Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269470
ทั้งหมด:13580757
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 81, 82, 83 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2018 9:53 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
บีทีเอสแจงน้ำรั่วในรถไฟฟ้า เหตุแอร์มีน้ำขัง ถอดเปลี่ยนแล้ว เร่งตรวจสอบสาเหตุ
เผยแพร่: 23 ส.ค. 2561 17:29 ปรับปรุง: 23 ส.ค. 2561 17:35 โดย: MGR Online

แจงน้ำแอร์รั่วบน"บีทีเอส"ล่าสุดแก้ไขแล้ว
พฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม 2561 เวลา 19.07 น.
ฝ่ายปชส.บีทีเอสแจงกรณีผู้โพสต์เฟสบุ๊คเผยภาพน้ำรั่วจากขบวนรถระหว่างวิ่งไปจากสนามกีฬาแห่งชาติไปบางหว้านั้น เกิดจากแอร์ล่าสุดแก้ไขแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2018 12:42 am    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสรุกลงทุน4ธุรกิจใหม่ เปิดพื้นที่ค้าปลีกแนวรถไฟฟ้า

วันที่ 25 สิงหาคม 2561 เวลา 08:32 น.

“กวิน กาญจนพาสน์” ทายาทเจ้าพ่อบีทีเอสเปิดยุทธศาสตร์เทกโอเวอร์อิออน-เคอรี่ ผนึกสหพัฒน์-AIS ขึ้นผู้นำ Big Data ต่อยอดธุรกิจ 4 ขาทั้งรถไฟฟ้า สื่อโฆษณา อสังหาฯ บริการ บริษัทลูก VGI ควักหมื่นล้านในรอบ 3 ปีซื้อกิจการลุยสื่อเอาต์ดอร์-อินดอร์-ไฟแนนซ์-โลจิสติกส์ สร้างแพลตฟอร์มธุรกิจ รับตลาดอีคอมเมิร์ซบูม

นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปีนี้เป็นปีที่บีทีเอสแข็งแกร่งที่สุด มีกระแสเงินสดในมือ 9,458 ล้านบาท โดยมี 4 ธุรกิจในเครือทั้งรถไฟฟ้า สื่อโฆษณา อสังหาริมทรัพย์ และการบริการ เช่น บัตรแรบบิท แรบบิทไลน์เพย์ นายหน้าประกันภัย มีรายได้รวม (เมษายน 2560-มีนาคม 2561) อยู่ที่ 14,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 63.9% กำไรสุทธิ 4,416 ล้านบาท โดยธุรกิจรถไฟฟ้าเป็นรายได้หลัก 9,112 ล้านบาท สื่อโฆษณา 3,902 ล้านบาท อสังหาฯ 639 ล้านบาท และบริการ 449 ล้านบาท

ซื้อโรงแรมยุโรป-บุกมีเดีย

“mass transit เป็นสิ่งที่เชี่ยวชาญตั้งแต่แรกที่ร่วมกับซีเมนส์และบอมบาร์ดิเอร์ ตอนนี้ไม่มีอะไรน่าห่วงเพราะเราทำเป็น สร้างเป็น รถไฟฟ้าบีทีเอสถือว่าเป็นแกนหลัก หรือ backbone สำหรับกรุงเทพฯไปแล้ว ทุกอย่างเริ่มต้นจากรถไฟฟ้าทั้งวีจีไอ บัตรแรบบิท ถ้าไม่มีรถไฟฟ้าก็ไม่มีธุรกิจอื่น ถ้าไม่มีคุณคีรี (คีรี กาญจนพาสน์) ก็ไม่มีบีทีเอส”

ปัจจุบันขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ บมจ.ยู ซิติ้ ที่บีทีเอสถือหุ้น 38% ซื้อโรงแรมในยุโรป, บมจ.วีจีไอ โกลบอล มีเดีย (VGI) ร่วมมือกับพันธมิตรในมาเลเซียตั้งบริษัทย่อย VGI Global Media (Malaysia) Sdn. Bhd. หรือ VGM ซื้อหุ้น 25.1% ในบริษัท Meru Utama Sdn. Bhd. ผู้ให้บริการสื่อโฆษณาในสนามบิน รวมทั้งในอินโดนีเซียก็ได้สัญญาทำโฆษณา 20 ปี

รถไฟฟ้าปักหมุดในประเทศ

นายกวินขยายความว่า ธุรกิจรถไฟฟ้ายังไม่จำเป็นที่จะขยายการลงทุนไปต่างประเทศ เนื่องจากไทยมีแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐจำนวนมาก ซึ่งบีทีเอสเป็นผู้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ เช่น สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี, สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง, สายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต มีระยะทางเพิ่มขึ้น 95.7 กิโลเมตร รวม 78 สถานี หากรวมกับโครงข่ายบีทีเอสเดิมเท่ากับมีระยะทางรวม 132 กิโลเมตร 112 สถานี



