RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268572
ทั้งหมด:13579859
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อีกกี่ปีจะได้นั่งรถไฟเที่ยวภูเก็ต
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อีกกี่ปีจะได้นั่งรถไฟเที่ยวภูเก็ต
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 11, 12, 13  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2013 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ฟังความเห็น ปชช.เปิดรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางสุราษฎร์ฯ-พังงา-ภูเก็ต
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ธันวาคม 2556 13:31 น.

สนข.ศึกษาเส้นทางรถไฟ'สุราษฎร์ฯ-ภูเก็ต' รองรับอุตฯท่องเที่ยว
หน้าเศรษฐกิจ
โดย: ทีมข่าวภูมิภาค
ไทยรัฐ
20 ธันวาคม 2556, 20:40 น.

ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สนข.จัดประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ครั้งที่ 1 เพื่อนำข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมไปใช้ประกอบการศึกษาพัฒนาโครงการฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (20 ธ.ค.) ที่โรงแรมเมโทรโพล อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1 (การปฐมนิเทศโครงการ) การศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต (กลุ่มที่ 2) ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดขึ้น มีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน ภาคประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง และสื่อมวลชนให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนมาก

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (ผอ.สนข.) กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดย สนข.ให้ความสำคัญกับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ซึ่งเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพในการพัฒนาในเรื่องของเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว จากการได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ ที่สามารถพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย และอันดามัน โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก และเป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจของเอเชียใต้

ดังนั้น สนข.จึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อขยาย และเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย บริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาศูนย์กลางการคมนาคมและขนส่งภาคใต้ ฝั่งตะวันออก (อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี) กับพื้นที่ฝั่งทะเลด้านอันดามัน โดยเชื่อมต่อเข้าระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดภูเก็ต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยว การเสริมสร้างศักยภาพของโครงข่ายทางรถไฟสายใต้ในปัจจุบัน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการจราจร ซึ่งเป็นผลกระทบจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ นายจุฬา ยังได้กล่าวถึงแนวทางการศึกษาฯ ในครั้งนี้ด้วยว่า ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วนได้แก่

ส่วนที่ 1 คือการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของทางรถไฟ (ทางคู่) สายใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทาง จ.สุราษฎร์ธานี (สถานีบ้านทุ่งโพธิ์)-พังงา -ภูเก็ต -> ฟื้นฟูโครงการไปท่านุ่นที่ค้างมาแต่ปี 2499

ส่วนที่ 2 คือ การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของทางรถไฟช่วง อ.ดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี (เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้) - จะไปตามทางหลวง 44 หรือไปทางอื่น ก็ขึ้นอยู่กะผลการเลือกเส้นทาง

ส่วนที่ 3 คือ การศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของทางรถไฟเชื่อมโยงท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ (แยกจากสายท่านุ่นไปกระบี่) และ

ส่วนที่ 4 คือ การศึกษาความเหมาะสม ออกแบบและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง

โดยการศึกษาฯ ทั้ง 4 ส่วน ดังกล่าวจะต้องดำเนินการครอบคลุมทั้งด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจ และการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

ทั้งนี้ ภายหลังจากการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชนฯ สนข.จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมใช้ประกอบการศึกษาพัฒนาโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงต่อไป โดยคาดว่าเมื่อการดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย โดยการพัฒนาโครงการจะเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางไปยังพื้นที่กลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต พังงา และกระบี่ รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดของ จ.ภูเก็ต ด้วยการสร้างทางเลือกในการเดินทางให้แก่ประชาชน และนักท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และมาตรฐาน สามารถบรรเทาปัญหาการคมนาคมขนส่งที่คับคั่งของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันในปัจจุบัน

โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ต และลดต้นทุนการขนส่งให้ถูกลงจากเดิมที่ใช้ทางรถยนต์เป็นหลัก และก่อให้เกิดผลดีในด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โครงการ รวมทั้งสามารถลดมลพิษที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งในปัจจุบัน ซึ่งจากการส่งเสริมให้ยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุน และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการศึกษาครั้งนี้ มีระยะเวลา 14 เดือน ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ย.56–10 พ.ย.57 ซึ่งครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1 จากจำนวน 3 ครั้ง และภายหลังจากการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน สนข.จะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมไปใช้ประกอบการศึกษา พัฒนาโครงการดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป.

