Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180329
ทั้งหมด:13491563
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - "สมเด็จพระเทพฯ" เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

"สมเด็จพระเทพฯ" เสด็จเปิดรถไฟไทย-ลาวปฐมฤกษ์
Goto page Previous  1, 2, 3
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2009 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

รถนอนกทม.-ท่านาแล้ง1,217บ. ลาวเดินหน้าสู่แลนด์ลิงก์ เตรียมเจรจาสร้างสถานีรถไฟเชื่อมเวียดนาม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2408 12 มี.ค. - 14 มี.ค. 2552

http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R3724081&issue=2408


ทางรถไฟไทย-ลาว (หนองคาย- ท่านาแล้ง) เปิดใช้บริการ รองผู้ว่าการรถไฟลาวเตรียมหาพันธมิตรลงทุนโครงการ 2 เชื่อมต่อเส้นทางท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ คาดใช้งบเบื้องต้นกว่า 900 ล้านบาท


นายสอละสัก ญานซะนะ รองผู้ว่าการรถไฟ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ทางรถไฟเชื่อมสองประเทศระยะทาง 2.5 กิโลเมตรเป็นผลจากความร่วมมือของรัฐบาลไทยและรัฐบาลสปป.ลาว โดยใช้งบประมาณกว่า 197 ล้านบาทแบ่งเป็นเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย 30 % และเงินกู้ 70% โดยจะเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 1.5% ต่อปีปลอดดอกเบี้ย 10 ปีและจะต้องส่งคืนทั้งหมด ภายใน 30 ปี


"ผลจากการเปิดเส้นทางรถไฟสายนี้จะช่วยให้ทางเราได้ประโยชน์อย่างมากในเรื่องการขนส่งสินค้าจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้าลดลงอาจจะถึง 50% เมื่อเทียบกับการขนส่งทางรถยนต์ที่ราคาน้ำมันในประเทศสูงมากซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าลดลงไปได้อย่างมาก ที่สำคัญจะทำให้การท่องเที่ยวของไทย-ลาวเติบโตมากขึ้นเรียกได้ว่าเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย"


สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าไปในนครเวียงจันทน์ทางรัฐบาลก็มีรถบัสมารับที่สถานีท่านาแล้ง แต่สำหรับราคาค่าโดยสารรถนั้นในเบื้องต้นยังไม่กำหนดราคาชัดเจน แต่อีกไม่นานก็คงจะประกาศ ซึ่งตนเชื่อว่าราคาค่าโดยสารไม่น่าที่จะแพงเพราะต้องการดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ


นอกจากนี้นายสอละสัก กล่าวเพิ่มเติมถึงโครงการในอนาคตอีกว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลได้เริ่มมีการวางแผนที่จะดำเนินการโครงการสองซึ่งเป็นการเชื่อมเส้นทางรถไฟจากท่านาแล้งไปสู่นครเวียงจันทน์ซึ่งขณะนี้ได้จ้างให้ทางฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบมาประมาณ 1 ปีซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบเสร็จแล้วจึงเหลือแต่การก่อสร้าง


"ทางรถไฟจากท่านาแล้งมายังเวียงจันทน์จะยาวประมาณ 9 กิโลเมตรคาดว่าค่าก่อสร้างน่าจะใช้งบประมาณ 900 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้เรากำลังเจรจากับหลายๆประเทศเพื่อขอความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน นอกจากนี้ทางรัฐบาลลาวยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากเวียงจันทน์-ท่าแขก-ฮานอยของเวียดนามซึ่งโครงการนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับรัฐบาลเวียดนาม"


ด้านนายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลจากการเปิดเส้นทางรถไฟหนองคาย-ท่านาแล้งจะทำให้การท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าเกิดความสะดวกทั้งยังทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเติบโตมากขึ้นอย่างแน่นอนเพราะทางรัฐบาลสปป.ลาวไม่ได้หยุดแค่ทางรถไฟเส้นนี้อาจจะมีการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ ซึ่งในอนาคตประเทศในกลุ่มอาเซียนจะสามารถไปมาหาสู่ด้วยระบบรถไฟมากขึ้น


"สำหรับประเทศไทยก็มีโครงการทำรถไฟรางคู่อีกหลายจุดเช่น แก่งคอย-โคราช , โคราช-แหลมฉบัง เพื่อเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเส้นทางรถไฟรางคู่เพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ในอนาคต"

นายทวีป เสือรอด นายสถานีรถไฟ กล่าวว่า การเปิดสถานีรถไฟสายดังกล่าวสร้างชาวลาวจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจในเรื่องนี้และต้องการที่จะนั่งรถไฟขบวนนี้เพื่อมาเที่ยวหนองคายแต่ขณะนี้ยังไม่สามารถให้บริการเดินรถไฟได้ต้องรอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบผ่านพระราชบัญญัติขนส่งผ่านแดนไปก่อน นอกจากนี้ยังต้องมีการพูดคุยกันทั้งสองฝ่ายในเรื่องข้อปฏิบัติและรายละเอียดปลีกย่อยและถ้าการเจรจาลงตัวก็จะสามารถเปิดบริการอย่างเต็มรูปแบบ

"นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการจะมาเยือนท่านาแล้งก็สามารถซื้อตั๋วรถไฟพร้อมทั้งแสดงหนังสือเดินทางต่อเจ้าหน้าที่ระบบก็จะออนไลน์ไปยังสถานีหนองคาย แต่ก่อนที่จะมาแนะนำให้เช็กราคาค่าตั๋วรถไฟกันก่อนเพราะมีหลายราคาเช่นสำหรับราคาค่าโดยสารชั้น 1 รถนอนกรุงเทพฯ-ท่านาแล้ง (ขบวน 69/70) ราคา 1,217 บาท หรือต้องการแบบโลว์คอสต์ก็มีแบบชั้น 3 ราคา 388 บาท" นายทวีปกล่าวปิดท้าย


สำหรับเส้นทางหนองคาย-ท่านาแล้งระยะ 2.5 กิโลเมตร ขบวนรถไฟที่จะวิ่งให้บริการวันละ 2 เที่ยวหรือ 4 ขบวน คือ

1. (ขบวน ด่วน 69) ออกจากสถานีหนองคายเวลา 10.00 น. ถึงสถานีท่านาแล้ง (ทำเป็นขบวน 914 กลับถึงหนองคาย) เวลาประมาณ 11.00 น.
2. ส่วนขบวนบ่ายเวลา 16.00 น. (ทำเป็นขบวน 913) ออกจากสถานีหนองคายถึงสถานีท่านาแล้ง จากนั้น 17.00 น. (จึงทำขบวนเป็น ด่วน 70) ออกจากสถานีท่านาแล้งกลับมายังสถานีหนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 12/03/2009 10:14 pm    Post subject: Reply with quote

มาแปลเป็นภาษาไทย ที่ใกล้เคียงความหมายเดิมให้แล้วครับ ตอนนี้ขอปาดเหงื่อก่อน...

