Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13265041
ทั้งหมด:13576324
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 74, 75, 76 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/05/2018 10:18 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กทม.เล็งเปิด “สกายวอล์ก” ยาวที่สุดในกรุงเทพฯ ก.ค.นี้ อยู่ที่แยกบางนา
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 09:30:
ปรับปรุง: วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 10:57:


กทม.รื้อเกณฑ์เชื่อมสกายวอล์กบีทีเอส ยึดต้นแบบรฟม.ค่าฟีจุดละ 30 ล้าน-แห่ยื่น 7 ราย
วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - 07:16 น.


ฟุตปาทลอยฟ้า - การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่และรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเพิ่มระยะทางมากขึ้น ทำให้โครงการอสังหาริมทรัพย์ในแนวเส้นทางมีความต้องการขอทำทางเชื่อมสกยวอล์ก ซึ่งเป็นเทรนด์การพัฒนาโครงการในยุคปัจจุบัน
แห่ลงทุนสร้างทางเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส กทม.รื้อเกณฑ์ใหม่ใช้โมเดล รฟม. เป็นต้นแบบ เก็บค่าแรกเข้าเป็นก้อนแห่งละ 30 ล้าน จ่ายค่าเช่ารายปี ปรับเพิ่มปีละ 5-10% ยาว 15 ปี เผยมี 7 รายรอใบอนุญาต เจ้าพ่อชาเขียวอิชิตัน “ตัน ภาสกรนที” ขอพ่วงสถานีทองหล่อ เทียบหน้าตึก T-One ดีเดย์ มิ.ย.นี้เปิดใช้ทางเดินเชื่อมหมอชิต ยาว 480 เมตร


นายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กทม.อยู่ระหว่างปรับหลักเกณฑ์การขอเชื่อมทางเดินลอยฟ้า (sky walk) กับรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งหมด เนื่องจากปัจจุบันมีหน่วยงานราชการ บีทีเอสและบริษัทเอกชนในแนวเส้นทางขออนุญาตก่อสร้างจำนวนมาก จึงต้องปรับหลักเกณฑ์ให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย

“เดิมในแนวเส้นทางเป็นสัมปทานกับบีทีเอส ทางเอกชนที่จะสร้างทางเชื่อมจะดำเนินการผ่านบีทีเอส ซึ่งบีทีเอสจะเสนอโครงการมาให้ กทม.ออกใบอนุญาตให้ แต่หากเป็นส่วนต่อขยายที่กทม.ลงทุนเอง มีช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และตากสิน-บางหว้า เอกชนจะยื่นขออนุญาตมาที่ กทม. รวมถึงส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคตด้วย”

แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าวว่า ขณะนี้ร่างปรับปรุงระเบียบการคิดค่าตอบแทนจากการให้เอกชนสร้างสกายวอล์กเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งโครงข่ายแล้วเสร็จอยู่ระหว่างการพิจารณาของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. หากได้รับอนุมัติจะออกเป็นประกาศกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที เมื่อเอกชนรายไหนจะขอสร้างสกายวอล์กเชื่อมบีทีเอส หรือต่อสัญญาจะต้องใช้หลักเกณฑ์ใหม่นี้ ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนมาขอสร้างสกายวอล์กอยู่หลายแห่ง




“แนวคิดที่ใช้มี 2 แนวคิด คือ 1.หากต้องการอำนวยความสะดวกให้คนเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าจะคิดในราคาที่ถูก และ 2.หากต้องการให้ กทม.มีรายได้เพิ่มจะต้องเก็บในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งทางผู้ว่าฯยังไม่สรุปจะเลือกแนวทางไหน ซึ่งรายละเอียดที่ปรับปรุงจะมีค่าธรรมเนียม ค่าดูแลรักษา ทำความสะอาด ให้เป็นมาตรฐาน หากเป็นการต่อเชื่อมใหม่จะมีคิดค่าเชื่อมเพิ่ม เป็นต้น”

ทั้งนี้ ในเกณฑ์เดิม กทม.ออกประกาศเป็น “การอนุญาตและค่าตอบแทนการสร้างทางเชื่อมระหว่างระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร” ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2555 มีสาระสำคัญ เช่น ความกว้าง ต้องเพียงพอต่อการสัญจรและเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 (2542) ภายใต้ พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2524 ฯลฯ ความสูง รถดับเพลิงเข้า-ออกได้สะดวก ฯลฯ

ด้านค่าตอบแทนคิดอยู่ที่ 5-25% ของมูลค่างานก่อสร้าง รวมทั้งมีค่าตอบแทนรายปีอีกปีละ 4% ของราคาประเมินที่ดินบริเวณทางเชื่อมที่ก่อสร้าง

สำหรับอัตราผลตอบแทนใหม่ กทม.ใช้รูปแบบเดียวกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่เรียกเก็บเป็นก้อน และคิดค่าเช่ารายปี โดย รฟม.คิดค่าตอบแทนแห่งละ 30 ล้านบาท ให้เช่าพื้นที่เป็นระยะเวลา 15 ปี และต่อได้อีก 15 ปี มีเงื่อนไขจ่ายเงินก้อนแรกวันเซ็นสัญญา 20% จากนั้นคิดผลตอบแทนรายปี ปรับเพิ่มปีละ 5-10%

ส่วนของบีทีเอสซีจะพิจารณารายสถานี มีค่าเชื่อมทางเฉลี่ย 100,000-120,000 บาท/ตร.ม. ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 40,000-60,000 บาท/ตร.ม.



แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปัจจุบันมีโครงการสกายวอล์กที่บีทีเอสกำลังขออนุญาตจาก กทม. และเอกชนที่ยื่นมายัง กทม.โดยตรง รวมจำนวน 7 โครงการ ได้แก่ 1.สถานีเพลินจิตเชื่อมกับอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 2.สถานีอ่อนนุชเชื่อมกับศูนย์การค้าเซ็นจูรี่พลาซ่า 2

3.สถานีอโศกเชื่อมกับโรงแรมโซฟิเทล กรุงเทพฯ สุขุมวิท 4.สถานีทองหล่อ เชื่อมกับอาคารสำนักงาน T-One ของนายตัน ภาสกรนที 5.สถานีชิดลมเชื่อมโรงแรมโนโวเทลกับโครงการสกายวอล์กบางกอกสกายไลน์ 6.สถานีชิดลมเชื่อมกับอาคารเดอะมาร์เก็ตอยู่ด้านข้างห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ราชดำริ กับโครงการสกายวอล์กบางกอกสกายไลน์ และ 7.สถานีบางจากที่บริษัทบางจากขอสร้างสกายวอล์กเชื่อมกับอาคารเอ็ม ทาวเวอร์

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ภายในเดือน มิ.ย.ทางบีทีเอสจะเปิดสกายวอล์กเชื่อมสถานีหมอชิต ระยะทาง 480 เมตร ใช้เงินลงทุนกว่า 200 ล้านบาท สร้างทางเชื่อมเกาะใต้โครงสร้างรถไฟฟ้าขนานไปกับเกาะกลาง ถนนพหลโยธิน เชื่อมสถานีหมอชิตถึงซอยพหลโยธิน 18 เข้ามอลล์ในโครงการเดอะไลน์ หมอชิต-จตุจักร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2018 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดหนี้ก้อนโต 1.1 แสนล้าน กทม.เซ็งลี้ BTS แลกสัมปทาน
คอลัมน์ ดาต้าเบส
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 09:06 น.

ยังต้องลุ้นกันอย่างระทึกสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) จะรับโหวตหนี้โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วง “แบริ่ง-สมุทรปราการ” และ “หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต” หรือไม่ ในห้วงเวลาที่เหลือการประชุมอีก 2 นัด คือ วันที่ 23 พ.ค.และวันที่ 30 พ.ค. 2561 ซึ่งกระทรวงคมนาคมยื่นเดดไลน์ให้ “กทม.” รีบเคลียร์ปัญหาภายในบ้านให้จบในเดือน พ.ค.นี้

ถ้าหลุดจากนี้ทาง “รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” เตรียมแผนสำรองจะเปิดประมูลให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อเข็นรถไฟฟ้าสายนี้เปิดหวูดภายในเดือน ธ.ค.นี้


แต่ไม่ว่าจะอยู่ในอ้อมกอดของ “กทม.หรือ รฟม.” แต่ชื่อชั้น “บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ” หรือบีทีเอสซี ดูมีภาษีเหนือกว่าเอกชนรายอื่น

เนื่องจากกุมสัมปทานพื้นที่ไข่แดงใจกลางเมืองไว้ในมือ ยิ่งรัฐมีนโยบายให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่องโดยที่ประชาชนผู้ใช้บริการไม่ต้องลง ยิ่งหนุนส่งให้บีทีเอสกุมชัยไปกว่าครึ่ง

ว่ากันว่าสาเหตุที่ทำให้สภา กทม.ยังไม่ทุบโต๊ะจะรับโหวตหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น เป็นเพราะมูลหนี้ที่มีมูลค่าร่วม 111,715 ล้านบาท (ดูตารางประกอบ) ซึ่งเกินขีดความสามารถของ กทม.ที่มีรายได้ร่วม 79,047 ล้านบาทจะรับไหว

ที่สำคัญงบประมาณทุกบาททุกสตางค์มีโครงการที่ตั้งงบผูกพันไว้และนำไปใช้ในภารกิจอื่น ๆ ทั้งด้านความสะอาด จราจร แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การศึกษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

ที่ผ่านมาสภา กทม.จะขอรับภาระหนี้แค่งานระบบมูลค่ากว่า 30,000 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนหนี้ค่าก่อสร้างงานโยธากว่า 60,000 ล้านบาท ให้ผู้บริหาร กทม.เจรจารัฐรับภาระให้เหมือน รฟม.

