Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181739
ทั้งหมด:13492977
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 12:09 am    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯ อัศวินร่ายยาวทำไมรถไฟฟ้าสายสีเขียวเก็บ 104 บาท หวังครม.เคาะเหลือ 65 บาท
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐออนไลน์
16 มกราคม 2564 12:08 น.

ผู้ว่าฯ กทม.ชี้แจงทำไมค่ารถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องเก็บ 104 บาทจากที่ต้องจ่ายจริง 158 บาท หวังครม.เคาะเหลือ 65 บาทตลอดสาย

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 64 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อมูลลงแฟนเพจเฟซบุ๊ก ผู้ว่าฯ อัศวิน โดยระบุว่า กทม. ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนจากการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และได้พยายามหาทางแก้ไข รวมถึงศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ


โดยขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างการนำเสนอแนวทางแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบปรับลดค่าโดยสารให้เหลือ 65 บาทตลอดสาย เพื่อให้ประชาชนเลือกใช้บริการขนส่งสาธารณะเป็นหลัก ช่วยลดผลกระทบด้านการจราจร มลพิษ และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน



ปัจจุบัน กทม.ได้เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวทุกเส้นทางแล้ว พร้อมทั้งได้ออกประกาศกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ประชาชนได้รับทราบ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป โดยการเก็บค่าโดยสารจะเก็บเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน โดยคิดจากเส้นทางต้นทางที่เริ่มเดินทาง ดังนี้



1. ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงเส้นทางสัมปทานในปัจจุบัน หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-วงเวียนใหญ่ เป็นไปตามตารางที่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เป็นผู้กำหนด ซึ่งยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม คือ 16-44 บาท

2. ส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ – คูคต จากสถานีห้าแยกลาดพร้าว ถึงสถานีคูคต ค่าโดยสาร 15 - 45 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี



3. ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท จากสถานีบางจาก ถึงเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสาร 15-45 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี

4. ส่วนต่อขยายสายสีลมช่วงที่ 2 จากสถานีโพธิ์นิมิตร ถึงสถานีบางหว้า ค่าโดยสาร 15-24 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้น 3 บาทต่อสถานี



ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 กทม. จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุด จากเดิมที่ต้องจ่ายจริงตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท เป็น 104 บาท แม้กทม.จะต้องแบกรับภาระการขาดทุนตั้งแต่ปี 2564 - 2572 ถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท ก็ตาม ซึ่งขอยืนยันว่ากทม. จะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุด
https://www.facebook.com/aswinkwanmuang/posts/988817091526447

ส่องสาเหตุ ทำไม กทม.เก็บค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว” 104 บาท
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
17 มกราคม 2564 เวลา 10:20 น.

กทม.เผยสาเหตุเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว104 บาท ชั่วคราว เร่งเคลียร์เจรจาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหลือ 65 บาท ตลอดสาย หวังลดภาระประชาชน หลังหนี้บานปลายแตะ 1.2 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทป็นการชั่วคราวเทียบจากเดิมต้องเก็บเต็มราคาในอัตรา158บาทตลอดสาย ซึ่งจะเริ่มจัดเก็บตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ เป็นต้นไปนั้น ขณะเดียวกันกทม.คำนวนออกมาแล้ว ไม่ทำให้เกิดการขาดทุน กรณีต้นทุนค่าใช้จ่ายค่าระบบกระแสไฟฟ้า ค่าจ้างพนักงาน ขบวนรถ ค่าซ่อมบำรุง ตลอดจนการอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยตลอดเส้นทาง ฯลฯ

รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด(มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ได้ เคาะราคาค่าโดยสารลง เหลือ 104บาท ช่วยประชาชนประหยัดเงินในกระเป๋า ลง54บาท ซึ่งกทม.จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณ 3,000-4,000 ล้านบาท ต่อปี เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 ส่งผลให้มีผลขาดทุนประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท


สำหรับสาเหตุที่กทม.มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท ชั่วคราวนั้น เนื่องจากปัจจุบันกทม.อยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งจะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาทเป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาท ของกทม. ประกอบด้วย ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดจากการรับโอนส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯ ทั้งนี้ส่วนเงินต้นค่างงานโยธา ประมาณ 55,000 ล้านบาท และภาระดอกเบี้ยในอนาคต ประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าลงทุนงานระบบใน E&M ในส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงสำโรง-เคหะฯ ประมาณ 20,000 ล้านบาท ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่าย 9,000 ล้านบาท ทั้งนี้เอกชนต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้กทม.อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา
“กทม.ยืนยันว่าภายใต้อำนาจ กทม.พยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุด เพื่อลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดยกทม.จะอธิบายเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อสามารถปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลงทาเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด” อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากทม.ได้ศึกษาแนวทางการดำเนินการต่างๆ ซึ่งกทม.เห็นว่าแนวทางการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) เป็นแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุดในการแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้ของกทม. สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนและให้ประชาชนได้รับการบริการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ข่าวที่เกี่ยวข้อง


Last edited by Wisarut on 18/01/2021 8:55 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 12:14 am    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ” จี้ กทม.เร่งหาทางออกค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีเขียว”
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
17 มกราคม 2564 เวลา 12:51 น.

“ชัชชาติ” ข้องใจ กทม.ไม่เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังค้างค่าใช้จ่ายจ้างเอกชนเดินรถแตะ 9 พันล้าน วอนประชาชนนั่งฟรี ก่อนเรียกเก็บค่าโดยสารอีก 1 เดือนข้างหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค.ที่ผ่านมา นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตร่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตแคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความ ผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวว่า เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ช่วงบ่ายมีเวลาว่าง เลยถือโอกาสไปนั่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวเล่น นั่งจากหมอชิต ไปถึงพหลโยธิน 24 ลงไปเดินเล่น คุยกับพี่วินมอเตอร์ไซค์ แล้วนั่งกลับมา แวะซื้อขนมที่เซ็นทรัลลาดพร้าว และ นั่งกลับมาที่หมอชิต เพราะตอนนี้ทาง กทม. ยังให้ขึ้นฟรีอยู่ ไม่ต้องเสียค่าโดยสารตั้งแต่สถานีห้าแยกลาดพร้าวเป็นต้นไป