.................

ผู้ใช้บริการรถไฟ ลาว-ไทย ต้องแสดงหนังสือผ่านแดน หรือ Passport

ผู้โดยสารที่ต้องการใช้บริการรถไฟ ระยะที่ 1 สะพานมิตรภาพ ลาว-ไทย 1 ที่ได้เปิดเป็นทางการ ในวันที่ 5 มีนาคม 2009 ที่ผ่านมา ต้องแสดงหนังสือผ่านแดน หรือ พาสปอร์ต(Passport) เวลาซื้อตั๋วโดยสาร

ท่าน ดร.คำแสง ไซยะกอน หัวหน้าองค์การทางรถไฟ กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง ได้แถลงข่าว ในวันที่ 10 มีนาคม 2009 ว่า: โดยปฏิบัติตามสัญญาว่าด้วยการเดินรถไฟร่วมกัน ระหว่างสองรัฐบาลลาว-ไทย ได้ลงนามในวันที่ 3 มีนาคม 2008 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ องค์การทางรถไฟลาว และการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรึกษาหารือกันในแผนงานโดยละเอียด ในการเดินรถไฟร่วมกัน ระหว่าง 2 องค์การทางรถไฟ คือระหว่าง ลาว-ไทย ดั่งนั้น จึ่งได้ตกลงลงนามบันทึกช่วยจำระหว่าง 2 ฝ่าย ในวันที่ 8 มีนาคม 2009 ที่ผ่านมา ซึ่งได้ระบุไว้ดังนี้

ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงบริการเดินรถไฟร่วมกันอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2009 เป็นปกติทุกวัน ระเบียบการในการเดินรถไฟทางฝ่ายลาว และไทย มีข้อบังคับในการเดินรถไฟของการรถไฟแห่งปะเทศไทย เกี่ยวกับแผนการเดินรถไฟทั้งสองฝ่าย เห็นชอบในการเดินรถไฟวันละ 2 เที่ยว ดังนี้ : เที่ยวที่หนึ่ง ออกจากสถานีหนองคายเวลา 10:00 นาฬิกา ถึงสถานีท่านาแล้ง 10:15 นาฬิกา และออกจากสถานีท่านาแล้ง เวลา 11:00 นาฬิกา ถึงหนองคาย 11:15 นาฬิกา เที่ยวที่สอง ออกจากหนองคาย 15:00 นาฬิกา ถึงท่านาแล้ง 15:15 นาฬิกา และออกจากท่านาแล้ง 15:45 นาฬิกา ถึงหนองคาย 16:00 นาฬิกา สำหรับราคาตั๋วโดยสาร ได้กำหนดไว้ดังนี้

ตู้โดยสารชั้น 1 ปรับอากาศราคา 12,500 กีบ/เที่ยว (50 บาทเงินไทย) ตู้โดยสารชั้น 2 7,500 กีบ/เที่ยว (30 บาทเงินไทย) และตู้โดยสารชั้น 3 5,000 กีบ/เที่ยว (20 บาทเงินไทย) ราคาตั๋วโดยสารรถประจำทาง (ปรับอากาศ) จากสถานีท่านาแล้ง ถึงท่าจอดรถประจำทางตลาดเช้า และตลาดเช้าถึงท่านาแล้ง การรถไฟแห่งประเทศไทยเห็นชอบกับรัฐวิสาหกิจรถเมล์นครหลวงเวียงจัน ในราคาตั๋วใบละ 12,500 กีบ/เที่ยว (50 บาทเงินไทย)

ส่วนเวลารถโดยสารจะออกจากท่าจอดรถตลาดเช้าเวลา 9:30 นาฬิกา และ ตอนบ่ายจะไปถึงท่านาแล้ง 14:30 นาฬิกา เพื่อรับผู้โดยสารเที่ยวใหม่

สถานที่จำหน่ายตั๋วรถไฟ-รถประจำทาง (ปรับอากาศ) ของลาวจำหน่ายที่สถานีท่านาแล้ง และของไทย จำหน่ายที่สถานีรถไฟหนองคาย บรรดาท่านที่เลือกจะเดินทางโดยรถไฟ กรุณาแสดงหนังสือผ่านแดน หรือ พาสปอร์ต เวลาซึ้อตั๋วโดยสารกับพนักงาน เนื่องจากเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องฝ่ายลาว และ ไทย จะได้มีการตรวจตราการเข้า-ออกเมือง (ผ่านแดน) ของผู้โดยสาร ตามระเบียบหลักการในการเดินทางระหว่างประเทศ.


....................


Last edited by black_express on 12/03/2009 10:22 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2009 10:20 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูดรถไฟข้ามโขงไทย-ลาว ท่องเที่ยว-โลจิสติกส์รับอานิสงส์

Click on the image for full size
โดย จุมพล สายแวว
ประชาชาติ ธุรกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4087 วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552
http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02phu02120352&day=2009-03-12&sectionid=0211

หลังจากใช้เวลาผลักดันนานร่วม 10 ปีโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายสะพานมิตรภาพ หนองคาย-ท่านาแล้ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร มูลค่าก่อสร้าง 185 ล้านบาท ได้ฤกษ์เปิดหวูดการเดินรถไฟระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาวไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดเที่ยวปฐมฤกษ์

หลายฝ่ายวาดหวังว่าการเดินรถไฟระหว่างประเทศสายประวัติศาสตร์นี้จะปูทางไปสู่การพัฒนาการขนส่งระบบราง ระบบโลจิสติกส์ทั้งด้านผู้โดยสารและสินค้า รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายระบบการขนส่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

"กวี กิตติสถาพร" ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย บอกว่า ในระยะเริ่มแรกขบวนรถไฟจะเป็นรถไฟโดยสาร ธุรกิจการ ท่องเที่ยวจะได้รับประโยชน์มาก คาดว่า นักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น และในอนาคตเมื่อมีการขนส่งสินค้าได้ด้วย ก็จะเป็นประโยชน์กับภาคการขนส่ง เพราะช่วยประหยัดค่าขนส่งได้เท่าตัว จากเดิมที่ขนส่งโดยรถยนต์