“ถ้าบีทีเอสจะต้องออกไปต่างประเทศก็ไปกันเป็นกลุ่ม เพราะไม่อยากให้เสียโอกาส โฆษณาไปก็เอาแรบบิทการ์ดไปด้วย คุยเรื่องรถไฟ เราก็พยายามเอากลุ่มหนึ่งที่เชี่ยวชาญทั้งรถไฟฟ้าและธุรกิจอื่น ๆ ร่วมด้วย และไม่ว่าไปไหนก็แล้วแต่จะบอกเขาว่าเราคือ mass transit solution company เรามีพันธมิตรที่ร่วมกันมานานทั้งซีเมนส์และบอมบาร์ดิเอร์”

ผนึกพันธมิตรลุยธุรกิจใหม่

ผู้สื่อข่าวสอบถามว่า ในช่วงครึ่งปีหลังมีบิ๊กดีลทางธุรกิจหรือไม่ นายกวินตอบว่ายังไม่มี โมเดลหลังจากนี้ร่วมเป็นพันธมิตรมากกว่า สนใจในทุกธุรกิจเหมือนที่ร่วมกับแสนสิริ เช่น ธุรกิจไฟแนนซ์ ซึ่งหลายปีที่ผ่านมาบีทีเอสร่วมกับกลุ่มอิออน 50 : 50 ปล่อยเงินกู้ ในอนาคตอาจมีโปรดักต์ใหม่ ๆ ออกมา เช่น ไมโครไฟแนนซ์ หรือ AI เพราะลงทุนไม่มาก

“ไม่คิดว่าจะมีดีลใหญ่ใช้เงินหลาย 1,000 ล้านที่ซื้อกิจการอีก วันนี้พอแล้ว ไม่มีบริษัทไหนทำ M&A ไม่จบไม่สิ้น เวลาในการเทกโอเวอร์หยุดแล้ว จะใช้เงินพัฒนาคน ทำยังไงให้ทุกอย่างที่กินเข้าไปย่อยได้ และทำรายได้ให้มากที่สุด”

“ผมเป็นนักธุรกิจที่ชอบมีพันธมิตรมากกว่าเป็นคนรวยใช้เงินซื้อทุกอย่าง ปรัชญาผมคือ ทุก ๆ ที่ที่ไปร่วมส่วนใหญ่ถือหุ้น 25-30% อะไรที่สำคัญจะถือเกิน50% อะไรที่อยากให้มาช่วยก็ไปด้วยกันไม่ได้ขี้เหนียวมากจนต้องกินทุกอย่างหมด แต่ต้องมีรุกมีรับ”

VGI ลงทุนแล้วหมื่นล้าน

ในส่วนของวีจีไอมีนโยบายเดินหน้าการลงทุนเพิ่ม วางเป้า 5 ปีข้างหน้า (2562-2566) อาจมีกำไรดีกว่าบีทีเอส ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2559-2561) ใช้เงินลงทุน 8,000-10,000 ล้านบาท ซื้อธุรกิจเพื่อเปลี่ยนมุมมองจากบริษัทโฆษณาเป็นบริษัททำ marketing solution ตั้งแต่ซื้อวีจีไอ ทำบัตรแรบบิท ณ วันนี้มีมูลค่าตามราคาตลาด (market cap) อยู่ที่ 60,000 ล้านบาท ถือว่าโตเร็วและเลี้ยงตัวเองได้ มีป้ายบิลบอร์ด 2,200 ป้ายป้ายดิจิทัลบน BTS 2,000 จุด ป้าย LED screen 4,000 จุด และสื่อโฆษณาในอาคาร 1,900 สกรีน 3 ปีจากนี้มองว่ารายได้โฆษณาลดลงจึงลงทุนเพิ่มในธุรกิจอื่น เช่น ถือหุ้น 23% มูลค่า 5,900 ล้านบาท ในบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด เพราะโลจิสติกส์โตเร็วกว่า กลยุทธ์เป็นการซินเนอร์ยีแพลตฟอร์มธุรกิจโฆษณาเข้าไปในการซื้อของ-ขายของในออนไลน์

ซื้อเคอรี่ต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์

“Kerry ใช้เวลาเจรจา 3 สัปดาห์เท่านั้น ปัจจุบันผู้บริหารยังไม่เจอหน้ากันเลย คุยกันทางโทรศัพท์ก็จบ ซึ่งต่างประเทศเข้ามาหาเราเยอะมากและสงสัยว่าไปถือหุ้นใน Kerry ได้อย่างไร เพราะ Kerry ถือว่าใหญ่พอสมควร จากดีลนี้ทำให้เราเพิ่มกำลังส่งสินค้าจากเดิมวันละ 1 แสนชิ้น เป็น 8 แสนชิ้นและเป็นบริษัททำรายได้ดีที่สุดในธุรกิจที่ไปซื้อมา มีมูลค่าในตลาด 24,000 ล้านบาท

