RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311296
ทั่วไป:13274337
ทั้งหมด:13585633
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2024 11:15 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
"บีทีเอส" ชี้แจงกรณี "คุณตา - คุณยาย" ติดลิฟต์ สถานีรถไฟฟ้า สนามกีฬาแห่งชาติ
21 มกราคม 2567


“บีทีเอส” กราบขออภัย! กระแสไฟฟ้าขัดข้อง ทำคุณตา-คุณยาย ติดลิฟต์สถานีสนามกีฬาฯ
นวัตกรรมขนส่ง
21 มกราคม 2567 เวลา 14:20 น.


“บีทีเอส” แจงเหตุคุณตา-คุณยาย ติดลิฟต์สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ กราบขออภัยผู้โดยสาร ชี้เกิดจากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ทำให้ลิฟต์หยุดทำงาน เผยเมื่อได้รับแจ้งเหตุ ศูนย์เอราวัณได้เข้าช่วยเหลือทันที ส่วนระบบไฟแก้ไขแล้ว

เมื่อวันที่ 21 ม.ค. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส รายงานถึงกรณีผู้โดยสารคุณตา และคุณยายติดลิฟต์ ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) ในช่วงเวลา 08.00 น. ของวันที่ 21 ม.ค.67 ว่า จากการตรวจสอบหาสาเหตุเบื้องต้นพบว่า มาจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้หม้อแปลงไฟฟ้า ส่งผลให้ลิฟต์หยุดทำงาน และเมื่อได้รับแจ้งเหตุทางเจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ได้ดำเนินการเข้าซ่อมแซมในบริเวณหม้อแปลงไฟฟ้า และลิฟต์ที่ขัดข้องทันทีพร้อมได้ประสานงานกับทางศูนย์เอราวัณ (สายด่วน 1669) เพื่อให้สามารถปฐมพยาบาล และช่วยเหลือคุณตา และคุณยายได้ทันท่วงที 


ซึ่งในระหว่างดำเนินการช่วยเหลือนั้น พบว่าคุณตา และคุณยาย ยังคงมีสติ แต่มีอาการอ่อนเพลีย โดยเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานได้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือทั้ง 2 คนอย่างระมัดระวัง และรอบคอบมากที่สุด โดยหลังจากเจ้าหน้าที่ซ่อมแซมระบบที่ขัดข้อง จนกระแสไฟฟ้ากลับมาใช้งานได้ปกติ และช่วยเหลือคุณตา และคุณยาย ออกมาจากลิฟต์ได้แล้วนั้น จึงได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และทั้ง 2 ท่านประสงค์ที่จะเดินทางต่อทันที ทางเจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงได้อำนวยความสะดวกให้กับทั้ง 2 คน ในการเดินทางต่ออย่างปลอดภัย

บริษัทฯ กราบขออภัยคุณตา และคุณยาย ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขี้น และไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางครั้งนี้ ซึ่งขณะนี้ระบบที่ขัดข้องทั้งหมดได้ถูกดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว และบริษัทฯ จะปรับปรุงระบบการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวก และปลอดภัยกับผู้โดยสารให้มากที่สุด..
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2024 11:24 am    Post subject: Reply with quote

กทม.ทุ่ม 1.4หมื่นล้าน ลุยต่อขยายสายสีเขียว “บางหว้า-ตลิ่งชัน”บูมฝั่งธนฯ
ฐานเศรษฐกิจ
20 มกราคม 2567

กทม.ทุ่ม 1.4หมื่นล้าน ลุยต่อขยายสายสีเขียว “บางหว้า-ตลิ่งชัน”บูมฝั่งธนฯ ทำเลทอง ที่อยู่อาศัยและราคาที่ดินปรับตัวสูงต่อเนื่อง


กลายเป็นทำเลทองที่น่าจับตาในหลายพื้นที่ สำหรับที่ดินชานกรุงเทพมหานคร ที่มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์เข้าไปปักหมุดพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยกันมาก ขณะราคาที่ดินปรับตัวสูงต่อเนื่อง จากการมาของรถไฟฟ้า เช่นเดียวกับย่านฝั่งธนบุรี

ที่มีการขยายตัวของเมืองเริ่มหนาแน่น ไปตามแนวรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ให้บริการถึงสถานีบางหว้า และรถไฟฟ้าสายสีแดงวิ่งถึงตลิ่งชันสถานีปลายทาง รวมถึงสายสีน้ำเงิน ที่มีแผนขยายเส้นทางต่อเนื่อง

ในอนาคตย่านฝั่งธนฯ จะเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสูงขึ้นเมื่อ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) มีแผน ขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จากบางหว้าไปถึงตลิ่งชัน เชื่อมโยงกับสายสีแดง



ในการนี้ได้เสนอต่อที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 มกราคม2567 โดย ขออนุมัติใช้งบประมาณประจำปี 2568 ศึกษาโครงการ ส่วนต่อขยาย ดังกล่าว เข้าไปรับส่งคน ในทำเลที่ห่างไกลระบบขนส่งมวลชนให้สะดวกเติมเต็มให้ครบสมบูรณ์มากขึ้น


