RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181549
ทั้งหมด:13492787
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 108, 109, 110 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 17/11/2020 8:25 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
บีทีเอสทวงค่าจ้างเดินรถส่วนขยาย กทม.ไม่มีเงินต้องขอรัฐบาล 8 พันล้าน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:34น.



กทม. จ๋อย ยอมรับไม่มีเงินจ่าย ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 8,000 ล้าน
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:38 น.
ส่อวุ่น กทม.เตรียมหยุดเดินรถไฟฟ้า ”สายสีเขียว” ส่วนต่อขยาย
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:38 น.

กทม.รับศึกหนัก หลังแบกหนี้ 8,000 ล้านบาท เหตุ BTS ทวงค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ลั่นอาจหยุดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ขณะที่สายสีทองเตรียมเปิดให้บริการวันที่ 16 ธ.ค.นี้"

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหาร ถึงความคืบหน้าการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เต็มระบบว่า จากผลทดสอบการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ส่วนต่อขยาย จากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ถึง สถานีคูคต ไม่พบปัญหาแต่อย่างใด

ซึ่งตามกำหนดเดิมจะเปิดให้บริการวันที่ 16 ธ.ค. นี้ โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แต่กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

เนื่องจาก บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) ผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้ทำหนังสือทวงถามค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ซึ่งเริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันเป็นเงินกว่า 8,000 ล้านบาท

หากกทม.ไม่จ่าย บริษัทขู่ว่าอาจจำเป็นต้องหยุดวิ่งให้บริการ ซึ่งยอมรับว่าขณะนี้ กทม.ไม่มีเงินจ่าย ต้องขอเงินสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลมอบให้กทม.รับผิดชอบเดินรถ และส่วนที่เปิดให้บริการไม่ได้เก็บค่าโดยสารแต่อย่างใด


Last edited by Wisarut on 18/11/2020 11:08 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 10:53 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” งัด 4 ประเด็นค้าน “มหาดไทย” ต่อสัมปทาน BTS
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 - 19:24 น.
ครม.ไฟลุก! คมนาคมค้าน มท.-กทม.ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 - 18:10 น.

ข้อมูลไม่เคลียร์! ครม.เบรกต่อสัญญา BTS เดินรถสีเขียว “คมนาคม” ติงค่าโดยสาร 65 บาท
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 - 19:41



ครม.ตีกลับต่อสัญญา BTS เดินรถไฟฟ้าสีเขียว 30 ปี มหาดไทยถึงเรื่องทบทวนเพิ่มเติม หลัง “คมนาคม” ตั้งข้อสังเกต 4 ประเด็น ติงค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายไม่ถูกจริง ขณะที่พบทำขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ไม่ครบถ้วน ชี้ยังมีคดีที่ ป.ป.ช.หวั่นมีปัญหาในอนาคต

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 17 พ.ย.ได้มีการพิจารณาผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แต่เนื่องจากยังมีข้อสังเกตจากผู้เกี่ยวข้องในหลายประเด็นที่ยังไม่สามารถชี้แจงได้อย่างชัดเจน ทำให้ ครม.ยังไม่สามารถพิจารณาอนุมัติต่อสัญญาเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้ กระทรวงมหาดไทยจึงได้ถอนเรื่องกลับมาทบทวนและทำข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง

สำหรับข้อเสนอการต่อสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จากสิ้นสุดสัญญาปี 2572 ต่อไปอีก 30 ปี หรือจนถึงปี 2602 กำหนดอัตราค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท รวมระยะทาง 66.4 กิโลเมตร โดยเอกชนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล (E&M) สำหรับส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งหมด รวมถึงภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่กรุงเทพมหานครมีต่อกระทรวงการคลังเป็นจำนวนไม่เกิน 44,429 ล้านบาท

รายงานข่าวแจ้งว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการสอบถามความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ทำความเห็นรวม 4 ข้อ โดยที่ประชุม ครม.ได้นำความเห็น และข้อสังเกตมาหารือ ซึ่งพบว่ามีหลายประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน เช่น กรณีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ 2562 ครบถ้วนแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีคำสั่งมาตรา 44 ในเรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพื่อให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น แต่ยังคงต้องคงหลักการให้ครบถ้วนตามรายการและขั้นตอนที่ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ กำหนดให้ทำ

ขณะที่ไม่มีการวิเคราะห์โครงการในเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (ERR) และอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FRR) รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสาร และราคาค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อประชาชนอย่างไร

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องอัตราค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายคงที่ตลอดอายุสัมปทานนั้น มีข้อสังเกตว่าหากในอนาคตมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น รายได้ส่วนที่จะเพิ่มขึ้นจะเป็นอย่างไร ขณะที่หากเปรียบเทียบค่าโดยสาร 65 บาท กับอัตราค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินระยะทาง 48 กม. เก็บสูงสุดที่ 42 บาท

กระทรวงคมนาคมจึงเห็นว่าการคิดอัตราค่าโดยสารควรที่จะมีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และจากการศึกษาพบว่าปัจจุบันผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางรถไฟฟ้าจำนวน 130 บาทต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ

ดังนั้น เมื่อมีการเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารระหว่างการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบันพบว่ามีระยะทางเพียง 50 กม. เก็บค่าโดยสารเพียง 42 บาท ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีระยะทาง 15 กม. และจะหมดสัญญาสัมปทานระหว่าง BTS กับภาครัฐจะหมดลงในอีก 9-10 ปีข้างหน้า จึงไม่มีความจำเป็นที่จะขยายสัญญาสัมปทานให้เอกชนอีก 30 ปี

อีกทั้งการใช้วิธีเจรจานั้นไม่มีการปรียบเทียบข้อมูลที่ครบถ้วน หรือข้อมูลจากการเจรจากับเอกชนรายอื่น ซึ่งไม่สามารถระบุได้ว่าการให้บีทีเอสดำเนินการนั้นดีที่สุด

ประเด็นสำคัญคือยังมีข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณี กทม.ได้ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ไปจนถึงปี 85 และได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะมีผลกระทบต่อสัมปทานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อสัญญา จึงเห็นว่าควรรอผลการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนแล้วพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

วุ่น "คมนาคม" ค้าน ขยายสัมปทาน รถไฟฟ้า BTS"
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 - 05:05 น.

ศักดิ์สยาม รมว.คมนาคม ค้าน กระทรวงมหาดไทย-คลังเสนอ แลกหนี้ 1 แสนล้าน ค่าโดยสาร65บาทตลอดสาย หลัง กทม.อ่วมหนัก ค้างค่าจ้างเดินรถ 8,000ล้านติดต่อกัน3ปี ยัน ครม.รับทราบแล้ว"

ครม.ไฟลุก! คมนาคมค้าน มท.-กทม.ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี"
“ศักดิ์สยาม”ยันไม่ได้ขวาง “มหาดไทย-คลัง” ต่อสัญญา BTS แจงเป็นความเห็นเพิ่มประกอบ ครม.ให้สมบูรณ์ เผย 4 ประเด็นที่ต้องชัด “ทำตามกฎหมาย ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท แพงไป รัฐเสียโอกาสใช้สินทรัพย์ รอป.ป.ช.ชี้มูลจ้างเดินส่วนต่อขยาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่17 พ.ย.2563 การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางกระทรวงการคลังได้นำผลเจรจาสัมปทานสายสีเขียวทั้งโครงการระหว่างกระทรวงมหาดไทยโดยกรุงเทพมหานคร(กทม.) กับบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) ที่เจรจาแล้วเสร็จตามคำสั่งคสช.

