RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181781
ทั้งหมด:13493020
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2021 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ขอบคุณ กทม.-มท.เลื่อนเก็บค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว
หน้า ข่าวทั่วไป
พุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:05 น.

นายกฯ โพสต์ขอบคุณ กทม.-มหาดไทย ร่วมกันช่วยเหลือประชาชน เลื่อนเก็บค่าตั๋วรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาทออกไปก่อน

10 กุมภาพันธ์ 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha" ว่า ตามที่ทางกรุงเทพมหานครได้ออกประกาศ เลื่อนการเก็บค่าตั๋วรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว 104 บาทตลอดสายออกไปก่อน


หลังจากที่ได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้พิจารณาทบทวนโดยให้คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของพี่น้องประชาชนท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ผมขอขอบคุณกรุงเทพมหานคร ท่านผู้ว่าฯ รวมถึงกระทรวงมหาดไทย ที่ได้ช่วยกันใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิดอยู่ ณ ตอนนี้ ขอบคุณครับ #รวมไทยสร้างชาติ

https://www.facebook.com/prayutofficial/posts/1041825542979727

กทม.แจงยิบ หลังชะลอขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 19:35 น.

กทม.เผยเร่งหารือรัฐบาล เคลียร์ค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังแบกภาระหนี้แตะ 1.2 แสนล้าน เทียบค่าโดยสารแบบชัดๆ ดันเก็บค่าโดยสารไม่เกิน 65 บาท

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คว่า สิ่งที่ กทม. พยายามผลักดันค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพดานสูงสุด 65 บาท เดินทางระยะไกล/ตลอดสาย ราคาสูงสุดเพียง 65 บาท เดินทางระยะสั้น คิดตามจำนวนสถานี กทม. และรัฐบาล พยายามผลักดันให้มีการปรับค่าโดยสารตลอดสาย ที่เพดานสูงสุด 65 บาทมาโดยตลอด (61 สถานี 67.45 กิโลเมตร) กทม. คาดหวังว่าจะสามารถผลักดันให้ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีราคาต่ำที่สุดให้ได้ โดย กทม.ได้หารือกับรัฐบาล เพื่อหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด


ขณะเดียวกันปัญหาหนี้สินจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวกว่า 120,000 ล้านบาท เป็นหนี้จากงานโยธาก่อสร้าง ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ค่าซ่อมบำรุง และอื่นๆ และการปรับราคาค่าโดยสารตั้งแต่สถานีคูคต – สถานีเคหะสมุทรปราการ ให้มีเพดานสูงสุดไม่เกิน 65 บาท ไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการส่วนหลักและส่วนต่อขยาย โดยจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งระหว่างการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันนี้กับทางรัฐบาล กทม.ได้ออกประกาศชะลอการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายในวันที่ 16 ก.พ. 64 ออกไปก่อน


ทั้งนี้ที่ผ่านมา กทม.ได้ผลักดันค่าโดยสารให้ไม่เกิน 65 บาท มาโดยตลอด และพยายามปรับค่าโดยสารให้ถูกกว่า 65 บาท และงดเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าที่ต้องเก็บซ้ำซ้อน เพื่อให้คน กทม.ได้ใช้ระบบรถขนส่งมวลชนสาธารณะที่ดีและถูกที่สุดสำหรับอัตราค่าโดยสารแต่ละช่วงของการเดินทาง อธิบายแบบง่าย ๆ ดังนี้กทม.แจงยิบ หลังชะลอขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท
กทม.แจงยิบ หลังชะลอขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท

หากเดินทางในเส้นทางหลัก 2 เส้นทาง คือ สายสุขุมวิท (หมอชิต-อ่อนนุช) และสายสีลม (สนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน) ค่าโดยสารอยู่ที่ 16-44 บาท (ค่าโดยสาร สถานีละ 4 บาท) แต่ถ้าเดินทางต่อไปยังเส้นทางส่วนต่อขยาย ค่าโดยสารจะอยู่ที่สถานีละ 3 บาท และไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าเพิ่ม โดยมีเส้นทางจากสถานีห้าแยกลาดพร้าว-คูคต สถานีบางจาก-เคหะสมุทรปราการ สถานีโพธิ์นิมิตร-บางหว้า ถ้าเดินทางจากเส้นทางส่วนต่อขยาย เข้ามายังเส้นทางหลัก จะไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าอีก
สำหรับกรณีที่เดินทางจาก คูคต เริ่มต้นที่ 15 บาท สถานีต่อไปเพิ่มสถานีละ 3 บาท และเมื่อเข้าเส้นทางหลักที่สะพายควาย ค่าโดยสาร สถานีละ 4 บาท ซึ่งถ้าเดินทางจนถึงสถานีอนุสาวรีย์ชัยฯ ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 65 บาท และหากเดินทางต่อไปจากอนุสาวรีย์ชัย จนถึงสถานีสุดท้ายเคหะสมุทรปราการ ค่าโดยสารสูงสุดเพียง 65 บาทเท่านั้น ขณะเดียวกันหากเดินทางจาก เคหะสมุทรปราการ เริ่มต้นที่ 15 บาท สถานีต่อไปเพิ่มสถานีละ 3 บาท และเมื่อเข้าเส้นทางหลักที่แบริ่ง ค่าโดยสารสถานีละ 4 บาท ซึ่งถ้าเดินทางจนถึงสถานีอโศก ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 65 บาท และหากเดินทางต่อไปจากอโศก จนถึงสถานีสุดท้ายคูคตค่าโดยสารสูงสุดก็เพียง 65 บาทเท่านั้นเช่นกันพล.ต.อ.อัศวิน กล่าวต่อว่า เปรียบเทียบความคุ้มค่าในการเดินทาง สมมุติ เดินทางจาก คูคต จ.ปทุมธานี ไป เคหะสมุทรปราการ จ. สมุทรปราการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 65 บาท รถเมล์ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง ค่าโดยสาร 70 บาท รถแท็กซี่ ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง ค่าโดยสาร 421 บาท รถไฟฟ้าเมื่อเทียบกับรถเมล์จะใช้เวลาในการเดินทางน้อยกว่า และเมื่อเทียบกับรถแท็กซี่จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 6 เท่า ที่สำคัญรถไฟฟ้ามีความแน่นอนของเวลาในการเดินทางมากกว่ารถเมล์และรถแท็กซี่“กทม. ยืนยันจะพยายามทำให้ระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะเป็นระบบที่ดีและถูกที่สุด เพื่อให้คน กทม. ได้ใช้บริการ รถไฟฟ้าBTS หรือรถสาธารณะอื่นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และราคาถูกที่สุด”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2021 1:56 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.รับไม่มีเงินจ่ายหนี้ BTS 3 หมื่นล้าน คาดผู้โดยสารสายสีเขียววูบ 30%
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 - 12:08 น.

