Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258806
ทั้งหมด:13570083
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สุดทางรถไฟสายอันดามัน...ที่กันตัง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สุดทางรถไฟสายอันดามัน...ที่กันตัง
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 19, 20, 21  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2021 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

ตรัง พัฒนาภูมิทัศน์สถานีรถไฟห้วยยอด วันปิยมหาราช
Oct 27, 2021
NBT Songkhla


https://www.youtube.com/watch?v=JMDSblAYN4E
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/10/2022 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

ชมสถานีรถไฟกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ครูสมพร Teacher Pond
Oct 10, 2022


https://www.youtube.com/watch?v=-TrieoxmCU4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/10/2022 2:38 pm    Post subject: Reply with quote

สะดุดพิษโควิด2ปี เทอมินัลใหม่‘ตรัง’ เลื่อนเปิดปลายปี65
หน้าแรก เศรษฐกิจ-ธุรกิจ ธุรกิจท่องเที่ยว
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 28 ต.ค. 2565 เวลา 14:18 น.

เทอมินัลใหม่สนามบินตรังสะดุดพิษโควิด-19 ขยายสัญญาให้ถึงต.ค.2566 ยันเสร็จแน่ การปรับที่ขยายรันเวย์ก็ติดหล่ม ฝนชุกปีนี้ทำงานคืบหน้าต่ำกว่าแผน ส่วนซื้อที่ 648 ไร่ขยายสนามบินคืบหน้า จัดประชุมเจ้าของที่ 293 รายแล้วรอเบิกจ่าย หอการค้าตรังเร่งงานให้เสร็จโดยเร็ว

พ.จ.อ.เมืองชล วงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานตรัง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตามแผนขยายสนามบินตรังเพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้น ต้องขยายความยาวทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร เป็นยาว 2,990 เมตร ซึ่งต้องขยายสนามบินไปทางทิศตะวันตก ได้ผูกพันงบประมาณปี 2564-2567 วงเงิน 860 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อที่ดินเกือบ 648 ไร่ และที่ดินส่วนหัวทางวิ่งจะติดตั้งเครื่องนำร่อง ไฟสัญญาณต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของอากาศยาน และปรับพื้นที่เขานุ้ยออกลดความชันเหลือ 3 องศา ไม่เป็นอุปสรรคต่อการบิน

ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟสายตรัง-กันตัง จะวิ่งในอุโมงค์ใต้ทางวิ่งเครื่องบินที่ขยายเพิ่ม ล่าสุดค่าเวนคืนได้บรรจุในแผนปีงบประมาณ 2565 ที่เสนอครม.แล้ว รวมทั้งได้มีการประชุมเจ้าของที่ดินเมื่อวันที่ 17-18 ตุลาคม 2565 จำนวน 293 รายเพื่อให้ทำการยืนยันสิทธิ์ในการรับค่าเวนคืน จากนั้นบริษัทเอกชนที่ทำรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ทรัพย์สิน อาสินแต่ละแปลง รวมทั้งการตั้งราคาค่าจ่ายเงินเวนคืนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ

ส่วนที่ดินอีกแปลงด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ติดถนนสาย 404 ตรัง-ปะเหลียน ขนาดเนื้อที่ 19 ไร่ จำนวน 30 ครัวเรือน ที่ดินตรงนี้ไม่อยู่ในแผน เพราะไม่ใช่ที่ดินขยายทางวิ่งหรือรันเวย์เครื่องบิน แต่ชาวบ้านอ้างว่าเดือดร้อนรำคาญเสียงเครื่องบินขึ้นลง จึงร้องขอให้มีการเวนคืนที่ดินบริเวณนี้ไปทั้งหมดด้วย ทางกรมฯ จึงดำเนินการให้ตามที่ชาวบ้านร้องขอ

ผอ.ท่าอากาศยานตรังกล่าวอีกว่า ส่วนอีก 3 แผนงานในโครงการขยายสนามบินตรัง มีความคืบหน้าดังนี้ 1. เสริมทางวิ่ง สร้างทางขับและลานจอดอากาศยาน สัญญา 700 วันสิ้นสุด 30 มี.ค.2564 วงเงิน 678 ล้านบาท มีบริษัท ซีวิลเอนจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ก่อสร้างเสร็จแล้ว2.เทอมินัลหลังใหม่ รองรับผู้โดยสาร 3.4 ล้านคนต่อปี วงเงิน 1,070 ล้านบาท สัญญา 900 วัน สิ้นสุด 13 มี.ค.2565 บริษัท พอร์ท แอนด์ มารีน คอร์ปอเรชั่น (พี.เอ.เอ็ม) จำกัด เป็นผู้รับจ้าง ล่าสุดคืบหน้า 64% จากผลกระทบเชื้อโควิด-19 อนุญาตให้ขยายเวลาถึงต.ค.2566 และ