//---------------------
Note: จะแถมพกด้วยการทำทางรถไฟเชื่อมกะ สนามบินสุราษฏร์ธานี ที่หัวเตย โดย แยกที่บ้านดอนรัก ทางสายคีรีรัฐนิคม ก็จะดีมาก

ส่วนที่ 1 คงต้องเอาทาง ตามแบบที่แสดง ในราชกิจจานุเบอกษาปี 2544 เป็นเหมาะ
http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_34995.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 21/12/2013 8:36 am    Post subject: Reply with quote

ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง รู้สึกเบื่อหน่ายกับคำว่า ศึกษาๆๆๆๆๆ แต่มิลงมือสร้างสักที ทั้งๆที่โครงการสร้างทางรถไฟสายใหม่นั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ทีตัดถนนสายใหม่ ขยายถนนสายเดิม ทำกันได้รวดเร็วจนรถยนต์เต็มบ้านเต็มเมือง ส่วนทางรถไฟสายใหม่ๆเกิดยาก ขยายเป็นทางคู่ก็ยากเย็นเข็ญใจเหลือเกิน

ยิ่งสาย สุราษฎร์ฯ-พังงา(ท่านุ่น)-(ภูเก็ต) นี้ เวนคืนที่ดินเสร็จเรียบร้อยมาจะ ๖๐ ปี แล้ว ยังกุดอยู่แต่คีรีรัฐฯอยู่นั่นแล ระวังชาวบ้านเขาใช้สิทธิเรียกที่ดินคืน พร้อมค่าเสียโอกาส เพราะเหตุที่รัฐเวนคืนที่ดินของเขานานมากแล้ว แต่ไม่ยอมใช้ประโยชน์สักทีนะครับ Embarassed
_________________
นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 24/12/2013 11:51 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
It is all about egoism - they never want to deal with the old and unfinished project done by those who have done this down and dirty job before unless it has been modified to fit their own taste.


Here is the video about Surat Thani - Phuket railway project along with the branch line to Krabi from Thup Put and Ban Na Doem to Donsak ferry pier - and mass transit line for Phuket started at Phuket terminal station at Phuket International airport

Here are the document in question - the terminal for Phuket line is at Tha Nun - the rest will be covered by Phuket mass transit line - despite of the original plan for railway terminal at Ao Kham [Kham Bay] near Downtown Phuket City at Tha Hin pier -

For the viewpoints of Captains and Sailor men of Phuket naval base, they wish to see that railway terminated at Phuket Naval base not far from Downtown Phuket city instead of being shortened to Tha Nun in Phang Nga
http://suratphuket-railtransit.com/Dowload/paper_M1.pdf
http://suratphuket-railtransit.com/Dowload/Brochure_1.pdf

Here is the website in question
http://suratphuket-railtransit.com/index.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 25/12/2013 11:43 am    Post subject: Reply with quote

ข้อพึงรังเกียจเกี่ยวกับการฟื้นฟูทางสายไปภูเก็ตก็เห็นจะเป็น

1. เรื่องการตัดระยะเพียงท่านุ่นหรือ ไปสนามบินภูเก็ต แทนที่จะลงไปเต็มที่ถึงตัวเมืองภูเก็ตและอ่าวขาม - แม้แต่การสร้างระบบขนส่ง

2. ข้อพึงรังเกียจอีกข้อเห็นจะได้แก่ทางไปท่าเรือดอนสักโดยทำทางแยกจากเขาพลูไป ตามทางหลวง 44 ซึ่งออกจะเป็นการมักง่ายไปหน่อย -

3. ส่วนกรณีที่ดินรถไฟที่โดนนายหัวเข้าไปวุ่นวายนั้น ทางที่ชอบก็น่าจะให้ตั้งสถานีเพื่อขนน้ำมันปาล์มจากสวนน้ำมันปาล์มของนายหัว จะได้ดำเนินการโดยสะดวก
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 05/02/2014 11:41 pm    Post subject: Reply with quote