กทม.ยอมรับสภาพไม่มีเงินจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถ BTS กว่า 3 หมื่นล้าน จ่อขอรัฐบาลอุดหนุนงบประมาณหมื่นล้าน จ่ายหนี้เก่า หนี้ใหม่ หลังหนี้ถูกรวมไว้กับสัมปทานใหม่สายสีเขียวทั้งโครงการ เผยช่วงแรกผู้โดยสารหายแน่ 30% ขอ 6 เดือนประเมินผลตอบรับพฤติกรรมคนใช้บริการนั่งสั้น-นั่งยาว เล็งคลอดโปรโมชั่นตั๋วเที่ยว ตั๋วเดือน ลดภาระค่าเดินทาง คนกรุงโอดเก็บสูงสุดตลอดสาย 104 บาทแพงมหาโหด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 8 ก.พ.2564 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ลงนามในประกาศกรุงเทพมหานคร เลื่อนเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอัตราไม่เกิน 104 บาทตลอดสาย จะเก็บวันที่ 16 ก.พ.2564 ออกประกาศเมื่อวันที่ 15 ม.ค.2564 ให้เลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้พิจารณาทบทวนอัตราค่าโดยสารต่ำประกาศ

โดยให้คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาระของ กทม. ให้เกิดความเหมาะสม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยร่วมหารือแนวทางในการดำเนินการกับสภาก็ทำมอเพื่อลดผลกระทบ ซึ่งเป็นการตัดสินใจของผู้ว่าฯกทม.แบบกะทันหัน และออกประกาศในช่วงดึกของวันดังกล่าว เนื่องจากในวันเดียวกันนั้น ยังได้รับการยืนยันจากผู้บริหาร กทม.ยังเก็บค่าโดยสารใหม่ตามกำหนดเดิม

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือจาก บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ส่งมายัง กทม.และ บจ.กรุงเทพธนาคม (เคที) ขอให้ชำระค่าจ้างเดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 60 วัน นับจากได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 หรือภายในเดือน เม.ย.นี้

ไม่มีเงินจ่ายหนี้-จ่อของบฯรัฐ
แยกเป็นการชำระหนี้ในการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงตากสิน-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งค้างชําระมาเป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2560 คิดเป็นเงินประมาณ 9,602 ล้านบาท

และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ ไฟฟ้าและเครื่องกล จะถึงกําหนดชําระในเดือน มี.ค. 2564 คิดเป็นเงินประมาณ 20,768 ล้านบาท หากไม่มีการชำระบริษัทแจ้งว่ามีความจําเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้สิทธิตามกฎหมายและตามสัญญากับกรุงเทพธนาคม และ กทม.ต่อไป

“ยอมรับ กทม.ไม่มีเงินที่จะจ่ายหนี้ ทางผู้บริหารอยู่ระหว่างพิจารณาจะดำเนินการอย่างไรต่อไป จะต้องขอจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลมาชำระหนี้หรือไม่ เพราะ กทม.ไม่ได้ตั้งงบประมาณประจำปีสำหรับจ่ายหนี้ หากขอรัฐอุดหนุนต้องขอปีละ 10,000 ล้านบาท จ่ายหนี้เก่า 5,000 ล้านบาท ค่าจ้างเดินรถปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท และส่วนต่างค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ขาดทุนด้วย”

หนี้ถูกรวมอยู่สัมปทานใหม่
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า เนื่องจากนำค่าจ้างเดินรถและการลงทุนระบบต่าง ๆ ไว้ในเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาทที่บีทีเอสจะรับภาระให้ กทม.ไปแล้วในสัญญาสัมปทานใหม่ กำลังรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

“ตามสัมปทานใหม่จะเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวทั้งโครงการตามระยะทาง เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวเริ่มต้น 15-65 บาท ซึ่ง ครม.ยังไม่อนุมัติ กทม.ต้องเก็บค่าโดยสาร 15-104 บาทชั่วคราววันที่ 16 ก.พ.นี้”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โดยโครงสร้างราคาในช่วงสัมปทานของบีทีเอสยังเก็บคงเดิม 16-44 บาท กทม.จะเก็บส่วนต่อขยาย 15-45 บาท สูงสุดตลอดสายไม่เกิน 104 บาท แต่หากผู้โดยสารมีตั๋วเที่ยวของบีทีเอสจะทำให้ถูกลงนั่งส่วนต่อขยายและช่วงสัมปทาน เสียค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนต่อขยาย 30 บาท สัมปทาน 29 บาท รวม 74 บาท

กทม.รอประเมินผู้โดยสาร 6 เดือน
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนการทำกิจกรรมการตลาดในส่วนของส่วนต่อขยายที่อยู่ในความดูแลของ กทม. ขอดูพฤติกรรมและผลกระทบของผู้โดยสารหลังจากเก็บค่าโดยสารใหม่ใน 6 เดือนก่อน ทั้งนี้ การออกโปรโมชั่นพวกตั๋วเที่ยวและตั๋วเดือนนั้น ปัจจุบันจะมีเฉพาะส่วนเส้นทางหลักหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสินเท่านั้นที่มีราคาโปรโมชั่น ซึ่งออกโดยบีทีเอสผู้รับสัมปทาน

“ไม่ใช่ กทม.ไม่ยอมทำอะไรเลย รอแต่สัญญาสัมปทานสายสีเขียวผ่าน ครม.อย่างเดียว แต่เราต้องดูนิดหนึ่งสัก 6 เดือนว่า หลังประกาศราคาใหม่ออกไปการเดินทางของประชาชนเป็นอย่างไร เรื่องตั๋วเที่ยวตั๋วเดือนค่อยดูอีกที ซึ่งการทำตั๋วเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ คงให้บีทีเอสเป็นผู้ทำระบบให้ ส่วนกรอบราคา กทม.จะเป็นผู้กำหนดเอง” แหล่งข่าวกล่าวและว่า


ส่วนต่อขยายคนขึ้นแตะแสน
สำหรับปริมาณผู้โดยสารข้อมูลเมื่อเดือน ธ.ค. 2563 พบว่า ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มีผู้โดยสารรวม 160,000-170,000 เที่ยวคน/วัน ส่วนด้านใต้ช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ มีผู้โดยสาร 80,000-90,000 เที่ยวคน/วัน

“การเก็บค่าโดยสารใหม่ช่วงแรก คาดว่าผู้โดยสารจะหายไปประมาณ 30% หลังจากนั้น 5-6 เดือนน่าจะกลับมาเป็นปกติ เราจะใช้เวลาตรงนี้ประเมินผู้โดยสารและวางแผนในการออกโปรโมชั่นต่อไป”

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสัมปทานสายสีเขียวยังไม่ผ่าน ครม.ตามที่คาดไว้ จะทำอย่างไรกับการชำระหนี้ให้กับบีทีเอส แหล่งข่าวตอบว่าก็คงต้องนำรายได้ค่าโดยสารที่เก็บในอัตราใหม่มาชำระไปก่อน โดยจะค่อย ๆ ทยอยจ่ายไป จะต้องหารือร่วมกันต่อไป และอีกด้านหนึ่งอาจจะพิจารณาเปิดประมูล PPP ใหม่

คนใช้สะท้อนเก็บ 65/104 บาทก็แพง
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ลงพื้นที่สถานีบีทีเอสหมอชิต สอบถามประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสถึงกรณีที่ กทม.จะเก็บค่าโดยสารใหม่ 15-104 บาทในวันที่ 16 ก.พ. 2564


“พี่อโนทัย” พนักงานออฟฟิศกล่าวว่า ปกตินั่งรถไฟฟ้า BTS แทบทุกวัน โดยเดินทางจากที่พักย่านอุดมสุขไปทำงานแถวตึกชินวัตร 3 โดยลงที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว ส่วนตัวมองว่าค่าโดยสารอัตราใหม่มีราคาแพงไป ส่วนราคาสูงสุด 65 บาทเป็นราคาที่ไม่แพงมากจนเกินไป ก็พอรับได้

“ยังไม่ได้วางแผนว่าเมื่อค่าโดยสารสูงขึ้นจะปรับเปลี่ยนการเดินทางอย่างไร เพราะก็ยอมรับว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสมีความสะดวกสบายและทำเวลาได้ค่อนข้างดี”

ขณะที่ “พี่ณัฐพร” พนักงานออฟฟิศกล่าวว่า ใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสเดินทางไปจากบ้านพักที่อารีย์มาลงที่สถานีหมอชิต เพื่อไปทำงานที่ออฟฟิศแถวธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่ ตรงจตุจักร