3.งานขยายความยาวทางวิ่ง จากเดิมยาว 2,100.เมตร เป็น 2,990 เมตรกว้าง 45 เมตร งบ 1,800 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า NTH (บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) บจก.ไทย สเลอรี่ ชิล (TSS) และ ห.จ.ก. หาดใหญ่เรืองชัยการโยธา (RC)) เป็นผู้รับจ้าง สัญญาจ้าง 24 ก.ย. 2564 - 5 ม.ค.2568 ล่าสุดคืบหน้า 8% ตํ่ากว่าแผน (10%) จากภาวะฝนปี 2565 ตกเกือบทั้งปี ไม่สามารถทำงานถมดินปรับพื้นที่ได้ การขยายทางวิ่งในส่วนของที่ดินในรั้วสนามบิน ทำไปได้ประมาณ 400 เมตร และการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟลอดใต้รันเวย์โดยการทำเข็มเจาะ

ผู้อำนวยการท่าอากาศยานตรัง กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการนำเที่ยวต่างประเทศ เช่น จีน มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย และผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย มาเข้าพบเพื่อขอข้อมูลท่าอากาศยานตรัง เพื่อวางแผนทำการบินเครื่องบินเช่าเหมาลำ ซึ่งได้ชี้แจงไปว่า ภายในเดือนต.ค.2566 อาคารเทอมินัลหลังใหม่จะแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการสำหรับเที่ยวบินในและต่างประเทศได้แน่นอน ทั้งเครื่องบินตามตารางการบิน และเที่ยวบินเช่าเหมาลำ

แต่ทางวิ่งเครื่องบินอยู่ระหว่างขยายความยาวยังไม่แล้วเสร็จ จากปัจจุบัน 2,100 เมตร กว้าง 45 เมตร เครื่อง รองรับเครื่องบินขนาดกลาง หรือผู้โดยสารไม่เกิน 189 ที่นั่ง เช่น เครื่องโบอิ้ง 737-800 และแอร์บัส 320-200 เวลานี้ยังไม่มีคลังนํ้ามัน แต่มีบริการนำรถนํ้ามันมาเติมให้

นายธีรวัฒน์ หวังศิริเลิศ ประธานหอการค้าตรัง กล่าวว่า ความล่าช้าการก่อสร้างเทอมินัลใหม่ จากเดิมสิ้นสุดปี 2565 แต่จากเชื้อโควิด-19 ยืดเยื้อ 2 ปีเต็ม ต้องขยายสัญญาไปเป็นต.ค.2566 ล่าสุดคืบหน้า 60% อยากให้กรมท่าอากาศยานกำกับดูแลคู่สัญญา ให้งานแล้วเสร็จตามแผนด้วย เพราะคนตรังก็รอใช้ จังหวัดตรังเองรอความสมบูรณ์ของเศรษฐกิจ ที่จะเริ่มต้นใหม่ในปีนี้เป็นต้นไปด้วยเช่นกัน

ธีมดี ภาคย์ธนชิต/รายงาน

หน้า 2 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,831 วันที่ 30 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/02/2023 6:36 pm    Post subject: Reply with quote

คนญี่ปุ่นนั่งรถไฟเที่ยวกันตัง

[ タイ南部 ] アンダマン海の入り口、終着駅のカンタンを散策|タイ一周の旅 EP.8
MAIBARU ThaiVlog
Feb 25, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=Fz_yu8BzWTA
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/06/2023 5:33 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีรถไฟกันตัง สุดปลายทางสายอันดามัน #train
สมพาน สัตยาวัน With YOU
Jun 4, 2023

นั่งรถเร็วขบวน167 จากสถานีตรังไปชมสถานีสุดท้ายปลายเส้นทางรถไฟสายอันดามัน สถานีที่ได้รับการอนุรักษ์และขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากร


https://www.youtube.com/watch?v=6kEaJ0kvqls
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2023 11:26 am    Post subject: Reply with quote