ทั้งนี้ รถไฟสายสีเขียวส่วนต่อขยาย มีสองส่วน ส่วนเหนือ จากหมอชิต(หรือจตุจักร) ไปคูคต และส่วนใต้จากบางจากไป เคหะฯสมุทรปราการ รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายนี้เดิมทาง รฟม.ของกระทรวงคมนาคมเป็นคนสร้าง แต่ครม.มีมติโอนให้ กทม.เป็นผู้ดำเนินการเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 นายขัชชาติ กล่าวต่อว่า ทาง กทม.ทยอยเปิดการเดินรถไฟตามสถานีต่างๆ มาตั้งแต่ปลายปี 2561 และให้ประชาชนนั่งฟรีโดยไม่เก็บค่าโดยสาร แต่ กทม.ต้องจ่ายค่าจ้างเดินรถให้ทางเอกชนตลอดเพราะเอกชนเขามีค่าใช้จ่ายในการเดินรถ ส่วนรายละเอียดว่าค่าจ้างเป็นอย่างไร สัญญาจ้างเป็นอย่างไร หาไม่ได้จริงๆ
“เช้าวันนี้ 16 ม.ค.มีข่าวว่าค่าจ้างสำหรับการเดินรถให้ประชาชนนั่งฟรีตอนนี้มียอดหนี้ที่ กทม.ค้างชำระถึง 9,000 ล้านบาทแล้ว และ ยังไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย เห็นว่าจะไปขอจากทางรัฐบาลให้ช่วยออกให้ (แต่สุดท้ายก็เงินพวกเราทั้งนั้นแหละครับ) ซึ่งก็อาจจะไม่ง่าย เพราะจ้างไปก่อนแล้วและเท่าที่ดู มติ ครม.เมื่อปี 2561 มีแต่เรื่องโอนรถไฟฟ้า แต่ไม่มีระบุว่า กทม.ไม่ต้องเก็บค่าโดยสาร ซึ่งก็เป็นเรื่องที่แปลกสำหรับการบริหารว่า สามารถจ้างไปก่อนเกือบหมื่นล้านบาทโดยยังไม่รู้ว่าจะเอางบประมาณที่ไหนจ่าย” ทั้งนี้ถ้าพวกเรามีโอกาสต้องไปแถวนั้น ทั้งหมอชิต หรือ อ่อนนุช ก็ไปนั่งรถไฟฟ้าฟรี กันนะครับ เพราะเหลือเวลาอีกแค่เดือนเดียวก็จะเริ่มเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยายแล้วและสุดท้ายแล้วพวกเราต้องร่วมกันจ่ายเกือบหมื่นล้านบาทอยู่ดี

“เพื่อไทย"งัดปม"รถไฟฟ้าสายสีเขียว"ซักฟอกนายกฯ-มท.1-ขุนคลัง
หน้า Politics /
17 มกราคม 2564 เวลา 15:30 น.


“เพื่อไทย”เตรียมงัดปม "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ซักฟอก 3 รมต. “นายกฯ- มท.1-ขุนคลัง” เผยหมัดเด็ดส่งศาลรธน.วินิจฉัยขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่

วันนี้ (17 ม.ค. 64) นายยุทธพงศ์จรัสเสถียรคณะทำงานการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อไทย (พท.) ว่ากันว่าวันที่ 25 เดือนนี้ฝ่ายจะแก้ชงให้ญัตติขอเปิดปกติเพื่อลงไม่ ไว้นานเป็นรายบุคคล


“ ยืนยันว่าพรรคเพื่อไทยมีหมัดเด็ดที่จะอภิปรายแน่นอนโดยประเด็นที่จะอภิปรายคือโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนขยายรวมแบริ่ง - เรือและหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคตที่พบปัญหาและที่จะถูก รวบรวมพล อ. จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรมว. ครีม, พล. อ. อนุพงษ์จอมจินดายุติธรรมว่าการกระทรวงมหาดไทยและนายอาคมเติมพิทยาไพสิฐระเบียบว่าการกระทรวงคลัง”


นายยุทธพงศ์ตอบว่าหมัดเด็ดที่ระบุว่าเป็นฝ่ายชนะฝ่ายอภิปรายแล้วจะส่งเรื่องไปให้ศาลพิจารณาว่าการกระทำที่ดำเนินการกับชุดหรือไม่
พวกเดียวยังมีประเด็นความล้มเหลวของการบริหารจัดการความผิดพลาดทุกด้านทั้งการแก้ไขปัญหาของการเดินทางของโควิด -19 คาดเดาการปล่อยให้มีการผิดกฎหมายการกระทำผิดกฎหมาย
“ เที่ยวนี้มีคนปรามาสว่าฝ่ายคงทำอะไรรัฐบาลไม่ได้ผมบอกว่าขอให้ดูการอภิปรายไม่ไว้ก่อนรอบก่อนที่ผ่านมาที่มีเรื่องใหญ่ 2 เรื่องคือกรณีนายกพักบ้านหลวงที่ทำให้มีเรื่องไปยังศาลไครอาน นายกฯ จะรอด แต่ทำให้คนทั้งประเทศตกอกกลัวและเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวหากไม่มีการอภิปรายจะต่อไปนานแล้ว แต่การอภิปรายเกี่ยวกับการเกิดผลจะไปทุกสายสีเขียวถือเป็นเรื่องใหญ่โดยเฉพาะโดยเฉพาะ สัญญาจันทร์ 16 ก.พ. หากไม่ต่อจะทำให้เสียค่าสูงสุด 158 บาท” นายยุทธพงศ์ระบุ

นายยุทธพงศ์กล่าวอีกว่ากรณีการพิจารณาต่อสัญญาให้กับ บริษัท บีทีเอสหากวันที่ 16 ก.พ. ไม่ต่อสัญญาจะทำให้เสียค่าราคาสูงส่วนหนึ่งเป็นเพราะกทม. เป็นบัญชีบี บริษัท ทีเอสเช็ค 9,000 ล้านบาทเหตุผลที่เป็นผ่อนเพราะพล. ต. อ. กลอนขวัญเมืองผู้ว่าราชการให้ใช้บริการฟรีซึ่งพล. ต. อ. อานุภาพการสั่งดังกล่าวเรื่องที่เกิดขึ้นว่าการกระทรวงมหาดไทยและพล. ต. อ
ด้านนายครูมานิตย์สังข์พุ่มส. ส. สุรินทร์เพื่อไทยเรียกร้องให้พล. อ. ตรวจสอบการตรวจสอบการสอบสวนอย่างจริงจังโดยไม่ยอมให้บุคคลอื่นการกระทำรวมถึงขอให้พล. อ. ประวิตรวงษ์สุวรรณการดำเนินการอย่างจริงจัง
“ การตั้งกรรมการตรวจสอบเป็นเพียงแค่การสั่งซื้อเวลานายกฯ ต้องประกาศแจ้งให้ทราบหรือทหารที่มีส่วนรู้ต้องดำเนินการอย่างจริงจังไม่สั่งเพื่อให้เงียบก่อนส่งกลับการจัดเรียงหลายเรื่องสาระความเชื่อ มีถ้านายกฯ ต้องการบริหารประเทศ 20 ปีตามชาติเกิดเป็นกรรมเพราะท่านไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศทำให้เป็นอย่างที่เห็น” นายครูมานิตย์กล่าว


