RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270807
ทั้งหมด:13582096
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องจากอดีต : ท่าเรือใหม่ที่สัตหีบ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องจากอดีต : ท่าเรือใหม่ที่สัตหีบ

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/03/2009 4:50 pm    Post subject: เรื่องจากอดีต : ท่าเรือใหม่ที่สัตหีบ Reply with quote

จากกระทู้ อ.วิรัตน์ ที่นำสำรวจเส้นทางไปท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ทำให้ผมกลับไปค้นเอกสารเก่าๆ เกี่ยวกับพิธีเปิดท่าเรือแห่งนี้ ในช่วงปี 2510 ซึ่งนำลงในนิตยสาร เสรีภาพ ฉบับที่ 175 ของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ และโชคดีจริงๆ ครับ ที่ค้นเจอพอดี Wink

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ท่าเรือน้ำลึกสัตหีบเกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ทางทหารเป็นหลัก จากการตั้งฐานบินแห่งต่างๆ ของกองทัพสหรัฐฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และฐานบินของฝูงบินทิ้งระเบิด B-52 ที่อู่ตะเภา จำเป็นต้องมีท่าเรือส่งกำลังบำรุง และขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะลูกระเบิดทิ้งจากเครื่องบิน จนต้องก่อสร้างถนนเลี่ยงชุมชนบ้านฉาง เพื่อความปลอดภัยในการขนวัตุระเบิดไปยังฐานบินอู่ตะเภาโดยเฉพาะ ซึ่งเรียกกันติดปากว่า "ถนนสายอินแลนด์" รวมถึงทางหลวงสายยุทธศาสตร์หมายเลข 331 สัตหีบ - พนมสารคาม และทางหลวงหมายเลข 304 ช่วงบางคล้า - พนมสารคาม - กบินทร์บุรี - ปักธงชัย - นครราชสีมา ซึ่งทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้สนับสนุนด้านงบประมาณก่อสร้างอีกด้วย

สำหรับหน่วยงานที่ผูกขาดการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ดังกล่าวจากท่าเรือน้ำลึกสัตหีบไปยังฐานทัพต่างๆ ในขณะนั้นก็คือ รสพ.นั่นเอง เรียกว่าเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของ รสพ.ก็ว่าได้

มาดูบรรยากาศในวันเปิดใช้ท่าเรือน้ำลึกสัตหีบในขณะนั้นกันดีกว่าครับ...

........................

Click on the image for full size
พล อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ รมช.กลาโหม ฟังคำปราศัยอัครราชทูตสหรัฐ นอร์แมน บี.ฮานนาห์ ก่อนกล่าวตอบในพิธีเปิดท่าเทียบเรือที่สัตหีบ

อ่าวสัตหีบ น่านน้ำอันสวยสดงดงามแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นที่จอดเรือของราชนาวีไทยมาช้านาน บัดนี้ได้มีท่าเทียบเรือน้ำลึกเกิดขึ้นใหม่ท่าหนึ่งแล้ว ท่านี้เป็นหนึ่งในสี่ท่าที่จะช่วยประกันความปลอดภัยจากการรุกรานของข้าศึกภายนอกประเทศได้อย่างดียิ่ง และจะอำนวยประโยชน์ในทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศด้วยอย่างใหญ่หลวง

ท่าเทียบเรือที่กล่าวถึงนี้อยู่ในบริเวณจุกเสม็ด อำเภอสัตหีบ และอีกสามท่าก็อยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นท่าที่สร้างขึ้นตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสหรัฐว่าด้วยการปรับปรุงการส่งกำลังบำรุงในประเทศไทยเมื่อ ๑๙ มีนาคม ๒๕๐๖ ขณะนี้การก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกท่าที่หนึ่งได้เสร็จสิ้นลงแล้วและได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดย พล อ. อ.ทวี จุลละทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหมเป็นประธาน ส่วนอีกสามท่าที่เหลือนั้น อยู่ในระหว่างก่อสร้าง กำหนดจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมกราคม ๒๕๑๑

ท่าเทียบเรือน้ำลึกท่าแรกใช้เวลาก่อสร้าง ๑๖ เดือน นับตั้งแต่เริ่มสร้างในเดือนเมษายนปีที่แล้ว โดยใช้อิฐดินทรายและคอนกรีตทับถมลงในขอบเหล็กกล้า จนกระทั่งเป็นท่ายิ่นออกไปในทะเลเป็นพื้นที่ราว ๒ - ๓ ร้อยตารางเมตร ให้เรือใหญ่เข้าเทียบและขนถ่ายวัสดุต่างๆ ได้ เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นตามโครงการทั้งสี่ท่าแล้ว ท่าเทียบเรือทั้งหมดจะมีพื้นทีประมาณ ๑ ล้านตารางฟุต มีคลังสินค้าขนาดใหญ่ ตลอดจนบริการสนับสนุนอื่นๆ สำหรับท่าเรือพร้อมสรรพ และไม่ว่าเรื่อที่เข้าเทียบท่าจะเป็นเรือบรรทุกของหรือเรือรบ เรือเหล่านี้ก็จะจะจอดเรียงกันได้ถึงสี่ลำในเวลาเดียวกัน ทำให้สามารถขนถ่ายวัสดุได้ไม่น้อยกว่า ๑๒๐,๐๐๐ ลูกบาศก์ตันต่อเดือน งบประมาณในการก่อสร้างตามโครงการนี้ตกประมาณ ๘๖๐ ล้านบาท โดยรัฐบาลสหรัฐเป็นฝ่ายออกเงินค่าก่อสร้าง และใช้แรงงานในประเทศไทยร่วมงานก่อสร้างทั้งหมด

