View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 21/12/2018 7:04 pm Post subject: |
|
|
ไม่หวั่นแม้วันหิมะตก! ชมงานก่อสร้างเส้นทางรถไฟเร็วสูงไต่หลังคาโลกช่วง ลาซา-นยิงฉี
สำนักข่าวซินหัว
19 ธันวาคม 2018 10:00 PM
18 ธ.ค. ที่ผ่านมา คนงานและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำพรหมบุตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเสฉวน-ทิเบต ช่วงลาซา-นยิงฉี กำลังทำงานอย่างแข็งขันแม้ในวันหิมะตกหนัก
เส้นทางรถไฟช่วงลาซา-นยิงฉีมีความยาวทั้งสิ้น 435.48 กิโลเมตร ซึ่งเป็นส่วนปลายทางของโครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อมณฑลเสฉวนเข้ากับเขตปกครองตนเองทิเบต มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2021นี่เอง |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 11/01/2019 7:21 pm Post subject: |
|
|
ทางรถไฟแดนหลังคาโลก ชิงห่าย-ทิเบต รับส่งผดส. ทุบสถิติสูงสุดในปี 2018
สำนักข่าวซินหัว
พฤหัสบดีที่ 10 มกราคม 2562 เวลา 9:40 AM ·
ทางรถไฟบนที่ราบสูงสายยาวที่สุดและสูงที่สุดในโลกอย่าง ทางรถไฟชิงห่าย-ทิเบต (Qinghai-Tibet Railway) วิ่งรับส่งผู้โดยสารบนดินแดนหลังคาโลกราว 16.56 ล้านคนในปี 2018
.
ตัวเลขดังกล่าวปรับเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบปีต่อปี และถือเป็นสถิติสูงสุดรอบใหม่นับตั้งแต่ทางรถไฟฯ ความยาวรวม 1,956 กิโลเมตร เริ่มวิ่งให้บริการสาธารณชนในปี 2006 หรือราว 13 ปีก่อน
.
การรถไฟชิงห่าย-ทิเบตระบุว่าทางรถไฟฯ ได้ขนส่งสินค้า 34 ล้านตันในปีก่อน เพิ่มขึ้น 5.8 เปอร์เซ็นต์จากปี 2017 โดยตลอด 12 ปี ขนส่งผู้โดยสาร 182 ล้านคน สินค้า 552 ล้านตันในช่วงเวลา 12 ปี
.
รายงานระบุว่าสมรรถนะของทางรถไฟชิงห่าย-ทิเบตได้ยกระดับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ นับตั้งแต่ก่อสร้างส่วนต่อขยายโกลมุด-ลาซา (Golmud-Lhasa) เสร็จสิ้นในเดือนส.ค. ปีก่อน
.
นอกจากนั้นยังมีการดำเนินแผนการจัดการและกลไกใหม่เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และช่วงเวลาเร่งด่วนก็มีการเพิ่มขบวนรถไฟเพื่อตอบรับความต้องการของผู้โดยสาร
.