โดยจะขยายสัมปทานให้ 30 ปีหลังสัมปทานเดิมสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค.2572 ถึงปี 2602 โดยเอกชนจะรับภาระหนี้ค่าก่อสร้างสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคตที่กทม.รับโอนโครงการมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)และค่าใช้จ่ายอื่นกว่า1แสนล้านบาทแทนกทม.

ทั้งนี้ที่ประชุมครม.รับทราบ แต่ให้ทำข้อมูลเพิ่มเติมเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาต่อไป เนื่องจากวันที่ 16 พ.ย.2563 กระทรวงคมนาคมโดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ทำความเห็นประกอบการเสนอครม. 4 ประเด็น จากการศึกษาข้อมูลมาแล้ว

หวั่นทำไม่ถูกกฎหมาย
1. ความครบถ้วนตามหลักการพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562) การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2562 ที่ให้ถือว่าการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับดังกล่าว เป็นการทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนนั้น พบว่า การดำเนินการตามคำสั่งฉบับดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากมีการเจรจา

ดังนั้น กระทรวงคมนาคมเห็นว่า สมควรให้เจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและความรอบคอบในการวิเคราะห์โครงการในเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) และอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) รวมไปถึงแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสารและค่าโดยสารที่เป็นธรรมก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 และมาตรา 27 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561


ค่าโดยสาร65 บาทแพงไป
2.ค่าโดยสารที่เหมาะสม กระทรวงคมนาคมเห็นว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท มีราคาสูงกว่าราคาโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จึงเห็นว่าการพิจารณาค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมต่อประชาชน สมควรพิจารณาภายใต้ข้อเท็จจริงดังนี้

ควรคิดค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากปัจจุบันต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าถึง 130 บาท/วัน หรือประมาณ 35% ของรายได้ขั้นต่ำ 300 บาท

ควรวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงและลดหรืองดค่าแลกเข้าต่างๆ เพื่อให้อัตราค่าโดยสารสูงสุดที่กำหนดไว้ที่ 65 บาทมีการปรับลดลงมา ซึ่งรถไฟฟ้าเส้นนี้ถือเป็นเส้นทางหลักอยู่แล้วย่อมมีผู้โดยสารใข้บริการมากขึ้นในอนาคต

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวผ่านจุดคุ้มทุนมาแล้ว โดยมีผู้ใช้บริการมากถึงวันละ 800,000-1,000,000 เที่ยวคน/วัน (ตัวเลขก่อนโควิดระบาด) แต่เก็บค่าโดยสารสูงสุดมากถึง 65 บาท เมื่อเทียบกับสายสีน้ำเงินที่มีผู้ใช้บริการประมาณ 300,000 คน/วัน แต่เก็บค่าโดยสารสูงสุดเพียง 42 บาทเท่านั้น จึงเชื่อว่าอัตราค่าโดยสารดังกล่าววสามารถลดราคาลงได้อีก

รัฐเสียประโยชน์ไม่ได้ทรัพย์สิน
3. การใช้สินทรัพย์ของรัฐภายหลังรับโอนจากเอกชนเมื่อหมดสัญญาสัมปทานปี 2572 กรณีนี้อาจทำให้สินทรัพย์ที่รัฐควรจะได้รวม 68.25 กม. ประกอบด้วย 1)สินทรัพย์เดิมของรัฐ 23.5 กม. 2) สินทรัพย์ของบจ.กรุงเทพธนาคม 12.75 กม.(ส่วนต่อขยายสายสีลม)

และ 3) สินทรัพย์ที่ได้รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 32 กม. (ส่วนต่อขยายเขียวเหนือ-เขียวใต้) อาจจะทำให้รัฐไม่ได้รับประโยชน์ได้ จึงควรพิจารณาก่อนว่า รัฐจะได้ประโยชน์จากการขยายสัญญาดังกล่าวเท่าไหร่ อย่างไร เพื่อไม่ให้ฝ่ายรัฐสูญเสียประโยชน์

รอป.ป.ช.ตัดสินการจ้างวิ่ง
และ 4.ประเด็นด้านกฎหมาย ควรรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลกรณี กทม.จ้างบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงอ่อนนุช – แบริ่ง ( ลาซาล) และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงตากสิน – วงเวียนใหญ่ก่อน เพราะหากต่อสัญญาไป อาจจะมีผลกระทบย้อนหลังได้

ศักดิ์สยามยันไม่ได้ขวาง
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า กรณีที่กระทรวงคมนาคมเสนอความเห็นการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้น ไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างกระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย เพียงแต่เป็นการเพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่ได้มีการทำข้อมูลให้ครบ หากหน่วยงานที่เสนอเรื่องให้ครม.พิจารณา เพิ่มเติมข้อมูลให้ครบถ้วน ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล

“ไม่ใช่ความขัดแย้งกัน อย่าไปมองแบบนั้น ถ้าสื่อมองแบบนี้ กรณีที่เสนอแผนฟื้นฟูขสมก.ไม่ผ่านก็มองได้ไหมว่า กระทรวงการคลังขัดแย้งกับกระทรวงคมนาคม มันก็ไม่ใช่ เป็นเรื่องของการทำหน้าที่” นายศักดิ์สยามกล่าว


Last edited by Wisarut on 21/11/2020 4:55 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 11:00 am    Post subject: Reply with quote

ปังมากจ้า!!รถไฟฟ้าบีทีเอสให้บริการผู้โดยสารครบ 3.5 พันล้านคน
*21 ปีวิ่งระยะทางรวม 104.38 ล้าน กม.
*ธ.ค.นี้เปิดเพิ่ม 7 สถานีวิ่งยาว 3 จังหวัด
18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 10:51 น.
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2770282349859932
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
บีทีเอสทวงค่าจ้างเดินรถส่วนขยาย กทม.ไม่มีเงินต้องขอรัฐบาล 8 พันล้าน
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:34 น.



กทม. จ๋อย ยอมรับไม่มีเงินจ่าย ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว 8,000 ล้าน
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:38 น.


ส่องเส้นทางเดินรถ BTS จ่อหยุดวิ่ง!

เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 06:05 น.

"รถไฟฟ้าBTSสายสีเขียว ประกาศหยุด เดินรถ BTSC บริษัทลูก บีทีเอสโอลดิ้งส์ มีหนังสือทวงถาม บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด บริษัทลูกของ กรุงเทพมหานคร ค้างค่าจ้าง 8,000ล้านบาท ตั้งแต่ปี2561 สายสีเขียวใต้ -สายสีเขียวเหนือ

BTS รับแบกไม่ไหว 3 ปีไม่ได้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย
เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 07:00 น.
BTS ยอม รับแบกไม่ไหว 3 ปีไม่ได้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า เป็นไปได้อาจหยุดรับจ้างเดินรถ หากกทม.ไม่จ่ายหนี้ 8,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 18/11/2020 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

เจอคณะรัฐมนตรีตีตก!…มหาดไทยลักไก่เสนอขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว 30 ปี!
By JNC Team - M
เผยแพร่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
Note: ทำไมสื่อถึงโกหกกันได้ขนาดนี้?