จำเป็นต้องนั่งเพราะสะดวก
“ค่าโดยสารสูงสุด 104 บาทแพงไป และราคา 65 บาทที่เป็นราคาเมื่อต่อสัญญาสัมปทานสานสีเขียวได้ ก็ยังแพงอยู่ดี ควรจะลดลงมาเหลือสัก 55-60 บาทน่าจะเหมาะสม ส่วนการวางแผนเปลี่ยนเส้นทางหรือการเดินทาง คงไม่เปลี่ยนเพราะตัวเองเดินทางระยะสั้นเพียง 3 สถานี ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาใหม่มากนัก”

ด้าน “คุณลุงบุญช่วย” อายุ 65 ปีระบุว่า จะใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสไปแถววัดพระศรีมหาธาตุฯเยี่ยมหลานมีความเห็นว่า ไม่ควรขึ้นราคาแพงขนาดนั้น เพราะตอนนี้ประชาชนแบกภาระต่าง ๆ เยอะมาก ค่าครองชีพก็สูง คนตกงานก็เยอะจากภาวะโควิด ราคาสูงสุด 65 บาทก็ไม่โอเค ยังแพงอยู่ดี

ปิดท้ายที่ “น้องปรภา” นักศึกษากล่าวว่า ส่วนมากจะใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นประจำจากบ้านย่านพระโขนงไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หากค่ารถขึ้นสูงสุดถึง 104 บาทก็ถือว่าแพงเกินไป

เนื่องจากปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจไม่ได้ดี ส่วนถ้าต่อสัมปทานแล้วค่ารถสูงสุดจะลงมาเหลือ 65 บาทก็แพงอยู่ดี แต่รับได้มากกว่า 104 บาท ส่วนตัวยังไม่คิดแผนปรับการเดินทาง เพราะตั้งแต่บีทีเอสผ่านหน้ามหาวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว ยอมรับว่าเดินทางสะดวกขึ้นมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2021 11:06 am    Post subject: Reply with quote

‘ประยุทธ์’รับสภาพ’กทม.-รัฐบาล’แบกภาระรถไฟฟ้าสายสีเขียวไม่ไหว!

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 13:46 น.

10 ก.พ.2564 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี กทม.ประกาศเลื่อนการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว 104 บาทตลอดสายออกไปก่อนว่า รัฐบาลมองประโยชน์ของรัฐและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักในการดำเนินการในทุกเรื่องที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในการลงทุนทั้งหมด แต่ภาระมันไม่ใช่ของ กทม. ต้องถามว่า กทม.รับภาระนี้ไหวไหม เมื่อรับไม่ไหวแล้วรัฐบาลรับไหวไหม ก็ไม่ไหวทั้งคู่ เพราะรถไฟฟ้าสายสีเขียวยืดเยื้อมายาวนาน ฉะนั้นก็ต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้ บอกได้เท่านี้

“วันนี้อย่างน้อยประชาชนก็ไม่ได้รับผลกระทบตรงนี้ ซึ่งที่จริงแล้วตลอดเส้นทาง ถ้าพูดถึงจำนวนเงินรวมอาจจะดูสูง แต่ต้องไปดูที่เขาประเมินว่าคนส่วนใหญ่จะขึ้นรถไฟฟ้าสายนี้ระยะทางเท่าไหร่ มากน้อย การเพิ่มสถานีเข้าไปควรจะเท่าไหร่ ก็หารือกันอยู่ ขอให้เข้าใจหนี้สินภาระของ กทม.พันกับภาระของรัฐบาล ถ้าไม่หาทางแก้ปัญหาที่สามารถร่วมมือกันได้ ตกลงกันได้ และเป็นไปตามกฎหมายมันก็จบ ไม่อย่างนั้นปัญหาทุกปัญหาคาราคาซังกันอยู่ ก็ไปไม่ได้ทั้งหมด รถไฟฟ้าทุกสาย ผลประโยชน์และความต้องการของประชาชนต้องเป็นหลัก จากนั้นก็เป็นเรื่องของการลงทุน ผลประโยชน์รัฐจะได้อะไรกลับมา แต่ทุกเส้นทุกสายเมื่อหมดอายุสัมปทานแล้วก็เป็นของรัฐทั้งหมด ตามหลักการการลงทุน”


'คมนาคม'ชี้เลื่อนเก็บค่าโดยสารสายสีเขียว104บาทเป็นเรื่องดี

09 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 18:53 น.



9 ก.พ.2564 แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ออกประกาศเรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยเลื่อนเก็บค่าโดยสารโครการในอัตรา 104 บาทตลอดสายออกไปก่อน เดิมจะเก็บอัตราค่าโดยสารดังกล่าว ในวันที่ 16 ก.พ. 2564 หลังจากได้ประกาศไปก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 เพื่อลดผลกระทบของประชาชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า การเลื่อนเก็บค่าโดยสาร 104 บาทตลอดสายออกไปก่อน ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่การดำเนินการดังกล่าว มองว่า จะเป็นการสร้างภาระหนี้เพิ่มขึ้น เนื่องจากจะต้องจ้างเอกชนเดินรถ และไม่มีการเก็บค่าโดยสาร หลังจากได้ให้บริการโดยไม่จัดเก็บค่าโดยสารตั้งแต่เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา และ กทม. เป็นหนี้กับบริษัทเอกชนกว่า 9 พันล้านบาทในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ในส่วนของการคิดอัตราค่าโดยสารนั้น ขอให้ กทม. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อช่วง พ.ย. 2561 ให้ครบถ้วน ซึ่งใน มติ ครม. ดังกล่าว ได้กำหนดไว้ว่า กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และ กทม. จะต้องไปบูรณาการร่วมกัน ในเรื่องการกำหนดอัตราค่าโดยสาร และการจัดระบบการขนส่งให้ชัดเจน แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการหารือร่วมกัน พร้อมทั้งควรจะดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนการ ก่อนที่จะกำหนดค่าโดยสารออกมา

“การจะทำอะไร ต้องเข้า ครม. เพราะ กทม. ไม่ใช่ ครม. ขั้นตอนยังไม่ถูกต้อง ตอนที่ กทม.จะคิดค่าโดยสาร ต้องมาประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคมก่อน แล้วตอนนี้มาคิดค่าโดยสารให้งง โดยตามที่กำหนดเพดานสูงสุดอยู่ที่ราคา 158 บาท แล้วเอาระยะทางมาหาร ซึ่งภาพอาจจะดูดี แต่เวลาเก็บค่าโดยสารเส้นทางตรงกลาง กลับเอาสถานีมาเป็นตัวตั้ง หรือเก็บสถานีละ 3 บาท ซึ่งถ้าจะหารจริง ต้องเท่ากันหมด หรือใช้แฟร์เรท แต่ที่ผ่านมาไม่มาคุยกับกระทรวงคมนาคม ถ้าคุยเราก็จะบอกทำแบบนี้” แหล่งข่าว กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของการบริหารหนี้สินนั้น มองว่า กทม. ควรจะบริหารหนี้ในรูปแบบที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการ ซึ่งวิธีดังกล่าว รฟม. ได้เคยเสนอดำเนินการในรูปแบบนั้นอยู่แล้ว กล่าวคือ เพื่อดำเนินการกู้เงินมา โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน และเมื่อถึงเวลาชำระหนี้ ก็ดำเนินการวางแผนบริหารหนี้กับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ขณะเดียวกัน รฟม. จะจัดเก็บค่าโดยสารส่งคืนเพื่อเป็นรายได้ให้กับกระทรวงการคลัง ซึ่งรูปแบบดังกล่าว เป็นวิธีการที่โครงการขนาดใหญ่ใช้ดำเนินการ โดยจะมีการกำหนดกรอบเวลาการชำระหนี้คืนให้ชัดเจน ซึ่งจากหนังสือก่อนหน้านี้ กทม. ก็จะดำเนินการในรูปแบบนั้น แต่กลับให้เอกชนรับหนี้งานก่อสร้างส่วนต่อขยายไป แล้วมีการจ้างเอกชนเดินรถ โดยไม่เก็บค่าโดยสาร ทั้งที่มีเงินโดยไม่ติดภาระวงเงินประมาณ 5 หมื่นกว่าล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องดังกล่าว กระทรวงคมนาคม ได้มีความเห็นเพิ่มเติมไปแล้วก่อนหน้านี้ 4 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การคิดอัตราค่าโดยสาร 2.การบริหารทรัพย์สิน ที่จะต้องเป็นประโยชน์ต่อรัฐ โดยให้พิจารณาให้สมบูรณ์ ผลการศึกษา ซึ่งเมื่อครบสัญญาสัมปทาน 30 ปี ในปี 2572 โครงการดังกล่าว ควรต้องกลับมาเป็นของรัฐ และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐมากขึ้น 3.ประเด็นข้อพิพาททางด้านกฎหมาย ซึ่งยังอยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการป้องกันและกราบกรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีการลงนามโดยมิชอบ เมื่อปี 2559 เพื่อขยายถึงปี 2585 และมีการโอนทรัพย์สินในปี 2561 และ 4.ประเด็นครบถ้วนตามหลักการของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562

