Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13262544
ทั้งหมด:13573824
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2007 10:50 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.หัวหมุนหาเงินจ่ายหนี้ +เตรียมขอรัฐสนับสนุน 1.6 หมื่นล้านจ่ายคืนค่าก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2213 29 เม.ย. - 02 พ.ค. 2550

การรถไฟฯ วิ่งวุ่น หาเงินจ่ายคืนค่าก่อสร้างโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เล็งขอคลังสนับสนุน 1.6 หมื่นล้านบาท เพื่อจ่ายคืนค่าก่อสร้างให้ "ซิโน-ไทย" กว่า 1.2 หมื่นล้าน และ ทอท. กว่า 4 พันล้าน ส่วนหนี้อีกกว่า 1.8 หมื่นล้านจะนำรายได้จากค่าโดยสารรถไฟฟ้าด่วน-รถไฟแอร์พอร์ตลิงค์ มาโปะ หวั่นมีปัญหาในการจ่ายเงินคืน เตรียมส่งหนังสือขอหาให้อัยการช่วยตัดสิน

แหล่งข่าวระดับสูงจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สืบเนื่องจากที่ระยะเวลาการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link And City Air Terminal Project) หรือแอร์พอร์ตลิงค์ จะครบกำหนดสัญญาการก่อสร้าง 990 วัน ในวันที่ 5 พ.ย.50 นี้ ทำให้การรถไฟฯ ต้องเร่งหารือถึงแนวทางการจ่ายเงินคืนค่าก่อสร้างจำนวน 25,907 ล้านบาท ให้แก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท บี.กริม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด B.GRIMM MBM Hong Kong Ltd. บริษัท ซีเมนต์ จำกัด และ บริษัท Siemens Aktiengsellschaft จำกัด


โดยแนวทางเบื้องต้นนั้น การรถไฟฯ จะขอให้รัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง ช่วยรับภาระในการจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้างโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ เป็นจำนวน 16,367 ล้านบาท จากมูลค่าการลงทุนทั้งโครงการรวม 35,921 ล้านบาท เพื่อจ่ายคืนค่าก่อสร้างอุโมงค์ใต้อาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ 4,083 ล้านบาท ซึ่งจะต้องจ่ายคืนให้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด (บทม.) ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และ ค่าจ้างก่อสร้างงานโยธาและโครงสร้าง 12,284 ล้านบาท ที่ต้องจ่ายคืนให้แก่ผู้รับจ้างก่อสร้างด้วย


แหล่งข่าวรายเดิมกล่าวต่อว่า สำหรับวงเงินส่วนที่เหลืออีก 1,8289 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย เงินค่าจ้างงานระบบไฟฟ้า-อาณัติสัญญาณและจัดหาตู้รถโดยสาร 13,623 ล้านบาท, ค่าธรรมเนียมทางการเงิน 1,666 ล้านบาท, ค่าดอกเบี้ยรวมตลอดระยะเวลาการก่อสร้างประมาณ 3,000 ล้านบาท การรับไฟฯ จะรับภาระเอง โดยจะนำรายได้จากค่าโดยสารที่จะเก็บในส่วนของระบบรถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnbhumi Airport Express) อัตรา 100 บาท ตลอดเส้นทาง และระบบรถไฟท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Suvarnbhumi Airport City Line) อัตรา 35 บาทตลอดเส้นทางมาจ่ายคืน


"การหาเงินมาจ่ายคืนค่าก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์นั้น ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มรว.ปริดียาธร เทวกุล แล้ว ซึ่งในขณะนั้นมีความเห็นว่าจะรับภาระทั้งหมด 100% ให้การรถไฟฯ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครการที่เป็นบริการสาธารณะ และเป็นการสร้างหนี้เพิ่มขึ้นให้แก่การรถไฟฯ แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงต้องหารือกันใหม่กับ สบน. ว่าจะมีแนวทางในการช่วยเหลือการรถไฟฯ อย่างไรบ้าง" แหล่งข่าวกล่าว


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 เม.ย.50 ที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้ร่วมหารือกับสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ถึงแนวทางการหาเงินจ่ายค่าก่อสร้างโครงการแอร์พอร์ตลิงค์แล้ว แต่ยังไม่สามารถสรุปความชัดเจนได้ เนื่องจากยังมีหลายประเด็นที่เป็นข้อน่าสังสัยเกี่ยวกับเรื่องการจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้าง การรถไฟฯ จึงต้องกลับมารวมรวมประเด็นปัญหา เพื่อส่งไปหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้ได้ความชัดเจนก่อน


สำหรับประเด็นคำถามหลักๆ ในเบื้องต้นที่การรถไฟฯ จะขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณา ประกอบด้วย ประเด็นที่ว่า ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสมัยรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 18 ม.ค.48 ได้ระบุไว้ว่าเมื่อครบสัญญาการก่อสร้าง 990 วัน แล้วจะต้องจ่ายเงินค่าก่อสร้างคืนให้แก่ผู้รับเหมาในทันที แต่ในปัจจุบันมีเหตุให้เชื่อได้ว่าผู้รับจ้างไม่สามารถทำการก่อสร้างแล้วเสร็จได้ตามสัญญา จะต้องมีการขยายเวลาการก่อสร้างออกไปนั้น การรถไฟฯ จะยังคงต้องจ่ายเงินค่าก่อสร้างทันทีเมื่อครบ 990 วันหรือไม่ หรือจะสามารถขยายระยะเวลาในการจ่ายเงินคืนออกไปได้หรือไม่