สัมปทานสีเขียวสะดุด ครม.ร้อนฉ่า! คมนาคมขวางมหาดไทย ต่อสัญญา 30 ปี ส่อปิดดีลไม่ลง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 08:40 น.



สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตีกลับหลายรอบ แม้ผลการเจรจาระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จะได้ข้อสรุปทั้งเงื่อนไขสัญญาโครงการบีทีเอสเดิมและการต่อสัญญาที่ผนวกรวมกับสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ กทม.รับโอนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อีก 30 ปี (2572-2602) หลังมีคำสั่ง คสช.เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เร่งรัดการดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น ซึ่ง ครม.ล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2563 บรรยากาศร้อนฉ่า เมื่อกระทรวงคมนาคมเสนอความเห็นเพิ่มเติม 4 ประเด็น จนทำให้กระทรวงมหาดไทยต้องนำเรื่องกลับไปทบทวน

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 2563 กระทรวงมหาดไทยได้เสนอ ครม.พิจารณาผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแล้วครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่นายปรีดี ดาวฉาย รมว.คลัง เพิ่งเข้ารับตำแหน่งและมี รมต.ใหม่ใน ครม.หลายคน จึงขอนำรายละเอียดข้อตกลงในร่างสัญญาใหม่ไปศึกษาก่อน

การเจรจาสรุปไปแล้ว... เป็นเรื่องของขั้นตอนในการนำเสนอ ครม.เพื่ออนุมัติเท่านั้น

สำหรับการศึกษาวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว แบ่งเป็น 3 ช่วง

1. สายสีเขียวหลัก จำนวน 23 สถานี ระยะทาง 23.5 กม. สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช, สายสีส้ม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน มีบีทีเอสซีรับสัมปทาน 30 ปี (2542-2572)

2. สายสีเขียวต่อขยายที่ 1 จำนวน 11 สถานี 12.75 กม. สายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง, สายสีลม ช่วงตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า ได้จ้างบีทีเอสซีบริหารการเดินรถจนถึงปี 2572 โดยมีเงื่อนไขยกเลิกสัญญาก่อนจากกำหนดสิ้นสุดปี 2585

3. สายสีเขียวต่อขยายที่ 2 จำนวน 25 สถานี ระยะทาง 31.20 กม. เขียวใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ (เคหะฯ) และเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ คูคต

จากการเจรจา ผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย มีค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) ส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต โดยนับเป็นทุนของโครงการ รวมถึงรับภาระดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมของหนี้เงินกู้ที่ กทม.มีต่อกระทรวงการคลัง จำนวน 44,429 ล้านบาท สำหรับช่วงระยะเวลาร่วมลงทุนเดิม นอกจากนี้ ต้องรับผิดชอบค่าปรับปรุงสถานีสะพานตากสินและติดประตูกั้นราว 2,000 ล้านบาท

การเจรจาภายใต้หลักการเดินรถต่อเนื่องรายเดียว โครงสร้างค่าโดยสารเดียว (Single Fare Table) ค่าแรกเข้าครั้งเดียว ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาทตลอดสายสีเขียวทั้ง 3 ช่วง โดยมีค่าแรกเข้า 15 บาท และเก็บตามระยะทาง 3 บาท/สถานี หากยังเก็บอัตราในปัจจุบันอัตราค่าโดยสารสูงสุดทั้งเส้นทางสายสีเขียวจะขึ้นไปถึง 158 บาท/เที่ยว ซึ่งอาจจะทำให้ประชาชนเปลี่ยนไปใช้ระบบโดยสารอย่างอื่นแทน



@เปิดความเห็น “คมนาคม” 4 ประเด็น ติงต่อสัมปทานบีทีเอส 30 ปี

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุถึงความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กรณีที่ขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า จากที่ได้มีการพิจารณาศึกษาการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งพบว่าสัญญาที่ กทม.จ้างเอกชนเดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 จนถึงปี 2585 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเพื่อดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงและข้อพิพาท ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และอาจมีผลกระทบต่อสัญญาสัมปทานบีทีเอสที่อยู่ระหว่างการพิจารณาต่อสัญญา

กรมรางมีความเห็นกรณีการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสใน 4 ประเด็น คือ 1. การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งร่างสัญญาฯ ส่งผลให้สินทรัพย์ทั้งหมดของรัฐไม่ตกเป็นของรัฐเมื่อครบกำหนดตามสัญญาสัมปทานเดิม ซึ่งจะมี 3 ส่วน ระยะทางรวม 68.25 กม. คือ

1. สินทรัพย์เดิมของรัฐ ระยะทาง 23.5 กม.แรก

2. สินทรัพย์ของกรุงเทพธนาคม ระยะทาง 12.75 กม. (สถานีตากสิน-สถานีบางหว้า-สถานีอ่อนนุช-สถานีแบริ่ง)

3. สินทรัพย์ที่ได้รับโอนจาก รฟม. ระยะทาง 13 กม. (สถานีแบริ่ง-สถานีสมุทรปราการ) และระยะทาง 19 กม. (สถานีหมอชิต-สถานีสะพานใหม่-สถานีคูคต)

ประเด็นนี้มีความเห็นว่า กรณีสินทรัพย์ตกเป็นของรัฐในปี 2572 และรัฐให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการ (โครงสร้างโยธา ตัวรถ และระบบเดิม) นั้นจะทำให้เอกชนมีการลงทุนเพิ่มเติมเฉพาะการจัดหาตัวรถในการวิ่งเพิ่มเติมเท่านั้น ซึ่งลงทุนน้อยมากเพราะไม่ต้องลงทุนก่อสร้างงานโยธา

ดังนั้น จึงควรพิจารณาให้เกิดความชัดเจนถ่องแท้ถึงการใช้สินทรัพย์ที่รัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัญญาสัมปทาน เนื่องจากเมื่อครบอายุสัญญาสัมปทานปี 2572 สินทรัพย์ทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐ แต่เมื่อมีการขยายสัมปทาน สินทรัพย์ทั้งหมดจะตกเป็นของเอกชนจนกว่าจะครบอายุสัญญา 30 ปี ซึ่งทำให้รัฐเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับตามสัญญาสัมปทานเดิม

2. ความครบถ้วนตามหลักการของ พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ซึ่งมาตรา 46 และมาตรา 47 กำหนดขั้นตอนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งการดำเนินการต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการวิเคราะห์เชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) และอัตราผลตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสาร และค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรมต่อประชาชน

แม้คณะกรรมการฯ ได้ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2562 ลงวันที่ 11 เม.ย. 2562 ให้ถือเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แล้ว แต่เป็นการดำเนินการภายหลังเจรจา โดยไม่มีการเสนอความเห็น ควรประกวดราคาหรือควรเจรจาต่อรองกับเอกชนรายเดิม

ประเด็นนี้ มีความเห็นว่าควรดำเนินการให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 ที่กำหนดให้ “การดำเนินการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐหรือหน่วยงานรัฐ ให้จัดทำประมาณการสูญรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับเสนอในการขออนุมัติจาก ครม.”

