Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271428
ทั้งหมด:13582717
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ตามหาโรงแรมรถไฟ สงขลา
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ตามหาโรงแรมรถไฟ สงขลา
Goto page 1, 2, 3 ... 9, 10, 11  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 7:00 am    Post subject: ตามหาโรงแรมรถไฟ สงขลา Reply with quote

สวัสดีครับ สมาชิกรถไฟไทยดอทคอมทุกท่าน Very Happy

ผมอ่านวารสาร อบจ.สงขลา ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552
คอลัมน์สงขลา_สารคดี ซึ่งเป็นคอลัมน์ประจำ เขียนโดยคุณวุฒิชัย เพ็ชรสุวรรณ
ได้แนะนำหนังสือชื่อ ชีวิตของมาซาโอะ เซโตะ ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง
ดังนี้ครับ

Click on the image for full size
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 7:09 am    Post subject: Reply with quote

กะว่าจะไปหาซื้อมาอ่าน แต่พอดีช่วงนั้นใกล้สอบไล่ปลายภาคของนิสิต
ต้องออกข้อสอบตรวจข้อสอบ ได้แต่ค้นหาข้อมูลคร่าวๆ ของหนังสือเล่มนี้
ก็พบว่ามีผู้แนะนำไว้พอสมควรครับ เช่น ที่วารสารเมืองโบราณ
Arrow http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1055
-----------------------------------------------------------------------------------
ชีวิตของมาซาโอะ เซโตะ

ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง เล่ม ๑

มาซาโอะ เซโตะ (เขียน)

บัณฑิต ประดิษฐานุวงษ์ (แปล)

บริษัทเซซิอูน (ประเทศไทย) จำกัด / มีนาคม ๒๕๔๘

๒๖๗ หน้า ๑๖๐ บาท

มาซาโอะ เซโตะ เกิดที่เกาะภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ บิดาเป็นหมอ(และสายลับ)ญี่ปุ่น แม่แท้ๆ เป็นใครไม่ปรากฏ แต่เขามีแม่เลี้ยงชาวญี่ปุ่น ผู้มีปูมหลังคลุมเครือ มาซาโอะมาเติบโตที่สงขลา วิ่งเล่นกับเด็กๆ ในเมืองนั้น มีเพื่อนรุ่นพี่ชื่อ “เปรม” (ซึ่งภายหลังจะเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษ) และเมื่ออายุถึงเกณฑ์ ก็ถูกพ่อจับส่งมาเข้าโรงเรียนญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ

ตลอดชีวิตวัยเยาว์ของเขา เป็นวันเวลาแห่งความเหงา ว้าเหว่ ความลำบากยากแค้น ความรู้สึกเดียวดายครอบคลุมหนังสือเรื่องนี้ไว้ตลอดทั้งเล่ม สมกับชื่อ ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง

แต่เรื่องราวในหนังสือมิได้มีเพียงการหวนรำลึกถึงเฉพาะชีวิตวัยเยาว์ของผู้เขียน หากแต่ยังเล่าถึง “โลก” ของคนญี่ปุ่นในเมืองไทย ยุคก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สลับกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์สงครามโลกที่เล่าไว้เป็นหลังฉาก

เนื้อหาหลักของหนังสืออยู่ที่ชีวิตวัยเด็กของมาซาโอะใน "โรงเรียนคนญี่ปุ่น พระนคร" ชีวิตนักเรียน สงครามมหาเอเซียบูรพา การทิ้งระเบิดของสัมพันธมิตร น้ำท่วมกรุงเทพฯ การฝึกวิชาทหาร ความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น ปิดท้ายด้วยชีวิตในค่ายกักกันเชลยญี่ปุ่นที่บางบัวทอง นนทบุรี

เหล่านี้นับเป็นเรื่องเล่าของสงครามมหาเอเชียบูรพาในเมืองไทยจากแง่มุมที่แตกต่างออกไปจากที่เคยได้ยินได้ฟังกันมาบ่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้น หนังสือเล่มนี้ยังมีภาพถ่ายที่น่าสนใจจำนวนมากซึ่งไม่อาจหาได้ในที่อื่นใด