สวนทางกับมติที่ประชุมคณะผู้บริหาร กทม. พร้อมจะรับโอนหนี้ทั้งหมด แต่ขอให้รัฐขยายเวลาการชำระคืนหลังปี 2572 เนื่องจากสัมปทานบีทีเอสจะสิ้นสุดลง ซึ่งทรัพย์สินและรายได้ค่าโดยสารทั้งหมดจะเป็นของ กทม.ทั้งหมด จะสามารถมีรายได้มาชำระหนี้คืนให้กับรัฐบาลได้ รวมถึงขอให้รัฐจัดเงินอุดหนุนให้ กทม.จากการดำเนินงานในระยะเวลานับจากวันที่ 10 มิ.ย. 2558 จนถึงวันที่ 5 ธ.ค. 2572 โดย กทม.ประเมินว่าจะมีผลขาดทุนในช่วง 10 ปีแรก ประมาณ 21,134 ล้านบาท

ขณะเดียวกันทางกระทรวงการคลังโยนโจทย์ให้ กทม.เจรจาบีทีเอสเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ในส่วนงานระบบ ที่จะต้องจ่ายในปี 2563

ความคืบหน้าล่าสุด “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ผู้ว่าฯ กทม. หัวหน้าคณะเจรจากับบีทีเอส กล่าวว่า รอสภา กทม.พิจารณาอนุมัติร่างข้อบัญญัติรับโอนหนี้ แต่ด้วยวงเงินหนี้สูง และ กทม.ไม่มีงบประมาณพอ มีแนวคิดให้เอกชนเข้ามารับสัมปทานส่วนต่อขยายและรับภาระหนี้ทั้งหมด วิธีนี้จะทำให้ กทม.ไม่ต้องออกค่าใช้จ่าย ขณะที่เอกชนจะมีรายได้จากค่าโดยสารไปชำระหนี้คืนรัฐได้

นอกจากนี้ กทม.มีแนวคิดจะจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งโครงข่ายเก่าและส่วนต่อขยายใหม่ที่จะรับโอนโครงการจาก รฟม.ตามระยะทาง จ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว คิดอัตราสูงสุดไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย เพราะเมื่อเปิดใช้บริการส่วนต่อขยายใหม่ระยะทางจะเพิ่มขึ้นเป็น 67 กม. และมี 55 สถานี จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนถูกลง เพราะหากเก็บตามปัจจุบันจะเสียค่าแรกเข้าหลายต่อ เมื่อใช้ทั้งโครงข่ายค่าโดยสารจะอยู่ที่ 146 บาท แต่หากรวมเป็นเส้นทางเดียวกัน ทำให้ค่าโดยสารถูกลง และจูงใจให้คนมาใช้


__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2018 9:30 am    Post subject: Reply with quote

Presentation ของ BTS เมษายน 2561
http://bts.listedcompany.com/misc/presentation/20180409-bts-management-presentation-201804.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2018 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นขาดอายุความ “วิญญัติ” ยื่นหนังสือ ป.ป.ช. ทวงคดี “ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์” สอบทุจริตสัญญาบีทีเอส

วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - 13:23 น.

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายวิญญัติ ชาติมนตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ยื่นหนังสือขอทราบความคืบหน้ากรณีกล่าวหา ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกับพวก กรณีทุจริตต่อสัญญาโครงการระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพมหานคร หรือ บีทีเอส ซึ่ง ป.ป.ช. ได้รับสำนวนการสอบสวนคดีพิเศษ จากกรมสอบสวนคดีพิเศษมาตั้งแต่ปี 2556 แต่ปัจจุบันไม่มีความเคลื่อนไหวของการไต่สวนข้อเท็จจริงในเรื่องนี้จาก ป.ป.ช.


นายวิญญัติ กล่าวว่า ขอให้ ป.ป.ช.ไม่เลือกปฏิบัติ ปัจจุบันคดีนี้ระยะเวลาล่วงเลยนานถึง 5 ปีเศษแล้ว การไต่สวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กลับไม่มีความคืบหน้าและชี้แจงต่อสาธารณชน จนอาจเกิดข้อกังขาต่อประชาชนและสังคมเป็นอย่างยิ่ง และอาจทำให้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจไม่ได้รับความไว้วางใจและขาดความเชื่อมั่นจากประชาชน ว่าจะสามารถเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และเท่าเทียม จึงมาขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องเรื่องนี้ ได้แถลงให้ประชาชนทราบความคืบหน้าในเรื่องนี้ และขอให้เร่งไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2018 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส" พร้อมประมูลรถไฟทุกโครงการ ตั้งเป้าผู้นำขนส่งมวลชน!
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 -08:50

บีทีเอส กรุ๊ป มาตามนัดประกาศกำไรสุทธิปี 60/61 ทะลุ 4,416 ล้านบาท โต 120% โชว์ความแข็งแกร่งทุกกลุ่มธุรกิจเดินหน้า สร้างรายได้ปี 61/62 เติบโตต่ออีก 200% ดันกำไรจากผลการ ดำเนินงานปกติของบีทีเอส กรุ๊ป โตเฉลี่ยปีละ 25% ปักธงเป็น ผู้ให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดของประเทศ พร้อมเข้าร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าทุกโครงการ

นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยผลการดำเนินงานงวดปี 60/61 (1 เม.ย.60-31 มี.ค.61) ว่า มีกำไรสุทธิ 4,416 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 120% จากปีก่อน เป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนและธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงมีการรับรู้กำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,880 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมจากการดำเนินงานของ กลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีรายได้ 14,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,496 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 64% จากปีก่อน