“กระทรวงคมนาคมได้ส่งหนังสือไป โดยมีความเห็น 4 เรื่อง พร้อมทั้งทำหนังสือ 4 ฉบับ โดยยืนยันว่า กระทรวงคมนาคมไม่ได้ค้าน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และมติ ครม. ขณะเดียวกันที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือขอข้อมูลไปตั้งแต่ช่วงก่อนปีใหม่ หรือปลายปี 2563 จำนวน 9 เรื่อง แต่ได้การตอบกลับมา 2 เรื่อง ซึ่งอยากรู้ว่า ถ้า กทม.ทำแบบนี้ รถไฟฟ้าสีอื่นทำแบบนี้ได้ไหม” แหล่งข่าว กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 1:47 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมแนะ กทม.ใช้โมเดล รฟม.บริหารหนี้สายสีเขียว ชี้ปล่อยนานยิ่งเพิ่มภาระ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20:52 น.
ปรับปรุง: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 20:52 น.




“คมนาคม” ชี้เลื่อนขึ้นค่าโดยสารสายสีเขียวดีต่อประชาชน แต่ กทม.จะยิ่งมีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น แนะเร่งแก้ปัญหา และบริหารภาระหนี้กับ สบน.เหมือนรถไฟฟ้าสายอื่นๆ ของ รฟม. ยันไม่มีนโยบายดึงสีเขียวกลับคืน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงกรณีที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ลงนามในประกาศเลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว อัตรา 104 บาท ออกไปก่อนจากที่ได้กำหนดว่าจะจัดเก็บในวันที่ 16 ก.พ. 2564 นั้นถือเป็นเรื่องที่ดีประชาชนไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ในขณะเดียวกัน ทาง กทม.ได้ดูหรือไม่ว่าเป็นการสร้างภาระหนี้สินเพิ่มแก่ กทม.หรือไม่ เพราะ กทม.ได้จ้าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เดินรถส่วนต่อขยายมาตั้งแต่ 11 ธ.ค. 2561 โดยไม่เก็บค่าโดยสารเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว

ทั้งนี้ กทม.อ้างว่ามีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่รับทราบตามรายงานการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ กทม.เป็นผู้เดินรถ เส้นทางส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ โดยรับโอนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งต้องรับภาระค่างานโยธาประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งทาง กทม.เคยเสนอรูปแบบการร่วมลงทุนเอกชน (PPP) ซึ่งเป็นการบริหารหนี้เหมือนที่ รฟม.ดำเนินการ คือ กู้เงิน โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะวางแผนระยะเวลาปลอดหนี้ โดยหน่วยงานจะมีรายได้จากค่าโดยสารและส่งคืนคลังเพื่อชำระหนี้

แต่ตอนนี้ กทม.จะนำหนี้ค่างานโยธาของส่วนต่อขยายสายสีเขียวให้ทางบีทีเอสรับภาระ แล้วยังรวมหนี้ค่าจ้างเดินรถ ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้าไปด้วย ซึ่งไม่เข้าใจว่าทำไม กทม.จึงติดค้างค่าจ้างวิ่งส่วนนี้ด้วย เพราะ กทม.มีเงินที่ไม่ติดภาระอะไรประมาณ 50,000 ล้านบาทที่จ่ายได้

ขณะที่การกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น กทม.ได้ตรวจสอบแล้วหรือไม่ว่าได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ครบถ้วนหรือยัง ซึ่งการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้น กทม.จะต้องดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปี 2561 ซึ่งระบุให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และ กทม.บูรณาการในเรื่องการกำหนดอัตราค่าโดยสาร อัตราแรกเข้าที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา กทม.ไม่เคยประชุมเรื่องอัตราค่าโดยสารกับกระทรวงคมนาคมตามมติ ครม.เลย

อย่างไรก็ตาม กทม.ควรใช้รูปแบบการบริหารหนี้ค่าก่อสร้างในรูปแบบเดียวกับที่ รฟม. และดำเนินการตามขั้นตอน PPP กระทรวงคมนาคมไม่มีนโยบายในการดึงโครงการสายสีเขียวส่วนต่อขยายคืนมาเพราะตอนที่ กทม.รับโอนนั้นได้ยืนยันว่าพร้อมดำเนินการ ซึ่งสามารถใช้รูปแบบบ PPP Gross Cost คือจ้างเดินรถ โดยเอกชนไม่ต้องลงทุน ค่าบริการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) หรือรูปแบบ PPP Net Cost ที่เอกชนลงทุน O&M ด้วยก็ได้ โดยแบ่งรายได้รัฐ

จากที่กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือความเห็นในเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี รวม 4 ฉบับ ซึ่งไม่ได้คัดค้าน โดย ฉบับที่ 1 กระทรวงคมนาคมเห็นด้วยแต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เกี่ยวข้อง และฉบับที่ 2 และ 3 ยังมีความเห็นเหมือนกับฉบับที่ 1 และฉบับที่ 4 มีการอธิบายรายละเอียดของความเห็น เรื่องระเบียบ กฎหมาย มติ ครม.คืออะไรบ้าง

โดยมี 4 ประเด็น คือ
1. เรื่องอัตราค่าโดยสาร
2. การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2562 เรื่อง การดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ครบถ้วนตามคำสั่งดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งคำสั่งมาตรา 44 ให้เจรจาแต่ไม่ได้บอกว่าให้ยกเว้นขั้นตอน หรือหัวข้อที่ต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนเอกชน หรือ PPP ดังนั้นแม้ให้เจรจาแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ PPP


3. การบริหารทรัพย์สินต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐมีการพิจารณาสมบูรณ์แล้วหรือไม่ ซึ่งสัญญาของเส้นทางตรงกลางจะครบกำหนดในปี 2572 ทรัพย์สินจะกลับมาเป็นของรัฐ ซึ่งจะเหลือเวลาอีกประมาณ 9 ปี ซึ่งกรณีที่ กทม.จะดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในรูปแบบร่วมลงทุนเอกชนหรือ PPP จะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี ซึ่งยังมีเวลาในการพิจารณาและจะทำให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐมากขึ้น

และ 4. ปัญหาทางข้อกฎหมาย ที่มีข้อพิพาทค้างอยู่ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ยังไม่ยุติ

ทั้งนี้ เมื่อเดือน ธ.ค. 2563 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ทำหนังสือถึง กทม.เพื่อขอรายละเอียด รวม 9 เรื่อง แต่ได้รับคำตอบมา 2 เรื่อง ยังขาด 7 เรื่อง ซึ่ง กทม.ระบุว่าไม่สามารถให้ได้เนื่องจากเป็นความลับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 2:26 am    Post subject: Reply with quote

