Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271141
ทั้งหมด:13582430
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขุดจากกรุ : รถไฟคงเดินอยู่ได้เป็นประจำ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขุดจากกรุ : รถไฟคงเดินอยู่ได้เป็นประจำ
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/01/2010 4:55 pm    Post subject: ขุดจากกรุ : รถไฟคงเดินอยู่ได้เป็นประจำ Reply with quote

สวัสดีครับ...

วันนี้ผมไปค้นๆ ดูเรื่องจากกรุ พบเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับรถไฟของอดีตสาธารณรัฐเวียตนามอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผจญชะตากรรมทั้งด้านพายุไต้ฝุ่นปีละหลายๆ ลูก รวมถึงสถานการณ์สงครามรวมชาติกับสาธารณรัฐประธิปไตยเวียตนาม (เวียตนามเหนือ) โดยมีพี่เอื้อยแต่ละค่ายให้การสนับสนุนอยู่ ซึ่งจบลงด้วยการรวมชาติเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนาม ซึ่งกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งขันด้านต่างๆ กับประเทศไทย และอาจมีทีท่าแซงทิ้งห่างไปในอนาคตก็ได้ ถ้าคนในชาติเรามัวเห็นแก่สี และผลประโยชน์ส่วนตัว ปะทะคารมจนอาจถึงใช้กำลังในบางครั้งแบบไม่เลิกรา เหมือนในทุกวันนี้

เรื่องนี้ ผมขออนุญาตคัดมาจากจากนิตยสาร "เสรีภาพ" ฉบับที่ 149 ของสำนักข่าวสารอเมริกัน กรุงเทพฯ ในราวปี 2510 ครับ.

...........................

รถไฟคงเดินอยู่ได้เป็นประจำ
นิตยสาร "เสรีภาพ" ฉบับที่ 149

Click on the image for full size
ทหารอเมริกันคอยคุ้มกันขบวนรถไฟให้พ้นจากการโจมตีของฝ่ายเวียตกง ขณะนั่งอยู่บนหลังคารถหุ้มเกราะ ทุกคนเฝ้าสังเกตภูมิประเทศสองข้างทางที่รถไฟแล่นผ่านอย่างระมัดระวัง ภายใต้หลังคาที่เปิดไว้นี้เป็นที่ตั้งปืนครก ส่วนรถเปิดข้างที่เห็นอยู่หน้ารถจักรนั้น เอาติดขบวนไปด้วยเพื่อให้รับเอาแรงระเบิดที่พวกคอมมิวนิสต์นำมาฝังไว้ใต้ทางรถเสียก่อน ไม่ให้ถูกหัวรถจักร

“บางขณะเรารู้สึกเหมือนกับว่า กำลังอยู่บนรถไฟสายซานตาเฟ ระหว่างสมัยที่เราทำสงครามกับพวกอินเดียนแดงในภาคตะวันตกของสหรัฐ “ ชาวอเมริกันคนหนึ่ง ซึ่งเคยเดินทางไปกับรถไฟสายนี้อยู่เสมอๆ พูดขึ้นมา “แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยปรากฎว่ามีพนักงานรถไฟคนใดปฏิเสธที่จะนำขบวนรถออกเดินตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำ”“

การเดินรถสายนี้ ต้องเสี่ยงกับอันตรายและมีอุปสรรคมากมายที่สุดในโลก” เหงียน งอก ลำ ผู้อำนวยการ การรถไฟแห่งเวียตนามใต้เป็นผู้กล่าว แต่ทั้งๆ ที่มีพวกเวียตกงคอยก่อวินาศกรรมและรบกวนอยู่เสมอ รถไฟของเวียตนามใต้ก็ยังเดินอยู่เป็นปกติ แม้ว่า 2 ใน 3 ของทางรถไฟซึ่งยาว 1,400 กิโลเมตร จะใช้การไม่ได้ก็ตาม แต่ปรากฎว่าการขนส่งสินค้าโดยทางรถไฟในเวียตนามขณะนี้มีมากกว่าเมื่อสิบสองปีที่แล้วมาเสียอีก