Very Happy โครงการรถไฟสายภูเก็ต ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๔๘๘ จนถึงปีนี้ ๒๕๕๗ รวมระยะเวลา ๖๙ ปี ซึ่งทางรถไฟสายยนี้
ผมเคยได้ยินแต่คุณพ่อเคยเล่าให้ฟังว่าช่วงที่ทำงานการรถไฟใหม่ ก็มาทำงานอยู่ปลายรางคีรีรัฐนิคมนี่แหละ
ปัจจุบันท่านจากผมไปหลายปีแล้ว แต่รถไฟไปไม่ถึงภูเก็ตสักที มีแต่เขตทาง ผมอ่านกระทู้เรื่องราวเกี่ยวกับรถไฟสายภูเก็ตหลาย ๆ กระทู้
ล่าสุด ของ อาจารย์ตุ้ยกับคณะที่บินไป สำรวจอนาคตทางรถไฟสายภูเก็ต ที่ผมตั้งข้อสงสัย ๒-๓ ประเด็น ครับ ที่ยังไม่เคยกล่าวถึงเกี่ยวกับรถไฟสายนี้
ดังนี้ ครับ


Smile ๑.โผรายชื่อสถานีรถไฟสายนี้ ตั้งแต่คีรีรัฐนิคม จนถึงปลายราง ผมพยายามค้นหากระทู้เก่า ๆ ยังไม่มีการพูดถึงรายชื่อสถานีรถไฟสายนี้เลย ครับ


Wink ๒.ตำแหน่งที่ตั้ง ของสถานี จากคีรีรัฐนิคม ถึงปลายราง ผมขับรถไปภูเก็ตบ่อยครั้ง แต่ยังไม่เคยเห็นป้ายเขตทาง หลังจากที่อาจารย์ตุ้ยกับคณะ
ได้ไป สำรวจอนาคตทางรถไฟสายภูเก็ต จึงทราบว่าแนวทางรถไฟเมื่อถึงอำเภอทับปุดถึงพังงา ขนานไปกับถนนทางหลวงสาย ๔๐๕
เมื่อถึงเมืองพังงานจะขนานไปกับทางหลวงหมายเลข ๔
ผมไปเจอป้ายเขตที่ดินบริเวณสามแยกถนนสาย ๔๐๕ กับถนนหมายเลข ๔ เข้าเมืองพังงา (น่าจะพึ่งมาปัก ผมผ่านมาเมื่อปีที่แล้วยังไม่มี) ครับ
จึงพอสันนิษฐานว่าสถานีพังงาน่าจะอยู่บริเวณนี้ ครับ
Click on the image for full size
ถ้าสถานีพังงาตั้งอยู่บริเวณนี้ การจราจรคงสับสนวุ่นวายพอดู เพราะอยู่ใกล้สามแยก

Laughing ตรงนี้น่าจะเป็นที่ตั้งของสถานีตะกั่วทุ่ง อยู่ริมถนนเพชรเกษม หน้าที่ทำการไปษณีย์ตะกั่วทุ่ง ซึ่งแนวทางรถไฟอยู่ใกล้อำเภอที่สุด
Click on the image for full size


Wink ๓.ไม่ทราบว่าสถานีปลายราง มีการตั้งชื่อเป็นทางการแล้วหรือยัง ถ้าใช้ชื่อสถานีท่านุ่น คงไม่มีใครรู้จัก
แต่ถ้าใช้สถานีภูเก็ต ก็จะเป็นสถานีรถไฟสถานีเดียวนะ ครับ ที่สถานีประจำจังหวัด ไม่ได้อยู่ในจังหวัดของตนเอง
ย่านสถานีสุดท้ายน่าจะเริ่มจากบริเวณนี้จรดปลายรางริมฝั่งอันดามันใกล้ ๆ กับสะพานสารสินนะ ครับ
Click on the image for full size
Arrow ป้ายนี้เพิ่งปักใหม่ ผมมาเมื่อปีที่แล้ว ยังไม่มี(หันหน้าไปทางพังงา)

Wink ๔.นอกจากจังหวัดพังงาแล้วมีจังหวัดอื่นอีกไหม ครับ ที่มีที่ดินเขตทางรถไฟ แต่ไม่มีราง

thankyou ขอบคุณมาก ครับ สำหรับคำตอบ emot106 emot106
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44599
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2014 8:21 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่สมชายมากครับที่สำรวจ เก็บภาพมาให้ชมกัน
ขอตอบคำถามข้อ ๑. ของพี่สมชายก่อนครับ
เกี่ยวกับพิกัดที่ตั้งสถานีนั้น พี่สมชายอ่านในกระทู้ที่อาจารย์ตุ้ยเคยนำมาลงให้ชม ในกระทู้นี้ได้เลยครับ Very Happy
Arrow ๛Khiri Ratthanikhom...คีรีรัฐนิคม๛

