564 20:04 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

สำนักข่าวซินหัว, 1 ก.พ. — ในวันจันทร์ (1 ก.พ.) จีนเริ่มวางรางรถไฟสำหรับโครงการทางรถไฟระหว่างเมืองหางโจว-เส้าซิง-ไทโจว ซึ่งเป็นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของจีนที่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาคเอกชน

ทางรถไฟสายนี้ ซึ่งใช้เงินลงทุนรวมเกือบ 4.49 หมื่นล้านหยวน (ราว 2 แสนล้านบาท) มีจุดเริ่มต้นจากนครหางโจว เมืองเอกของมณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน ผ่านเมืองเส้าซิงและเมืองไทโจวในมณฑลเดียวกัน คิดเป็นระยะทางรวม 266.9 กิโลเมตร โดยมีความเร็วออกแบบ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

โครงการทางรถไฟหางโจว-เส้าซิง-ไทโจวเป็น 1 ใน 8 โครงการรถไฟความเร็วสูงที่ได้รับเงินสนับสนุนจากการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) โดยภาคเอกชนมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ทั้งนี้ ทางรถไฟสายใหม่ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเชิงบูรณาการในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี จะลดระยะเวลาเดินทางระหว่างหางโจวและไทโจวจากเดิม 2 ชั่วโมงเหลือเพียงราว 1 ชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2021 1:33 am    Post subject: Reply with quote

KiwiRail สั่งซื้อรถจักร จาก CRRC Dalian อีก 10 หลัง ตอนนี้สั่งไปแล้ว 73 หลัง
https://www.facebook.com/CRRCGC/posts/4220939101266800
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2021 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

รับรองให้ใช้รถจักรไฟฟ้าของ CRRC Zhuzhou กับทางรถไฟยุโรป (Rail Cargo Hungaria) แล้ว
https://www.railwaygazette.com/traction-and-rolling-stock/certifying-a-chinese-electric-locomotive-for-eu-operation/58460.article
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2021 10:43 am    Post subject: Reply with quote

“สายปักกิ่ง-ฮาร์บิน”ขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ทนความหนาวเก่งที่สุด
2021-02-10 12:13:37 | CRI

Click on the image for full size

“สายปักกิ่ง-ฮาร์บิน” ขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ทนความหนาวเก่งที่สุด_fororder_复兴号2

วันที่ 22 มกราคมที่เพิ่งผ่านมานี้ มีการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงปักกิ่ง-เมืองเฉิงเต๋อ(มณฑลเหอเป่ย) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟความเร็วสูงสายกรุงปักกิ่ง-เมืองฮาร์บิน(มณฑลเฮยหลงเจียง) เท่ากับว่าทางรถไฟความเร็วสูงกรุงปักกิ่ง-เมืองฮาร์บิน ได้เปิดใช้งานตลอดสายแล้ว

“สายปักกิ่ง-ฮาร์บิน” ขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ทนความหนาวเก่งที่สุด_fororder_复兴号1

Click on the image for full size

อนึ่ง ขบวนรถไฟความเร็วสูงกรุงปักกิ่ง-เมืองฮาร์บิน เริ่มออกเดินทางจากเมืองฮาร์บิน เมืองเอกมณฑลเฮยหลงเจียง ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ ลบ 20 – ลบ 7 องศาเซลเซียสเท่านั้น และเนื่องด้วยอุณหภูมิที่ต่ำมากนี้ ในอดีตที่ผ่านมาขบวนรถไฟสายนี้ยากที่จะเพิ่มความเร็วการเดินรถได้ แต่สำหรับงานขนส่งมวลชนช่วงตรุษจีนปีนี้ ทางรถไฟกรุงปักกิ่ง–ฮาร์บิน มีขบวนรถไฟทนความหนาวรุ่น “ฟู่ซิง” ที่มีความเร็วสูงสุดถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมงให้บริการแล้ว โดยวันที่ 21 ธันวาคม ปี 2020 ได้มีการทดลองการทนความหนาว ผลปรากฏว่าใช้ได้ดี และเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่เพิ่งผ่านมา ขบวนรถไฟฟู่ซิงรุ่นนี้ก็ได้อวดโฉมครั้งแรกที่กรุงปักกิ่ง (From China Science Communication)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 12:03 am    Post subject: Reply with quote

ย้อนมอง 40 ปี “การเดินทางช่วงเทศกาลตรุษจีน” ตอนที่ 1
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:18 น.
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:18 น.