นอกจากนั้นจะต้องขอให้พิจารณาด้วยว่าในขบวนการจ่ายเงินคืนนั้น หากมีแค่ใบแจ้งการโอนสิทธิการจ่ายเงินจากสถาบันการ แต่ไม่ได้มีการตอบรับจากการรถไฟฯ ว่ารับทราบการโอนสิทธิการจ่ายเงินจากผู้รับจ้างก่อสร้างไปเป็นสถาบันการเงินผู้ให้กู้นั้น ใบโอนสิทธิดังกล่าวจะสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานหรือข้ออ้างอิงที่ถูกต้องในการเบิกจ่ายเงินคืนได้หรือไม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้สอบถามความเห็นอย่างไม่เป็นทางการแล้ว ซึ่งอัยการสูงสุดมองว่าไม่สามารถจะจ่ายได้ การรถไฟฯ จึงต้องส่งหนังสือถามไปอีกครั้งเพื่อให้มีความชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2007 10:06 am    Post subject: Reply with quote

ยืดแอร์พอร์ตลิงค์398วัน'ชิโน-ไทย'เซ็ง
Thaipost 4 พฤษภาคม 2550 กองบรรณาธิการ

บอร์ด ร.ฟ.ท.ยืนกราน ยืดเวลาก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ให้แค่ 398 วันหลังหมดสัญญา "ศิวะ" ลั่นสรุปผลรายงานนายกฯ สัปดาห์หน้า เตรียมตั้งกรรมการหาเงินก่อสร้างเพิ่มเติม


ด้าน ชิโน-ไทย งอแง ขอ 552 วัน ถ้าหากให้งานเสร็จตามกำหนด

นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทนบริษัทผู้รับเหมา บริษัท ซีเมนส์ จำกัด บริษัทที่ปรึกษาโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์) ระยะทาง 28 ก.ม. มูลค่า 25,907 ล้านบาท ว่า ได้การพิจารณาขยายระยะเวลาก่อสร้าง ซึ่งผู้รับเหมาคือ บริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ขอขยาย 552 วัน แต่บริษัทที่ปรึกษาประเมินไว้ที่ 398 วัน ซึ่งเบื้องต้นผู้รับเหมายังไม่ยอมรับการขยายเวลาที่ 398 วัน

นอกจากนี้ จะมีการตั้งคณะกรรมการ มีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ร.ฟ.ท.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาแนวทางด้านการเงินภายหลังสัญญาก่อสร้างครบกำหนด 990 วัน (5 พ.ย.2550) โดยขณะนี้มี 2 แนวทางคือ 1.ให้ผู้รับเหมาเจรจากับแหล่งเงินเดิมเพื่อขอกู้เงินเพื่อนำมาก่อสร้างโครงการส่วนที่เหลือ ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นใหม่ประมาณวันละเกือบ 3 ล้านบาท เป็นเงินกว่า 1,000 ล้านบาท เทียบจากส่วนงานที่เหลือ หรือ 2.ขอใช้งบประมาณในการก่อสร้างงานส่วนที่เหลือ

นายศิวะกล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะสรุปความคืบหน้า ปัญหา อุปสรรคของโครงการทั้งหมดเพื่อรายงานต่อ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้สอบถามผ่านนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รมช.คมนาคม

สำหรับความก้าวหน้าการก่อสร้างสิ้นสุดวันที่ 30 เม.ย.2550 อยู่ที่ 60.97% จากแผนที่กำหนด 97.44% โดยส่วนงานโยธามีผลงาน 24.49% ส่วนแผนกำหนดไว้ที่ 47.30% งานไฟฟ้าและเครื่องกลมีผลงาน 36.47% ส่วนแผนกำหนดไว้ที่ 50.14% โดยขณะนี้ผู้รับเหมาเบิกค่างานไปแล้ว 10,880 ล้านบาท น้อยกว่าเนื้องานก่อสร้างแล้วเสร็จ 18%

นายวัลลภ รุ่งกิจวรเสถียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิโน-ไทยฯ กล่าวว่า บริษัทขอเจรจาเพื่อขยายเวลาก่อสร้างเพิ่มจาก 398 วัน เพราะที่ปรึกษาคำนวณโดยไม่หักวันหยุด ซึ่ง ร.ฟ.ท.เข้าใจประเด็นนี้แล้ว รวมถึงการเร่งรัดจ่ายค่างานงวดที่ 24-25 ประมาณ 600 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ตั้งสำรองเมื่อปี 2549 ประมาณ 10% ของมูลค่างานโยธา หรือประมาณ 1,200 ล้านบาท สำหรับใช้ในการก่อสร้างและยอมรับว่าขาดทุน แต่ไม่กระทบกับผลประกอบการรวมของบริษัท และมั่นใจว่าหลังตกลงขยายระยะเวลา บริษัทจะก่อสร้างเสร็จตามกำหนดแน่นอน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2007 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ติดเครื่องสร้างสายสีแดง เล็งชงครม.ขออนุมัติพ.ค.นี้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2215 06 พ.ค. - 09 พ.ค. 2550


บอร์ดการรถไฟฯ ไฟเขียวจ้างที่ปรึกษาประมูลสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่า 1.3 หมื่นล้าน ด้วยวิธีพิเศษ ด้าน "สรรเสริญ" สั่งเร่งมือชงเรื่องเข้าครม.ขออนุมัติก่อสร้างให้ได้ภายในเดือนนี้ ก่อนประมูลจริง ส.ค.50 พร้อมชงครม.จี้สนข.เร่งแผนโครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต คู่ขนาน หวั่นเส้นทางขาดตอนประชาชนไม่สะดวกใช้ ขณะที่ "แอร์พอร์ตลิงค์" ได้ข้อสรุปขยายเวลา 398 วัน เตรียมตั้งกรรมการต่อรองเวลา-เงินชัดอีกรอบ