การนำ Kerry มาตั้งในบีทีเอสอยู่ระหว่างหาทำเล เพราะทุกสถานีมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มีผู้ค้ารายอื่นเช่า อีกทั้งส่วนต่อขยายต่าง ๆ ต้องรอเวลาให้จำนวนผู้โดยสารคุ้มที่จะเปิด

ร่วมสหพัฒน์ลุยบิ๊กดาต้า-อสังหา

นอกจากนี้ บีทีเอสได้ทำ MOU กับกลุ่มสหพัฒน์ เป็นพันธมิตรด้าน big data ข้อมูลทางธุรกิจ 8 ด้าน ได้แก่ เพย์เมนต์, การโฆษณาที่เจาะจง, e-Commerce, การแจกของ, สิทธิพิเศษ, วิเคราะห์ข้อมูล,HR และอสังหาริมทรัพย์

ล่าสุดเริ่มจับมือร่วมกัน 2-3 ด้าน คือ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติภายใต้เครือข่ายสหพัฒน์ 10,000 ตู้ทั่วประเทศ สเต็ปต่อไปจะใช้ชำระเงินผ่านบัตรแรบบิทได้ กำลังดำเนินการทางเทคนิคเพื่อให้แต่ละตู้รองรับระบบบัตรแรบบิท ทั้งร่วมมือในส่วนพื้นที่โฆษณางานสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งล่าสุดบนรถไฟฟ้า เพราะปีนี้สหพัฒน์ย้ายสถานที่จัดงานจากศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ไปที่ไบเทค บางนา ซึ่งมีรถไฟฟ้าผ่านพอดี

ส่วนการนำร้านสะดวกซื้อ “ลอว์สัน 108″ขึ้นไปไว้บนสถานีบีทีเอสหรือไม่ มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้ รวมทั้งมีการเจรจาลงทุนอสังหาฯตามแนวรถไฟฟ้า แต่โมเดลไม่ใช่การลงทุนพัฒนาคอนโดมิเนียมเหมือนกับที่ร่วมทุนกับแสนสิริ แต่เป็นโมเดลลงทุนคอมมิวนิตี้มอลล์หรือโรงแรมเป็นหลัก คาดว่าเริ่มเห็นภายในปี 2562 ในนามบริษัทยู ซิตี้

ก.ย.เปิดตัวแรบบิทไลน์เพย์

นายกวินกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ AIS และ LINE ในการร่วมลงทุนบริการ Rabbit LINE Pay โดย AIS ถือหุ้น 33% LINE 33% ส่วนบีทีเอส และ Keery ถือ 33% โดย AIS ยกเลิก mPAY แล้ว และย้ายสมาชิกทั้งหมดไปอยู่ LINE Pay แทนเนื่องจากมองว่ามีอนาคตกว่า

“ตอนนี้บีทีเอสมีผู้ถือบัตรแรบบิท 8.9 ล้านคน ผู้ถือบัตรแรบบิทไลน์เพย์ 3.5 ล้านคน จะเปิดตัวช่วงกันยายนนี้ เป้าหมายเพื่อนำบีทีเอสไปสู่การเป็นผู้นำด้าน big data เพราะมีทั้งข้อมูลบีทีเอส และ AIS เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคในการต่อยอดธุรกิจในอนาคต”

ปีหน้าเชื่อมตั๋วร่วม EMV

ส่วนกรณีที่รถไฟฟ้าบีทีเอสมีปัญหาขัดข้องบ่อย นายกวินกล่าวว่า ที่ผ่านมาลงทุนทุกปีเพื่อปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น เช่น ติดตั้งอุปกรณ์กรองคลื่นรบกวน ขณะนี้ปัญหาต่าง ๆ ก็คลี่คลายลงแล้ว

“บีทีเอสพร้อมจะให้ความร่วมมือกับภาครัฐเพื่อดำเนินการระบบตั๋วร่วม แต่ทุกอย่างต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบ ซึ่งในปีหน้าบีทีเอสจะลงทุนปรับปรุงระบบบัตรแรบบิทให้รองรับกับระบบตั๋วร่วม EMV ของรัฐบาลที่ประกาศใช้ปลายปี 2562” นายกวินกล่าวตอนท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 27/08/2018 5:18 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าฯกทม.เสนอ BTS นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่มาทดแทนขบวนที่ชำรุด พร้อมทำราวกั้นกันตกทุกสถานี
ผู้สื่อข่าว:เกตุกนก ครองคุ้ม
ข่าวสังคม จส. 100
27 สิงหาคม 2561 เวลา 15:00น.
อัศวินหารือบีทีเอสเร่งแก้ไขปัญหา ทำแผงกั้นตกริมทางรถไฟทุกสถานี
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
28 สิงหาคม 2561 เวลา 05:15