3. การคิดค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรม จากที่กำหนดค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสายเป็นอัตราที่สูงกว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในปัจจุบัน และพบว่าปัจจุบันผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางรถไฟฟ้าจำนวน 130 บาทต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ

จากเงื่อนไขในร่างสัญญาฯ ควบคุมอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย กระทรวงมหาดไทยใช้ข้อมูลในปี 2562 เป็นฐานในการเปรียบเทียบและคำนวณนั้น เห็นว่าในอนาคตเมื่อปริมาณผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ประกอบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นทางหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่น ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่า 65 บาท ดังนั้น การควบคุมอัตราไว้ไม่เกิน 65 บาทตลอดสายจึงควรวิเคราะห์ตันทุนที่แท้จริงเป็นหลัก และพิจารณาการเชื่อมต่อค่าแรกเข้ากำหนดเป็นเงื่อนไขเมื่อมีการเดินทางเปลี่ยนสายทางเพื่อลดภาระให้แก่ประชาชนด้วย

การพิจารณาอัตราค่าโดยสารเมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่น พบว่าปัจจุบันสายสีเขียวเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 21 ปี ซึ่งได้ผ่านจุดคุ้มทุนมาแล้ว มีผู้โดยสารประมาณ 800,000-1,000,000 คน (สถิติก่อนโควิด-19) และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาทตลอดสาย ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีผู้โดยสารประมาณ 300,000 คนต่อวัน และมีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 42 บาทตลอดสาย แต่ยังสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง จึงเห็นว่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวสามารถกำหนดค่าโดยสารที่เป็นธรรมและถูกลงกว่า 65 บาทได้

4. ประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่ง กทม.มีสัญญาจ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายไปจนถึงปี 2585 ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมให้ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เป็น กทม.จ้างเอกชนเดินรถ ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด และการไต่สวนข้อเท็จจริงทางสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งหากมีผลการตัดสินจะมีผลกระทบต่อสัมปทานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการต่อสัญญา จึงควรรอผลการดำเนินคดีเพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนพิจารณาดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

@มหาดไทย-กทม.มั่นใจสะดุดแค่ขั้นตอนเอกสาร

รายงานข่าวแจ้งว่า การนำเสนอ ครม. วันที่ 17 พ.ย. 2563 เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจาก ครม.วันที่ 13 ส.ค. 2563 ที่ติดปัญหามี ครม.ใหม่หลายคน ขณะที่ความเห็นของกระทรวงคมนาคมเพิ่งมีการเสนอไปที่ เลขาธิการ ครม.ก่อนประชุมเพียงวันเดียว ดังนั้น การที่ ครม.ยังไม่มีมติในรอบนี้ได้ เพื่อให้การดำเนินการครบถ้วน โดยกระทรวงมหาดไทยจะต้องทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อชี้แจงกรณีกระทรวงคมนาคมมีความเห็นไว้ และนำเสนอ ครม.อีกครั้ง

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC

“สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BTSC กล่าวว่า ประเด็นค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย บีทีเอสมีระยะทางทั้งหมด 68.25 กม. ส่วนสายสีน้ำเงินมีระยะทางรวม 48 กม. เก็บสูงสุดที่ 42 บาท หากนำค่าโดยสารหารต่อ กม.ใกล้เคียงกัน และสายสีน้ำเงินรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนเฉพาะระบบ แต่สายสีเขียว บีทีเอสต้องรับภาระชำระหนี้ค่างานโยธามูลค่ากว่า 6 หมื่นล้านบาท และยังต้องลงทุนค่างานระบบด้วย

ขณะที่สัญญาสายสีเขียว บีทีเอสจะแบ่งรายได้ให้ กทม.รวมกับหนี้ที่ต้องชำระ เป็นมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท

สำหรับสัญญาสัมปทานใหม่ จะนำเส้นทางเก่าที่สัญญาสิ้นสุดวันที่ 4 ธ.ค. 2572 มารวม แต่จะเริ่มนับสัญญาใหม่ตั้งแต่ปี 2573 เพราะปัจจุบันบีทีเอสนำสัญญาเดิมเข้าไปอยู่ในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรท จึงไม่สามารถจะนำมาทำอะไรได้

อย่างไรก็ตาม ในสัญญาจะมีการแบ่งรายได้ให้ กทม. และจะมีการแบ่งรายได้เพิ่มเติมให้ กทม. หากผลตอบแทนเกินกว่า 9.60% ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตั้งผลตอบแทนไว้ถึง 9.75%

@“ศักดิ์สยาม” หวั่นขั้นตอน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ยังทำไม่ครบ

“ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม กล่าวว่า พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมไปทำการบ้าน ซึ่งคมนาคมได้เคยให้ความเห็นไปก่อนแล้วว่าการดำเนินงานต้องถูกต้อง ครบถ้วนตามกฎหมาย และหลักธรรมาภิบาล ขณะที่เห็นว่าขั้นตอนการดำเนินการ PPP ยังไม่ครบถ้วน ส่วนการใช้มาตรา 44 เพื่อให้ประหยัดเวลา แต่ไม่ได้ให้ละเว้นขั้นตอนที่ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ กำหนดให้ทำ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการให้ครบถ้วนตามระเบียบ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม

กรณีเจรจากับบีทีเอส ผู้เดินรถรายเดิม แต่ไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบกรณีเจรจากับเอกชนรายอื่น ซึ่งรัฐอาจได้ผลประโยชน์และอัตราค่าโดยสารที่ต่ำกว่านี้อีกก็ได้

“เดิมเคยมีการหารือกันว่าจะใช้ PPP แต่ดูเงื่อนเวลาหากเปิด PPP ในขณะนี้ยังทำไม่ได้ เนื่องจากสัญญาปัจจุบันยังเหลืออายุอีก 10 ปี ขณะที่เปิด PPP จะดำเนินการประมูลได้ก่อนหมดสัญญา 5 ปีเนื่องจากจะต้องมีการศึกษารายละเอียด การเปิด PPP ผลตอบแทนต่างๆ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้นจะมาทำก่อนไม่ได้”

อย่างไรก็ตาม หาก กทม.จะไม่รับดำเนินการสายสีเขียวส่วนต่อขยายและให้กระทรวงคมนาคมดูแลเหมือนเดิม พร้อมจะรับดำเนินการไม่มีปัญหา โดยจะเปิดประมูล PPP เลือกเอกชนเข้ามาดำเนินการ

กว่า 1 ปีนับจากที่มีคำสั่งมาตรา 44 เปิดทางให้เร่งการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนเดิมและต่อขยายทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน เจรจาจนได้ข้อสรุป แต่! เมื่อมี 4 ประเด็นจาก คมนาคมติติงเรื่องค่าโดยสาร ปมร้องเรียน ซึ่งคดีทุจริตไม่มีอายุความ ทำให้ยังต้องลุ้นหนัก...ว่าบีทีเอสจะได้เซ็นต่อสัมปทานเมื่อใด...หรือสุดท้าย...จะปิดดีลไม่ลง!