นายบัญชา คงนคร รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ ในฐานะรักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อวันที่ 27 เม.ย.50 ที่ผ่านมา บอร์ดได้มีมติเห็นชอบให้การรถไฟฯ ดำเนินการคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร มูลค่ารวม 13,000 ล้านบาทด้วยวิธีพิเศษแล้ว โดยหลังจากนี้จะเร่งเซ็นสัญญากับบริษัท ทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการออกแบบรายละเอียดของรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มาดำเนินการในการเตรียมการประกาศประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ภายใต้กรอบวงเงินว่าจ้างประมาณ 6 ล้านบาท ทั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถดำเนินการประกวดราคาได้ทันตามกำหนดเวลาที่นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์รองนายกรัฐมนตรีกำหนดไว้ในช่วงเดือน ส.ค.50 นี้อย่างแน่นอน


ขณะที่แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากการรถไฟฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังเร่งจัดทำรายละเอียดของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ทั้งด้านแผนการประกวดราคา แผนการก่อสร้าง และแผนการเงิน เพื่อเตรียมเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งจะเร่งทำให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ค.50 นี้ ตามที่นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้นโยบายเร่งรัดลงมาด้วย สำหรับการก่อสร้างนั้นจะมีเพียง 1 สัญญาเท่านั้น โดยเนื้องานที่ผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องทำนั้นประกอบด้วยการก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่ง การวางราง และการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ (Local Road) โดยจะเร่งเสนอเข้าครม.ให้ได้ภายในเดือน พ.ค.50 นี้ แหล่งข่าวกล่าว


อย่างไรก็ดี นอกจากจะขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน แล้ว จะเสนอขอให้ครม. พิจารณาเร่งรัดแผนดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังเตรียมการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังเตรียมการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามาทำการปรับปรุงแบบ ให้เร็วขึ้นด้วย


ทั้งนี้เป็นเพราะว่าปลายทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะมีส่วนที่ต้องต่อเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ในบริเวณใกล้ๆ กับสถานีบางซื่อ ดังนั้นหากแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ช้าออกไปมาก เมื่อสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ก่อสร้างเสร็จก่อน จะทำยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้อย่างสมบูรณ์เนื่องจากจะทำให้มีจุดห่างจากสถานีบางซื่ออยู่ประมาณ 500 เมตร ทำให้การเดินทางไม่สะดวก จึงต้องการให้ครม.เร่งรัดแผนงานอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ทั้ง 2 โครงการก่อสร้างได้ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน แหล่งข่าวกล่าว


นอกจากนั้นแล้ว แหล่งข่าวรายเดิมยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการพิจารณาการขยายเวลาการก่อสร้าง โครงการระบบขนส่งทางรถไฟ เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Rail Link And City Air Terminal Project) หรือแอร์พอร์ตลิงค์ ว่าขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ได้สรุปแล้วว่าจะขยายเวลาให้แก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 398วัน จากที่ผู้รับจ้างก่อสร้างเสนอขอมากว่า 500 วัน ซึ่งเป็นผลจากการที่รฟท.ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างได้ช้ากว่ากำหนด โดยในระหว่างนี้ การรถไฟฯ และผู้รับจ้างก่อสร้างอยู่ระหว่างการเจรจาเพือรับฟังเหตุผลของทั้งฝ่ายผู้จ้างและฝ่ายผู้รับจ้าง เพื่อตกลงจำนวนวันกันให้ชัดเจนเป็นที่พอใจกันทั้ง 2 ฝ่ายอีกครั้ง


สำหรับขั้นตอนจากนี้ไป การรถไฟฯ จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด โดยจะเชิญตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงคมนาคม เพื่อร่วมกันพิจารณาการขยายเวลาการก่อสร้าง รวมถึงเรื่องของเงินค่าก่อสร้างที่จะต้องใช้ระหว่างการก่อสร้างที่ขยายเพิ่มขึ้นด้วย ว่าทางผู้รับจ้างจะเป็นผู้รับหน้าที่เจรจากับแหล่งเงินกู้รายเดิมเพื่อขอขยายวงเงินกู้ได้หรือไม่ หรือจะต้องเป็นการรถไฟฯ ไปเจรจา หรืออาจจะต้องให้มีคนกลางมาเจรจา ซึ่งจะเร่งพิจารณาหาข้อสรุปให้ได้โดยเร็ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2007 9:25 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.มั่นใจรถไฟฟ้าสีแดงช่วงแรกลงนาม ก.ย.นี้

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤษภาคม 2550 18:23 น.

ร.ฟ.ท.เตรียมดันโครงการรถไฟฟ้าสีแดง 2 ช่วงแรก (บางซื่อ-ตลิ่งชัน และรังสิต-บางซื่อ) ชงกระทรวงคมนาคม เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติพร้อมกันรวดเดียว มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท มั่นใจเร่งรัดช่วงแรก บางซื่อ-ตลิ่งชัน ลงนามผู้รับเหมาก่อสร้างเดือนกันยายนนี้

วันนี้ (7 พ.ค.) นายบัญชา คงนคร รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า สำหรับการเร่งรัดก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสีแดง ตามนโยบายของรัฐบาลนั้น ร.ฟ.ท.ได้มีความเห็นเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา นำเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ทั้ง 2 ช่วง คือ ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ส่วนต่อขยายทางทิศเหนือช่วงรังสิต-บางซื่อ พร้อมกันในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ โดยมูลค่าโครงการเส้นแรกในส่วนของงานโยธา ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท และช่วงรังสิต-บางซื่อ อีกประมาณ 5,000 ล้านบาท