รัฐผนึกเอกชน ตั้งสมาคมท่องเที่ยว ดัน"เมืองกันตัง"สู่อินเตอร์

ฐานเศรษฐกิจ
07 กรกฎาคม 2566

ภาครัฐและเอกชนเมืองกันตัง ตั้งสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวกันตัง ดัน “เมืองท่ากันตังสู่เมืองท่องเที่ยว” เชื่อมเส้นทางท่องเที่ยวทางรถไฟ-ทางเรือไปยังเกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน
เมื่อเร็วๆ นี้ นายภาวัช อ๋องเจริญกฤช ประธานกรรมการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีตรัง นายสรนนท์ จิโรจน์มนตรี นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกันตัง และ นายชำนาญ กานต์นภัทร ปลัดอาวุโสอำเภอกันตัง ประชุมเพื่อจัดตั้งสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกันตัง

โดยมีหน่วย ภาครัฐ และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว 12 กลุ่มในพื้นที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง โดยที่ประชุมมีมติให้ นายสมศักดิ์ ทักษิโณรส เป็นนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวกันตังคนแรก

รัฐผนึกเอกชน ตั้งสมาคมท่องเที่ยว ดัน"เมืองกันตัง"สู่อินเตอร์
รัฐผนึกเอกชน ตั้งสมาคมท่องเที่ยว ดัน"เมืองกันตัง"สู่อินเตอร์

สำหรับ นายสมศักดิ์ ทักษิโณรส เป็นอดีตเทศมนตรีเมืองกันตัง อดีตผู้ประกอบการท่องเที่ยวยุคแรกของจังหวัดตรัง และเป็นเจ้าของร้านล่อคุ้ง ร้านอาคารจีนเก่าแก่กันตังโดยหลังจากนี้จะมีการยื่นเพื่อขอจดทะเบียนสมาคมฯ

นายสมศักดิ์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”เกี่ยวกับภารกิจหลังได้รับตำแหน่งนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวกันตัง ว่า จะมีการทำโปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยวให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว เช่นโปรแกรม เส้นทางประวิติศาสตร์ ต้นยางพาราต้นแรก บ้านพระยา รัษฎาฯ สถานีรถไฟกันตังสุดสายอันดามัน สนามเปราะญี่ปุ่น สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชมเมืองกันตัง ที่เป็นเมืองเก่ากลิ่นอายท่าเรือระหว่างประเทศ ที่มีในเส้นทางแผนที่เดินเรือโลก และสักการะศาลเจ้าแม่ทับทิม

อีกเส้นทางท่องเที่ยวคือ ล่องเรือชมวิธีชีวิตคนกันตังริมแม่นํ้าตรัง ที่เป็นแม่นํ้าหลักผ่านตัวอำเภอกันตังเพื่อออกทะเล และนั่งเรือทานอาหารทะเลปากแม่นํ้าปะเหลียน ที่บ้านบ้านแหลม ต.วังวน อ.กันตัง ฝั่งตรงข้ามจะเป็นพื้นที่ อ.ปะเหลียนและ อ.หาดราญ จ.ตรัง และเส้นทางท่องเที่ยวธรรมชาติ เกาะกระดาน เกาะมุก เกาะลิบง เขาจมป่า ป่าโกงกางเก่าแก่บ้านนํ้าราบ หาดยาว หาดหยงหลิง หาดอ่าวปอหรืออ่าวมาหยา จ.ตรัง

รัฐผนึกเอกชน ตั้งสมาคมท่องเที่ยว ดัน"เมืองกันตัง"สู่อินเตอร์
รัฐผนึกเอกชน ตั้งสมาคมท่องเที่ยว ดัน"เมืองกันตัง"สู่อินเตอร์

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ในอดีตเมืองท่ากันตังคือตัวจังหวัด ปัจจุบันคือ เมืองท่ากันตัง เป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศติดต่อกับเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ อินเดีย ศรีลังกา ประเทศในแถบตะวัน ออกกลาง เยอรมนี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา

เมืองกันตังมีการสร้างเส้นทางรถไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 และสร้างเสร็จเปิดเดินรถในปีพ.ศ. 2456 สมัยรัชกาลที่ 6 มีการขนส่งสินค้าส่งออกไปลงเรือ และนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามากันตัง มีเส้นทางรถไฟ วิ่งสายแรกคือ กันตัง-ห้วยยอด/ กันตัง-ทุ่งสง/ กันตัง-ยะลา/ กันตัง-สงขลา ปัจจุบันนี้มีขบวนรถไฟเป็นรถ เร็ว กันตัง-กรุงเทพ