การขยับขยายสมรรถภาพทางการขนส่งของทางรถไฟฯ ช่วยกระตุ้นการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในเขตปกครองตนเองทิเบตและมณฑลชิงห่าย รวมถึงขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอีกด้วย |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 11/03/2019 12:03 pm Post subject: |
|
|
เริ่มต้นสวยงาม! จีนวางรางทางรถไฟเชื่อมหลังคาโลกเส้นแรกสำเร็จ
สำนักข่าวซินหัว
อาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2019
ชมภาพการวางรางเหล็กของทางรถไฟสายลาซา-หลินจือ (Lhasa-Nyingchi Railway) ช่วงอำเภอก้งก๋า เมืองซานหนาน เขตปกครองตนเองทิเบตทางจีนตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อวันศุกร์ (8 มี.ค.) ที่ผ่านมา
ทีมวิศวกรและคนงานประสบความสำเร็จในการวางรางเหล็กเส้นแรกความยาว 500 เมตรบนทางรถไฟแบบไม่ใช้หินโรยทาง (Balastless Track) ของทางรถไฟสายใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเสฉวน-ทิเบต
อนึ่ง ทางรถไฟสายเสฉวน-ทิเบต ความยาวกว่า 1,700 กิโลเมตร นับเป็นความท้าทายทางวิศวกรรมครั้งใหญ่ของจีน เพราะเส้นทางไต่จากพื้นที่ที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลไม่กี่ร้อยเมตรสู่ หลังคาโลก ที่สูงเหนือระดับน้ำฯ กว่า 4,400 เมตร
โครงการทางรถไฟเสฉวน-ทิเบต มีมูลค่าการก่อสร้าง 250,000 ล้านหยวน (ราว 1.25 ล้านล้านบาท) และกำหนดเสร็จสิ้นภายในปี 2026 โดยขบวนรถไฟจะวิ่งด้วยความเร็ว 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทางรถไฟเสฉวน-ทิเบต จะลดระยะเวลาการเดินทางจากเดิม 48 ชั่วโมงเหลือ 13 ชั่วโมง ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการขนส่งสินค้าและผู้คนระหว่างทิเบตกับภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งนำไปสู่การอัดฉีดพลังทางเศรษฐกิจขนานใหญ่ |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 07/05/2019 1:30 pm Post subject: |
|
|
เข้าใกล้ความจริง! ลาซา-หลินจือ ทางรถไฟระบบไฟฟ้าสายแรกของทิเบต
สำนักข่าวซินหัว
5 พฤษภาคม 2019
.
ชวนชมความคืบหน้าของการก่อสร้างทางรถไฟสายลาซา-หลินจือ ความยาว 435 กิโลเมตร ที่เป็นทางรถไฟระบบไฟฟ้าสายแรกของเขตปกครองตนเองทิเบตทางจีนตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการวางราง
.
ปัจจุบันทิเบตได้เร่งเดินหน้าการก่อสร้างทางรถไฟท้องถิ่น หลังจากทุ่มเงินลงทุนกว่า 4.2 พันล้านหยวน (ราว 2.1 หมื่นล้านบาท) กับการก่อสร้างทางรถไฟสายต่างๆ ในปีก่อน โดยเฉพาะทางรถไฟสายลาซา-หลินจือ
.
ทางรถไฟสายลาซา-หลินจือ ซึ่งเริ่มต้นก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2014 จะช่วยส่งเสริมโครงข่ายทางรถไฟและโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งตลอดเส้นทาง สร้างความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมท้องถิ่น
.
การเดินทางระหว่างลาซาและหลินจือเดิมทีใช้เวลาบนท้องถนนนานราว 7-8 ชั่วโมง แต่หากทางรถไฟก่อสร้างเสร็จสิ้นและเปิดทำการตามกำหนดในปี 2020 ก็จะช่วยลดระยะเวลาลงเหลือเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น
.
ช่วงแรกทางรถไฟสายลาซา-หลินจือจะมีสถานีเพียง 17 แห่ง แบ่งเป็นสถานีสำหรับผู้โดยสาร-การขนส่งสินค้า 9 แห่งและสถานีผ่านทาง 8 แห่ง โดยจะเปิดสถานีหลายแห่งในเมืองซานหนานอันเป็นที่ตั้งของจุดชมวิว
.
ทางรถไฟสายใหม่นี้มีอุโมงค์ 47 แห่ง (ความเสี่ยงสูง 14 แห่ง, ความเสี่ยงสูงสุด 7 แห่ง) และสะพาน 118 แห่ง โดยโครงการเด่นคืออุโมงค์ต๋ากาลา ความยาว 17.31 กิโลเมตร และสะพานจางมู่ที่ทนทานได้ทุกสภาพอากาศ
.
ด้วยฐานะสายย่อยของทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต และเป็นส่วนสำคัญเชื่อมกับทางรถไฟสายเสฉวน-ทิเบต สายยูนนาน-ทิเบต และสายกานซู่-ทิเบต ทางรถไฟสายใหม่จะเป็นทางรถไฟสายแรกที่เข้าถึงหลินจือและทิเบตตะวันออกเฉียงใต้
.