โดยหลังจาก ครม.อนุมัติ ร.ฟ.ท.จะมีการเตรียมเอกสารประกวดราคาทันที โดยช่วงแรกตลิ่งชัน-บางซื่อ ที่มีความพร้อมมากที่สุด จะมีการขายซองประกวดราคาในเดือนมิถุนายนนี้ และ ร.ฟ.ท.มั่นใจว่า จะสามารถลงนามกับผู้รับเหมา เริ่มก่อสร้างโครงการได้ในเดือนกันยายนนี้ ขณะที่โครงการช่วงรังสิต-บางซื่อ กระบวนการขายซองและประกวดราคาก็จะเริ่มตามมา

สำหรับรายละเอียดของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเป็นโครงการรถไฟฟ้ายกระดับ โดย ร.ฟ.ท.จะไม่มีการก่อสร้างสถานีเพิ่ม แต่จะใช้สถานีรถไฟเดิมที่อยู่แนวเขตเดินรถไฟให้บริการผู้โดยสาร ขณะที่โครงการช่วงรังสิต-บางซื่อ จะมีการก่อสร้างสถานีเพิ่มเติม โดยจะมีการก่อสร้างปรับสถานีบางซื่อ เป็นสถานีปลายทางขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นสถานีที่สามารถบรรจบกับโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินในปัจจุบันได้ โดยสถานีบางซื่อจะเป็นสถานีปลายทางที่ใหญ่กว่าสถานีหัวลำโพง 2 เท่า

ทั้งนี้ โครงการรถไฟสายสีแดงแรก สามารถเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้เร็ว เนื่องจากไม่ต้องผ่านกระบวนการ พ.ร.บ.ร่วมการงานระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 เนื่องจาก ร.ฟ.ท.จะดำเนินการเดินรถเอง รวมทั้งไม่ติดในเรื่องของการเวนคืนที่ดินด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 11/05/2007 11:53 am    Post subject: Reply with quote

ศึกคดีโฮปเวลล์ฟ้องยังไม่จบ การรถไฟมีลุ้นหวังใช้ช่องโหว่ทางข้อสัญญา-อายุความพร้อมร้องคณะอนุญาโตฯ ทบทวนอำนาจ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2216 10 พ.ค. - 12 พ.ค. 2550




คณะอนุญาโตเดินเครื่องสางคดี "โฮปเวลล์" จัดสำนวนพิจารณาแยก ชุด "แยกสอบโฮปเวลล์ และการรถไฟ" พร้อมกำหนดประเด็นสืบสวนชัดเจนหลังคู่กรณีเจอกันเมื่อ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา ชี้วันเปิดศาลสืบพยานนัดแรก 12-14 ธ.ค.50นี้ "การรถไฟฯ" รอเฮ หลังพบช่องโหว่ของข้อสัญญา-อายุความเป็นข้อได้เปรียบ จี้อนุญาโตฯ ตรวจสอบสิทธิในการตัดสินชี้ขาดเป็นการด่วน





แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่ง จากการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าของคดีข้อพิพาทระหว่าง การรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคม กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานระบบการขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟฯ ว่าภายหลังจากที่ได้แต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยและชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น เมื่อวันที่ 27 เม.ย.50 ที่ผ่านมาก็ได้มีการนัดพร้อมเพื่อกำหนดกระบวนการและประเด็นในการพิจารณาไปเรียบร้อยแล้ว


โดยคณะอนุญาโตฯ ได้มีการแยกการพิจารณาออกเป็น 2 สำนวน โดยสำนวนแรกจะเป็นการพิจารณาข้อเรียกร้องของ บริษัท โฮปเวลล์ฯ ซึ่งมีประเด็นที่จะพิจารณาในขั้นต้น มีอยู่ 4 ประเด็น ประกอบด้วย 1.กรณีที่บ.โฮปเวลล์ฯ ขอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการนั้น สามารถทำได้หรือไม่ 2. สิทธิในการเสนอให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการของบ.โฮปเวลล์ฯ นั้นพ้นจากกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายหรือไม่ 3. สัญญาสัมปทานนั้นถือเป็นที่สิ้นสุดโดยปริยาย หรือเป็นไปตามข้อกฎหมายแล้วหรือไม่ และ 4. บ.โฮปเวลล์ฯ และการรถไฟฯ จะสามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 ได้หรือไม่


สำหรับ ประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 2 คณะอนุญาโตฯ สามารถที่จะใช้สิทธิวินิจฉัย ได้ในทันที ขณะที่ประเด็นที่ 3 และ 4 นั้น ได้กำหนดให้บ.โฮปเวลล์ เป็นฝ่ายนำสืบคดีก่อน จากนั้นแล้วจึงจะการรถไฟฯ สืบแก้


ส่วนสำนวนที่ 2 เป็นสำนวนคำร้องของผู้ยื่นข้อเรียกร้องแย้ง คือ การรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคม ซึ่งคณะอนุญาโตตุลาการได้กำหนดประเด็นที่จะพิจารณาในขั้นต้นไว้ 3 ประเด็น ประกอบด้วย 1. บ.โฮปเวลล์ฯ กระทำผิดสัญญาหรือไม่ 2. การรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคม กระทำการบอกเลิกสัญญาโดยชอบหรือไม่ และ 3. การรถไฟฯ และกระทรวงคมนาคม เกิดความเสียหายหรือไม่เพียงใด โดยทั้ง 3 ประเด็น การถไฟฯ จะได้สิทธิเป็นฝ่ายนำสืบคดี ส่วนบ.โฮปเวลล์ฯ จะเป็นผู้สืบแก้คดี


ทั้งนี้คณะอนุญาโตฯ ได้กำหนดให้ทั้ง 2 ฝ่ายยืนยันบัญชีระบุพยาน พร้อมเอกสารและคำให้การพยานภายในเดือน ต.ค.50 นี้ และนัดให้คู่กรณีมาตรวจสอบเอกสารและรับรองเอกสารที่ทั้ง 2 ฝ่ายใช้กล่าวอ้างในวันที่ 30 พ.ย.50 จากนั้นในระหว่างวันที่ 12-14 ธ.ค.50 จะนัดพร้อมคู่กรณีเพื่อทำการสืบพยานเป็นนัดแรก แหล่งข่าวกล่าว