การนำขบวนรถไฟฟ้า BTS ขบวนใหม่มาให้บริการประชาชน เพื่อรองรับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS ทั้งในเส้นทางสายสุขุมวิท หมอชิต-แบริ่ง และสายสีลม สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า รวมถึงเส้นทางส่วนต่อขยายจากสถานีแบริ่งไปสมุทรปราการ และจากสถานีหมอชิตไปคูคต รวมทั้งสิ้น 46 ขบวน พลตำรวจเอกอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า จะมีขบวนรถไฟฟ้า BTS ใหม่ทยอยเข้ามาเดือนกันยายนนี้ กว่า 10 ขบวน จากปัญหา เช่น น้ำรั่วภายในขบวนรถไฟฟ้า เมื่อเกิดฝนตกหนัก ประตูเปิดขณะให้บริการ หรือมีผู้โดยสารตกลงไปในรางรถไฟฟ้า จึงให้ข้อเสนอแนะกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ให้นำขบวนใหม่ที่จะเข้ามานี้ ใช้ทดแทนรถไฟฟ้าขบวนที่มีสภาพชำรุด จากการใช้งานนาน หรือขบวนที่ต้องซ่อมแซม เพราะเห็นว่าหากเกิดอันตรายจะไม่คุ้มกับชีวิตของผู้โดยสาร ซึ่ง BTS ได้รับไปพิจารณา รวมถึงพิจารณาทำราวกั้นกันตกทุกสถานี เพื่อป้องกันเหตุผู้โดยสารตกรางรถไฟฟ้าเหมือนที่เคยเกิดเหตุขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ย้ำถึงการทำสัญญาใหม่ในส่วนต่อขยายว่าจะต้องมีความรัดกุมในสัญญามากขึ้น เช่น การระบุจำนวนลิฟต์ที่ติดตั้ง แต่ละสถานี การกำหนดให้ทำราวกันตกทุกสถานีด้วย



ส่วนการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครคนใหม่ แทนนายภัทรุตม์ ทรรทรานนท์ ที่จะเกษียณอายุราชการวันที่ 30 กันยายน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ยืนยันว่า ในวันที่ 1 ตุลาคม จะมีปลัดกรุงเทพมหานคร อย่างแน่นอน แต่ปฏิเสธที่จะตอบคำถามว่าขณะนี้ได้เสนอรายชื่อไปยังกระทรวงมหาดไทยแล้วหรือไม่ และปลัดคนใหม่จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย สำหรับรายชื่อผู้ที่คาดว่าน่าจะได้รับตำแหน่ง ประกอบด้วย นายแพทย์พิชญา นาควัชระ และนางศิลปะสวย ระวีแสงสูรย์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองปลัดกรุงเทพมหานคร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2018 2:24 pm    Post subject: Reply with quote

อ่านคำชี้แจงจาก "บีทีเอส" หลังถูกถามเรื่องเก็บเงินสถานีในอนาคต?
วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 17:40 น.
อ่านคำชี้แจงจากรถไฟฟ้าบีทีเอส กรณีมีผู้ตั้งคำถามถึงการเก็บค่าโดยสารในสถานีอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2018 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อ่านคำชี้แจงจาก "บีทีเอส" หลังถูกถามเรื่องเก็บเงินสถานีในอนาคต?
วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 17:40 น.
อ่านคำชี้แจงจากรถไฟฟ้าบีทีเอส กรณีมีผู้ตั้งคำถามถึงการเก็บค่าโดยสารในสถานีอนาคต

อ่านคำชี้แจงจากรถไฟฟ้าบีทีเอส กรณีมีผู้ตั้งคำถามถึงการเก็บค่าโดยสารในสถานีอนาคต

กรณีสมาชิกเฟซบุ๊กชื่อ "Bozztun" ตั้งคำถามถึงอัตราการเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยระบุว่า เข้าใจว่าการเดินทาง 1 สถานีนั้นบีทีเอสจะคิดค่าโดยสาร 16 บาทแต่ปรากฎว่า เมื่อไปใช้บริการจากสถานีสุรศักดิ์ไปสถานีช่องนนทรี ซึ่งมีระยะห่างเพียง 1 สถานี กลับคิดค่าบริการเกินกว่า 16 บาท ซึ่งเมื่อไปดูในแผนที่พบว่า ระหว่างทั้ง 2 สถานีนี้ ในอนาคตจะมีสถานีเกิดขึ้นใหม่ คือ สถานีศึกษาวิทยา ทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายนี้มองว่า เหตุใด บีทีเอส จึงคิดราคาสถานีในอนาคตรวมไปอยู่ด้วย