ดังนั้นการมีสมาคมฯจะช่วยขับเคลื่อนให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่เป็นสมาชิกได้ให้บริการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและผู้ประกอบการสามารถประกอบธุรกิจไปได้ด้วยดี


นายพริษฐ์ นราสฤษฎ์กุล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตรัง กล่าวว่า หลังจากที่เว็บไซต์ World beach guide ประเทศอังกฤษ จัดอันดับเกาะกระดาน เป็นชายหาดที่ดีที่สุดในโลก ประจำปี 2566 พบว่า มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเที่ยวจังหวัดตรังเพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 45,000 คน รายได้ประมาณ 1,800,000 บ. หากเปรียบเทียบเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประมาณ 39,000 คน รายได้ประมาณ 1,350,000 บ.

นายเมธี สกุลส่องศิริชัย ผู้ประกอบการโรงแรมศิริชัย หรือ ศิริชัย ดีไซน์ โฮเทล กล่าวว่า การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยจัดตั้งให้มีสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกันตังขึ้นมาในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดี ตนในฐานะผู้ประกอบการโรงแรมห้องพัก จะให้ความร่วมมือกับสมาคมเพื่อผลักดันการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในตัวเมืองกันตัง

นายภาวัช อ๋องเจริญกฤช ประธานกรรมการบริษัทประชารัฐ รักสามัคคีตรัง กล่าวว่า สมาคมฯ มีภารกิจหลักคือ ทำการประชา สัมพันธ์ การตลาดให้ทั้งอำเภอกันตัง จะเน้นการตลาดระยะใกล้คือ ขายการท่องเที่ยวให้คนไทย ส่วนคนต่างชาติคือ มาเลเซีย อยู่ติดชายแดนกับไทยมาเที่ยวเมืองกันตัง ในอดีต เมืองกันตังเปรียบเสมือนเมืองพี่เมืองน้องกับ เมืองปีนัง เพราะในอดีตเป็นของไทย ส่วนนักท่องเที่ยวกลุ่มต่อไปคือชาวจีน

พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า นายสมศักดิ์ จะขับเคลื่อนสมาคมและภาระกิจด้านการ ท่องเที่ยวสำเร็จแน่นอน เพราะมีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวและมีความพร้อมและตั้งใจ ทำงาน และมีทีมกรรมการที่มีความสามารถ เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานให้สมาคมฯ ในอนาคตสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวกันตัง จะเป็นตัวอย่างของสมาคมที่เข้มแข็งมากสมาคมฯหนึ่งอย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/07/2023 7:29 am    Post subject: Reply with quote

“ชวน หลีกภัย” ขึ้นรถไฟ สายกรุงเทพฯ-กันตัง วางแผนปรับปรุงส้นทางรถไฟช่วงสถานีตรัง-กันตัง ให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวท่องเที่ยวในอนาคต
ข่าวส่วนภูมิภาค Jumpon 24/07/2023

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 66 นายชวน หลีกภัย Chuan และคณะขึ้นรถไฟขบวนที่ 167 กรุงเทพฯ-กันตัง โดยขึ้นที่สถานีตรัง และสิ้นสุดที่สถานีกันตังซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อวางแผนปรับปรุงส้นทางรถไฟช่วงสถานีตรัง-กันตัง ให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวท่องเที่ยวในอนาคต โดยเบื้องต้นจะนำต้นเฟื่องฟ้าหลากสีสัน จำนวน 20,000 ต้น มาทดลองปลูกตามแนวเส้นทางรถไฟดังกล่าว เพื่อให้เป็นเส้นทางที่แปลกใหม่โดยใช้หลัก “ตรัง เมืองคุณภาพอากาศที่ดี” และเส้นทางรถไฟนี้ได้ผ่านช่วงแนวขยายรันเวย์ของท่าอากาศยานตรัง เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้เส้นทางรถไฟเส้นนี้ลอดผ่านใต้แนวรันเวย์ทางด้านทิศตะวันตก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2023 4:04 pm    Post subject: Reply with quote

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พัฒนาเส้นทางรถไฟสายอันดามัน ดันท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
12 ต.ค. 2566

