Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181508
ทั้งหมด:13492746
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวเกี่ยวกับรถไฟฟ้า BTS
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 92, 93, 94 ... 155, 156, 157  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2019 2:11 pm    Post subject: Reply with quote

โดดร่วมวงลดค่าโดยสาร...บีทีเอสยันพร้อมช่วยคนใช้บริการ
หน้า เศรษฐกิจมหภาค - Mega Project
03 กันยายน 2562

กรณีนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีนโยบายลดค่าโดยสารค่าผ่านทางระบบขนส่งมวลชนสาธารณะทั้งระบบ เยียวยาค่าครองชีพให้กับประชาชน

ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่. บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) เปิดเผย”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า บีทีเอสยินดีให้ความร่วมมือลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ทั้งส่วนที่ให้บริการปัจจุบันและ ส่วนต่อขยายหาก ได้รับการต่ออายุสัมปทาน 30ปี โดยต้องรอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบ ต่อข้อถามที่ว่าเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน นายสุรพงษ์ ย้ำว่าเป็นไปได้ไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขสัญญาแต่จะลด ได้มากน้อยแค่ไหน ต้องเจรจากัน ส่วนค่าโดยสาร 65บาทตลอดสาย จากเดิมตลอดสาย135บาทที่ตกลงกับกรุงเทพมหานคร(กทม.) จาก สมุทรปราการวิ่งยาวไปคูคต ถือว่าถูกมาก เมื่อเทียบกับรถโดยสารประเภทอื่น

“ บีทีเอส ยินดีให้ความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม แต่ เวลานี้ยังไม่มี ใครเข้ามาเจรจา แต่หากจะให้เหลือตลอดสาย15บาทคงจะยากเหมือนกัน แต่ขอพิจารณาตัวเลขที่ เหมาะสมจะดีกว่า ซึ่งปัจจุบัน บีทีเอสเส้นหลัก หรือส่วนที่เปิดให้บริการ เก็บอัตราค่าโดยสาร สูงสุด44บาท ส่วนต่อขยาย 15บาท หากวิ่งระยะยาวๆ ก็จะดูว่าแพง แต่ ถามว่าคุ้มไหมกับระยะเวลา ไม่มีปัญหารถติด ผมว่าคุ้มมากสำหรับราคานี้ ”

สอดคล้องกับ นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า แม้ การปรับลดราคา อาจจะส่งผลกระทบรายได้ แต่อัตราที่จะปรับลด น่าจะได้ข้อสรุป ภายในวันที่ 6 ก.ย.นี้ หากคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารขนส่งระบบราง ได้ข้อสรุปแล้วนำเสนอต่อ รมว.คมนาคมเป็นที่เรียบร้อย รฟม.จะมีการนำเสนอแนวทางการลดค่าโดยสารเข้าสู่การประชุม บอร์ด รฟม.ภายในเดือน ก.ย.นี้

“รฟมเป็นคู่สัมปทานกับเอกชน สำหรับสายสีน้ำเงิน และจ้างเอกชนเดินรถ ส่วนของสายสีม่วง ผมยืนยันว่าการปรับลดราคา รฟม.สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 แบบล่าสุดได้จัดทำระบบซอฟต์แวร์ไว้แล้ว ขณะที่การเชื่อมต่อตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าสายสีม่วงจะแล้วเสร็จในเดือนธ.ค.นี้ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมเรื่องการจัดการรายได้ในระบบตั๋วร่วมภาพรวมและการติดตั้งซอฟแวร์อ่านบัตร"

ขณะ นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ สะท้อนว่า หลังกรมการขนส่งทางราง มีแนวทางลดค่าครองชีพให้แก่ผู้ใช้บริการระบบขนส่งรถไฟฟ้า โดยเตรียมเสนอมาตรการเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารระบบขนส่งทางราง อย่างไรก็ตาม ได้แบ่ง วิธีดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ลดค่าโดยสารกำหนดเพดานสูงสุดของการเดินทางนอกชั่วโมงเร่งด่วน และ2.การลดค่าโดยสารเฉลี่ยจากการจัดทำตั๋วเดือนทั้งนี้ มองว่าค่าโดยสาร ชั่วโมงเร่งด่วน สามารถลดได้เหลือ สูงสุดไม่เกิน 25 บาทต่อคนต่อเที่ยว

“รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์จะลดราคา จากราคาปกติคิดตามระยะทาง 15-45 บาท ปรับมาจัดเก็บในอัตราสูงสุดไม่เกิน 25 บาทต่อคนต่อเที่ยว หรือ 25 บาทตลอดสาย คาดว่าจะมีผู้ใช้เพิ่มขึ้น10% “





ด้านนายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยว่าในวันที่ 6 กันยายนนี้ คณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารการขนส่งทางราง จะนำเสนอมาตรการบรรเทาค่าครองชีพให้ประชาชนด้วยการเปิดให้ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าในระบบใดก็ได้ครบ 15,000 บาท สามารถนำเงินมาลดหย่อนภาษีเงินได้ส่วนบุคคลในรูปแบบเดียวกับนโยบายช้อปช่วยชาติ รวมทั้งจะปรับลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า 2 แนวทาง คือ ลดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแบบรายเดือน และในช่วงที่ผู้โดยสารไม่นิยมเดินทางหรือออฟพีก
ทั้งนี้ รถไฟฟ้า BTS ตั๋วรายเดือนค่าโดยสารจะอยู่ที่ 26 บาทต่อเที่ยว ไม่มีค่าโดยสารช่วงออฟพีก เพราะรถไฟฟ้า BTS มีผู้ใช้บริการต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ซึ่งทั้งหมดจะนำเสนอให้กระทรวงการคลัง พิจารณา และคาดว่าจะเริ่มทดลองลดราคาช่วงออฟพีกได้ในเดือนตุลาคมนี้ และมั่นใจว่าจะทำให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้นอีก 10%


สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งปัจจุบันเรียกเก็บค่าโดยสารที่ 15 - 45 บาท ต่อคนต่อเที่ยว หรือเฉลี่ยคนละ 31 บาทต่อเที่ยว หากลดราคาเป็นตั๋วรายเดือน ค่าโดยสารจะอยู่ที่ 25 - 30 บาทต่อเที่ยว ส่วนราคาที่จะเก็บช่วงออฟพีก จะอยู่ที่ 15 - 25 บาทต่อเที่ยว

รถไฟฟ้าสายสีม่วง ตั๋วรายเดือนค่าโดยสารจะลดเหลือ 15 - 20 บาทต่อเที่ยว ส่วนราคาที่จะเก็บช่วงออฟพีก จะอยู่ที่ 14 - 25 บาทต่อเที่ยว, รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ตั๋วรายเดือนค่าโดยสารจะอยู่ที่ 20 - 25 บาทต่อเที่ยว ส่วนราคาที่จะจัดเก็บช่วงออฟพีก จะอยู่ที่ 16 - 30 บาทต่อเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2019 3:56 pm    Post subject: Reply with quote

สภาผู้แทนราษฏร เห็นชอบรายงานศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส)
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : วาสนา ตาระเกตุ(เงินทูล) / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
05 ก.ย. 2562

สภาผู้แทนราษฏร เห็นชอบรายงานศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส)

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ประขุมได้พิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งสมาชิกแสดงความเห็นอย่างหลากหลาย โดยสมาชิกเห็นว่าการจัดทำรายงานของคณะกรรมาธิการยังไม่สมบูรณ์ไม่มีการสรุปข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการ แต่กลับใส่ความคิดเห็นส่วนตัวของกรรมาธิการแต่ละคนไว้ว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการขยายสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้าบีทีเอสอย่างไร จึงถือเป็นข้อสังเกตที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ พร้อมเสนอแนะให้กรรมาธิการนำรายงานไปทบทวนให้ตรงกับรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
สำหรับผลการศึกษานี้ กรรมาธิการเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยกับการขยายสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว เพราะไม่ตรงกับหลักการของการร่วมลงทุนในกิจการบริการสาธารณะที่รัฐต้องทำให้ทรัพย์สินที่เอกชนร่วมลงทุนโอนกลับเป็นของรัฐโดยเร็วตามอายุสัญญา เพื่อให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะในราคายุติธรรม ส่วนผู้ที่เห็นด้วยให้ขยายสัมปทานนั้น เนื่องจากเชื่อว่าการขยายสัมปทานจะช่วยให้ประชาชนได้รับการบริการที่มีคุณภาพ เพราะเอกชนมีเงินทุนในการพัฒนาคุณภาพ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2019 12:20 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สภาผู้แทนราษฏร เห็นชอบรายงานศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส)
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : วาสนา ตาระเกตุ(เงินทูล) / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
05 ก.ย. 2562


สภาเห็นชอบ ต่อสัมปทานทางด่วนยุติข้อพิพาทแสนล้าน แต่ไม่ต่อสัญญาบีทีเอส

วันที่ 5 กันยายน 2562 - 18:55 น.


วันที่ 5 ก.ย. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน และรถไฟฟ้า (บีทีเอส) ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยนายวีระกร คำประกอบ ส.ส.นครสวรรค์ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกมธ. ชี้แจงว่า ผลการพิจารณาของกมธ.แบ่งออกเป็น 2 เรื่องใหญ่ 1.ผลการพิจารณาศึกษาเรื่องการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วน โดยกมธ.เสียงส่วนใหญ่ เห็นว่า ควรขยายสัมปทานทางด่วนเพื่อเป็นการยุติข้อพิพาททั้งหมดระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) (BEM) เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาการแพ้คดีต่างๆ ซึ่งจะเป็นข้อพิพาทในอนาคต โดยเฉพาะจากกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้กทพ. แพ้แล้ว 1 คดี และต้องชดเชยค่าเสีย เป็นมูลค่ากว่า 4.3 พันล้านบาท ซึ่งข้อพิพาทอื่นล้วนเป็นคดีขอพิพาทในลักษณะเดียวกันกับที่ศาลได้พิพากษาเป็นบรรทัดฐานแล้ว ดังนั้นหากการกทพ.พิพาทคดีต่อไปโดยไม่เจรจา มีโอกาสที่สูงที่จะแพ้คดีที่มูลค่าสูงสุดทุกคดีรวมดอกเบี้ยเป็นเงิน 3.2 แสนล้านบาท ซึ่งอาจส่งผลต่อสภาวะทางการเงินของกทพ.ได้

