Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269414
ทั้งหมด:13580701
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ตะลุย Chichibu Railway ไปกับ Paleo Express
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ตะลุย Chichibu Railway ไปกับ Paleo Express
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ภาพประสบการณ์เดินทางกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42736
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2009 10:47 am    Post subject: Reply with quote

donatt76 wrote:
คุณบอยครับ...Shinkansen มันน่าตาน่าเกลี่ยดขึ้นทุกวันล่ะครับ....นับวันจะเหมือนเป็ดขึ้นทุกวัน แต่ที่น่าตาน่าเกลียดนี่ กลับวิ่งเร็วขึ้นทุกวันเช่นกัน (ยกเว้นเจ้า 2 ชั้นที่วิ่งอยู่แค่ 240 km/h)


รถ 2 ชั้นวิ่งเร็วลำบากนะ แต่กระนั้น เจ้า ชิงกังเซน 500 นี่แหละที่ต้องยกนิ้วว่ายอดและ เจ้า ชิงกังเซน Fastech 360 (ชิงกังเซนหูแมว) รุ่นที่ ทำขบวนได้ 360 kph ก็ด้วย Embarassed Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 09/09/2009 12:21 pm    Post subject: Reply with quote

หลังจากที่ได้รออยู่สักพักใหญ่ ก็มีเสียงประกาศจากสถานีว่าขบวนรถจักรไอน้ำกำลังจะนำขบวนเข้ามาเทียบชานชาลาแล้ว ผู้คนก็ต่างเตรียมตัวตั้งกล้องถ่ายรูปกันเป็นแถว สักพักขบวนรถก็ถูกนำมายังสถานีโดยใช้รถจักรไฟฟ้าหน้าตาโบราณ รุ่น 200 ลากท้ายขบวนเข้ามาสู่ชานชาลาสถานี ( มายืนผิดตำแหน่งแล้วสิครับ...)


- รู้สึกว่าผมกับphotobucket จะไม่ค่อยกินเส้นกัน นั่งโหลดรูปแค่รูปเดียวเกือบชั่วโมง Mad



Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 09/09/2009 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

" ขบวนรถจักรไอน้ำ Paleo Express " นี้ เปิดเดินเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยใช้รถจักรไอน้ำ C58 หมายเลข 363 ในการทำขบวน ซึ่งรถจักรคันนี้แต่เดิมเป็นของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNR) ผลิตขึ้นในปี พ.ศ.2487 โดยบริษัท คาวาซากิ (Kawasaki) ภายหลังจากที่ได้ปลดประจำการในปี พ.ศ. 2516 รถจักรไอน้ำคันนี้ได้ถูกนำไปเก็บไว้ยังโรงเรียนประถมแห่งหนึ่งในจังหวัดไซตะมะ สุดท้ายได้มีการที่จะนำรถจักรไอน้ำนี้กลับมาวิ่งให้บริการในรูปแบบการท่องเที่ยวของจังหวัดไซตะมะ ทางบริษัทรถไฟชิชิบุจึงทำการซื้อรถจักรมาและทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่จนสามารถกลับมาวิ่งใช้งานได้อีกครั้ง โดยโรงงานที่ทำการปรับปรุงชุบชีวิตรถจักรไอน้ำ C58 363 ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้งนั้น คือ โรงงานรถไฟที่โอมิยะ ซึ่งในปัจจุบัน ที่นี่เป็นโรงงานหลักแห่งหนึ่งในการซ่อมวาระหนักของรถจักรไอน้ำที่ยังมีใช้งานอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ส่วนตู้โดยสารก็เป็นตู้ไม้คล้ายกับของขบวนรถจักรไอน้ำที่โออิกาวา ทำให้ดูคลาสสิกและเข้ากันกับตัวรถจักรไอน้ำ

