Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179757
ทั้งหมด:13490989
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 142, 143, 144 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2022 10:13 am    Post subject: Reply with quote

7 ก.ย.นี้ "ศาลปกครอง" พิพากษาคดี "บีทีเอส" ฟ้องทวงหนี้สายสีเขียว 1.2 หมื่นล.
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 14:19 น.

"ศาลปกครอง" พิพากษาคดีบีทีเอสทวงหนี้เดินรถสายสีเขียว 1.2 หมื่นล้านบาท 7 ก.ย.นี้ หลังกทม.-เคที แบกหนี้อ่วม 4 หมื่นล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 7 กันยายน 2565 เวลา 11.00 น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ 1242/2564 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับกรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) คดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า กรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 กรณีผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือ ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2562 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองชำระค่าตอบแทนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้งสองเพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย จึงนำคดีมาฟ้อง) ณ ห้องพิจารณาคดี 10 ชั้น 3 อาคารศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่กรุงเทพมหานครให้สัมปทานกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS ได้มีการพัฒนาส่วนต่อขยายถึงปัจจุบันคือ ช่วงอ่อนนุช-เคหะสมุทรปราการ ช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า ซึ่งได้มีการจ้าง BTS เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย รวมถึงการวางระบบรถไฟฟ้าและการซ่อมบำรุง


ทั้งนี้สัญญาจ้าง BTS ดังกล่าวส่งผลให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพธนาคมค้างชำระกับ BTS รวม 40,000 ล้านบาท และเป็นวงเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะที่ผ่านมากรุงเทพธนาคมไม่ได้มีการชำระหนี้ในส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้าและช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง มาตั้งแต่เดือน พ.ค.2562 และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต มาตั้งแต่เปิดให้บริการ

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศาลปกครองกลางได้มีนัดแถลงปิดคดีหลังจากที่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 15 ก.ค.2564 โดยเป็นการฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) กรณีติดค้างหนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ เป็นจำนวนมูลหนี้รวม 12,000 ล้านบาท ซึ่งศาลปกครองกลางได้รับคำฟ้องเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา


นอกจากนี้ภายหลังการแถลงปิดคดีแล้ว ศาลปกครองกลางได้มีนัดอ่านคำพิพากษาในวันที่ 7 ก.ย.2565 โดยเบื้องต้นบริษัทฯ ยังไม่ได้รับการติดต่อเจรจาจากทาง กทม. หรือกรุงเทพธนาคม ส่วนมูลหนี้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น มีรวมแล้วกว่า 4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น หนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ ที่เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20,000 ล้านบาท และ 2.ค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) จำนวน 20,000 ล้านบาท


“กทม.” จ่อยื่นอุทธรณ์ คดี “บีทีเอส” ทวงหนี้สายสีเขียว 1.2 หมื่นล้าน
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันจันทร์ ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 16:45 น.

“กทม.” เตรียมยื่นอุทธรณ์ หลังศาลปกครองพิพากษา คดีบีทีเอสทวงหนี้สายสีเขียว 1.2 หมื่นล้านบาท 7 ก.ย.นี้ ยันให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย เร่งศึกษาเปิดสัญญาสัมปทานภายใน 2 เดือน

เมื่อวันที่ 4 ก.ย.ที่ผ่านมา นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวถึงกรณีศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ 1242/2564 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว กับ กรุงเทพมหานคร คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ว่า เป็นไปตามขั้นตอนไม่มีอะไร เราต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งภาคเอกชนและภาคประชาชน เพราะเรื่องบีทีเอส จริงๆ แล้วเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว


“เราเป็นคนเข้ามาสางปัญหา แต่อย่างที่บอกว่าการจะจ่ายเงินจะต้องรอบคอบ เพราะไม่ใช่เงินเรา เป็นเงินของประชาชน ดังนั้น ต้องดูให้ชัดว่าสัญญาที่เราทำกับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) เป็นอย่างไร เรามีสิทธิจ่ายเงินหรือไม่ ต้องเอาให้ชัดเจน ที่ผ่านมา 3-4 ปี ยังไม่กล้าจ่ายเลย เราใช้เวลาประมาณ 2 เดือนกว่าๆ ในการศึกษา ขณะเดียวกันเรื่องศาลเป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องก่อนเราเข้ามาอยู่แล้ว หากผลการพิจารณาออกมาเป็นลบ ตามหลัก กทม.ก็ต้องอุทธรณ์ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติม คงรอวันที่ 7 ก.ย.นี้”


ทั้งนี้ด้านการจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว นั้น เราบอกเป็นค่าเฉลี่ย จริงๆ แล้วส่วนไข่แดงที่เป็นส่วนสัมปทาน ซึ่งหมดสัญญาปี 2572 ส่วนนี้แตะไม่ได้อยู่แล้ว 44 บาท และอาจมีการขอปรับเพิ่มด้วยซ้ำ ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจัดเก็บ 15 บาท กทม. จ่ายค่าจ้างเดินรถในส่วนต่อขยายนี้ประมาณ 7,000 ล้านบาทต่อปี และจัดเก็บค่าโดยสารได้ประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท กทม.ต้องนำเงินของคนที่ไม่ได้นั่งบีทีเอสมาจ่ายเป็นค่าจ้างเดินรถด้วย จึงต้องคิดให้รอบคอบ และเป็นธรรมสำหรับการนำภาษีของคนไม่ได้นั่งบีทีเอสมาจ่ายเหมาะสมหรือไม่


“มูลหนี้ที่ศาลจะพิจารณา จะเป็นมูลหนี้ ณ วันที่เรายื่นฟ้องไป ก็จะเป็นจำนวน 12,000 ล้านบาท ตอนนี้คงต้องรอฟังคำตัดสินตามกระบวนการศาลว่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งส่วนตัวเชื่อว่าหากศาลตัดสินแล้ว มูลหนี้ที่เหลือก็คงจะมีทิศทางดำเนินการในลักษณะเดียวกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2022 1:00 pm    Post subject: Reply with quote

ด่วนที่สุด!ศาลปกครองสั่ง กทม.ร่วมจ่ายค้าจ้าง BTS ตามสัญญา‘สายสีเขียว’
วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 12.15 น.

ศาลปกครองสั่ง “กทม.- กรุงเทพธนาคม” จ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถ BTS รวมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ภายใน 180 วัน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 11:58 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 11:58 น.

ศาลปกครอง สั่ง กรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จ่าย 1.2 หมื่นล้าน ค่าจ้าง BTS เดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยให้ชำระภายใน 180 วันนับตั้งแต่คดีถึงที่สุด
ด่วน!!ศาลปกครองสั่ง กทม.-กรุงเทพธนาคม ร่วมจ่ายหนี้ BTS ตามสัญญาเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 1-2 ร่วม 2.2 หมื่นล้าน จ่ายส่วนต่อขยายที่1รวม 2,348 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2รวม 9,406 ล้านบาท โดยให้ชำระภายใน 180 วันนับตั้งแต่คดีถึงที่สุด

เมื่อเวลา 11.00 น.วันที่ 7 กันยายน 2565 ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษา ในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยืนฟ้อง กรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 กรณีผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว) ในส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2



โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีผิดสัญญาชำระค่าตอบแทนการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยศาลฯ เห็นว่าแม้บริษัทกรุงเทพธนาคมจะถือหุ้นถึง 99.98 ประโยชน์หรือกำไร ดังนั้นกทม.จึงต้องร่วมจ่ายและสนับสนุนเงินที่บริษัทกรุงเทพธนาคมค้าง กับบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ จำกัด

ทาง กทม.จะต้องร่วมจ่ายหนี้ค้างชำระค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการฯ ที่บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ค้างชำระ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 โดยเป็นหนี้เงินต้น 2,199 ล้านบาท ดอกเบี้ย 149 ล้านบาท รวม 2,348 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 โดยเป็นหนี้เงินต้น 8,786 ล้านบาท ดอกเบี้ย 619 ล้านบาท รวม 9,406 ล้านบาท โดยให้ชำระภายใน 180 วันนับตั้งแต่คดีถึงที่สุด

ศาลปกครองกลางสั่ง กทม.-KT จ่ายค่าจ้างเดินรถสายสีเขียว 1.26 หมื่นล้าน
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 12:40 น.


ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษา สั่ง กทม.-กรุงเทพธนาคม ร่วมจ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถ 1.26 หมื่นล้านบาทแก่ BTSC

วันที่ 7 กันยายน 2565 ศาลปกครองกลางได้มีนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BTSC ฟ้อง กรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ KT ในคดีที่ BTSC ฟ้อง กทม. และ KT ไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว

โดยศาลปกครองปกครองได้มีคำสั่งให้ กทม.และ KT ร่วมชำระค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างเดินรถให้แก่ BTSC จำนวน 12,600 ล้านบาท ภายใน 180 วัน

ทั้งนี้ ตามรายงานข่าวจากประชาชาติธุรกิจ เปิดเผยว่า BTS-บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทแม่ของ BTSC มีสัญญาที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสิ้น 4 ฉบับ ได้แก่

1. สัญญาสัมปทานระหว่าง BTSC และ กทม. ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2535 หรือสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือส่วนไข่แดงเส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะเวลาสัมปทานปี 2542-2572
2. สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง เลขที่ กธ.ส. 006/55 ระหว่าง BTSC และ KT ซึ่งแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะคือ 2.1 ระยะที่ 1 ปี 2555-2572 เดินรถในส่วนต่อขยาย 1 เส้นทางสะพานตากสิน-บางหว้า และเส้นทางอ่อนนุช-แบริ่ง 2.2 ระยะที่ 2 ปี 2572-2585 เดินรถในส่วนต่อขยาย 1 เส้นทางสะพานตากสิน-บางหว้า และเส้นทางอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนไข่แดงเส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน
3. สัญญาซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบการเดินรถ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เลขที่ กธ.ส. 018/59 ระหว่าง BTSC และ KT
4. สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เลขที่ กธ.ส. 024/59 ระหว่าง BTSC และ KT

ในขณะที่ กทม. และ KT เป็นคู่สัญญาระหว่างกัน 2 สัญญาคือ

สัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย 1
บันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการการเดินรถและติดตั้งระบบเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ หรือหนังสือมอบหมายงานเดินรถส่วนต่อขยาย 2


พลิกปูม BTS ฟ้อง กทม.-KT พัวพัน 6 สัญญา-ภาระหนี้ 3.5 หมื่นล้าน
ในประเทศ
วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 07:14 น.


7 กันยายน 2565 ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาคดีที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) จากกรณีค้างค่าจ้างตามสัญญาเลขที่ กธ.ส. 006/55

ที่มาที่ไป จุดเริ่มต้นเป็นคดีความอย่างเป็นทางการเริ่มต้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 โดยบีทีเอสซียื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ในยุคผู้ว่าราชการ กทม. ชื่อ “พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง” ล่าสุดใช้เวลา 1 ปี 2 เดือนกำลังจะมีคำตัดสินในยุคผู้ว่าราชการ กทม. คนที่ 17 “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์”

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จากรายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ “BTS-บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)” บริษัทแม่ของ BTSC มีสัญญาที่เกี่ยวข้องกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งสิ้น 4 ฉบับ ได้แก่ 1.สัญญาสัมปทานระหว่าง BTSC และ กทม. ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2535 หรือสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือส่วนไข่แดงเส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ระยะเวลาสัมปทานปี 2542-2572

2.สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง เลขที่ กธ.ส. 006/55 ระหว่าง BTSC และ KT ซึ่งแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะคือ 2.1 ระยะที่ 1 ปี 2555-2572 เดินรถในส่วนต่อขยาย 1 เส้นทางสะพานตากสิน-บางหว้า และเส้นทางอ่อนนุช-แบริ่ง 2.2 ระยะที่ 2 ปี 2572-2585 เดินรถในส่วนต่อขยาย 1 เส้นทางสะพานตากสิน-บางหว้า และเส้นทางอ่อนนุช-แบริ่ง และส่วนไข่แดงเส้นทางหมอชิต-อ่อนนุช และเส้นทางสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน

3.สัญญาซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบการเดินรถ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เลขที่ กธ.ส. 018/59 ระหว่าง BTSC และ KT 4.สัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ เลขที่ กธ.ส. 024/59 ระหว่าง BTSC และ KT

ในขณะที่ กทม. และ KT เป็นคู่สัญญาระหว่างกัน 2 สัญญาคือ สัญญาจ้างเดินรถส่วนต่อขยาย 1 และ 6.บันทึกข้อตกลงการมอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการการเดินรถและติดตั้งระบบเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ หรือหนังสือมอบหมายงานเดินรถส่วนต่อขยาย 2

เปิดคำสั่ง ม.44-มติ ครม. 3 ครั้ง
ในระหว่างนั้น เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2562 มีสาระสำคัญ 3 ข้อหลัก 1.ให้ยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือกฎหมายร่วมทุน 2.ให้ตั้งคณะกรรมการเจรจาเพื่อเจรจากับเอกชนผู้ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว 3.เสนอร่างสัญญาเพื่อให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เพื่อให้กรุงเทพมหานครได้ลงนามในสัญญาต่อไป

ซึ่งคณะกรรมการเจรจาในขณะนั้น ได้เจรจากับเอกชนคู่สัญญา และมีความเห็นให้ต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว จากเดิมที่จะหมดอายุลงในปี 2572 โดยต่อเวลาสัมปทานรอบใหม่อีก 30 ปี (2572-2602) ขั้นตอนได้เสนอให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณา และเสนอร่างสัญญาสัมปทานเพื่อขอมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

โดยกระทรวงมหาดไทยได้เสนอร่างสัญญาต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวปี 2572-2602 เข้าสู่ที่ประชุม ครม. เพื่อขอมติเห็นชอบ 3 ครั้งด้วยกัน ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 13 สิงหาคม 2563 ครม. มีมติรับทราบผลการเจรจา และร่างสัญญาและการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และให้เวียนหนังสือขอความเห็นกระทรวงการคลัง

ครั้งที่ 2 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ครม.มีมติรับทราบและให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณารายละเอียดโครงการตามความเห็นของกรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม และครั้งที่ 3 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ครม.มีมติรับทราบและให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามความเห็นของกระทรวงคมนาคม

ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2565 กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือไปยังกรุงเทพมหานคร เพื่อขอทราบแนวทางการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องจากมีคณะผู้บริหารและสภากรุงเทพมหานครชุดใหม่ นำโดยผู้ว่าฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

BTSC ฟ้อง กทม.-KT
ในระหว่างการขอมติเห็นชอบในร่างสัญญาจากคณะรัฐมนตรีนั้น ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 BTSC ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองกลาง ขอให้ กทม.กับ KT ชำระหนี้สิน โดย “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า

ได้นำกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ค้างค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ เป็นจำนวนมูลหนี้รวม 1.2 หมื่นล้านบาท (ณ ปี 2564) โดยอยู่ระหว่างรอ กทม. และ บจ.กรุงเทพธนาคม (KT) ทำคำชี้แจงตอบกลับมา โดยการฟ้องร้องครั้งนี้ยังไม่ได้รวมการจ้างก่อสร้างงานระบบที่มีมูลหนี้รวมอีกไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาทแต่อย่างใด

“ธงทอง” เจรจาแมตช์แรก BTSC+KT
ไทม์ไลน์ภายหลังการดำรงตำแหน่งของผู้ว่าฯ กทม. “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” มีการลาออกของคณะกรรมการ (บอร์ด) KT และได้เลือกทีมบอร์ดชุดใหม่ โดยตำแหน่งหัวโต๊ะ “ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ” มือกฎหมายเบอร์ต้นของประเทศ ตอบรับคำเชิญเป็นประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

โดยมีการจัดประชุมหารือระหว่างบอร์ด KT ร่วมกับ BTSC เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565


ภายหลังการหารือแมตช์แรก ศาสตราจารย์พิเศษธงทองเปิดเผยว่า การฟ้องร้องศาลปกครองเป็นคดีความในเรื่องของค่าเดินรถนั้น เพื่อไม่ให้ล่าช้าไปจนถึงคดีความสิ้นสุด ซึ่งจะต้องมีดอกเบี้ยต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นตลอดนั้น ได้มีการพูดคุยและเห็นร่วมกันว่า จะมีการตั้งคณะทำงาน เพื่อมาพูดคุยเรื่องตัวเลขต่าง ๆ ที่อาจยังมีความเห็นต่างกันอยู่

“ชัชชาติ” เลกเชอร์รถไฟฟ้าสายสีเขียว
เนื่องจากการทบทวนสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียง ดังนั้น เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา “ผู้ว่าฯชัชชาติ” ได้อาศัยเวทีการประชุมผู้บริหาร กทม.ทุกวันจันทร์ ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จุดโฟกัสประเด็นหนี้ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หาก กทม.มีหนี้ที่ถูกต้องและโปร่งใสทุกอย่าง กทม.ก็ต้องจ่ายอยู่แล้วตามสัญญา