ล่าสุดเมื่อทดลองสอบถามไปยัง BTSskytrain ทางแอพพลิเคชั่นไลน์ของ บีทีเอส เจ้าหน้าที่ให้คำอธิบายต่อเรื่องดังกล่าวว่า

สำหรับประเด็นเรื่องสถานีศึกษาวิทยา ขออนุญาตแจ้งเป็นข้อมูล ดังนี้
1. ภาพที่ส่งต่อกัน เป็นภาพเส้นทางการเดินรถ ที่บีทีเอสได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย และไม่เคยปิดบัง
2. การคิดค่าโดยสาร ใช้วิธีคิดตามสัญญาสัมปทานที่บริษัทได้รับมา และต้องปฏิบัติตามเคร่งครัด โดยมีภาครัฐตรวจสอบ
3. แม้ว่าหลักคำนวณค่าโดยสาร จะคำนวณตามระยะทางแต่ในทางปฏิบัติ จะใช้วิธีนับเป็นสถานี เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการครับเพราะในทางปฏิบัติจริง ระยะห่างแต่ละสถานีไม่ได้เท่ากันเป๊ะๆ เพราะลักษณะของพื้นที่ตอนก่อสร้างแต่ละสถานี ไม่เหมือนกันครับ เช่น

สถานีสยาม-สนามกีฬาแห่งชาติ ห่างกันประมาณ 600 เมตร

สถานีพระโขนง - สถานีอ่อนนุชห่างกันประมาณ 1500 เมตร

ระยะทาง ต่างกันเกือบ 2 เท่าตัว แต่ค่าโดยสารก็คิดเป็น 1 สถานีเท่ากันนอกจากนี้ ถ้าผู้โดยสารเดินทางเกินกว่า 8 สถานีราคาค่าโดยสารก็ยังคงราคาเดิม (ไม่รวมส่วนต่อขยาย)

ปัจจุบันบีทีเอสเก็บค่าโดยสารอยู่ที่ 16 บาทถึง 44 บาท ซึ่งยังต่ำจากอัตราเพดานที่ได้รับอนุญาตตามสัญญาสัมปทานที่ราคา 20.11 บาทถึง 60.31 บาท

บีทีเอสจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามสัญญาสัมปทานนับแต่มีการเปิดให้บริการในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 และกรณีที่มีการสร้างสถานีแล้วเสร็จ ราคาก็จะไม่มีการเพิ่มแล้ว

Click on the image for full size
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Bozztun Powong
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2018 9:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
อ่านคำชี้แจงจาก "บีทีเอส" หลังถูกถามเรื่องเก็บเงินสถานีในอนาคต?
วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 17:40 น.
อ่านคำชี้แจงจากรถไฟฟ้าบีทีเอส กรณีมีผู้ตั้งคำถามถึงการเก็บค่าโดยสารในสถานีอนาคต


บีทีเอสยันเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 16:14
ปรับปรุง: วันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 22:47

บีทีเอสยันเก็บค่าโดยสารตามระยะทาง-เตรียมก่อสร้างสถานีศึกษาวิทยา

นายธนูชัย หุ่นนิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กล่าวกรณีสื่อสังคมออนไลน์วิจารณ์การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มในสถานีที่ยังสร้างไม่เสร็จ ว่า ตามสัญญาสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่กรุงเทพมหานครให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้บริหารและจัดการเดินรถ ได้กำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารตามระยะทาง ซึ่งกรณีที่รถไฟฟ้าบีทีเอส จัดเก็บค่าโดยสารเพิ่มใน 2 สถานี คือ สถานีศึกษาวิทยา (S4) และ สถานีเสนาร่วม (N6) แม้ปัจจุบันจะยังไม่มีตัวสถานี แต่อยู่ในระบบของรถไฟฟ้าบีทีเอส จึงต้องจัดเก็บค่าโดยสารตามระยะทางที่เกิดขึ้นจริง โดยสถานีศึกษาวิทยา (S4) อยู่ระหว่างสถานีช่องนนทรี (S3) กับสถานีสุรศักดิ์ (S5) มีระยะห่างระหว่าง S3 กับ S5 ประมาณ 1.7 กิโลเมตร ส่วนสถานีเสนาร่วม (N6) อยู่ระหว่างสถานีอารีย์ (N5) กับสถานีสะพานควาย (N7) มีระยะห่างระหว่าง N5 กับ N7 ประมาณ 2.3 กิโลเมตร ดังนั้น จึงทำให้ราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส จาก S3 ไป S5 และจาก N5 ไป N7 ค่อนข้างก้าวกระโดด เพราะระยะทางที่ยาวกว่าปกติ ซึ่งตามปกติสถานีทั่วไปของรถไฟฟ้าบีทีเอส จะมีระยะห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร/สถานี เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน BTSC ได้ทำเรื่องขออนุญาตก่อสร้างสถานีศึกษาวิทยา (S4) และผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ประมาณเดือนตุลาคม 2561 หากผ่านการพิจารณาแล้ว BTSC จึงจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ ส่วนสถานีเสนาร่วม (N6) BTSC อยู่ระหว่างการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมของการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2018 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ตั้งวอร์รูมแก้ปัญหารถไฟฟ้าเสีย – บีทีเอสสัญญา ต.ค. รถกระตุกไม่เกินเดือนละ 3 ครั้ง