นายวีระกร กล่าวว่า ปัจจุบันสภาพการจราจรในส่วนของทานด่วนชั้นที่ 2 อยู่ในสภาพวิกฤต จากการศึกษาพบว่า หากมีการปรับปรุงทางด่วนจะสามารถลดเวลาการเดินทางได้ ดังนั้น เงื่อนไขต่างๆกมธ.ขอให้รัฐบาลพิจารณาอย่างรอบคอบ และโปร่งใส่ รวมถึงกระทำโดยชอบด้วยกฏหมาย และควรกำหนดสัดส่วนผลประโยชน์ระหว่างรัฐ และเอกชน รวมถึงปรับค่าผ่านทางให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด กับ 2.การขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส โดยกมธ.เสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กรณีที่กทม.จะขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพราะสัญญาเส้นทางหลัก ยังเหลืออีกหลายปี เมื่อสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ทำให้รัฐมีอำนาจในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทั้งหลายที่จะโอนกลับมา และจะทำให้รัฐมีอำนาจในการต่อรองของการกำหนดอัตราค่าโดยสารจะถูกลง ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้ ส่งผลให้ใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง จราจรในกทม.ดีขึ้น จึงขอให้สภาฯพิจารณาและให้ความเห็นชอบเสนอรายงาน ข้อเสนอแนะ และข้อสังเกตไปยังครม.เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

จากนั้น กมธ.ที่ขอสงวนความเห็นได้อภิปราย โดยนพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะกมธ. ชี้แจงว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการต่อสัญญาสัมปทานทางด่วน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมาย อีกทั้งคณะอัยการที่มาให้ความเห็นต่อกมธ. ยังเห็นว่า มีประเด็นที่จะสู้ต่อได้ ตนจึงเห็นว่า ทางออกของกาตต่อสัมปทานทางด่วนมี 3 แนวทาง คือ 1.หากต่อสัมปทานให้ BEM 30 ปี กทพ.จะมีรายได้ 3 แสนล้านบาท BEM จะมีรายได้ 1.7 แสนล้านบาท ประชาชนเสียประโยชน์ 7.75 หมื่นล้านบาท 2.หากไม่ต่อสัมปทานแล้วกทพ.สู้ทุกคดี แต่แพ้เกือบทุกคดี แม้กทพ.จะมีรายได้ 7 แสนล้าน แต่กทพ.จะเหลือเงินเพียง 1.7 แสนล้านบาท BEM ได้เงินจากการชนะคดี 3 แสนล้านบาท และได้รายได้บางส่วนจากค่าผ่านทางที่จะทยอยหมดอายุสัมปทานไปจนถึงปี 2570 รวม BEM จะมีเงินคงเหลือกว่า 3 แสนล้านบาท ประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเพิ่มตลอด 30 ปี มูลค่า 7.75 หมื่นล้านบาท และ 3.หากไม่ต่อสัญญาสัมปทานแล้วกทพ.สู้ทุกคดี แต่แพ้ครึ่ง ชนะครึ่ง กทพ.จะมีรายได้ 7 แสนล้านบาท แต่จะเหลือเงิน 2.7 แสนล้านบาท BEM ได้เงินจากชนะคดี 2 แสนล้านบาท ประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเพิ่มตลอด 30 ปี มูลค่า7.75 หมื่นล้านบาท

นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ในฐานะกมธ.เสียงข้างมาก ลุกขึ้นโต้แย้งความเห็นนพ.ระวี ว่า ตนไม่รู้ว่านพ.ระวี ไปเอาตัวเลขต่างๆมาจากไหน หากท้ายที่สุดผลออกมาไม่ตรงตามนั้น นพ.ระวี จะต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ข้อสังเกตของกมธ.ที่ขัดแย้ง และไม่เป็นเอกภาพ ทำให้อาจมีปัญหาต่อการส่งรายงานให้หน่วยงานไปปฏิบัติ เพราะในรายงานกมธ.ไม่ได้ระบุถึงเหตุผลต่อการนำคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล บุคคลที่กระทำผิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการรู้ ขณะที่ข้อสังเกตของกมธ. และมีความเห็นส่วนบุคคลระบุไว้ เชื่อว่า ไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ และที่สำคัญหากสภาฯให้ความเห็นรายงานฉบับนี้อาจถูกตีความการทำงานได้ แม้ว่ารายงานของสภาฯจะไม่มีผลผูกมัดใดๆ ต่อหน่วยงาน สัญญาสัมปทานทางด่วน อนุมาณว่าเสียงส่วนร่วมควรต้องต่อ เพื่อไม่ให้แพ้คดี หลังจากที่มีคดีแรกมีคำตัดสินแล้ว ขณะที่การขยายสัญญาบีทีเอสไม่ควรต่อสัญญา และมีความเห็นส่วนตัวของกมธ. ซึ่งที่ผ่านมารายงานของกมธ. ไม่เคยมีเขียนแบบดังกล่าว จึงขอฝากกมธ.ที่ต้องทำงานแทนสภาฯ ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีของสภาฯ ให้มาก ไม่ใช่ทำรายงานที่นำไปอ้างอิงใดๆ ไม่ได้ จึงขอให้นำรายงานกลับไปทบทวน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงหนึ่งนายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นอภิปรายว่า “มีข่าวลือว่า กมธ.มีส่วนได้ส่วนเสียกับการต่อสัญญาสัมปทาน ผมไม่เชื่อนะ แต่ถ้าเป็นจริงจะเป็นเรื่องเลว ชั่วที่สุด” แต่นายศุภชัย โพธ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ขอให้ถอนเพราะ เป็นการกล่าวหา นายนวัธ ยอมถอน แต่ขอใช้คำว่า “มีคนมาพูดกับผมแบบนี้ จึงขอให้กมธ.เอารายงานฉบับนี้ออกไปก่อน อย่างเพิ่งลงมติ” ทำให้ นายยุทธพงศ์ ในฐานะกมธ. ลุกขึ้นประท้วงว่า “ท่านนวัธ พูดแบบนี้ถือเป็นการเรื่องเสียหาย อย่าปล่อยคนที่พูดกับท่าน ผมขอท้าให้ดำเนินคดี เอาให้ติดคุยเลย เพราะกมธ.ชุดนี้รับรองได้ว่า ไม่มีใครคดโกง และไม่มีใครพัวพันกับคดีฆ่าคนตายแน่นอน” ทำให้นายนวัธ ลุกประท้วงกลับ ทำให้นายศุภชัย ได้พยายามตัดบทให้การประชุมดำเนินการต่อไป