ทั้งนี้นายชัชชาติ ระบุว่า โครงการดังกล่าว กทม. พิจารณา ดำเนินการเองเนื่องจากเป็นส่วนต่อขยายเชื่อมจากโครงการเดิม ช่วงตากสิน-บางหว้า สำหรับโครงการ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน ผลการศึกษาเบื้องต้นมีระยะทาง 7.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท จะมีการศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการลงทุนในลักษณะเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP)

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสิน-เพชรเกษม ที่สถานีบางหว้าจากนั้นไปตามแนวเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ ผ่านทางแยกตัดถนนบางแวก (ซอยจรัญฯ 13) แยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 จากนั้นยกข้ามทางแยกถนนบรมราชชนนี ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกที่อยู่ในแนวรถไฟสายใต้ มาสิ้นสุดบริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มสายบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่สถานีตลิ่งชัน

ลุ้นสภากทม.อนุมัติขยายสายสีเขียว“บางหว้า-ตลิ่งชัน“
*กทม.ขอใช้งบปี 68ศึกษา(PPP) 7.5กม.1.4หมื่นล้าน
*พร้อมชงหนี้ค่าติดตั้งระบบ2.3หมื่นล้านเข้าสภาด้วย
*ส่วนหนี้จ้างเดินรถ&ซ่อมบำรุงรอศาลปกครองสูงสุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/921766249400610
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2024 2:50 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กทม.ทุ่ม 1.4หมื่นล้าน ลุยต่อขยายสายสีเขียว “บางหว้า-ตลิ่งชัน”บูมฝั่งธนฯ
ฐานเศรษฐกิจ
20 มกราคม 2567

ลุ้นสภากทม.อนุมัติขยายสายสีเขียว“บางหว้า-ตลิ่งชัน“
*กทม.ขอใช้งบปี 68ศึกษา(PPP) 7.5กม.1.4หมื่นล้าน
*พร้อมชงหนี้ค่าติดตั้งระบบ2.3หมื่นล้านเข้าสภาด้วย
*ส่วนหนี้จ้างเดินรถ&ซ่อมบำรุงรอศาลปกครองสูงสุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/921766249400610

กทม.ชงสภาฯเคาะพรุ่งนี้ ‘แผนจ่ายหนี้’ BTS
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Tuesday, January 23, 2024 14:47

กทม. ส่งแผน ของบจัดสรร ใช้หนี้ BTS กว่า 23,000ล้านบาทให้สภา กทม.พิจารณาแล้ว รอเคาะเข้าที่ประชุม 24ม.ค.นี้ คาดหาก สภากทม.เห็นชอบก็จะตั้งคณะกรรมการพิจารณารายละเอียด การจ่ายเงิน3วาระ หากทันได้เริ่มจ่าย เม.ย.นี้ หากล่าช้า มีดอกเบี้ย ต้องเจรจากับคู่สัญญาอีกครั้ง

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุถึงกรณีการชำระหนี้ ค่า E&M รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 วงเงิน 23,488 ล้านบาท ว่า ฝ่ายบริหาร กทม. ได้ทำรายละเอียดของระบบอานัติสัญญาณฯ เสนอข้อบัญญัติ ต่อที่ประชุมสภา กทม. ไปเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา และในวันนี้วิปของสภากทม.ได้มีการประชุมกันเพื่อพิจารณาลรรจุเรื่องดข้าสู่วาระการประชุมสภากทม.ในวันที่ 24 ม.ค.

โดยตามขั้นตอนก่อนหน้านี้ เมื่อสภาเห็นชอบรับบระบบอานัติสัญญาณในงบประมาณกว่า 23,000ล้านบาทฝ่ายบริหารก็จะนำงบประมาณ เพื่อไปขอเงินสะสมของกทม.เนื่องจากไม่ได้ตั้งงบประมาณประจำปีไว้ จึงต้องออกเป็นข้อบัญญัติเพื่อให้สภากทม.พิจารณา ซึ่งในขั้นตอนแรกจะเป็นการพิจารณากรอบวงเงิน ส่วนจะชำระแบบทั้งก้อนหรือแบ่งจ่ายนั้น ก็จะต้องเป็นการเจรจาทำข้อตกลงเพิ่มเติม

ทั้งนี้หาก นำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภากทม.ได้ทันภายในวันที่ 24ม.ค. ขั้นตอนต่อไป สภากทม. ก็จะตั้ง

คณะกรรมการวิสามัญ พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ใน3วาระ ซึ่งหากเข้าสภาก็จะมีการตั้งคณะกรรมการในวันที่ 24ม.ค.นี้ได้เลยเพื่อลงรายเอียดต่างๆ โดยระยะเวลาการพิจารณาประมาณ45วัน

ส่วนการจ่ายเงินจะทันในเดือน เม.ย.นี้ตามที่เคยบอกไว้หรือไม่นั้น รองผู้ว่าวิศณุ บอกว่า น่าจะเป็นไปได้ ถ้าสภากทม.เห็นชอบมาแล้วตั้งคณะกรรมการฯ ขึ้นมา ผ่านข้อบัญญัติใน3วาระและมีความเห็นชอบ ก็จะทันกรอบเวลาเม.ย.นี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาพเพราะการใช้เงินออกไปของกทม.นั้นขึ้นอยู่กับสภากทม.