...บางคนเล่นไพ่นกกระจอก บางคนคลอดลูกบนรถไฟ...

หวัง ฝูชุน(王福春) เป็นพนักงานการรถไฟในเมืองฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียงในปี 1990 ต่อมาปี 2014 หวังได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในทำเนียบ “30 ช่างภาพผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดของเอเชีย” โดยผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ ชุดภาพ “คนจีนบนขบวนรถไฟ” 《火车上的中国人》

หวัง ฝูชุนเริ่มถ่ายภาพตั้งแต่สมัย “ขบวนรถไฟสีเขียว” (ตู้รถไฟสีเขียวยุคเก่า) 40 ปีผ่านไปไวราวชั่วกระพริบตาเดียว เขาได้บันทึกภาพการเดินทางในช่วงเทศกาลตรุษจีนด้วยฟิล์มถ่ายภาพ 200,000 ภาพ

“ภายในพื้นที่แคบๆ ได้แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวจีน” บางคนเล่นไพ่นกกระจอก บางคนคลอดลูกบนรถไฟ


ในปี 2021 นี้ หวัง ฝูชุน อายุ 77 ปี ผมขาวโพลนทั่วศีรษะ เขายังสวมเสื้อยืดสีทึบ และเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณศิลปินนักถ่ายภาพ ตามกำหนดการเดิมปี 2020 หวังมีงานแสดงภาพถ่ายในประเทศอังกฤษและเกาหลีใต้ ด้วยเหตุผลสถานการณ์โรคระบาดและปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เขาต้องระงับการแสดงภาพถ่ายและการถ่ายภาพทั้งหมด

หวังมองโลกในแง่ดี เล่าเรื่องสนุก ทว่า วัยเด็กของเขากลับต้องประสบโชคร้าย ต้องสูญเสียทั้งพ่อและแม่ในเวลาไล่เลี่ยกันในตอนที่มีอายุเพียงสี่ขวบ พี่สะใภ้เป็นผู้เลี้ยงดูเขาจนเติบใหญ่ บ้านที่หวังอาศัยอยู่สมัยวัยเด็กนั้นอยู่ใกล้สถานีรถไฟ ทำให้เขามีความสนใจและผูกพันลึกซึ้งกับขบวนรถไฟหัวรถจักรไอน้ำและตู้รถไฟสีเขียว

หลังจากที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษา หวังฝูชุนสอบเข้าศึกษาในโรงเรียนฝึกฝนการขับรถไฟประจำเขตสุยฮว่า โดยมีเป้าหมายเป็นคนขับรถไฟ แม้ว่าในที่สุดเขาก็ไม่ได้นั่งที่นั่งของคนขับรถไฟจริงๆ แต่ก็ได้ใช้ชีวิตวนเวียนอยู่บนรถไฟนับสิบปี ในยุคทศวรรษที่ 1970 หวังฝูชุนถูกส่งไปเป็นเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานรถในเมืองฮาร์บินรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ ในสมัยนั้นกล้องถ่ายภาพถือเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย หวังอาศัยหน้าที่การงานขอกล้องถ่ายภาพ เขาใช้ชีวิตอยู่บนขบวนรถไฟตลอดทั้งปี


ในยุคทศวรรษที่ 70, 80 การแย่งชิงกันขึ้นรถไฟเป็นดั่งศึกประลองพละกำลังที่ดุเดือดที่สุดโดยเฉพาะช่วงการเดินทางในเทศกาลตรุษจีน คนที่ต้องการซื้อตั๋วรถไฟบางคนต้องรอเข้าแถวสองวันสองคืน แต่เมื่อถึงเวลาขึ้นรถ ไม่ว่ามีตั๋วหรือไม่มีก็ตาม ผู้ที่สามารถแย่งขึ้นมาบนรถไฟได้เท่านั้นก็สามารถเดินทางไปได้ ส่วนคนที่แย่งขึ้นรถไฟไม่ทันแม้มีตั๋วอยู่ในมือก็ตกขบวนรถไฟชวดเดินทาง