Last edited by Wisarut on 21/11/2020 4:50 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2020 4:37 am    Post subject: Reply with quote

สส.เพื่อไทย ชี้ข้อพิรุธต่อสัมปทานสายสีเขียว-เตือนอย่าเอาปชช.เป็นประกัน
เศรษฐกิจ
เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 18:38 น.

วันที่ 18 พ.ย. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุคลื่นเอฟเอ็ม 101 กรณีครม.นำวาระการพิจารณาต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับบริษัทบีทีเอส อีก 30 ปี ว่า เป็นการบริหารราชการที่ส่อพิรุธ เพราะการนำเสนอเข้าที่ประชุมครม.ดังกล่าวดำเนินการเป็นวาระจร เนื้อหาคือการต่อสัมปทานให้กับบีทีเอส อีก 30 ปี ทั้งที่สัมปทานยังเหลืออยู่อีก 10 ปี เท่ากับว่าบีทีเอส จะได้บริหารสัมปทานทั้งหมด 40 ปี ยังเป็นเรื่องดีที่ครม.ยังไม่มีมติอนุมัติ เพียงให้กระทรวงมหาดไทยกับคมนาคมไปพิจารณาเสนอเข้ามาใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตา

นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีข้อสงสัยอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาฯ ที่มีมติชัดเจนแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการต่อสัมปทานบีทีเอส เนื่องจากสัมปทานเดิมยังเหลืออยู่อีกถึง 10 ปี ไม่มีความจำเป็นใดๆ และยังเสนอด้วยว่าเมื่อหมดสัมปทานก็ควรประมูลใหม่ ให้เกิดการแข่งขัน เพื่อประโยชน์จะได้ตกอยู่ที่ประชาชนได้ใช้รถโดยสารที่ค่าบริการถูกลง แต่ในหลักการที่เสนอกลับให้ยึดค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ทั้งที่เทียบกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มีผู้โดยสารน้อยกว่า คิดค่าบริการตลอดสายเพียง 42 บาทเท่านั้น แต่เอกชนก็ยังมีกำไร

ส.ส.มหาสารคาม กล่าวอีกว่า นอกจากนี้การเสนอต่อครม. กลับอ้างถึงการใช้อำนาจตามม.44 ที่ยกเว้นการใช้พรบ.ร่วมทุนรัฐเอกชน ส่งผลให้เกิดข้อสงสัยในความโปร่งใสต่อการบริหารงาน และไม่มีการประเมินทรัพย์สินระหว่างรัฐและเอกชน แล้วจะตกลงแบ่งผลประโยชน์กันอย่างไร ซึ่งสุดท้ายแล้วประชาชนผู้เสียภาษีก็ต้องมาแบกรับภาระเหล่านี้


“เรื่องนี้มีข้อสงสัยมาตั้งแต่ต้น เดิมส่วนต่อขยายสายสีเขียว อยู่ในความรับผิดชอบของรฟม. ทั้งการขยายไปถึงคูคต จ.ปทุมธานี และเคหะบางปู จ.สมุทรปราการ ซึ่งไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกทม. แต่กลับไปรับมาดูแล พร้อมรับภาระหนี้ 4.5 หมื่นล้านบาท แล้วก็ใช้วิธีต่อสัมปทาน 30 ปี เพื่อให้บีทีเอสรับภาระหนี้แทน รวมทั้งการอ้างว่าไม่มีเงินจ้างเดินรถ จนเป็นหนี้ 8 พันล้านบาท จนเอกชนขู่หยุดวิ่ง เหมือนเอาประชาชนไปเป็นตัวประกัน จึงต้องถามว่าแล้วเงินค่าโดยสารที่เก็บไปตลอดนั้นไปอยู่ที่ไหน”นายยุทธพงศ์ กล่าว และว่า ทั้งนี้แม้ว่าครม.จะยังไม่อนุมัติ แต่เชื่อว่าจะถูกเสนอเข้าครม.ใหม่อีกแน่นอน ซึ่งในฐานะฝ่ายค้านจะจับตาดู เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนคนกทม. ต่อไป


เพื่อไทยย้ำพิรุธต่อสัมปทานบีทีเอส ชี้ฟางเส้นสุดท้ายพังรัฐบาล
เศรษฐกิจ
เผยแพร่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:11 น.


ส.ส.เพื่อไทยย้ำพิรุธต่อสัญญาสัมปทานให้บีทีเอสอีก 30 ปี ทั้งที่เหลืออีก 10 ปี เข้าครม.วาระจร แถมอ้างม.44 งดใช้พรบ.ร่วมทุน เตรียมซักฟอก ฟางเส้นสุดท้ายล้มรบ.

เมื่อวันที่ 20 พ.ย. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีการเสนอครม.อนุมัติต่อสัมปทานรถไฟฟ้าให้บริษัทบีทีเอสไปอีก 30 ปี ว่า ถือว่ามีข้อพิรุธหลายอย่าง เนื่องจากเรื่องดังกล่าวถูกเสนอเข้าครม.เป็นวาระจร เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ และจังหวะที่มีการชุมนุมติดตามผลการประชุมสภา เรื่องต่อสัมปทานซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรพิจารณาเข้ามาเป็นวาระปกติ ไม่ใช่มุบมิบหรือลักไก่เช่นนี้ แถมเป็นการอ้างถึงการคำสั่งคสช.ที่ 3/2562 ที่อ้างถึงอำนาจม.44 ให้ต่อสัมปทานกับบีทีเอสได้ และไม่เข้าเงื่อนไขพ.ร.บ.ร่วมทุนรัฐและเอกชน เท่ากับว่าแม้ประเทศนี้จะมีรัฐบาลเลือกตั้งมาแล้ว 2 ปี ก็ยังอยู่ในวังวน ม.44 ของคสช.

นายยุทธพงศ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีข้อสงสัยว่ามีการจัดฉากหรือไม่ เมื่อกทม.ไปรับภาระหนี้การก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ-ใต้ จากรฟม. ที่ขยายเส้นทางไปยังคูคต จ.ปทุมธานี และเคหะบางปู จ.สมุทรปราการ ที่รฟม.ลงทุนไว้ 4.5 หมื่นล้านบาท อ้างจะรับผิดชอบเอง แต่ต่อมากลับระบุว่าไม่มีเงิน จึงต้องให้บีทีเอสรับผิดชอบแทน แลกกับสัมปทานอีก 30 ปี ทั้งที่สายสีเขียว ถือเป็นรถไฟฟ้าสายที่ดีที่สุด วิ่งผ่านกลางเมืองและสถานที่สำคัญ มีมูลค่าโครงการในอีก 30 ปีอีกนับแสนล้านบาท จึงน่ากังวลแทนคนกทม. แทนที่จะรอให้หมดเวลาสัมปทานซึ่งเหลืออยู่ 10 ปี แล้วประมูลใหม่หาเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับคนกทม. กลับรีบร้อนรวบรัดเข้าครม. แถมในอนาคตจะไม่สามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากงดเว้นการใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ

“กรณีนี้มีพิรุธมากมาย ทั้งที่สัมปทานเหลืออีก 10 ปี ทำไมลุกลี้ลุกลนรีบนำเข้าครม.เป็นวาระจร หรือนายกฯกลัวอุบัติเหตุทางการเมือง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินในวันที่ 2 ธ.ค. ไหนว่ารัฐบาลนี้โปร่งใส ทำไมใช้กฎหมายพิเศษกับผลประโยชน์ประเทศชาติมหาศาล แถมยังเอาประชาชนเป็นตัวประกัน อ้างจะไม่วิ่งรถ เพราะไม่มีเงินจ่ายให้บีทีเอส แล้วค่าโดยสารที่ประชาชนจ่ายไปอยู่ที่ไหนกันหมด พรรคเพื่อไทยจะติดตามตรวจสอบนำไปอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภา เชื่อว่าจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ประชาชนอดทนไม่ไหว ออกมาเคลื่อนไหวกันมากขึ้น”นายยุทธพงศ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 21/11/2020 4:46 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส 21 ปี ให้บริการกว่า 3,500 ล้านเที่ยว-ธ.ค.วิ่งถึงคูคต
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 11:49 น.