สำหรับชื่อที่ใช้เรียกขบวนรถจักรไอน้ำขบวนนี้ มาจากการที่เมืองชิชิบุนั้นเป็นที่หนึ่งที่ได้มีการค้นพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์ จึงมีการตั้งชื่อให้กับขบวนรถนี้ว่า " Paleo Express " แปลเป็นไทยตรงๆก็น่าจะเรียกว่า " ด่วนดึกดำบรรพ์ " Rolling Eyes



Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size


Last edited by conrail on 09/09/2009 11:37 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Adithepc20
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/07/2006
Posts: 3403
Location: ลาดพร้าว 71 หรือ ชานเมือง 9

PostPosted: 09/09/2009 8:10 pm    Post subject: Reply with quote

เสียงหวีดรถดีเซลรางของที่ญี่ปุ่นเหมือนกับเจ้า THN หรือเจ้า RHN ของเมืองไทยหรือเปล่าครับพี่ก้อง เสียดายน่าจะมีคลิปเสียงตอน พขร.เปิดหวีดออกสถานีมาให้ฟัง Cool
_________________
ฮิตาชิ 4506 ขณะทำขบวนรถสินค้าที่ 879 ออกจากสถานีชุมทางศรีราชา วันที่ 20 เม.ย. 2553 เวลา 16.50 น.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 10/09/2009 1:43 am    Post subject: Reply with quote

Adithepc20 wrote:
เสียงหวีดรถดีเซลรางของที่ญี่ปุ่นเหมือนกับเจ้า THN หรือเจ้า RHN ของเมืองไทยหรือเปล่าครับพี่ก้อง เสียดายน่าจะมีคลิปเสียงตอน พขร.เปิดหวีดออกสถานีมาให้ฟัง Cool


ลักษณะของเสียงหวีดคล้ายกับเสียงของรถดีเซลราง THN ครับ แต่ไม่ค่อยได้เปิดบ่อยนัก ยกเว้นทางบางช่วง หรือ เมื่อมีคนเหยียบล้ำเส้นสีเหลืองบนชานชาลาเข้ามา พขร.จะเหยียบหวีดเตือน





ขอเล่าเรื่องราวบางอย่างที่เกี่ยวกับรถจักรไอน้ำ C58 ให้ฟังคร่าวๆก่อนนะครับ
และที่สำคัญคือ รถจักรไอน้ำรุ่นนี้ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศไทยเราอีกเหมือนกัน เช่นเดียวกับรถจักรไอน้ำ C56


รถจักรไอน้ำ รุ่น C58 เป็นรถจักรที่มีการจัดวางล้อแบบ 2-6-2 สร้างขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2481 ถึง พ.ศ. 2490 โดยบริษัท Kawasaki และ บริษัท Kisha Seizo มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 427 คัน , น้ำหนักของรถจักรพร้อมใช้งาน 58.7 ตัน , แรงดันไอน้ำ 16 กิโลกรัม/ตารางเซ็นติเมตร , น้ำหนักกดเพลา 13.5 ตัน , เส้นผ่านศูนย์กลางล้อกำลังและล้อโยง 1,520 มิลลิเมตร , มีความยาวของรถจักรและรถลำเลียงรวมกัน 18.27 เมตร ใช้กับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร

เนื่องจากรถจักรรุ่นนี้ส่วนหนึ่งถูกสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้นมา ทำให้เมื่อเกิดสงครามขึ้นมาแล้ว กองทัพญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้รถจักรไอน้ำจำนวนหนึ่งเพื่อการลำเลียงกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถจักรไอน้ำ C56 ดังที่เคยได้อธิบายไปแล้ว และปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนมากมาย รวมทั้งเราเองก็ยังมีรถจักรรุ่นนี้ใช้งานอยู่ส่วนหนึ่ง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ารถจักรไอน้ำ C58 รุ่นนี้ ก็เป็นหนึ่งในรถจักรที่ถูกส่งมาจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการขนส่งลำเลียงกองทัพญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน มีการปรับปรุงแก้ไขรถจักรเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรถพ่วงที่ใช้อยู่ในประเทศไทยและประเทศข้างเคียงเช่นเดียวกับรถจักรไอน้ำ C56 อาทิเช่น เปลี่ยนขอพ่วงจากเดิมที่เป็นขอพ่วงอัตโนมัติมาเป็นขอพ่วงเอบีซี , ติดตั้งเครื่องไล่ลม หรือ เครื่องสร้างสูญญากาศเพื่อใช้สั่งการกับระบบห้ามล้อรถพ่วง , เปลี่ยนขนาดล้อของรถจักรและรถลำเลียงเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับรางกว้าง 1 เมตร โดยใช้วิธีเดียวกันกับแบบรถจักรไอน้ำ C56 คือ การใช้แว่นล้อเดิมที่ใช้งานกับรางกว้าง 1,067 มิลลิเมตร แต่เปลี่ยนปลอกล้อใหม่ให้มีความกว้างของพื้นล้อมากขึ้นเพื่อให้เกาะกับรางกว้าง 1 เมตร ซึ่งวิธีการนี้เองทำให้พื้นล้อกำลังของรถจักรไอน้ำทั้งสองรุ่นนี้กว้างกว่างรถจักรไอน้ำแบบอื่นที่ประเทศไทยเคยใช้การมา

รถจักรไอน้ำ C58 ที่ดัดแปลงเหล่านี้มีจำนวนทั้งหมด 51 คัน โดยทำการดัดแปลงในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2487 สถานที่ที่ใช้ในการดัดแปลงรถนั้นประกอบไปด้วย โอมิยะ (Omiya) , ฮามะมะทสึ (Hamamatsu) , ทาคาโทริ (Takatori) และ โคคุระ (Kokura) จากนั้นจึงนำมาลงเรือที่ท่าเรือโกเบและท่าเรือโมจิเพื่อขนส่งมายังประเทศไทย โดยชุดแรกทำการขนลงเรือมา 25 คัน ซึ่งใช้เรือขนส่งหลายลำกระจายกันไป แต่การขนส่งนั้นไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นเพราะอยู่ในช่วงของปลายสงคราม มีกองทัพของพันธมิตรคอยขัดขวางกองเรือลำเลียงเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองเรือดำน้ำของสหรัฐอเมริกา จนในที่สุดเรือที่ทำการลำเลียงรถจักรไอน้ำ C58 จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อมาส่งยังประเทศไทยนั้นก็ถูกยิงจมลงไปเกือบทั้งหมด เหลือรอดมาได้เพียง 4 คันเท่านั้นจากทั้งหมด 25 คัน ที่ส่งมาในระยะแรก การสูญเสียนี้จึงทำให้มีการระงับการขนส่งรถจักรที่เหลืออีก 28 คัน ซึ่งในที่สุดรถจักรชุดหลังนี้ก็ไม่ได้ถูกขนส่งมายังประเทศไทยและเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆกลับคืนเพื่อใช้ในประเทศญี่ปุ่นตามเดิม

รถจักรไอน้ำ C58 ทั้ง 4 คัน ที่รอดจากการถูกยิงจมทะเลมาได้นั้น ประกอบไปด้วย

- C58 52 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 761 )

- C58 54 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 762 )

- C58130 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 763 )

- C58 136 ( หมายเลขที่ใช้ในการรถไฟ คือ 764 )


หมายเลข 761 และ 762 นั้น สร้างโดย Kawasaki ในปี พ.ศ. 2481 / ส่วนหมายเลข 763 และ 764 สร้างโดย Kisha Seizo ในปี พ.ศ. 2482


