Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181794
ทั้งหมด:13493033
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - [ช่วยกันปรับปรุง]ข้อมูลรถไฟ ในฐานข้อมูลของกรมศิลปากร
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

[ช่วยกันปรับปรุง]ข้อมูลรถไฟ ในฐานข้อมูลของกรมศิลปากร
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2010 10:20 am    Post subject: [ช่วยกันปรับปรุง]ข้อมูลรถไฟ ในฐานข้อมูลของกรมศิลปากร Reply with quote

รัฐขอทำเอง อนุรักษ์เมืองเก่า รมว.วธ.เผยงบอื้อ
นสพ.ไทยรัฐ 26 มิ.ย. 52

รมว.วัฒนธรรม เผย เมืองเก่าใต้ดินกว่า 5 พันแห่งเข้าขั้นวิกฤต หวั่นเอกชนรุกสร้างอาคารสมัยใหม่ทับพื้นที่ สั่งกรมศิลปากรตามติดกรมที่ดิน ใช้ระบบจีไอเอสตรวจหาเมืองใต้ดิน ชี้ต้องเป็นนโยบายระดับชาติ ...

นาย ธีระ สลักเพชร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) ครั้งที่ 4/2552 ที่ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงโครงการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศด้านมรดกศิลป วัฒนธรรม โดยการจัดทำฐานข้อมูลโบราณสถาน และตรวจสอบเมืองเก่าที่ยังคงมีอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย มักมีการขุดค้นพบโดยบังเอิญ ระหว่างการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนสมัยใหม่ ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่เมืองเก่า อีกทั้งการพัฒนาที่มีการรุกคืบไปตลอดเวลา ทำให้ตนรู้สึกเป็นห่วงเพราะเมื่อมีข่าวการเข้าไปจัดสร้างพัฒนาแล้วเจอแหล่ง โบราณสถานเพิ่มเติม ตนได้สั่งการให้นายเกรียงไกร สัมปัชชลิต อธิบดีกรมศิลปากรประสานไปยังกรมที่ดินเพื่อขอทราบข้อมูลการออกเอกสารสิทธิ์ ให้กับเอกชนแล้ว

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า สำหรับการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินทราเน็ตมาบริหารจัดการมรดก ทางวัฒนธรรม จะเป็นผลดีในการเก็บและถ่ายโอนข้อมูลของแหล่งโบราณสถานใน ความรับผิดชอบของกรมศิลปากรอย่าง เป็นระบบ ทั้งนี้ได้มีการสร้างแผนที่มาตราส่วน 1/50,000 กับแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 5,000 แหล่ง และจัดทำแล้วจำนวน 3,000 แหล่ง จัดทำฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ มาตราส่วน 1/4,000 โดยจัดทำข้อมูลเมืองโบราณที่กรมศิลปากรให้ประชาชนเช่า อาทิ เมืองสุพรรณบุรี และเมืองสงขลาเก่า นอกจากนี้จะจัดหาภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่พื้นฐานจำนวน 1,500 แหล่งด้วย

"เมือง โบราณที่มีอยู่แล้ว เช่น เมืองลพบุรี เมืองเชียงใหม่ ไม่น่าเป็นห่วง แต่สำหรับเมืองเก่าที่อยู่ใต้พื้นดิน ยังไม่รู้ว่ามีจำนวนเท่าใด น่าเป็นห่วง หากเอกชนที่ได้ที่ดินไปแล้วไปสร้างอาคารทับก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย กรมศิลปากร มีระบบจีไอเอสหรือระบบภูมิสารสนเทศ ที่ตรวจสอบพบเพียงแหล่งโบราณสถานที่ พอมีร่องรอย แต่ไม่สามารถสำรวจได้ถึงเมืองเก่าใต้พื้นดินได้ว่ามีอยู่ในจุดใดบ้าง จึงจำเป็นต้องสร้างแผนที่ให้ละเอียดมากขึ้น" นายธีระ กล่าวและว่าอย่างไรก็ตามยังมีความกังวลว่า หากมีการตรวจค้นและทำแผนที่อย่างละเอียดแล้ว อาจเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีเข้าไปบุกรุกขุดค้นแหล่งโบราณสถานมาก ขึ้น

รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมกวช.มีมติว่าเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่าควรเป็นอำนาจหน้าที่ของ รัฐบาลในการดำเนินการและต้องเป็นนโยบายระดับประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่เพราะเมืองเก่ามีอยู่ทั่วประเทศทำให้ต้องใช้งบ ประมาณจำนวนมาก หากมีการเสนอทำแผนพัฒนาให้ท้องถิ่นเข้ามาดูแล โดยอาจกำหนดเป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย


Last edited by Mongwin on 12/01/2010 5:29 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2010 10:21 am    Post subject: Reply with quote

หน้าหลักที่จะเข้าไปค้นข้อมูลโบราณสถานทั่วประเทศ อยู่ที่นี่ครับ
ระบบภูมิสารสนเทศ โครงการสำรวจแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
http://www.gis.finearts.go.th/gisweb/viewer.asp

ระบบนี้ ใช้ได้สมบูรณ์กับโปรแกรม Internet Explorer ครับ
Firefox ยังใช้ไม่ได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2010 10:27 am    Post subject: Reply with quote

จากการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสถานีรถไฟดู พบ 9 แห่งครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2010 10:32 am    Post subject: Reply with quote

ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้น เกี่ยวกับข้อมูลรายละเอียดของโบราณสถานแต่ละแห่งนี้ พบว่าข้อมูลหลายอย่างยังคลาดเคลื่อนเป็นอันมาก
แม้แต่ข้อมูลที่สามารถตรวจสอบจากเอกสารชั้นต้นอย่างราชกิจจานุเบกษาได้

ในฐานะที่เป็นเว็บไซต์ของหน่วยราชการที่ดูแลเรื่องมรดกทางวัฒนธรรมของชาติโดยตรง อย่างกรมศิลปากร ไม่ใช่เว็บไซต์ส่วนตัว สมควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องในระดับหนึ่ง เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ต่อไปในอนาคต

ผมจึงขอความอนุเคราะห์สมาชิกเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอมช่วยกันเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าวนี้ครับ หากพบข้อมูลผิดพลาดตรงไหนบ้าง ช่วยกันตอบไว้ในกระทู้นี้นะครับ เพื่อผมจะได้ print ส่งไปให้กรมศิลปากรแก้ไขต่อไปครับ

รวมทั้งถ้ามีข้อเสนอแนะประการใด ก็บอกไว้ที่นี่ได้เลยครับ Very Happy

ขอบคุณมากครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2010 10:37 am    Post subject: Reply with quote

โบราณสถานที่เกี่ยวกับรถไฟ มีอย่างน้อย 12 แห่งครับ เท่าที่ค้นเจอ
1 สถานีรถไฟธนบุรี(รวมวัดอมรินทราราม) --> ขึ้นทะเบียน
2 สถานีรถไฟอยุธยา -->ไม่ขึ้นทะเบียน
3 พลับพลาที่ประทับที่สถานีรถไฟบางปะอิน -->ขึ้นทะเบียน
4 สถานีรถไฟกันตัง -->ขึ้นทะเบียน
5 อาคารสถานีรถไฟสงขลา -->ขึ้นทะเบียน
6 สถานีรถไฟหัวหิน -->ไม่ขึ้นทะเบียน
7 สถานีรถไฟจิตรลดา -->ไม่ขึ้นทะเบียน
8 ตึกแดง(การรถไฟแห่งประเทศไทย) -->ไม่ขึ้นทะเบียน
9 สถานีรถไฟหัวลำโพง -->ไม่ขึ้นทะเบียน
10 โรงงานรถไฟมักกะสัน -->ไม่ขึ้นทะเบียน
11 โรงแรมรถไฟหัวหิน -->ไม่ขึ้นทะเบียน
12 อาคารสถานีรถไฟพิจิตร -->ไม่ขึ้นทะเบียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/01/2010 10:40 am    Post subject: Reply with quote