หลักการใหญ่คือ กทม.เป็นหนี้กรุงเทพธนาคม เพราะ กทม.ทำสัญญาตรงกับกรุงเทพธนาคม ไม่ได้ทำสัญญากับเอกชนภายนอกแต่อย่างใด

โดยฐานข้อมูล ณ เมษายน 2565 กรุงเทพธนาคม ได้เรียกเก็บเงินจาก กทม.จำนวน 4 รายการ วงเงินรวมมากกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท (ดูกราฟิกประกอบ)



“หนี้สินในส่วนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการชำระให้แก่กรุงเทพธนาคมได้ เนื่องจากหนี้สินเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการเจรจาของคณะกรรมการเจรจา ที่ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่ 3/2562 เรื่องการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งขั้นตอนปัจจุบันอยู่ระหว่างรอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี”


ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 “ผู้ว่าฯชัชชาติ” ตอบคำถามสื่อมวลชนกรณีศาลปกครองกลางจะมีคำตัดสินในคดีที่ BTSC ยื่นฟ้อง กทม. และ KT ความว่า “หากผลของคำพิพากษาของศาลปกครองเป็นลบกับ กทม. ก็จะต้องอุทธรณ์ และชี้แจงเหตุผลในมุมมองของ กทม.ต่อไป”


Last edited by Wisarut on 07/09/2022 5:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/09/2022 2:21 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ด่วนที่สุด!ศาลปกครองสั่ง กทม.ร่วมจ่ายค้าจ้าง BTS ตามสัญญา‘สายสีเขียว’
วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 12.15 น.

บอร์ดกรุงเทพธนาคมประชุมหนี้ค้างชำระบีทีเอสพรุ่งนี้
Sep 7, 2022
Thai PBS News

ศาลปกครองกลาง​ มีคำสั่งพิพากษาให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพฯธนาคมร่วมกันจ่ายหนี้ค้างชำระในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว​ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ​ โดยให้ชำระเงินภายใน 180 วัน​นับตั้งแต่คดีถึงที่สุด เบื้องต้น​ กทม.เตรียมยื่นอุทธรณ์


https://www.youtube.com/watch?v=KCo_15oQmxk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2022 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

ชัชชาติ อุทธรณ์สู้คดีรถไฟฟ้าสายสีเขียวค้างหนี้ BTSC 1.17 หมื่นล้าน
ในประเทศ
วันที่ 7 กันยายน 2565 - 15:15 น.

ชัชชาติ เตรียมยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุด 2 ประเด็น เคลียร์ปมรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย ก่อนจ่ายหนี้ 1.17 หมื่นล้าน

วันที่ 7 กันยายน 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงกรณีคำพิพากษาศาลปกครองกลาง กรณีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ได้ฟ้องกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT)



จากกรณีเป็นหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย 1 ช่วงสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า และส่วนต่อขยาย 2 ช่วงสถานีแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต วงเงินกว่า 1.17 หมื่นล้านบาท

นายชัชชาติเปิดเผยว่า หากได้รับคำพิพากษาของศาลแล้วจะได้พิจารณาในรายละเอียดของคำพิพากษา และปรึกษากับผู้บริหาร เนื่องจากมีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลา 30 วัน




โดยมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาในการยื่นอุทธรณ์มีอยู่ 2 ประเด็นคือ

1.ประเด็นเรื่องที่ค้างอยู่ใน ครม. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2562 ซึ่งหาก กทม. จ่ายไปก่อน แล้วเจรจาสำเร็จ เงินที่จ่ายไปจะดำเนินการอย่างไร


2.ประเด็นส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งไม่ได้มีสัญญาจ้าง แต่เป็นการมอบหมายงานระหว่าง กทม. และ KT ซึ่ง กทม.มีอำนาจจ่ายหรือไม่ ยังไม่ชัดเจน

นายชัชชาติกล่าวว่า ทั้งสองประเด็นดังกล่าวยังไม่ได้แสดงหลักฐานต่อศาลปกครองกลางในครั้งนี้ และหากมีแง่มุมใดที่ต้องการความชัดเจนก็จะได้ยื่นแก่ศาลปกครองต่อไป


สำหรับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จะยื่นอุทธรณ์หรือไม่ นายชัชชาติกล่าวว่าจะต้องสอบถามไปยังกรุงเทพธนาคมอีกครั้งหนึ่ง

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
ด่วนที่สุด!ศาลปกครองสั่ง กทม.ร่วมจ่ายค้าจ้าง BTS ตามสัญญา‘สายสีเขียว’
วันพุธ ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 12.15 น.

บอร์ดกรุงเทพธนาคมประชุมหนี้ค้างชำระบีทีเอสพรุ่งนี้
Sep 7, 2022
Thai PBS News

ศาลปกครองกลาง​ มีคำสั่งพิพากษาให้กรุงเทพมหานครและกรุงเทพฯธนาคมร่วมกันจ่ายหนี้ค้างชำระในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว​ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ​ โดยให้ชำระเงินภายใน 180 วัน​นับตั้งแต่คดีถึงที่สุด เบื้องต้น​ กทม.เตรียมยื่นอุทธรณ์
https://www.youtube.com/watch?v=KCo_15oQmxk
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2022 10:37 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชัชชาติ อุทธรณ์สู้คดีรถไฟฟ้าสายสีเขียวค้างหนี้ BTSC 1.17 หมื่นล้าน
ในประเทศ
วันที่ 7 กันยายน 2565 - 15:15 น.

‘พี่ศรี’ แนะ ‘ชัชชาติ’ ไม่ควรอุทธรณ์สู้คดีรถไฟฟ้า ยิ่งยื้อดอกเบี้ยบวกเพิ่มปีละ 769.15 ล้าน
8 กันยายน 2565 8:08 น.
การเมือง

"ศรีสุวรรณ" แนะ "ผู้ว่าฯ ชัชชาติ" ไม่ควรอุทธรณ์สู้คดีรถไฟฟ้าสายสีเขียว ชี้ยิ่งยื้อนานไป 1-3 ปี ดอกเบี้ยจะบวกเพิ่มอีกปีละ 769.15 ล้านบาท ลองคิดดูว่าคุ้มหรือไม่

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุหัวข้อ “ศรีสุวรรณแนะชัชชาติไม่ควรอุทธรณ์สู้คดีรถไฟฟ้าสายสีเขียว” ว่า ตามที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยพิพากษาให้กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินสำหรับหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ค้างชำระให้กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) สำหรับส่วนต่อขยายที่ 1 เป็นจำนวนเงินต้น 2,199 ล้านบาท ดอกเบี้ย 149.5 ล้านบาท และส่วนต่อขยายที่ 2 เงินต้น 8,786 ล้านบาท ดอกเบี้ย 619.65 ล้านบาท รวม 11,754.65 ล้านบาท โดยชำระให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดนั้น

การที่ผู้ว่าฯชัชชาติ ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า กทม.เตรียมอุทธรณ์ หลังศาลปกครองกลางสั่ง กทม. ร่วมจ่ายหนี้บีทีเอสกว่าหมื่นล้าน โดยให้เหตุผลว่า ส่วนต่อขยายที่ 1 ก็ยังค้างอยู่ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพราะว่าเขาจะเอามูลหนี้เป็นส่วนของการแปลงสัญญาสัมปทาน ส่วนต่อขยายที่ 2 ยังมีภาระกับกรุงเทพธนาคม (KT) เป็นแค่หนังสือมอบหมายงาน ทำให้ยังมีข้อกังวลว่า กทม.มีอำนาจจ่ายจริงหรือเปล่า เพราะไม่ได้มีระบุตัวเลขหรือสัญญาที่ชัดเจนเหมือนส่วนต่อขยายที่ 1 โดยจะเอาประเด็นนี้ไปชี้แจงในการยื่นคำอุทธรณ์

ทั้งนี้ในคำพิพากษาของศาลปกครองกลางก็ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันหรือแทนกันชำระเงิน ซึ่งในที่สุดใครจะเป็นผู้จ่ายนั้น สุดท้ายความรับผิดชอบก็ต้องมาตกอยู่ที่ กทม.อยู่ดี และก็ต้องใช้เงินที่มาจากงบประมาณของ กทม.ทั้งสิ้น การยื่นอุทธรณ์ทำให้คดีดังกล่าวถูกยื้อระยะเวลาออกไปอย่างน้อย 1 ถึง 3 ปี มิใช่ว่าจะสามารถพลิกคดีให้ชนะก็หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องของการผิดสัญญาโดยตรง