วันที่ 30 สิงหาคม 2561 - 15:42 น.

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรองประธานคณะกรรมการประสานงานและบริหารจัดการแก้ไขปัญหา กรณีเกิดเหตุขัดข้องของระบบรถไฟฟ้าขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ และปริมฑล เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการประสานงานและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาฯครั้งที่ 1 ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอาณัติสัญญานของรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยบีทีเอสแจ้งว่าขณะนี้ได้เปลี่ยนมาใช้คลื่นความถี่ 2485-2495 เมกะเฮิร์ตและกำลังทยอยติดตั้งตัวกรองคลื่นรบกวนบางส่วนแล้ว แต่ยังพบอาการกระตุกของการเดินรถอยู่

ทั้งนี้ คาดว่าในเดือนต.ค.นี้ จะติดตั้งตัวกรองได้ครบทั้งหมด ซึ่งได้ร่วมกำหนดตัวชีวัดกับกรุเทพมหานครในฐานะผู้ให้สัมปทานเดินรถว่าไว้แล้วว่าภายในเดือนต.ค. รถจะกระตุกไม่เกิน 2-3 ครั้ง/เดือน ลดลงจากปัจจุบันที่เกิดปัญหากระตุกประมาณ 10 ครั้ง/วัน และลดลงจากช่วงเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ที่เกิดปัญหากระตุกมากถึง 200 ครั้ง/วัน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้ทบทวนคู่มือแผนบริหารความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุของระบบขนส่งสาธารณะทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลใหม่ให้ครอบคลุมเรื่องของอาณัติสัญญานเข้าไปด้วย รวมทั้งปรับแผนบริหารความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุกรณีรถไฟฟ้าเกิดปัญหา ตามสถานะความระดับความรุนแรงของปัญหาให้ละเอียดมากขึ้น คือปรับจากเดิม 3 ระดับ เป็น 5 ระดับ

โดยแบ่งออกเป็น ระดับ 1. สีเหลือง ยอมรับได้กำหนด แก้ปัญหาได้ภายในไม่เกิน 5 นาที ระดับที่ 2 สีเขียว น้อย แก้ไขปัญหาได้ภายใน 5-15 นาทีในช่วงเวลาปกติ ระดับที่ 3 สีฟ้า ปานกลาง แก้ปัญหาได้ภายใน 5-15 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วน ระดับที่ 4 สีส้ม สูง แก้ปัญหาเกิน 15 นาที และระดับที่ 5 สีแดง รถหยุดให้บริการ


ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอแผนปรับปรุงแล้วให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอนุมัติในประชุมครั้งที่ 2 ในเดือน ก.ย. และสรุปเสนอให้ปลัดกระทรวงคมนาคมเห็นชอบในเดือนพ.ย. เพื่อให้หน่วยงานที่ทำข้อตกลงร่วมกันนำไปปฏิบัติต่อไป

นายสราวุธ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังมีมติให้มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการตามแผนบริหารความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็นคนกลางในการบัญชาแก้ปัญหาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากการเดินรถไฟฟ้าในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งการทำงานก็จะคล้ายกับ ศูนย์บัญชาการกองอำนวยการค้นหาผู้สูญหายในวนอุทยานถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ที่มีการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายเป็นหัวหน้าศูนย์บัญชาการในการแก้ไขปัญหา เบื้องต้นอาจจะคัดเลือกจากผู้บัญชาการแผน จากประธานหรือรองประธานคณะกรรมการประสานงานฯ

ส่วนการชดเชยความเสียหายต่อผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากปัญหารถไฟฟ้าเสียนั้นไม่ได้อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดนี้ โดยในผู้ให้และผู้รับสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าจะมีการตกลงกรอบความรับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหายเอาไว้แล้ว ต้องไปดูแต่ละสัญญาว่าเป็นอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2018 10:14 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คมนาคม ตั้งวอร์รูมแก้ปัญหารถไฟฟ้าเสีย – บีทีเอสสัญญา ต.ค. รถกระตุกไม่เกินเดือนละ 3 ครั้ง

วันที่ 30 สิงหาคม 2561 - 15:42 น.