กทม. เลื่อนขึ้นค่าโดยสาร BTS สูงสุด 104 บาท วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 64 นี้ ออกไปก่อน!!! #ผมบอกแล้ว !!!!
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
เผยแพร่: วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 19:57 น

วันนี้เอาข่าวล่าสุด ของดราม่า ค่าโดยสาร #BTS104บาท มาให้เพื่อนๆ ฟังกันหน่อย
จากที่เคยโพสต์รายละเอียด สรุป #ดราม่า กรุงเทพ จะเก็บค่าโดยสาร BTS ส่วนต่อขยาย เหนือ และ ใต้ ทำให้ค่าโดยสารรวม เพิ่มขึ้นเป็น 104 บาท ซึ่งผมก็บอกแล้วว่า ถ้ายังแก้ปัญหาในเรื่องรูปแบบการลงทุนและสัมปทานไม่ได้ ยังไงก็ยังไม่ขึ้นราคาหรอก!!!
ลิ้งค์โครงการเดิม
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1115882045516940/?d=n
ซึ่งวันนี้ ทางกรุงเทพมหานคร ได้มีเอกสารแจ้ง เลื่อน!!! การเก็บค่าโดยสารใน BTS ส่วนต่อขยาย เหนือ และ ใต้ ที่ต้องเริ่มเก็บในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 64 ออกไปก่อน!!!
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในช่วง #covid_19
ที่มาข้อมูล
https://www.facebook.com/114517608647869/posts/3223844161048516/?d=n
—————————
คาดว่าระหว่างนี้ก็จะทำการเจรจาเรื่องการต่อสัมปทาน และรูปแบบของการลงทุนต่อไป เพื่อให้ได้ราคาค่าโดยสารต่ำที่สุด!!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 2:31 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส ห่วงกทม. ผิดนัดจ่ายหนี้ ‘สายสีเขียว’
หน้า อสังหาริมทรัพย์ /
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 เวลา 08:00 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 19-20
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,653
วันที่ 14 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

บีทีเอส รอ กทม.ตอบกลับเคลียร์หนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 หมื่นล้าน หลังยื่นโนติส 60 วัน คาดกทม.มีช่องทางหารายได้ เหตุชะลอเก็บค่าโดยสาร 104 บาท หวั่นหนี้บานปลาย มี.ค.นี้แตะ 3 หมื่นล้าน

กรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) ประกาศเลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว 104 บาท ที่จะเริ่มภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์และกดราคาลงเหลือ 65บาทตลอดสายนั้น

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บีทีเอสคาดว่ากรุงเทพมหานครอาจมีช่องทางหารายได้ของโครงการดังกล่าวอยู่แล้ว โดยที่ผ่านมาได้เปิดให้ประชาชนใช้บริการฟรีโดยไม่เก็บอัตราค่าโดยสาร เนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสร้างแล้วเสร็จพอดีเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมาเบื้องต้นกรุงเทพมหานครต้องการเก็บอัตราค่าโดยสาร ไม่เกิน 65 บาท เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อประชาชน แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไม่อนุมัติ จากเดิมต้องจัดเก็บค่าโดยสารที่ 158 บาท ทั้งนี้เกรงว่าประชาชนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่ไหวจึงลดลงอัตราค่าโดยสารลงมาที่ 104 บาท แต่ปัจจุบันประชาชนยังรับไม่ได้ที่ต้องชำระค่าโดยสารตามที่กรุงเทพมหานครออกประกาศไว้ ทำให้ต้องชะลอการการเก็บอัตราค่าโดยสารออกไปก่อน“เรายังกังวลว่ากทม.จะมีเงินจ่ายเราไหม เนื่องจากที่ผ่านมาบีทีเอสได้ยื่นหนังสือทวงหนี้แก่กทม.และบริษัทกรุงเทพธนาคมแล้วเพื่อตอบกลับมาที่เราภายใน 60 วัน ส่วนเขาจะนำเงินมาชำระหนี้กับเราจากที่ไหนขึ้นอยู่กับเขาเป็นผู้ดำเนินการ ส่วนจะมีการหารือกับกทม.กรณีที่ค้างชำระหนี้กับบีทีเอสหรือไม่ เรามองว่าปัจจุบันยังไม่ถึงเวลา ซึ่งจะต้องดูก่อนว่ากทม.จะตอบกลับมาอย่างไรหากครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือ”รายงานข่าวจากบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ระบุว่า บริษัทได้ทวงถามบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (มหาชน) ชำระหนี้การให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งมีจำนวนรวมกันทั้งสิ้น 8,899,338,642.45 บาท ซึ่งบริษัทกรุงเทพธนาคมได้มีหนังสือยอมรับสภาพหนี้ ตามที่บริษัทเรียกร้อง แต่กลับไม่มีข้อเสนอใดๆ ที่จะทำให้บริษัทฯ มีความมั่นใจได้เลยว่า บริษัทฯจะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตจากกรุงเทพธนาคมหรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและเจ้าของกรุงเทพธนาคม ทั้งจำนวนหรือทยอยชำระภายใต้กำหนดเวลาใดและด้วยเงื่อนไขเช่นใดขณะเดียวกันบริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของ บริษัทฯ ที่จะต้องทำการบริหารจัดการหนี้ที่ กรุงเทพธนาคมและ กทม. ค้างชำระแก่บริษัทฯ และมีแนวทางที่ชัดเจนหากมีการที่จะต้องให้มีการสร้างหนี้เพิ่มขึ้นไปอีกโดยหนังสือฉบับนี้ บริษัทฯ จึงขอให้กรุงเทพธนาคม และ กทม. ชำระหนี้ทั้งหมด คือหนี้ค่าจ้างค้างชำระถึงวันที่ออกจดหมายฉบับนี้ ซึ่งค้างชำระมาเป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 คิดเป็นเงินประมาณ 9,602,927,987.84 บาท และหนี้ค่าซื้อระบบการดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ที่จะถึงกำหนดชำระในเดือนมีนาคม 2564 คิดเป็นเงินประมาณ 20,768,979,836.13 บาท ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ มิฉะนั้น บริษัทฯ มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้สิทธิตามกฎหมายและตามสัญญาของบริษัทฯ เอากับ กรุงเทพธนาคม และ กทม.ต่อไป


พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวว่า สิ่งที่ กทม. พยายามผลักดันค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพดานสูงสุด 65 บาท เดินทางระยะไกล/ตลอดสาย ราคาสูงสุดเพียง 65 บาท เดินทางระยะสั้น คิดตามจำนวนสถานี กทม. และรัฐบาล พยายามผลักดันให้มีการปรับค่าโดยสารตลอดสาย ที่เพดานสูงสุด 65 บาทมาโดยตลอด ทั้งนี้ กทม. คาดหวังว่าจะสามารถผลักดันให้ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีราคาต่ำที่สุดให้ได้ โดย กทม.ได้หารือกับรัฐบาล เพื่อหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุดขณะเดียวกันปัญหาหนี้สินจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวกว่า 120,000 ล้านบาท เป็นหนี้จากงานโยธาก่อสร้าง ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้า ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ค่าซ่อมบำรุง และอื่นๆ และการปรับราคาค่าโดยสารตั้งแต่สถานีคูคต-สถานีเคหะสมุทรปราการให้มีเพดานสูงสุดไม่เกิน 65 บาท ไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการส่วนหลักและส่วนต่อขยายโดยจ่ายค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งระหว่างการหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันนี้กับทางรัฐบาล กทม.ได้ออกประกาศชะลอการเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายในวันที่ 16 ก.พ. 64 ออกไปก่อน
รายงานข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ลงนามออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง “การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว” โดยมีเนื้อหาระบุว่า ตามที่รัฐบาลมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 มอบหมายให้ กทม. บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตโดยได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ พร้อมเดินรถเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2563 และ กทม. ได้มีประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 จัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวในอัตราไม่เกิน 104 ตลอดสาย ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไปนั้นกทม. ได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้พิจารณาทบทวนอัตราค่าโดยสารตามประกาศ โดยให้คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และภาระของ กทม.ให้เกิดความเหมาะสม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยร่วมหารือแนวทางในการดำเนินการกับสภากทม.เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ ศ. 2552จึงให้เลื่อนการจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตามประกาศ กทม. เรื่อง การกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงวันที่ 15 มกราคม 2564 ออกไปรายงานข่าวแจ้งว่า หาก กทม.มีประกาศเลื่อนจัดเก็บค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวครั้งนี้ออกไปจะทำให้ กทม.แบกรับภาระ 600 ล้านบาทต่อเดือน ทั้งนี้จากเดิมสิ้นเดือนมีนาคม 2564 จะค้างหนี้รวม 3 หมื่นล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

ศาลปกครองจี้ กทม. ส่งข้อมูลสายสีเขียวเพิ่ม
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 - 19:55 น.




