RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271190
ทั้งหมด:13582479
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ความก้าวหน้า ของ รถไฟจีนแดง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ความก้าวหน้า ของ รถไฟจีนแดง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 73, 74, 75 ... 145, 146, 147  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2017 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

นอนยังไม่ทันหลับดี!ม้าเหล็กเร็วสูงซีอาน-เฉิงตูควบทะลุผ่านภูเขา #สามชั่วโมงถึง
Xinhua News 28 ก.ย. 60 20.30 น.

ออกทดลองวิ่งอีกสายแล้วเมื่อวานนี้ (27 กย.) สำหรับรถไฟเร็วสูง “ซีอาน-เฉิงตู” ของแดนมังกร ที่มีดีกรีเป็นถึง “รถไฟเร็วสูงสายแรกที่วิ่งตัดผ่านเทือกเขาฉินหลิ่ง” โดยรถไฟสายนี้จะวิ่งผ่านทั้งสิ้น 16 สถานี ด้วยความยาวทั้งหมด 643 กม. และจากต้นทางถึงปลายทางจะใช้เวลาทั้งสิ้นแค่ 3 ชั่วโมงเท่านั้น ในขณะที่ของเก่าที่ต้องนั่งนานถึง 16 ชั่วโมง!เรียกได้ว่าดูหนังสักเรื่องจบก็ใกล้ถึงพอดี
ส่วนความเร็วในการวิ่งของม้าเหล็กตัวนี้อยู่ที่ 250 กม.ต่อชม. และคาดว่าจะเปิดให้ใช้บริการอย่างเป็นทางการภายในปีนี้

ทั้งนี้ทางรถไฟเร็วสูงตัดภูเขาที่ท้าทายความสามารถทางวิศวกรรมของจีนเป็นอย่างมากสายนี้ เริ่มสร้างตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี2012 และยังเป็นส่วนหนึ่งของเมกะโปรเจ็กต์โครงข่ายรถไฟ “ขวาง8ตั้ง8”ของจีนอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/09/2017 7:28 am    Post subject: Reply with quote

เส้นทางขนส่งสินค้าทางถนน-รถไฟ ช่วยในการขนส่งสินค้าจากเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านจีนไปยังยุโรป ใช้เวลาเพียง 20 วัน

Road-rail freight route delivers cargo from SE Asia to Europe
Source: Xinhua| 2017-09-29 00:23:03|Editor: An

CHONGQING, Sept. 28 (Xinhua) -- A new road-rail freight transportation route has opened, delivering international cargo from Southeast Asia to Europe via southwest China's Chongqing Municipality.

On Thursday, over 10,000 items of clothing, produced in Vietnam and transported to Chongqing via truck, were loaded onto a train bounded for Duisburg, Germany.

"This was the first time Chongqing has integrated road freight with Europe-bound railway services. We hope it will become a competitive cargo trade route between Southeast Asia and Europe," said Qiao Zhiyu, general manager of Chongqing-ASEAN Highway Logistics Company.

The road-rail route takes just 20 days, some 20 days less than shipping freight, Qiao said.

Chongqing began regular road freight services to Southeast Asian countries in April last year, exporting auto parts, and importing fruit, rice and timber.

The municipality will have three road freight routes, one each to Vietnam and Thailand, which are already in service, and a third to Yangon, Myanmar via Yunnan Province, which is under construction.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2017 7:53 am    Post subject: Reply with quote

การขุดอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในจีน

Construction of China's longest rail tunnel in full swing
New China TV Published on Oct 3, 2017

Construction of China's longest rail tunnel in full swing. The Gaoligong Tunnel, with a length of 34.5 km, is part of a railroad linking Dali in central Yunnan to Ruili in southwestern Yunnan on the border with Myanmar.


https://www.youtube.com/watch?v=VMZqFiRsAcg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/10/2017 8:25 am    Post subject: Reply with quote

ไชน่า เอ็กซิมแบงก์ เซ็นข้อตกลงล้านล้านหนุนธุรกิจ “รถไฟจีน”
Arrow https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/posts/1981729058709773

เมื่อไม่นานนี้ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (China EximBank) ได้ลงนามข้อตกลงมูลค่า 200,000 ล้านหยวน (ราวหนึ่งล้านล้านบาท) กับบริษัทการก่อสร้างทางรถไฟแห่งประเทศจีน (CRCC) เพื่อช่วยลับคมความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ

รายงานระบุว่าธนาคารฯ จะจัดหาบริการทางการเงินประเภทต่างๆ โดยเฉพาะการสนับสนุนงานสินเชื่อและการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยซีอาร์ซีซีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านวิศวกรรมรถไฟและการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระตุ้นความร่วมมือกับต่างประเทศ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บรรดาผู้ประกอบการชาวจีนได้เร่ง “ก้าวสู่ระดับโลก” และการก่อสร้างทางรถไฟก็เป็นหนึ่งในธุรกิจจีนที่กำลังแผ่ขยายอิทธิพลอย่างแข็งขัน โดยพบการขายรถไฟความเร็วสูงที่จีนเป็นผู้ผลิตให้แก่อินโดนีเซีย รัสเซีย อิหร่าน และอินเดีย

ขณะเดียวกันจีนยังเป็นเจ้าของโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยระยะทางกว่า 22,000 กิโลเมตรในปัจจุบัน โดยราวหนึ่งในสามของทางรถไฟดังกล่าววิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2017 8:51 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟความไวสูงปักกิ่ง - เซี่ยงไฮ้ก็มีรถนอนแล้วนะ
https://www.youtube.com/watch?v=XMIM20Ra8c8


โฆษณารถไฟความไวสูงจีนแดง
https://www.youtube.com/watch?v=7LHt9T7sdwc

1. ระยะทางรถไฟธรรมดาที่มีเดินในเมืองจีนจากปี 2012 ถึงปี 2016

Click on the image for full size


2. ระยะทางรถไฟความไวสูงที่มีเดินในเมืองจีนจากปี 2012 ถึงปี 2016
Click on the image for full size
http://www.chinadaily.com.cn/china/ecoachievements/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2017 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของ อุตสาหกรรมรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน
โพสต์ทูเดย์ 08 ตุลาคม 2560 เวลา 13:02 น.

โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เมื่อประเทศจีนเริ่มพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าความเร็วสูง (HSR, high speed railway) สายแรก ระหว่างปักกิ่ง-เทียนจิน เพื่อใช้เป็น "Showcase" ในโอลิมปิกเกมส์ปี 2008 จีนก็ใช้เวลาเพียงราว 1 ทศวรรษเพิ่มระยะทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วประเทศจาก 0 มาเป็นราว 2 หมื่นกิโลเมตร คิดเป็นระยะทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลก โดยไม่ใช่เพียงจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงจากต่างประเทศ แต่มีกระบวนการนำเข้า ถ่ายทอด ดูดซับ และพัฒนา จนจีนมีเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นของตัวเอง อาจารย์ Zhenhua Chen และ Kingley Haynes สรุปไว้ในหนังสือ "Chinese Railway in the Era of High Speed" ถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้จีนประสบความสำเร็จในระดับสูงและรวดเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงของตัวเอง และยากที่ประเทศอื่นๆ จะลอกเลียนแบบได้ 3 ประการ

1. "การสนับสนุนอย่างแข็งขัน จริงจัง และต่อเนื่องโดยรัฐบาลกลาง" เป็นเครื่องรับประกันความยั่งยืนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง เนื่องจากประเทศจีนเป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่อาจมีการเมืองในลักษณะหลายพรรค การมีพรรคการเมืองเดียวที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จมีข้อดีที่ทำให้นโยบายต่างๆ สามารถถูกดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง กล่าวโดยเฉพาะกรณีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งอยู่ใน "แผนพัฒนาโครงข่ายระบบรางระยะสั้นและระยะกลาง" (Mid and Long-Term Railway Network Plan) ภายหลังจากได้รับการอนุมัติโดย "คณะมนตรีแห่งชาติ" (State Council of China) ในปี 2004 ก็ถูกนำไปปฏิบัติโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวางทางการเมือง การสนับสนุนโดยรัฐบาลกลางนั้นนอกเหนือไปจากการสนับสนุนงบประมาณโดยตรงกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงบางโครงการแล้ว บางโครงการก็จะได้รับการสนับสนุนโดยโครงการเงินกู้จากธนาคารของรัฐ ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นก็สนับสนุนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงในฐานะผู้รับนโยบายจากรัฐบาลกลางไปปฏิบัติ โดยเฉพาะในด้านการจัดหาที่ดิน การประสานงานกับประชาชนท้องถิ่นในเรื่องการเวนคืน ซึ่งมีผลให้โครงการรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