รถไฟฟ้าบีทีเอสให้บริการครบ 3,500 ล้านเที่ยวคนแล้ว คิดเป็นระยะทางรวม 100 ล้าน กม. เผย ธ.ค.นี้ เตรียมเปิดให้บริการเพิ่มอีก 7 สถานี ถึงปลายทางคูคต รับผู้โดยสารเพิ่ม 1.5 ล้านคนต่อวัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี กล่าวว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 นี้รถไฟฟ้าบีทีเอสได้เปิดให้บริการผู้โดยสารครบ 3,500,000,000 เที่ยวคน รวมระยะทางกว่า 104,380,000 กิโลเมตร

นับตั้งแต่รถไฟฟ้าบีทีเอสเปิดให้บริการเที่ยวแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542 จนถึงวันนี้ก้าวสู่ปีที่ 21 บริษัทฯ ได้ยึดมั่นมาตรฐานในการให้บริการด้านความปลอดภัยมาเป็นอันดับหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง พร้อมทั้งช่วยลดปัญหาการจราจร และปัญหามลพิษทางอากาศ ถึงแม้ว่าในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมาจะเป็นปีที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อทุกคนในโลกก็ตาม แต่บริษัทฯ ยังคงอยู่เคียงข้างกับผู้โดยสาร และเราก็สามารถก้าวผ่านปัญหาอุปสรรคด้วยกันมาได้อย่างดีจากความร่วมมือของผู้โดยสารทุกท่าน

ตั้งแต่ปี 2562 รถไฟฟ้าบีทีเอสได้เริ่มทยอยเปิดโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่- คูคต ได้แก่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีพหลโยธิน 24, สถานีรัชโยธิน, สถานีเสนานิคม, สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เปิดสถานีเพิ่มอีก 4 สถานี ได้แก่ สถานีกรมป่าไม้, สถานีบางบัว, สถานีกรมทหารราบที่ 11 และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ รวมระยะทาง 58.42 กิโลเมตร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคมนี้ รถไฟฟ้าบีทีเอสเตรียมเปิดให้บริการเพิ่มอีกจำนวน 7 สถานี ต่อจากสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 59, สถานีสายหยุด, สถานีสะพานใหม่, สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ, สถานีแยก คปอ. และสถานีคูคต รวมระยะทาง 9.8 กิโลเมตร เพื่อเป็นการขยายเส้นทางส่งต่อความสุข มอบเป็นของขวัญให้แก่ประชาชน ช่วยลดปัญหาการจราจรโดยเฉพาะโซนด้านเหนือซึ่งเป็นประตูสู่กรุงเทพฯ

เนื่องจากตลอดเส้นทางส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีทั้งสถาบันการศึกษา ห้างสรรพสินค้า สำนักงานราชการ หมู่บ้าน ชุมชน ซึ่งคาดว่าเมื่อเปิดเดินรถไฟฟ้าได้ครบเรียบร้อยแล้วจะช่วยบรรเทาการจราจรให้ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เชื่อมโยงการเดินทางครอบคลุมถึง 3 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารที่มาใช้บริการเพิ่มขึ้นมากกว่า 1,500,000 เที่ยวคนต่อวันอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 1:55 pm    Post subject: Reply with quote

ล่าความจริง“สายสีเขียว” รถไฟฟ้าบนบ่ารัฐบาล“ลุงตู่”
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 13:57:08 น.
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3629
หน้า 6 ระหว่างวันที่ 22-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันอังคารที่ 17 พ.ย. 2563 เขาว่ากันว่าดุเดือดเลือดพล่านจนห้องประชุมคณะรัฐมตรีร้อนระอุมาก เมื่อ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เสนอเรื่องให้พิจารณาเป็น "วาระจร" เรื่องการต่ออายุสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ที่เข้าไปแบกรับภาระหนี้สินและดอกเบี้ยแทนที่บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ร่วม 1 แสนล้านบาท แลกกับการรับสัมปทานการบริหารการเดินรถและยืดอายุสัมปทานตลอดโครงการออกไปอีก 30 ปี โดยคิดราคาค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท ที่ยืดเยื้อมากว่า 1 ปี นับจากคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อเดือน พ.ย.2562 และมีการเสนอ ครม.พิจารณาหลายครั้งแต่ถูกตีกลับไปตีกลับมาหลายระลอก

ข่าววงในที่ประชุมครม.บอกว่า วาระจรการต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่หยิบยกมาหารือกันในครม.ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รอบนี้บรรยากาศลุกเป็นไฟ ร้อนตั้งแต่ พล.อ.อนุพงษ์ กดไมค์เสนอวาระจร และบอกเล่าเรื่องราวถึงความจำเป็นต้องเสนอร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ครม.พิจารณา เพราะเอกชนเข้ามาบริหารจัดการวิ่งรถฟรีมาระยะหนึ่ง และภาระอันหนักอึ้งของกรุงเทพมหานคร ในการแบกรับภาระค่าใช้จ่าย ภาระหนี้สินจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องนี้เพราะรัฐบาลมีกำหนดการจะเปิดให้วิ่งยาวไปสุดสายไปถึงคูคตในช่วงเดือนธันวาคม 2563

ข้อกฎหมายว่าด้วยเรื่อง การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของคสช.ที่ให้ยกเว้นหลักการตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน  (PPP) มาเป็นการต่ออายุสัมปทานเพื่อความรวดเร็วและการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชนอย่างไร้รอยต่อเป็นประเด็นหนึ่ง

ปรากฏว่า ในเรื่องนี้ ผู้แทนอัยการสูงสุดชี้แจงในประเด็นดังกล่าวต่อที่ประชุม ครม.ว่า จากการศึกษาข้อกฎหมายต่างๆ แล้วพบว่า ไม่ขัดหลักของกฎหมายสามารถทำได้ และคำสั่งของคสช.ยังมีผลในทางปฏิบัติอยู่ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ผิดแต่อย่างใด

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม แสดงความเห็นคัดค้าน และเสนอ “ความเห็นเพิ่มเติมกรณีความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ของกระทรวงคมนาคม ตามหนังสือลงเลขรับที่ ธ12490/63 ลงวันที่ 16 พ.ย.2563 โดยเสนอความเห็นไว้ หลายประเด็น