ทั้งนี้หากกระบวนการล่าช้า ก็จะมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งก็จะเป็นกระบวนการที่จะต้องเจรจากัน โดนหลังจากอนุมัติกรอบวงเงินแล้วจะต้องมีการไปพูดคุยกับเพราะกทม.เป็นคู่สัญญากับ เคที โดยจะต้องดูเงื่อนไขการชำระว่าจะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันก็ต้องทำหนังสือ เรียนไปยังครม.ผ่านกระทรวงมหาดไทยด้วย เพราะเรื่องของระบบอาณัตสัญญาน เป็นเรื่องส่วนหนึ่งที่ค้างอยู่ในคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย ม.44 ที่กรรมการยังเจรจาค้างอยู่ในการขยายสัมปทาน โดยให้ผู้รับสัมปทานรับผิดชอบเงิน3ก้อนคือค่าก้อนแรกโครงสร้างพื้นฐาน /ก้อนที่สองระบบอาณัติสัญญาน /ก้อนที่สามคือ การจ้างบริหารจัดการเดินรถ ซึ่งยังค้างอยู่ที่ครม. ดังนั้นสิ่งใดที่กทม.ทำก็จะต้องเรียนให้ทางมหาดไทยหรือครม.ทราบ

พร้อมยืนยัน เรื่องนี้มีการเตรียมการและพูดคุยกันตลอดกับบริษัทเคที ซึ่งเป็นคู่สัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2024 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

ผังกทม.ปรับใหญ่ รับ ส่วนต่อขยายสีเขียว ดันราคาที่ดิน บางหว้า-ตลิ่งชัน พุ่ง
ฐานเศรษฐกิจ
26 มกราคม 2567

ที่ดินย่านฝั่งธนฯ ได้อานิงสงส์ สองเด้ง ปรับผังเมืองรวมกทม. -สร้างส่วนต่อขยายสายสีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน ดันที่ดินพุ่ง สร้างคอนโดฯได้


แผนขยายโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียว ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชันระยะทาง 7.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท ตามนโยบายของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯกทม.) จิ๊กซอว์ตัวสำคัญช่วยเติมเต็มการดินทางให้สมบูรณ์ขึ้นขณะเดียวกันผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่4) เปลี่ยน แปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินรองรับ รถไฟฟ้าเส้นนี้ ไว้ล่วงหน้าเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเนื่องจากอยู่ในแผนของกรุงเทพมหานครที่จะขยายเส้นทาง

ประเมินว่าเจ้าของที่ดินจะได้อานิสงส์สองเด้งทั้งรถไฟฟ้าพาดผ่านและการปรับใหญ่ของผังเมืองรวม จุดประกายทำเลทองใหม่ จากเดิม ผังเมืองรวมปี2556 กำหนด เป็นพื้นที่สีเขียวลาย (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม) มีข้อจำกัดพัฒนาเฉพาะบ้านจัดสรร ขนาด 100 ตารางวาขึ้นไป แต่ผังมืองรวม (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ปรับเป็นพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทหนาแน่นปานกลาง) พัฒนาคอนโดมิเนียม ได้ ย่อมมีผลต่อราคาที่ดิน

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัทวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์และประเมินราคาที่ดิน เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่4) เพิ่มการใช้ประโยชน์ ที่ดินในหลายทำเล ส่งผลให้เกิดทำเลทองใหม่ที่น่าจับตา พื้นที่ที่ถัดจากสถานี บางหว้าออกไป จนถึงตลิ่งชัน หรือ ตั้งแต่ จรัญสนิทวงศ์13 จนเกือบถึงถนนพรานนกผังเมืองรวม (ปรับปรุงครั้งที่4 ) ได้ปรับการใช้ประโยชน์ ที่ดิน จากพื้นที่เขียวลาย เป็นพื้นที่สีส้ม


หากประกาศใช้ปี 2568 ตลาดอสังหาฯ กลับมาคึกคัก ราคาที่ดินจะขยับไปที่5-6 แสนบาทต่อตารางวา จากปัจจุบันราคาอยู่ที่ 2 แสนบาทต่อตารางวา ส่วน ราคาที่ดิน บางหว้า สถานีปลายทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีการพัฒนาเต็มพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว ราคาที่ดินอยู่ที่ประมาณ 6-7แสนบาทต่อตารางวา ปัจจุบันผังเมืองกำหนดเป็นพื้นที่สีส้ม ตั้งแต่ ย.5-ย9 พัฒนาคอนโดมิเนียมได้ ซึ่งผังเมืองรวมใหญ่เพิ่มเป็นพื้นที่สีนํ้าตาล(ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) บางบริเวณ