อย่างไรก็ตาม รถจักรไอน้ำ C58 ทั้ง 4 คันนี้ก็ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากมีน้ำหนักกดเพลาถึง 13.5 ตัน ในขณะที่รางรถไฟของไทยในสมัยนั้นรับน้ำหนักกดเพลาได้เพียง 10.5 ตันเท่านั้น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง รถจักรเหล่านี้ยังคงอยู่ใช้งานในประเทศไทย แต่น้ำหนักรถจักรที่มากนั้นทำให้ต้องกำหนดขอบเขตการใช้งาน จนในที่สุดก็ปลดระวางใช้งานไปก่อนกำหนดและไม่เหลือซากให้เห็นแม้แต่ชิ้นเดียว สำหรับภาพถ่ายของรถจักรรุ่นนี้ในช่วงที่ใช้งานอยู่ที่ประเทศไทยนั้นก็หายากเหลือเกิน ผมเคยเห็นอยู่เพียงสองรูปเท่านั้น หนึ่งในนั้น คือ ที่ย่านบางซื่อ


Click on the image for full size

Click on the image for full size



ทั้งหมดเป็นเรื่องราวคร่าวๆของรถจักรไอน้ำ C58 ที่เกี่ยวกับประเทศไทย .....ออกนอกเรื่อง Paleo Express ไปอีกแล้ว Wink คราวหน้าจะกลับมาลงต่อไปครับ
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 11/09/2009 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

เพิ่งจะกลับมาจากการไปทำธุระที่ต่างจังหวัดเมื่อตอนเย็นนี่เอง เข้าเรื่องกันต่อดีกว่าครับ Very Happy



เรื่องราวก็ยังคงจะเกี่ยวข้องกับรายละเอียดทั่วๆไปของรถจักรอีกสักเล็กน้อยก่อนที่จะออกเดินทางกัน

รถจักรไอน้ำ C58 หมายเลข 363 เป็นรถจักรไอน้ำที่มีระบบห้ามล้อรถจักรโดยใช้แรงดันลมในการจ่ายเข้าสู่หม้อสูบห้ามล้อ และ ใช้ระบบห้ามล้อลมอัดในการควบคุมระบบห้ามล้อรถพ่วง ไม่ว่าจะเป็นรถโดยสาร หรือ รถสินค้าก็ตาม ซึ่งลมอัดเหล่านี้ได้มาจากเครื่องทำลมที่ใช้ไอน้ำมาดันลูกสูบ โดยมีจังหวะการทำงานเป็น 2 จังหวะเพื่อช่วยในการสร้างลมให้เร็วและมีแรงดันที่เพิ่มขึ้น

เครื่องทำลมอัด ( อุปกรณ์ตรงกลางทรงกระบอกที่มีแผ่นทองเหลืองพันล้อมรอบ ด้านบนเป็นชุดของลูกสูบไอน้ำ ส่วนด้านล่างเป็นชุดของลูกสูบเพื่ออัดอากาศ) อากาศที่ถูกอัดแล้วจะนำมาเก็บไว้ในถังลมซึ่งมีอยู่ 2 ถัง ซ้าย-ขวา

Click on the image for full size





ขอพ่วงอัตโนมัติแบบ E และท่อลม BP ต่อขบวน (เปรียบเทียบกับขอพ่วงอัตโนมัติแบบ Tightlock ของรถไฟฟ้า และ ขอพ่วงอัตโนมัติแบบ Shaku-Thomlinson )


ขอพ่วงอัตโนมัติแบบ E
Click on the image for full size



ขอพ่วงอัตโนมัติแบบ Tightlock
Click on the image for full size


ขอพ่วงอัตโนมัติแบบ Shaku-Thomlinson
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 12/09/2009 12:41 am    Post subject: Reply with quote