อย่างไรก็ดี การรถไฟฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้คณะอนุญาโตฯ ชุดที่รับผิดชอบกรณีโฮปเวลล์ ซึ่งประกอบด้วย นายสมศักดิ์ บุญทอง รองอัยการสูงสุด ในฐานะตัวแทนจากการรถไฟฯ รองศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนจากโฮปเวลล์ฯ และนายถวิล อินทรักษา อดีตผู้พิพากษา ในฐานะประธานคณะอนุญาโตตุลาการ วินิจฉัยอำนาจหน้าที่และขอบเขตในการชี้ขาดประเด็นข้อพิพาทกรณีโฮปเวลล์นี้ด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่


เนื่องจากว่า เมื่อพิจารณาจากข้อสัญญาเดิมที่ทำร่วมกันระหว่างคู่กรณีแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าการดำเนินการฟ้องร้องโดยวิธีอนุญาโตตุลาการขณะนั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาข้อ 31 ที่ระบุว่ากรณีการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญา เช่น มีความคิดไม่ตรงกันในเรื่องของขบวนการทำงาน การออกแบบ หรือการขยายเวลาการก่อสร้าง คู่สัญญาจะต้องประนีประนอมกันภายใน 60 วัน หรือตามระยะเวลาที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลง ซึ่งหากไม่สามารถตกลงร่วมกันได้จึงจะเข้าสู่ขบวนการชี้ขาดโดยคณะอนุญาโตฯ ซึ่งการยื่นเรื่องฟ้องร้องของบ.โฮปเวลล์นั้น นอกจากจะไม่เป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาแล้ว การดำเนินการยังเกินจากระยะเวลาการฟ้องร้อง ที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่การรถไฟฯ บอกเลิกสัญญาอย่างเป็นทางการเมือวันที่ 27 ม.ค.41 ที่ผ่านมาด้วย จึงถือได้ว่าคดีนี้หมดอายุความแล้ว


ดังนั้นการรถไฟฯ จึงขอให้คณะอนุญาโตฯ วินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตนเองด้วยว่ามีสิทธิในการชี้ขาดคดีความนี้หรือไม่ ซึ่งทางคณะอนุญาโตฯ ได้รับไปพิจารณา และแจ้งมาว่าพร้อมจะให้คำตอบในวันเดียวกับที่จะมีการชี้ขาดข้อพิพาทคดีโฮปเวลล์นี้ อย่างไรก็ดีการรถไฟฯ คาดว่าจากเหตุผลการฟ้องร้องที่ไม่ตรงตามเงื่อนไขสัญญา และอายุความที่หมดระยะเวลาลงไปแล้วนั้นทำให้การฟ้องร้องครั้งนี้ รวมถึงคณะอนุญาโตฯ ที่แต่งตั้งขึ้นมานี้ไม่มีผลในแง่ของกฎหมาย และหากผลการวินิจฉัยของคระอนุญาโตฯ สรุปออกมาตามข้อสังเกตของการรถไฟฯ ก็จะทำเรื่องฟ้องร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนสิทธิการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตฯ ซึ่งจะทำให้การรถไฟฯ เป็นฝ่ายชนะคดีความ อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้แน่ชัดว่าจะรู้ผลการพิจารณาทั้งในเรื่องของอำนาจคณะอนุญาโตฯ และคดีความได้เมื่อไร ซึ่งเอว่าจะต้องใช้เวลานานอย่างแน่นอนกว่าที่จะสรุปคดีได้ แหล่งข่าวกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 12/05/2007 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

แบงก์ออมสินขอร่วมลงให้กู้รถไฟฟ้าสายสีแดง

Dailynews 11 May 2007

นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี รองผู้อำนวยการธนาคารออมสินอาวุโส เปิดเผยว่า ธนาคารออมสิน อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เพื่อเข้าร่วมประมูลพันธบัตรของรัฐบาลที่เตรียมระดมเงินทุนอีก 13,000 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในโครงการรถไฟฟ้าสีแดง ระยะแรก (บางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กม.) ซึ่งกระทรวงการคลังได้วางแผนให้เงินกู้ในประเทศ ประมาณ 13,000 ล้านบาท โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็น ผู้กู้โดยการออกพันธบัตรโดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าการเข้าไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้โดยเฉพาะพันธบัตรของ รัฐบาลไม่มีความเสี่ยงแน่นอน เพราะสภาพคล่องของธนาคารออมสินยังมีเพียงพอที่จะเข้าร่วมประมูลได้ และธนาคารออมสินจะเข้าร่วมประมูล พันธบัตรในโครงการขนาดใหญ่ทุกโครงการที่มีศักยภาพ ซึ่งในปี 50 ได้วาง แผนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลประมาณ 20,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ธนาคารออมสินยังยืนยันที่จะตั้งสำรองสินเชื่อตามเกณฑ์มาตรฐานบัญชีใหม่ ฉบับที่ 39 (ไอเอเอส 39) ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้คือสำรองให้ครบ 100% ภายในสิ้น ปี 50 นี้ เพราะเชื่อว่ายังมีความสามารถที่จะตั้งสำรองได้ ซึ่งในปี 49 ธนาคารออมสินได้ตั้งสำรองหนี้เสียไปแล้วจำนวน 4,000 ล้านบาท และใน ปี 50 นี้มีภาระต้องกันสำรองประมาณ 2,400 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2007 9:48 am    Post subject: Reply with quote