1. ความครบถ้วนตามหลักการพ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 (พ.ร.บ.ร่วมทุน 2562) การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2562 ที่ให้ถือว่าการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับดังกล่าว เป็นการทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนนั้น พบว่า การดำเนินการตามคำสั่งฉบับดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากมีการเจรจา กระทรวงคมนาคมเห็นว่า สมควรให้เจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและความรอบคอบในการวิเคราะห์โครงการในเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) และอัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) รวมไปถึงแหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสารและค่าโดยสารที่เป็นธรรมก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ร่วมทุน 2562 และมาตรา 27 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561

2.ค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท มีราคาสูงกว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เห็นว่าควรพิจารณาให้เหมาะสมเป็นธรรมต่อประชาชนควรคิดค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากปัจจุบันต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าถึง 130 บาท/วัน หรือประมาณ 35% ของรายได้ขั้นต่ำ 300 บาท

นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับสายสีน้ำเงินแล้ว สายสีเขียว ที่มีผู้โดยสารมากกว่า กลับมีราคาค่าโดยสารสูงกว่า และหากสายสีเขียวผ่านจุดคุ้มทุนมาแล้ว โดยมีผู้ใช้บริการมากถึงวันละ 800,000-1,000,000 เที่ยวคน/วัน แต่เก็บค่าโดยสารสูงสุดมากถึง 65 บาท เมื่อเทียบกับสายสีน้ำเงินที่มีผู้ใช้บริการประมาณ 300,000 คน/วัน แต่เก็บค่าโดยสารสูงสุดเพียง 42 บาทเท่านั้น จึงเชื่อว่าอัตราค่าโดยสารดังกล่าวสามารถลดราคาลงได้อีก


3) สินทรัพย์ที่ได้รับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 32 กม. คือ ส่วนต่อขยายเขียวเหนือ-เขียวใต้ อาจจะทำให้รัฐไม่ได้รับประโยชน์ได้ จึงควรพิจารณาก่อนว่า รัฐจะได้ประโยชน์จากการขยายสัญญาดังกล่าวเท่าไหร่ อย่างไร เพื่อไม่ให้ฝ่ายรัฐสูญเสียประโยชน์ทั้งนี้ การใช้สินทรัพย์ของรัฐภายหลังรับโอนจากเอกชนเมื่อหมดสัญญาสัมปทานปี 2572 กรณีนี้อาจทำให้สินทรัพย์ที่รัฐควรจะได้รวม 68.25 กม. ประกอบด้วย
1)สินทรัพย์เดิมของรัฐ 23.5 กม.
2) สินทรัพย์ของบจ.กรุงเทพธนาคม 12.75 กม. (ส่วนต่อขยายสายสีลม)

4.ประเด็นด้านกฎหมาย ควรรอให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลกรณี กทม.จ้างบมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เดินรถส่วนต่อขยายที่
1 ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง (ลาซาล) และส่วนต่อขยายที่
2 ช่วงตากสิน-วงเวียนใหญ่ก่อน เพราะหากต่อสัญญาไป อาจจะมีผลกระทบย้อนหลังได้

ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ จึงไปขวนขวายหาข้อมูลความเป็นจริงจากกทม.และกระทรวงมหาดไทย ได้ความตามนี้

ข้อ 1 ประเด็นความครบถ้วนตามหลักการ พรบ.ร่วมลงทุนปี 2562

คำตอบ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 (คำสั่ง คสช.ที่ 3/2562) ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินการที่เหมือนกันกับการแก้ไขสัญญาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 46 และมาตรา 47 ของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 แต่มีองค์ประกอบที่รักษาผลประโยชน์ของรัฐมากกว่า คือการจัดตั้งคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่างๆ และดึงหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการกำกับดูแลตามปกติ เช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ประกอบกับข้อ 3 ของ คำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การเจรจาที่คณะกรรมการซึ่งถูกจัดตั้งภายใต้คำสั่ง คสช ดังกล่าวจะต้องคำนึงถึงได้แก่ประโยชน์ของรัฐและประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชนหรือผู้ใช้บริการ ความสะดวกและความปลอดภัยในการใช้บริการ การประหยัด ค่าโดยสาร และการแบ่งปันผลประโยชน์ต่อภาครัฐอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

จึงเห็นได้ว่าการเจรจาที่เกิดขึ้นภายใต้คำสั่ง คสช.ดังกล่าว คณะกรรมการซึ่งถูกจัดตั้งภายใต้คำสั่ง คสช จะต้องนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องข้างต้นทั้งหมดมาวิเคราะห์และใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยคณะกรรมการดังกล่าวได้นำข้อมูลจากรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการที่ กทม. ได้จัดทำขึ้นภายใต้ พ.ร.บ. ร่วมทุน มาเป็นส่วนหนึ่งในการเจรจากับเอกชนทั้งในมุมเชิงผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) และผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านการเงิน (FIRR) แหล่งที่มาของเงินทุน ปริมาณผู้โดยสารและค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับประชาชน

ทั้งนี้ จะเห็นได้จากกรณีที่ร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการเจรจาแล้ว ได้กำหนดว่า ในกรณีที่ Equity IRR ของเอกชนปีใดเกินกว่าร้อยละ 9.6 จะมีการแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ กทม. (นอกเหนือจากที่เอกชนมาช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินของ กทม.) ซึ่งอัตรา Equity IRR ร้อยละ 9.6 นี้ เป็นอัตราที่ต่ำกว่าโครงการโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่คล้ายกัน

ข้อ 2 ประเด็นการคิดค่าโดยสารที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับประชาชนผู้ใช้บริการ</str

2.1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวจะกำหนดค่าโดยสารสูงสุดที่กำหนดในอัตรา 65 บาทนั้น ครอบคลุมการให้บริการทั้งสิ้น 66 กิโลเมตร เฉลี่ยค่าโดยสารกิโลเมตรละ 0.97 บาทต่อกิโลเมตร ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกำหนดค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท ให้บริการทั้งสิ้น 48 กิโลเมตร ตกเป็นค่าโดยสารเฉลี่ย 0.88 บาทต่อกิโลเมตร เนื่องจากระยะทางแตกต่างกันเมื่อหารค่าโดยสารต่อระยะทางเห็นได้ว่าใกล้เคียงกัน ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันมากดังนี้

1. ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินรัฐบาลสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธา ในขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีเขียวรัฐไม่ได้สนับสนุนใดๆ จำเป็นต้องใช้รายได้ของตนเองชำระต้นทุนทั้งหมด
2. สายสีน้ำเงินที่ทำสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมไม่มีการแบ่งรายได้ให้รัฐบาล ในขณะที่สายสีเขียวมีการแบ่งรายได้ให้แก่กทม.จำนวนกว่า สองแสนล้านบาท ดังนั้นหากสายสีเขียวไม่ต้องรับภาระเฉกเช่นสายสีน้ำเงิน ก็จะสามารถกำหนดค่าโดยสารได้ต่ำกว่าสายสีน้ำเงิน

2.2. และ 2.3. เนื่องจากทั้งสองสายมีรายได้ต่างกันก็ตามแต่ก็มีภาระค่าใช้จ่ายและเงินลงทุนต่างกัน แต่รัฐกำกับผลตอบแทนการลงทุนของเอกชนให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมโดย รถไฟฟ้าสายสีเขียวจะได้รับผลตอบแทนการลงทุน 9.6% ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินจะได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่ 9.75% ดังนั้นการกำหนดอัตราค่าโดยสารในร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการเจรจาแล้วจึงเป็นการกำหนดโดยคิดวิเคราะห์ต้นทุนที่แท้จริงของโครงการสายสีเขียวนี้แล้ว