แม้ว่าจะเป็นรถจักรไอน้ำ แต่ก็จำเป็นที่จะต้องมีระบบที่ใช้ควบคุมตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินรถเช่นเดียวกับขบวนรถอื่นๆ ระบบนี้คือ ระบบ ATS ( Automatic Train Stop ) หลักการทำงาน คือ จะมีแผ่นที่ใช้ตรวจสอบสัญญาณติดตั้งอยู่ที่ระหว่างราง กับ ตัวรถ โดยทั้งสองส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กันในรูปแบบของแม่เหล็กไฟฟ้า รถจักรไอน้ำนี้เมื่อทำการก็จะต้องเปิดให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำงานตลอดด้วยเช่นกันเพื่อที่จะได้ให้มีไฟเข้าไปเลี้ยงระบบ ATS ตลอดเวลา ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่มแรกๆที่นำเอาระบบ ATS มาใช้งาน โดยเริ่มใช้งานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2464

ในกรณีที่ขบวนรถวิ่งฝ่าสัญญาณ หรือ ไม่มีการตอบรับสัญญาณจากพนักงานขับรถเมื่อขบวนรถวิ่งผ่านแผ่นสัญญาณที่ติดอยู่ระหว่างราง ซึ่งติดตั้งอยู่เป็นระยะๆ รวมทั้งบริเวณเสาสัญญาณ จะมีการสั่งการให้ระบบห้ามล้อฉุกเฉินทำงานทันที เพื่อให้ขบวนรถหยุด ป้องกันไม่ให้เกิดการชนกับขบวนรถที่อยู่ทางตอนหน้า


ขอนำเอารูปนี้กลับมาลงอีกครั้งครับ จะเห็นว่าที่รางจะมีแผ่นสัญญาณติดอยู่ และ ที่ด้านล่างรถจักรไอน้ำบริเวณใต้ขอพ่วงก็จะมีแผ่นสัญญาณแบบเดียวกันติดอยู่ด้วย มีสายไฟต่อร่วมอยู่ข้างละหนึ่งเส้นกับแผ่นสัญญาณ

Click on the image for full size

Click on the image for full size




รถไฟฟ้า APL ก็ใช้ในลักษณะเดียวกันเพื่อใช้ในการรับส่งสัญญาณต่างๆระหว่างรถกับศูนย์ควบคุม
Click on the image for full size




อุปกรณ์สองตัวสีดำที่อยู่ติดกับห้องขับนี้ เป็น เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ ไดนาโม ใช้ไอน้ำในการมาขับแกนกังหันให้หมุนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยตัวทางขวามือเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อใช้ในระบบแสงสว่างทั้งหมดบนรถจักร ทั้งในห้องขับและไฟหน้ารถจักร จะทำงานก็ต่อเมื่อต้องการใช้ไฟเท่านั้น ส่วนตัวทางซ้ายมือจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อใช้กับระบบ ATS โดยเฉพาะซึ่งจะทำงานตลอดเวลา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้งสองตัวนี้ควบคุมการทำงานมาจากห้องขับ โดยมีวาล์วปิด-เปิดไอน้ำติดตั้งอยู่
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Tob96
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 04/04/2006
Posts: 472
Location: ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 3 จ.นครราชสีมา , ถนนเชื้อเพลิง ช่องนนทรี กทม.

PostPosted: 12/09/2009 2:03 am    Post subject: Reply with quote

เพิ่งได้ความรู้เรื่องนี้นะเนี่ย เจ้าคุณปู่บ้านเขาก็ติดตั้งอุปกรณ์เซฟไม่เบาเลย... Rolling Eyes
_________________
เราเหล่าม้าเหล็ก...ยามวิ่งเร็วดั่งพายุ...ยามหยุดนิ่มนวลดุจสายน้ำไหล.....
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
palm_gea
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 1321
Location: ธ.ก.ส.