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 06/02/2014 7:28 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing ขอบคุณอาจารย์เอก - Mongwin มาก ครับ ผมค้นหากระทู้เก่า ๆ ที่มีโผรายชื่อสถานีรถไฟ และพิกัดที่ตั้งมาตั้งหลายวันแล้ว ครับ
ดูจากแผนที่แล้ว ที่ตั้งของสถานีพังงา และสถานีตะกั่วทุ่ง น่าจะตรงบริเวณใกล้เคียงกับที่ผมถ่ายภาพมา

Very Happy มีชื่อของของสถานี บ้านเชียงใหม่ ด้วย นะ ครับ แต่เป็นที่หยุดรถ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3293
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 06/02/2014 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

ksomchai wrote:

Wink ๒.ตำแหน่งที่ตั้ง ของสถานี จากคีรีรัฐนิคม ถึงปลายราง ผมขับรถไปภูเก็ตบ่อยครั้ง แต่ยังไม่เคยเห็นป้ายเขตทาง หลังจากที่อาจารย์ตุ้ยกับคณะ
ได้ไป สำรวจอนาคตทางรถไฟสายภูเก็ต จึงทราบว่าแนวทางรถไฟเมื่อถึงอำเภอทับปุดถึงพังงา ขนานไปกับถนนทางหลวงสาย ๔๐๕
เมื่อถึงเมืองพังงานจะขนานไปกับทางหลวงหมายเลข ๔
ผมไปเจอป้ายเขตที่ดินบริเวณสามแยกถนนสาย ๔๐๕ กับถนนหมายเลข ๔ เข้าเมืองพังงา (น่าจะพึ่งมาปัก ผมผ่านมาเมื่อปีที่แล้วยังไม่มี) ครับ
จึงพอสันนิษฐานว่าสถานีพังงาน่าจะอยู่บริเวณนี้ ครับ
Click on the image for full size
ถ้าสถานีพังงาตั้งอยู่บริเวณนี้ การจราจรคงสับสนวุ่นวายพอดู เพราะอยู่ใกล้สามแยก


ถ้าสามารถรื้อฟื้นโครงการนี้ได้สำเร็จ จำนวนและตำแหน่งที่ตั้งของสถานีหรือที่หยุดรถต่างๆ คงต้องมีการพิจารณากันใหม่นะครับ เพราะบริบทต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางสายนี้เปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยมีการสำรวจไว้ในอดีตเป็นอย่างมาก อาทิเช่น

- สภาพแวดล้อมของชุมชนในแนวเส้นทาง จากเดิมที่มีชุมชนเล็กๆจำนวนไม่มาก การใช้ประโยชน์ที่ดินใกล้เคียงกับแนวเส้นทางมีน้อย แต่ปัจจุบันมีชุมชนมากขึ้น การใช้ประโดชน์ที่ดินในเชิงเศรษฐกิจก็มากขึ้น การกำหนดจำนวนและที่ตั้งของสถานีก็คงต้องให้สอดคล้องกับในสภาวะปัจจุบันนะครับ

