Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262212
ทั้งหมด:13573492
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องจากอดีต : ม้าพันธุ์เก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องจากอดีต : ม้าพันธุ์เก่า

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/05/2009 3:17 pm    Post subject: เรื่องจากอดีต : ม้าพันธุ์เก่า Reply with quote

สำหรับเรื่องจากอดีตครั้งนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับช่วงของเสี้ยวประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกัน เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารระหว่างภาคตะวันออกและภาคตะวันตกของประเทศ ซึ่งยังเป็นป่าดงพงพี มีชาวอินเดียนแดงเจ้าของถิ่นรักษาแผ่นดินอยู่ พร้อมที่จะสังหารคนผิวขาวที่เดินทางข้ามดินแดนไปยังฝั่งแปซิฟิกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้ที่คิดระบบสื่อสารนี้หรือ Pony Express ในสายตาของคนอเมริกันขณะนั้นถือว่าบ้าบิ่นพอสมควร ที่ใช้คนขี่ม้านำจดหมายและข่าวสารจากปลายทางรถไฟซึ่งสิ้นสุดเพียงที่ราบภาคตะวันตกกลางแถบแม่น้ำมิสซูรี ลัดเลาะไปตามเส้นทางเดินตัดเทือกเขาร็อกกี้ ลงสู่ชายฝั่งแปซิฟิกที่ซานฟรานซิสโก โดยไม่หยุดพัก มีเพียงสับเปลี่ยนม้าซึ่งจัดเตรียมไว้ตามสถานีระหว่างทางเท่านั้น

น่าเสียดายที่กิจการนี้ดำเนินได้เพียงระยะสั้นๆ ก็ล้มเลิกไป ด้วยเหตุที่ว่ามีการวางสายโทรเลขข้ามทวีปตามเส้นทางที่ใช้ม้านำสารของกืจการนี้นั่นแหละ และมีการก่อสร้างทางรถไฟข้ามทวีปติดตามมา หลังจากสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ สิ้นสุดลง ซึ่งชาวอเมริกันขี้หงุดหงิดบางรายในปัจจุบัน ชอบบ่นเกี่ยวกับข่าวสารที่ได้รับล่าช้า มักจะเปรียบเทียบว่า ล่าช้าเหมือนยุคม้านำสาร หรือ Pony Express โน่นเลย

เรามาดูเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับกิจการนี้กันสักนิดดีไหมครับ จากนิตยสาร "เสรีภาพ" ฉบับปีที่ 18 ฉบับที่ 1 ของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ

.............................

ม้าพันธุ์เก่า
Olca Arnold

Click on the image for full size

“ ต้องการ ชายหนุ่ม ร่างเพรียว แข็งแรง อายุไม่เกิน ๑๘ ปี ต้องมีความชำนาญในการขี่ม้า ยินดีเผชิญกับความตายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ถ้าเป็นกำพร้า ยิ่งดี “ นี่เป็นข้อความในหน้าโฆษณาของหนังสือพิมพ์ในอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๓ และปรากฎว่ามีชายหนุ่มลูกกำพร้าร่างผอมบางถึง ๘๐ คนที่มาสมัครเป็นผู้ส่งไปรษณีย์ในกำหนดระยะทางถึง ๓,๒๐๐ กิโลเมตร ซึ่งต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และดินแดนที่พวกอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ ครอบครองอยู่

นี่เป็นการเริ่มต้นของการส่งข่าวด่วนโดยใช้ม้าเร็ว ซึ่งแม้จะทำกันอยู่ไม่นาน แต่ก็ได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ๑๘ เดือนก่อนเกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา การสื่อสารแบบนี้ช่วยให้การส่งข่าวข้ามดินแดนระหว่างสองฟากฝั่งทวีปอเมริกา จากเซนต์ โจเซฟ ในมิสซูรี สุดปลายสายรถไฟมายัง ซาคราเมนโต ในแคลิฟอร์เนีย ผู้ขี่ม้าส่งข่าวจะต้องขี่ม้าไปตามทุ่งหญ้าที่ฝ่าฝุ่น ลูกเห็บ ฝน และหิมะ บ้างก็ถูกพวกอินเดียนแดงฆ่าตาย ต้องต่อสู้กับพายุหิมะ ต้องว่ายน้ำข้ามกระแสน้ำที่ไหลท่วมบ่า อันเป็นการผจญกับภัยที่ล่อแหลมต่อชีวิตอยู่ตลอดเวลา