เมื่อขึ้นไปบนขบวนรถได้สำเร็จแล้ว ทุกคนจะเค้นพลังสมองสุดๆเพื่อหาวิธีชิงพื้นที่ว่างของตน บางคนยัดตัวลงไปนอนใต้ที่นั่ง บางคนปีนขึ้นไปนั่งในช่องเก็บกระเป๋าเดินทาง

หวังฝูชุนเก็บภาพถ่ายเหล่านี้ท่ามกลางความวุ่นวายโกลาหลสุดๆ กระนั้นก็ตาม แฟนๆผู้ชื่นชมภาพถ่ายของหวัง ก็มองเห็น “ความโรแมนติก” แฝงในภาพของเขา


ผลงานภาพสุดคลาสสิกของหวังฝูชุนคือ กลุ่มผู้โดยสารที่โผล่หน้าออกมานอกหน้าต่างย้อนกลับไปมองเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่านเลยไป ...ภาพนี้ถูกใช้เป็นภาพปกหนังรวมผลงานภาพถ่ายของเขา ชื่อ “คนจีนบนขบวนรถไฟ”

หวังฝูชุนมีสไตล์ทำงานที่อิสระ ไม่ตามกระแสแฟชั่น นี่เป็นสิ่งที่พบได้ยาก ในยุคทศวรรษที่ 80-90 ช่างภาพจีนจำนวนมากเลียนแบบช่างภาพตะวันตก หลับหูหลับตาไล่ตามศิลปะนามธรรม(Abstract art) ศิลปะเหนือจริง (Surrealism) ขณะที่ภาพของหวังแม้เป็นภาพถ่ายเหตุการณ์จริง แต่สิ่งที่ปรากฏในภาพคือชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป เป็นเรื่องราวสะท้อนสังคมจีนที่แท้จริง

เมื่อชุดภาพ “คนจีนบนขบวนรถไฟ” ถูกนำมาจัดแสดงในเทศกาลภาพถ่ายนานาชาติที่ผิงเหยา (Pingyao International Photography Festival) ในช่วงต้นปี 2001 ก็สั่นสะเทือนโลกการถ่ายภาพจีนอย่างมาก ผู้คนต่างคิดไม่ถึงเลยว่ายุคสมัยรถไฟสีเขียวทั้งสกปรกทั้งแออัดเป็นปลากระป๋องนรกขนาดนั้น เขาสามารถถ่ายภาพเหล่านั้นออกมาได้เป็นภาพที่งดงามได้อย่างไร?


ภาพคู่รักนอนบนเตียงเดียวกันในตู้รถไฟ ดึงผ้าห่มมาปิดบังหน้าไว้ครึ่งหนึ่ง หวังเล่าระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า ในสมัยนั้นรถไฟตู้นอนไม่อนุญาตให้นั่งสองคน หนุ่มจีนเห็นเขาถือกล้องถ่ายภาพจึงรีบดึงผ้าห่มมาปิดบังหน้าไว้ครึ่งหนึ่ง ต่อมา ในงานนิทรรศการแสดงภาพถ่ายเมื่อปี 2000 ในประเทศเดนมาร์ก ช่างภาพเนเธอร์แลนด์ชอบภาพคู่รักในตู้รถไฟนี้มากจึงขอซื้อในนราคา 400 เหรียญสหรัฐ และเป็นครั้งแรกที่หวังรู้ว่าภาพถ่ายของเขามีราคาขนาดนี้ ภาพถ่ายบนขบวนรถไฟ แม้เป็นภาพบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แต่เปี่ยมด้วยศิลปะและเปี่ยมด้วยเรื่องราว


ในขบวนรถไฟสายจี้จี้ฮาเอ๋อร์-ปักกิ่ง ปี 1995 สมัยนั้นรถไฟจีนอนุญาตให้ผู้โดยสารนำสัตว์เลี้ยงขึ้นรถไฟ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 2:15 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง #fuxinghao CR300 AF เผยโฉมครั้งแรก ให้บริการบนเส้นทาง Nanning - Guangzhou
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 22:01 น.