Last edited by Wisarut on 18/01/2021 10:53 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 12:17 am    Post subject: Reply with quote

เปิด 5 เหตุสำคัญ! จี้กทม.ลดค่าโดยสารสายสีเขียว -
The Bangkok Insight
17 มกราคม 2564
กมธ.คมนาคม ค้านขึ้นราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท เรียก กทม.แจง 21 ม.ค.นี้
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
17 มกราคม 2564 13:40 น.

นายโสภณ ซารัมย์ กมธ.คมนาคม ชี้ กทม.ขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียว 104 บาท ข่มขู่ และซ้ำเติมวิกฤติประชาชนผจญโควิด-19 ไม่สนใจข้อท้วงติงของทางราชการ เชื่อ ทำราคาได้ต่ำกว่า 65 บาท เตรียมเรียกเข้าชี้แจง 21 ม.ค.นี้ ยัน พร้อมส่งเรื่องรัฐบาลคัดค้านถึงที่สุด


วันที่ 17 ม.ค.64 นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการ การคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ทางกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสาย อยู่ที่ 104 บาท เป็นการซ้ำเติมประชาชนในช่วงวิกฤติ Covid-19 ซึ่งเรื่องนี้ทางคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎรได้แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการคิดอัตราค่าโดยสารสายสีเขียวตลอดสาย 65 บาท พร้อมขอให้ กทม.ชี้แจงที่มาของการคำนวณราคาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว จนบัดนี้ยังไม่ได้รับข้อมูล แต่กลับข่มขู่ประชาชนว่าจะขึ้นราคา 104 บาทในเดือนหน้า



อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กมธ.คมนาคม ได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า การคิดอัตราค่าโดยสาร นั้นต้องเปิดเผยที่มา การคิดราคาอย่างโปร่งใส และเชื่อว่าสามารถคิดราคาได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย และควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ


1.การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยคิดราคาค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท กทม. ควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะว่ามีฐานการคิดคำนวณมาอย่างไร เนื่องจากการสอบถามข้อมูลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว กระทรวงคมนาคมเห็นว่ายังสามารถลดค่าโดยสารลงได้ต่ำกว่า 65 บาท คณะกรรมาธิการจึงเห็นว่าค่าโดยสารที่สามารถลดลงได้อีก เนื่องจากปริมาณการเดินทางในอนาคตจะมีมากขึ้น ต้นทุนต่อการเดินรถควรจะถูกลงอีก จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้มากขึ้น

2.ประชาชนควรจะได้รับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากกว่านี้ในการต่อสัญญาสัมปทานครั้งนี้ เช่น การลดค่าแรกเข้าระบบที่ไม่ควรจะมีการคิดซ้ำซ้อน และไม่มีเงื่อนไขซึ่งจะเป็นภาระต่อผู้โดยสาร

3.หากยังไม่มีการต่อสัญญาสัมปทานซึ่งกำลังจะหมดลงในปี 2572 หรือในอีก 9 ปี ข้างหน้า และสินทรัพย์ทั้งหมดจะตกกลับมาเป็นของรัฐ คือ กทม. จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวมีกำไร หลังจากหักค่าจ้างเดินรถแล้วจะมีกำไรไม่น้อยกว่าปีละ 5,000 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต กำไรดังกล่าวสามารถนำมาบริหารจัดการ ช่วยลดอุดหนุนเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ ที่อยู่นอกเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้มีรายได้น้อยกว่าได้ใช้รถไฟฟ้าในอัตราที่ถูกกว่าคนในใจกลางเมือง

ส่วนกรณีที่มีการอ้างว่า กทม. ไม่มีความสามารถทางการเงินในการชำระหนี้และบริหารจัดการ ไม่เป็นความจริง เนี่องจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นทางมีศักยภาพทางธุรกิจที่ชัดเจน สามารถระดมเงินเพื่อบริหารจัดการได้จากแหล่งเงินต่างๆ เช่น ธนาคาร แหล่งทุน เนื่องจากมีรายได้มหาศาลที่ชัดเจน

4.การดำเนินการของคณะกรรมการฯ ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2562 ควรเปิดเผยรายงานการประชุม ต่อสาธารณะเพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้ และ 5.การต่อสัญญาสัมปทานดังกล่าวยังดำเนินการไม่ครบถ้วน เช่น พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง 2562 และการตรวจสอบจากองค์กรอิสระต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จ

ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม กล่าวว่า หาก กทม.ยังคงยืนยันการดำเนินการเรื่องรถไฟสายสีเขียวในยามวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนถือว่าเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ของบ้านเมือง และยังไม่ฟังเสียงประชาชน และข้อทักท้วงจากส่วนราชการ และข้อแนะนำจากภาคประชาชน ทางกรรมาธิการจะเชิญผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้เพื่อคัดค้านการขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรม และแจ้งเรื่องการคัดค้านดังกล่าวไปยังรัฐบาล เพื่อสั่งให้ยุติวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็วที่สุด.


Last edited by Wisarut on 18/01/2021 8:54 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 11:29 am    Post subject: Reply with quote

ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถูกกว่า 65 บาท ได้มั้ย?
หน้าโลกธุรกิจ
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.58 น.

“สามารถ” ถาม “รถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่า 65 บาทได้มั้ย” แนะ 2 วิธี
ข่าวการเมือง
ไทยรัฐออนไลน์
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:03 น.

“สามารถ”โพสต์ฯ ถาม “ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่า 65 บาท ได้มั้ย” แนะวิธี รัฐบาลรับภาระหนี้ 6.8 หมื่นล้าน แทนกทม.หรือ กทม.ยอมลด การรับผลตอบแทนจาก"บีทีเอส" ลดลง

วันที่ 18 มกราคม 2564 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถูกกว่า 65 บาท ได้มั้ย?