ตัวอย่างข้อมูลที่คลาดเคลื่อน เกี่ยวกับ อาคารสถานีรถไฟสงขลา ครับ

กรมศิลปากร wrote:
สถานีรถไฟสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การก่อสร้างทางรถไฟสายใต้ ซึ่งนับเป็นทางรถไฟสายแรกที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเริ่มจากคลองบางกอกน้อยหรือสถานีรถไฟธนบุรี ผ่านจังหวัดต่างๆ ลงมาทางใต้ ผ่านจังหวัดสงขลา ไปสุดปลายสถานีรถไฟที่สุไหงโกลก ในระหว่างปี พ.ศ.2443 - 2461 สถานีรถไฟสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางรถไฟสายใต้ สายที่ 2 ที่สร้างทางรถไฟจากเพชรบุรี ถึงอำเภอระแงะ ในระหว่างปี พ.ศ.2452 - 2461 สถานีรถไฟสงขลา เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสัญจรหลัก ที่ใช้สัญจรไปมาระหว่างหาดใหญ่ - สงขลา จนต่อมาเมื่อการคมนาคมโดยรถยนต์แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เกิดรถยนต์โดยวิ่งระหว่างสงขลา - หาดใหญ่ ทำให้ประชาชนหันไปสัญจรทางรถยนต์มากกว่าทางรถไฟ ทำให้ในราวปี พ.ศ.2509 จึงยุบเลิกทางเดินรถไฟสาย สงขลา-หาดใหญ่ เป็นเหตุให้สถานีรถไฟสงขลาจึงมิได้ใช้เป็นอาคารสถานีรถไฟต่อไป อาคารสถานีรถไฟสงขลา นอกจากเป็นหลักฐานการคมนาคมทางรถไฟในอดีตของสงขลา ที่สะท้อนรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 แล้ว อาคารสถานีรถไฟสงขลา ยังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับการเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 12/01/2010 10:57 am    Post subject: Reply with quote

ฝากสถานีบ้านปิน กับ สถานี ลำปาง *ด้วยครับ อ.หม่อง
สถานีลำปาง จะอยู่ในรายการอาคารอนุรักษ์ ของสถาปนิคสยาม** ครับ

ปล.**รบกวน อ.บ้านโป่ง กรณีนี้ด้วยขอรับ...อิอิ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 12/01/2010 11:40 am    Post subject: Reply with quote

วันก่อนได้พบกับ อ.ตุ๊ก (ผศ.สุดจิต สนั่นไหว)ได้ถามถึงเรื่องสถานีลำปาง
ว่าอยากจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสถาปัตยกรรมไว้เป็นประโยชน์ทางวิชาการ
เช่น แบบพิมพ์เขียวของตัวอาคาร และแบบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ต้องรบกวนป๋าณัฐ ช่วยหาช่องทางในการติด่อเพื่อขอข้อมูลในส่วนนี้ด้วยครับ

อนึ่ง อาจเป็นข้อมูลที่มีอยู่ ความสมบูรณ์อาจจะไม่ครบถ้วนไม่เป็นไร
ที่สำคัญอยากจะเข้าไปทำการสำรวจ ขนาด ระยะ ต่างๆด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้ามาก ณ โอกาสนี้
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 12/01/2010 3:05 pm    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:
วันก่อนได้พบกับ อ.ตุ๊ก (ผศ.สุดจิต สนั่นไหว)ได้ถามถึงเรื่องสถานีลำปาง
ว่าอยากจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านสถาปัตยกรรมไว้เป็นประโยชน์ทางวิชาการ
เช่น แบบพิมพ์เขียวของตัวอาคาร และแบบทางสถาปัตยกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ต้องรบกวนป๋าณัฐ ช่วยหาช่องทางในการติด่อเพื่อขอข้อมูลในส่วนนี้ด้วยครับ

อนึ่ง อาจเป็นข้อมูลที่มีอยู่ ความสมบูรณ์อาจจะไม่ครบถ้วนไม่เป็นไร
ที่สำคัญอยากจะเข้าไปทำการสำรวจ ขนาด ระยะ ต่างๆด้วยครับ