ผู้ขี่ม้าส่งข่าวเหล่านี้ จะแต่งเครื่องแบบคือ สวมเชิ้ตหนังกวาง รองเท้าบู้ตสูง สวมหมวกปีกกว้าง มีอาวุธ คือ ปืนพกสั้นเท่านั้น แต่ละคนจะต้องขี่ม้าในระยะทาง ๑๖๐ กิโลเมตร โดยจะเปลี่ยนม้าใหม่ในทุกๆ ๑๖ หรือ ๑๕ กิโลเมตร ทุกๆ สถานี จะมีม้าตัวใหม่มีอานพร้อมรอให้สับเปลี่ยน ทันทีที่ผู้ขี่ม้าสื่อสารมาถึง เขาจะเหวี่ยงถุงไปรษณีย์ลงบนอานม้าตัวใหม่ แล้วก็ควบม้าตัวนั้นต่อไปอีกอย่างรวดเร็ว

ผู้ขี่ม้าสื่อสาร ไม่ใช่พวกที่ทำงานเสี่ยงโชคพวกเดียวเท่านั้น ดังในเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ เมื่อเริ่มกิจการส่งข่าวด่วนโดยม้าเร็ว นายวิลเลียม รัสเซล ได้วางเดิมพันไว้ ๒๐๐,๐๐๐ บาทว่าบริษัทของเขาจะต้องสามารถส่งไปรษณีย์จากมิสซูรีไปยังรัฐแคลิฟอร์เนียได้ภายใน ๑๐ วัน และเขาก็ประสบชัยชนะ ข่าวการชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีของลินคอล์น กินเวลาเดินทางผ่านทุ่งราบไปถึงปลายทางได้ภายในเวลา ๘ วันเท่านั้น แต่บริษัทต้องสูญเสียเดิมพันที่ยิ่งใหญ่กว่า คือ ต้องลงทุนไปในกิจการนี้ถึง ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท แล้วต้องขาดทุนยุบยับในเมื่อกิจการต้องล้มเลิกไป เพราะมีกิจการใหม่มาแทนที่ ซึ่งได้แก่ การส่งข่าวทางสายโทรเลข

การส่งข่าวทางม้าเร็วกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว แม้ว่ากิจการนี้ได้เดินทางไปในระยะเวลาเพียง ๑๘ เดือนก็ตาม มันก็เป็นการบุกเบิกทางให้แก่การติดตั้งสายโทรเลข ทางรถไฟ และการอพยพของบรรดาคนเข้าเมืองไปตั้งถิ่นฐานใหม่ทางภาคตะวันตก โรงม้าใน “เซ็นต์ โจ” คงมียังอยู่ รูปปั้นของผู้ขี่ม้าสื่อสารที่นั่น ทำให้เห็นภาพของชายหนุ่มผู้แข็งแรงกำลังขี่ม้าข้ามทวีปไปยังภาคตะวันตก อย่างไม่เลือนลาง.

...................


Last edited by black_express on 27/10/2011 11:08 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 10/05/2009 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

ปัจจุบัน นิตยสาร "เสรีภาพ" ของสำนักข่าวสารอเมริกัน ยังมีการตีพิมพ์เผยแพร่อยู่ไหมครับพี่ตึ๋ง
ตอนเด็กๆจำได้ว่าเคยอ่าน ที่บ้านได้รับแต่ไม่รู้ว่าได้มาอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Aishwarya
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 11/01/2007
Posts: 1721
Location: นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

PostPosted: 10/05/2009 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

พูดจากใจจริงๆ เลย Cherie รู้สึกสงสารและเห็นใจ "Indians" ทั้งหลาย ซึ่งเป็นประชาชนพื้นเพเดิม พื้นเมืองของทวีป America เหนือ หรือที่เราเรียกกันว่า "Anglo America" ค่ะ ... ถ้าพิจารณากลางๆ ตามเนื้อผ้า เอาใจเค้าใส่ใจเรา บ้านใคร ใครก็ต้องหวงต้องแหนจริงมั้ยคะ? Sad Sad Sad ...