ศาลปกครองจี้ กทม. ส่งข้อมูลสายสีเขียวเพิ่ม “ภูมิใจไทย” กัดไม่ปล่อยเลื่อนค่าตั๋ว 104 บาท แค่ซื้อเวลา

ยังไม่จบ ศาลปกครองสั่ง กทม. ส่งรายงานการประชุมสภา กทม. เพิ่ม หลังออกประกาศเลื่อนเก็บค่าตั๋ว 104 บาท ด้าน”ภูมิใจไทย”แขวะแค่ประวิงเวลา ไม่ได้อยากช่วยประชาชนจริงๆ กังขาไม่นำรายได้เชิงพาณิชย์มาโปะ

เมื่อเวลา 13.30 น. ที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย พร้อมคณะเดินทางมารับการไต่สวนรอบเพิ่มเติมกรณีที่ได้ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง เพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอน ประกาศของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เรื่อง กำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ลงวันที่ 15 ม.ค. 2564 ที่กำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่เริ่มต้น 15-104 บาท และ ให้ระงับการดำเนินการใดๆตามประกาศฉบับดังกล่าว

ศาลถาม กทม. เพิ่ม 3 ข้อ
โดยนายสิริพงษ์ กล่าวภายหลังเข้ารับการไต่สวนว่า ศาลยังไม่มีข้อสรุปใดๆเกี่ยวกับคดีนี้ สำหรับการไต่สวนครั้งนี้เกิดจากการที่ กทม.ออกประกาศ เรื่องการกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อค่ำวันที่ 8 ก.พ. 2564 โดยตัวแทนของฝ่ายกทม.ที่มา เป็นผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้บริหารอีกทีหนึ่ง ซึ่งศาลมีประเด็นสอบถามกทม.เพิ่มเติมใน 3 ประเด็น

1. เหตุใดจึงเลื่อนเก็บค่าโดยสารอัตราใหม่ ทางกทม. ชี้แจงว่า การเลื่อนเก็บค่าโดยสารดังกล่าวเป็นความเห็นจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)และเป็นนโยบายของกทม.อยู่แล้วที่ต้องการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน แต่การชี้แจงไม่มีการชี้แจงที่เป็นลายลักษณ์อักษร

2. การเลื่อนเก็บค่าโดยสารออกไป กทม.จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป กทม.ชี้แจงว่า ได้นำประเด็นนี้หารือในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร (กทม.) เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 ศาลจึงขอรายงานการประชุมสภากทม. แต่ยังไม่มีความชัดเจน เพราะกทม.อ้างว่า ยังตอบไม่ได้ว่าจะส่งเอกสารได้เมื่อไหร่

และ 3 ศาลถามว่า การไม่ขึ้นค่าโดยสารดังกล่าว จะมีผลกระทบกับกทม. อย่างไร เพราะก่อนหน้านี้อ้างว่า หากไม่เก็บค่าโดยสารจะมีผลกระทบ กทม.ตอบเพียงว่า มีผลกระทบอยู่ แต่สามารถชะลอได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาขน

ภูมิใจไทยกังขาไม่เอารายได้พาณิชย์ข่วย
“ฝ่ายเราก็ชี้แจงว่า กทม. ยังไม่ทำตามกระบวนการให้ครบถ้วน เช่น การหารายได้เชิงพาณิชย์และโฆษณาตามสถานีต่างๆ กทม.ไม่เคยจัดเก็บรายได้ เพื่อเอามาสนับสนุนการลดภาระด้านค่าโดยสารให้กับประชาชน แม้กทม.จะชี้แจงว่ายังเก็บรายได้จากส่วนนี้ไม่ได้ ก็แสดงว่า กทม. ยังไม่รอบคอบรัดกุมในการดำเนินการเลย “


นายสิริพงษ์กล่าวอีกว่า การที่อ้างว่า หากรถวิ่งออกจากส่วนไข่แดง (หมอชิต-อ่อนนุช/สนามกีฬาฯ-ตากสิน) เข้าสู่ส่วนต่อขยาย กทม.ไม่มีรายได้ เอกชนได้อยู่อย่างเดียว ดังนั้น การที่กทม. วิ่งรถไฟฟ้ายาว 40-50 กม. แล้วไม่ได้อะไรเลยจึงเป็นไปไม่ได้ เพราะทรัพย์สิน กทม.รับจากรฟม.แล้ว

กทม.ยังแจงที่มาค่าโดยสารไม่ได้
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ที่กทม.ไม่เก็บรายได้เชิงพาณิชย์ เพราะผูกอยู่ในสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กำลังอยู่ระหว่างเสนอ ครม. หรือไม่ นายสิริพงศ์ ตอบว่า กทม.บอกในเรื่องของสัมปทานจริง แต่การเดินรถ ทรัพย์สินส่วนต่อขยายต่างๆก็รับโอนมาจากรฟม.แล้ว และในการเจรจาก็ไม่ใช่ว่า กทม. จะคุยกับเอกชนไม่ได้ อาจจะเสนอขายทั้งก้อนก็ได้ ก็อยู่ที่วิธีเจรจากับเอกชน ซึ่ง กทม. ไม่เคยคิดเรื่องการลดภาระให้ประชาชนเลย

“กทม. ยังตอบไม่ได้ว่าค่าโดยสารที่จะจัดเก็บมีที่มาที่ไปอย่างไร จนเราตั้งข้อสังเกตว่า การเลื่อนเก็บค่าโดยสารดังกล่าว เพียงแค่ต้องการประวิงเวลาหรือไม่ “


ขอรายงานประชุมสภาหทม. – แนบท้ายสัญญา
โดยหลังจากไต่สวนคู่ความทั้ง 2 แล้ว ศาลได้สั่งให้ กทม. ส่งหลักฐานเพิ่มเติมคือ รายงานการประชุมสภากทม.เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 ซึ่งในการไต่สวน กทม. จะขอส่งเฉพาะรายงานการประชุมแบบสรุป เราจึงคัดค้านไปว่า รายงานแบบสรุปไม่พอ ขอเป็นรายงานที่มีการรับรอง ซึ่ง กทม.บอกว่า ถ้าจะเอาแบบมีการรับรองอาจจะใช้เวลาเป็นปี ศาลจึงถามต่อทำไมใช้เวลาเป็นปี ตอนนี้ กทม.ก็กำลังหาคำตอบอยู่

นอกจากนี้ เราเองก็ขอให้กทม.ส่งเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยายช่วงหมอชิต – คูคต และช่วงแบริ่ง – เคหะสมุทรปราการที่ บจ.กรุงเทพธนาคม (เคที) จ้าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ด้วย เพราะสัญญาหลักที่ให้มา ไม่มีรายละเอียดของการคิดค่าโดยสาร