อย่างไรก็ดี ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งของ ชีวิตของมาซาโอะ เซโตะ ผู้ถูกพ่อและญี่ปุ่นทอดทิ้ง ฉบับภาษาไทยก็คือ การถ่ายเสียงชื่อเฉพาะจากตัวอักษรญี่ปุ่น อันเป็นงานหนักอย่างยิ่งของผู้แปลและบรรณาธิการ เพราะหนังสือเล่มนี้เต็มไปด้วยชื่อบุคคล ชื่อเรือรบ ชื่อเมือง ชื่อเกาะ ฯลฯ ในต่างภาษา ทั้งไทย จีน อังกฤษ ฝรั่งเศส เขมร พม่า มลายู แม้กระทั่งฮินดี แม้ว่าส่วนมากจะทำได้ดี แต่ก็มีข้อผิดพลาดอยู่ไม่น้อยเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 7:14 am    Post subject: Reply with quote

และที่ นสพ.โฟกัสภาคใต้
----------------------------------------------------------------
'บันทึก' มาซาโอะ เซโตะ

สงขลาในสายตาลูกชายจารชนญี่ปุ่น

มาซาโอะ เซโตะ ลูกชายของ ฮิซาโอะ เซโตะ จารชนชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาแฝงตัวอยู่ในประเทศไทย ก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา ประมาณ 4-5 ปี โดยเคลื่อนไหวอยู่ในหลายพื้นที่ รวมทั้งกรุงเทพฯ

สำหรับภาคใต้นั้น ฮิซาโอะ เซะโตะ เคลื่อนไหวแบบฝังรากลึกอยู่ในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต นครศรีธรรมราช ปัตตานี และสงขลา ตลอดไปจนถึงคาบสมุทรมาลายู

ในสงขลานั้น ฮิซาโอะ เซโตะ เข้ามาอยู่ในรูปของการเปิดร้าน ขายยา และรักษาผู้ป่วยในลักษณะของคลินิกเอกชน ชาวบ้านจึงเรียกว่าหมอ โดยชาวสงขลารู้จักกันในนาม "หมอญี่ปุ่น" หรือ "หมอไคเซ"

ช่วงที่หมอไคเซ อยู่ในภาคใต้นั้น ยังมีชาวญี่ปุ่น อีกหลายคน เข้ามาประกอบธุรกิจอื่นๆ อีก เช่น เซลล์แมน เปิดร้านถ่ายรูป เป็นต้น

มาซาโอะ เซะโตะ เกิดที่ภูเก็ต อายุได้ขวบเศษๆ ก็ย้ายตามพ่อไปอยู่กรุงเทพฯ ตามพื้นที่ปฏิบัติการของพ่อ โดยที่มาซาโอะ เซโตะ มิได้ล่วงรู้เลยแม้แต่นิดเดียวว่า พ่อของตนมีภารกิจใดอยู่เบื้องหลังการทำธุรกิจที่เปิดเผย โดยมาซาโอะ เซโตะ ก็สงสัยอยู่เหมือนกัน แต่ไม่กล้าแสดงความสงสัยนั้นออกมา

เมื่ออายุได้ 4 ขวบ มาซาโอะ เซโตะ ย้ายมาอยู่ที่สงขลา ตามพื้นที่ปฏิบัติการของพ่อ โดยในสงขลานั้น ฮิซาโอะ เซะโตะ ได้มาเช่า อาคารเปิดร้านหมอขึ้นที่สี่แยกวัดดอนรัก ใจกลางเมืองสงขลา

จากกรุงเทพฯ มาซาโอะ เซโตะ โดยสารเรือมาถึงสงขลา โดยบันทึกบรรยากาศของเมืองสงขลา และบริบทอื่นๆ ที่เกิดขึ้นว่า