ชงครม.สายสีแดงเป็นรถไฟลอยฟ้า

จ้างบ.ผู้รับเหมาสร้างทางยกระดับ ร.ฟ.ท.นำรถไฟเครื่องดีเซลมาวิ่งเอง
มติชน วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10656


เปิดแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ขออนุมัติ ครม.22 พ.ค.นี้ จ้างบริษัทรับเหมาสร้างส่วนงานโยธาเฉพาะทางยกระดับ แต่ให้ ร.ฟ.ท.นำรถเครื่องดีเซลมาวิ่งให้บริการช่วงแรก ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นระบบไฟฟ้าในอนาคต เหตุเงินลงทุนสูง ไม่คุ้มทุน จึงให้เป็นเรื่องของรัฐบาล ต้องการแก้ปัญหาด้านจราจร

นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะเป็นโครงการที่จะก่อสร้างทางรถไฟยกระดับจากบางซื่อมาถึงตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 14.7 กิโลเมตร จะเป็นการขออนุมัติเพื่อให้มีการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในส่วนของงานโยธา คาดว่า ร.ฟ.ท.น่าจะเปิดประมูลได้ในเดือนมิถุนายน เมื่อโครงสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ ทาง ร.ฟ.ท.จะจัดหาขบวนรถไฟปกติที่ใช้เครื่องดีเซลมาวิ่งบนรางดังกล่าวในช่วงแรก หลังจากนั้นเมื่อมีความพร้อมในภายหลัง จึงจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า

นายประณตกล่าวว่า ในส่วนของงานโยธาจะมีการออกแบบสำหรับปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ โครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน หากเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าในช่วงแรกของการดำเนินการ จะใช้เงินลงทุนที่สูงและไม่มีความคุ้มทุน ดังนั้น การดำเนินการในช่วงแรก จึงเป็นเรื่องของรัฐบาลและ ร.ฟ.ท. โดยเอกชนเป็นเพียงผู้รับเหมาก่อสร้างในส่วนของงานโยธาเท่านั้น

"โครงการสายสีแดง ทั้งในช่วงของบางซื่อ-ตลิ่งชันที่จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในเดือนมิถุนายน และช่วงรังสิต-บางซื่อที่ยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงแบบ ในช่วงแรกจะใช้รถไฟธรรมดาวิ่งบนรางทั้งหมด โดยการรถไฟฯจะเป็นผู้จัดหาขบวนรถและเป็นผู้ให้บริการโดยที่ไม่มีเอกชนมาเกี่ยวข้อง โครงการดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาจราจร หลังจากนั้นในช่วงต่อไปที่มีความเหมาะสม จึงจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้าในภายหลัง" นายประณตกล่าว

อนึ่ง นอกจากสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะเสนอ ครม.ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ และประกาศประกวดราคาประมาณเดือนมิถุนายน ยังมีสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ จะเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการประมาณกลางเดือนกรกฎาคมนี้ และจะประกาศประกวดราคาปลายเดือนสิงหาคม ส่วนสายสีน้ำเงินคาดว่าจะเสนอ ครม.ในช่วงใกล้เคียงกับสายสีม่วง ขณะที่สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่) จะเสนอ ครม.ประมาณเดือนมิถุนายน หลังจากผ่านความเห็นชอบจากสภา กทม.แล้ว ทั้งนี้ การดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกเส้นทางจะต้องผ่าน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ พ.ศ.2535 ทั้งหมด

สำหรับเงินลงทุน นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 14.75 กิโลเมตร จะมีวงเงินก่อสร้างโครงสร้างด้านโยธาซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้สนับสนุนเงินลงทุน จำนวน 13,000 ล้านบาท โดยใช้เงินงบประมาณ 2,000 ล้านบาท ที่เหลือ 11,000 ล้านบาท จะใช้เงินกู้ในประเทศ โดย ร.ฟ.ท.จะเป็นผู้กู้และรัฐบาลจะเป็นผู้ค้ำประกัน ส่วนเส้นทางสายสีม่วง สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค และสายสีแดงช่วงรังสิต-บางซื่อ คาดว่าจะใช้เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/05/2007 7:20 pm    Post subject: Reply with quote

แบงก์-รับเหมารอลุ้น ครม.ไฟเขียว22พ.ค. ตัดแบ่งเค้ก"รถไฟฟ้า"

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3896 (3096)

มูลรถไฟฟ้าสายแรกสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน 22 พ.ค. ส่วนสายสีม่วงรอไปก่อน หลังเจบิกไฟเขียวปล่อยกู้เฉียดแสนล้านบาท เดินเครื่องก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ภายใน 4 ปี มีกระทรวงการคลัง-ร.ฟ.ท.ค้ำประกัน แบงก์กรุงไทยแอ่นอกเสนอสินเชื่อโครงการพื้นฐานคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด เผยรถไฟฟ้าสายสีเขียวต้องรอความชัดเจนจาก พ.ร.บ.ร่วมทุน แต่มีสิทธิ์เกิดแน่ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แผน การลงทุนโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย หลังจากได้หารือร่วมกับทางกระทรวงการคลัง ขณะนี้ได้ทำความชัดเจนกรอบระยะเวลาแต่ละสายทางที่จะนำเข้าเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเป็นสายๆ ไป โดยสายแรกที่จะเปิดประมูลก่อน คือ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งจะนำเรื่องเสนอให้ ครม.พิจารณาในวันที่ 22 พฤษภาคม เมื่อ ครม.อนุมัติแล้ว จะเปิดประกวดราคาได้เดือนมิถุนายนนี้

จากนั้นประมาณเดือนสิงหาคมจะเปิดประมูลสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แต่ไม่รู้ว่าจะทันหรือไม่ เพราะเจบิกมีขั้นตอนการกู้อยู่ ใช้เวลานานพอสมควร ถ้าไม่ทันเดือนสิงหาคม สายสีม่วงอาจจะจะล่าช้าไปอีก 3-4 เดือน