ส่วนเอกสารที่ฝ่ายเราขอไป 11 ข้อ เช่น ผลการศึกษาโครงการและแนวทางกำหนดอัตราค่าโดยสาร, การประมาณปริมาณผู้โดยสาร การคำนวณอัตราผู้โดยสาร การใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และเกณฑ์การปรับค่าโดยสาร หรือรายงานการศึกษาด้านรายได้ค่าโดยสารและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ศาลเพิ่งมีหมายออกไปให้ กทม. ส่งข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งหากได้รับเอกสารเพิ่มเติมแล้ว ก็จะได้เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบกับรถไฟฟ้าสายอื่นด้วย

“เรามองว่าการออกประกาศดังกล่าว เป็นแค่การเลื่อน ไม่ได้ยกเลิกประกาศฉบับเดิมที่เก็บค่าโดยสาร 104 บาท แต่อัตราค่าจ้างที่มีต่อ BTSC ถ้าเกิดไม่ชอบขึ้นมา ส่วนต่างจะไปตกกับประชาชน ซึ่งมีแต่ผลเสียมากกว่า” นายสิริพงศ์กล่าวทิ้งท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2021 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอส ร่วมกับ เขตคลองสาน กรุงเทพธนาคม และไอคอนสยาม ผนึกกำลังจิตอาสาพัฒนาทำความสะอาดสถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง
รถไฟฟ้าบีทีเอส
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 15:12 น.

​เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ณ สถานีเจริญนคร นายวุฒิชัย เชื้อมั่นคง ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตคลองสาน นายสุมิตร ศรีสันติธรรม ผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ นางสาวนริศรา ศรีสันต์ ที่ปรึกษากลยุทธ์สื่อสารองค์กร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร.อ.ภักดี ผ่องใส ผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด พร้อมผู้บริหารจาก กรุงเทพธนาคม ร่วมเปิดกิจกรรมจิตอาสา นำทีมเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานรัฐ และเอกชนรวมกว่า 80 คน ดำเนินการเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ และน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วมตามจุดต่าง ๆ ของรถไฟฟ้าสายสีทองทั้ง 3 สถานี ได้แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีคลองสาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้โดยสาร และป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2021 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

BTSGIF จ่ายคืนเงินทุนให้ผู้ถือหน่วย 0.125 บาทต่อหน่วย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 01.32 น.
ปรับปรุง: อังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 01.32 น.


นายพรชลิต พลอยกระจ่าง รองกรรมการผู้จัดการ Head of Real Estate & Infrastructure Investment บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (กองทุนบัวหลวง) เปิดเผยว่า กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) เตรียมนำกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน รอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2563 (ไตรมาสที่ 3 ของการดำเนินงานปี 2563/2564) จ่ายให้ผู้ถือหน่วยลงทุนในรูปการคืนเงินทุน 0.125 บาทต่อหน่วย โดยการลดมูลค่าที่ตราไว้จากหน่วยละ 9.817 บาท เหลือหน่วยละ 9.692 บาท ทำให้ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมีการจ่ายเงินปันผลและการคืนเงินทุนรวมแล้วทั้งสิ้น 5.450 บาท

การจ่ายคืนเงินทุนครั้งนี้จะขึ้นเครื่องหมายไม่ได้รับสิทธิในการรับคืนเงินทุน (XN) วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหน่วยลงทุนเพื่อกำหนดสิทธิในการรับคืนเงินทุนในวันที่ 1 มีนาคม 2564 เพื่อจ่ายคืนเงินทุนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในวันที่ 15 มีนาคม 2564

นายพรชลิตกล่าวว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการดำเนินงานปี 2563/2564 กองทุน BTSGIF มีรายได้รวม 806.3 ล้านบาท ลดลง 36.8% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 9.3% จากไตรมาสก่อนหน้า โดยสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากเงินลงทุนในสัญญาซื้อและโอนสิทธิรายได้สุทธิจากการดำเนินงานระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพสายหลักตามสัญญาสัมปทานซึ่งอยู่ที่ 805.0 ล้านบาท ลดลง 36.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แต่เพิ่มขึ้น 9.3% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 บรรเทาลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

ขณะที่รายได้จากการลงทุนสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2563/2564 เท่ากับ 789.4 ล้านบาท ลดลง 37.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการลดลงของรายได้รวมข้างต้น แต่ในทางกลับกัน รายได้จากการลงทุนสุทธิก็เพิ่มขึ้น 10.0% จากไตรมาสก่อน เนื่องจากรายได้รวมเมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตรากำไรจากรายได้จากการลงทุนสุทธิเป็น 97.9% เทียบกับ 98.6% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และ 97.3% ในไตรมาสก่อน

ทั้งนี้ กองทุน BTSGIF รับรู้ขาดทุนสุทธิจากเงินลงทุนในไตรมาส 3 ปี 2563/2564 จำนวน 2,965.5 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัย 2 ประการ ได้แก่

1) มูลค่าเงินลงทุนในสัญญาซื้อและโอนสิทธิรายได้สุทธิตามมูลค่ายุติธรรมลดลงจำนวน 2,900.0 ล้านบาท (รายการที่ไม่ใช่เงินสด) จากผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของรถไฟฟ้าบีทีเอสในไตรมาส 4 ปี 2563/2564 และในปี 2564/2565 รวมถึงระยะเวลาคงเหลือของสิทธิในรายได้สุทธิตามสัญญาสัมปทานลดลง

2) การบันทึกเงินลงทุนในสถานีศึกษาวิทยา (S4) จำนวน 65.7 ล้านบาท โดยมูลค่าเงินลงทุนในสัญญาซื้อและโอนสิทธิรายได้สุทธิ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 อยู่ที่ 50,310.0 ล้านบาท จาก 53,210.0 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2563

นายพรชลิตกล่าวว่า กองทุนบัวหลวงเชื่อว่าในระยะยาวการจัดสรรเงินส่วนหนึ่งลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ก็ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ โดยในส่วนของกองทุน BTSGIF นั้น หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชนในวงกว้างแล้ว ก็จะส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้า BTS ทยอยกลับมาอีกครั้ง และทำให้ผลการดำเนินงานฟื้นตัว

ส่วนอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กองทุนมีรายได้และอายุกองทุนมากขึ้น คือ การลงทุนเพิ่มเติมในรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายที่เป็นสิทธิของกองทุนที่จะเข้าลงทุนเพิ่มเติมได้ในอนาคตเมื่อมีจังหวะที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพของกองทุนให้ยั่งยืน ขณะที่ราคาหน่วยลงทุนในปัจจุบันอยู่ต่ำกว่ามูลค่าทรัพย์สินสุทธิมาก ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน

อนึ่ง มูลค่าทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานที่กองทุนลงทุนในปัจจุบันจะลดลงตามอายุของสิทธิในรายได้สุทธิตามสัญญาสัมปทานที่จะหมดอายุในปี 2572
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2021 6:25 pm    Post subject: Reply with quote

ไขทางออกกรุงเทพธนาคม จ่อขอเงินรัฐจ่ายหนี้ BTS?

manager360
จันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564

ความเป็นไปของกรณีการประกาศเลื่อนเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวของกรุงเทพมหานครในอัตรา 104 บาทตลอดสาย ซึ่งเดิมกำหนดที่จะเริ่มเก็บในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 ก่อนที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะประกาศเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาให้เลื่อนการเก็บค่าโดยสารดังกล่าวนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนด ภายใต้เหตุผลว่าได้รับนโยบายจากรัฐบาลให้พิจารณาทบทวนอัตราค่าโดยสาร โดยให้คำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาระของ กทม. ให้เกิดความเหมาะสม