- บทบาทและวัตถุประสงค์ของเส้นทาง จากเดิมที่เส้นทางนี้มีเป้าหมายเพื่อการขนส่งสินค้า ตามบทบาทที่เป็นอยู่ของพังงาและภูเก็ตในเวลานั้นไม่ว่าจะเป็นการทำเหมืองแร่ และการมีท่าเรือที่ภูเก็ต รวมถึงการขนส่งสินค้าตามสถานีย่อยรายทาง นอกจากนี้ยังจะมีบทบาทในการบุกเบิกการคมนาคมที่สะดวกสบายของประชาชนตามแนวที่เส้นทางตัดผ่าน Arrow ซึ่งถ้ามาเริ่มฟื้นโครงการใหม่ในปัจจุบัน เป้าหมายก็คงต้องเปลี่ยนไป เพราะเศรษฐกิจของพังงาและภูเก็ตในปัจจุบันคือการท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าตามสถานีย่อยรายทางก็ไม่ใช่สิ่งที่การรถไฟให้ความสำคัญในปัจจุบันแล้ว ในแง่การใช้บริการของผู้โดยสารตามสถานีย่อยรายทางก็น่าจะเรียกได้ว่าแทบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะในหลายพื้นที่ที่รถไฟเข้าไปมีบทบาทก่อน ปัจจุบันก็ลดบทบาทไป แล้วพื้นที่ที่ปล่อยให้รถยนต์เข้ามามีบทบาทฝังรากนานร่วมครึ่งศตวรรษ แล้วยังมีถนนสายหลักอยู่ไม่ไกลอย่างที่นี่ บทบาทสถานีย่อยในแง่การโดยสารคงไม่ต้องพูดถึง ดังนั้นในบางช่วงเส้นทางที่เดิมกำหนดสถานีไว้ค่อนข้างถี่ อาจต้องพิจารณาลดจำนวนลง เหลือไว้เท่าที่จำเป็นในการควบคุมการเดินรถนะครับ

ksomchai wrote:
Wink ๔.นอกจากจังหวัดพังงาแล้วมีจังหวัดอื่นอีกไหม ครับ ที่มีที่ดินเขตทางรถไฟ แต่ไม่มีราง

คิดว่าตอนนี้ไม่น่ามีที่อื่นอีกนะครับ ถ้าจะมีที่ใกล้เคียงที่สุดคงเป็นกระบี่ เพราะตามโดรงการ Land Bridge กระบี่-ขนอม จะมีการสร้างทางรถไฟด้วย ซึ่งพื้นที่ที่สงวนไว้สำหรับสร้างทางรถไฟก็คือเกาะกลางของทางหลวงหมายเลข 44 นั่นเอง แต่เข้าใจว่ากรรมสิทธิที่ดินตรงนั้นยังไม่ได้เป็นของการรถไฟฯกระมังครับ Question
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2014 2:25 am    Post subject: Reply with quote

ขนน้ำมันปาล์มไงหละ ได้เห็นไร่ปาล์มน้ำมันตามทางสายคีรีรัฐนิคมแล้ว ถ้าขนน้ำมันปาล์มเพื่อลดต้นทุนและหารายได้มาให้รฟท ก็พอไหวอยู่นอกเหนือจากผลไม้ไปส่งที่สุราษฎร์ธานี และยางพารา แต่อาจต้องทำสถานีพิเศษเพื่อการนี้โดยเฉพาะ หรือไม่ก็ฟื้นฟูสถานีที่โดนลดชั้นเพื่อการขนน้ำมันปาล์มเป็นตู้คอนเทนเนอร์
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 07/02/2014 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

Very Happy กำลังกล่าวถึงเรื่องนี้อยู่พอดี ได้ข่าวมาครับ

หนังสืิิอพิมพ์บ้านเมือง

วันศุกร์ที่ 07 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
เปิดโครงการรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยว สุราษฎร์ธานี-พังงา


Click on the image for full size



จังหวัดพังงา ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ครั้งที่ 1 (พื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2556 ณ โรงแรมภูงา อำเภอเมืองพังงา มีผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นประธานในการเปิดการประชุมใหญ่ในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนหน่วยงานราชการ กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการดังกล่าว ตลอดจนตัวแทนภาคประชาชน และสื่อมวลชน

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (รอง ผอ.สนข.) กล่าวถึง การศึกษาและออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา ว่า กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญกับจังหวัดต่างๆ โดยพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูง เช่น จังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา และสุราษฎร์ธานี มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งที่ขับคั่งในปัจจุบัน และสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยการพัฒนาทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต เพื่อขยายและเชื่อมโยงโครงข่ายทางรถไฟระหว่างฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยกับพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นอีกโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว ซึ่งพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนานับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวระดับโลก และได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางในการศึกษาเส้นทางรถไฟ (ทางคู่) สายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา (ท่านุ่น) บริเวณเส้นทางสายสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น