Quote:
เช้าวันที่ 3 หลังออกจากพระนคร ผ่านเกาะใหญ่ เล็ก 2 เกาะ ที่เรียงกันเป็นสัญลักษณ์ของสงขลา คือ เกาะแมว และเกาะหนู ตัดผ่านหาดสมิหลา เทียบท่าสะพานเล็กๆ ในทะเลสาบสงขลา เมื่อขึ้นจากเรือก็ได้กลิ่นปลาขึ้นจมูก เป็นจุดใกล้ตลาดสงขลา ที่สกปรกและสับสนวุ่นวาย

คุณพ่อเช่าบ้านหลังใหญ่เป็นตึกฝรั่งสีขาวที่อยู่ที่มุมถนน ใกล้ๆ วัดดอนรัก เปิดกิจการ "โรงหมอไคเซ" คุณพ่อรักษาคนยากจนโดยไม่เก็บเงิน จึงเป็นที่รักใคร่ คนไทยเรียกกันว่า "หมอไคเซ" ส่วนคนอิสลามเชื้อสายมลายู เรียกกันว่า "ด็อกเตอร์จารันจารัน" เป็นที่เคารพยกย่องและรักใคร่ของทุกคน


จากบันทึกของมาซาโอะ เซโตะ ส่วนนี้ สะท้อนวิถีชีวิต สภาพสังคม และความเป็นอยู่ของคนในเมืองสงขลา(บ่อยาง)ว่า เริ่มมีอาคาร แบบยุโรป นอกเหนือจากบ้านเรือนแบบทรงไทย ชาวบ้านในสงขลาเอง ต่างก็มีอัธยาศัยไมตรี ยอมรับต่อทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษา ที่มาทำประโยชน์ให้กับท้องถิ่น

มาซาโอะ เซโอะ พูดถึง "โรงหมอไคเซ" บริเวณสี่แยกวัดดอนรัก และบริเวณใกล้เคียงไว้ว่า

Quote:
บ้านของเราหันหน้าไปทางทิศเหนือ แต่ชั้น 2 มีหน้าต่างทั้งสี่ ด้าน ลมถ่ายเทได้ดี จึงเย็นและอยู่สบาย ตรงมุมซ้ายกลางติดกับวัดดอนรัก ล้อมรอบด้วยกำแพงที่เต็มไปด้วยตะไคร่ นอกกำแพงนั้น มีต้น โพธิ์ต้นใหญ่ จากตรงนั้นห่างออกไปประมาณ 500 เมตร ในแนวเดียว กัน เป็นเรือนจำสงขลาที่อยู่ในกำแพงสูงล้อมรอบด้วยอิฐแดง ด้านขวามือเดินไปตามถนนเพชรคีรี ไม่ถึง 10 นาที ก็จะเป็นสถานีรถไฟสงขลา ซึ่งเงียบเหงา ข้างสถานีมีโรงแรมรถไฟเก่าๆ มุมด้านทิศตะวันตกมีโรงแรมไม้สกปรก แต่มีสาวๆ แต่งตัวสวยงามมาออกันริม หน้าต่าง ทาน อะไรบางอย่างบ้าง คุยกันบ้าง ตกกลางคืนจะเห็นแสง ไฟจากประภาคารบนเขาตังกวน ใกล้หาดสมิหลา


ถึงตรงนี้ ทำให้คิดถึงเรื่องของการรถไฟในสงขลา ซึ่งเดินระหว่าง "สถานีสงขลา-ชุมทางหาดใหญ่" และเลิกกิจการไป เมื่อกรกฎาคม 2521 คงเหลือไว้แต่ป้ายชื่อสถานี และตัวอาคารที่ทำการสถานี ซึ่งกลายเป็นร้านน้ำชา ร้านกาแฟ ส่วนบริเวณรอบๆ กลายเป็นตลาดสด และทุกวันอาทิตย์ จะมีตลาดนัดที่คลาคล่ำไปด้วยสินค้าและผู้คน โดยเฉพาะสินค้าประเภท "มือสอง" ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และของใช้จิปาถะ

ด้วยเหตุนี้ จากสถานีรถไฟสงขลาในอดีต ปัจจุบันจึงรู้จักกันในนาม "หลาดรถไฟ" และกลายเป็น "อะเมซซิ่งสงขลา" ไปโดยปริยาย เมื่อสงขลายังคงมีสถานีรถไฟ แต่ไม่มีรถไฟวิ่ง