แม้ท่านผู้ว่าฯจะขอให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยในประเด็นปัญหาเพื่อความชัดเจน แต่เมื่อพิจารณาดูแล้วไม่น่าจะคุ้มกับการที่จะต้องเสียดอกเบี้ยตลอดเวลา ทุกวินาที ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี จนกว่าคดีถึงที่สุด ตามที่ศาลระบุไว้คือ ตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ขั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ซึ่งประกาศโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับเงินกู้สกุลเงินบาทบวกร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งถ้ายื้อไป 1-3 ปี ดอกเบี้ยจะบวกเพิ่มอีกปีละ 769.15 ล้านบาท ลองคิดดูว่าคุ้มหรือไม่

กรณีดังกล่าว หากไม่เชื่อคำแนะนำ สุดท้าย กทม.ก็ต้องจ่ายเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดให้แก่เอกชนในที่สุดแล้ว ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจากการที่ท่านผู้ว่าฯ กทม.สั่งให้อุทธรณ์คดีนั้น ต้องมีผู้รับผิดชอบ จะผลักเป็นภาระของ กทม.ทั้งหมดเลยนั้น หาชอบด้วยไม่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อถึงวันนั้น สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจะต้องทวงถามความรับผิดชอบถึงท่านผู้ว่าฯ และผู้บริหารกรุงเทพธนาคมทุกคนที่จะต้องร่วมรับผิดชอบในดอกเบี้ยจ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นนี้ด้วย เพราะถือว่าบอกกล่าวกันแล้ว ไม่เชื่อก็ติดตามดูกันต่อไป นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=639054820915390&id=100044326334588
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2022 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด บ.กรุงเทพธนาคมฯ พิจารณายื่นอุทธรณ์คดี BTS กรณีผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง
Sep 8, 2022
CH7HD News


https://www.youtube.com/watch?v=4JVOzT77XTE

ห้องข่าวภาคเที่ยง - ผู้บริหารกรุงเทพธนาคม ประชุมหารือเร่งด่วน หลังศาลปกครองกลาง พิพากษาให้จ่ายเงิน BTS กรณีผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง เป็นเงินเกือบ 12,000 ล้านบาท ภายใน 180 วัน

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด พร้อมด้วย นายประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการบริษัท และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือเร่งด่วน หลังศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ กทม. และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จ่ายหนี้ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 สัญญา ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด มหาชน หรือ BTS รวมเกือบ 12,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังคงมีการประชุมกันอยู่ ต้องจับตาว่าจะออกมาเป็นแนวการต่อสู้คดีจะออกมาทิศทางใด แต่คาดว่าจะมีการยื่นอุทธรณ์อย่างแน่นอน

ด้าน นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย แสดงความเห็นถึงการที่ กทม. จะยื่นอุทธรณ์ จะทำให้คดีถูกยื้อออกไปอย่างน้อย 1-3 ปี และอาจไม่สามารถพลิกคดีให้ชนะได้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว ไม่น่าจะคุ้มกับการที่จะต้องเสียดอกเบี้ยตลอดเวลา ทุกวินาที ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี จนกว่าคดีถึงที่สุด ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มอีกปีละกว่า 769 ล้านบาท สุดท้าย กทม. ก็ต้องจ่ายเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยทั้งหมดให้แก่เอกชน และดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นเพิ่ม จากการที่ ผู้ว่าฯ กทม. สั่งให้อุทธรณ์คดีนั้น ต้องมีผู้รับผิดชอบ ซึ่งทางสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะต้องทวงถามความรับผิดชอบถึง ผู้ว่าฯ กทม. และผู้บริหารกรุงเทพธนาคม ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2022 10:16 am    Post subject: Reply with quote

'กรุงเทพธนาคม' เดินหน้าอุทธรณ์จ่ายหนี้สายสีเขียว 1.17 หมื่นล้าน
ไทยโพสต์ 9 กันยายน 2565 เวลา 9:39 น.

“กรุงเทพธนาคม” เตรียมยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง กรณีค่าเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ย้ำต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ยอมรับหนี้มีอยู่จริงแต่ขอศึกษาและเจรจาก่อนตัวเลขให้นิ่งก่อน พร้อมเล็งหารือ “บีทีเอสซี” ถึงแนวทางการชำระหนี้ต่อไป

9 ก.ย. 2565 – นายธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ว่าเนื่องจากเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมาได้มีการอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นในกรณีข้อพิพาทคู่กรณีระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี และจำเลยร่วม คือกรุงเทพมหานครและ.เคที ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยจำเลยทั้งสองมีหน้าที่ร่วมรับผิดชอบในจำนวนเงินที่มีการฟ้องร้องกัน รวมวงเงิน 11,754 ล้านบาท

นายธงทอง กล่าวว่า สืบเนื่องจากที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานครและบริษัทฯ ร่วมกันชำระหนี้ค่าดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวโดยมีหนี้ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และหนี้ของส่วนต่อขยายที่ 2 อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งการต่อสู้คดีมีมาก่อนกรรมการชุดนี้เข้ามา ซึ่งแม้ว่ากรรมการชุดนี้ได้พบว่ามีมิติทางกฎหมายบางประเด็นที่อยากจะเสนอให้ศาลได้พิจารณาใหม่ และได้นำเสนอไปแล้วแต่เนื่องจากในกระบวนการพิจารณาคดีเป็นช่วงท้ายจึงยังไม่ได้โอกาสที่จะได้พูดคุยเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตามในชั้นนี้ บอร์ด เห็นพ้องกันที่จะอุทธรณ์คดีดังกล่าวซึ่งมีระยะเวลาภายใน 30 วัน และหากจำเป็นต้องขอพิจารณาคดีใหม่ก็จะดำเนินการควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะมีการหารือกับทางกรุงเทพมหานครในเร็วๆ นี้

สำหรับในเรื่องของจำนวนเงินที่ค้างชำระนั้น ยอมรับว่ามีหนี้สินที่ผูกพันระหว่างกรุงเทพมหานคร บีทีเอส และกรุงเทพธนาคม แต่จะผูกพันเป็นจำนวนเท่าไหร่จะขอนำคำพิพากษานี้ไปเป็นแนวทาง โดยยอดหนี้ที่เป็นตัวเลขที่พิจารณาแล้ว ไม่มีข้อกังวลสงสัย เป็นที่เข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ก็จะดำเนินการชำระหนี้ต่อไป ซึ่งก็ต้องไปดูว่าจะต้องจ่ายอย่างไร วิธีการแบบใด ส่วนตัวเลขใดที่ยังมีข้อสงสัย ก็จำเป็นต้องนำมาพิจารณาให้รอบคอบ

“ขณะนี้บริษัทฯ ก็ได้ว่าจ้างที่ปรึกษามาทบทวนตัวเลข ค่าต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะนำมาหารือกับทางกรุงเทพมหานคร และจะได้พูดคุยเจรจากับทางบีทีเอสต่อไป ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้หารือกับทางผู้บริหารบีทีเอสไปแล้ว 1 ครั้ง ทั้งนี้การดำเนินการต่างๆ ของบริษัทฯ ก็เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของกรุงเทพมหานครและประชาชน โดยต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและเป็นธรรม”นายธงทอง กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2022 7:46 am    Post subject: Reply with quote

ยกแรก กทม. “แพ้” หนี้ BTS ยกสุดท้าย “ใครจ่าย” 1.2 หมื่นล้าน สายสีส้ม ITD ส่อขาดคุณสมบัติ BEM มีลุ้นเข้าวิน
เผยแพร่: 10 ก.ย. 2565 06:13
ปรับปรุง: 10 ก.ย. 2565 06:13
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - คำสั่งของศาลปกครองกลางที่ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) จ่ายหนี้ค่าบริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 เป็นเงินร่วม 1.2 หมื่นล้าน ภายใน 180 วัน เป็นเรื่องที่ กทม.ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะเป็นการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากับเอกชน กระนั้นกทม.ก็ยังหวังจะหาทางเจรจากับ BTS ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ แต่ต้องไม่ลืมว่ายิ่งคดีลากยาวดอกเบี้ยยิ่งเบ่งบาน

อย่างที่รู้กันว่าปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวผูกกันยุ่งอีรุงตุงนังไปหมด กระทั่ง นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วหลายครั้ง เพื่อหาทางแก้ไขและหาทางออกทั้งเรื่องสัญญาสัมปทาน หนี้สินกับบีทีเอส และการคิดค่าโดยสารที่ต้องไม่เป็นภาระกับประชาชน ฯลฯ