จุดเชื่อมระหว่างทางรถไฟสายลาซา-รื่อคาเจ๋อและสายลาซา-หลินจือ ยังจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในทิเบต กระตุ้นเศรษฐกิจทิเบต และเสริมการป้องกันชายแดนจีนตะวันตกเฉียงใต้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
.
ทั้งนี้ แผนการเบื้องต้นประเมินระยะเวลาการก่อสร้างทางรถไฟสายลาซา-หลินจือไว้ 7 ปี แต่ปัจจุบันคาดว่าจะเสร็จสิ้นเร็วกว่ากำหนดหนึ่งปี โดยสุดท้ายทางรถไฟจะเชื่อมทุกสารทิศในทิเบตด้วยทางรถไฟสายลาซา-หลินจือ สายลาซา-รื่อคาเจ๋อ และสายลาซา-ย่าตง |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 07/08/2019 3:51 pm Post subject: |
|
|
ฝันเป็นจริง! จากคนขายตั๋วสู่ พนักงานขับรถไฟ สายชิงไห่-ทิเบต
สำนักข่าวซินหัว
7 สิงหาคม 2019
บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ชิงไห่-ทิเบต กรุ๊ป จำกัด (China Railway Qinghai-Tibet Group) รายงานว่าพนักงานหญิงขับรถไฟชุดแรกของทางรถไฟชิงไห่-ทิเบต ได้ผ่านการฝีกอบรมและเริ่มต้นการฝึกงานแล้ว
พนักงานหญิงทั้งหมด 24 คน ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเป็นพนักงานขับรถไฟเป็นเวลา 3 เดือน ณ วิทยาลัยเทคนิคการรถไฟเป่าจี มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2019
จางเมิ่งเฉิน วัย 30 ปี ที่เคยเป็นพนักงานจำหน่ายบัตรโดยสารของสถานีรถไฟในเมืองซีหนิง เมืองเอกของมณฑลชิงไห่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนมานานราว 7 ปี เป็นหนึ่งในพนักงานหญิงฝึกหัดกลุ่มนี้ด้วย
บริษัทฯ เซ็นสัญญาฝึกอบรมกับวิทยาลัยฯ เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและความเป็นมืออาชีพ เราได้เรียนวิชาต่างๆ เกี่ยวกับการขนส่งทางราง กฎระเบียบและข้อบังคับ ความรู้เกี่ยวกับการใช้หัวรถจักร ตลอดจนการฝึกอบรมร่างกายและจิตใจ จางกล่าว
ตอนนี้ความฝันในวัยเด็กของฉันได้กลายเป็นความจริงแล้ว
ด้านหม่าหงเทา เจ้าหน้าที่บริษัทฯ ระบุว่าพนักงานหญิงกลุ่มแรกทั้ง 24 คน มีกำหนดฝึกงานและทดสอบเสร็จสิ้นในเดือนกันยายน 2019 โดยคาดว่าจะเริ่มปฏิบัติงานเป็นพนักงานขับรถไฟผู้ช่วยในวันที่ 1 ต.ค. นี้
เราจะพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับการใช้ชีวิตบนรถไฟให้กับพนักงานหญิงกลุ่มนี้ และจะจัดการบันทึกสุขภาพส่วนบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดูแลสุขภาพของพวกเธอด้วย หม่ากล่าว
ทั้งนี้ ทางรถไฟชิงไห่-ทิเบต ความยาว 1,956 กิโลเมตร เปิดใช้เมื่อปี 2006 และวิ่งเชื่อมเมืองซีหนิงกับนครลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบต รวมถึงเชื่อมต่อทิเบตกับภูมิภาคอื่นๆ ของจีน โดยขนส่งผู้โดยสารมากกว่า 16.3 ล้านคนในปี 2018 |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 09/07/2020 6:00 pm Post subject: |
|
|
รถไฟสูงสุดในโลกเริ่มใช้ตั๋วอิเล็กรทอนิกส์ ประหยัดเวลา แก้ปัญหาตั๋วหาย
สำนักข่าวซินหัว
9 กรกฎาคม 2020
เมื่อวันพฤหัสบดี (9 ก.ค.) ระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-ทิกเก็ต (E-ticket) ถูกนำมาใช้งานกับระบบรถไฟชิงไห่-ทิเบตแล้ว อันเป็นเครือข่ายรางรถไฟที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