แต่ผู้ว่าฯหนองคายกังวลว่าหลังจากเปิดใช้รถไฟสายนี้แล้ว อาจมีกลุ่มผู้กระทำความผิดฉวยโอกาส เช่น การลักลอบขนยาเสพย์ติด สินค้าหนีภาษี และแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง จึงเตรียมรับมือไว้แล้วโดยการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสนธิกำลังทุกฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ดูแลทั้งบนขบวนรถและสถานีรถไฟ

สำหรับผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางด้วยรถไฟสายหนองคาย-ท่านาแล้ง จะต้องทำหนังสือผ่านแดน หรือบัตรผ่านแดน (border pass) เช่นเดียวกับการเดินทางด้วยรถยนต์ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยจังหวัดหนองคายจัดเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองให้บริการทำบัตรผ่านแดน ณ สถานีรถไฟหนองคายเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง นอกเหนือจากจุดให้บริการเดิมที่ศูนย์ราชการ จ.หนองคาย และที่ว่าการอำเภอเมือง

"สุกานดา ยุวนิช" ผู้จัดการ บริษัท กานตนาทัวร์มั่นใจว่า เส้นทางรถไฟสายหนองคาย-ท่านาแล้ง จะเป็นอีกจุดขายหนึ่งที่ดึงดูดให้คนมาเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศนั่งรถไฟข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งผู้ประกอบกิจการทัวร์ก็มีการปรับตัวให้สอดรับกับเส้นทางรถไฟสายนี้ โดยอาจมีการนัดหมายรับลูกทัวร์ที่สถานีรถไฟหนองคายแล้วพานั่งรถไฟข้ามสะพาน หรือนัดเจอลูกทัวร์ที่สถานีรถไฟท่านาแล้ง และให้บริการเพิ่มเติมด้วยการทำบัตรผ่านแดนให้กับลูกทัวร์ทุกคน โดยคิดค่าบริการอัตราเดิมเหมือนกับทัวร์ทางรถยนต์

"มงคล ศิโรรัตนรังษี" กรรมการหอการค้าจังหวัดหนองคาย และผู้ประกอบการค้าชายแดนกล่าวว่า การมีรถไฟไทย-ลาวจะส่งผลดีมากในระบบโลจิสติกส์ ในอนาคตประเทศไทยจะเป็นฮับหรือศูนย์กลางการกระจายสินค้าไปสู่อาเชียนและประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก แต่ก็จะมีผลกระทบกับผู้ประกอบการทางรถยนต์ โดยเฉพาะธุรกิจนำเที่ยว

"ทวีป เสือรอด" นายสถานีรถไฟหนองคาย บอกว่า หลังเสร็จพิธีเปิดแล้วจะยังไม่สามารถให้บริการเดินรถไฟได้เต็ม รูปแบบ และยังไม่มีกำหนดเดินรถแน่ชัด เนื่องจากไทยและลาวยังไม่มีกฎหมายและเซ็นสัญญาในการเดินรถไฟระหว่างประเทศร่วมกัน (แต่ เซ็น MOU ไปแล้วแต่วันที่ 8 มีนาคม มีผลบังคับใช้ 9 มีนาคม 2552) ซึ่งต้องมีการพูดคุยกันในข้อปฏิบัติอีกหลายเรื่อง

ในเบื้องต้นกำหนดให้ขบวนรถไฟวิ่งบริการเป็นประจำทุกวัน วันละ 2 เที่ยว คือ
ออกจากสถานีหนองคายเวลา 10.00 น. ถึงสถานีท่านาแล้งเวลา 11.00 น. ส่วนในช่วงบ่ายเวลา 16.00 น. ออกจากสถานีหนองคายถึงสถานีท่านาแล้ง
จากนั้นเวลา 17.00 น. ออกจากสถานีท่านาแล้งกลับหนองคาย

อัตราค่าโดยสารตู้นอนคนละ 50 บาท ตู้ปรับอากาศ 30 บาท ชั้น 2 ธรรมดา คนละ 20 บาท

ที่สำคัญทุกคนต้องทำหนังสือผ่านแดนก่อนเดินทางทุกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/03/2009 12:18 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายมิตรภาพไทย-ลาว
Life Style : ท่องเที่ยว
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 13 มีนาคม 2552 01:00
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/travel/20090313/22123/รถไฟสายมิตรภาพไทย-ลาว.html


พาหนะยอดนิยม สำหรับนักเดินทางอารมณ์โรแมนติก คงหนีไม่พ้น รถไฟ ที่หลายคนลงความเห็นแล้วว่า สะดวก สบาย ประหยัด และปลอดภัยที่สุด

หลังจากเปิดให้บริการมาครบ 112 ปี พาผู้คนไปเยี่ยมเยือนสถานที่ต่างๆ มาแล้วทั่วประเทศ ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดให้บริการรถไฟระหว่างประเทศในเส้นทางที่น่าจะได้รับการตอบรับจากนักเดินทางเป็นอย่างดี นั่นคือเส้นทางหนองคาย (ไทย) - ท่านาแล้ง (ลาว) ซึ่งเพิ่งผ่านพิธีเปิดมาหมาดๆ ถือเป็นรถไฟที่เชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับเพื่อนบ้านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างหนองคาย-ท่านาแล้ง เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2549 เสร็จเรียบร้อยในเดือนเมษายน 2551 และเปิดให้บริการรถไฟสายหนองคาย - ท่านาแล้ง ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2552 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งรถไฟสายดังกล่าวมีระยะทาง 5.3 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที

สถานีท่านาแล้ง เป็นสถานีรถไฟแห่งแรกในลาว และเป็นสถานีขนส่งสินค้าที่สำคัญ ตั้งอยู่ที่บ้านดงโพสี เมืองหาดทรายฟอง ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์เพียง 9 กิโลเมตร ซึ่งการเปิดเส้นทางหนองคาย - ท่านาแล้ง นอกจากจะมุ่งเน้นในเรื่องของการส่งเสริมการค้าและการขนส่งแล้ว ยังช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างไทย-ลาว เป็นไปได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น

"เราเปิดเส้นทางนี้เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นการเชื่อมต่อแผ่นดิน ซึ่งอาจจะขยายต่อจากลาวไปเวียดนาม ไปจีน เป็นโครงข่ายระดับอาเซียนที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี"

สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปท่องเที่ยวในนครหลวงเวียงจันทน์แบบไปเช้าเย็นกลับ ที่สถานีท่านาแล้ง มีรถโดยสารรับ-ส่ง หรือจะเหมารถสองแถวเที่ยวก็น่าสนใจ โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดคือ พระธาตุหลวง ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของลาว และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ประตูชัย อนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ ตลาดเช้า ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ผ้าทอลายโบราณ ฯลฯ

ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า ในระยะแรกนี้ ร.ฟ.ท.จะเปิดให้บริการประชาชนทั่วไปได้โดยสาร 4 ขบวนต่อวัน คือเที่ยวไป 2 ขบวน (หนองคาย-ท่านาแล้ง) และเที่ยวกลับ 2 ขบวน (ท่านาแล้ง-หนองคาย) เที่ยวไปออกจากสถานีหนองคายเวลา 10.00 น. และ 16.20 น. เที่ยวกลับออกจากสถานีท่านาแล้งเวลา 10.45 น.และ 17.06 น. อัตราค่าโดยสารรถตู้โดยสารชั้น 2 นั่งปรับอากาศ (บนท.ป.) ราคาคนละ 80 บาท

หากมีจำนวนผู้เดินทางมาก ร.ฟ.ท.จะเพิ่มรถให้บริการ โดยกำหนดอัตราค่าโดยสารไว้เป็นมาตรฐานแล้วคือ รถโดยสารชั้น 3 คนละ 20 บาท และรถโดยสารชั้น 2 คนละ 30 บาท

ส่วนใครที่สนใจจะเดินทางจากกรุงเทพไปยังสถานีปลายทางท่านาแล้งก็สามารถทำได้ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 13 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ Call center 1690 หรือติดต่อนายสถานีทุกแห่ง

อย่างไรก็ตามผู้โดยสารที่จะเดินทางระหว่างประเทศ ต้องผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองตามกฎหมาย ผู้โดยสารต้องแจ้งชื่อให้กับพนักงานจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกครั้ง ส่วนการเปลี่ยนแปลงการเดินทาง หรือการคืนเงินค่าโดยสารกรณีที่ไม่สามารถเดินทางได้ ยังคงปฏิบัติเช่นเดียวกับตั๋วโดยสารที่ใช้ในปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
MayyaM
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/07/2007
Posts: 1194

PostPosted: 14/03/2009 2:46 am    Post subject: Reply with quote

CENTENNIAL wrote:


ให้ท่านท้าววงกบประตูหน้าต่างแปลให้ไหมครับ


บ่แม้น บ่แม้นอายผู้กอง ท่านมีนามว่า ท่านท้าววงกต เด้ออาย บ่แม้นท้าววงกบประตูหน้าต่างเน้ออายผู้กอง

pattharachai wrote:


^
^
^
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาจารึกภาษาตะวันออก (แต่เรียนจากที่ไหนไม่รู้ ยังหาสำนักไม่เจอ Laughing )


ใช้จ๊ะน้องบอย พอดีมีโอกาสได้คุย MSN กับท่านท้าววงกต ท่านเคยบอกว่า

เป็นคนลาว ที่มาเรียนมหาวิทยาลัย แถวสามย่าน ค่ะ เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนด้วย

จึงคิดว่าเป็นมีความรู้ด้านภาษาค่ะ จึงคิดว่าน่าจะช่วยแปลให้อ่านได้ค่ะ

และเห็นว่า เป็นเพื่อนกับสมาชิกของเราที่ชื่อ คุณ Banana ค่ะ

ยังไงในบทความแรกที่ อ.เอก หม่องวินเอามาลง หน้าที่ 1 ยังไม่มีท่านใดแปลให้อ่าน ก็ขอรบกวนท่านท้าววงกต หรือคุณ banana ช่วยแปลให้ด้วยนะคะ

Sathu ขอขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ Razz


ปล.ขอขอบคุณ อ.เอก และพี่ตึ๋งมากที่พยายามแปลให้อ่านนะคะ

รอบนี้ รอชมผลงาน ท่านท้าววงกต หรือ คุณ banana นะคะ
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
CivilSpice
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/03/2006
Posts: 11192
Location: หนองวัวหนุ่มสเตชั่น

PostPosted: 14/03/2009 7:57 am    Post subject: Reply with quote

^^
ลูกปลา wrote:
ก็ขอรบกวน ท่านท้าววงกต หรือ คุณ banana ช่วยแปลให้ด้วยนะคะ

จำหน่ายตายทั้งคู่ไปตั้งนานแล้วครับ ไม่ต้องไปเรียกหาเขาหรอก แถวบ้านเรียกอาการนี้ว่า "ตายหมู่" ครับ

Laughing
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
umic2000
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 06/07/2006
Posts: 676
Location: Lenin Grad , U.S.S.R.

PostPosted: 14/03/2009 9:55 am    Post subject: Re: พะนะท่านปะทานปะเทด ต้อนรับสมเด็ดพระเทบ Reply with quote

Mongwin wrote:
ข่าวจาก นสพ.เวียงจันใหม่ 9 มี.ค. 2009
http://i284.photobucket.com/albums/ll8/Mongwin/phrathep.jpg

ได้ยินเสียงแว่วมาแต่ไกลว่ามีผู้สนใจอ่านข่าวนี้ของอ.เอก ข้าน้อยจึงขอรับใช้ถ่ายทอดจากภาษาลาวมาเป็นภาษาไทยตามนี้ หากแปลไม่ตรง แปลไม่ถูก จับใจความและประเด็นผิด ต้องขออภัยและโปรดชี้แนะด้วยครับ

ข่าวจาก นสพ.เวียงจันใหม่ 9 มี.ค. 2009 wrote:

ฯพณฯท่านประธานประเทศ ต้อนรับสมเด็จพระเทพ ฯ

ตอนเช้าวันที่ 6 มีนาคม 2009 ที่สำนักงานประธานประเทศ (หอคำ) ฯพณฯจุมมาลี ไชยะสอย ประธานประเทศแห่งสปป.ลาว ได้ต้อนรับการเข้าเยี่ยมคำนับของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรี สิรินธรสยามบรมราชกุมารี แห่งราชอาณาจักรไทย ในโอกาสที่เดินทางมาเยี่ยมเยือน สปป.ลาว ระหว่างวันที่ 5-6 มีนาคม 2009 นี้

ในโอกาสดังกล่าวนี้ ฯพณฯ ท่านประธานประเทศ ได้แสดงความยินดีที่สมเด็จพระเทพฯได้เสด็จเป็นประธานกิตติมศักดิ์ ร่วมกับ ฯพณฯ ท่านรองประธานประเทศแห่ง สปป.ลาว ในพิธีเปิดการใช้เส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-ท่าน่าแล้ง ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟแห่งแรกระหว่างลาว-ไทย และสมเด็จฯยังได้เป็นประธานกิตติมศักดิ์ร่วม ในการวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 ระหว่างคำม่วน-นครพนม ถือว่าเป็นสะพานแห่งแรกที่สองประเทศลาวและไทยได้ร่วมมือโดยตรง จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นเส้นทางรถไฟและสะพานที่เชื่อมไมตรีจิตรมิตรภาพ และความร่วมมือของสองประเทศ และประชาชนสองชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ในการอำนวยความสะดวกให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน และทั้งเป็นการเชื่อมโยงกายภาพพื้น