ทั้งนี้ หากแยกเป็นกลุ่มธุรกิจจะพบว่า ธุรกิจระบบขนส่งมวลชนมีรายได้รวม 9,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 115% หรือเพิ่มขึ้น 4,875 ล้านบาท จากปีก่อน มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและจากการรับเหมาติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ ขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณา 3,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท หรือ 30% จากปีก่อน และแม้ไม่รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทยังคงมีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่เพิ่มขึ้นถึง 78% เป็น 2,515 ล้านบาท

“คณะกรรมการบริษัทยังมีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายประจำปี 60/61 ไม่เกิน 2,922 ล้านบาท หรือ 0.185 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงินปันผลไม่เกิน 4,876 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังอนุมัติให้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ BTS-W4 จำนวน 1,755 ล้านหน่วย จัดสรรให้กับผู้ถือหุ้นเดิม”

นายกวิน กล่าวว่า ด้วยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ทำให้บีทีเอสมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันกำไรสุทธิได้บรรลุตามเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้ คือมีกำไรจากการดำเนินงานปกติโตเฉลี่ยปีละ 25% และคาดว่ารายได้ปีนี้จะโตก้าวกระโดดถึง 200% จะยังคงมาจากธุรกิจหลัก คือระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งจะบันทึกรายได้จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง

ส่วนความคืบหน้าส่วนต่อขยายเส้นทางสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ตลอดสายเดือน ธ.ค.ปีนี้ และเส้นทางสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต) คาดว่าสถานีแรกคือสถานี 5 แยกลาดพร้าว จะเปิดให้บริการได้ต้นปี 62 จากการเปิดให้บริการทั้งสองช่วงนี้ จะทำให้ผู้โดยสารมีความสะดวกในการเดินทางจากเส้นทางที่ครอบคลุมและเชื่อมต่อกันมากขึ้น

“เป้าหมายกลุ่มบีทีเอสคือ การเป็นผู้นำในการให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดของประเทศ ดังนั้นจึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงทุกโครงการ เพราะถือเป็นธุรกิจหลักที่บีทีเอสมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด โดยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งเงินทุน พันธมิตร และ เทคโนโลยี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้านอกจากจะเป็นตัวขับเคลื่อนสร้างรายได้หลักให้บริษัทแล้ว ยังสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจสื่อโฆษณาและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กลุ่ม BTS ด้วย”

สำหรับธุรกิจสื่อโฆษณาภายใต้การบริหารงานของ บมจ.วีจีไอ โกลบอล มีเดียนั้น ได้ตั้งเป้ารายได้ภายใน 3 ปีนี้จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 10,000 ล้านบาท ในงวดปี 63/64 เพิ่มขึ้นจากงวดปี 60/61 ที่มีรายได้ราว 4,000 ล้านบาท

ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น หลังจากปรับโครงสร้างและโอนสินทรัพย์ของกลุ่มบีทีเอสให้มาอยู่ภายใต้ บมจ.ยูซิตี้แล้ว บีทีเอส กรุ๊ปจะถือหุ้นในราว 39% โดยพอร์ตของยูซิตี้มีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันมีโรงแรมภายใต้การ บริหารรวมกันกว่า 19,000 ห้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2018 3:50 am    Post subject: Reply with quote

BTS ร้อนแรง! จนลืมภาพ TYONG พันธมิตร ‘บีเอสอาร์’ ดันอนาคตสดใส
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561 20:14:




ผู้จัดการรายวัน 360 องศา - ณ ชั่วโมงนี้ต้องยกให้ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เป็นหุ้นที่ร้อนแรงในกระดานซื้อขาย หลังบริษัทประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 1/61 ออกมาอย่างโดดเด่น ส่งผลให้ปริมาณความต้องการถือครองหุ้นของบริษัทพุ่งสูงขึ้นเป็น Volume Alert พร้อมสร้างฐานราคาใหม่ในรอบ 2 ปี

ปัจจัยที่ส่งผลให้ BTS กลายเป็นหุ้นขวัญใจมหาชนนักลงทุน เริ่มจากการประกาศงบกำไรสุทธิไตรมาสแรกปีนี้ที่ระดับ 4.41 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 120 % เมื่อเทียบปีที่ผ่านมา และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จากค่ายต่าง ๆประมาณการณ์ โดยเหตุผลสำคัญที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมาจากบริษัทบันทึกกำไรพิเศษสูงถึง 2.86 พันล้านบาท จากการขายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้บริษัทในเครือนั่นคือ บมจ.ยู ซิตี้ (U)

ไม่เพียงเท่านั้น BTS ยังได้ประกาศจ่ายปันผลและให้วอแรนท์ชุดที่ 4 โดยกำหนดเงินปันผลงวดล่าสุด 0.185 บาท/หุ้น ขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 1 ส.ค. และจ่าย 16 ส.ค.61 พร้อมกับแจก BTS-W4 โดยขึ้น XW วันที่ 1 ส.ค. เช่นกัน ในสัดส่วน 9 หุ้นเดิม ต่อ 1 โดย BTS-W4 อายุ 1 ปี ราคาใช้สิทธิที่ 10.50 บาท