อีกทั้งยังได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เชื่อมต่อค่าแรกเข้าที่เป็นไปตามมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานในลักษณะเดียวกัน เพื่อเป็นการลดภาระให้แก่ประชาชนในการเดินทาง ในส่วนของการให้บริการเดินรถนั้นการเจรจาได้มีการกำหนด KPI ที่เข้มข้นไม่ต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นในปัจจุบันซึ่งเป็นการบังคับให้เอกชนต้องลงทุนเพิ่มตลอดเวลาเป็นจำนวนมากอยู่ด้วยแล้ว

ข้อ 3 ประเด็นการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

คำตอบ การเจรจาของคณะกรรมการซึ่งถูกจัดตั้งภายใต้คำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินภายใต้โครงการสายสีเขียวได้ดำเนินการโดยป้องกันไม่ให้รัฐเสียประโยชน์แล้ว ทั้งนี้เนื่องจากการกำหนดให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาโครงการในปี 2602 เพราะต้องการไม่ให้ กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาทรัพย์สินที่เป็นซาก และไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระเบียบเก็บทรัพย์สินของรัฐ และในกรณีที่กำหนดให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกเป็นของ กทม. ในปี 2572 ก็ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้ กทม. สามารถนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่ กทม. ประสงค์ เพราะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวจะเป็นไปตามที่สัญญาร่วมลงทุนกำหนด ทั้งนี้หากเอกชนต้องรับโอนทรัพย์สินกลับจากกทม.กลับเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการเดินรถ ก็จะเกิดเป็นต้นทุนเพิ่มเติมของภาคเอกชน ส่งผลให้ส่วนแบ่งรายได้ของกทม.ลดลงกว่า 80,000ล้านบาท

ทั้งนี้ในการเจรจาได้มีการกำหนด KPI ที่เข้มข้นไม่ต่างจากรถไฟฟ้าสายอื่นในปัจจุบันซึ่งเป็นการบังคับให้เอกชนต้องลงทุนเพิ่มตลอดเวลาเป็นจำนวนมาก และมีการติดตามวัดผลตอบแทนการลงทุนของเอกชนสม่ำเสมอทุกปีเพื่อไม่ให้รัฐเสียเปรียบ

ดังนั้น การเจรจาสัญญาร่วมลงทุนเกี่ยวกับการกำหนดเรื่องกรรมสิทธิ์ควรตกอยู่กับ กทม. ในปี 2602 จึงเป็นการเจรจาที่ได้พิจารณาคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐโดยไม่จำเป็น
ข้อ 4 ประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย

คำตอบ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอผลการไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) แล้วค่อยมาพิจารณาดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้เพราะการพิจารณาไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) นั้นเป็นการพิจารณาเพื่อลงโทษส่วนบุคคล แต่ข้อผูกพันตามสัญญาที่หน่วยงานของรัฐได้เข้าทำกับเอกชนแล้ว ก็ยังคงต้องผูกพันและปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้นจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง ประกอบกับคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 ก็ไม่ได้ไปรับรองถึงการไม่ต้องรับผิดของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่ถูกสอบสวนอยู่โดย ปปช. ดังนั้นการเจรจาเพื่อต่อสัญญาสัมปทานจึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอผลการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ปปช.

ท่านคิดเห็นอย่างไร ประเทศไทยจะได้เดินหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 1:59 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมเฮ!! BTS ซุ่มจัดโปรเด็ด ดันผู้โดยสารใช้บริการ “รถไฟฟ้าสายสีเขียว”
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 15:52:05 น.

"BTS เตรียมจัดโปรโมชั่นเอาใจผู้โดยสารเดินทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยันผลการศึกษาค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายของกทม.เหมาะสมที่สุดแล้ว"

"ยุทธพงศ์" โต้ "สามารถ" เทียบกันเห็นๆ ราคา BTS สายสีเขียว กับ MRT สายสีน้ำเงิน ใครแพงกว่า
22 พฤศจิกายน 2563 เวลา 15:04 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2020 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

กมธ.คมนาคม สภาฯ เตรียมพิจารณา สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวพร้อม เรียก กก.ตาม ม.44 ให้ข้อมูล 26 พ.ย.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 16:14 น.


กมธ.คมนาคม สภาฯ เตรียมพิจารณา สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว พร้อมเรียก กก.ตาม ม.44 ให้ข้อมูล 26 พ.ย. นี้ ด้าน “โสภณ ซารัมย์” เตือน หากไม่ฟังผลสรุป กมธ.คมนาคม เจอทั้งกระทู้ถาม และอภิปรายไม่ไว้วางใจ

วันนี้ (21 พ.ย.) นายโสภณ ซารัมย์ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า วันพฤหัสบดีที่ 26 พ.ย. 63 เวลา 09.00 น. คณะกรรมาธิการการคมนาคม จะมีวาระเพื่อพิจารณาเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวก่อนหมดสัมปทาน ไปอีก 30 ปี โดยไม่มีการประมูลตาม พรบ.เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ (PPP)

โดยมีการเชิญคณะกรรมการตาม มาตรา 44 ในคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 เรื่อง การดำเนินการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในข้อ 3 ที่ให้กระทรวงมหาดไทย ตั้งบุคคลโดยตำแหน่งเป็นกรรมการ

มีบุคคลโดยตำแหน่งที่ถูกเชิญมาให้ข้อมูลต่อกรรมาธิการการคมนาคม ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อัยการสูงสุด และปลัดกรุงเทพมหานคร เข้าให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง

ประธาน กมธ.การคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมจะสอบถามในข้อสงสัยของสังคมที่เกิดขึ้น ทั้งการต่อสัญญาสัมปทานโดยไม่รอให้ครบอายุสัมปทาน ไม่มีการเปิดประมูล และราคาค่าโดยสาร 65 บาท ตลอดสายมีรายละเอียดการคำนวณอย่างไร เพื่อไม่ให้รัฐและประชาชนเสียผลประโยชน์

“เมื่อมีการพิจารณาเสร็จสิ้น กรรมาธิการจะสรุปเสนอความเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากหน่วยงานไม่ดำเนินการ ทางสภาผู้แทนฯ มีมาตรการต่อไปคือการยื่นกระทู้ถาม ไปจนถึงการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ” นายโสภณ กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า การประชุมของคณะกรรมาธิการคมนาคม เป็นการเปลี่ยนแปลงวาระการประชุม เนื่องจากการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะคณะรัฐมนตรี จะมีการพิจารณาเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว อีกครั้งในเร็วๆวันนี้ หลังจากที่กระทรวงมหาดไทยนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. เมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่กระทรวงคมนาคม มีการตั้งข้อสงสัยหลายเรื่อง และไม่สามารถชี้แจงได้ทำให้กระทรวงมหาดไทย ต้องนำเรื่องกลับออกจากการประชุม ครม.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 108, 109, 110 ... 155, 156, 157  Next
Page 109 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©