ภายหลังจากอภิปรายกว่า 4 ชม. ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยกับข้อสังเกตของกมธ.วิสามัญฯ เห็นควรให้ ขยายสัมปทานทางด่วนเพื่อเป็นการยุติข้อพิพาททั้งหมดระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้าจำกัด (มหาชน) (BEM) แต่ไม่เห็นควรให้มีการขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวของบีทีเอส ด้วยคะแนน 412 ต่อ 25 งดออกเสียง 20 คะแนน ก่อนเสนอรายงานวิสามัญฯให้ครม.พิจารณาต่อไป


BTSฮึดสู้กมธ. ต่อสัมปทาน ประโยชน์ชาติ
09 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3503 วันที่ 8-11 กันยายน 2562

บีทีเอสยันต่อสัมปทานช่วยรัฐลดหนี้ 8 หมื่นล้าน หั่นค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสายคูคต-สมุทรปราการ จาก 158 บาท ค้าน กมธ.อย่าแยกส่วน

รัฐบาลประยุทธ์ 1 มีมติ ให้กรุงเทพมหานครรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวทั้งสาย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-คูคต)ที่รับภาระหนี้มาจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ดำเนินการและส่วนต่อขยายสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง- สมุทรปราการ) ส่งผลให้ กทม. มีภาระหนี้ จากงานโยธา 6 หมื่นล้านบาทงานระบบไฟฟ้าเครื่องกล 2 หมื่นล้านบาท รวม 8 หมื่นล้านบาท

ที่ผ่านมาได้มีข้อสรุปร่วมกับกทม.ว่า จะขยายอายุสัมปทาน รถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ บีทีเอส ตลอดทั้งสาย เพื่อแลกกับภาระหนี้ และการบริหารจัดการเดินรถ แต่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาการขยายสัญญาสัมปทานทางด่วนและรถไฟฟ้า (บีทีเอส) มีมติไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าบีทีเอส ยังเหลืออายุสัมปทาน ถึงปี 2574 ที่สำคัญ ทรัพย์สินเก่า คือเส้นทางที่เปิดให้บริการปัจจุยัน(ส่วนตรงกลาง ) กับ ส่วนต่อขยาย เป็นคนละส่วนกัน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ยืนยันว่า มติดังกล่าว ไม่ใช่มติให้ต่อสัมปทานหรือไม่ต่อ แต่เป็นมติรับร่างผลศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งต้องรอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอย่างไรก็ตาม บีทีเอส เห็นว่าการขยายสัมปทาน มีข้อดี ช่วยให้ รัฐลดภาระหนี้ ที่ต้องคืนรัฐและเรื่องค่าโดยสาร ซึ่งแต่เดิมที่เป็นมาตรฐานการเก็บค่าโดยสารของรถไฟฟ้าที่ทำไว้เดิม เมื่อรวมส่วนต่อ ส่วนสัมปทานแล้ว ถ้าประชาชนจะต้องเดินทางจากคูคตไปถึงสมุทรปราการ ประมาณ 158 บาท โดยไม่เปลี่ยนขบวน แต่หาก ขยายสัมปทานตามข้อเสนอของกทม.ราคาค่าโดยสารจะเหลือที่ 65บาทตลอดสาย ซึ่งมองว่า คุ้มค่ามาก


อย่างไรก็ตามหาก ไม่ขยายสัมปทาน นายสุรพงษ์ กล่าวว่า จะเกิดผลกระทบ2ข้อ คือ ค่าโดยสารแพงเกินไปและหนี้ที่เกิดขึ้นจะแก้ปัญหาอย่างไร อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กทม.ได้ศึกษาผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ โดยจ้างที่ปรึกษาจึงสรุปมาว่าควรจะทำพีพีพี พร้อมทำประชาพิจารณ์ แล้วเสร็จ แต่ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ร่วมทุนฯเปลี่ยนใช้ปี 2562 ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ทั้งนี้ส่วนของรถไฟฟ้าบีทีเอส มีส่วนที่เป็นทรัพย์สินเก่ากับส่วนที่เป็นทรัพย์สินใหม่ ได้แก่ส่วนต่อขยาย ซึ่งเดิมเป็นของกทม.