พร้อมกันนี้ ฯพณฯ ท่านประธานประเทศลาว ยังได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ สองรัฐบาลลาว-ไทยก็กำลังร่วมมือกันแก้ไขปัญหา เรื่องคนเข้าออกเมืองผิดกฎหมาย ปัญหาการปักปันหลักเขตแดน เพื่อให้ตามชายแดนของสองประเทศมีความสงบ ซึ่งความสงบจะกลายเงื่อนไขสำคัญในการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมให้เจริญรุ่งเรือง จึงเห็นความสำคัญที่จะต้องผลักดันให้รัฐบาลเจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการให้สำเร็จตามที่สองฝ่ายได้ตกลงกันไว้

การพบปะทั้งสอง ยังได้ตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สองประเทศได้มีความร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่มีการพัฒนามานานแล้ว จะได้รับภาระช่วยเหลือลาวที่ยังต้องได้พัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาด้านคมนาคมในการเชื่อมต่อ

จากนั้น ฯพณฯ ท่านประธานประเทศลาว ยังได้แสดงความชื่นชมและขอบใจสมเด็จพระเทพฯ ที่ได้พระราชทานให้ความช่วยเหลือในหลายโครงการที่ สปป. ลาว อันเป็นส่วนประกอบในการพัฒนาหลายท้องที่ของลาว โดยเฉพาะการช่วยเหลือในด้านการศึกษาและสาธารณสุข ตอนท้าย ฯพณฯ ท่านประธานประเทศลาว ยังได้ฝากถวายถามความคิดถึงอันอับอบอุ่น แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งราชอาณาจักรไทยอีกด้วย


แปลได้เท่าที่ความรู้ความสามารถของผมจะอำนวยแล้วนะครับ ใครต้องการเพิ่มเติมตรงส่วนไหนเข้าไป เชิญตามสบายขอรับ Razz

ตารางตัวพยัญชนะและสระภาษาลาวครับ

ตัวพยัญชนะมีพยัญชนะโดด 27 ตัว พยัญชนะผสม 6 ตัว
Click on the image for full size

สระภาษาลาว
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
beer45
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 18/06/2007
Posts: 4249
Location: ประเทศสยาม

PostPosted: 14/03/2009 10:01 am    Post subject: Reply with quote

^
แน๊ะ...มี หอ ห่านเพื่อนผมด้วย Laughing Laughing Laughing บ้านเราเรียก หอหีบ แต่ทาง สปป ลาว เรียก หอห่าน แปลกดีครับ Laughing Laughing เอ..แล้ว คุณน้าหมี หรือ หอหมี ของเรามีรึเปล่าครับ Laughing Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 11/04/2009 3:48 am    Post subject: บทความจากกรุงเทพธุรกิจ Reply with quote

บทความนี้เป็นบทความนำมาจาก กรุงเทพธุรกิจ ในส่วนของจุดประกาย ประจำวันที่ 11 เม.ย. 2552

(จากLink: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20090411/32697/รถไฟกินนอน-มาราธอนถึงเวียงจันทน์.html )

รถไฟกินนอน มาราธอนถึงเวียงจันทน์
วันที่ 11 เมษายน 2552 01:00
โดย : นิภาพร ทับหุ่น