สมัยที่ยังรุ่งเรืองอยู่ เมื่อราวๆ พ.ศ.2473 รถไฟสายนี้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายสำคัญที่ติดต่อระหว่างไซ่ง่อนกับปารีส เรียกว่า ทางรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย แต่หลังจากระยะนั้นแล้ว รถไฟของเวียตนามได้รับความกระทบกระเทือนจากการกระทำของมนุษย์และธรรมชาติมากกว่าทางรถไฟสายใดๆ ในโลก เป็นต้นว่า ต้องผจญกับพายุไต้ฝุ่นและน้ำท่วมที่ร้ายกาจ การทิ้งระเบิดจากฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง การทำลายอย่างมีแบบแผนโดยพวกเวียตมินต์และเวียตกง ลำพังเมื่อ 3 ปีที่แล้วมา พวกเวียตกงได้โจมตีทางรถไฟสายนี้มากกว่า 1,200 ครั้ง

ทางรถไฟสายเวียตนาม ถูกทำลายแล้วซ่อมแซม แล้วก็ถูกทำลายอีก เป็นเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา ขณะนี้ทางรถไฟสายนี้กำลังรับการซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่งด้วยความช่วยเหลือขององค์การพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (AID) รางหลายแห่งกำลังได้รับการซ่อมแซม อุโมงค์และสะพานหลายแห่งกำลังบูรณะกันขึ้นใหม่ นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา องค์การพัฒนาระหว่างประเทศได้ลงทุนเป็นเงินมากกว่า 125 ล้านเหรียญอเมริกันในกิจการของทางรถไฟสายเวียตนามใต้นี้ ที่ปรึกษาด้านกิจการรถไฟขององค์การพัฒนาระหว่างประเทศ นาย ลี ดี. มาร์สเตน กล่าวว่า “การซ่อมสร้างทางรถไฟสายนี้จะอำนวยประโยชน์อย่างมากแก่ชุมชนที่ทางรถไฟสายนี้ผ่านไป แต่จะยังไม่เห็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่จนกว่าจะได้มีการเดินติดต่อจากไซ่ง่อนไปถึงปลายทางเหนือสุดที่เมืองดองฮา”

แม้ในภาวะปัจจุบัน ทั้งๆ ที่มีขบวนรถไฟเดินอยู่ในระยะทางน้อยกว่า 500 กิโลเมตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาคนก่อน คือ นายโรเบิร์ต แมคนามารา ก็กล่าวไว้ว่า “เป็นเส้นทางขนส่งที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินการสงคราม” ขณะที่พวกเวียตกงถูกขับไล่ให้ล่าถอยจากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่ง และขณะเจ้าหน้าที่ของการรถไฟเวียตนามได้ทางรถไฟกลับคืนมาทีละกิโลเมตรๆ เป็นลำดับนั้น อีกไม่นานนักผู้โดยสารรถไฟคงจะสามารถเดินทางโดยตลอดจากไซ่ง่อนขึ้นไปจนถึงเส้นขนานที่ 17 อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะต้องผ่านอุโมงค์ 27 แห่ง และสะพาน 333 แห่ง

ความมั่นคงปลอดภัยของทางรถไฟสายนี้ เป็นหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกองทัพบกแห่งสาธารณรัฐเวียตนาม หน่วยบัญชาการเพื่อความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐอเมริกาในเวียตนาม และกองทหารของสาธารณรัฐเกาหลี รถไฟที่เดินอยู่ตามกำหนดเวลาเป็นประจำทุกขบวนจะต้องมีรถไฟหุ้มเกราะอย่างน้อยหนึ่งคัน พร้อมด้วยกำลังทหารของสาธารณรัฐเวียตนามถืออาวุธทันสมัยคุ้มครองไปด้วย และมีวิทยุที่จะติดต่อขอความช่วยเหลือจากกองบัญชาการในยามที่ถูกโจมตี