หากจะทำสัมปทานตามพ.ร.บ.ร่วมทุนปี2562 มองว่าการดำเนินการค่อนข้างยุ่งยาก ดังนั้นต้องจัดการตัวทรัพย์สินเดิมก่อนในขั้นตอนที่หนึ่ง จากนั้น ค่อยนำทรัพย์สินใหม่ คือส่วนต่อขยายมารวมกัน ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี อย่างไรก็ตาม

"จึงมีคำถามว่า ค่าโดยสารกับภาระหนี้จะทำอย่างไร กทม.คงหารือกับรัฐบาลว่าจะทำอย่างไร และรัฐบาลในขณะนั้นคือ คสช.ได้ออกม.44 มาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ คือตามม.44 เท่าที่เราดูมาช่วยในเรื่องของระยะเวลาให้สั้นลงเพื่อให้ทันการกับส่วนต่อขยายที่มีแผนจะเปิดให้บริการ

แต่รายละเอียดตัววิธีการดำเนินการก็ยังดำเนินการตามพรบ.ร่วมทุนฯ โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้เข้มข้นกว่าคณะกรรมการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯด้วยซํ้า เพราะมีระดับปลัดกระทรวงเป็นกรรมการ ดังนั้นการเจรจาก็ต้องเข้มข้น เสร็จแล้วร่างสัญญาก็ต้องไปผ่านอัยการสูงสุดและก็ต้องเอาเข้าครม. ก็เหมือนกับกระบวนการพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพียงแค่ตัดเรื่องเวลา เพราะพ.ร.บ.ร่วมทุนฯต้องไปเข้า 2 รอบ นี่คือการร่นให้เหลือรอบเดียว ซึ่งหลักการก็เหมือนเดิมคือมีคณะกรรมการที่เป็นกลางเจรจา มีผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนข้อที่ว่าคณะกรรมาธิการฯไม่เห็นให้ใช้ม.44 เพราะอยากจะเอื้อบีทีเอส มีอำนาจล้นฟ้านั้น ยืนยันว่าไม่จริง เพราะมีกรรมการมาเจรจามีคนนอกด้วย และกรรมการก็มีระดับปลัดทั้งนั้นคงไม่ยอมทำให้เสียชื่อเสียง ผมเป็นคนที่เจรจาเองซึ่งเข้มข้นมาก และมีการดูแลผลประโยชน์ของกทม.อย่างดี "

เมื่อถามว่า หากใช้ม.44 จะทำให้ภาระดอกเบี้ยหนี้สิน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 ปี สุรพงษ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าภาระดอกเบี้ยจะขยับขึ้น แต่บริษัท ไม่ได้รับผลกระทบซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาของกทม.และอาจจะกระทบค่าใช้จ่ายประชาชน ทางออก รัฐบาลต้องดำเนินการในรูปแบบนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2019 10:43 am    Post subject: Reply with quote

BTS สายสุขุมวิทขัดข้องได้รับการแก้ไขแล้ว การเดินรถกลับสู่สภาวะปกติ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 กันยายน 2562 - 09:23

08.39 น. บีทีเอสแจ้งเกิดเหตุขัดข้องระหว่างสถานีแบริ่งถึงสถานีสำโรง ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังทำการแก้ไข ขบวนรถจะเกิดความล่าช้าในสายสุขุมวิท แนะเผื่อเวลาในการเดินทาง


08.56 น. บีทีเอสแจ้งเหตุขัดข้องในการเดินรถสายสุขุมวิท ได้รับการแก้ไขแล้ว การเดินรถในสายสุขุมวิทกลับสู่สภาวะปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2019 10:37 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า CRRC Changchun รุ่น EMU-B จากท่าเรือแหลมฉบังกำลังมาที่หมอชิตแล้ว

โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure wrote:
บังเอิญเจอขบวนรถบรรทุกขนรถไฟฟ้า BTS รุ่น EMU-B

พอดีเมื่อคืนนี้กลับมาจากระยองดึก ขากลับร่วม 5 ทุ่มแล้ว มาเจอขบวนรถบรรทุกขนตู้รถไฟฟ้า ของ BTS รุ่น EMU-B (ชื่อเล่น น้องหมวย) จากจีน น่าจะมาจากแหลมฉบัง มุ่งหน้า อู่BTS หมอชิต ที่ทางด่วน ก่อนถึงด่านอโศก

ในขบวนก็คล้ายๆ ขบวนขนของ Oversize ทั่วไป แต่สิ่งที่แปลกตาผมคือรถคันรองหน้าสุด ที่มีเสาสูงปี๊ด น่าจะ สูงจากพื้นถนน 5 เมตร เพื่อตรวจสอบ ความสูงของระยะ Clearance จากพื้นถนน ถึงสิ่งกีดขวางเช่นด่านทางด่วน เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีอะไรผิดพลาด ในช่องทางเดินรถ ต่ำกว่า 5 เมตร ซึ่งอาจจะทำความเสียหายกับการขนส่งรถไฟฟ้าได้

รีบมาเสริมทัพกันเยอะๆ เตรียม ขยายขึ้นเหนือ สิ้นปีนี้เปิดถึงม.เกษตร นะจ๊ะ


ปล. ขอใช้รูปหน้าปกคลิปจากสำนักข่าวเนชั่นนะครับ


https://www.facebook.com/watch/?v=802700516830259
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2019 11:54 am    Post subject: Reply with quote

08.41 BTS แจ้งรถไฟฟ้าขัดข้องที่สถานีเพลินจิต จนท.กำลังทำการแก้ไข

08.53 BTS แจ้งรถไฟฟ้าที่ขัดข้องสถานีเพลินจิต ได้รับการแก้ไขแล้ว การเดินรถในสายสุขุมวิทสามารถเดินรถได้ตามปกติ
https://www.facebook.com/js100radio/photos/a.121434294546813/2575084569181761/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