บริษัทไชน่า เรลเวย์ ชิงไห่-ทิเบต จำกัด ให้ข้อมูลว่า การนำระบบตั๋วอิเล็กทรอนิกส์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบครั้งนี้ ทำให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการทุกสถานีไม่จำเป็นต้องพกตั๋วกระดาษมาขึ้นรถไฟ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. มีการนำตั๋วรูปแบบนี้มาใช้งานกับสถานี 4 แห่งตามเส้นทางดังกล่าวแล้ว
นอกจากนี้ บริการตั๋วอิเล็กทรอนิกส์จะถูกนำมาใช้กับส่วนลาซา-รื่อคาเจ๋อ ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายสายแรกของทางรถไฟชิงไห่-ทิเบตด้วย
ผู้โดยสารที่ใช้ตั๋วอิเล็กทรอนิกส์สามารถขึ้นรถไฟได้โดยเข้ารับการตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนและระบบสแกนใบหน้าที่สถานี ซึ่งช่วยลดเวลาการรอและความเสี่ยงในการทำตั๋วหาย
ตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ถูกนำมาใช้ในการนำร่องที่สถานีรถไฟความเร็วสูงในมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) ในเดือนพฤศจิกายน 2018 และถูกนำไปใช้ในวงกว้างยิ่งขึ้นกับรถไฟความเร็วสูงและรถไฟระหว่างเมืองทั้งหมดในจีนแผ่นดินใหญ่ภายในวันที่ 29 เม.ย. ของปีนี้
อนึ่ง เครือข่ายรถไฟชิงไห่-ทิเบตเริ่มดำเนินการในปี 2006 เป็นเครือข่ายรถไฟที่สูงและยาวที่สุดในโลก ที่ถูกสร้างบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต |
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
|
Back to top |
|
 |
Wisarut
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006 Posts: 40810
Location: NECTEC
|
Posted: 01/12/2020 6:01 pm Post subject: |
|
|
สำเร็จ! จีนสร้างทางรถไฟระบบไฟฟ้า แห่งแรกบนหลังคาโลก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 1 ธันวาคม 2563 เวลา 16:00
ลาซา, 30 พ.ย. (ซินหัว) คนงานหลายร้อยชีวิตเอาชนะอุปสรรคต่างๆ เพื่อก่อสร้างทางรถไฟระบบไฟฟ้าระยะทาง 435 กิโลเมตร ที่เชื่อมต่อนครลาซากับนครหลินจือ ในเขตปกครองตนเองทิเบตทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ประมาณร้อยละ 75 ของทางรถไฟสายลาซา-หลินจือเป็นสะพานและอุโมงค์ และมากกว่าร้อยละ 90 ของทางรถไฟสายนี้ตั้งอยู่บนที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลกว่า 3,000 เมตร บนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต
ตั้งแต่ปลายปี 2014 มีคนงานก่อสร้างมากกว่า 20,000 ชีวิตทำงานในโครงการก่อสร้างทางรถไฟแห่งนี้ พวกเขาต้องเผชิญกับภาวะขาดออกซิเจน (anoxia) ก๊าซพิษ และการระเบิดหินระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์
สะพานรวม 120 แห่งและอุโมงค์รวม 47 แห่งบนทางรถไฟเสร็จสมบูรณ์ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 โดยทางรถไฟสายดังกล่าวซึ่งเป็นทางรถไฟระบบไฟฟ้าแห่งแรกของทิเบต ถูกออกแบบมาให้รองรับความเร็ว 160 เมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้งานจริงในปี 2021 |
|
Back to top |
|
 |
|