สำหรับแนวเส้นทาง ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว (บางหว้า- ตลิ่งชัน) มีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายสีลม ตากสิน-เพชรเกษม ที่สถานีบางหว้าจากนั้นไปตามแนวเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ ผ่านทางแยกตัดถนนบางแวก (ซอยจรัญฯ 13) แยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

จากนั้นยกข้ามทางแยกถนนบรมราชชนนี ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันตกที่อยู่ในแนวรถไฟสายใต้มาสิ้นสุดบริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีส้มสายบางขุนนนท์-มีนบุรี ที่สถานีตลิ่งชัน


นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด (PropertyDNA) บริษัทวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์วิเคราะห์ว่าเส้นทางรถไฟฟ้าหากมีการต่อขยายหรือเชื่อมต่อกันจะเป็นระบบหรือโครงข่ายที่สมบูรณ์มากขึ้น อย่าง เส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว (บางหว้า-ตลิ่งชัน) เป็นหนึ่งในเส้นทางที่น่าสนใจ ซึ่งมีโครงการและได้รับการพูดถึงมานานแล้ว เพียงแต่ไม่มีความชัดเจนมากเท่าไหร่ กระทรวงคมนาคมหรือหน่วยงานใดๆ ไม่ได้มีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม

ล่าสุด ทางกรุงเทพมหานครออกมาแสดงความชัดเจนแล้วว่า การประชุมสภากรุงเทพมหานคร วันที่ 17 มกราคม2567 มีการเสนอขออนุมัติจัดใช้งบประมาณประจำปี 2568 เพื่อดำเนินการศึกษาพัฒนารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (บางหว้า-ตลิ่งชัน)โดยแนวเส้นทางจะเป็นทางยกระดับอยู่บริเวณเกาะกลางของถนนราชพฤกษ์ ต่อขยายจากสถานีบางหว้าไปจนถึงสถานีรถไฟฟ้าตลิ่งชันของสายสีแดง ระยะทางประมาณ 7.5 กิโลเมตร มูลค่าในการลงทุนประมาณ 14,000 ล้านบาท

เส้นทางนี้ทางกรุงเทพมหานครจะดำเนินการเอง เพราะเป็นส่วนต่อขยายจากเส้นทางที่มีอยู่แล้ว และจะมีการศึกษาความเหมาะสมรูปแบบการลงทุนในลักษณะเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ซึ่งได้แต่หวังว่าจะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ และค่าโดยสารไม่แพง เพราะคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องให้คนมารับหรือใช้บริการแท็กซี่ไปบ้านที่อยู่ตามแนวถนนราชพฤกษ์ หรือไกลกว่านั้น
Wisarut wrote:
กทม.ทุ่ม 1.4หมื่นล้าน ลุยต่อขยายสายสีเขียว “บางหว้า-ตลิ่งชัน”บูมฝั่งธนฯ
ฐานเศรษฐกิจ
20 มกราคม 2567



ลุ้นสภากทม.อนุมัติขยายสายสีเขียว“บางหว้า-ตลิ่งชัน“
*กทม.ขอใช้งบปี 68ศึกษา(PPP) 7.5กม.1.4หมื่นล้าน
*พร้อมชงหนี้ค่าติดตั้งระบบ2.3หมื่นล้านเข้าสภาด้วย
*ส่วนหนี้จ้างเดินรถ&ซ่อมบำรุงรอศาลปกครองสูงสุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/921766249400610
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2024 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลสั่งจำคุก "พิธา-ธนาธร-ปิยบุตร" คดีแฟลชม็อบ 4 เดือน รอลงอาญา 2 ปี
ข่าวการเมือง Monday February 5, 2024 12:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาให้จำคุกนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กับพวกรวม 8 คน กรณีนัดชุมนุมแฟลชม็อบบริเวณสกายวอล์กสี่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.62 คนละ 4 เดือน แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี ส่วนความผิดตามข้อหาอาญาและความผิดทางพินัยไม่แจ้งการชุมนุม และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมปรับ 11,200 บาท

คดีนี้อัยการได้ยื่นฟ้อง น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา, นายพริษฐ์ ชีวารักษ์, นายธนวัฒน์ วงค์ไชย, นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, นายปิยบุตร แสงกนกกุล, น.ส.พรรณิการ์ วานิช, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ นายไพรัฏฐโชติก์ จันทรขจร เป็นจำเลย 1-8 ในความผิดตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ฐานร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้ง, ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะโดยกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานีรถไฟ, ร่วมกันจัดการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่, ชุมนุมใกล้เขตพระราชฐานในรัศมี 150 เมตร และเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกชุมนุมแต่ไม่เลิก

โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา คงขุนเทียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2024 4:36 pm    Post subject: Reply with quote

กางแผน 'บีอาร์ที' เส้นทาง brt สายสาทร-ราชพฤกษ์ เริ่มวิ่ง ก.ค. 67
Source - เว็บไซต์คมชัดลึก
Monday, February 05, 2024 15:31

กางแผน รถเมล์ 'บีอาร์ที' เส้นทาง brt สายสาทร-ราชพฤกษ์ หลัง 'บีทีเอส' ชนะประมูลเดินรถ เริ่มวิ่ง ก.ค. 2567 สัญญา 5 ปี