Click on the image for full size

สิบกว่าชั่วโมง จากหัวลำโพงสู่สถานีท่านาแล้ง บนรถด่วนขบวน "69" รถไฟสายแรกสู่เมืองหลวงแห่งลาว ..นครเวียงจันทร์
ไม่มีรวงข้าวบนทุ่งนาผืนนั้น สีน้ำตาลไหม้ของตอซังข้าวที่ทอดยาวตลอดแนว ส่งให้ดีกรีความร้อนในฤดูดอกไม้บานทวีความรุนแรงขึ้น แม้เครื่องปรับอากาศจะทำงานอย่างหนักมาตั้งแต่ 14 ชั่วโมงก่อน แต่ดูเหมือนว่า ความร้อนจะซ่อนตัวเข้าไปในร่างกายและค่อยๆ บ่มอุณหภูมิในหัวใจจนระอุเดือด
"ถึงสถานีไหนแล้วเนี่ย" พี่สาวคนหนึ่งโพล่งออกมาหลังจากได้ "ข้าวผัดรถไฟ" เป็นอาหารมื้อเที่ยงเรียบร้อยแล้ว
"น่าจะใกล้อุดรแล้วล่ะ" พี่ชายที่นั่งถัดไปบอก เขามองนาฬิกาบนข้อมือขวาแล้วเสริมขึ้นมาอีกที
"คุ้มมั้ยล่ะ ซื้อตั๋ว 12 ชั่วโมง ได้ของแถมเป็นเวลาเพิ่มมาเพียบ"
เท่านั้นเองเสียงหัวเราะก็ดังลั่นไปทั้งขบวนรถ
วันอาทิตย์ 20.10 น.
รถด่วน ขบวน "69" ออกจากสถานีกรุงเทพฯ ที่หัวลำโพงช้ากว่ากำหนดไป 10 นาที แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เพราะการเดินทางกับความเหลื่อมล้ำของเวลาคือความคุ้นชินของนักเดินทาง
ฉันกางสมุดเพื่อตรวจสอบตารางการเดินทางในครั้งนี้ ตามกำหนดการเราจะถึงสถานีหนองคายเวลา 8.25 น. คะเนแล้วก็น่าจะถึงที่หมายในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่น่าจะทำให้ทริป "นั่งรถไฟไปลาว" ครั้งนี้มีอะไรต้องสะดุด แต่...
"ไปตู้เสบียงกันมั้ย"
แทนคำตอบ ฉันพยักหน้าหงึกแล้วเดินตามช่องทางเดินเล็กๆ ไป ข้ามจุดเชื่อมต่อของรถไฟเพียง 2 โบกี้ ก็ถึงอาณาจักรแห่งความอิ่มหนำสำราญ
มีผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินั่งประจำโต๊ะอยู่ก่อนแล้ว และที่กำลังสืบเท้าตามมาก็มากพอดู ฉันรีบมองหาทำเลว่างแล้ววางกระเป๋าเป้ลงไปเป็นเครื่องหมาย "จอง" ทำนองเดียวกับนักเรียนที่รุมกันแย่งที่นั่งบนรถเมล์จนต้องโยนกระเป๋าขึ้นไปทำเครื่องหมายแบบเดียวกัน
อาหารมื้อดึกของเราเป็นข้าวกะเพรากุ้งไข่ดาว ดูจากสีสันของเครื่องปรุงทั้งพริกและกะเพราแล้ว เผ็ดยังเรียกพี่ แต่ก็มีบางคนที่ยังเห็นว่า "จัด" ไม่พอขอช้อนเอาเฉพาะพริกในน้ำปลาพริกมาปรุงรสเพิ่ม ชนิดที่คนเป็นโรคกระเพาะอย่างเราเสียดท้องแทนเลยทีเดียว
หากใครเป็นขาประจำรถไฟคงไม่ต้องสาธยายถึงบรรยากาศบนตู้เสบียงให้มากความ แต่ขาจรอย่างฉัน ที่นั่นคือสถานบันเทิงแห่งหนึ่งบนรถไฟ
a moment in june บนตู้เสบียงรถไฟสายเหนือ ชายหนุ่มคนหนึ่งวางกระเป๋าลงบนที่นั่งข้างๆ หญิงวัยกลางคน เขาสะอื้นสั่งน้ำตาออกมาเป็นเพื่อน ก่อนที่ฝ่ายหญิงจะยื่นไมตรีจิตให้ ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ของความรักที่เจ็บปวด
magic ring หญิงสาววัยใสพบคู่รักคู่หนึ่งบนตู้เสบียงรถไฟ ทั้งสองเล่าเรื่องราวชีวิตแต่งงานให้เธอฟัง และบอกว่ากำลังจะเดินทางกลับบ้านเพื่อเปิดตัวภรรยาสาวกับครอบครัว เจ้าสาวหมาดๆ ยื่นแหวนแต่งงานให้เธอลองสวม ทว่า รถไฟที่โดยสารมาเกิดประสบอุบัติเหตุ สองสามีภรรยาเสียชีวิต เหลือเพียงหญิงโสดกับความทรงจำที่หายไป พร้อมๆ กับฐานะสะใภ้เศรษฐีที่มากับแหวนในมือ
จัดการกับอาหารรสจัดเรียบร้อยแล้วฉันจึงมีเวลาเหลือบมองผู้โดยสารที่นั่งอยู่บนศูนย์อาหารรถไฟ สาวผมบลอนด์โต๊ะแรกเป็นชาวฝรั่งเศส เดินทางมาเพียงลำพัง และมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่อินโดจีน เธอกำลังสนทนาอย่างออกรสอยู่กับสาวญี่ปุ่นที่เดินทางมาทำงานในเมืองไทย โต๊ะข้างๆ เป็นกลุ่มนักเดินทางเร็กเก้ พวกเขาต้องการเพียงแอลกอฮอล์ที่พอจะทำให้เกิดความรื่นรมย์ในการร้องเพลงเท่านั้น โต๊ะด้านหลังคือครอบครัวชาวไทยที่ดูไม่ค่อยมีฐานะนัก พวกเขาสั่งกับข้าว 1 อย่าง ข้าวเปล่า 4 จาน แล้วอาหารก็ตกถึงท้องทุกคน
ฉันสนุกกับการได้นั่งมองพฤติกรรมของผู้คน ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมตู้เสบียงจึงถูกนำมาผูกโยงเป็นฉากสำคัญในหนังดังหลายเรื่อง