ฝันที่จะเป็นจริง! BTS เตรียมติดตั้งตู้ซื้อตั๋วรับธนบัตรครบทุกสถานีภายในปี2562นี้
19 กันยายน 2562

...BTS’ เตรียมติดตั้งตู้ขายตั๋วรับธนบัตรครบทุกสถานีภายในปีนี้ พร้อมเผยจำนวนผู้โดยสารใช้ QR Code ซื้อตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าเกิน 1.25 ล้านรายการ ฟาก ‘แรบบิท ไลน์ เพย์’ ไม่น้อยหน้า ผลตอบรับดีเยี่ยม

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2542 นั้น BTS ได้พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกภายในระบบรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพิ่มจำนวนตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ พัฒนาให้รับชำระเงินด้วยคิวอาร์ โคดทุกตู้ และอยู่ระหว่างติดตั้งตู้จำหน่ายตั๋วที่รับธนบัตรให้มีครบทุกสถานี โดยจะมีครบทุกสถานีภายในปี 2562 นี้ นอกจากนี้ ในส่วนจำนวนขบวนรถนั้น ได้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเมื่อเริ่มให้บริการ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้โดยสาร เพิ่มเป็น 81 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้โดยสารในปัจจุบัน ทั้งนี้ เมื่อรับมอบขบวนรถที่สั่งซื้อไว้ครบถ้วนแล้ว BTS จะมีรถไฟฟ้ารวมถึง 98 ขบวน

ขณะเดียวกัน นับแต่ BTS เปิดให้ตู้จำหน่ายตั๋วทัชสกรีน รองรับการซื้อตั๋วเดินทางเที่ยวเดียวด้วย QR Code ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 – สิงหาคม 2562 มีผู้ใช้งานรวมแล้วกว่า 1.25 ล้านรายการ โดยในปัจจุบันตู้จำหน่ายตั๋ว BTS ทุกตู้-ทุกสถานี รองรับ QR Code ทั้งหมด โดยรองรับ QR Code 2 ระบบ คือ
1.แรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LINE Pay) และ
2.แอปพลิเคชันธนาคารทุกธนาคาร

เป็นความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น สำหรับผู้โดยสารที่ไม่ได้ใช้ QR Code สามารถซื้อตั๋วได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วได้โดยตรง โดยไม่ต้องแลกเหรียญเช่นกัน

นายสุรพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับบริการแรบบิท ไลน์ เพย์ ที่ BTS ร่วมกับพันธมิตรพัฒนาบริการให้เติมเงิน หรือเติมเที่ยวเดินทางบัตรแรบบิทได้บนแอปพลิเคชันไลน์ ตั้งแต่ปลายปี 2561 ได้รับการตอบรับที่ดีเยี่ยม เนื่องจากมีจุดแข็ง คือ ผู้โดยสารสามารถจัดการบัตรแรบบิทของตัวเองทั้งหมดได้ ทั้งการเติมเที่ยวเดินทางหรือเติมเงินบัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS ตรวจสอบประวัติการเดินทางและประวัติการชำระเงินซื้อสินค้า รวมทั้งระงับ หรืออายัดบัตรได้เองทันทีกรณีสูญหาย ซึ่งผู้โดยสารสามารถสมัครและเปิดการใช้งานแรบบิท ไลน์ เพย์ ได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว BTS ทุกสถานี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

“ทางหลวงชนบท” ไฟเขียวขยาย “สถานีตากสิน” แก้คอขวด BTS ลงทุน 1.4 พันล้านสร้างปีนี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 กันยายน 2562 - 17:57 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าวันที่19ก.ย.2562 ได้มี การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบูรณาการ ด้านโครงสร้างพื้นฐานและอำนวยความสะดวกในการเดินทางบริเวณสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส โดยที่ประชุมได้เห็นชอบแบบการก่อสร้างทั้งหมดแล้ว

ขั้นตอนต่อจากนี้ต้องรอการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งขณะนี้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ส่งรายงานคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) พิจารณาแล้ว คาดหมายว่าภายในปลายปีนี้รายงาน EIA จะสามารถผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เพื่อจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในปีนี้

“สถานีสะพานตากสินเป็นสถานีที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก แต่เพราะลักษณะที่เป็นคอขวดของสถานีซึ่งขนาบข้างด้วยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทำให้การขยายสถานีซึ่งเริ่มวางแผนกันมาตั้งแต่ปี 2560 ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ในฐานะผู้ดูแลสะพานก่อน ซึ่งวันนี้ ทช.ได้อนุญาตแล้ว”

ด้านนายวิศว์ รัตนโชติ วิศวกรใหญ่ด้านบำรุงทางและสะพานกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า รูปแบบโครงการที่วางไว้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนแรก งานขยายสถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน จะใช้พื้นที่บริเวณเกาะกลางของสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาทร)ในการขยายสถานีทั้งหมด โดยจะต้องทุบสะพานออกข้างละ 1.8 เมตร เป็นแนวยาว 300 เมตร เพื่อวางรางรถไฟฟ้าอีกทางหนึ่งบนบริเวณที่ตั้งสถานีในปัจจุบัน และทำสถานีรถไฟฟ้าขนาบข้างรางทั้งสองคู่