สำหรับ "โรงแรมรถไฟ" นั้น คงเลิกกิจการไปพร้อมกับการ เลิกเดินรถไฟดังกล่าว ส่วน"โรงแรมไม้สกปรก" ที่มาซาโอะ เซโตะ พูดถึงนั้น ถ้าดูตามบริบทแล้ว น่าจะเป็น "โรงแรมแสนสบาย" ซึ่งปัจจุบันยังคงดำเนินการอยู่ แต่หาได้สกปรกอย่างเดิมไม่ กลับน่ารัก น่าพัก และ "แสนสบาย สไตล์สงขลา" ขนานแท้และดั้งเดิม

เรื่องราวของสงขลา ยุคก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา ในสายตาของมาซาโอะ
เซโตะ ลูกชายของจารชนญี่ปุ่น ที่บันทึกไว้ยังมีอีกหลายมุม ล้วนแต่น่าสนใจทั้งสิ้น
----------------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 7:22 am    Post subject: Reply with quote

แล้วผมก็ลืมเรื่องโรงแรมรถไฟ สงขลาที่มาซาโอะ เซโตะ กล่าวถึงนี้ไป
จนกระทั่งมาพบข้อมูลที่คุณวิศรุต Wisarut บันทึกไว้เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 52 ที่นี่ครับ
Arrow http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=10&start=140

Wisarut wrote:
ในเดือนธันวาคมปี 2485 มีหมวดศิลา ณ บริเวณต่อไปนี้

1. หมวดศิลาช่องแค
2. หมวดศิลาบ้านหมี่
3. หมวดศิลาสระบุรี (เปิดปี 2482)
4. หมวดศิลาแม่ทะ
5. หมวดศิลาแก่งหลวง
6. หมวดศิลาเกาะสีชัง (เปิดปี 2482)
7. หมวดศิลานาชะอัง
8. หมวดศิลาทุ่งสง (สายกันตัง)
9. หมวดศิลาน้ำน้อย (สายสงขลา)
10. หมวดศิลาหนองหวาย [ท่าชนะ]
11. หมวดศิลาเขาน้อย [พนมโตย ที่พระตะบอง]
12. หมวดศิลาศรีโสภณ [น่าจะเป็นแยกที่ ปอยเปต]

อ้างอิง: วารสารรถไฟ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม 2486

//--------------------------------------------------------------------------------
บ้านพักรถไฟ (Railway Rest Houses) พ.ศ. 2474

1. เชียงใหม่ (เปิด ปี พ.ศ. 2464 แปรสภาพเป็นโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ปี 2508 ทุบแล้วแต่ปี 2546)
2. ลำปาง (เปิด พ.ศ. 2464 น่าจะเลิกไปแต่ปี 2501)
3. โคราช (เปิด 1 สิงหาคม 2474 - เลิกไปหลังโดนเทกระจาดลูกบอมบ์ที่ย่านสถานีนครราชสีมา เมื่อ มกราคม 2488)
4. อรัญญประเทศ (น่าจะเปิดเมื่อ ราวๆ ปี 2470-71 โดนรื้อไปตั้งแต่ปี 2516)
5. เพชรบุรี (รื้อไปตั้งแต่ปี 2502)
6. ชุมพร (เข้าใจว่าเปิดเมื่อปี 2459)
7. ทุ่งสง (เข้าใจว่าเปิดเมื่อปี 2459)
8. หาดใหญ่ (เปิดเมื่อ ปี 2464 ต่อมาได้รื้อออกไปแล้วสร้างอาคารสถานีชุมทางหาดใหญ่ โดยมีโรงแรมรถไฟหาดใหญ่ หรือ เรียกอีกชื่อว่าโรงแรมราชธานี แทนของเดิมที่กรุงเทพ แต่ ปี 2511)
9. สงขลา (ใกล้ตำหนักเขาน้อย ขณะนี้แปรสภาพเป็นบ้านพักตำรวจไปแล้วแต่ปี 2516)