วันจันทร์ 1.35 น.
ผ้าห่มสีขาว 1 ผืนที่เจ้าหน้าที่ปูเตียงวางไว้ให้ดูเหมือนจะไม่เพียงพอกับอุณหภูมิที่ค่อนข้างฉ่ำเย็น เสื้อคลุมบางๆ จึงถูกรื้อออกมาจากกระเป๋าเป้เพื่อช่วยบรรเทาอาการขนลุก ตอนดึกบนรถไฟชั้น 2 นั่งและนอนปรับอากาศ (บนท.ป.) บรรยากาศทั่วไปค่อนข้างเงียบถึงเงียบมาก ผู้โดยสารหลายคนหลับสบายไปแล้ว สังเกตได้จากเสียงกรนที่ดังแข่งกับเสียงรถไฟ ฉันเอนหลังลงบ้าง ไม่นานก็ผล็อยหลับไป
"ถึงไหนแล้วคะ" ฉันถามพร้อมๆ กับขยี้ตาแล้วปีนจากชั้น 2 ลงมาด้านล่าง เมื่อเห็นว่าสว่างมากแล้ว
"ชุมทางบัวใหญ่" เจ้าหน้าที่รถไฟบอก แต่ฉันทำหน้าเหมือนหมางง
"โคราชน่ะครับ เมื่อคืนเกิดปัญหานิดหน่อยแถวสุระนารายณ์ ช่องสำราญ เลยเสียเวลาไปมาก นี่คงถึงหนองคายเอาบ่ายๆ"
ไม่ทันล้างหน้า แปรงฟัน อาการงัวเงียเมื่อครู่ก็หายไปเป็นปลิดทิ้ง พระเจ้าช่วย นี่เรายังไปไม่ถึงไหนกันเลย แล้วฉันจะทำอะไร อันดับแรกต้องไปห้องน้ำ
ห้องน้ำรถไฟ เป็นพื้นที่อันดับ 1 ที่ฉันเคยบอกกับตัวเองไว้ว่า ถ้าอั้นได้ก็อั้นไปก่อน เพราะห้องน้ำรถไฟใครๆ ก็รู้ดีถึงกิตติศัพท์ของรูปและกลิ่น รูป คือ สภาพสุขภัณฑ์ที่ใช้งานมายาวนานเป็นสิบปี (โปรดจินตนาการ) ส่วนกลิ่นนั้นไม่ต้องพูดถึง วาเป็กซ์ ไฮเป็กซ์ ยาหม่อง ยาดม เอี๊ยแซ มีอะไรต้องพกเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นมีหวังสลบคาห้องน้ำแน่
เสร็จภารกิจแล้วมีเวลาเหลือเฟือฉันจึงเดินเข้าขบวนนั้นออกโบกี้นี้ ประหนึ่งว่าเป็นนายกฯ พบประชาชน จนไปพบกลุ่มนักเดินทางกลิ่นเร็กเก้ที่เฮฮาเมื่อคืนอยู่ในตู้พัดลมหลังขบวน
วันจันทร์ 14.25 น.
หน้าปัดนาฬิกาบนสถานีหนองคายบอกเวลา 14.25 น. บวกลบคูณหารแล้ว รถไฟขบวนนี้ล่าช้าไป 6 ชั่วโมงเต็มๆ หลังจากลงไปยืดเส้นยืดสาย พร้อมตรวจเอกสารที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองบริเวณสถานีรถไฟหนองคายแล้ว รถด่วน ขบวน "69" ก็พาเราออกจากสถานีหนองคาย (ไทย) มุ่งหน้าสู่สถานีท่านาแล้ง (ลาว) ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เปลวแดดยามบ่ายสะท้อนผิวรางเหล็กรถไฟมองแล้วแสบตา ฉันเสหน้าออกไปนอกหน้าต่าง ข้างหน้าคือสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2537 วันนี้สะพานมิตรภาพยังคงทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้านไทยและลาวได้เป็นอย่างดี และดูเหมือนว่าจะดียิ่งขึ้นเมื่อการรถไฟแห่งประเทศไทย จับมือกับรัฐบาลลาว เปิดเส้นทางรถไฟระหว่างประเทศสายหนองคาย-ท่านาแล้ง ทำให้การเดินทางระหว่าง 2 ประเทศเป็นไปอย่างง่ายดายมากขึ้น
"จะข้ามแม่น้ำโขงแล้วนะ" เสียงใครคนหนึ่งร้องบอก แล้วทุกๆ คนในขบวนก็จ้องออกไปนอกหน้าต่าง ฉันเห็นรถยนต์หลายคันจอดนิ่งอยู่เชิงสะพาน เจ้าหน้าที่บอกว่า ขณะที่รถไฟกำลังใช้สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ยานพาหนะอื่นๆ จะถูกกั้นไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ แล้วล้อรถไฟก็จะไหลเลื่อนไปตามรางเหล็กที่ฝังลวงไว้บนสะพานนั่นเอง
เพียง 15 นาทีเราก็เดินทางมาถึงสถานีท่านาแล้ง เจ้าหน้าที่รถไฟโบกธงสีเขียวพร้อมยิงฟันขาวต้อนรับนักท่องเที่ยวจากฝั่งไทย
"สะบายดี" ไกด์รัศมี เอ่ยปากทักทายเมื่อเราขึ้นรถบัสออกจากสถานีท่านาแล้ง
ไกด์รัศมีสวมเสื้อแขนกระบอกกับผ้าซิ่นสีขรึม สวยงามตามฉบับสาวลาว แต่ในท่วงท่านุ่มนวลนั้นมีความทันสมัยซ่อนอยู่ในความคิด
"ผู้หญิงลาวถูกยัดเยียดความเป็นนางมาตั้งแต่ยังสาว เพราะในลาวไม่ได้ใช้นางสาวเหมือนกับคนไทย พอบรรลุนิติภาวะแล้วจะใช้คำว่า นาง เลยทันที แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแต่งงานแล้ว ต้องดูที่บัตรประชาชน ถ้าแต่งงานแล้วจะมีชื่อสามีอยู่ด้วย"
"ในตัวเมืองเวียงจันทน์ใช้เงินบาทไทยได้ 1 บาท เท่ากับ 240 กีบ ถ้าเราแลกเงิน 1 พันบาท ก็จะเป็นเศรษฐีมีเงิน 2 แสน 4 หมื่นกีบเลยทีเดียว"
"เบียร์ลาว เป็นเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในลาว เพราะเป็นเจ้าแรก แต่ดีกรีไม่เยอะแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ คนเลยบอกว่า กินในลาว เมาในไทย" ฯลฯ
สารพัดเรื่องราวที่สาวลาวงัดขึ้นมาเล่า ล้วนเป็นความรู้ที่ได้ทั้งสาระและบันเทิง 25 นาทีจากสถานีท่านาแล้งถึงประตูชัย กลางนครหลวงเวียงจันทน์จึงเหมือนผ่านไปอย่างรวดเร็ว
ประตูชัย เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้น เพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิต ในสงครามก่อนหน้าการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์ สร้างเสร็จปี พ.ศ. 2512 ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า รันเวย์แนวตั้ง เพราะการก่อสร้างประตูชัยใช้ปูนที่อเมริกาซื้อเพื่อนำมาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ระหว่างสงครามอินโดจีน แต่ไม่ทันได้สร้าง เพราะอเมริกาแพ้สงครามในอินโดจีนเสียก่อนจึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน
ฉันเดินวนรอบประตูชัยเพื่อพินิจถึงความเหมือน แม้จะไม่เคยไปเห็นประตูชัยที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ในความรู้สึกฉัน มันเหมือนมาก ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากปารีสอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีเอกลักษณ์ของลาวปรากฏอยู่บ้าง เช่น พระพุทธรูปศิลปะลาว ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะแบบปูนปั้นใต้ซุ้มประตูโค้งของประตูชัย แต่เวลาน้อยเลยอดเดินขึ้นบันไดวนขึ้นไปชมทิวทัศน์เมืองลาว
ไกด์รัศมี บอกว่า มีกฎห้ามก่อสร้างอาคารใดๆ ที่สูงกว่าประตูชัย ดังนั้นในเวียงจันทน์จึงมีแต่ตึกเตี้ยๆ
นอกจากประตูชัยที่เรียกความสนใจ จากนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ปีละหลายล้านคนแล้ว สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจไม่แพ้กันก็คือ พระธาตุหลวง
พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี เป็นศาสนสถานสำคัญที่สุดในลาว และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติที่แทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของลาวด้วย องค์พระธาตุหลวงมีรูปคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึงสัญลักษณ์คำสอนของพระพุทธเจ้า ลักษณะคล้ายป้อมปราการ เพราะมีการสร้างระเบียงสูงใหญ่ขึ้นโอบรอบองค์พระธาตุไว้ นอกจากนี้ยังมีช่องหน้าต่างเล็กไว้รอบๆ ที่ประตูทางเข้าเป็นประตูไม้บานใหญ่ลงรักสีแดงไว้ตลอดบาน นอกจากนี้ยังมีเจดีย์บริวารรอบองค์พระธาตุหลวงด้วย
บนถนนเชษฐาธิราช ติดกับทำเนียบประธานาธิบดี คือที่ตั้งของ หอพระแก้ว อดีตที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เดิมที่แห่งนี้เป็นวัดหลวงประจำราชวงศ์ของลาว ตามข้อมูลว่า พระเชษฐาธิราชมีพระราชประสงค์ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2108 เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตที่ได้อัญเชิญมาจากล้านนา ปีพ.ศ.2322 นครเวียงจันทน์ถูกกองทัพสยามตีแตก พระแก้วมรกตจึงถูกอัญเชิญมาไว้ ณ วัดระแก้ว ประเทศไทย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แม้หอพระแก้วจะไม่ใช่วัดอีกต่อไป แต่นักท่องเที่ยวทั้งชาวลาว ชาวไทย และชาวต่างชาติ ก็ยังเดินทางมาสักการบูชาอดีตที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตกันอย่างเนืองแน่น
เวียงจันทน์ยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง แต่เพราะตั๋วเดินทางถูกกำหนดไว้แล้ว เราจึงต้องจากลานครหลวงแห่งลาวมาด้วยความอาลัย
• การเดินทาง
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเส้นทางเดินรถไฟระหว่างประเทศ จากสถานีหนองคาย ประเทศไทย ถึงสถานีท่านาแล้ง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2552 มีรถไฟให้บริการวันละ 4 ขบวน คือเที่ยวไป 2 ขบวน ออกจากสถานีหนองคายเวลา 10.00 น.และ 15.00 น. เที่ยวกลับ 2 ขบวน ออกจากสถานีท่านาแล้ง เวลา 10.45 น. และ 15.45 น. อัตราค่าโดยสาร รถตู้โดยสารชั้น 2 นั่งปรับอากาศ คนละ 80 บาท รถโดยสารชั้น 2 คนละ 30 บาท และรถโดยสารชั้น 3 คนละ 20 บาท
จากกรุงเทพฯ ต้องซื้อตั๋ว กรุงเทพฯ-หนองคาย แล้วไปซื้อตั๋วท่านาแล้งต่อที่สถานีหนองคาย หากมีหนังสือเดินทาง (Passport) อยู่แล้วสามารถยื่นหนังสือเดินทางที่จุดตรวจคนเข้าเมืองสถานีรถไฟหนองคายได้เลย กรณีไม่มีหนังสือเดินทางต้องไปทำหนังสือผ่านแดน (Border Pass) ที่ศาลากลางจังหวัดหนองคาย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย Call Center 1690 หรือ 0-2220-4334,
www.thailandrailway.com และ www.railway.co.th