และส่วนที่สอง งานขยายสะพานสาทร เพื่อคืนช่องจราจรของสะพานกลับมาเป็น 3 ช่องดังเดิม โดยจะเป็นงานที่ต้องเริ่มทำก่อนที่จะมีการขยายสถานี รูปแบบเบื้องต้น จะขยายพื้นที่สะพานทั้งสองข้างออกไปข้างละ 2.3 เมตร เป็นแนวยาว 300 เมตร มีเสาตอม่อรับน้ำหนักเพิ่มอีกข้างละ 8 ต้น

ทั้งสองส่วนจะใช้เวลาก่อสร้างรวม 40 เดือน (3 ปี 4 เดือน) โดยงานก่อสร้างสะพานจะเริ่มก่อนใช้เวลาก่อสร้าง 30 เดือน จากนั้นจึงจะเริ่มงานขยายสถานีรถไฟฟ้าใช้เวลาก่อสร้างอีก 10 เดือน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คาดว่าจะใช้งบก่อสร้างรวม 1,400 ล้านบาท ซึ่งกทม.ได้มอบหมายให้บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้ง (BTS) เป็นผู้ก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2019 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งสปีดรถไฟฟ้า ‘บีทีเอส’ เพิ่ม 98 ขบวน 392 ตู้โดยสาร
18 กันยายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3505 ระหว่างวันที่ 15 - 18 กันยายน 2562

หลังจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดทดลองนั่งส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค จากสถานีวัดมังกร-สถานีท่าพระ โดยไม่คิดค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา ล่าสุดในวันที่ 7 กันยายน 2562 ได้เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีนํ้าเงินส่วนต่อขยาย เดินทางได้ต่อเนื่องจากสถานีเตาปูน-สถานีบางหว้า โดยประชาชนที่เดินทางระหว่างสายสีนํ้าเงินปัจจุบัน (สถานีเตาปูน - สถานีหัวลำโพง) และสายสีนํ้าเงิน ส่วนต่อขยาย (สถานีวัดมังกร -สถานีบางหว้า) ไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีหัวลำโพง



ส่วนสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต หลังจากเปิดให้บริการ จำนวน 1 สถานี จากสถานีหมอชิต (N8) ไปยังสถานีห้าแยกลาดพร้าว (N9) ในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 ที่่ผ่านมา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต อย่างไรก็ตาม ภายในปลายปี 2562 จะเปิดให้บริการเพิ่มอีก 4 สถานี เพื่อลดความแออัดบริเวณสถานีหมอชิต ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 24 สถานีรัชโยธิน สถานีเสนานิคม และสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งนี้ คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการตลอดเส้นทาง เดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดเปิดให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2564 ด้านโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างตามกรอบแผนระยะเวลา โดยพร้อมเปิดให้บริการปี 2564 นี้ เช่นเดียวกันกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี

ด้านบีทีเอสกรุ๊ป เผยความคืบหน้ารับมอบขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้าสู่ระบบแล้ว 27 ขบวน จากที่สั่งซื้อล็อตใหญ่ 46 ขบวนเมื่อปี 2559 ชี้หากรับมอบแล้วเสร็จในปี 2563 จะทำให้มีขบวนรถมากถึง 98 ขบวน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ระบุว่า จำนวนรถไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยให้การเดินรถมีความถี่สูงสุดได้ในชั่วโมงเร่งด่วน โดยปัจจุบัน บีทีเอสให้บริการรวม 44 สถานี ทั้งในสายสีลมและสายสุขุมวิท มีความถี่การเดินรถสูงสุดในชั่วโมงเร่งด่วน เช้าและเย็น ในสายสุขุมวิท (สถานีห้าแยกลาดพร้าว-สถานีสำโรง) ที่ 2.40 นาทีต่อขบวน และในสายสีลม 3.45 นาทีต่อขบวน ซึ่งปัจจุบัน บีทีเอสมีขบวนรถในระบบรวมแล้วทั้งสิ้น 79 ขบวน จากปีที่ผ่านมามี 52 ขบวน ทั้งนี้ เมื่อรับมอบรถไฟฟ้าขบวนใหม่ครบถ้วนภายในปี 2563 จะทำให้บีทีเอสมีรถไฟฟ้าให้บริการมากถึง 98 ขบวน ตู้โดยสาร 392 ตู้ จากเดิมที่เริ่มเปิดให้บริการมีเพียง 35 ขบวน 105 ตู้โดยสาร



สำหรับ โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ, บางซื่อ-รังสิต ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตั้งระบบอาณัติ สัญญาณ และระบบจ่ายไฟ จะเริ่มทดลองระบบรถในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน 2563 และทดสอบเสมือนจริงในช่วงปลายปี 2563 และเปิดให้บริการจริงในเดือน ม.ค.64ขณะสถานีกลางบางซื่อ คืบหน้ากว่า 90% ทั้งโครงสร้างของหลังคา โครงสร้างทางยกระดับ ติดตั้งกระจกด้านหน้าของอาคารสถานี และติดตั้งฝ้าเพดาน และเมื่อสร้างสถานีกลางบางซื่อเสร็จ ก่อนเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งรถไฟฟ้าสายสีแดงฟรีในปี 2563 สถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นสถานีรถไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 นี้

อีกไม่นานแล้วที่โครงสร้างระบบรางของไทย ที่หลากหลายคนมองว่า ล้าหลัง นี่คือก้าวสำคัญที่นำพาประเทศไทยติดปีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 20/09/2019 7:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ทางหลวงชนบท” ไฟเขียวขยาย “สถานีตากสิน” แก้คอขวด BTS ลงทุน 1.4 พันล้านสร้างปีนี้
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 กันยายน 2562 - 17:57 น.