ขณะที่ทางฟากฝั่งบีทีเอสที่ติดตามทวงหนี้กับกทม.มานานปียังไม่ได้สักแดงเดียว แถมยังตกเป็นจำเลยของสังคมอีกต่างหาก โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าจะมีการต่อสัญญาสัมปทานเพื่อแลกหนี้ ทำให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน กระทั่ง เจ้าสัวคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (มหาชน) ออกมาระบายหนักๆ ว่าบีทีเอสไม่เคยขอต่อสัญญาสัมปทานแลกหนี้ เป็นที่เคลียร์คัทกันไปว่าต้นคิดเรื่องดังกล่าวไม่ได้มาจากเอกชน แต่เป็นโมเดลจากทางกทม.และต้นสังกัดคือ กระทรวงมหาดไทย ที่ผลักดันกันสุดลิ่ม

เจ้าสัวคีรียังย้ำด้วยว่าบีทีเอสเป็นเจ้าหนี้ไม่ไช่จำเลยของสังคม เรียกว่าเปิดหน้าสู้เต็มที่หลังประเมินโมเดลสัมปทานแลกหนี้ของมหาดไทยและกทม.ยุค พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ ไม่น่าจะไปรอด สอดประสานกับจังหวะก้าวที่บีทีเอสยื่นฟ้องศาลปกครองกลางเพื่อขอความเป็นธรรมตามสัญญาไปก่อนหน้า โดยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2564 บีทีเอสซี ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่า กรุงเทพมหานคร ผู้ถูกฟ้องที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร สัญญาเลขที่ กธ.ส.006/55 ลงวันที่ 3 พ.ค. 2555 กรณีผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ไม่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาให้แก่ผู้ฟ้องคดี โดยผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือ ลงวันที่ 12 ธ.ค. 2562 แจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 ชำระค่าตอบแทนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดี ทั้ง 2 เพิกเฉย เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายจึงนำคดีมาฟ้อง

ล่าสุด คำสั่งศาลปกครองกลาง ตัดสินให้บีทีเอสเป็นผู้ชนะคดี โดยเมื่อวันที่ 7 ก.ย. 2565 เวลา 11.00 น. ศาลปกครองกลาง อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 1242/2564 ระหว่างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC (ผู้ฟ้องคดี) กับกรุงเทพมหานคร ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) โดยศาลฯ มีคำพิพากษาให้กรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส กรณีผิดสัญญาชำระค่าตอบแทนการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ในส่วนต่อขยายที่ 1 ( ช่วงสะพานตากสิน -บางหว้า และช่วงอ่อนนุช –แบริ่ง) และในส่วนต่อขยายที่ 2 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ) พร้อมดอกเบี้ย รวมเป็นเงิน 11,755,077,952.10 บาท โดยชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน

ศาลให้เหตุผลว่า การที่กทม. ได้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 และได้มอบหมายให้บ.กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจ ที่กทม.ถือหุ้นร้อยละ 99.98 เพื่อให้การดำเนินกิจการสาธารณะของกทม.มีความคล่องตัว ดังนั้น เมื่อบ.กรุงเทพธนาคมฯ มีหนี้ค้างชำระตามสัญญา การให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร กับบีทีเอสทั้งในส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 กทม. จึงต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวกับ บ.กรุงเทพธนาคมฯให้กับ บีทีเอส ด้วย โดยคิดเป็นจำนวนเงินในส่วนต่อขยายที่ 1 จำนวน 2,348,659,232.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงิน 2,199,091,830.27 บาท ส่วนต่อขยายที่ 2 จำนวน 9,406,418,719.36 บาท พร้อมดอกเบี้ยของต้นเงินจำนวน 8,786,765,195.47 บาท ตามอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (MLR) ที่ประกาศโดยบมจ.ธนาคารกรุงไทย นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่บีทีเอสภายใน 180 วัน

หลังจากศาลฯ มีคำตัดสินคดีออกมาดังกล่าว แน่นอนทางกทม.ก็ต้องยื่นอุทธรณ์สู้คดีตามขั้นตอน ส่วนเรื่องการจ่ายหนี้ให้เอกชนจะรอคำตัดสินของศาลอันเป็นที่สุดเสียก่อน หรือจะเดินตามแนวทางที่กทม.เคยเจรจากับเอกชนหาทางออกร่วมกันโดยไม่ต้องการสู้คดีจนถึงที่สุดซึ่งต้องใช้เวลานานและดอกเบี้ยก็จะบานไปเรื่อยหรือไม่ อย่างไร กทม.ยังต้องคิดใคร่ครวญให้รอบคอบ

“การเจรจากับบีทีเอสซีก็เป็นแนวทางหนึ่งที่พูดกันตั้งแต่แรกแล้ว จากที่คุยกับบีทีเอสซีไปก่อนหน้านี้ก็เห็นพ้องกันว่าถ้าเป็นที่ตกลงกันได้ถึงจำนวนหนี้ วิธีการ เงื่อนไขเวลาที่จะชำระเงิน อาจไม่จำเป็นต้องสู้คดีกันในศาลจนนานปี เพราะการต่อสู้ในศาลนาน ดอกเบี้ยไม่ได้หยุด และต้องดูว่าตัวเลขที่พูดกันนั้นอยู่บนพื้นฐานอะไรบ้าง .....” นายธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) วิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ความเห็นหลังมีคำสั่งศาลฯให้กทม.จ่ายหนี้บีทีเอสซีว่า ยังเชื่อว่าจะเจรจากับบีทีเอสได้ พร้อมระบุด้วยว่า ขณะนี้กรุงเทพธนาคมได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบตัวเลขในสัญญาต่างๆ ว่าควรเป็นเท่าไหร่และควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ เพื่อนำมาให้บอร์ดไปเจรจากับบีทีเอสซีต่อไป คาดว่าในเดือนต.ค.นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินปลายปีนี้น่าจะมีข้อสรุปออกมา

ทางด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ว่า ขอหารือทีมกฎหมายและคณะผู้บริหารก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้ว โดยมีเงินอยู่สองส่วนคือ เงินค่าจ้างส่วนต่อขยายที่ 1 ประมาณ 2,000 ล้านบาท และเงินส่วนค่าจ้างต่อขยายที่ 2 ประมาณ 6,000 ล้านบาท รวมดอกเบี้ยแล้วประมาณหมื่นกว่าล้าน ซึ่งไม่ได้ชำระเงินมาหลายปีแล้วจะให้ผู้บริหารชุดปัจจุบันที่เพิ่งเข้ามาทำงานไม่นานตัดสินใจไปชำระก็คงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องดูให้ละเอียดรอบคอบ

ประเด็นที่ทาง กทม.จะพิจารณา คือ ส่วนต่อขยายที่ 1 ที่ค้างอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อยังไม่จบก็ยังไม่สามารถชำระได้ ส่วนต่อขยายที่ 2 มีภาระกับบริษัทกรุงเทพธนาคม ซึ่งหนังสือมอบหมายงานของส่วนต่อขยายที่ 2 คือกรุงเทพธนาคมไม่ใช่ตัวแทนของ กทม. จึงยังมีข้อกังวลว่าความจริงแล้ว กทม.มีอำนาจจ่ายในส่วนนี้หรือไม่ เพราะไม่ได้มีการระบุชัดเจนเหมือนส่วนต่อขยายที่ 1 ประเด็นนี้จะนำไปประกอบในการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครอง

ก่อนหน้านี้ นายชัชชาติ ชี้ประเด็นที่เป็นข้อกังวลดังกล่าวข้างต้นว่า ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ สัญญาส่วนต่อขยายช่วงที่ 1 เป็นสัญญาจ้างบริหารโครงการ แต่สัญญาส่วนที่ 2 เป็นบันทึกมอบหมายให้เดินรถ ซึ่งในบันทึกมอบหมายไม่มีรายละเอียดเรื่องค่าจ้าง เป็นเหมือนตัวเลขคร่าวๆ จากนั้นวันที่ 1 ส.ค. 2559 กรุงเทพธนาคม ก็ไปลงนามกับบริษัทเอกชนจ้างเดินรถ

“ข้อแตกต่างระหว่าง 2 ส่วนนี้ คือส่วนต่อขยายที่ 2 ไม่มีการบรรจุอยู่ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กทม. ดังนั้น สภากทม. จะไม่ทราบเรื่อง ซึ่งถ้าเราเอาเงินไปจ่ายค่าเดินรถ จะต้องอยู่ในงบประมาณของ กทม. ทำให้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภา เราจึงต้องระมัดระวังว่าเราจะจ่ายหนี้ให้กรุงเทพธนาคมได้อย่างไร เพราะโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ไม่ได้ผ่านสภากทม.