2."ความเข้มแข็งของภาคขนส่งระบบรางจีน" กล่าวคือ แม้ว่าดูเหมือนประเทศจีนจะมีการก้าวกระโดดในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงผ่านกระบวนการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติในปี 2004 แต่ในความเป็นจริงแล้วงานวิจัยและพัฒนาด้านขนส่งระบบรางของจีนก็เกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นแล้วตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 โดยเป็นการพยายามพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเป็นของตัวเอง (indigenous HSR technology) ซึ่งค่อยๆ มีคุณภาพดีขึ้นในช่วงทศวรรษ 1990 จนถึงช่วงต้นทศวรรษ 2000 หน่วยงานสำคัญของจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามดังกล่าวนี้ คือ โรงงานรถไฟฉางชุน (Changchun Rolling Stock Manufacturer) สถาบันวิจัยรถจักรไฟฟ้าซูโจว (Zhuzhou Electric Locomotive Research Institute) และสถาบันระบบรางแห่งประเทศจีน (China Academy of Railway Science) โดยมีภาควิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้การสนับสนุน อาทิ มหาวิทยาลัยการคมนาคมปักกิ่ง (Beijing Jiaotong University) มหาวิทยาลัยถงจี (Tongji University) และมหาวิทยาลัยการคมนาคมตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Jiaotong University)

และในที่สุด แม้เทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่หน่วยงานต่างๆ ที่กล่าวข้างต้นพยายามร่วมมือกันวิจัยพัฒนาขึ้นจะไม่ประสบผลสำเร็จจนสามารถนำไปใช้การได้จริง ด้วยเงื่อนไขต่างๆ แต่ 2 ทศวรรษของการทุ่มงบวิจัยพัฒนาด้วยตัวเองก็กลับกลายเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ประเทศจีนสามารถดูดซับ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างชาติที่รับเงื่อนไขการขายเทคโนโลยีให้จีนได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าการวิจัยพัฒนาที่จีนเคยทำไว้ไม่สูญเปล่าเสียทีเดียว

3. "ความร่วมมือกับประเทศผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูง" ด้วยนโยบาย "ใช้ตลาดแลกเทคโนโลยี" (Exchanging market for technology) ของ "หลิวจื้อจวิน" (Liu Zhijun) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟ (โดยดำรงตำแหน่งระหว่างเดือน มี.ค. ปี ค.ศ. 2003 จนถึงเดือน ก.พ. ปี ค.ศ. 2011 รวมระยะเวลา 8 ปี) ผ่านกระบวนการจัดซื้อของรัฐด้วยการประกวดราคา ซึ่งครั้งแรกมีการประกวดราคาในเดือน มิ.ย. ปี  ค.ศ. 2004 โดยเน้นไปที่เทคโนโลยีระดับ 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะที่การประกวดราคาครั้งที่ 2 ถูกกระทำในเดือน ต.ค. ปี ค.ศ. 2005 เน้นเทคโนโลยีระดับ 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง และการประกวดราคาครั้งที่ 3 ถูกกระทำในเดือน พ.ย. ปี ค.ศ. 2006 ภายใต้การนำของ CSR Sifang และ CNR Changchun เพื่อเจรจาต่อรองกับเจ้าของเทคโนโลยีในต่างประเทศ ซึ่งในที่สุดนำไปสู่การได้รับเทคโนโลยีทั้งจาก ซีเมนส์ (Siemens) อัลสตอม (Alstom) บอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) และ คาวาซากิ (Kawasaki) ผ่านกระบวนการจัดหาเทคโนโลยี (Foreign technology acquisition) การผสมผสาน (Assimilation) ดัดแปลง (Transformation) และการใช้ประโยชน์ (Exploitation) ซึ่งทำให้เทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีนไม่ได้ขึ้นกับเทคโนโลยีของชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นการผสมผสานรับเอาข้อดีของแต่ละยี่ห้อมารวมไว้ใน CRH ของจีน โดยมีการพัฒนาระบบมาตรฐานจีนควบคู่กันไปด้วย (Chinese Environmental and Technical Standards)

อย่างไรก็ดี ในระหว่างกระบวนการพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีนก็มี "ปัจจัยพิเศษ" เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ไม่ควรเกิดขึ้น (หรือหลีกเลี่ยงได้ยากในประเทศที่อำนาจและผลประโยชน์เป็นเรื่องใหญ่) สมควรถูกบันทึกไว้เพื่อการศึกษาสำหรับผู้สนใจเนื่องจากแม้อาจจะไม่ใช่เรื่องดี แต่ก็มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีน ในท้ายที่สุด "หลิวจื้อจวิน" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟ ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดและถูกตัดสินให้ประหารชีวิต (แต่รอลงอาญา) จากการรับสินบนและใช้อำนาจในทางที่ผิดในระหว่างกระบวนการพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีน แม้จะถูกตัดสินประหารชีวิตแต่บุคลิกส่วนตัวของ "หลิว" ที่เป็นคนกระฉับกระเฉง มีสไตล์การทำงานที่เด็ดขาดก็กลายเป็นมีส่วนช่วยให้พัฒนาการของระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในทำนองคล้ายๆ กัน "จาง ชูกวง" (Zhang Shuguang) รองวิศวกรใหญ่แห่งกระทรวงรถไฟก็ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดและต้องโทษประหารชีวิตจากการรับสินบน ฝีมือการทำงานและทักษะการเจรจาต่อรองของ "จาง" ทำให้จีนประหยัดงบประมาณได้ 9 พันล้านหยวน (1.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในระหว่างการเจรจาต่อรองจัดหาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง และอาจกล่าวได้ว่า "หลิว" และ "จาง" คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการด้านระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีนไม่ต่างจาก "โซโก ชินจิ" (Sogo Shinji) และ "ฮิเดะโอะ ชิมะ" (Hideo Shima) ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนารถไฟฟ้าหัวกระสุน "ชินกันเซ็น" ของญี่ปุ่น