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จัดโครงการวิจัย “เส้นทางวัฒนธรรมทางรถไฟสายอันดามัน” ภายใต้โครงการวิจัย “มหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่” โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งครอบคลุม 3 หัวเมืองสำคัญในจังหวัดตรัง ได้แก่ ห้วยยอด ทับเที่ยง และกันตัง เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดตรัง อนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรม กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างงาน สร้างรายได้แก่คนในพื้นที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ตรีชาติ เลาแก้วหนู รองคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า เส้นทางรถไฟสายอันดามัน คือ เส้นทางรถไฟที่ต่อจากชุมทางทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ขยายแยกออกมาเป็นเส้นทางย่อย และสุดทางที่ท่าเรือกันตัง จ.ตรัง โดยได้ดำเนินโครงการวิจัย “เส้นทางวัฒนธรรมทางรถไฟสายอันดามัน” ตั้งแต่การศึกษามรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ศักยภาพความเป็นไปได้ของการพัฒนาเส้นทางรถไฟให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยว ความคาดหวังของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวทางรถไฟ สภาพเดิมของรถไฟ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวระหว่างเส้นทาง

ที่ผ่านมาได้ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรังอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่โดยเฉพาะที่กันตัง เนื่องจากเป็นเมืองท่าที่สำคัญในอดีต มีความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรม มีแหล่งมรดกทางสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ทั้งสถาปัตยกรรมจีน สถาปัตยกรรมจีนผสมยุโรป และสถาปัตยกรรมยุโรป จึงเริ่มทำการศึกษาอาคารที่ทรงคุณค่าของเมืองกันตัง และเผยแพร่ในรูปแบบหนังสือและสื่อดิจิทัลแก่ประชาชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว และผู้สนใจให้ได้ศึกษาและเห็นความสำคัญของมรดกทางสถาปัตยกรรมเมืองกันตัง รวมทั้งพัฒนาสื่ออื่นๆ ด้านสถาปัตยกรรม เช่น การทำโมเดลจำลอง เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้แบบด้านสถาปัตยกรรม และตระหนักถึงความสำคัญของสถาปัตยกรรมในพื้นที่เมืองเก่ากันตัง

นอกจากนี้ ยังขยายผลไปสู่การพัฒนาเมืองสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเมืองกันตังมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สามารถจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ทั้งสถาปัตยกรรมบ้านเรือน อาหาร พิธีกรรม ประเพณีท้องถิ่น ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้ปัจจุบันเมืองกันตังมีความพร้อมทั้งเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บุคลากรที่ตอบโจทย์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวซึ่งในอนาคตเมืองกันตังจะกลายเป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของนักท่องเที่ยวทั่วประเทศ ที่ต้องการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของเมืองท่าที่สำคัญในอดีตของประเทศ

ด้านนายพิพิธ จรุงเกียรติกุล หัวหน้ากลุ่มกันตังเมืองเก่าหนึ่งในภาคีเครือข่าย กล่าวว่า ม.อ. มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง โดยเฉพาะกันตังเมืองเก่า ทำให้กันตังมีฐานที่เข้มแข็ง เป็นที่รู้จักในระดับจังหวัดมากขึ้น สิ่งสำคัญของการขับเคลื่อนคือกระบวนการทำงาน ซึ่ง ม.อ. เข้ามาสนับสนุนองค์ความรู้ พัฒนาบุคลากร ดึงทรัพยากรท้องถิ่นที่มีอยู่ของชุมชนมาต่อยอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับทัศนคติ และสร้างการมีส่วนร่วมชองคนในชุมชน

ขณะที่ นายวิสุทธิ์ อรุณเวชกุล มัคคุเทศก์ท้องถิ่น กล่าวว่า เส้นทางท่องเที่ยวกันตังเมืองเก่าเริ่มต้นด้วยการนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองกันตัง และร่วมกิจกรรมทำขนมและอาหารโบราณ ที่ศาลเจ้าเก่งจิวโฮยก้วน (ศาลเจ้าไหหลำ)จากนั้นไปต่อที่มัสยิดปากีสถานชมงานหัตถกรรมเตียงเชือก ซึ่งมีเฉพาะที่กันตังเท่านั้น ต่อที่อาคารชิโนโปรตุกีส "บั่นเซ่งหิ้น" ที่ส่งออกยางพาราก้อนแรก ชมภาพศิลปะการก่อสร้างของคนฮกเกี้ยนที่ศาลเจ้าฮกเกี้ยน ต่อด้วยสถานีรถไฟสุดสายอันดามัน “สถานีรถไฟกันตัง”ที่เชื่อมสงขลากับกันตัง อ่าวไทยกับอันดามัน เรียนรู้ประวัติศาสตร์พระยารัษฎา ที่ พิพิธภัณฑ์บ้านพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) บ้านเลขที่ 1 ชมต้นยางพาราต้นแรกพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหินอ่อนองค์ใหญ่ที่สุดในพม่า “พระหยกขาว” ที่ วัดตรังคภูมิพุทธาวาสชมถ้ำประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่สวนสาธารณะตำหนักจันทร์ไปต่อที่ ศิลปินแห่งชาติอาจารย์ณรงค์ จันทร์พุ่มและชมวิวบนหอคอย ที่ ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์เมืองกันตังปิดท้ายที่ศาลเจ้าไหหลำอีกครั้ง ถือเป็นการสิ้นสุดโปรแกรมท่องเที่ยวเมืองกันตัง