ไฟเขียวแบบ “สถานีตากสิน” ขยายทางวิ่งบีทีเอส คาดใช้ 1.4 พันล้านแก้คอขวดวิ่งเชื่อมฝั่งธนฯ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19กันยายน 2562 - 17:06
ปรับปรุง: 19 กันยายน 2562 - 17:18


ทช.อนุมัติแบบขยายสะพานสาทร เพิ่มรางรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีตากสิน (S6) แก้คอขวด คาดใช้เวลาก่อสร้าง 40 เดือน ย้ำจราจรต้องไม่กระทบ รอ EIA อนุมัติ พร้อมลงมือปลายปี 62 ด้านบีทีเอสคาดใช้เงิน 1,400 ล้าน จ่อหารือปิดใช้สถานีชั่วคราว

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบูรณาการด้านโครงสร้างพื้นฐานและอำนวยความสะดวกในการเดินทาง บริเวณสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชว่า ที่ประชุมซึ่งมีผู้แทนกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กรมเจ้าท่า (จท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส และตำรวจ ได้สรุปแผนการปรับปรุงสถานีรถไฟฟ้าสถานีสะพานตากสิน (S6) ที่จะต้องมีการขยายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาทร) โดย ทช.ได้เห็นชอบแบบแล้ว ทั้งในส่วนของการขยายสะพานสาทรและการขยายสถานีสะพานตากสิน (บีทีเอส) เพื่อแก้ปัญหาคอขวด โดยได้มีการตรวจสอบแบบ ทั้งทางวิศวกรรมและความปลอดภัย รวมถึงในระหว่างการก่อสร้างที่จะต้องไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการจราจรบนสะพานและรถไฟฟ้าบีทีเอสยังคงให้บริการตามปกติ ซึ่งทาง กทม.จะต้องทำการก่อสร้างขยายตัวสะพานสาทรให้เสร็จก่อน เพื่อให้มีขนาด 3 ช่องจราจรไปกลับ ที่จะขยายตัวสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส รวมถึงต้องบริหารจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการให้บริการของท่าเรือสาทรที่อยู่ด้านล่างอีกด้วย

“เรื่องนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2560 การออกแบบมีความยุ่งยากเพราะมีทั้งสะพานและสถานีรถไฟฟ้า ข้างล่างก็มีท่าเรือ ทช.ได้เข้าไปช่วยดูการออกแบบจนเสร็จ ซึ่ง กทม.ได้ทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เสนอไปยัง คชก.แล้ว คาดว่าจะได้รับการพิจารณาอนุมัติภายในปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้ช่วงปลายปี 2562

นายวิศว์ รัตนโชติ วิศวกรใหญ่ (ด้านบำรุงรักษาทางและสะพาน) กรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า “ปัจจุบันสถานีตากสินเป็นทางวิ่งเดียว รถไฟฟ้าต้องรอหลีก การบริการไม่สะดวกเป็นคอขวด กทม.และบีทีเอสจะ ขยายตัวสถานีตากสินและวางรางเพิ่มอีก 1 ราง ทำให้จะต้องใช้พื้นที่ของสะพานสาทรด้านในที่ติดกับสถานี กว้างฝั่งละประมาณ 1.80 เมตร ดังนั้น เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรบนสะพาน ต้องขยายปีกสะพานสาทรด้านนอกทั้งขาเข้าและขาออก กว้างฝั่งละ 230 เมตร ยาว 300 เมตร ให้เสร็จก่อน ใช้เวลาประมาณ 30 เดือน ตัวสะพานสาทรจะเบี่ยงออกนิดหน่อย โดยมีเสาเหล็กปักบนทางเท้ารองรับฝั่งละ 8 ต้น และเมื่อขยายสะพานแล้วเสร็จจึงจะขยายตัวสถานีตากสินและวางรางเพิ่มอีก 1 ราง โดยใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมดรวม 40 เดือน”

“ทาง กทม.เพิ่งส่งแบบสมบูรณ์เมื่อวันที่ 7 ส.ค. เมื่อได้ข้อสรุปตรงกัน ในสัปดาห์หน้า ทช.จะออกใบอนุญาต กทม.ให้ทำการใดๆ ในเขตพื้นที่ทางหลวง ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างเมื่อ EIA ผ่าน”

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บีทีเอส กล่าวว่า คาดว่าจะใช้เงินในการปรับสถานีตากสินประมาณ 1,400 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ต้องหารือกับ กทม.ในเรื่องสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อไป ส่วนในระหว่างก่อสร้างเพื่อวางรางรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 1 คู่นั้นอาจต้องปิดสถานีตากสิน (รถวิ่งผ่านไม่จอด) เพื่อให้การก่อสร้างได้รวดเร็ว และเสร็จภายใน 40 เดือน โดยจะหารือกับคณะกรรมการดำเนินงานฯ ก่อน


อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานีตากสินเพิ่มเป็นทางคู่แล้ว รถไฟฟ้าสามารถวิ่งสวนกันได้ จะทำให้เพิ่มความถี่ในการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีลม จากปัจจุบัน 4 นาทีต่อขบวน เป็น 2 นาทีเท่าสายสุขุมวิท
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 92, 93, 94 ... 155, 156, 157  Next
Page 93 of 157

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©