“กวิน กาญจนพาสน์” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTS ให้เหตุผลต่อผลดำเนินงานในงวดล่าสุดว่า เป็นผลจากการขยายตัวดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนและธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงมีการรับรู้กำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1.88 พันล้านบาท ขณะที่รายได้รวมจากการดำเนินงานของ กลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญที่ระดับ 1.41 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.49 พันล้านบาท หรือ 64% จากปี 2560

เมื่อแยกธุรกิจต่าง ๆ ของกลุ่มบีทีเอส พบว่า ในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนบริษัทมีรายได้ 9.11 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 115 % หรือ 4.87 พันล้านบาทจากปีก่อน ซึ่งมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและจากการรับเหมาติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ ขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาอยู่ที่ระดับ 3.90 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท หรือ 30% จากปีก่อน ทำให้โดยรวมบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่เพิ่มขึ้นถึง 78% เป็น 2.51 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับกำไรจากการปรับปรุงโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จึงทำให้ผลดำเนินงานโดดเด่นจนนำไปสู่การประกาศจ่ายปันผล 0.185 บาท/หุ้นหรือคิดเป็นมูลค่ารวม 4.87 พันล้านบาท

“ด้วยผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง ทำให้บีทีเอสมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันกำไรสุทธิได้บรรลุตามเป้าหมายระยะยาวที่ตั้งไว้ คือมีกำไรจากการดำเนินงานปกติโตเฉลี่ยปีละ 25% และคาดว่ารายได้ปีนี้จะโตก้าวกระโดดถึง 200% โดยยังคงมาจากธุรกิจหลัก คือระบบขนส่งมวลชน และการบันทึกรายได้จากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลือง...เป้าหมายกลุ่มบีทีเอสคือ การเป็นผู้นำในการให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดของประเทศ ดังนั้นจึงมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงทุกโครงการ เพราะถือเป็นธุรกิจหลักที่บีทีเอสมีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด เรามีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งเงินทุน พันธมิตร และ เทคโนโลยี ซึ่งโครงการรถไฟฟ้านอกจากจะเป็นตัวขับเคลื่อนสร้างรายได้หลักให้บริษัทแล้ว ยังสามารถต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจสื่อโฆษณาและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายใต้กลุ่ม BTS ด้วย”

ขณะที่ธุรกิจสื่อโฆษณาภายใต้การบริหารงานของ บมจ.วีจีไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) นั้น ได้ตั้งเป้ารายได้ภายใน 3 ปีนี้จะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1 หมื่นล้านบาทในช่วงปี 2563/2564 จากปี 2560-2561 ที่มีรายได้ระดับ 4 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลังจากปรับโครงสร้างและโอนสินทรัพย์ของกลุ่มบีทีเอสให้มาอยู่ภายใต้ บมจ.ยูซิตี้ (U) แล้ว บีทีเอส กรุ๊ปจะถือหุ้นในราว 39% โดยพอร์ตของ U จะมีขนาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจุบันมีโรงแรมภายใต้การ บริหารรวมกันกว่า 1.9 หมื่นห้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สิ่งที่น่าสนใจ นอกเหนือจากการประกาศผลดำเนินงานไตรมาส 1/61 ที่เกินคาด นั่นคือกรณีที่คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ได้อนุมัติลดทุนจดทะเบียนโดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่าย หลังจากนั้นให้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 7.27 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ 6.33 หมื่นล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุน 2.35 พันล้านหุ้น พาร์หุ้นละ 4 บาท แบ่งเป็น จัดสรรไม่เกิน 1.76 พันล้านหุ้น รองรับการใช้สิทธิแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน (วอแรนต์) หรือ BTS-W4 ที่จะออกจำนวน ไม่เกิน 1.76 พันล้านหน่วย ให้ฟรีแก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (RO) ในอัตราส่วน 9 หุ้นเดิมต่อ 1 หน่วย อายุ 1 ปี มีอัตราการใช้สิทธิ 1 หน่วย ต่อ 1 หุ้น ที่ราคาใช้สิทธิหุ้นละ 10.50 บาท

ส่วนหุ้นเพิ่มทุนที่เหลือจำนวนไม่เกิน 592 ล้านหุ้น จะเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีแหล่งเงินทุนที่สามารถใช้ในการรองรับแผนการลงทุนเพื่อขยายกิจการในอนาคตได้อย่างทันกาล โดยบริษัทมีแผนการที่จะนำเงินทุนที่จะได้รับจากการเพิ่มทุนไปใช้ในการลงทุนในโครงการต่างๆ เพื่อขยายกิจการ

ขณะที่ปัจจัยซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มความโดดเด่นและอัตราการเติบโตของผลดำเนินงานในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญ คือ การเข้าร่วมการเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) มูลค่า 2.24 แสนล้านของรัฐบาลโดยมีพาร์ทเนอร์กลุ่มบริษัทร่วมลงทุนคือ บีเอสอาร์ ในเรื่องดังกล่าว “คีรี กาญจนพาสน์” ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) แสดงความเห็นว่า ตอนนี้อยู่ระหว่างการรอศึกษาทีโออาร์อย่างละเอียด แต่มั่นใจในประสบการณ์และเรื่องระบบราง ประกอบกับมีกลุ่มบริษัทร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างอย่าง บมจ.ซิโน-ไทย (STEC) ร่วมลงทุนด้วย จึงไม่มีปัญหา