รถเมล์ “บีอาร์ที” (BRT) รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ เป็นอีกหนึ่งการคมนาคม ที่ตอบโจทย์คนกรุง ด้วยบริการที่รวดเร็ว ประหยัดเวลา สะดวกสบาย และปลอดภัยสูง ใกล้เคียงรถไฟฟ้า แต่แตกต่างกันเพียงแค่ รถ BRT จะวิ่งบนทางเฉพาะ แยกจากรถอื่นๆ และล่าสุด บีทีเอส ก็ชนะประมูลเดินรถ บีอาร์ที สาทร-ราชพฤกษ์...แต่ก่อนเริ่มวิ่งในเดือน ก.ค. 2567 คมชัดลึก พาไปทำความรู้จัก “รถบีอาร์ทีคืออะไร” และ “เส้นทาง brt สายสาทร-ราชพฤกษ์” มีจุดไหนบ้าง

รถบีอาร์ทีคืออะไร

รถ “บีอาร์ที” คือรถโดยสารด่วนพิเศษ (Bus Rapid Transit) หรือ BRT เป็นระบบขนส่งมวลชนทางถนนรูปแบบหนึ่ง ที่กรุงเทพมหานครมุ่งมั่นเร่งรัดพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมูลค่าการลงทุนที่ต่ำกว่า และก่ออสร้างได้รวดเร็วกว่ารถไฟฟ้า แต่มีความสะดวกสบาย แม้ใช้พื้นผิวถนนด้วยทางวิ่งเฉพาะ และเดินทางได้รวดเร็วด้วยระบบขนส่งอัจฉริยะ เพื่อให้เป็นระบบรองที่สามารถเชื่อต่อเข้าสู่ระบบหลัก ทำใหการเดินทางของ คนกรุง ครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้รายงานความคืบหน้าการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถด่วนพิเศษ (BRT) สายสาทร -ราชพฤกษ์ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) งบประมาณ​ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) และ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด กำหนดยื่นข้อเสนอวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฎว่า บีทีเอสซี เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท บริษัท ไทย สมายล์ วงเงิน 488 ล้านบาท

ส่วนขั้นตอนต่อไปคณะกรรมการฯ จะดำเนินการตรวจสอบเอกสารถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดหรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน หากไม่มีปัญหาจึงจะลงนามสัญญาจ้างทันที เพราะต้องให้เวลาเอกชนจัดหารถใหม่ เป็นรถโดยสารปรับอากาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ไม่น้อยกว่า 23 คัน ภายในเวลา 6 เดือน เพื่อให้ทันเปิดให้บริการเดือน ก.ค. 2567 ซึ่งปัจจุบันรรถเมล์ บีอาร์ที สายสาทร-ราชพฤกษ์ มีรถโดยสารให้บริการ จำนวน 25 คัน ให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น.

ไทม์ไลน์ รถ บีอาร์ที สาทร-ราชพฤกษ์

กทม.ว่าจ้าง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ปีละ 200 ล้านบาท
เริ่มเดินรถตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2550
ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสัญญา ได้มอบหมายให้ บริษัท เคที เป็นผู้ดำเนินการโครงการฯ เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560-31 ส.ค. 2566 รวม 6 ปี 95 วัน
บริษัท เคที ได้ให้สิทธิ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) เป็นผู้เดินรถ ระยะเวลาสัญญา 6 ปี เริ่มวันที่ 1 ก.ย. 2560-31 ส.ค. 2566
สัญญาจ้างเดินรถจะหมดวันที่ 31 ส.ค.2566
2 ก.พ. 2567 บีทีเอส ชนะประมูล วงเงิน 465 ล้านบาท สัญญาจ้าง 5 ปี คาด เริ่มเดินรถ ก.ค. 2567

เส้นทาง brt สายสาทร-ราชพฤกษ์

เส้นทาง BRT มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร จำนวน 12 สถานี

1. สาทร

2. อาคารสงเคราะห์

3. เทคนิคกรุงเทพ

4. ถนนจันทน์

5. พระราม 3

6. วัดด่าน

7. วัดปริวาส

8. วัดดอกไม้

9. สะพานพระราม 9

10. เจริญราษฎร์

11. สะพานพระราม 3

12. ราชพฤกษ์

สำหรับเส้นทางเดินรถบีอาร์ที ล่าสุด จะมีการยืดหยุ่นมากขึ้น จะวิ่งในเส้นทางบีอาร์ทีปัจจุบัน และออกไปรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถประจำทางได้ด้วย ซึ่งตัวรถบีอาร์ที รุ่นใหม่จะมีประตูขึ้นลงได้ทั้งสองฝั่ง สามารถรับส่งผู้โดยสารที่สถานีบีอาร์ที โดยใช้ประตูฝั่งขวาด้านคนขับ หากเข้าจอดที่ป้ายหยุดรถประจำทางสามารถใช้ประตูด้านซ้ายขึ้นลงได้อีกด้วย