สิ่งอำนวยความสะดวกแน่น รุ่นเดียวกับที่ใช้ในรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
คลิปการให้บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกในรถความเร็วสูง
https://www.youtube.com/watch?v=hKxTNjdOxk8
—————————
วันนี้ขอกรี๊ดหน่อย พอดีเจอคลิปโชว์ตัวการเปิดให้บริการครั้งแรกอย่างเป็นทางการของ รถไฟความเร็วสูง FUXING HAO รุ่น CR300 AF
ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช ที่เราเซ็นสัญญาสั่งซื้อไปในสัญญา 2.3 เมื่อปลายปีที่ผ่านมา จนเป็นที่ฮือฮาไปรอบนึง
ใครยังไม่ได้อ่านรายละเอียดดูตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1057547391350406/?d=n
รายละเอียดขบวนรถไฟความเร็วสูง
Series : Fuxing hao Mode : CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน)
ความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม
ใครยังไม่ได้อ่านเรื่องการพัฒนา Fuxing hao ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/730949204010228/?d=n
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
—————————
ซึ่งในคลิปมีการโชว์ในรายละเอียดหลายประเด็น เช่น
- การให้บริการ Wifi บนรถไฟความเร็วสูง ซึ่งอันนี้เป็นจุดเด่นสำคัญ ซึ่งทำให้รถไฟไม่ขาดการติดต่อสื่อสารเหมือนเครื่องบิน!!!
- พื้นที่จัดเก็บสัมภาระขนาดใหญ่ เหนือหัว
- การแสดงที่นั่งจอง ซึ่งทำให้สามารถขายตั๋วไม่ล๊อกที่ได้ โดยถ้าเป็นที่จองมีไฟติด คนที่ไม่ได้จองที่ก็ห้ามนั่งเหมือนกับ KTX ของเกาหลี (ไม่แน่ใจญี่ปุ่นมีมั้ย)
- และที่สายโซเชี่ยล และคนทำงาน ขาดไม่ได้คือ มีปลั๊กไฟ และที่ชาร์จ USB
—————————
มาโชว์ตัวแบบนี้จะได้คลายข้อสงสัย และยืนยันได้ว่า รถไฟเราเป็นรถไฟรุ่นใหม่ล่าสุด!!!! ขนาดจีนยังพึ่งเริ่มให้บริการเลย!!!!
กลัวจะมีโรคมโน บอกว่ารถไฟมือสอง เหมือนที่มโน ว่าหนูแดงเป็มืสองทั้งๆ ที่ภาพโรงงานประกอบตั้งแต่โครงกันโครมๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 2:22 am    Post subject: Reply with quote

เคล็ดลับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจีน สร้าง 38,000 กิโลเมตร ในเวลา 15 ปี!!!! เราน่าจะได้เห็นในโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน!!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure is feeling excited.
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 22:06 น.