สำหรับ กลุ่มร่วมลงทุนบีเอสอาร์ ประกอบไปด้วยบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 50% มี บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH ซึ่งในกลุ่มนี้มีความพร้อมแหล่งเงินทุน เทคโนโลยี ประสบการณ์การทำธุรกิจ ทำให้ผู้บริหารใหญ่ของ BTS มั่นใจว่าจะสามารถสู้กับคู่แข่งในไทยและต่างชาติได้

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ยังชักชวนให้บริษัทร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ตอบตกลง อย่างไรก็ตามได้มีการพูดคุยกันเบื้องต้นไปแล้ว

“กลุ่มบีเอสอาร์คุยกันตกลงว่าให้เราไปด้วยกันทุกโครงการ และยิ่งมี ปตท. เข้ามาด้วยดีเข้าไปอีกยิ่งสบายมาก ส่วนต่างประเทศถ้าจะร่วมลงทุนต้องมีข้อเสนอเช่น ขายระบบถูก 50% เราอาจจะพิจารณา”

โดยรวมการประกาศถึงอนาคตการดำเนินการที่สดใสจากแผนธุรกิจระยะยาวของ BTS รอบนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะไม่เกิดขึ้นเฉพาะ BTS เท่านั้น แต่บริษัทในเครืออย่าง VGI และ U จะได้รับอานิสงส์จากโปรเจกต์ยักษ์ของบริษัทแม่ไปด้วย

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ปัจจุบัน BTS คือบริษัทจดทะเบียนที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีมีอนาคตสดใส พร้อมเข้าประมูลระบบขนส่งมวลชนทุกโครงการ แม้จะเป็นโครงการลงทุนหลายแสนล้านบาทเพราะมีพันธมิตรมากมายที่พร้อมจะร่วมลงทุน ขณะที่ VGI ที่ดำเนินธุรกิจสื่อโฆษณานอกบ้านและธุรกิจบริการด้านดิจิทัล ที่ผ่านมาสามารถสร้างผลกำไรได้ต่อเนื่อง จ่ายเงินปันผลผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ มีเพียง U ที่ดำเนินธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น ที่ผลประกอบการยังย่ำแย่ ขาดทุนหลายปีติดต่อ แต่ผู้บริหารเชื่อว่าผลประกอบการจะเริ่มฟื้นตัวกลับทุกสิ่งเหล่านี้ ล้วนมาจากฝีมือของชายที่ชื่อ “คีรี กาญจนพาสน์” จริงๆ

ต้องยอมรับว่า ตอนนี้ “คีรี” เปลี่ยนจากเจ้ามือหุ้น TYONG ที่แทบตกอยู่ในสภาพสิ้นไร้ไม้ตอก เมื่อประมาณ 20 ปีก่อนกลายมาเจ้าพ่อรถไฟฟ้าอย่างเต็มภาคภูมิ หลังจากฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจปี 2540 จนรอดมาได้ พร้อมนำพา บมจ.ธนายง (TYONG) ที่กลายร่างเป็น BTS ในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างงดงาม จากราคาปิดก่อนเข้าแผนฟื้นฟูของ TYONG ที่เหลือเพียง 1.00 บาท / หุ้น ทั้งที่เคยขยับขึ้นไปถึง 544 บาท / หุ้น และการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรกที่ราคา 133 บาท พาร์ 10 บาท หรืออาจกล่าวได้ว่า BTS ในวันนี้ ไร้ประวัติด่างพร้อย ไม่เหมือนกับ TYONG ที่ทำให้นักลงทุนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ด้วยการเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ ผลดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง ปันผลดี แนวโน้มผลดำเนินงานสดใส พิสูจน์ได้จากความไว้ใจของนักลงทุนที่เข้าถือหุ้นเฉียด 8 หมื่นราย สูงกว่า TYONG ในสมัยก่อนที่มีผู้ถือเพียงไม่กี่พันรายเท่านั้น

บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มธุรกิจของ BTS อย่างน่าสนใจว่า ด้านฐานะการเงิน อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนยังอยู่ในระดับต่ำเป็น 0.3 เท่า ขณะที่การขายหุ้นเพิ่มทุนแบบ PP อีก 592 ล้านหุ้น ถือว่าไม่มากเพราะคิดเป็น 5% จากหุ้นในปัจจุบัน แต่สิ่งที่ต้องติดตามคือเป้าหมายบริษัทในปีหน้าสิ้นสุด มี.ค.62 คือเติบโตสูง ในทุกประเภทธุรกิจ เริ่มจากธุรกิจรถไฟฟ้า ผู้โดยสารเพิ่ม 4-5% ราคาค่าโดยสารเพิ่ม 1.5-2.0% โดยมีปัจจัยบวกคือ รายได้รถไฟฟ้าสายชมพู-เหลือง ซึ่งจะบันทึกเป็นปีแรกในจำนวน 2.0-2.5 หมื่นล้านบาท ในส่วนของงานโยธา และเครื่องกล ทำให้แนวโน้มรถไฟฟ้าสีชมพู-เหลืองปีแรกจะไม่ขาดทุน อีกทั้งมีดอกเบี้ยรับมาช่วยเสริม จากรายได้เครื่องกล (E&M) รถไฟฟ้าสายสีเขียว 7-9 พันล้านบาท รายได้โฆษณา (VGI) 4.4-4.6 พันล้านบาท และรายได้ U 6-7 พันล้านบาท