"สายสีม่วง รฟม.คิดว่าจะนำเข้า ครม.อนุมัติได้ปลายกรกฎาคม เมื่อ ครม.อนุมัติก็นำแบบมาทำรายละเอียดให้ชัดขึ้น จากนั้นถึงจะเปิดประกวดราคาได้ ส่วนสายอื่นๆ สีเขียว จากหมอชิต-สะพานใหม่ และสีน้ำเงิน จากบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต คงไปตามขั้นตอน ที่จะต้องทำรายละเอียดให้ชัดเพื่อเสนอ ครม.ต่อไป อาจจะไม่ทันปีนี้แต่ระยะเวลาอาจจะไล่เลี่ยกัน"

นายสรรเสริญกล่าวต่อว่า โดยสายสีเขียวให้ทางกรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปทำรายละเอียดมาให้ชัด ทั้งเรื่องการศึกษาตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน ระบบตั๋วร่วม การบริหารโครงการ เป็นต้น โดยให้เน้นสายหมอชิต-สะพานใหม่ก่อน ส่วนช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ค่อยมาดูภายหลัง โดยรูปแบบจะเป็นการลงทุนแบบเดียวกับนโยบายของรัฐบาล รัฐจะสนับสนุนเรื่องค่าก่อสร้างงานโยธา ซึ่งแหล่งเงินนี้สายสีเขียวเป็นสายเดียวที่จะไม่ใช้เงินกู้ของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) เพราะติดระเบียบของกระทรวงการคลังที่ไม่สามารถกู้เงินมาให้ท้องถิ่นลงทุนได้โดยตรง คาดว่าจะสามารถนำเรื่องเข้าเสนอ ครม.ได้อีก 2-3 เดือน

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เงินลงทุนในส่วนของสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน วงเงิน 13,000 ล้านบาท จะใช้เงินงบประมาณ 2,000 ล้านบาท ที่เหลือ 11,000 ล้านบาท ใช้เงินกู้ในประเทศ โดย ร.ฟ.ท.เป็นคนกู้และรัฐบาลจะค้ำประกันให้ ซึ่งการกู้จะใช้ระยะเวลา 4 ปีตามระยะเวลาการก่อสร้าง

สำหรับสายสีม่วง สีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และสีน้ำเงิน จะใช้เงินกู้ประมาณ 92,000 ล้านบาท โดยกู้ 70% จากวงเงินทั้งหมด 1.3 แสนล้านบาท ที่เหลือจะเป็นเงินกู้ในประเทศ ซึ่งทางเจบิกแสดงผ่านทางสถานทูตว่า จะส่งคณะผู้แทนของรัฐบาลญี่ปุ่นมาปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และหลังจากนั้นจะเสนอให้ ครม.ของประเทศญี่ปุ่นพิจารณาว่าจะสนับสนุนหรือไม่ อีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ถึงจะทราบว่าทาง

เจบิกมีข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งการกู้นี้จะแบ่งเป็นช่วงๆ ระยะเวลากู้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของเจบิก อาจจะเป็น 10 ปี 15 ปี 20 ปี 30 ปีก็ได้ กู้สั้นจะทำให้การลงทุนถูกลง ถ้ากู้ยาวจะแพงขึ้น

นายปรีชา ภูขำ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ธนาคารพร้อมที่จะปล่อยกู้ให้กับรัฐบาลนำไปใช้ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันธนาคารมีสภาพคล่องมากพอสมควร นอกจากนี้ยังเป็นการให้ความร่วมมือและสนับสนุนนโยบายของรัฐในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของประเทศ รวมถึงกระตุ้นการขยายการลงทุนและเศรษฐกิจ

"ที่ผ่านมากรุงไทยให้ความร่วมมือกับภาครัฐเป็นอย่างดี ด้วยการเข้าร่วมประมูลเพื่อปล่อยสินเชื่อโครงการรัฐอยู่เสมอ ซึ่งล่าสุดก็ได้ปล่อยให้โครงการรัฐไป 9 พันล้านบาท จากมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 1.6 หมื่นล้านบาท และที่เราได้ปล่อยส่วนใหญ่เพราะธนาคารเสนอดอกเบี้ยให้ถูกที่สุด แต่ไม่ใช่เพราะกรุงไทยเป็นธนาคารของรัฐแล้วเขามากู้ เพราะพวกนี้ต้องเข้าไปสู้ราคากันอยู่แล้ว"

นายปรีชากล่าวว่า จากการที่คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อในโครงการได้อีกมาก รวมถึงโอกาสที่อาจได้ปล่อยในโครงการรถไฟฟ้า คงไม่จำเป็นต้องมีการต้องระดมเงินฝากใหม่อีกรอบ เพราะขณะนี้สภาพคล่องธนาคารเหลือมากเพียงพอ และช่วงต้นปีที่มีการลดดอกเบี้ยเงินฝากก็ไม่ได้ไหลออกไปมาก เพราะดอกเบี้ยทุกธนาคารลดลงเหมือนกันหมด

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่จะเปิดประมูลในเดือนมิถุนายนนี้ จะเปิดประมูลเป็นสัญญาเดียว วงเงิน 13,000 ล้านบาท จะไม่แบ่งซอยสัญญาย่อยๆ จะมีงานโยธา ระบบราง ถนนโลคอลโรด เวนคืนที่ดิน เป็นต้น ส่วนระบบไฟฟ้าจะเปิดประมูลพร้อมกับสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่อยู่ระหว่างปรับแบบบริเวณสถานีร่วมที่บางซื่อ ซึ่งการเปิดประกวดราคาจะเป็นการจ้างเหมาธรรมดา ไม่เหมือนกับโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ขณะนี้อยู่ระหว่างทำร่างทีโออาร์ สำหรับผู้รับเหมาที่จะเสนอตัวเข้าประมูลจะเป็นแบบจอยต์เวนเจอร์หรือแบบเดี่ยวๆ ก็ได้