ในการจัดขบวนรถนั้น จะมีรถบรรทุกเทข้าง 2-3 คันพ่วงติดอยู่ข้างหลังรถจักรเสมอ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผู้ดดยสารมิให้รับอันตรายในกรณีที่รถจักรตกราง ในอาณาบริเวณที่พวกเวียตกงสามารถลอบยิงเจ้าหน้าที่ของการรถไฟ เพื่อขัดขวางไม่ให้ไปเดินตรวจรางค้นหาลูกระเบิดที่เวียตกงลอบวางเอาไว้ นอกจากนี้ยังจะใช้รถบรรทุกไม่มีข้างปิดหลายๆ คันติดขบวนไว้ข้างหน้าของรถจักรเพื่อรับเอาแรงระเบิดเสียก่อนที่จะถึงตัวรถจักร พวกคอมมิวนิสต์เคยโต้ตอบวิธีคุ้มกันทำนองนี้ด้วยการฝังระเบิดไว้ใต้ราง และล่ามสายชนวนไปยังที่ซุ่มซ่อนใกล้ๆ นั้น แต่ทว่า เวลานี้พวกเวียตกงใช้ยุทธวิธีนี้น้อยลงไป เพราะทหารคุ้มกันขบวนรถ ติดอาวุธมีอำนาจร้ายแรง

ถ้ารถไฟต้องบรรทุกของที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ จะมีเครื่องบินคอยบินตรวจการณ์อยู่เบื้องบน และจะส่งวิทยุขอความช่วยเหลือในกรณีที่มีการโจมตีของพวกเวียตกงเกิดขึ้นทันที นอกจากขบวนรถไฟอื่นๆ ยังมีการคุ้มกันจาก “วิคแฮม” อีกด้วย วิคแฮม คือ รถยนต์รางหุ้มเกราะขนาดเล็กๆ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องดีเซล มีปืนกลติดตั้งไว้ภายในป้อม รถชนิดนี้ได้สร้างขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในการต่อสู้กับกองโจรคอมมิวนิสต์ที่มาเลเซีย และนำมาใช้ในเวียตนาม เมื่อปี พ.ศ.2503 บางครั้ง วิคแฮมจะแล่นไปข้างหน้าขบวนรถไฟ แต่ตามปกติจะมีวิคแฮมหนึ่งหรือสองคันแล่นตามหลังขบวนรถไฟ


Last edited by black_express on 24/01/2010 5:14 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/01/2010 4:59 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
เส้นทางในเขตเมือง โอ วาพ รถไฟขบวนนี้ตกรางเพราะถูกระเบิดของพวกเวียตกง

การรุกรบทางทหาร รวมทั้งโครงการรักษาความสงบของเวียตนามใต้และพันธมิตร ได้ช่วยปรับปรุงสถานการณ์ให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยขึ้นตลอดเส้นทางรถไฟ สำหรับระยะเวลาครึ่งปีแรกใน พ.ศ.2510 นั้น พวกเวียตกงส่งหน่วยก่อวินาศกรรมมาทำลายทางรถไฟเพียง 37 ครั้งเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการถูกโจมตี 276 ครั้งในปี พ.ศ.2509 และ 941 ครั้ง ในปี พ.ศ.2508 ในระยะห้าเดือนแรกของปี พ.ศ.2510 รถไฟได้บรรทุกผู้โดยสาร 116,000 คน และสินค้าคิดเป็นน้ำหนัก 425.000 ตัน ซึ่งเท่ากับจำนวนสินค้าที่เคยบรรทุกกันตลอดทั้งปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การโจมตีของเวียตกงยังคงรุนแรงพอที่จะทำความหวาดกลัวให้แก่กิจการของทางรถไฟไม่ว่าสายใดๆ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้สะพานแห่งหนึ่งในเมืองดานังถูกทำลาย การระเบิดในโรงรถจักรที่ ชิฮั้ว ในไซ่ง่อน ทำให้รถจักรดีเซล 10 คันพังพินาศ ระเบิดที่ซ่อนอยู่ในหลุมพราง ทำให้รถสินค้าขบวนหนึ่งตกราง ระเบิดลูกหนึ่งระเบิดขึ้นใต้รถไฟหุ้มเกราะ ทำให้ทหาร 5 นายที่อยู่ในรถเสียชีวิต ที่เมืองไซ่ง่อน เมืองเว้ เมืองดานัง มีอนุสาวรีย์ซึ่งคนงานรถไฟจำนวน 5,000 คนช่วยกันสร้างให้เป็นที่ระลึกถึงเพื่อนร่วมชาติของเขา ที่ต้องเสียชีวิตไปในหน้าที่เพื่อพยายามให้รถไฟสายนี้ยังคงบริการรับส่งผู้โดยสารและสินค้าอยู่ตลอดไป