Click on the image for full size



ซึ่งเป็นเส้นทางที่ รฟท. ได้ออกแบบรายละเอียดพร้อมก่อสร้างโดยอยู่ในชื่อโครงการ Phuket Extension Railway Construction Project โดยการศึกษาโครงการดังกล่าวได้กำหนดสถานีไว้ 9 สถานี คือ สถานีบ้านตาขุน บ้านเบ็ญจา บางเหรียง ทับปุด บ่อแสน พังงา ตะกั่วทุ่ง ท่าอยู่ และ ท่านุ่น ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์และศึกษาคัดเลือกแนวสายทางดังกล่าวได้คำนึงถึงประเด็นทางด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม และทางรถไฟสายใหม่ (ทางคู่) ช่วงอำเภอดอนสัก-จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เชื่อมต่อกับทางรถไฟสายใต้) ซึ่งจะตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44 สายกระบี่-กาญจนดิษฐ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ถนนแลนด์บริดจ์ เชื่อมระหว่างอำเภอบ้านนาเดิม ไปบรรจบกับอำเภอกาญจนดิษฐ์ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ระยะทางประมาณ 33 กิโลเมตร ซึ่งสามารถใช้พื้นที่เกาะกลางที่เผือไว้สำหรับเขตทางรถไฟ 60 เมตร หลังจากนั้น ตัดแนวเส้นทางใหม่ขึ้นต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งหน้าสู่อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะทางรวมโดยประมาณ 63 กิโลเมตร รวมทั้ง โครงการดังกล่าวได้มีการศึกษาระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ในเส้นทางท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง เพื่อรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว ความหนาแน่นของชุมชน และประชากรในจังหวัดภูเก็ต สนข.ได้ศึกษาโดยเสนอให้พัฒนาระบบไฟฟ้าใน 3 เส้นทาง คือ เส้นทางสายที่ 1 ใช้สำหรับเดินทางระหว่างสนามบินนานาชาติจังหวัดภูเก็ต และห้าแยกฉลอง เส้นทางสายที่ 2 ใช้สำหรับเดินทางระหว่างป่าตอง และอำเภอเมืองภูเก็ต เส้นทางสายที่ 3 ใช้สำหรับเดินทางระหว่างสามแยกบางคู และห้าแยกฉลอง และโครงการศึกษาทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานกระบี่ ซึ่งการพัฒนาทางรถไฟเชื่อมต่อจากเส้นทางสายใหม่เส้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต ไปยังทางรถไฟเชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานกระบี่ ซึ่งจะสามารถช่วยเสริมให้โครงข่ายที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ให้ดียิ่งขึ้น

อีกทั้งมุ่งเน้นให้มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงสองฝั่งทะเล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันให้กับกลุ่มจังหวัดภาคใต้และเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศให้มีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญกับจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดที่มีศักยภาพทางด้านการท่องเที่ยวสูง เช่น สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต และ กระบี่

ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากการประชุมใหญ่ในครั้งนี้ สนข.จะได้นำข้อคิดและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมไปใช้ประกอบการศึกษาพัฒนาโครงสร้างดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป โดยคาดว่าเมื่อการดำเนินโครงการแล้วเสร็จจะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันและอ่าวไทย โดยการพัฒนาโครงการจะเพิ่มความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยในการเดินทางไปยังพื้นที่กลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน ได้แก่ ภูเก็ต พังงา และ กระบี่ รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดของจังหวัดภูเก็ต ด้วยการสร้างทางเลือกในการเดินทางให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐาน สามารถบรรเทาปัญหาการคมนาคมขนส่งที่คับคั่งของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามันในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ต และลดต้นทุนการขนส่งให้ถูกลงจากเดิมที่ใช้ทางรถยนต์เป็นหลัก และก่อให้เกิดผลดีในด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โครงการ รวมทั้งสามารถลดมลพิษที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งในปัจจุบัน ซึ่งการส่งเสริมให้ยุทธศาสตร์เหล่านี้ได้รับการสนับสนุนและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน

ขนกวรรณ พรหมทอง/พังงา

Very Happy รายชื่อสถานีเหลือเพียง ๙ สถานี คือ สถานีบ้านตาขุน บ้านเบ็ญจา บางเหรียง ทับปุด บ่อแสน พังงา ตะกั่วทุ่ง ท่าอยู่ และ ท่านุ่น ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เรื่องทั่วไปและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 11, 12, 13  Next
Page 6 of 13

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©