เป็นที่ตกอกตกใจไปตามๆ กัน เมื่อกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท จากเดิมที่คนกรุงคาดหวังว่าจะจ่ายไม่เกิน 65 บาท กระทรวงคมนาคมประกาศก้องว่าจะทำให้ค่าโดยสารถูกกว่า 65 บาท จะทำได้จริงหรือไม่?

เมื่อเร็วๆ นี้ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศปรับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลังจากเปิดเดินรถเต็มระบบเป็นสูงสุด 104 บาท โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป จากเดิมที่ กทม.ตั้งใจว่าจะเก็บไม่เกิน 65 บาท ในกรณีมีการขยายสัมปทานให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ออกไป 30 ปี ตั้งแต่ปี 2572-2602 โดยบีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ กทม. เป็นเงินกว่า 2 แสนล้านบาท และจะต้องจ่ายหนี้แทน กทม.ประมาณ 68,000 ล้านบาท อีกทั้ง จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดได้ไม่เกิน 65 บาท ลดลงจากเดิมซึ่งมีค่าโดยสารสูงสุด 158 บาท


พลันที่ กทม.ประกาศใช้อัตราค่าโดยสารใหม่ กระทรวงคมนาคมออกโรงเบรก กทม. ขอให้ กทม.ชะลอการปรับค่าโดยสารออกไปก่อน พร้อมบอกว่าจะหาทางทำให้ค่าโดยสารถูกกว่า 65 บาท หรือไม่เกิน 42 บาท เช่นเดียวกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง



กระทรวงคมนาคมได้เสนอแนวทางที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกลง โดยยกตัวอย่าง การจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพยุงอัตราค่าโดยสาร และนำรายได้ในอนาคตมาชำระคืนกองทุนภายหลัง แต่ผมมีความเห็นว่าแนวทางนี้จะไม่มีนักลงทุนสนใจมาลงทุน เพราะในช่วงจากนี้ไปจนถึงปี 2572 หรือระยะเวลาก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน นักลงทุนจะไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนเนื่องจาก กทม.ขาดสภาพคล่อง

ส่วนการทำให้ค่าโดยสารเท่ากับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หรือสีม่วงซึ่งมีค่าโดยสารสูงสุด 42 บาทนั้นเป็นไปได้ถ้ารัฐบาลรับภาระหนี้แทน กทม. ประมาณ 68,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ต้องชำระภายในปี 2572

เหตุที่ค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเท่ากับ 42 บาท ซึ่งต่ำกว่าค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นเพราะบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินไม่ต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เจ้าของโครงการ และไม่ต้องจ่ายหนี้แทน รฟม.

ส่วนค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีม่วงเท่ากับ 42 บาท เช่นเดียวกันนั้น ที่ทำได้เช่นนี้เพราะ รฟม.ลงทุนเองทั้งหมดแล้วจ้างให้บีอีเอ็มเป็นผู้เดินรถ บีอีเอ็มไม่ต้องรับผิดชอบหนี้สินแทน รฟม. และที่สำคัญ รายได้จากค่าโดยสารทั้งหมดเป็นของ รฟม. จึงทำให้ รฟม.สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารได้อย่างอิสระ

แต่อย่างไรก็ตาม การเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงินซึ่งเป็นโครงการของ รฟม. ภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคม โดยปกติผู้โดยสารจะต้องจ่ายค่าโดยสารสูงสุด 84 บาท (สายสีม่วง 42 บาท + สามสีน้ำเงิน 42 บาท) แต่ รฟม. รับผิดชอบค่าแรกเข้า 14 บาท แทนผู้โดยสาร จึงทำให้ค่าโดยสารสูงสุดลดลงเหลือ 70 บาท (84-14) ซึ่งเป็นค่าโดยสารบนระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร (สายสีม่วง 23 กิโลเมตร + สายสีน้ำเงิน 26 กิโลเมตร) เมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งมีค่าโดยสารสูงสุด 65 บาท สามารถเดินทางได้ประมาณ 55 กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่า

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะทำให้ค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกกว่า 65 บาท ซึ่งสามารถทำได้ในกรณีดังนี้

1. รัฐบาลรับภาระหนี้ประมาณ 68,000 ล้านบาท แทน กทม. หรือ



2. กทม.รับผลตอบแทนจากบีทีเอสลดลงเหลือน้อยกว่า 2 แสนล้านบาท เพื่อนำเงินไปช่วยจุนเจือค่าโดยสาร

เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ไม่ให้จ่ายค่าโดยสารแพง ผมขอเสนอให้กระทรวงคมนาคมเร่งหารือกับกระทรวงมหาดไทยและ กทม. ตามข้อทักท้วงของกระทรวงคมนาคมซึ่งเดิมมี 4 ข้อ ทราบว่ากระทรวงมหาดไทย และ กทม.ได้ชี้แจงไปหมดแล้ว หลังจากนั้นมีข้อทักท้วงเพิ่มเติมขึ้นอีก 9 ข้อ

หากทุกฝ่ายมีเจตนารมณ์ที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างจริงจัง ผมมั่นใจว่าจะสามารถเคลียร์ข้อทักท้วงได้อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น ผมขอเรียกร้องให้ท่านนายกรัฐมนตรี พิจารณานำเรื่องการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยด่วน ซึ่งควรเป็นก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 หาก ครม.ให้ความเห็นชอบ จะทำให้ค่าโดยสารสูงสุดของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเท่ากับ 65 บาท หรืออาจจะต่ำกว่าก็ได้หากรัฐบาลรับภาระหนี้แทน กทม. หรือ กทม.รับผลตอบแทนน้อยลง

ถ้าทำได้เช่นนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป พี่น้องประชาชนจะจ่ายค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 65 บาท แต่ถ้า ครม.ไม่เห็นชอบ ค่าโดยสารสูงสุดอาจจะพุ่งขึ้นเป็น 158 บาท ไม่ใช่ 104 บาท ตามที่ กทม.เพิ่งประกาศใช้ เพราะเป็นอัตราชั่วคราวที่ใช้ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น

ทั้งหมดนี้ ด้วยความหวังที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกลง".
https://www.facebook.com/Dr.Samart/posts/2262866773858213


Last edited by Wisarut on 19/01/2021 10:27 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2021 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้ายืนกรานจะเอาอัตราค่าตั๋ว 104 บาทจากคูคตไปเคหะสมุทรปราการ น่ากลัวจะเลือกไปทางอื่นแน่ๆ
https://www.facebook.com/Coco.Infographics/posts/1526432620884976
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 10:29 am    Post subject: Reply with quote

รุมค้านขึ้นค่ารถไฟฟ้า ‘กรมราง’จี้BTSชะลอ/กมธ.ชี้ซ้ำเติมคนกรุง
หน้าโลกธุรกิจ
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.

นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) เปิดเผยว่าตามที่กรุงเทพมหานคร(กทม.)ได้มีประกาศ เพื่อปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงวันที่ 15 มกราคม 2564 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย เริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. 2564 นั้นกรมรางฯขอยืนยันว่าการดำเนินการของ กทม.ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกระทรวงคมนาคม และ กทม. ควรดำเนินการให้ถูกต้องตามมติของ ครม.ในการบูรณาการทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการพิจารณาอัตราค่าโดยสารด้วยความรอบคอบ คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก



ทั้งนี้ ควรให้ชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายในสัปดาห์หน้า ซึ่ง กรมการขนส่งทางรางจะได้เชิญประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนร่วมกัน“กรมราง” ชี้ “กทม.” ควรบูรณาการร่วมดำเนินการให้ถูกต้องตามมติของ ครม. และชะลอปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวจนกว่าจะได้ข้อสรุปร่วมกันสัปดาห์หน้า

ทั้งนี้ กทม.ได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท โดยมีการแบ่ง 4 ช่วงได้แก่ 1.ช่วงสัมปทานของบีทีเอส (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) ค่าโดยสาร 16-44 บาท 2.ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท) 3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-การเคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท
(ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท) และ4.ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า15-33 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)


สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ได้เปิดให้บริการเดินรถ ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2561 และเปิดให้บริการเต็มทั้งระบบในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 สาเหตุให้ต้องมีการเริ่มเก็บค่าโดยสารในอัตราดังกล่าวเนื่องจาก กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยายสายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564



นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการ การคมนาคม(กมธ.คมนาคม) สภาผู้แทนราษฎรกล่าวว่า ทาง กมธ.ฯไม่เห็นด้วยกับการคิดอัตราค่าโดยสาร สายสี และขอให้ กทม. ชี้แจงที่มาของการคำนวณราคาจนขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูล แต่กลับออกประกาศจะขึ้นราคา 104 บาท ในเดือนหน้า
โดยที่ผ่านมา กมธ.ฯ ได้มีข้อเสนอแนะเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจนว่าการคิดอัตราค่าโดยสารนั้นจะต้องเปิดเผยที่มาการคิดราคาอย่างโปร่งใส และเชื่อว่าสามารถคิดราคาได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย

ทั้งนี้จากการการสอบถามข้อมูลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว กระทรวงคมนาคมเห็นว่ายังสามารถลดค่าโดยสารลงได้ต่ำกว่า 65 บาท กมธ.การคมนาคม จึงเห็นว่าค่าโดยสารที่สามารถลดลงได้อีก เนื่องจากปริมาณการเดินทางในอนาคตจะมีมากขึ้น ต้นทุนต่อการเดินรถควรจะถูกลงอีกจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนได้มากขึ้น

“หาก กทม. ยังคงยืนยันการดำเนินการเรื่องรถไฟสายสีเขียวในยามวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนถือว่าเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ของบ้านเมือง และยังไม่ฟังเสียงประชาชนและข้อทักท้วงจากส่วนราชการ และข้อแนะนำจากภาคประชาชน”นายโสภณ กล่าว

กรมรางฯร่อนหนังสือนัดกทม.ถกปมขึ้นราคา รถไฟฟ้าสีเขียวในสัปดาห์นี้-ชี้ทำปชช.เดือดร้อน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:08 น.
ปรับปรุง: วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:08 น.

'กรมราง'ลุยเต็มสูบนัดถก กทม.เบรกปรับขึ้นค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 20.29 น.

"กรมราง"ทำหนังสือด่วนถึง กทม. นัดถกปมขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว สูงสุด 104 บาท ภายในสัปดาห์นี้ พร้อมเบรกปรับราคา 16 ก.พ. ออกไปก่อน ชี้ทำให้ประชาชนเดือดร้อน


นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 กรมรางฯพิจารณาแล้วเห็นว่าอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่กทม.ประกาศมานั้นเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่สร้างภาระค่าเดินทางให้แก่ประชาชนที่ดำเนินการและไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561

โดยวันนี้(18 ม.ค. ) กรมรางฯ ได้ส่งหนังสือถึงกรุเทพมหานคร(กทม.) เชิญประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับประชาชนร่วมกัน และขอให้ชะลอการปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวในวันที่ 16 ก.พ. 64 นี้ออกไปก่อนจนกว่าจะมีการพิจารณาและได้ข้อสรุปร่วมกัน

“คงต้องรอให้กทม.ตอบรับและนัดวันว่าประชุม ซึ่งควรเป็นภายในสัปดาห์นี้ เพื่อเร่งหาข้อสรุป ให้ได้เร็วที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่กระทบกับประชาชน”

ทั้งนี้ กรมรางฯ ได้มีข้อเสนอแนะในการขยายสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ว่า การคิดอัตราค่าโดยสารนั้นต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และวิเคราะห์จากต้นทุนที่แท้จริงและควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุด เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ ซึ่งจะแก้ปัญหาการจราจรใน กทม. อีกด้วย โดปัจจุบันพบว่า ผู้มีรายได้น้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 35% ของค่าแรงขั้นต่ำ ขณะที่และเห็นว่าหากกำหนดราคาถูกลงจาก 65 บาทตลอดสาย ในอนาคตจะทำให้ปริมาณผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นเส้นหลักของเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ย่อมส่งผลให้สามารถลดอัตราค่าโดยสารลงได้มากกว่านี้อีกด้วย

ซึ่ง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ในการโอนทรัพย์สิน หนี้สินของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายให้กทม. นั้นเจตนารมณ์ของมติ ครม.ให้กระทรวงคมนาคม และกทม. บูรณาการร่วมกันในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชนสอดคล้องกับค่าครองชีพของผู้ใช้บริการ

สำหรับ อัตราค่าโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเขียว มีการแบ่ง 4 ช่วงคือ.
1.ช่วงสัมปทานของบีทีเอส (หมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน) ค่าโดยสาร 16-44 บาท
2.ส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต ค่าโดยสาร 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

3.ส่วนต่อขยายอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ 15-45 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท).
4.ส่วนต่อขยายสะพานตากสิน-บางหว้า 15-33 บาท (ปรับเพิ่มขึ้นสถานีละ 3 บาท)

'กรมฯราง'ส่งหนังสือด่วนที่สุด เบรกขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้า
จันทร์ที่ 18 มกราคม 2564 เวลา 20.00 น.