สังเกตให้ดี จะพบว่าโฆษณา โรงแรมรถไฟที่ลงหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ (หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษชั้นดีที่เอาใจอังกฤษและเป็นกระบอกเสียงรัฐบาลสยามในกรณีที่มีปัญหากับรัฐบาลมลายูและสิงคโปร์) เช่น โรงแรมวังพญาไท (เปิด 18 กุมภาพันธ์ 2468), โรงแรมราชธานีที่กรุงเทพ (เปิด 24 มกราคม 2470) และ โรงแรมรถไฟหัวหิน (เปิดแบบทดลอง 26 ตุลาคม 2465 เปิดเป็นทางการ 1 มกราคม 2466) จะโฆษณาแยกไว้ต่างหาก ด้วยศักดิ์ศรีที่เหนือชั้นกว่า

อ้างอิง: หนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พระพุทธศักราช 2474
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 7:34 am    Post subject: Reply with quote

ผมมัวแต่ตามหาหมวดศิลาน้ำน้อยอยู่
ตอนนี้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าครับ
แต่เรื่องโรงแรมรถไฟ สงขลานั้น ตอนนี้ได้เบาะแสบ้างแล้ว ขอนำเสนอเพื่อเปิดประเด็นให้ทุกท่านช่วยเพิ่มเติมข้อมูลครับ
พจนานุกรมนุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ wrote:
เบาะแส น. ลู่ทาง, ร่องรอย, ลาดเลา, เค้าเงื่อน, ตําแหน่งแห่งที่ซึ่งทราบมาอย่างเลา ๆ พอเป็นรูปเค้า.


ข้อมูลสำคัญที่ระบุที่ตั้งของโรงแรมรถไฟ สงขลา เท่าที่มีอยู่คือ
ประการที่ 1 คุณมาซาโอะ เซโตะ บอกว่า

บ้านของเราหันหน้าไปทางทิศเหนือ แต่ชั้น 2 มีหน้าต่างทั้งสี่ ด้าน ลมถ่ายเทได้ดี จึงเย็นและอยู่สบาย ตรงมุมซ้ายกลางติดกับวัดดอนรัก ล้อมรอบด้วยกำแพงที่เต็มไปด้วยตะไคร่ นอกกำแพงนั้น มีต้น โพธิ์ต้นใหญ่ จากตรงนั้นห่างออกไปประมาณ 500 เมตร ในแนวเดียว กัน เป็นเรือนจำสงขลาที่อยู่ในกำแพงสูงล้อมรอบด้วยอิฐแดง ด้านขวามือเดินไปตามถนนเพชรคีรี ไม่ถึง 10 นาที ก็จะเป็นสถานีรถไฟสงขลา ซึ่งเงียบเหงา ข้างสถานีมีโรงแรมรถไฟเก่าๆ มุมด้านทิศตะวันตกมีโรงแรมไม้สกปรก แต่มีสาวๆ แต่งตัวสวยงามมาออกันริมหน้าต่าง ทานอะไรบางอย่างบ้าง คุยกันบ้าง ตกกลางคืนจะเห็นแสง ไฟจากประภาคารบนเขาตังกวน ใกล้หาดสมิหลา

ประการที่ 2 คุณวิศรุต บอกว่า

บ้านพักรถไฟ (Railway Rest Houses) พ.ศ. 2474
......
......
9. สงขลา (ใกล้ตำหนักเขาน้อย ขณะนี้แปรสภาพเป็นบ้านพักตำรวจไปแล้วแต่ปี 2516)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 7:49 am    Post subject: Reply with quote

ก็เป็นปริศนาขึ้นมาดังนี้ครับ
1. โรงแรมรถไฟ สงขลา อยู่ข้างสถานีรถไฟสงขลา
2. บ้านพักรถไฟ สงขลา อยู่ใกล้ตำหนักเขาน้อย ขณะนี้แปรสภาพเป็นบ้านพักตำรวจไปแล้วแต่ปี 2516
แล้วโรงแรมรถไฟ กับ บ้านพักรถไฟ คือสถานที่แห่งเดียวกันหรือไม่ Question