ด้านรายได้บริหารเดินรถคาดว่าจะเติบโต 30 % เนื่องจากธันวาคม 2561จะเริ่มมีรายได้บริหารเดินรถสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เต็มเส้นทางเป็นเวลา 4 เดือน และปีถัดไปเต็มปี ส่วนสีชมพู-เหลือง คาดจะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ทำให้ต้องปรับประมาณการสำหรับปี 61-62 และ 62-63 ดีขึ้นในอัตรา 13% และ 11% ตามลำดับ

สมมุติฐานที่ดีขึ้นคือ อัตรากำไรขั้นต้นธุรกิจการให้เช่าและบริการโฆษณาให้เพิ่มเป็น 56.8% เช่นเดียวกับดอกเบี้ยรับที่ปรับเพิ่มขึ้นตามดอกเบี้ยจ่าย เพราะดอกเบี้ยรับที่เกิดขึ้นจากการตั้งภาครัฐเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชดเชยค่าก่อสร้างส่วนโยธาสายสีชมพู-เหลืองในอนาคตเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ และดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการลงทุนในส่วนเครื่องกล การจัดหารถ ก็สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ได้ (capitalize) สิ่งเหล่านี้ ทำให้ราคาพื้นฐานใหม่ของ BTS เพิ่มขึ้นเป็น 11.00 บาท/หุ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2018 1:47 pm    Post subject: Reply with quote

BTS เล็งเปลี่ยนบัตรโดยสารเป็นชิปการ์ด
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 05:02 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS เปิดเผยว่า รถไฟฟ้า BTS กำลังศึกษาเพื่อจัดทำระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวแบบชิปการ์ดแทนระบบบัตรโดยสารแบบแม่เหล็กที่ใช้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง และสายสีชมพู แคราย-มีนบุรีได้ ซึ่งคาดบัตรชิปการ์ดจะเริ่มเปิดใช้ได้ในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนบัตรโดยสารรายเดือน หรือบัตรแรบบิท ก็ยังคงมีอยู่ ไม่ได้ยกเลิกไป

นอกจากนี้ยังเตรียมติดตั้งตู้ซื้อบัตรโดยสารเพิ่มอีก 52 ตู้ ที่สามารถใช้ธนบัตรซื้อบัตรโดยสารได้ด้วย และกำลังศึกษาระบบใหม่ในการซื้อบัตรโดยสารที่เคาน์เตอร์แลกเหรียญ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร

โดยรถไฟฟ้า BTS อยู่ระหว่างรับมอบขบวนรถไฟฟ้าใหม่ 46 ขบวน รวม 184 ตู้ เป็นมูลค่ารวมประมาณ 11,000 ล้านบาท ซึ่งได้ทำสัญญาซื้อตั้งแต่ปี 2559 เป็นขบวนรถไฟฟ้าของบริษัท ซีเมนส์ จำกัด 22 ขบวน และบริษัท ซีอาร์อาร์ซี ฉางชุน เรลเวย์เวฮิเคิล จำกัด 24 ขบวน ซึ่งได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าแล้ว 2 ขบวน โดยจะนำไปวิ่งทดสอบระบบในเดือนกรกฎาคมนี้ หากผ่านการทดสอบก็จะเริ่มทยอยรับขบวนรถไฟฟ้าใหม่ในช่วงสิ้นปีนี้ จนครบทั้ง 46 ขบวน ในปี 2562

หลังได้รับมอบขบวนรถไฟฟ้าครบทั้งหมดแล้วจะทำให้ BTS มีขบวนรถไฟฟ้าให้บริการทั้งระบบ 98 ขบวน รวม 392 ตู้ สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงวันละ 800,000 คน จะช่วยให้สามารถระบายผู้โดยสารได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเปิดให้บริการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ เส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ เส้นทางหมอชิต-คูคต ซึ่งขณะนี้ทั้ง 2 เส้นทางอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2018 12:36 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
BTS เล็งเปลี่ยนบัตรโดยสารเป็นชิปการ์ด
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 05:02 น.



ล้ำไปอีก! บีทีเอสเตรียมเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียวจากบัตรแม่เหล็กเป็นบัตรสมาร์ท การ์ด ชนิดบาง
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 15:50 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (Thin Card) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิทการ์ดหรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้นและรองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณ ปลายปี 2561 นี้ และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต – คูคต และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมดให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และ สถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานีโดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน




นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กล่าวว่า การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋วและประตูอัตโนมัติเข้า และออกสถานี ที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็กรวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ก็ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้นในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต และบริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 3:19 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
BTS เล็งเปลี่ยนบัตรโดยสารเป็นชิปการ์ด
วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 05:02 น.



ล้ำไปอีก! บีทีเอสเตรียมเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียวจากบัตรแม่เหล็กเป็นบัตรสมาร์ท การ์ด ชนิดบาง
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 15:50 น.