จบ ว.8
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2011 4:44 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้เจอ บันทึกคำปราศัย ของรองประธานประเทศลาว เปิดการเดินรถไฟ จาก หนองคายไปท่านาแล้งเมื่้อ 5 มีนาคม 2552 ที่กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง เมืองลาวได้บันทึกไว้

เปิดการนำใช้รถไฟสายประวัติศาสตร์ ระหว่าง ลาว - ไทยในวันที่ 5 มีนา 2009

วันที่ 5 มีนา 2009 นี้ อยู่ที่สถานีบ้านดงโพสี (สถานีท่านาแล้ง) นครหลวงเวียงจัน ได้จัดพิธีมอบรับและเปิดการนำใช้ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ระหว่างลาว - ไทย อย่างเป็นทางการ

ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีมี พณ ท่าน บุญยัง วรจิตร รองประธานประเทศแห่ง สปป. ลาว, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรสยามบรมราชกุมารี แห่งราชอาณาจักรไทย, พณ ท่าน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย, พณ ท่าน ดร. ทองลุน ศรีสุวิทย์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการตต่างประเทศ สปป. ลาว, บรรดารัฐมนตรี, การนำชั้นสูง (โปลิตบูโร), แขกถูกเชิญ และ ภาคส่วนที่เกียวข้องทั้งสองฝ่าย ลาว - ไทยเข้าร่วมอย่างหลวงหลาย

เส้นทางรถไฟแห่งนี้ มีความยาว 3.5 กิโลเมตรซึ่งเริ่มจากขัวมิตรภาพหาท่านาแล้ง โดยได้รับการช่วยเหลือล้าออกแบบละเอียดทางรถไฟ และ อนุมัติเงินกู้ จำนวน 137 ล้าน 9 แสนบาท (เงินไทย) พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือล้าจำยวน 59 ล้าน 1 แสนบาท จากรัฐบาลไทย ให้แก่ สปป. ลาว รวมมูลค่าการก่อสร้างทั้งหมด 197 ล้านบาท ทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ นี้ถึงว่าจะมีเส้นทางระยะสั้นเพียงแต่ 3.5 กิโลเมตร แต่ มันก็มีความหมายสำคัญ ทางด้านประวัติศาสตร์ สำหรับ สปป. ลาว เพระเป็นเส้นทางรถไฟแห่งทำอิดระหว่างประเทศ และเป็นเส้นทางเชื่อม ต่อไมตรีจิต มิตรภาพระหว่าง ลาว - ไทย ก็คือระหว่าง ลาว - ไทย - ออสเตรเลีย เพราะ เส้นทางรถไฟที่เชื่อมต่อกัน อยู่ทางขัวมิตรภาพ 1 ระหว่างนครหลวงเวียงจัน - หนองคาย ซึ่งรัฐบาล ออสเตรเลีย ให้การช่วยเหลือในปี 1994

นอกนี้ เส้นทางรถไฟแห่งดังกล่าว บ่เพียงแต่เป็นเส้นทางรับใช้การขนส่งระหว่างนครหลวงเวียงจันท์และหนองคายเท่านั้นแต่ในอนาคต ยังเป็นเส้่นทางที่เชื่อมต่อกับทางรถไฟของอนุภาคพื้น และ มีความสำคัญระดับภาคพื้น อีกด้วย

การสร้างเส้นทางรถไฟแห่งนี้ได้เป็นการประกอบส่วนยกระดับเข้าในการพัฒนาคมนาคม - ขนส่งของนครหลวงเวียงจัน ได้รับการยกระดับขึ้น เฮ็ดให้ สปป. ลาว กลายเป็นประเทศ บริการทางผ่านของอนุภาคพื้นในอนาคต พร้อมทั้งสร้างเงื่อนไขอัน สะดวกให้แก่ประชาชนของบรรดาประเทศในอนุภาคพื้นลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้ สามารถสัญจรไปมาหาสู่ และเปลี่ยนสินค้านำกันได้ดียิ่งขึ้น ทั้งเป็๋นการตอบสนองนโยบายการหันเปลี่ยนอุตสาหกรรมและทันสมัยทีละก้าว เฮ็ดให้ สปป. ลาว มีเงื่อนไขสะดวกในการดึงดูดนักลงทุน เข้ามาลงทุนในแขนงแห่งการต่างๆ อยู่ ลาวให้หลายขึ้นกว่าเก่า ก็คือเป็นการชุกอยู่ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของสองชาติ ลาว - ไทย และ บรรดาประเทศ ในขอบเขต อนุภาคพื้น ให้นับมือได้รับการพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3
Page 3 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©