นอกจากนี้จะมีการยืดเส้นทางถึงต้นถนนสาทร ตัดถนนพระราม 4 เพื่อรับส่งผู้โดยสารจากอาคาร สำนักงาน ขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่ง อย่างไรก็ตามจะไม่เน้นวิ่งระยะทางยาว แต่จะควบคุมความถี่ไม่ให้รถขาดระยะส่งผลกระทบต่อการให้บริการ

ทำไม BRT ไม่เก็บเงิน

สืบเนื่องจากค่าดำเนินการในการจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูง อาจจะต้องเก็บค่าโดยสารที่สูง จึงให้ขึ้นฟรี ส่วนหนึ่งเป็นการช่วยบรรเทาเรื่องปัญหาจราจร และเป็นการช่วยเหลือประชาชนด้วย

ขอบคุณที่มา : วิกิพีเดีย, บีทีเอส
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2024 2:44 pm    Post subject: Reply with quote

รอบีอาร์ทีโฉมใหม่ ใช้รถเมล์ไฟฟ้าติด GPS ขยายไปถึง MRT ลุมพินี
Source - ผู้จัดการออนไลน์
Tuesday, February 06, 2024 14:11

ในเดือนกรกฎาคม 2567 เตรียมพบกับรถโดยสารด่วนพิเศษ บีอาร์ที โฉมใหม่ ใช้รถเมล์ไฟฟ้า ติด GPS พร้อมขยายเส้นทางจากสถานีสาทร ถึงสถานีรถไฟฟ้าลุมพินี จอดรับ-ส่งป้ายรถเมล์ หลังกลุ่มบีทีเอสชนะประมูล

วันนี้ (6 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 2 ก.พ. กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท พบว่าในวันดังกล่าวมีผู้เสนอราคา 2 ราย ได้แก่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด หรือ บีทีเอสซี ในกลุ่มบริษัทบีทีเอส และ บริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ปรากฏว่า บีทีเอสซี เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท ขณะที่บริษัท ไทย สมายล์ เสนอราคาวงเงิน 488 ล้านบาท

โดยนับจากนี้จะตรวจสอบเอกสารและลงนามในสัญญา จากนั้นบีทีเอสซี จะต้องจัดหารถใหม่เป็นรถโดยสารปรับอากาศขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (อีวี) แบบมีประตู 2 ด้าน เพื่อให้สามารถเปิดรับส่งผู้โดยสารฝั่งทางเท้าได้ จำนวนไม่น้อยกว่า 23 คัน ภายในเวลา 6 เดือน เพื่อให้ทันเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2567 โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 สำหรับค่าโดยสาร กทม. จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

สำหรับเส้นทางเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) มีระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เริ่มต้นเส้นทางจากสถานีช่องนนทรี บริเวณแยกสาทร-นราธิวาส ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกนราธิวาส-พระราม 3 เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ข้ามสะพานพระรามที่ 3 ลงมาถนนรัชดาภิเษก-บุคคโล สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนรัชดาภิเษก โดยมีสถานีโดยสารทั้งหมด 14 สถานี แบ่งเป็น 12 สถานีเดิม และก่อสร้าง 2 ป้ายรถโดยสารใหม่ ได้แก่ สถานีแยกจันทน์-นราธิวาสราชนครินทร์ และ สถานีแยกนราธิวาสราชนครินทร์-รัชดาภิเษก

ส่วนเส้นทางที่ 2 ตั้งแต่แยกทางด่วนสาธุประดิษฐ์ ถึง แยกนราธิวาสราชนครินทร์-รัชดาภิเษก ถึงสถานีสาทร เลี้ยวขวาไปตามถนนสาทร ถึงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี และเพิ่มเส้นทางไปสถานีนราราม 3 ในชั่วโมงเร่งด่วน รวมทั้งเส้นทางส่วนต่อขยายในอนาคต จากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี ไปตามถนนวิทยุ ถึงรถไฟฟ้าสายสีเขียว (สุขุมวิท) สถานีเพลินจิต โดยช่วงสถานีสาทร ถึงสถานีราชพฤกษ์ จะรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานี โดยใช้ประตูรถทางด้านขวา ส่วนช่วงถนนสาทรเป็นต้นไปจะหยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่หยุดรถประจำทางตลอดแนวเส้นทาง โดยใช้ประตูรถทางด้านซ้าย

โดยจะให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ความถี่ในการให้บริการไม่เกินกว่า 15 นาทีต่อคัน โดยช่วงเวลาเร่งด่วนไม่เกินกว่า 10 นาทีต่อคัน ช่วงนอกเวลาเร่งด่วนไม่เกินกว่า 15 นาทีต่อคัน โดยต้องเชื่อมต่อระบบ GPS แสดงตำแหน่งผ่านแอปพลิเคชันที่กรุงเทพมหานครกำหนด ทั้งนี้ เส้นทางที่ 2 ซึ่งออกนอกเส้นทางเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ในบางช่วง จะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อรับส่งผู้โดยสารจากอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่หลายแห่ง รวมทั้งออกไปรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายหยุดรถประจำทางได้ด้วย ซึ่งตัวรถรุ่นใหม่มีประตูขึ้นลงได้ทั้งสองฝั่ง

สำหรับโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) เริ่มต้นขึ้นสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อปี 2550 ใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท ก่อนทดลองให้บริการเดินรถในปี 2553 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปี 2554 มีระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร มีทางวิ่งเฉพาะรถโดยสารด่วนพิเศษ BRT กว้าง 3.2-3.5 เมตร ยกเว้นบริเวณสะพานข้ามแยก กำหนดให้ช่องทางขวาสุดเป็นช่องเดินรถมวลชน มีสถานีให้บริการรวม 12 สถานี มีระบบเชื่อมโยงกับระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติ เพื่อให้การเดินรถมีความคล่องตัว มีรถโดยสารแบบเครื่องยนต์ยูโรทรี พลังงานก๊าซเอ็นจีวี 23 คัน

อย่างไรก็ตาม หลังเปิดให้บริการพบว่าโครงการประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง ปีละกว่า 200 ล้านบาท อีกทั้งระบบไม่สามารถทำเวลาได้ เนื่องจากมีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประชาชนลักลอบใช้เส้นทางเพื่อหนีรถติด เพิ่มปัญหาการจราจรบนถนนทั้งถนนนราธิวาสราชนครินทร์ และถนนพระรามที่ 3 ทำให้ กทม. จะยกเลิกโครงการในวันที่ 1 เม.ย. 2560 แต่กระแสสังคมคัดค้านจึงเลื่อนแผนออกไปก่อน กระทั่งให้บริการมาอย่างต่อเนื่อง โดยสมัย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ กทม. คิดค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย และสมัยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้จัดประกวดราคาดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2024 10:23 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.เล็งชงมหาดไทยเสนอแนวทางบริหารสายสีเขียว หลัง BTS ใกล้หมดอายุสัมปทาน
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
Wednesday, February 07, 2024 18:36

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า กทม.เตรียมพิจารณาแนวทางบริหารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก่อนที่สัญญาสัมปทานที่ทำไว้กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จะหมดอายุในปี 2572 หรือก่อนหมดอายุสัมปทาน 5 ปี โดยได้สั่งการให้รองผู้ว่าราชการ ทำการศึกษา เพื่อพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งในส่วนที่เป็นเส้นทางหลักที่อยู่ในสัมปทาน และส่วนต่อขยายที่ว่าจ้าง BTSC เดินรถถึงปี 85 ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมว่าจ้างที่ปรึกษา คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาซึ่งคาดไม่น่าเกิน 5 เดือน และจากนั้นจัดตั้งคณะกรรมการ ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ จึงจะเสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

ขณะเดียวกัน คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ม.44 ที่ให้กทม.เจรจากับ BTSC ในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เข้าใจว่าเรื่องค้างอยู่ที่ ครม.อยู่แล้ว ซึ่งได้รวมเรื่องการจ่ายหนี้ งานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 หรือ E&M ซึ่งหลังจากสภากทม. อนุมัติการจ่ายเงินส่วนนี้ออกไป คำสั่ง ม.44 น่าจะเปลี่ยนไป อย่างไรก็ดีสุดท้าย ครม.ต้องพิจารณาทั้งหมด

"อยากจะทำให้รอบคอบ ตอนนี้ก็ถึงเวลา 5 ปีแล้วก่อนอายุสัมปทานจะหมดลงในปี 72 โดยจะเข้าพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ โดยจะทำการศึกษาสายสีเขียวดูภาพรวมทั้งหมด ได้ข้อสุปก็ตั้งคณะกรรมการฯ และนำเข้าครม.พิจารณา" ผู้ว่าฯ กทม. ระบุ
นายชัชชาติ ยังกล่าวว่าในวันพรุ่งนี้ (8 ก.พ.) กทม.จะหารือระหว่างสำนักการจราจรและขนส่ง บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) และ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) พื่อเจรจาจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเงินภายใต้กรอบงบประมาณ ในโครงการงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวนเงิน 2.3 หมื่นล้านบาท โดยสภากทม.ให้ กทม.เร่งจ่ายโดยเร็ว เพราะเกรงจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชันนั้น กทม.กำลังศึกษาอยู่ และคาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่มาก เพราะเป็นเส้นทางที่ใช้แนวตรงกลางที่มีอยู่ ซึ่งกรมทางหลวงชนบทเป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ เบื้องต้นคาดว่าจะทำในรูปแบบ PPP

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเงิน ช่วงบางนา-สุวรรณภูมิ และสายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ กทม.จะโอนให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ เพราะมีแนวเส้นทางตัดผ่านโครงข้ายของ รฟม.และเรื่องจ่ายค่าแรกเข้า ก็จะทำให้สะดวกมากกว่า