บีทีเอส" ทยอยเปลี่ยนบัตรโดยสารเที่ยวเดียว "แตะเข้า - สอดออก" แทนแถบแม่เหล็ก
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เวลา 19:41


รถไฟฟ้าบีทีเอส เตรียมเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง ทยอยเปลี่ยน 8 สถานีแรกเดือนนี้ แล้วเสร็จ พ.ย. นี้ ผู้โดยสารเข้าประตูสถานีเปลี่ยนจากเสียบบัตรเป็นแตะบัตรเพื่อเปิดประตู ถึงปลายทางสอดบัตรเพื่อคืนเหมือนเดิม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส เปิดเผยว่า บริษัทฯ จะเปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียวจากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (ThinCard) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิท หรือบัตรทั่วไป เพื่อเปลี่ยนเป็นบัตรเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น รองรับการใช้งานในส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสำโรง-สมุทรปราการ ซึ่งจะเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2561 และเตรียมไว้สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย–มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง

การเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียวนี้ บริษัทฯ จะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมด ให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 50 ตู้ เพื่อติดตั้งตามสถานีต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส พร้อมกันไปด้วย ซึ่งจะเริ่มทยอยเปลี่ยนตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2561 ใน 8 สถานีแรก คือ สถานีสยาม สถานีช่องนนทรี สถานีกรุงธนบุรี สถานีวงเวียนใหญ่ สถานีตลาดพลู สถานีบางหว้า สถานีอุดมสุข และ สถานีแบริ่ง จากนั้นก็จะขยายไปจนครบทุกสถานี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2561 รวมระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน

การเปลี่ยนระบบนี้จะทำให้ตู้จำหน่ายตั๋ว และประตูอัตโนมัติเข้าและออกสถานีที่กำลังเปลี่ยนไม่สามารถใช้ตั๋วโดยสารเที่ยวเดียวแบบแถบแม่เหล็ก รวมทั้งบัตรโดยสารประเภท 1 วันได้ แต่ยังคงใช้บัตรแรบบิทได้ ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดแผนทยอยสลับเปลี่ยนไปตามสถานีต่างๆ เพื่อให้เกิดผลกระทบกับผู้โดยสารน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกที่จะเกิดขึ้น ในช่วงของการปรับเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารบ้าง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งานร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายอื่นๆ ในอนาคต บริษัทฯ ขอเชิญชวนให้ทุกคนใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเงิน ซึ่งขณะนี้มีโปรโมชั่นลดค่าโดยสาร 1 บาทต่อ 1 เที่ยวการเดินทาง ซึ่งมีราคาถูกกว่าซื้อทีละครั้ง และมีความสะดวกและประหยัดเวลามากกว่า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบัตรโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส แบบเที่ยวเดียว ใช้บัตรแถบแม่เหล็กนับตั้งแต่เปิดการเดินรถครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542 หรือเมื่อ 19 ปีก่อน โดยจะต้องกดปุ่มเลือกสถานี และหยอดเหรียญที่เครื่องจำหน่ายตั๋ว ก่อนจะรับตั๋วในรูปแบบแถบแม่เหล็ก นำบัตรไปสอดที่ช่องเสียบบัตรบริเวณประตูเข้าสู่ชานชาลา แล้วรับบัตรเพื่อให้ประตูเปิดออกมา ก่อนจะโดยสารรถไฟฟ้า เมื่อถึงสถานีปลายทาง ให้นำบัตรไปสอดที่ประตูทางออกสถานีเพื่อคืนบัตร ประตูจะเปิดเพื่อออกจากระบบรถไฟฟ้า แม้บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน และบัตรโดยสารประเภท 30 วัน จะเปลี่ยนรูปแบบไปใช้ระบบไมโครชิปไร้สายอาร์เอฟไอดี (RFID) แต่ยังคงใช้บัตรแถบแม่เหล็ก สำหรับบัตรโดยสารเที่ยวเดียว และบัตรโดยสารประเภท 1 วัน

อย่างไรก็ตาม หลังการเปลี่ยนระบบบัตรโดยสารเที่ยวเดียว มาใช้บัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง เวลาเข้าสู่ประตูสถานีจะใช้วิธีแตะบัตรเพื่อเปิดประตู แทนการสอดบัตรแถบแม่เหล็กที่ใช้กันมานาน 19 ปี แต่เมื่อถึงสถานีปลายทางเพียงแค่สอดบัตรเพื่อออกจากสถานีเหมือนเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2018 3:38 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าขัดข้อง! ระหว่างสถานีพร้อมพงษ์-อโศก แนะเผื่อเวลาเดินทาง
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 18:59

วันนี้ (15 มิ.ย.) เวลา 18.40 น. เกิดเหตุรถไฟฟ้าขัดข้องระหว่างสถานีพร้อมพงษ์ กับสถานีอโศก ซึ่งเจ้าหน้าที่กำลังเร่งแก้ไขให้กลับมาใช้บริการได้อีกครั้ง



ทั้งนี้ ผู้โดยสารควรเผื่อเวลาในการเดินทาง เนื่องจากขบวนรถจะล่าช้ากว่าเดิมประมาณ 10 นาที
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 74, 75, 76 ... 155, 156, 157  Next
Page 75 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©