“ส่วนต่อขยายที่ 1 มีสัญญาชัดเจนว่า จ้างเท่าไหร่ มีกรอบวงเงินเท่าไหร่ แต่ส่วนต่อขยายที่ 2 เป็นบันทึกข้อตกลงเท่านั้นไม่ได้มีระบุวงเงินงบประมาณ มีเพียงประมาณการรายรับรายจ่ายคร่าวๆ อยู่ในสัญญาระหว่าง กทม. กับกรุงเทพธนาคม และในสัญญาที่ 2 ยังระบุด้วยว่ากรุงเทพธนาคมไม่ใช่ตัวแทนของ กทม. ซึ่งตามกฎหมายคำพูดนี้ก็มีความหมายเหมือนกัน” นายชัชชาติ กล่าว

ส่วนการนำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เข้าสภา กทม.ในวันที่ 14 ก.ย. นี้ จะมีการรายงาน 3 เรื่อง คือความเป็นมาของโครงการทั้งส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 และการจัดเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 1 และ 2 ซึ่งฝ่ายบริหารได้วิเคราะห์ส่วนต่อขยายที่ 2 จากหลายแนวทางจนได้ข้อสรุปว่าจะจัดเก็บ 15 บาท เนื่องจากเป็นการจัดเก็บในช่วงระยะเวลาสั้น ระหว่างรอ ครม.พิจารณาเรื่องการขยายสัญญาสัมปทานให้กับเอกชน อีกเรื่องคือกระทรวงมหาดไทย (มท.) สอบถามความเห็น กทม. เรื่องการขยายสัญญาสัมปทานให้กับเอกชน ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของครม.

ประเด็นเรื่องค่าโดยสารที่จะรายงานต่อสภา กทม. นั้น นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ระบุว่า กทม.ยังเตรียมเจรจากับบีทีเอสซีเรื่องยกเว้นค่าแรกเข้าระบบเส้นทางหลักหรือเส้นทางให้สัมปทานที่เรียกเก็บเพิ่ม 16 บาท ได้หรือไม่ หากเอกชนไม่ยินยอม กทม.จะใช้วิธีอุดหนุนงบประมาณในส่วนค่าแรกเข้าแทนประชาชนผู้ใช้บริการ เมื่อได้ข้อสรุปทั้งหมด กทม.จะออกประกาศเรื่องกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ประมาณกลางเดือนก.ย. 2565

ขณะที่
นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ขอดูรายละเอียดก่อนว่า กทม.จะจัดค่าโดยสารอย่างไร หากเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 15 บาท จะใช้เวลาปรับปรุงซอฟท์แวร์และประชาสัมพันธ์ได้เร็ว แต่ถ้าเก็บค่าโดยสารโดยใช้สูตรการคำนวณ 14+2X อาจจะต้องใช้เวลาดำเนินการ

ในมุมของผู้บริโภค นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค ซึ่งมีข้อเสนอ 2 แนวทาง คือ จัดเก็บโดยใช้สูตรคำนวณ 14+2X เริ่มต้นที่ 14-44 บาท เมื่อรวมเส้นทางหลักที่เป็นสัมปทานของบีทีเอสแล้ว กทม.จะเก็บค่าโดยสารสูงสุดไม่เกิน 59 บาท และการจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสาย สูงสุดในช่วงไข่แดงที่เป็นสัมปทานเดิมไม่ควรเกิน 44 บาท ซึ่งทางสภาฯสนับสนุนการจัดเก็บในอัตรา 15 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายอื่นๆ

สภาองค์กรผู้บริโภค ยังเสนอแนะว่า กทม. ควรขอให้รัฐบาลยกเลิกคำสั่งคสช.ที่ 3/2562 ซึ่งเป็นร่างสัญญาสัมปทานจากสำนักอัยการสูงสุด และขอให้ยกเลิกมติของคณะกรรมการชุดเดิมที่เรียกเก็บค่าโดยสาร 65 บาท เพื่อไม่ให้เกิดความซับซ้อน รวมทั้งเรื่องที่กทม.ยังไม่ได้รับโอนจากรฟม.และยังไม่ได้นำหนี้ส่วนต่อขยายที่ 2 เสนอต่อสภากทม. ซึ่งกทม.ต้องหาทางออกในเรื่องนี้ด้วย

เอาเป็นว่าปมยุ่งเหยิงของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเริ่มค่อยๆ คลี่คลาย ทั้งการจ่ายหนี้ให้เอกชนที่ไม่ว่าจะอย่างไรคำสั่งศาลฯก็ตัดสินออกมาแล้วว่า กทม.ต้องจ่าย ส่วนเรื่องค่าโดยสารก็ชัดเจนขึ้นว่าจะจัดเก็บในอัตราเท่าไหร่ คาดว่าอีกไม่นานสภา กทม.ก็คงเคาะตัวเลขสุดท้ายออกมา

สำหรับเรื่องการขยายอายุสัญญาสัมปทานให้เอกชนรายเดิมที่ยังค้างอยู่ใน ครม.นั้น ทางนายชัชชาติ ก็มีแนวทางชัดเจนมาตั้งแต่คราวที่แสดงวิสัยทัศน์ชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.จัดโดยสภาองค์กรผู้บริโภค เมื่อเดือน ก.พ.2565 และหลังเข้ารับตำแหน่งแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุสัมปทาน ไปจนถึงปี 2602 ยังมีเวลาเหลือกว่าจะหมดสัญญาสัมปทานปี 2572 และหากจะดำเนินการต้องนำเข้าสู่พ.ร.บ.ร่วมทุน เพื่อความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎหมาย

อีกโครงการหนึ่งที่วุ่นๆ ไม่แพ้กันก็คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่มีการเปิดประมูลครั้งแรกแล้วเปลี่ยนเงื่อนไขกลางครัน จนนำมาสู่การล้มประมูลและการฟ้องร้องของเอกชน ซึ่งคดียังค้างคาอยู่ในชั้นศาล แต่ในขณะเดียวกัน ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ก็เดินหน้าประกวดราคาครั้งใหม่ โดย รฟท.กำหนดให้เอกชนยื่นซองข้อเสนอในวันที่ 27 ก.ค. 2565 ซึ่งรอบนี้ก็มีข้อทักท้วงมาตั้งแต่ต้นจนบัดนี้เช่นกัน

อย่างเช่นเรื่องการกำหนดคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมแข่งขัน นายมานะ นิมิตมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT ออกมาตั้งข้อสังเกตว่าการแก้ไขรายละเอียดคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมยื่นข้อเสนอ เปลี่ยนแปลงไปจากเอกสารคัดเลือก (RFP) ในการประกวดราคาครั้งที่ 1 ทำให้ผู้มีคุณสมบัติเข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกไม่สามารถเข้าร่วมครั้งที่ 2 นี้ได้ โดยเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ผู้รับเหมาจะต้องมีประสบการณ์บริหารจัดการก่อสร้างงานโยธา โดยมีสัญญาที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่แล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภทตามที่กำหนด ขณะเงื่อนไขเดิมกำหนดว่า มีผลงานที่แล้วเสร็จภายในช่วงระยะเวลา 20 ปี ครบทั้ง 3 ประเภทตามที่กำหนด แต่ไม่ได้กำหนดให้เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐบาลไทย

ทั้งนี้ เอกชนกลุ่มที่เคยยื่นข้อเสนอในการประกวดราคาครั้งที่ 1 แต่การประมูลครั้งนี้กลับมีคุณสมบัติไม่ครบ และไม่เข้าข่ายในการเข้าร่วมประกวดราคาครั้งที่ 2 คือ กลุ่มของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

ที่เคยยื่นข้อเสนอร่วมกับพันธมิตร บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC โดย STEC แม้จะเคยมีผลงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้ายกระดับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย แต่เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นการก่อสร้างตาม Detailed Design ที่ออกแบบไว้แล้ว จึงไม่เข้าเงื่อนไข RFP ที่ต้องออกแบบและก่อสร้าง และแม้ว่า STEC มีประสบการณ์ก่อสร้างงานอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี แต่ยังไม่ได้ส่งมอบผลงาน จึงทำให้ไม่เข้าข่ายข้อกำหนดที่ต้องมีผลงานแล้วเสร็จ

กระนั้น รฟม.ก็เดินหน้าประมูลโดยไม่สนใจเสียงทักท้วง โดยเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เปิดซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติ (ซองที่ 1) ของผู้ยื่นเสนอ 2 ราย จากนั้นเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2565 ประกาศรายชื่อเอกชนที่ผ่านคุณสมบัติ 2 รายที่ยื่นเสนอประมูล ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และกลุ่มที่ 2 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD บริษัทขนส่งอินช็อน (Incheon Transit Corporation) ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินประเทศเกาหลีใต้ จากนั้น เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2565 ได้ดำเนินการเปิดซองข้อเสนอซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค ซึ่งทั้งสองกลุ่มผ่านเกณฑ์ตามคาด และจะมีการเปิดซองราคาในสิ้นเดือนก.ย.นี้