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร และผู้อำนวยการใหญ่ สายธุรกิจ MOVE ของ BTS คาดว่า บริษัทจะได้รับเงินค่า E&M จำนวน 2.3 หมื่นล้านบาทภายใน มี.ค.67 หรือไตรมาส 4 งวดปี 66/67 (ม.ค.-มี.ค.67) โดยจะทำให้บริษัทมีกระแสเงินสดมากขึ้น แต่คงไม่ช่วยงบกำไรขาดทุนเพราะบันทึกไปก่อนหน้าแล้ว

โดย เสาวลักษณ์ อวยพร/รัชดา คงขุนเทียน/กษมาพร กิตติสัมพันธ์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44654
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/02/2024 10:25 pm    Post subject: Reply with quote

เขตจตุจักรตั้งถังขยะพร้อมจัดเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความสะอาดทางขึ้นลงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ม.เกษตรศาสตร์
Source - ข่าวประชาสัมพันธ์ในประเทศ
Wednesday, February 07, 2024 17:44

นางสาวภัทร์กร สินสุข ผู้อำนวยการเขตจตุจักร กทม.กล่าวกรณีสื่อออนไลน์โพสต์ภาพขยะจำนวนมาก บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่า สำนักงานเขตฯ ได้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะบริเวณทางเท้าหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ช่วงหน้าทางขึ้น-ลงสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถนนพหลโยธิน โดยนำถังรองรับขยะมูลฝอย ประกอบด้วย ถังขยะทั่วไป ถังขยะเศษอาหาร ถังขยะอินทรีย์ ถังและถังวัสดุรีไซเคิล พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ตรวจตราดูแลรักษาความสะอาดบริเวณดังกล่าวและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อสร้างความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่

ที่มา: กรุงเทพมหานคร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42751
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2024 2:18 pm    Post subject: Reply with quote

งบจ่าย BTS ผ่านวาระ 2-3 23,488 ล้านบาท-กทม.ประชุมเคทีต่อวันนี้
ข่าวทั่วไทย กทม.
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันพฤหัสบดี ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 09:59 น.

เมื่อวันที่ 7 ก.พ.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภา กทม. สมัยประชุมสามัญสมัยแรก ครั้งที่ 6 ประจำปี 2567 นายนภาพล จีระกุล สก.เขตบางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะ ก.ก.วิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่อง งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พ.ศ. ... รายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญ การใช้จ่ายงบประมาณโครงการงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 เพื่อให้ที่ประชุมสภา กทม.พิจารณาในวาระที่สองและวาระที่สาม โดยมีสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณา โดยคณะกรรมการวิสามัญฯ ได้ให้ข้อสังเกตกับ กทม. ประกอบด้วย 1. กทม.ควรประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนถึงเหตุผลความจำเป็นในการใช้จ่ายงบประมาณโครงการงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 และ 2.กทม.ควรเร่งใช้จ่ายงบประมาณโครงการงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 ให้เรียบร้อยโดยเร็ว โดยดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

นายนภาพลระบุว่า ร่างข้อบัญญัติจะตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 พ.ศ. ...เป็นจำนวนไม่เกิน 23,488,692,200 บาท เป็นรายจ่ายพิเศษจ่ายจากเงินสะสมจ่ายขาดของ กทม. เพื่อให้ กทม.ใช้ในการรับมอบทรัพย์สินระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 และชำระค่างานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ตามโครงการดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณาร่างข้อบัญญัติฉบับนี้ โดยยึดหลักความถูกต้องตามกฎหมาย คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นประโยชน์สูงสุดและเห็นชอบให้ผ่านงบประมาณนี้ โดยไม่มีคณะกรรมการฯสงวนความเห็นเพื่อวินิจฉัย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นที่ประชุมสภา กทม.มีมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติดังกล่าว โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวภายหลังการประชุมว่า จะรับข้อสังเกตจากสภา กทม.ไปดำเนินการ โดยวันที่ 8 ก.พ.67 จะมีการประชุมกับสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามกรอบชำระหนี้ไม่เกินวงเงินดังกล่าว เมื่อข้อบัญญัติเสร็จสมบูรณ์แล้วจะรายงานให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) รับทราบความคืบหน้าต่อไป เพื่อให้ มท.ดำเนินการตามที่เห็นสมควร.

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
กทม.ทุ่ม 1.4หมื่นล้าน ลุยต่อขยายสายสีเขียว “บางหว้า-ตลิ่งชัน”บูมฝั่งธนฯ
ฐานเศรษฐกิจ
20 มกราคม 2567

ลุ้นสภากทม.อนุมัติขยายสายสีเขียว“บางหว้า-ตลิ่งชัน“
*กทม.ขอใช้งบปี 68ศึกษา(PPP) 7.5กม.1.4หมื่นล้าน
*พร้อมชงหนี้ค่าติดตั้งระบบ2.3หมื่นล้านเข้าสภาด้วย
*ส่วนหนี้จ้างเดินรถ&ซ่อมบำรุงรอศาลปกครองสูงสุด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/921766249400610

กทม.ชงสภาฯเคาะพรุ่งนี้ ‘แผนจ่ายหนี้’ BTS
Source - กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
Tuesday, January 23, 2024 14:47
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... , 155, 156, 157  Next
Page 156 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©