ทางรถไฟสายเวียตนามใต้ เริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2428 ได้วางรางจากไซ่ง่อน ถึงเมืองมายโท ซึ่งอยู่ในบริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง แต่กิจการยังไม่เรียบร้อย จนกระทั่งปี พ.ศ.2479 จึงได้สร้างทางเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการ เป็นระยะทาง 1.730 กิโลเมตร เชื่อมต่อการคมนาคมระหว่างเมืองไซ่ง่อนและฮานอย ซึ่งทำให้สภาพต่างคนต่างอยู่ระหว่างเวียตนามใต้และเวียตนามเหนือที่มีมาแต่เก่าก่อนหมดไปในทันที การโจมตีทางอากาศของอเมริกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ได้ทำลายสะพานและทางรถไฟพังพินาศหลายแห่ง และการแพ้สงครามของญี่ปุ่นก็มิได้นำความสงบมาสู่เวียตนาม

ในปี พ.ศ.2488 กองโจรเวียตมินต์ได้เริ่มทำสงครามเก้าปีต่อสู้กับฝรั่งเศส พวกนี้ดักซุ่มโจมตีและทำให้รถไฟตกรางเป็นขบวนๆ และเนื่องจากขาดแคลนวัตถุระเบิด พวกเวียตมินต์จึงมักจะใช้แม่แรงงัดรอยต่อของสะพานออกจากกัน เมื่อพวกเขาได้นำหัวรถจักรและรถพ่วงมาจอดไว้บนสะพานจนเต็มแล้ว เพื่อให้น้ำหนักของรถช่วยพังสะพานตกลงไปในน้ำทั้งรถไฟทั้งสะพาน ถ้ามีสะพานก่อสร้างด้วยเสาคอนกรีต เวียตมินต์จะต่อยคอนกรีตด้วยฆ้อนและตัดเหล็กสะพานด้วยเลื่อยเหล็ก ลุถึงปี พ.ศ.2497 พวกเวียตมินต์ได้ทำลายทางรถไฟของเวียตนามเหนือให้ได้รับความเสียหายมากกว่าการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองเสียอีก

เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาเจนีวา ปี พ.ศ.2497 เวียตนามถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ทางรถไฟสายเวียตนามที่ยังคงเหลืออยู่ในเวียตนามใต้ มีระยะทางเพียง 1,400 กิโลเมตรจากทางรถไฟทั้งหมดซึ่งมีระยะทาง 2,185 กิโลเมตร แต่คงใช้การได้เพียง 908 กิโลเมตรเท่านั้น การรถไฟแห่งเวียตนามใต้ได้เริ่มการซ่อมแซมขึ้นอีก ครั้นถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2502 ขบวนรถไฟออกเดินตลอดระยะทาง 1,041 กิโลเมตรจากเมืองไซ่ง่อนไปยังเมืองเว้ นับเป็นครั้งแรกในระยะ 15 ปี