การเข้ามาของชนผิวขาว ผม blond นัยน์ตาสีฟ้า สีเขียว หรือที่เรียกกันว่า "Caucasians (ฝรั่ง)" จึงเสมือนมีดคมๆ กรีดกลางใจ Indians เหล่านี้ จนเป็นบาดแผลในใจลึกๆ มากกว่านั้น Caucasians เหล่านี้ เมื่ออพยพมาพร้อมกับเรือ Mayflowers เข้ามาทางภูมิภาคที่เรียกกันว่า "New England" (ปัจจุบันคือดินแดนทั้งหมด ๕-๖ รัฐ บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ได้แก่ New Hampshire, Connecticut, Massachusetts, Vermont, Maine, Rhode Island ...) ยังมีการนำทาสผิวดำจาก Africa เข้ามายัง "ดินแดนแห่งเสรีภาพและโอกาส (Land of Liberty & Opportunity)" อีก จนในปัจจุบันนี้ พูดกันอย่าง ironically นะคะ ผู้คนกลับหาคำตอบไม่ได้ในที่สุดว่าความเป็น "American" คืออะไรกันแน่ ถ้ามีคนถามว่า "สหรัฐ America (the United States of America หรือ U S of A)" ในจินตนภาพของแต่ละคนเป็นยังไง Cherie เชื่อว่าหลายคนจะต้องวาดภาพเป็น "ฝรั่ง" ---> Caucasians ผมสี blond สี light นัตย์ตาสีฟ้า หรือสีเขียวแน่ๆ
Click on the image for full size
ซึ่งอันที่จริงแล้วเนี๊ยะ ประชากรจริงๆ ที่สามารถใช้คำว่า Americans ได้เต็มปาก น่าจะเป็น Indians ในเผ่าต่างๆ เช่น Sioux, Cherokee, Cheyenne, Choctaw, Wichita และอื่นๆ ซะมากกว่าค่ะ.

นอกจากนี้ การนำพาทาสผิวดำเข้ามาในดินแดนดังกล่าว แต่กลับสร้างนโยบาย "เลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติพรรณ (Racial Prejudice)" เช่นนโยบาย Clue Clux Can ซึ่งพบเห็นทางภาคใต้ของ U S A Sad (Alabama, Mississippi, Tennessee, Arkansas ...) Sad มันช่างน่าเศร้าจริงๆ ค่ะ.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/05/2009 9:10 pm    Post subject: Reply with quote

ได้ยินว่า จนบัดนี้ สถานะชาวอินเดียนแดงที่อาศัยในในพื้นที่รัฐบาลกลางจัดให้นั้น ยังไม่สู้ดีนัก

แม้แต่สถานะบั้นปลายชีวิตของ "ซิตติ้ง บูล" วีรบุรุษชาวอินเดียนแดง ยังมีชาวอเมริกันไม่กี่รายที่ยังนึกถึง รวมทั้งอดีตวีรบุรุษของ จี.ไอ.ที่ร่วมนำธงไปปักบนยอดเขาเหนือเกาะอิโวจิม่า ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วย

เพราะเขามีเชื้อสายชาวอินเดียนแดง...

.............

ตอนนี้ "เสรีภาพ" ไม่มีพิมพ์เผยแพร่อีกแล้วครับ อ.วิรัตน์ เท่าที่เห็น จะพิมพ์ต่อเนื่องหลังจากสงครามในอินโดจีนสิ้นสุดลงได้อีกพักหนึ่ง เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอเมริกันล้วนๆ แล้วก็หยุดไป

คงมีเหลือฉบับเก่าๆ บางฉบับที่พอหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายหนังสือเก่าเท่านั้นครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©