คมนาคมรื้อแผนเผชิญเหตุรถไฟฟ้าขัดข้อง ยกระดับเหตุ เพิ่มปัจจัยเสี่ยง ขันน็อตทีมแก้ไข
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 30 สิงหาคม 2561 17:44



“คมนาคม”ตั้งกก.แก้ปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องชุดใหม่ พร้อมยกระดับแผนบริหารความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุใหม่ จัดระดับเหตุการณ์รุนแรงสุดรถไฟฟ้าหยุดวิ่ง ตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ พร้อมทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ครอบคลุมมากขึ้น ยอมรับอาณัติสัญญาณบีทีเอสขัดข้อง ไม่เคยอยู่ในแผนมาก่อน ด้านบีทีเอสยันต.ค.แก้ปัญหาเสร็จ รถไม่กระตุก

นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการประสานงานและบริหารจัดการแก้ไขปัญหา กรณีเหตุขัดของของระบบรถไฟฟ้าขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ว่า จากที่รถไฟฟ้าเกิดเหตุขัดข้องบ่อยขึ้น และหลายครั้งขัดข้องจากเหตุที่ไม่ได้คาดหมาย ซึ่งคู่มือของแผนบริหารความเสี่ยงและแผนเผชิญเหตุเดิม ที่จัดทำโดยคณะกรรมการฯที่จัดตั้งเมื่อปี 59 ยังไม่ครอบคลุมในหลายเหตุการณ์

เช่น กรณีระบบอาณัติสัญญาณรถไฟฟ้าบีทีเอส ขัดข้องทำให้เกิดการเดินรถล่าช้า เมื่อเดือนมิ.ย. 61 ดังนั้น กระทรวงคมนาคมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯชุดใหม่ และมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ เพิ่มเติมจากการกำหนดแผนเท่านั้น ก็ให้สามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาระบบรถไฟฟ้าได้ครอบคลุมกับเหตุการณ์ และรวดเร็ว รวมถึงจัดปรับปรุงแผนเผชิญเหตุใหม่ ซึ่งจะในเดือนก.ย. จะประชุมพิจารณาร่างแผนเผชิญเหตุฯ อีกครั้ง เพื่อสรุปเสนอปลัดกระทรวงคมนาคมคาดว่าจะลงนามในแผนใหม่ได้ช่วงต้นเดือนพ.ย. 2561

ทั้งนี้ ในแผนเผชิญเหตุฯเดิม กำหนดเหตุการณ์ระบบรถไฟฟ้าขัดข้องไว้ 3 ระดับ ส่วนแผนใหม่ จะกำหนด 5 ระดับ และใช้สีเป็นตัวกำหนด คือ 1. ผลกระทบน้อยมาก (สีเหลือง) เกิดเหตุขัดข้องที่แก้ไขได้ภายในไม่เกิน 5 นาที 2. ผลกระทบน้อย(สีเขียว) เกิดเหตุขัดข้องที่แก้ไขได้ภายใน 5-15 นาที (ช่วงเวลาปกติ) 3. ผลกระทบปานกลาง (สีฟ้า) เกิดเหตุขัดข้องที่แก้ไขได้ภายในไม่เกิน 5 -15 นาที (ช่วงเวลาเร่งด่วนและเวลาปกติ) 4. ผลกระทบสูง (สีส้ม) เกิดเหตุขัดข้องที่แก้ไขเกิน 15 นาที 5. ผลกระทบสูงมาก (สีแดง) รถไฟฟ้าหยุดให้บริการ

และจะกำหนดหน้าที่ในการจัดการ ของผู้เกี่ยวข้องไว้ชัดแจนในแต่ละระดับเหตุการณ์ ทุกคนจะรู้หน้าที่ตนเอง เช่น ขสมก.จัดรถเมล์ช่วย ,ขบ.ดูแลไม่ให้รถสาธารณะอื่นเอาเปรียบผู้โดยสาร โดยมีผู้บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปลอดภัยคมนาคม

ตัวอย่างเหตุเล็กๆ เช่น คนล้นสถานี ,รถแอร์ไม่เย็น ,น้ำรั่ว ส่วนเหตุการณ์ใหญ่ จนทำให้เกิดรถไม่ได้ เช่น ไฟดับ ก่อวินาศกรรม พวกนี้ ใช้เวลาแก้ไขนาน ต้องเปลี่ยนโหมดเดินทาง ส่วน รถไฟฟ้า MRT ,สายสีม่วง และแอร์พอร์ตลิงก์ ไม่มีปัญหาเรื่องระบบอาณัติสัญญาณ