ข้อน่าสังเกตจากการตัดสินใจของผู้ว่าราชการ กทม. ดังกล่าว ดูจะเป็นไปอย่างกะทันหันและออกประกาศในช่วงดึกของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2564 โดยที่ก่อนหน้านั้นผู้บริหารของ กทม. ยังยืนยันว่าจะจัดเก็บค่าโดยสารใหม่ตามกำหนดเดิม หลังจากที่ก่อนหน้านี้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ส่งหนังสือลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทวงถามให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ชำระหนี้ในการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายรวมเป็นเงิน 3 หมื่นล้านบาท

หนี้ของกรุงเทพธนาคมที่มีต่อ BTS แยกเป็นการชำระหนี้ในการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงตากสิน-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งค้างชำระมาเป็นเวลา 3 ปี 9 เดือนนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 คิดเป็นเงินประมาณ 9,602 ล้านบาท และหนี้ค่าซื้อระบบการเดินรถ ไฟฟ้าและเครื่องกล จะถึงกำหนดชำระในเดือนมีนาคม 2564 คิดเป็นเงินประมาณ 20,768 ล้านบาท หากไม่มีการชำระบริษัทแจ้งว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้สิทธิตามกฎหมายและตามสัญญากับกรุงเทพธนาคม และ กทม. ต่อไป

ประเด็นที่น่าสนใจติดตามจากกรณีดังกล่าวอยู่ที่ กทม. จะมีความสามารถในการจัดสรรเงินมาจ่ายหนี้ ตามข้อเรียกร้องให้กับ BTS และจะพิจารณาดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะ กทม. ไม่ได้จัดทำงบประมาณประจำปีสำหรับจ่ายหนี้ในส่วนนี้มาก่อน ซึ่งแนวทางหนึ่งที่มีความเป็นไปได้อย่างมากในการจัดการกับภาระหนี้ของ กทม. จึงดูเหมือนจะอยู่ที่การขอจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลมาชำระหนี้เหล่านี้

หนังสือทวงหนี้ของ BTS ระบุด้วยว่า กรุงเทพธนาคมได้มีหนังสือยอมรับสภาพหนี้ตามที่ BTS เรียกร้อง แต่กลับไม่มีข้อเสนอใดๆ ที่จะทำให้ BTS มีความมั่นใจได้เลยว่าจะได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระอยู่ในปัจจุบันและในอนาคตจากกรุงเทพธนาคม หรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเจ้าของกรุงเทพธนาคม โดย BTS เชื่อว่า ทั้งกรุงเทพธนาคม และ กทม. ต่างตระหนักเป็นอย่างดีมาระยะหนึ่งแล้วว่า หลักการของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ให้กรุงเทพธนาคม และ กทม. เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในผลประกอบการนับแต่เริ่มต้นเปิดให้บริการ การเปิดให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายในรูปแบบปัจจุบัน ได้อาศัยเพียงการเรียกเก็บค่าโดยสารจากประชาชนในประมาณ 15 บาท

การใช้บริการตลอดส่วนต่อขยายที่ 1 และไม่เรียกเก็บค่าโดยสารจากประชาชนสำหรับการใช้บริการส่วนต่อขยายที่ 2 โดยไม่มีเงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่มีต้นทุนที่ต้องแบกรับจากค่าจ้างในการให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุงนั้น และต้นทุนค่าซื้อระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ทำให้เกิดผลขาดทุนแก่กรุงเทพธนาคม และ กทม. ตลอดมาเป็นจำนวนมาก ย่อมจะทำให้กรุงเทพธนาคม และ กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ที่มีอยู่กับ BTS ได้ และกลับจะมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้นไปอีก จนอาจถึงขั้นที่ไม่สามารถให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวได้อีกต่อไปในระยะเวลาไม่นาน

นอกจากนี้ การที่กรุงเทพธนาคม และ กทม. ได้ตัดสินใจไม่เรียกเก็บค่าโดยสารในช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากมีความคาดหวังว่าการแก้ไขปัญหาการให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวแบบเบ็ดเสร็จ โดยไม่ต้องใช้เงินอุดหนุนจากภาครัฐ แต่ใช้การแก้ไขสัญญาเพื่อให้การให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวและการเรียกเก็บค่าโดยสารจากประชาชน

ทั้งในโครงการส่วนหลักคือช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ถือเป็นโครงข่ายเดียวกัน จนเกิดผลดีแก่ประชาชนเพราะทำให้ค่าโดยสารที่จะเรียกเก็บตลอดสายลดลงได้เป็นจำนวนพอสมควร และให้ BTS เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในผลประกอบการในระยะยาวแทนการเรียกหนี้ที่ค้างชำระเอาจากกรุงเทพธนาคม และ กทม.

กรณีดังกล่าวได้มีการเจรจาสำเร็จไปแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2562 ภายใต้คำสั่ง คสช. ที่ 312562 เรื่องการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่ยังไม่มีกำหนดเลยว่า ครม. จะนำกรณีดังกล่าวเข้าพิจารณาให้แล้วเสร็จเมื่อใด ซึ่งทั้งกรุงเทพธนาคม และ กทม. ไม่สามารถที่จะให้ความชัดเจนได้ และยิ่งทำให้กรุงเทพธนาคม และ กทม. สร้างหนี้สินกับบริษัทฯ เพิ่มขึ้น เพราะไม่มีเงินรายได้จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในขณะที่มีภาระที่จะต้องจ่ายค่าจ้างในการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงให้แก่ BTS ด้วย

BTS ยังอ้างถึงสถานะการเป็นบริษัทลูกของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นประชาชนร่วมลงทุนอยู่จำนวนมาก การที่กรุงเทพธนาคม และ กทม. ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่ BTS ย่อมจะสร้างความเสียหายให้แก่ BTS รวมทั้งผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของ BTS เป็นอย่างมาก

ข้อเรียกร้องของ BTS จึงไม่เพียงแต่ทวงถามให้ชำระหนี้ที่กรุงเทพธนาคมและ กทม. คงค้างอยู่เท่านั้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่งยังได้อ้างถึงการเร่งรัดให้มีการพิจารณาเห็นชอบสัญญาที่ BTS ยินยอมตกลงตามหลักการของร่างสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็เพราะเห็นว่าเป็นทางออกที่จะหยุดการที่กรุงเทพธนาคมและ กทม. จะสร้างหนี้กับบริษัทฯ เพิ่มมากขึ้นไปอีก

แม้ว่าภายใต้ร่างสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว BTS จะไม่ได้รับชำระหนี้ที่ค้างชำระคืนทันที แต่หากผลประกอบการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อไปในระยะยาวดีขึ้น BTS ซึ่งเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงในผลประกอบการและเป็นผู้ให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ก็จะมีโอกาสได้หนี้ที่ค้างชำระนี้คืนได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นมาตรการในการแก้ไขหนี้ ที่แม้จะมีความเสี่ยงกับ BTS บ้าง แต่ก็ทำให้ BTS อยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมาก

ภายใต้ความไม่แน่นอนว่าการดำเนินการตามร่างสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ครม. จะเกิดขึ้นหรือไม่ จึงไม่เป็นธรรมกับ BTS และหากกรุงเทพธนาคมและ กทม. ยังไม่สามารถชำระหนี้ให้ได้ BTS มีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาการใช้สิทธิตามกฎหมาย และตามสัญญาของ BTS กับ กรุงเทพธนาคม และ กทม. ต่อไป ซึ่งดูจะเป็นข้อเรียกร้องที่เป็นทางแพร่งของ กทม. หากแต่ในอีกด้านหนึ่งกลับเป็นประโยชน์กับ BTS ทั้งขึ้นทั้งล่อง

หรือถึงที่สุดแล้วแนวทางการแก้ไขภาระหนี้ของกรุงเทพธนาคม-กทม. ในฐานะที่เป็นองค์กรท้องถิ่นจะต้องพึ่งพาอำนาจการตัดสินใจจากรัฐศูนย์กลาง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 120, 121, 122 ... 155, 156, 157  Next
Page 121 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©