อย่างไรก็ตาม ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาทักท้วงว่า การที่ รฟม. ประกาศให้ ITD ผ่านการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 1 (ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ) แต่เอาเข้าจริง ITD น่าจะมีปัญหาด้านคุณสมบัติ เพราะ กรรมการคนหนึ่งของ ITD เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แล้วเหตุใด รฟม.จึงเปิดซองข้อเสนอซองที่ 2 (ข้อเสนอด้านเทคนิค) ของ ITD ด้วย เนื่องจาก ITD น่าจะมีคุณสมบัติขัดหรือแย้งกับประกาศเชิญชวนของรฟม. “ข้อ 3 คุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ” ซึ่งตามประกาศเมื่อมีปัญหาคุณสมบัติไม่ผ่านจะไม่เปิดซองเทคนิคและซองข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน

“แล้ว “ความถูกต้องที่สาธารณชนถามหา” ในการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งล่าช้ามากว่า 2 ปีแล้ว อยู่ที่ไหน ?” ดร.สามารถ ตั้งคำถาม

อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการขาดคุณสมบัติของ ITD เป็นที่รับรู้กันทั่วไปแล้ว ขึ้นอยู่กับว่า รฟม.จะเดินหน้าต่อหรือไม่ อย่างไร

ขณะที่ บล.กรุงศรี ออกบทวิเคราะห์ว่า ความคืบหน้าในการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม มีผู้ยื่นประมูลสองราย ได้แก่ (1) บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และ (2) กลุ่มบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนท์ (ITD Group) ซึ่งผ่านเกณฑ์ทางด้านเทคนิคตามคาด เพราะมีประสบการณ์ในการก่อสร้างรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมาแล้ว ทั้งนี้ จะมีการเปิดซองพิจารณาข้อเสนอ (ซองราคา) ในสิ้นเดือนก.ย.นี้ โดยบล.กรุงศรี คาดว่า รฟม. จะสามารถประกาศผลการประมูลในเดือนต.ค. 2565จากนั้นจึงจะส่งเรื่องขึ้นไปให้ ครม.พิจารณาอนุมัติต่อไป ดังนั้น รฟม. จึงน่าจะเซ็นสัญญาได้ภายในสิ้นปีนี้

บล.กรุงศรี ชี้ว่า การประมูลจะเดินหน้าต่อไปแม้จะเหลือผู้ประมูลเพียงรายเดียว โดย ITD อาจจะไม่มีคุณสมบัติเข้าร่วมประมูลได้เนื่องจากบริษัทมีผู้บริหารที่ถูกตัดสินจำคุก ทำให้ขาดคุณสมบัติตามเกณฑ์ของคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2019 แต่ตาม พ.ร.บ. การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รฟม. ยังสามารถดำเนินการประมูลต่อไปได้แม้จะเหลือผู้เข้าร่วมการประมูลเพียง 1 ราย โดยสามารถเจรจาต่อรองราคาหรือผลตอบแทนอื่นๆ ได้จนกว่าจะพอใจก่อนที่จะทำการเซ็นสัญญา

ทั้งนี้ บล.กรุงศรี เลือกบมจ.ช.การช่าง (CK) เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง เนื่องจากbacklog มีคุณภาพดีกว่าคู่แข่ง มีโอกาสได้งานใหม่เพิ่มอีก และรายได้เงินปันผล และ equity income เพิ่มขึ้นจาก TTW, BEM และ CKP ในขณะเดียวกัน ราคาเป้าหมายของเราที่ 23.80 บาท ยังไม่ได้รวม Upside จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม

เข้าอีหรอบนี้ สายสีส้ม กลุ่ม BEM คงคว้าพุงปลามัน ส่วนสายสีเขียว BTS ก็คงต้องลุ้นอีกหลายยก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2022 9:29 am    Post subject: Reply with quote

ศาลสั่งกทม.จ่ายหนี้‘บีทีเอส’หมื่นล้าน โบรกมั่นใจได้เงินคืน-ลุ้นต่อสัมปทาน
กรุงเทพธุรกิจ 11 ก.ย. 2565 เวลา 12:30 น.

นับเป็นอีกหนึ่งมหากาพย์ที่ยืดเยื้อมายาวนาน หลังกทม. ค้างจ่ายค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายให้เอกชนคู่สัญญา บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC จนหนี้พุ่งแตะหลายหมื่นล้านบาท

โดยที่ผ่านกลุ่มบีทีเอสพยายามทวงหนี้มาแล้วสารพัดวิธี ทั้งส่งจดหมายทวงอย่างเป็นทางการ พร้อมกับเสนอทางเลือกยกหนี้ให้ทั้งหมด แลกกับการต่อสัญญาสัมปทาน 30 ปี แต่ก็ไร้สัญญาณตอบรับ จนผู้บริหารของบีทีเอสถึงขั้นต้องอัดคลิปวีดีโอทวงหนี้กันบนรถไฟฟ้า พร้อมขอวิงวอนให้นายกฯ เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายยังไม่มีอะไรคืบหน้า

จนในที่สุดต้องพึ่งศาล โดย BTSC ได้ยื่นฟ้อง กทม. และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กรณีผิดสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ซึ่งค้างชำระหนี้มาตั้งแต่เดือน พ.ค.2562-พ.ค. 2564 รวม 2,348.65 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้เงินต้น 2,199.09 ล้านบาท และดอกเบี้ยอีก 149.56 ล้านบาท

และส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ค้างชำระหนี้มาตั้งแต่เดือน เม.ย. 2560-พ.ค. 2564 รวม 9,406.41ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้เงินต้น 8,786.76 ล้านบาท และดอกเบี้ย 619.65 ล้านบาท

ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ กทม. และกรุงเทพธนาคม ร่วมกันจ่ายหนี้ให้ BTSC ตามคำร้องรวมทั้งมด 11,755.06 ล้านบาท โดยให้ชำระภายใน 180 วัน นับตั้งแต่คดีเป็นที่สิ้นสุด

ขณะที่ต่อมาบอร์ดกรุงเทพธนาคมมีมติให้ยื่นอุทธรณ์ตามสิทธิภายใน 30 วัน นอกจากนี้ให้ฝ่ายกฎหมายเร่งสรุปตัวเลขมูลหนี้ให้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่กันแน่ เพราะตัวเลขบางส่วนยังไม่นิ่ง ซึ่งคาดจะได้ข้อสรุปภายใน 1 เดือน จากนั้นจะมีการเจรจาคืนหนี้ให้เอกชน โดยจะเชิญผู้บริหารบีทีเอสเข้าร่วมหารืออีกครั้ง

Click on the image for full size

ผลการตัดสินของศาลที่ออกมาถือเป็นสัญญาณบวกโดยตรงต่อบีทีเอส แม้ยังต้องไปสู้กันต่อในชั้นอุทธรณ์ ขณะเดียวกันบีทีเอสมีโอกาสยื่นฟ้องเพิ่ม เนื่องจากวงเงิน 11,755.06 ล้านบาท เป็นมูลหนี้ ณ วันที่ยื่นฟ้องเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วหนี้เพิ่มขึ้นทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีหนี้ค่าติดตั้งระบบ (M&E) อีกราว 2 หมื่นล้านบาท

ด้านบล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ระบุว่า ผลการตัดสินของศาลเป็นบวกกับ BTS แม้ว่าเรื่องนี้อาจยืดเยื้อมีการอุทธรณ์ แต่ถือว่าเริ่มมีสัญญาณที่ดี ทั้งนี้เงินที่ได้รับจะไม่ได้บันทึกเป็นกำไรในงบกำไร (ขาดทุน) เพราะได้บันทึกไปล่วงหน้าแล้ว แต่จะดีในแง่กระแสเงินสดมากกว่า สามารถนำไปลงทุนต่อหรือชำระคืนหนี้

โดยต้องรอติดตามว่าทางกทม. และกรุงเทพธนาคมจะชำระเป็นเงินสดหรือต่อรองกับการต่ออายุสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2572 ออกไปอีก 30 ปี ซึ่งในวันที่ 27 ก.ย. นี้ ศาลอาญาจะนัดตัดสินคดีล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มของ รฟม. เมื่อปี 2564 ซึ่งอาจมีผลกับการประมูลในปัจจุบันที่ BTS ไม่ได้เข้าร่วม เพราะอ้างว่า รฟม. มีเงื่อนไขประมูลที่เอื้อกับเอกชนบางกลุ่มมากไป และมีการฟ้องร้องกันอยู่ในชั้นศาล ซึ่งถ้าคดีนี้ BTS ชนะอีกครั้งไม่ว่าศาลใดก็ตามจะถือเป็นข่าวดีต่อไป