แต่ครั้นแล้วเวียตนามก็กลับเข้าสู่ภาวะสงครามอีก และครั้งนี้พวกเวียตกงเป็นฝ่ายหมายมั่นปั้นมือจะขัดขวางให้การเดินรถไฟต้องหยุดชงักให้จงได้ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2507 การโจมตีของพวกเวียตกง ทำลายทางรถไฟที่อยู่ในเขตของเวียตนามใต้ให้ขาดออกจากกันเป็นส่วนๆ เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ เส้นทางเท่าที่มีอยู่เกือบทั้งหมด ไม่มีการเดินรถเลย นอกจากนั้นยังเป็นปีที่พายุไต้ฝุ่นโหมเข้ามาทำลายซ้ำเติมอีกหลายครั้ง เกิดน้ำท่วมพัดทางรถไฟขาดไปมากกว่า 350 กิโลเมตร ในบริเวณที่ทางรถไฟถูกทำลาย ความปลอดภัยก็ถอยลดลงไปด้วย ทั้งนี้ เพราะไม่สามารถจะส่งทหารเข้าไปในอาณาบริเวณนั้นโดยทางรถไฟได้อีกต่อไป

พวกเวียตกงได้เคลื่อนกำลังเข้าสู่อาณาบริเวณริมฝั่งทะเลอย่างเข้มแข็ง เขตใดที่อยู่ใต้ความควบคุมของเวียตกง เช่น ท้องที่ทางใต้ของเมืองดานัง พวกเวียตกงก็ทำลายทางรถไฟเสียหมดสิ้น ในระยะต่อมา ทหารของกองทัพบกเวียตนามและกองทหารของพันธมิตรได้เปิดฉากตีโต้และสามารถรุกคืบหน้าไปทีละน้อย ทำให้เวียตกงต้องล่าถอยออกจากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่ง และเมื่อถึงกลางปี พ.ศ.2510 ทางรถไฟของเวียตนามใต้ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้มีสภาพเท่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้


Last edited by black_express on 24/01/2010 5:16 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/01/2010 5:01 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
รถไฟพ่นควันโขมงขณะที่เร่งเครื่องขึ้นไปตามเส้นทางบนภูเขาที่สูงชัน เพื่อไปยังเมืองดาลัต

ทุกวันนี้ การรถไฟของเวียตนามใต้มีรถจักรดีเซลไฟฟ้า 54 คัน ในจำนวนรถจักรทั้งหมด อยู่ในระหว่างซ่อมแซม 22 คัน แต่จะออกใช้งานดังเดิมในไม่ช้า มีรถจักรไอน้ำที่ใช้การอยู่ในขณะนี้เพียง 5 คัน ซึ่งใช้สำหรับลากจูงขบวนรถตามเส้นทางขึ้นภูเขาไปยังเมืองตากอากาศดาลัต ซึ่งอยู่บนที่ราบสูง

ระยะทาง 84 กิโลเมตร จากทับจำไปยังดาลัต เป็นเส้นทางรถไฟที่แล่นผ่านภูมิประเทศที่สวยงามที่สุดในโลก รถจักรดีเซลลากขบวนรถตู้จากทับจำไปยังซองผา ตามทางที่ระดับค่อยๆ สูงขึ้นทีละน้อยๆ ผ่านท้องที่ปลูกยาสูบและกล้วย แล้วผ่านบริเวณป่า

จากซองผา ต้องใช้หัวรถจักรไอน้ำพิเศษคันหนึ่งลากรถตู้ขึ้นทางสูงชัน ครั้งหนึ่งๆ ลากรถตู้ขึ้นไปได้เพียง 2-3 คัน โดยใช้ฟันเฟืองของหัวรถจักรขับเคลื่อนไปบนรางพิเศษที่มีร่องรับกับฟันเฟืองนั้น เป็นการเสริมกำลังแก่วงล้อธรรมดาให้มีกำลังไต่ขึ้นระดับสูงชันไปยังเมืองดาลัต ซึ่งอยู่สูงถึงระดับ 1,500 เมตร