“กรมฯราง”ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง กทม. แล้ว ขอให้ทบทวนค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียวตลอดเส้นทางไม่เกิน 104 บาท พร้อมปฏิบัติตามมติครม. ให้ถกร่วมกับคมนาคม กำหนดค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระแก่ประชาชน


เมื่อวันที่ 18 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ รองอธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) รักษาการอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุดถึงปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามประกาศกรุงเทพมหานคร ที่ให้มีการจัดเก็บอัตราค่าโดยสารตลอดเส้นทางไม่เกิน 104 บาท ซึ่งให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.64 เป็นต้นไป เนื่องจาก ขร. พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อสาธารณชน จึงขอให้ กทม. พิจารณาอย่างรอบคอบ รัดกุม

โดยขอให้ทบทวนการปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารตามประกาศดังกล่าว และขอให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 พ.ย.61 ที่กำหนดให้กระทรวงคมนาคม และ กทม. บูรณาการร่วมกันในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่เป็นภาระแก่ประชาชน ทั้งนี้ ขร. จะเสนอกระทรวงคมนาคมในฐานะหน่วยงานที่ ครม. มอบหมาย หารือร่วมกับ กทม. โดยเร็วต่อไป เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ.


Last edited by Wisarut on 20/01/2021 12:08 am; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 10:30 am    Post subject: Reply with quote

ไร้วาระ สายสีเขียว "วิษณุ"เผย​ครม.ยังไม่มีการนำมาพิจารณา
หน้า ข่าวทั่วไป /
19 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:35 น.

ไร้วาระ สายสีเขียว "วิษณุ"เผย​ครม.ยังไม่มีการนำมาพิจารณา
"วิษณุ"เผย​ยังไม่มีการนำเรื่องการพิจารณาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย​(หมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ)​ เข้าสู่ที่ประชุม​ ครม.

วันที่ 19 ม.ค.64 เมื่อเวลา​ 08.45 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล​ นายวิษณุ​ เครืองาม​ รองนายกรัฐมนตรี​ ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี​ (ครม.)​ ถึงความคืบหน้าในการพิจารณาขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย​ (หมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ)​ ที่ยังมีปัญหาอยู่ ว่า​วันนี้จะยังไม่มีการนำเข้าสู่ที่ประชุม​ ครม.เพื่อพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 11:16 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ไม่กล้าตัดสินใจ ประชาชนจึงต้องจ่ายค่ารถไฟฟ้า 104 บาท
โดย: นพ นรนารถ
เผยแพร่: วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:08 น.
ปรับปรุง: วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:08 น.




ประกาศ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา กำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ โดยค่าโดยสารตลอดสาย ไม่เกิน 104 บาท

ทำให้ค่าโดยสารในส่วนต่อขยายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสถานีละ 3 บาท ตัวอย่างเช่น จากสถานีบางจากไปถึงสุดสายที่สถานีเคหะสมุทรปราการมี 14 สถานี ต้องจ่ายค่าโดยสาร 42 บาทต่อคน

คนที่อยู่สมุทรปราการ ถ้าจะเดินทางต่อมาที่เพลินจิต สยาม หรือสีลม ซึ่งอยู่ในระบบสัมปทานของบีทีเอส ต้องบวกค่าโดยสารเพิ่มขึ้นอีก 22-44 บาทตามระยะทาง รวมแล้วสูงถึง 64-86 บาทต่อคนต่อเที่ยว

คนที่อยู่แถวรังสิต ปทุมธานี ก็เช่นเดียวกัน หากจะมาห้าแยกลาดพร้าว จะเสียค่าโดยสาร 45 บาท หากเดินทางเข้าเมืองต่อไป ต้องจ่ายเพิ่มอีก 22-44 บาท

อัตราค่าโดยสารใหม่นี้ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป

รถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เชื่อมกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และปทุมธานี ทำให้การเดินทางสะดวก แต่ค่าโดยสารที่แพงมากเช่นนี้ เป็นการสร้างภาระให้ประชาชนโดยไม่จำเป็น เพราะ กทม.สามารถเก็บค่าโดยสารตลอดสายได้ไม่เกิน 65 บาท หาก คณะรัฐมนตรีอนุมัติสัญญาต่อสัมปทานให้กับบีทีเอส

รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากสถานีหมอชิตไปสิ้นสุดที่คูคต และจากสถานีอ่อนนุชไปสิ้นสุดสมุทรปราการให้บริการฟรีมา 2-3 ปีแล้ว เพราะยังอยู่ในช่วงทดลองให้บริการซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา และเป็นที่คาดกันว่า คณะรัฐมนตรี จะอนุมัติร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวระหว่าง กทม.กับบีทีเอสก่อนวันที่ 15 มกราคม ซึ่งตามสัญญาค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายไม่เกิน 65 บาท

ร่างสัญญานี้ถูกนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีมาแล้ว 2 ครั้งๆ แรกเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว แต่ถูกถอนออกไปจากวาระ เพราะตอนนั้นมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง จากนายอุตตม สาวนายน เป็นนายมนตรี ดาวฉาย ต้องรอให้กระทรวงการคลังเสนอความเห็นกลับเข้ามาใหม่

ครั้งต่อมาในเดือนพฤศจิกายน นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีคมนาคม ตั้งคำถาม 4 ข้อในเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานให้บีทีเอสอีก 30 ปี ว่า ทำถูกต้องตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือไม่ การกำหนดค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาทแพงไปหรือไม่ การใช้ทรัพย์สินของรัฐ และข้อพิพาทระหว่าง กทม.กับบีทีเอสก่อนหน้านี้

ข้อสังเกตทั้ง 4 ข้อ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ คณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงการคลัง และ กทม.ได้ตอบมาหมดแล้ว ว่า ไม่มีปัญหา แต่ถูกนายศักดิ์สยาม ยกขึ้นมาอ้าง เพื่อขัดขวางการอนุมัติร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ก่อนหน้าที่จะมีการนำร่างสัญญาเข้า ครม.นายศักดิ์สยาม เคยตอบหนังสือ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ขอความเห็นต่อร่างสัญญาในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ว่า เห็นชอบ กับการเจรจา และร่างสัญญาสมควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา

ต่อมาในวันที่ 30 มีนาคม 2563 นายศักดิ์สยาม มีหนังสือตอบกลับเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งว่า ยืนยันตามความเห็นเดิม และวันที่ 9 มิถุนายน 2563 นายศักดิ์สยาม ตอบกลับเป็นครั้งที่สามว่า ยืนยันตามความเห็นเดิม ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม

สามครั้ง สามคราที่นายศักดิ์สยาม เห็นชอบกับร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว แต่เมื่อกระทรวงมหาดไทยนำเรื่องนี้ให้ ครม.พิจารณาในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 นายศักดิ์สยามกลับขัดขวาง โดยยกเอาคำถาม 4 ข้อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบกลับมาแล้วว่า ไม่มีปัญหาเป็นข้ออ้าง

การกลับลำ กลืนน้ำลายของนายศักดิ์สยาม เกิดขึ้นในช่วงที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงคมนาคม แก้ไขทีโออาร์ สัมปทานก่อสร้างและเดินรถรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ถึงศูนย์วัฒนธรรม ตามความต้องการของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หลังจากที่ขายซองประมูลไปแล้ว ซึ่งบริษัทบีทีเอสที่จะเข้าร่วมประมูลด้วย คัดค้าน และฟ้องศาลปกครองให้สั่ง รฟม.กลับไปใช้ทีโออาร์เดิม โดยศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ รฟม.ใช้ทีโออาร์เดิม รฟม.จึงอุทธรณ์คำสั่งส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก เดินหน้าไม่ได้

การขวางร่างสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวของนายศักดิ์สยาม จึงเป็นการเอาคืน และต่อรองกับบีทีเอสในกรณีพิพาทรถไฟฟ้าสายสีส้ม แต่คนที่ต้องรับเคราะห์คือ ประชาชน ที่ต้องจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าสีเขียวสูงสุด 104 บาท แทนที่จะจ่ายในราคาเพียง 65 บาท ตามร่างสัญญาสัมปทานที่นายศักดิ์สยามขัดขวาง

ร่างสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เกิดขึ้นตามแนวทางของคำสั่ง คสช.ที่ 3/2562 วันที่ 11 เมษายน 2562 ลงนามโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ในตอนนั้น ที่ต้องการให้ประชาชนใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบ เป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยภาครัฐ เอกชน และประชาชนไม่เสียประโยชน์ โดยให้ กทม. เจรจากับบีทีเอสซึ่งเป็นผู้ให้บริการอยู่

ตามร่างสัญญาฯ บีทีเอสจะได้ต่ออายุสัมปทานซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2572 ออกไปอีก 30 ปี พร้อมกับสัญญาสัมปทานเดินรถสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งหมด ไปสิ้นสุดพร้อมกันในปี 2602 และจะเก็บค่าโดยสารตลอดสาย 68 กิโลเมตรสูงสุดไม่เกิน 65 บาท

X

นอกจากนั้น บีทีเอสจะต้องรับภาระหนี้ และดอกเบี้ยมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านบาทของ กทม.ที่ต้องชำระคืนให้ รฟม.เพราะส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ เดิมเป็นโครงการของ รฟม.ที่ลงทุนก่อสร้างไปแล้ว เมื่อโอนกลับมา กทม. จึงต้องใช้คืนค่าก่อสร้างพร้อมดอกเบี้ย

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เป็นของ กทม.ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำเสนอร่างสัญญาให้ ครม.อนุมัติเลย มีหน้าที่ให้ความเห็นเท่านั้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีอำนาจเต็มที่ที่จะอนุมัติร่างสัญญา เพราะพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีมหาดไทย เห็นชอบแล้ว คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ไม่ขัดต่อกฎหมาย กระทรวงการคลังเห็นชอบด้วย และสำนักงานอัยการสูงสุด ตรวจร่างสัญญาแล้ว แต่ในความเป็นรัฐบาลผสมอาจทำให้พี่น้อง 3 ป. คือ พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.อนุพงษ์ และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่กล้ากับพรรคภูมิใจไทย

ที่ผ่านมา นโยบายโครงการของกระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยดูแล ครม.จะผ่านให้โดยไม่ทักท้วง เช่น การที่บริษัท ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ยกเว้นไม่เก็บค่าตอบแทนขั้นต่ำจากคิง เพาเวอร์ตั้งแต่เดือนกุมพันธ์ 2563-มีนาคม 2565 เป็นมูลค่ามาต่ำกว่า 3- 4 หมื่นล้าน ทั้งๆ ที่ตอนประกาศนั้น ยังไม่มีใครรู้ว่า ไวรัสโควิดจะระบาดรุนแรง และนานแค่ไหน แต่อนุมัติยกค่าตอบแทนให้ล่วงหน้า 2 ปี

หรือการอนุมัติเงินอุดหนุนค่าลิขสิทธิ์การจัดแข่งขันรถจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลกโมโตจีพีประจำปี 2564- 2568 เป็นเงิน 900 ล้านบาทที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาขอมา ทั้งๆ ที่คนที่ได้รับผลประโยชน์จากการแข่งขันนี้เต็มๆ คือ เนวิน ชิดชอบ ผู้มีอำนาจตัวจริงของพรรคภูมิใจไทย

ตรงข้ามกับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนจริงๆ อย่างสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียวที่เก็บค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท พล.อ.ประยุทธ์ กลับไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเกรงว่า จะกระทบความสัมพันธ์กับพรรคภูมิใจไทย จนเป็นที่มาของเสียงร่ำลือว่า พรรคภูมิใจไทย “ขี่คอ” พี่น้อง 3 ป.ได้

การประกาศอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ กทม.สูงสุดไม่เกิน 104 บาทตลอดสาย เป็นแรงกดดันต่อพล.อ.ประยุทธ์โดยตรง ที่จะต้องพิสูจน์ภาวะผู้นำว่า กล้าตัดสินใจ โดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่าความเกรงใจ ความเกรงกลัว พรรคภูมิใจไทย ปล่อยให้ประชาชนรับภาระค่าโดยสาร 104 บาท ทั้งๆ ที่สามารถจะจ่ายได้ไม่เกิน 65 บาท ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ กล้าตัดสินใจไม่ลอยตัว เพราะไม่อยากขัดแย้งกับพรรคภูมิใจไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2021 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

กมธ.คมนาคมบี้กทม.แจงด่วน!ค่าโดยสารสายสีเขียว104บาท

เผยแพร่: วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 11:13 น.