นอกจากท่าเทียบเรือทั้งสี่ท่านี้แล้ว ยังมีอีกสามท่าอยู่ในบริเวณอ่าวสัตหีบเช่นกัน ได้แก่ท่าเทียบเรือ “เดอลอง” จอดเรือได้สองลำ ท่าเทียบเรือตามโครงการช่วยเหลือทางทหารจอดเรือได้หนึ่งลำ และท่าเทียบเรือขนถ่ายน้ำมันจอดเรือได้หนึ่งลำ เมื่อนับรวมทั้งเจ็ดท่าแล้ว ท่าเทียบเรือทั้งหมดในบริเวณอ่าวสัตหีบก็จะสามารถเทียบเรือได้ถึง ๘ ลำในคราวเดียวกัน

ท่าเทียบเรือน้ำลึกดังกล่าวข้างต้นนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่ประเทศไทย ทั้งในทางทหารและการเสรษฐกิจ ในทางทหารท่าเทียบเรือนี้จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการป้องกันประเทศตามที่ต้องการ ทำให้มีการจัดส่งกำลังพล กำลังสรรพาวุธ และกำลังบำรุงได้สะดวก ซึ่งจะสามารถอำนวยประโยชน์ในการรบต่อเนื่องได้โดยสมบูรณ์

ส่วนประโยชน์ในทางเศรษฐกิจนั้น ท่าเทียบเรือน้ำลึกแห่งใหม่นี้ จะสามารถแบ่งเบาภาระขนถ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ลง ทั้งจะช่วยสร้างสรรค์ความไพบูลย์ของท้องถิ่นในภาคตะวันออกฉียงใต้ของประเทศไทย โดยการสร้างถนนเชื่อมโยงระหว่างสัตหีบกับเส้นทางเบี่ยงใกล้เคียงกับจังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการก่อสร้างเหล่านี้จะอำนวยประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยเป็นอเนกประการ

Click on the image for full size
หลังจากพิธีการปราศรัย พล อ.อ.ทวี กับอัครราชทูตสหรัฐ ได้จับมือกัน ก่อนร่วมกันตัดริบบิ้นเปิดท่าฯ

ในการกล่าวปราศัยเชิญ พลอ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหมเปิดท่าเทียบเรือน้ำลึกท่าแรก ที่สัตหีบ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม อัครราชทูต นอร์แมน บี.ฮานนาห์ ผู้แทนฝ่ายสหรัฐได้กล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า :

“ท่าเรือจะกระจายผลผลิตต่างๆ ออกไปตามเส้นทางคมนาคมทางบก และจะช่วยสนองความต้องการในด้านการค้าของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงจะชักนำให้มีการส่งผลผลิตเพิ่มขึ้น ข้าวไทยอันมีคุณภาพเป็นเยี่ยม ไม้ขอน ปูนซิเมนต์ ตลอดจนผลิตผลอุตสาหกรรมและเคมีภัณฑ์ อาจส่งออกไปแลกเปลี่ยนสินค้าต่างประเทศได้โดยอาศัยท่าเรือนี้... ความเจริญเป็นเหตุให้บังเกิดความเจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น บรรดาจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับชายทะเลตอนใต้ ก็จะได้รับประโยชน์จากการพาณิชย์ ด้วยอาศัยท่าเรือแห่งนี้ดุจเดียวกับภูมิภาคอื่นๆ”

ในการกล่าวตอบ ท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกลาโหมกล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า :

“หากปราศจากการป้องกันประเทศ ก็ย่อมปราศจากการพาณิชย์ แต่นับเป็นโชคดีอย่างหนึ่ง ณ ที่สัตหีบนี้ เราสามารถผนวกการป้องกันและการพาณิชย์ไว้ด้วยกันได้ เรือที่บรรทุกยุทโธปกรณ์ อาวุธ กระสุน และทหาร เพื่อทำการป้องกันการรุกราน จะสามารถใช้ท่าเรือนี้เข้าออก ลำเลียงขนส่งอาหารสำหรับผู้ขาดแคลนได้... เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าอีกไม่นานเท่าใดนัก เราก็คงสามารถจะใช้ท่าเรือนี้เป็นประโยชน์ได้ทั้งในทางทหารและพลเรือน และท่าเรือนี้คงจะมีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปอย่างไม่ต้องสงสัย”

Click on the image for full size
แล้วการขนถ่ายวัสดุจากเรือที่เทียบท่าก็เริ่มขึ้นทันที

เมื่อ พล อ.อ.ทวี จุลละทรัพย์ และอัครราชทูตสหรัฐ ร่วมกันตัดริบบิ้นเปิดท่าเรือน้ำลึกแห่งใหม่แล้ว เรือขนส่งวัสดุทางทหารลำหนึ่งซึ่งจอดเทียบท่าอยู่พร้อมแล้ว ก็เริ่มขนถ่ายวัสดุ มีรถตีนตะขาบ เป็นต้น ลงยังท่าทันที เรือลำนี้ชื่อว่า นอร์วอร์ค เป็นเรือลำแรกที่ได้เดินทางมาถึง และได้เทียบท่าเรือนี้ประจวบกับวาระทำพิธีเปิดพอดี.

...........................
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©