คุณมาซาโอะ เซโตะ มาอยู่ที่สงขลาก่อนสงครามหาเอเชียบูรพา 4-5 ปี บอกว่ามีโรงแรมรถไฟเก่าๆ แสดงว่าสร้างมานานแล้วก่อนหน้านั้น
ขณะที่ข้อมูลบ้านพักรถไฟของคุณวิศรุต เป็นข้อมูลปี 2474

สงครามมหาเอเชียบูรพาเริ่มขึ้นใน พ.ศ.2484 ดังนั้นคุณมาซาโอะ เซโตะมาอยู่ที่สงขลาราว พ.ศ. 2479-2480

ดังนั้นผมจึงนำแผนผังเขตต์เทศบาล เมืองสงขลา (พ.ศ.2478) ซึ่งตีพิมพ์เป็นแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา พุทธศักราช ๒๔๗๘ มาศึกษาดู
(แผนที่ฉบับนี้ เท่าที่ตามหาดู พบว่ามีอยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี แต่ที่ทำเนียบรัฐบาลและที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์นั้น แผนที่ได้ขาดหายไปนานแล้วครับ)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 8:07 am    Post subject: Reply with quote

ในแผนที่ฉบับนี้ ปรากฏตำแหน่งของบ้านพักรถไฟ ระบุไว้ อยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอาคารสถานีสงขลาครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 8:21 am    Post subject: Reply with quote

แต่ในแผนที่ฉบับเดียวกันนี้ บริเวณรอบๆ เขาน้อยและตำหนักเขาน้อย (ในแผนที่ระบุชื่อเป็น จวนสมุหเทศาภิบาล) ไม่ได้มีโรงแรมรถไฟ หรือ บ้านพักรถไฟ ระบุไว้แต่อย่างใดครับ Rolling Eyes
หากทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของบ้านพักตำรวจในปัจจุบันจะดีมากเลยครับ

ระหว่างนี้มาพิจารณาบ้านพักรถไฟที่อยู่ใกล้กับสถานีรถไฟสงขลาก่อนนะครับ
ภาพขยายแผนที่ฉบับเดิมครับ

Click on the image for full size

สังเกตรูปร่างของตัวอาคารสอดคล้องกับภาพถ่ายทางอากาศปี 2478 จากเครื่องบินปีกสองชั้นที่มาแสดงที่สงขลาในงานปีใหม่ เม.ย. 2478 ครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 8:29 am    Post subject: Reply with quote

จากรูปร่างของตัวอาคาร ถนนโค้งหน้าสถานี ย่านสถานีและตำแหน่งของโรงรถจักร roundhouse

ทำให้พิจารณาได้ว่าตากล้องบนเครื่องบิน (คุณพ่อของคุณพรเลิศ ละออสุวรรณ) ถ่ายภาพจากมุมนี้ครับ (ลูกศรในแผนที่)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/07/2009 8:49 am    Post subject: Reply with quote

ในหนังสือ สมุดภาพสงขลา มหาวชิราวุธ ซึ่งมีคุณเอนก นาวิกมูล เป็นบรรณาธิการ
(ISBN 974-8361-66-7) ตีพิมพ์เมื่อมี 2536 มีภาพนี้อยู่ครับ หน้า 194
คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่ได้

Click on the image for full size

คุณเอนก นาวิกมูล บรรยายภาพว่า
ทีมฟุตบอลโรงเรียนมหาวชิราวุธ พ.ศ. 2482 ถ่ายในบริเวณโรงเรียน
มีเลข พ.ศ. บอกทั้งบนลูกฟุตบอล และมุมซ้ายล่าง แถวกลางซ้ายสุดคือ สุทัศน์ รัตรสาร ภาพโปสการ์ด
ภาพจากคุณยุคนธร รัตรสาร (ลูกชายของ ร.ต.สุทัศน์)

แต่โปรดสังเกตอาคารที่เป็นแบ็คกราวน์ข้างหลัง มีป้ายบอกว่า โรงแรมร..ฟ Shocked
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3 ... 9, 10, 11  Next
Page 1 of 11

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©