วันนี้เอาอีกหนึ่งเทคโนโลยีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ของจีน ซึ่งเปลี่ยนให้จีนเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูง ระดับโลก ภายในเวลาเพียง 15 ปี ให้มีโครงข่ายถึง 38,000 กิโลเมตร!!!!
ดูได้จากในคลิป
https://youtu.be/3XZOXRgVBMI
คือเทคโนโลยีเครื่องวางคานทางวิ่ง (Erection box girder) ซึ่งเป็นรูปแบบคานหล่อสำเร็จแบบยาวพิเศษ 1 ช่วงเสายาวสุดถึง 40 เมตร น้ำหนักมากสุด 1,000 ตัน
ซึ่งเป็นการพัฒนาการก่อสร้างของจีน เองเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลจีน ซึ่งต้องการให้มีโครงข่ายทางรถไฟให้ได้ 38,000 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 15 ปี
—————————
รูปแบบ และระบบคานทางวิ่ง Erection box girder
เนื่องจากการวางคานทางวิ่ง (Box Glider) แบบ 1 Span จะมีขนาดยาวมาก จึงต้องมีโรงหล่อ และลานกองเก็บคานทางวิ่ง อยู่ติดพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ทุกๆ 30-50 กิโลเมตร เพื่อส่งคานทางวิ่งใหม่ไปบนทางวิ่งที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว
จากนั้น คานทางวิ่ง(Box Glider) จะถูกยกด้วยเครนขนาดใหญ่ เพื่อวางบนรถขน Box Glider บนทางวิ่งที่แล้ว เพื่อให้รถไปส่งที่ Erection box girder
เมื่อรถไปถึงเครื่องวางคานทางวิ่ง (Erection box girder) ตัวรถจะเข้าเทียบ Erection box girder
บนตัว Erection box girder จะใช้เครนภายในตัวชุดที่ 1 จับที่คานทางวิ่ง และยก พร้อมกับดึงคานทางวิ่งให้เดินหน้าไปประมาณ 80% ของตัวรถ แล้วจะใช้ตัวยึดชุดที่ 2 จับคานทางวิ่ง และยกขึ้นเพื่อเตรียมวางเข้าที่ และรถขน คานทางวิ่งก็วิ่งกลับไปที่จุดหล่อคานทางวิ่ง
พอคานทางวิ่ง (Box Glider) เลื่อนตำแหน่งไปเข้าที่ ระหว่างช่วงเสาแล้ว ก็ลดระดับลงเพื่อเข้าตำแหน่งระหว่างคาน และทำการยึดเข้ากับเสา ตรวจเช็คความเรียบร้อย และปลดเครน ออกจากคานทางวิ่ง
หลังจากนั้น เครื่องวางคานทางวิ่ง (Erection box girder) ก็จะขยับเดินหน้าไปที่ช่วงเสาถัดไป พร้อมด้วยการขยับตัวนำไปอีก 1 ช่วงเสาด้วยเช่นกัน
จบขั้นตอน 1 ช่วงเสา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 8-12 ชั่วโมง ซึ่งถ้าเทียบกับรถไฟฟ้า และสะพานในเมืองไทย ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์!!!!
—————————
ซึ่งถ้าเทียบกับโครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซีย จะมีโรงหล่อ 3 จุด และจุดกองเก็บคานทางวิ่งถึง 16 จุด
รายละเอียดรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซียตามโพสต์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1128227910949020/?d=n
ซึ่งผมคาดว่าเราจะเห็น Erection box girder ในโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน
ซึ่งทางจีน (CRCC) เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นโครงการ และโครงการนี้ เป็นโครงการก่อสร้างแบบเอกชนสัมปทาน ซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างเจ้าเดียว ไม่ได้ซอยโครงการแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงสายอีสาน ซึ่งซอยสัญญาถึง 13 สัญญา ทำให้ไม่คุ้มที่จะเอา Erection box girder มาใช้ในการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

ระบบระบายอากาศรถไฟความไวสูงของจีน
https://www.facebook.com/XinhuaSciTech/posts/3968881786490472
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2021 7:11 pm    Post subject: Reply with quote

จีนแซงหน้าอเมริกา คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:41 น.
ปรับปรุง: 18 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13:41 น.
ไชน่าเดลี (18 ก.พ.) รายงานตามข้อมูลของหน่วยงานสถิติของสหภาพยุโรป (Eurostat) เมื่อวันจันทร์ว่าจีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกา คู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรปแล้ว

ข้อมูลฯ เผยว่า สหภาพยุโรปมีการนำเข้าและส่งออกกับจีนเพิ่มขึ้นโดยมีปริมาณการค้าสูงถึง 5.86 แสนล้านยูโร ในปี 2563 โดยแยกกลุ่มนำเข้าสินค้าจากจีนที่ 3.83 แสนล้านยูโรเพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่การส่งออกไปยังประเทศจีนสูงถึง 2.02 แสนล้านยูโรเพิ่มขึ้น 2.2% ต่อปี

ในเวลาเดียวกัน การค้าของสหภาพยุโรปกับสหรัฐอเมริกาลดลงอย่างมากทั้งการนำเข้า (-13.2 เปอร์เซ็นต์) และการส่งออก (-8.2 เปอร์เซ็นต์) เป็น 2.02 แสนล้านยูโร และ 3.53 แสนล้านยูโรตามลำดับ

เอเอฟพี รายงานเมื่อวันจันทร์ว่า การฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของจีนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เป็นพลังผลักดันยอดขายสินค้าในยุโรป โดยเฉพาะในกลุ่มรถยนต์และสินค้าฟุ่มเฟือย และการส่งออกของจีนไปยังยุโรป ได้รับประโยชน์จากความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เอเอฟพีกล่าวว่า ข้อตกลงการลงทุนที่จีนและสหภาพยุโรปพยายามให้สัตยาบันนั้น จะทำให้บริษัทในยุโรปเข้าถึงตลาดจีนได้ดีขึ้น