สำหรับประเทศไทย ควรศึกษากรณีศึกษาของจีนเป็นพิเศษ เนื่องเพราะขณะนี้เราอยู่ในสถานะที่มีรัฐบาล คสช.ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทยได้ดีก็จะยังประโยชน์ระยะยาวให้กับประเทศ ในทางตรงกันข้าม หากไม่มียุทธศาสตร์และแผนงานที่รัดกุม มีแต่การใช้งบประมาณจัดซื้อ หรือหากเกิดกรณีทุจริตเอื้อประโยชน์ ท้ายที่สุดเราคงได้เห็นข่าวศาลพิพากษาให้จำคุกหรือประหารชีวิตไม่ต่างจากสิ่งที่เคยเกิดในประเทศจีน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/10/2017 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

กรุงปักกิ่งทดลองเดินรถไฟแม็กเลฟ สายS1
2017-10-19 16:47:07 CRI

Click on the image for full size

ขณะนี้ กรุงปักกิ่งกำลังทดลองทางรถไฟแม็กเลฟสายแรก สาย S1 อยู่ คาดว่าจะเปิดใช้บริการในสิ้นปีนี้ สามารถขนส่งผู้โดยสาร 56,850,000 คนต่อปี ทางรถไฟแม็กเลฟ สาย S1 เป็นรถรางพลังงานแม่เหล็กความเร็วระดับปานกลาง ที่มีสิทธิทรัพยสินทางปัญญาสายแรกของจีน ขณะที่รถวิ่งอยู่นั้น จะไม่มีเสียงดังรบกวน มีความปลอดภัยและนั่งสบาย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหมาะสมสำหรับใช้ในเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก
(Yim/Lin)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2017 11:55 am    Post subject: Reply with quote

จีนมีแผนสร้างรถไฟแขวน ไร้มลภาวะแถมต้นทุนต่ำ
โพสต์ทูเดย์ 21 ตุลาคม 2560 เวลา 10:37 น.

Click on the image for full size

การสร้างเส้นทางรถไฟแขวนในจีน
ใช้ต้นทุนต่ำกว่าการสร้างรถไฟใต้ดิน แถมกระบวนการสร้างยังไร้มลภาวะและไม่ทำให้การจราจรบนท้องถนนติดขัดอีกด้วย

สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันที่ 19 ต.ค. ที่ผ่านมา สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ได้ออกมากล่าวถึงแผนการสร้าง “เส้นทางรถไฟแขวน” เพื่อแก้ปัญหารถติดและมลภาวะบริเวณสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในประเทศ

รถไฟดังกล่าวขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ลิเทียม มีระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร โดยเริ่มแรกจะสร้างที่มณฑลกุ้ยโจวก่อน ตามด้วยมณฑลเสฉวนในอนาคต โดยมีค่าใช้จ่ายในการสร้างไม่ถึง 1 ใน 5 ของค่าใช้จ่ายในการสร้างรถไฟใต้ดินแบบปกติ แถมยังไร้มลภาวะและไม่ส่งผลกระทบต่อการจราจรบนท้องถนน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2017 7:17 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
^^^

ถึงลอนดอนแล้ว! รถไฟสินค้าจากจีนขบวนแรก ลอดอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษ 18 วัน 12,000 กม.
โดย MGR Online 19 มกราคม 2560 09:54 น.


ส่วนหน้าตาเส้นทางรถสินค้าจาก Yiwu ไปกรุงแมดริก สเปน ระยะทาง 13052 กิโลเมตร จะเป็นแบบนี้ครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2017 9:28 am    Post subject: Reply with quote

China Railway Map
Arrow https://www.travelchinaguide.com/china-trains/railway-map.htm
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 73, 74, 75 ... 145, 146, 147  Next
Page 74 of 147

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©