ขบวนรถพิเศษใช้ล้อฟันเฟืองจะต้องใช้เวลาเดินทางกว่า 3 ชั่วโมง จึงจะถึงดาลัต โดยค่อยๆ ไต่ขึ้นไปอย่างช้าๆ ตามเส้นทางผ่านป่าสน ลำธาร และแก่งน้ำ ขึ้นสู่บริเวณที่ราบสูงซึ่งมีทั้งสวนผัก สวนผลไม้ ไร่ชา และไร่กาแฟ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/01/2010 5:04 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ชาวไร่พร้อมด้วยผลผลิตจากไร่ของเขากำลังขึ้นรถไฟที่เหมืองฮัวซัน ชาวไร่เวียตนามเป็นจำนวนมากต้องพึ่งพาอาศัยรถไฟนำสินค้าของเขาไปขายที่ตลาด

“การยังชีพของชาวไร่ขนาดเล็ก จำนวนหลายพันคนในแถบนี้ ขึ้นอยู่กับการขนส่งด้วยรถไฟสายนี้” นายมารัสเดน ที่ปรึกษาการรถไฟพูดขึ้น

“การปฏิบัติซึ่งยึดถือจนกายเป็นธรรมเนียมของชาวไร่บนภูเขานี้ ในการเดินทางโดยรถไฟพร้อมทั้งนำผลผลิตของตนลงไปขายยังตลาดข้างล่าง แล้วซื้อข้าวพร้อมเสื้อผ้ากลับขึ้นมานั้น เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งแก่ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้น เมื่อคำนึงถึงจำนวนประชากรในเมืองใหญ่ๆ เช่น ดาลัต พานรัง และนาตรัง ที่เพิ่มทวีขึ้นเป็นลำดับ ก็เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งที่จะต้องมีการคมนาคมอันปลอดภัยระหว่างหัวเมืองเหล่านี้"

เมื่อมีอุปสรรคมากมายถึงอย่างนี้แล้ว เหตุใดทางการของเวียตนามจึงต้องพยายามให้สายรถไฟยังคงดำเนินกิจการอยู่ต่อไปอีกเล่า ?

เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งมีอยู่ว่า แม้จะมีรถเดินอยู่เพียงหนึ่งในสามของเส้นทางทั้งหมดก็ตาม รถไฟสายนี้ก็ได้อำนวยบริการในด้านบรรทุกสินค้า และรับส่งผู้โดยสารอย่างที่การขนส่งบนเส้นทางถนนหลวงที่เป็นหลุมเป็นบ่อและไม่ปลอดภัย ไม่อาจจะเทียบได้ นับว่าเป็นบริการขนส่งที่ประมาณค่ามิได้สำหรับปฏิบัติการสงครามนี้ นอกจากนั้นยังมีเหตุผลอื่นอีก ซึ่ง พัม มิน ดวง ผู้อำนวยการรถไฟสายเวียตนามใต้คนก่อน เคยกล่าวไว้ว่า :

“ตามความรู้สึกของประชาชนชาวเวียตนาม หรือแม้กระทั่งประชาชนของชาติอื่นๆ การที่รถไฟในประเทศของเขายังคงแล่นอยู่ได้นั้นหมายถึงความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงปลอดภัย และความเจริญก้าวหน้า นับตั้งแต่เริ่มการสู้รบกันมาจนกระทั่งบัดนี้ เราก็ได้ทำให้รถไฟเดินอยู่ได้ แม้ว่าทางฝ่ายศัตรูจะพยายามทำให้มันต้องเลิกล้มไป นี่ก็เท่ากับเป็นชัยชนะอย่างสำคัญของฝ่ายเรา ถ้าหากเราตัดสินใจจะหยุดเดินรถไฟลงเมื่อใด ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวสักเท่าไรก็ตาม ประชาชนจะต้องเข้าใจไปว่าเราแพ้แล้ว และนี่จะเป็นสัญญาณแรกแห่งการล่าถอยตลอดแนวรบและสละละทิ้งพื้นที่ของชนบทให้กับฝ่ายข้าศึก จะกระทบกระเทือนต่อกำลังใจที่จะสู้รบต่อไปอย่างหนัก และนำความเสียหายมาสู่การดำเนินการสงครามของเราเป็นที่สุด”