การรถไฟจีนรายงานว่า รถไฟสินค้าจีน-ยุโรป ที่เปิดให้บริการตลอดปี 2020 รวมอยู่ที่ 12,400 เที่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 จากปีก่อนหน้า และนับเป็นครั้งแรกที่รถไฟสินค้าจีน-ยุโรป สูงเกิน 10,000 เที่ยวต่อปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2021 11:25 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ย้อนมอง 40 ปี “การเดินทางช่วงเทศกาลตรุษจีน” ตอนที่ 1
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:18 น.
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10:18 น.


ย้อนมอง 40 ปี “การเดินทางช่วงเทศกาลตรุษจีน” ตอนที่ 2
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:04 น.
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:04 น.
บนขบวนรถไฟจิ่วหลง-เซี่ยงไฮ้ 1999

: ภาพ “ผู้คนที่สะอาดบริสุทธิ์” บนขบวนรถไฟที่แสนสกปรกวุ่นวาย

หวัง ฝูชุน(王福春) เป็นพนักงานการรถไฟในเมืองฮาร์บิน มณฑลเฮยหลงเจียงในช่วงปี 1990 ในปี 2014 เขาได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในทำเนียบ “30 ช่างภาพผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดของเอเชีย” โดยผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ ชุดภาพ “คนจีนบนขบวนรถไฟ” 《火车上的中国人》



“ภาพที่ถ่ายในวันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นประวัติศาสตร์”

สิ่งที่ผู้คนในยุคก่อนใช้ฆ่าเวลาระหว่างเดินทางบนรถไฟที่แสนยาวนานนั้น ได้แก่ นิตยสาร ไพ่นกกระจอก ไพ่บ็อก โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่น “ต้าเกอต้า” ของบรรดานายจ้าง โทรทัศน์เคลื่อนที่ให้เช่าบนขบวนรถไฟ เครื่องวิทยุขนาดเล็กสำหรับพกพาของหนุ่มสาว ซึ่งสิ่งของทั้งหมดนี้ได้ถูกสมาร์ทโฟนเข้ามาแทนที่หมดแล้ว

ในปี 2008 ศิลปินนักถ่ายภาพชื่อดังจีน หวังฝูชุน เดินทางมายังตำบลปาโกวบนเขาเล่อซัน เมื่อไปถึงที่นั่นเขาเห็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งความยาวไม่ถึง 20 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างบริเวณภายในภูเขากับนอกเขา บรรดาชาวบ้านเข้าไปในตัวเมืองอำเภอโดยขบวนรถไฟเล็กๆ บนตู้รถไฟนอกจากคนแล้ว ยังมีวัว แพะ เป็ด ไก่ ห่าน และสัตว์ชนิดอื่นๆที่ชาวบ้านนำไปขายในตลาด หวังฝูชุนเห็นภาพคนและสัตว์โดยสารในตู้รถไฟด้วยกัน

สิบปีต่อมา เขาเดินทางไปถ่ายภาพที่นั่นอีก ก็พบว่าบนเขามีถนนทางหลวงตัดผ่านแล้ว ไม่มีภาพชาวบ้านนั่งรถไฟขบวนเล็กๆอีกต่อไป “ภาพที่ถ่ายในวันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว” หวังกล่าว

บนขบวนรถไฟปาโกว-หวงชุนจิ่ง ปี 2008

หวังฝูชุนหวนนึกถึงความหลัง ช่วงที่เริ่มถ่ายภาพผู้คนบนขบวนรถไฟเหล่านี้ การรถไฟจีนดูไม่ชอบสิ่งที่เขาทำเลย สำนักพิมพ์การรถไฟปฏิเสธตีพิมพ์หนังสือรวมภาพถ่ายของเขา เนื่องจากมองว่าสิ่งที่เขาบันทึกนั้นคือ “ด้านหนึ่งของความล้าหลังอย่างที่สุดของรถไฟจีน” ต่อมาเมื่อเห็นสังคมและนานาชาติชื่นชอบภาพถ่ายของหวัง หน่วยงานการรถไฟจีนจึงค่อยๆเปลี่ยนทัศนะ ถึงกับออกหน้าเชิญหวังฝูชุนมาทำงานถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ให้กับการรถไฟ