โดยรถไฟฟ้า MRT เกิดเหตุรุนแรงที่สุด ช่วงเปิดให้บริการ ขบวนรถไหลมาชนกัน ,รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ระบบไฟฟ้าขัดข้อง รถหยุดนิ่งเป็นเวลานานก่อนถึงสถานีรามคำแหง เมื่อ 21 มี.ค. 2559 บีทีเอส มีหยุดการเดินรถ จากเหตุการณ์ประท้วง อย่างไรก็ตาม แผนเผชิญเหตุฯนี้ ไม่ได้รวมไปถึงการชดเชยเยียวยาผู้โดยสารกรณีที่ไม่สามารถให้บริการได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัญญาของแต่ละผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ได้ติดตามการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณบีทีเอส ซึ่งได้ขยับคลื่นความถี่มาอยู่ที่ 2485-2495 เมกะเฮิร์ต ปรับปรุงตัวกรองสัญญาณ 200 กว่าจุด ปรับปรุงตัวรถ โดยจะเสร็จสมบูรณ์ในเดือนต.ค. 2561 บีทีเอสระบุว่า ปัจจุบันขบวนรถยังมีการกระตุกแต่ลดลงจาก 200 -300 ครั้งต่อวัน เป็น100 ครั้งต่อวันและขณะนี้เหลือเพียง 10 ครั้งต่อวัน หลังเดือนต.ค. การกระตุกจะน้อยไม่เกิน 2-3 ครั้งต่อวัน ซึ่งกทม.และบีทีเอส จะมีตัวชี้วัด (KPI) ร่วมกันด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2018 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

บีทีเอสเผยช่วงพีคคลื่นรบกวนหนักทำขบวนรถกระตุกวันละ200-300ครั้ง
วันที่ 30 สิงหาคม 2561 เวลา 17:08 น.

"บีทีเอส"เผยช่วงปัญหาคลื่นรบกวนหนักทำขบวนรถกระตุกวันละ 200-300 ครั้ง ขีดเส้นแก้ปัญหาจบภายใน 1 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 11/09/2018 9:47 am    Post subject: Reply with quote

ซื้อต๋วบีทีเอสบนโทรศัพท์มือถือได้

จันทร์ที่ 10 กันยายน 2561 เวลา 19.14 น.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด ( มหาชน )หรือบีทีเอส กล่าวว่า ภายในปลายปีนี้ บีทีเอสจะดำเนินการเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมด ให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) รวมประมาณ 200 ตู้ และติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่มีช่องรับธนบัตรเพิ่มอีก 52 ตู้ พร้อมเพิ่มฟังก์ชั่นการจ่ายเงินซื้อตั๋วผ่านคิวอาร์โค้ด ซื้อตั๋วบนมือถือได้ ซึ่งได้นำร่องกับธนาคารกรุงเทพเป็นแห่งแรก อีกทั้งจะอัพเกรดบัตรแรบบิทเป็น "บัตรแรบบิท พลัส" ให้รองรับระบบอีเอ็มวีของตั๋วร่วมที่จะใช้ในปลายปีหน้า

นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 8ก.ย.ที่ผ่านมา บีทีเอสได้เปลี่ยนบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว จากบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นบัตรสมาร์ทการ์ดชนิดบาง (Thin Card) ที่มีความบางมากกว่าบัตรแรบบิท หรือบัตรทั่วไป โดยจะเปลี่ยนตู้จำหน่ายตั๋วโดยสารอัตโนมัติทั้งหมด ให้เป็นแบบจอสัมผัส (Touch Screen) ซึ่งบัตรโดยสารดังกล่าวจะเป็นบัตรรูปแบบใหม่ที่ใช้ได้กับรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการในอนาคตด้วย

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่ ประชาชนแสดงความคิดเห็นว่าหากจะติดตั้งตู้ทัชสกรีนแล้ว ทำไมไม่ติดช่องใส่ธนบัตรด้วยว่า ตู้ดังกล่าวเป็นตู้จำหน่ายตั๋วเก่าที่นำมาปรับปรุงใหม่ ส่วนตู้ใส่ธนบัตรก็ยังมีให้บริการอยู่ ดังนั้นอยากให้ประชาชนรอตู้กดบัตรโดยสารที่จะนำมาให้บริการภายในปลายปีนี้

อย่างไรก็ตามปัจจุบัน คนไทยยังนิยมซื้อตั๋วด้วยการหยอดเหรียญถึง 30% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพราะยังขาดความเชื่อมโยงของเส้นทางโดยสาร ทั้งนี้ตั้งเป้าว่าจะลดจำนวนผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วด้วยการหยอดเหรียญให้เหลือไม่เกิน 20% ภายใน 5 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 81, 82, 83 ... 155, 156, 157  Next
Page 82 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©