เนื่องด้วยเหตุนี้ รถไฟสายเวียตนามใต้จึงยังคงแล่นอยู่ต่อไป แม้ว่าเจ้าหน้าที่ของการรถไฟเป็นจำนวนมากจะยังคงต้องได้รับบาดเจ็บและล้มตายเนื่องจากการกระทำของฝ่ายศัตรูก็ตาม แต่บรรดาเจ้าหน้าที่ของการรถไฟสายเวียตนามใต้ยังคงยืนยันอย่างแข็งขันว่า สักวันหนึ่งคงจะได้เห็นสัญญาณปลอดภัยตลอดระยะทาง ตั้งแต่บริเวณพื้นที่ลุ่มสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงไปจนถึงแม่น้ำแดงทีเดียว.

............................
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 24/01/2010 5:23 pm    Post subject: Reply with quote

ขอติดตามเรื่องราวรถไฟจากเสรีภาพ สมัยสงครามเย็น??ครับ พี่ตึ๋ง
แสดงว่าพี่ตึ๋งมีวารสาร "เสรีภาพ" อยู่หลายเล่มซิครับ Smile Smile
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/01/2010 5:51 pm    Post subject: Reply with quote

อ.วิรัตน์สนใจไหมครับ ? Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 24/01/2010 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
เส้นทางในเขตเมือง โอ วาพ รถไฟขบวนนี้ตกรางเพราะถูกระเบิดของพวกเวียตกง


ทางในภาพน่าจะเป็นหมอนเหล็กเสียด้วย ไม่รู้ว่าเป็นทางถาวรหรือเปล่า...

น่าสนใจมาก...ติดตามชมต่อครับ...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 24/01/2010 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

พี่ตึ๋งครับ ครั้งเรียนชั้นประถมห้องสมุดโรงเรียนมีนิตยสารเสรีภาพให้อ่าน และมีพ่อเพือนเป็นทหารสมัครไปรบในนามกองพลอาสาสมัครจงอางศีกด้วยครับ
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/01/2010 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเวียตนาม และ กัมพูชา ขณะนั้นใช้หมอนเหล็กกล้า ด้วยอิทธิพลของฝรั่งเศส ผู้ปกครองอาณานิคมครับ

เสรีภาพฉบับที่มีหน้าปกรูปทหารจากกองพันจงอางศึก ผมเห็นเมื่อไม่นานมานี้ ที่แผงจำหน่ายหนังสือเก่าครับ ญาติผมคนหนึ่งเคยเข้ารบตั้งแต่กองพันพยัคฆ์น้อย ที่เกาหลีใต้ เรื่อยมาจนถึงกองพันจงอางศึก ที่เวียตนามใต้ รอดทั้งสองศึกมาได้ มาตายด้วยเรื่องส่วนตัวที่เมืองไทยเมื่อยี่สิบปีนี้เอง
Back to top
View user's profile Send private message
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 24/01/2010 10:41 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
อ.วิรัตน์สนใจไหมครับ ? Laughing


สนใจเป็นอย่างยิ่งเลยครับ
เคยอ่าน "เสรีภาพ" สมัยเด็กทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน
กลับไปค้นดูที่บ้าน หายไปหมดแล้ว สงสัยตอนย้ายบ้านแน่ๆเลย
เคยไปหาตามร้านหนังสือเก่าก็ไม่มีครับ
ที่ชอบหนังสือเล่มนี้เพราะ ถ่ายภาพสวยงามมาก
รวมทั้งเป็นเรื่องที่กว้างๆ ทั้ง สังคม การเมือง สารคดี เทคโนโลยี
แค่เรื่อง "อพอลโล" ก็ชวนให้นับถือ "อเมริกัน" มากๆเลยตอนนั้น
อยากอ่านอีกครับ ไม่รู้ว่าพี่ตึ๋งเก็บไว้กี่เล่ม
Smile Smile Smile
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©