ด้านบล.กรุงศรี ประเมินว่า หากกรุงเทพธนาคมยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาน่าจะสร้างภาวะตลาดในเชิงลบให้กับหุ้น BTS โดยเฉพาะในระยะสั้น แต่หากมองในภาพใหญ่คิดว่าเมื่อมีการส่งเรื่องไปที่ศาลฎีกาแล้ว ศาลไม่น่าจะพลิกคำตัดสิน เพราะเหตุผลที่ศาลปกครองกลางตัดสินให้ BTS ชนะคดีคือ กรุงเทพธนาคมได้ทำสัญญาให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง (O&M) ไว้กับ BTS และเป็นสัญญาที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย ดังนั้นกรุงเทพธนาคมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา

นอกจากนี้ ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มีท่าทีว่าจะชำระเงินที่ยังค้างส่วนนี้ให้ BTS แต่อุปสรรคคือ ผู้ว่าฯ ต้องหาทางออกเรื่องการเก็บค่าบริการสายสีเขียวส่วนต่อขยายอย่างเหมาะสม ไม่กระทบความรู้สึกของผู้บริโภคมากเกินไป ซึ่งฝ่ายวิจัยเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้ว BTS จะได้รับเงินที่ยังค้างอยู่ทั้งหมดจากการให้บริการ O&M และ M&E คืนจากกรุงเทพธนาคม

ทั้งนี้ แม้ว่าคำตัดสินของศาลให้ BTS ชนะคดีจะไม่กระทบกับราคาเป้าหมายของฝ่ายวิจัย เพราะได้รวมการชำระเงินที่ยังค้างจากการให้บริการ O&M และ M&E สายสีเขียวส่วนต่อขยายเอาไว้ในแบบจำลองของฝ่ายวิจัยอยู่แล้ว แต่คำตัดสินของศาลจะช่วยลดความกังวลเกี่ยวกับด้านกฎเกณฑ์ของทางการลง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2022 7:14 am    Post subject: Reply with quote

“รสนา” ยื่นสภา กทม.พิจารณาไม่รับโอนหนี้สิน รถไฟฟ้าสีเขียวส่วนตอขยาย เห็นด้วย “ชัชชาติ” ยกทั้งเส้นคืนรัฐบาล
เผยแพร่: 14 ก.ย. 2565 14:07
ปรับปรุง: 14 ก.ย. 2565 14:07
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

“รสนา” บุกสภากทม. ยื่นหนังสือถึงประธานสภากทม.-ส.ก.50 เขต วอน กทม.อย่ารับโอนหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียว ชี้ ส.ก.ลงมติรับหนี้รถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ผิด ม.157 เห็นด้วย “ชัชชาติ” ยกทั้งเส้นคืนรัฐบาล ขอชะลอเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2

วันนี้ (14 ก.ย.) ที่สภากทม. อาคาร ไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง นางรสนา โตสิตระกูล ได้ยื่นหนังสือถึงประธานสภากทม.และส.ก.50 เขต เพื่อให้สภากทม.มีมติไม่เห็นชอบรับโอนทรัพย์สิน/หนี้สินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย(2)มาเป็นหนี้ของกทม. ที่เป็นภาระเกินตัวกทม.จนนำไปสู่การขยายสัมปทานรถไฟฟ้าส่วนหลักที่กำลังจะหมดสัมปทานในปี 2572 ไปอีก 30 ปี เพื่อแลกหนี้ที่ไม่ใช่ของ กทม. ซึ่งสภา กทม.ควรระวังจะผิด มาตรา 157 ถ้ารับโอนหนี้ส่วนต่อขยายที่ 2

ซึ่งในวันนี้ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะนำเรื่องแผนจัดการรถไฟฟ้าสีเขียวส่วนต่อขยาย (2) และหนี้สินในส่วนต่อขยาย (1) และ (2 ) เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้มีมติแก้ไขปัญหาที่ค้างคาสะสมมาตั้งแต่สมัยอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนก่อนนั้น นางรสนาจึงขอเสนอให้สภากรุงเทพมหานครโปรดพิจารณาไม่ให้ความเห็นชอบในการรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินส่วนต่อขยาย (2) มาเป็นของกรุงเทพมหานคร เพราะจะทำให้กรุงเทพมหานครต้องแบกรับภาระเกินตัวจนถึงขั้นล้มละลายได้ และยังถูกบีบต้องแก้ไขหนี้สินด้วยการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักให้เอกชนออกไปอีก 30 ปี จนถึงปี 2602 ซึ่งจะกลายเป็นภาระให้กับประชาชนคนกรุงเทพมหานครที่ต้องจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าราคาแพงต่อไปอีก 30 ปี

ทั้งที่เมื่อถึงปี 2572 ระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะสิ้นสุดสัมปทานและกลับคืนเป็นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะไม่มีต้นทุนค่าโครงสร้างระบบรางอีก เหลือเพียงค่าจ้างเดินรถและค่าบำรุงรักษาเท่านั้น ดังนั้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวจึงควรถูกลงสำหรับประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ที่ได้ร่วมกันจ่ายค่าโครงสร้างระบบรางของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักผ่านค่าโดยสารมาตลอดระยะสัมปทาน 30 ปี (ตั้งแต่ปี 2542 - 2572) นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังจะมีรายได้เชิงพาณิชย์อีกปีละประมาณ 5,000 ล้านบาท และนี่คือประโยชน์ของชาวกรุงเทพมหานครที่จะได้ค่าโดยสารที่ถูกลง

นางรสนากล่าวตอว่า หากที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบการรับหนี้ส่วนต่อขยาย (2) ซึ่งยังไม่ใช่หนี้ของกรุงเทพมหานคร และยังเป็นเส้นทางคาบเกี่ยวนอกเขตที่ไปถึงจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสมุทรปราการ ภาระหนี้ดังกล่าวจึงไม่ควรเป็นของกรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่ดูแลเฉพาะพื้นที่ขอบเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งการไปรับโอนหนี้ส่วนต่อขยาย (2) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.มาเป็นหนี้ของกรุงเทพมหานครเองนั้น นอกจากจะไม่ได้ก่อเกิดผลประโยชน์อันใดต่อประชาชนกรุงเทพมหานครแล้ว ยังเป็นกลอุบายเพื่อต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวส่วนหลักไปอีก 30 ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินที่ไม่ใช่หนี้ของกรุงเทพมหานคร ดังนั้นสภากรุงเทพมหานครควรมีมติส่งคืนรัฐบาล โดยไม่รับโอนส่วนต่อขยาย (2) ตามคำสั่งของรัฐบาล คสช.

ทั้งนี้ นางรสนาเห็นด้วยกับดำริของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เสนอจะยกรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งเส้นรวมทั้งเส้นทางหลัก (ที่ติดสัมปทานถึงปี 2572) คืนให้รัฐบาลบริหารจัดการแบบเจ้าของเดียว เพื่อเป็นการทำให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวถูกบริหารเป็นระบบเดียวกับรถไฟฟ้าทั้ง 10 สายในระยะทางรวม 499 กิโลเมตร ด้วยระบบตั๋วใบเดียว ราคาเดียว ในราคาถูกที่สุด ไม่มีค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน ซึ่งเกิดขึ้นได้ต้องไม่ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักไปอีก 30 ปี

หากสภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบการรับโอนทรัพย์สิน/หนี้สินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย (2) จนต้องแก้ไขปัญหาหนี้สินด้วยการขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักจะทำให้ประชาชนชาวกรุงเทพมหานครต้องเสียประโยชน์ ต้องจ่ายค่าโดยสารแพงต่อไปอีก 30 ปี จากมูลเหตุอันไม่ใช่หนี้ของกรุงเทพมหานคร ที่สำคัญหากสมาชิกสภากรุงเทพมหานครท่านใดที่ลงมติเห็นชอบอาจต้องระวังว่าจะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่มีความรับผิดตามมาตรา 157 ด้วยหรือไม่

จึงขอเสนอให้ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร โดยสมาชิกสภากรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต มีมติไม่ให้ความเห็นชอบรับรองการรับโอนทรัพย์สิน/หนี้สินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย (2) เพื่อรักษาผลประโยชน์อันชอบธรรมของชาวกรุงเทพมหานครต่อไป นางรสนากล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 142, 143, 144 ... 155, 156, 157  Next
Page 143 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©