ขอบคุณล่วงหน้ามาก ณ โอกาสนี้


เรียน อ.บ้านโป่ง
และฝากความระลึกถึง ท่าน อ.ตุ๊ก ในฐานะลูกหลาน ครฟ ด้วยครับ

ประเด็น ที่ อ.บ้านโป่งแจ้งให้ทราบนั้น มีหลายแนวทางครับ ในเป้าหมายเดียวกัน เช่น
1.ที่ทำงานอ.บ้านโป่ง เสนอต่อ การรถไฟ หรือ
2.สถาปนิคสยาม เสนอต่อ การรถไฟ หรือ
3.สถาปนิกสยาม ร่วมกับ เวบไซด์รถไฟไทยดอทคอม เสนอ ต่อการรถไฟ หรือ
4.เวบไซด์รถไฟไทยดอทคอม (ในฐานะ สมาชิกเสนอผ่าน ทีมงานเวบไซด์) เสนอต่อการรถไฟ

ขึ้นอยู่ว่า อ.บ้านโป่ง จะเลือกแนวทางไหน ที่สำคัญ คือ
การเลือกแนวทาง ข้อสรุปในการทำงาน รวมถึงแผนงาน และวัตถุประสงค์ ที่ดำเนินการแล้ว

การเข้าไปพบผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องและมีการสั่งการตามลำดับชั้น คงไม่ยากจนเกินไป ที่จะผลักดันโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ นี้ ครับ

ส่วนการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ของกรมศิลปกร คงฝาก อ.หม่อง พิจารณาในแนวทางการขึ้นทะเบียน ก่อน ขอรับ...
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 13/01/2010 12:18 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โบราณสถานที่เกี่ยวกับรถไฟ มีอย่างน้อย 12 แห่งครับ เท่าที่ค้นเจอ
1 สถานีรถไฟธนบุรี(รวมวัดอมรินทราราม) --> ขึ้นทะเบียน
2 สถานีรถไฟอยุธยา -->ไม่ขึ้นทะเบียน
3 พลับพลาที่ประทับที่สถานีรถไฟบางปะอิน -->ขึ้นทะเบียน
4 สถานีรถไฟกันตัง -->ขึ้นทะเบียน
5 อาคารสถานีรถไฟสงขลา -->ขึ้นทะเบียน
6 สถานีรถไฟหัวหิน -->ไม่ขึ้นทะเบียน
7 สถานีรถไฟจิตรลดา -->ไม่ขึ้นทะเบียน
8 ตึกแดง(การรถไฟแห่งประเทศไทย) -->ไม่ขึ้นทะเบียน
9 สถานีรถไฟหัวลำโพง -->ไม่ขึ้นทะเบียน
10 โรงงานรถไฟมักกะสัน -->ไม่ขึ้นทะเบียน
11 โรงแรมรถไฟหัวหิน -->ไม่ขึ้นทะเบียน
12 อาคารสถานีรถไฟพิจิตร -->ไม่ขึ้นทะเบียน


น่าจะมี อาคารสถานีชุมทางเขาชุมทอง เข้าไปด้วยนะครับ ถ้าใครเคยได้ไปเยือนสังเกตจะพบว่า
- พื้นกระเบื้องดินเผาสีแดงจะเป็นแบบเดียวกันกับที่สถานีรถไฟสงขลาครับ
- แถมถ้าเคยได้ชมภาพสถานีเก่าของพัทลุงสังเกตรูปแบบของเสาที่ชานชลา 1
ก็จะเป็นแบบเดียวกันกับเสาของตัวอาคารระหว่างชานชลา 1 กับ 2 ครับ
- ยังไม่หมดครับ หน้าจั่วและลายฉลุยที่ประดับก็จะเป็นแบบเดียวกับสถานีกันตังครับ
- เข้าใจว่าในช่วงแรกๆหลังคาสถานีน่าจะเป็นกระเบื้องว่าวสีแดงซึ่งจะดูเข้ากันดีกับเสาและ
โครงสร้างสีน้ำตาลผสานกับสีขาวไข่ไก่แต่งลวดลายครับ แต่ปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยกระเบื้องลอนครับ

ถ้าได้รับการพื้นฟูกลับเป็นสภาพดั้งเดิมคงเป็นสถานีที่สุดแสนจะคลาสสิกและโรแมนติกที่หนึ่งเลยละครับ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©