18 ม.ค.2564 นายโสภณ ซารัมย์ ประธานกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงกรณีกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศเพื่อปรับอัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท เป็นการซ้ำเติมประชาชน ในช่วงวิกฤติ Covid-19 ขอให้ กทม. ชี้แจ้งที่มาของการคำนวณราคา ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2563 จนบัดนี้ ยังไม่ได้รับ ข้อมูลแต่กลับออกประกาศจะขึ้นราคา 104 บาท ในเดือนก.พ.นี้

อย่างไรก็ตามโดยที่ผ่านมา กมธ.การคมนาคม ได้มีข้อเสนอแนะในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า การคิดอัตราค่าโดยสาร นั้นต้องเปิดเผยที่มา การคิดราคาอย่างโปร่งใส และเชื่อว่า สามารถคิดราคาได้ถูกกว่า 65 บาทตลอดสาย และควรกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกที่สุดสำหรับประชาชนที่ใช้บริการ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ
c
นายโสภฌ กล่าวว่า หาก กทม.ยังคงยืนยันการดำเนินการเรื่องรถไฟสายสีเขียวในยามวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนถือว่าเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ของบ้านเมือง และยังไม่ฟังเสียงประชาชนและข้อทักท้วงจากส่วนราชการ และข้อแนะนำจากภาคประชาชน

"กมธ.การคมนาคมจะเชิญผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในวันที่ 21 มค.นี้ เพื่อคัดค้านการขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรมและแจ้งเรื่องการคัดค้านดังกล่าวไปยังรัฐบาล เพื่อสั่งให้ยุติวิกฤติความเดือดร้อนของประชาชนโดยเร็วที่สุด" นายโสภณ กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันจันทร์ที่ 18 ม.ค.64 กระทรวงคมนาคมจะทำหนังสือถึงกทม.ให้ พิจารณาชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียว จนกว่าจะได้ข้อสรุปมีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2021 1:25 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เปิดใช้ ก.พ.64 BTS สถานี ศึกษาวิทยา รับตึกหรูพรึบ
เผยแพร่: 8 มกราคม 2564 เวลา 12:53


มีข่าวว่าเปลี่ยนชื่อสถานี S4 จากศึกษาวิทยาเป็นเซนต์หลุยส์ ตามชื่อวัดเซนต์หลุยส์ ที่เป็นโบสถ์แคทอลิก เพราะ คนคุ้นเคยกะชื่อนี้มากกว่า ตามข่าวนี้:

ข่าวด่วน ! Breaking new ลาก่อน...ศึกษาวิทยา
กรุงเทพต้องมาก่อน KTMK
20 มกราคม 2564 เวลา 00:00 น.

จากข่าวลือเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2563 เกี่ยวกับสถานีศึกษาวิทยาที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้ ได้รับการยืนยันแล้วว่าสถานีศึกษาวิทยาได้เปลี่ยนชื่อเป็น"สถานีเซนส์หลุยส์"อย่างไม่เป็นทางการ

รายละเอียดของสถานีเซนส์หลุยส์
เป็นสถานีรถไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ระหว่างช่วงสถานีสุรศักศิ์ - สถานีช่องนนทรี และตำแหน่งสถานีตั้งอยู่หน้าตึก AIA Sathorn Tower และใกล้กับสถานทูตพม่า ในพื้นที่รอบสถานีมีสถานที่อันเก่าแก่มาถึงปัจจุบัน
และเป็นที่รู้จักอย่างมาก เช่น วัดเซนต์หลุยส์ , โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ , โรงเรียนเซนต์หลุยส์ศึกษา, วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ที่มาของชื่อสถานีใหม่นั้นไม่ได้มาจากเอกชนขอเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟฟ้า
แต่ทางพื้นที่กายภาพมาถึงปัจจุบัน สถานที่ที่กล่าวไว้เป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่

คำว่า"เซนต์หลุยส์" ได้ถูกปรากฏตามซอยสาทร 11 ถึงสาทร 15 ส่วน คำว่า"ศึกษาวิทยา"ได้ปรากฏตามซอยสาทร 10 ถึงสาทร 12 หากนำรายละเอียดของสถานที่และซอยมารวบรวมข้อมูล ทำให้นึกถึงสถานีบางบัวของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ที่มีข่าวเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อสถานีหน้ามหาวิทยาลัยศรีปทุมว่าเป็นที่รู้จักของคนส่วนใหญ่และเป็นชื่อพระราชทาน ความจริงแล้วทางกทม.ได้เลือกสถานีบางบัวเหมือนเดิมเนื่องจากย่านบางบัวเป็นพื้นที่มีความเก่าแก่ดั้งเดิม
ของชุมชนบางบัว ที่มีทั้งที่อยู่อาศัยอย่างเคหะบางบัว โรงเรียนบางบัว คลองบางบัว วัดบางบัว ซอยบางบัว ตัวอย่างเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่สนใจสำหรับสถานีศึกษาวิทยาว่าควรที่จะมีการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็นสถานีเซนส์หลุยส์
ที่สามารถสื่อสารคนทั่วไปได้อย่างกว้างขว้างโดยเฉพาะคนนับถือศาสนาคริตส์หรือคริสเตียน เนื่องจากพื้นที่รอบสถานีเซนส์หลุยส์มีสถานที่เกี่ยวข้องทางศาสนาและมีโรงพยาบาลใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่สามารถคนทั่วไปเดินทางมา
ขอใช้บริการได้อย่างสะดวก

สถานีเซนต์หลุยส์มีทางเดินลอยฟ้า ( Skywalk ) เชื่อมต่อกับสะพานลอยของกทม.และเชื่อมต่อสำนักงาน AIA Santorn Tower เนื่องจากสถานีนี้ได้รับการสนับสนุนโครงการคือกลุ่ม AIA ทำให้เกิด Skywalk เชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยงานโยธาจะเสร็จก่อนสิ้นเดือนมกราคม 2564 และเปิดให้บริการคือเดือนกุมภาพันธ์ 2564
สถานีต่อไปเซนส์หลุยส์
Next Station is Saint Louis
https://www.facebook.com/krungthepMK/posts/746562482650066
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 116, 117, 118 ... 155, 156, 157  Next
Page 117 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©