บนขบวนรถไฟเป่ยอัน-สุยฮว่า ปี 1998

ต่อมา หวังฝูชุนได้พูดเล่นบนเวทีอภิปรายครั้งหนึ่งว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงยังต้องการ “ภาพความล้าหลัง” (ที่เป็นภาพขัดแย้ง) เหล่านี้มาช่วยส่งเสริมความโดดเด่น

เมื่อมองจากปัจจุบัน สิ่งมีค่าที่สุดที่หวังฝูชุนได้บันทึกไว้คือ... แม้ภาพที่เขาถ่ายนั้นคือ ภาพขบวนรถไฟที่สุดแสนสกปรกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ตู้ขบวนรถไฟที่แออัดผู้คนเบียดเสียดกันจนแทบหายใจไม่ออก กลุ่มผู้โดยสารที่ดูเหนื่อยล้า แต่ทว่า กลับมองไม่เห็น “สิ่งสกปรกโสมมใดๆ”ในกลุ่มผู้คนที่อยู่ในภาพถ่ายเหล่านั้น กล่าวอีกแบบคือในภาพถ่ายเหล่านั้นคือ “ภาพผู้คนที่สะอาดบริสุทธิ์”

สิ่งที่ “จริงแท้” คือสิ่งที่น่ารักที่สุด

“ขบวนรถไฟสีเขียว” ยังมีหลงเหลือในปัจจุบันไม่กี่ขบวนในพื้นที่ห่างไกล หวังฝูชุนให้สัมภาษณ์เมื่อไม่กี่ปีมานี้ว่า “ขบวนรถไฟสีเขียวของยุคก่อนคือสังคมจีนที่ถูกย่อมาไว้ภายในขบวนรถไฟ แต่ทว่า...ขบวนรถไฟความเร็วสูงในปัจจุบัน “ไม่มีเรื่องราว”อีกแล้ว”

บนขบวนรถไฟกว่างโจว-เซี่ยงไฮ้ ปี 1996 ผู้โดยสารเล่นไพ่ป็อก
บนขบวนรถไฟฮาร์บิน-จี้จี้ฮาเอ่อร์ ปี 1998 คู่สามี-ภรรยาเพิ่งแต่งงานถือภาพแต่งงานเดินขึ้นขบวนรถไฟ

บนขบวนรถไฟหมู่ตันเจียง-ฉังทิง ปี 1994 คนงานรถไฟถือป้ายเขียนว่า “ตู้รถไฟนี้มีโทรทัศน์”

ขบวนรถไฟ T18 วิ่งระหว่างเมืองฮาร์บิน และปักกิ่ง ปี 1986 เป็นรถไฟขบวนแรกที่มีโทรทัศน์

ผู้โดยสารบนขบวนรถไฟสายฮาร์บินและหมู่ตันเจียง ปี1999 ดูโทรทัศน์เครื่องเล็ก ในยุคนั้นการรถไฟจีนเสนอบริการให้เช่าโทรทัศน์เครื่องเล็กแก่ผู้โดยสารดูรายการต่างๆระหว่างเดินทาง

ผู้โดยสารในขบวนรถไฟสายเมืองเสิ่นหยังและต้าเหลียน กำลังคุยโทรศัพท์มือถือ “ต้าเกอต้า” อย่างเท่ของปี 1994

บนขบวนรถไฟหลันโจว-อุรุมชี ปี 1993

เด็กสาวเล่นเครื่องดนตรีจีนเอ้อร์หูในขบวนรถไฟ กว่างโจว-เฉิงตู ปี 1996

บนขบวนรถไฟเซี่ยงไฮ้-ฉงชิ่ง ปี 1991 ครอบครัวสมาชิกสี่คนนอนบนรถไฟ

บนขบวนรถไฟซวงเฟิง-ฉังทิง ปี 1989

บนขบวนรถไฟฮาร์บิน-จี๋หลิน ปี 1998 สาวจีนแต่งตัวทันสมัย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 110, 111, 112 ... 145, 146, 147  Next
Page 111 of 147

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©