PostPosted: 12/09/2009 6:47 am    Post subject: Reply with quote

ผมเพิ่งรู้ว่ารถจักรไอน้ำก็มีห้ามล้อแบบลมอัดด้วย Very Happy
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 15/09/2009 12:54 pm    Post subject: Reply with quote

- ระบบห้ามล้อของรถจักรไอน้ำนั้น เริ่มต้นกันมาตั้งแต่ใช้เบรคมือ , เบรคสูญญากาศ , เบรคแบบใช้ไอน้ำดันสูกสูบ และแบบใช้แรงดันลมอัดดันสูกสูบ โดยรูปแบบหลังนั้นให้แรงเบรคที่ดีที่สุด รถจักรไอน้ำในประเทศไทยที่ใช้ระบบเบรครถจักรแบบลมอัด มีอยู่ 2 รุ่นด้วยกัน คือ รถจักรไอน้ำญี่ปุ่น C56 และ C58 สืบเนื่องมาจากประวัติความเป็นมาดังที่ได้เคยกล่าวไปแล้ว

- ส่วนรถจักรไอน้ำแปซิฟิค หมายเลข 824 และ 850 กับ รถจักรไอน้ำแบบมิกาโด หมายเลข 953 นั้นใช้เบรครถจักรแบบใช้แรงดันไอน้ำ เนื่องจากรถจักรเหล่านี้ไม่มีเครื่องทำลมติดตั้งมาด้วย




- มาดูอุปกรณ์ของรถจักร C58 363 กันต่อครับ แล้วเอาไว้เปรียบเทียบกันรถจักรไอน้ำของเราในภายหลัง

ชิ้นส่วนที่เป็นท่อนเหล็กยาวโค้งลงนั้น คือ แขนคันเปลี่ยนอาการ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างห้องขับกับฝักมะขาม ใช้บังคับลิ้นเลื่อนเพื่อให้รถจักรเดินหน้า หรือ ถอยหลัง และยังใช้ควบคุมปริมาณของไอที่ลงสู่ลูกสูบอีกด้วย ควบคู่กับคันกำหนดไอ โดยทั้งคันเปลี่ยนอาการและคันกำหนดไอนี้ จะถูกบังคับการทำงานโดยพนักงานขับรถ ( คันเปลี่ยนอาการอยู่ฝั่งไหนจะเป็นด้านของพนักงานขับ โดยปกติห้องขับที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น พนักงานขับรถจะนั่งอยู่ทางด้านซ้าย )

คันเปลี่ยนอาการนี้ เมื่อรถจักรมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นก็ทำให้แขนคันเปลี่ยนอาการมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ทำให้มีน้ำหนักมากและพนักงานขับรถใช้งานได้ไม่ถนัด จึงมีการพัฒนาให้มีการใช้ไอน้ำเข้ามาเป็นเครื่องทุ่นแรง โดยพนักงานขับรถเพียงแต่ควบคุมให้ไอน้ำเข้ามาในชุดกระบอกไอของครื่องเปลี่ยนอาการ จากนั้นไอน้ำจะดันลูกสูบภายในเครื่องเปลี่ยนอาการให้เลื่อนเดินหน้า - ถอยหลัง

**** สำหรับประเทศไทยนั้น มีรถจักรไอน้ำที่ใช้เครื่องเปลี่ยนอาการแบบไอน้ำอยู่เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ทราบหรือไม่ว่าเป็นรถจักรไอน้ำแบบไหนครับ ??? **** Shocked


- และท่อทองแดงที่อยู่หลายท่อเดินเป็นยาวขนานไปกับหม้อน้ำนั้น เป็นท่อที่ใช้เป็นทางเดินของไอเพื่อใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ แทนการใช้กลไกลแบบคาน ทำให้ควบคุมการทำงานได้เที่ยงตรงขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ไอน้ำไปควบคุมการทำงานนั้น อาทิเช่น ลิ้น By-Pass , ลิ้นระบายน้ำก้นสูบ , ระบบโรยทราย , ฝาปิดปล่องไอเสียในรถจักรบางรุ่น เป็นต้น

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ภาพประสบการณ์เดินทางกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 12, 13, 14  Next
Page 3 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©