นายยิ่งยศ แก้วมี สถาปนิก และกรรมาธิการฝ่ายกิจกรรมเมืองและนโยบายสาธารณะ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ อีกหนึ่งในภาคีเครือข่าย กล่าวว่า เริ่มดำเนินงานร่วมกับ ม.อ. ตั้งแต่ปี 2558 ในการขับเคลื่อนงานด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ และพัฒนาย่านเมืองเก่าของจังหวัดตรัง อาทิ โครงการ 100 ปีเมืองทับเที่ยง โดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สนับสนุนการทำโมเดล และโครงการทับเที่ยง Vernadoc เป็นการเขียนแบบเพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งความสำเร็จที่ได้จากการทำงานร่วมกับ ม.อ. คือความต่อเนื่องของการทำงาน อาจารย์และนักศึกษาตั้งใจทำงานได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนมากขึ้น

ทั้งนี้ “งานวิจัย “เส้นทางวัฒนธรรมทางรถไฟสายอันดามัน” ส่งผลให้หน่วยงานรัฐในพื้นที่สามารถถอดบทเรียนเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการท่องเที่ยวฟื้นฟูเมือง และกระตุ้นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมที่กำลังเลือนหายไปกลับมา”

ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : ยอยศพร อรรคไกรสีห์
ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล
แหล่งที่มา : สวท.ตรัง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2023 2:22 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง พัฒนาเส้นทางรถไฟสายอันดามัน ดันท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
12 ต.ค. 2566


ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : ยอยศพร อรรคไกรสีห์
ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล
แหล่งที่มา : สวท.ตรัง


สถานีรถไฟกันตัง : การถูกทำให้กลายเป็นสินค้าภายใต้บริบทการท่องเที่ยว
โดย อนงค์นาถ รัตติโชติ และ เก็ตถวา บุญปราการ
ภาควิชาสารัตถศึกษา สาขาพัฒนามนุษย์และสังคม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

เผยแพร่แล้ว: ต.ค. 15, 2018


บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกลายเป็นสินค้าของสถานีรถไฟกันตังในกระแส การท่องเที่ยว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูล เป็นจำนวน 13 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำข้อมูลมาจำแนกหมวดหมู่ ตีความ สร้างข้อสรุป และนำาเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สถานีรถไฟกันตัง มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทไปจากเดิมโดยถูกทำให้กลายเป็นสินค้า เนื่องมาจากการให้คุณค่า และความหมายของสถานีรถไฟกันตังที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากสถานีรถไฟที่ใช้ในการขนส่งสินค้า ติดต่อเดินทาง เป็นจุดรวมกลุ่มของชาวบ้านที่ดำารงชีพด้วยการค้าขาย แต่เมื่อกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในลักษณะของการโหยหาอดีตเข้ามามีบทบาทในแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ทางภาครัฐจึงได้เข้ามาปรับปรุงพื้นที่ย่านสถานีรถไฟกันตังให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว สถานีรถไฟกันตังได้ถูกประกอบสร้างจากองค์ประกอบต่างๆ ทำให้กลายเป็นสินค้าสู ่กระแสการท่องเที่ยว สถานีรถไฟกันตังจึงถูกให้คุณค่าในฐานะ 1 ใน 20 โบราณสถานของแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดตรัง และเป็นแลนมาร์คของอำเภอกันตังที่นักท่องเที่ยวควรเข้ามาชื่นชม สัมผัสถึงบรรยากาศแห่งอดีตกาลที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่คู่ชาวบ้านกันตังมาอย่างช้านาน
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/yru_human/article/view/150541
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/11/2023 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

กันตัง สุดเส้นทางรถไฟสายอันดามัน
นิกเกิ้ล พาทัวร์
Nov 3, 2023


https://www.youtube.com/watch?v=bew5g63BloU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สถานีรถไฟและสถาปัตยกรรมสำคัญเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 19, 20, 21  Next
Page 20 of 21

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©