"วันที่ 15 พฤษภาคมนี้จะนำรายละเอียดเสนอให้บอร์ดพิจารณา จากนั้นเสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อนำเรื่องเข้า ครม.วันที่ 22 พฤษภาคมนี้"

นายไผท ชาครบัณฑิต รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะยื่นประมูลเดี่ยวหรือร่วมทุนกับผู้รับเหมารายอื่น รอดูนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาลเสียก่อน ว่าทีโออาร์ที่จะออกมานั้นกำหนดไว้อย่างไรบ้าง รวมถึงรายละเอียดแหล่งเงินว่ามาจากไหนแน่ แต่ถ้าเป็นเงินกู้ในประเทศคิดว่าทำเองได้ แต่ต้องดูปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย

นายวัชระ แสงหัตถวัฒนา ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทกำลังหารือกันอยู่ อาจจะเป็นพันธมิตรเดิมที่เคยร่วมงานกันมาก่อน คือ กลุ่มจากประเทศญี่ปุ่น มีบริษัทกูมาไก บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด และกลุ่มเยอรมนี บริษัทบิลฟิงเกอร์ แต่ยังไม่สรุป ต้องรอดูนโยบายที่ชัดเจนจากรัฐบาลเสียก่อนว่าจะออกมายังไง ซึ่งบริษัทติดตามข่าวมาโดยตลอดเวลา แต่คงจะสรุปตอนนี้คงไม่ได้ เพราะถ้าไม่ใช่ก็ต้องนับหนึ่งใหม่

นายพลพัฒ กรรณสูต กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีแผนเข้าไปประมูลงานโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ร่วมกับพันธมิตรประเทศญี่ปุ่น และพันธมิตรในประเทศ และจากศักยภาพที่ดีในการรับงาน ก็คาดว่ามีโอกาสได้รับเลือกจากการประมูลงานดังกล่าว

นายพัฒนพงษ์ ตนุมัธยา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอสคอน คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเปิดประมูลรถไฟฟ้าครั้งนี้บริษัทร่วมประมูลด้วยแน่นอน โดยจะลงเกี่ยวกับการขุดอุโมงค์วางรางเท่านั้น แต่คงไม่ประมูลระบบรถ โดยจะเข้าประมูลทั้ง 5 สาย คาดว่าน่าจะได้อย่างน้อย 1 สาย โดยร่วมทุนกับเยอรมนี บริษัทดิวิดัก อินเตอร์เนชั่นแนล จีเอ็มบีเอช เป็นบริษัทลูกของบริษัทสตราบัก เอส อี ผู้รับเหมารายใหญ่ของยุโรป ซึ่งบริษัทจะถือหุ้น 35% ในนามของบริษัทจอยต์เวนเจอร์ โดยในส่วนของบริษัทจะใช้งบฯลงทุนไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท

ด้านบริษัทอารียา ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ มีความสนใจจะเข้าร่วมก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า โดยได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือกับบริษัทไชน่า เรลเวย์ ทเวนตี้ บูโร กรุ๊ป บริษัทรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่อันดับ 1 ใน 5 จากประเทศจีน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2007 10:22 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฯอ่วม3.3หมื่นล. สอบ'แอร์พอร์ตลิงค์'
Thaipost 15 พฤษภาคม 2550 กองบรรณาธิการ

การรถไฟฯ ตั้งทีมสอบข้อเท็จจริง สาวเหตุทำสัญญามัดตัว ระบุในสัญญาส่งมอบพื้นที่สร้างแอร์พอร์ตลิงค์ภายใน 90 วัน ทั้งที่ สตง.ท้วงติงก่อนเซ็นสัญญา อ่วมแบกภาระรวม 3.3 หมื่นล้านหลังครบสัญญาก่อสร้าง 990 วัน ชงบอร์ดหาทางออก

นายบัญชา คงนคร รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์นี้จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (แอร์พอร์ต เรล ลิงค์) ระยะทาง 28.5 ก.ม.มูลค่า 25,907 ล้านบาท ในประเด็นที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือถึง ร.ฟ.ท.ก่อนลงนามสัญญากับผู้รับเหมา เตือนถึงการที่กำหนดในสัญญาว่าจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับเหมาหลังลงนามสัญญา 90 วัน ว่าทำได้หรือไม่ และหากส่งช้าเกินกำหนดจะมีผลกระทบอย่างไร

"การสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหาบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพราะการกำหนดเวลาส่งมอบพื้นที่ 90 วัน ได้ส่งผลกระทบ เพราะ ร.ฟ.ท. ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทันและเป็นสาเหตุให้ผู้รับเหมาอ้างเป็นเงื่อนไขขอขยายเวลาก่อสร้าง ซึ่งการสอบสวนข้อเท็จจริงครั้งนี้เพื่อปกป้อง
ผลประโยชน์ของ ร.ฟ.ท.และเผื่อไว้หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นในอนาคต" นายบัญชากล่าว

นายนคร จันทศร รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ภายในสัปดาห์นี้ จะมีการประชุมร่วมกันระหว่าง ร.ฟ.ท. บริษัทที่ปรึกษา (CSC) และผู้รับเหมา เพื่อสรุปว่าจะขยายเวลาก่อสร้างโครงการออกไปเท่าไรจากที่ผู้รับเหมาเสนอมา 552 วัน แต่ CSC ประเมินไว้ที่ 398 วัน และ
คณะกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้จะนำข้อสรุปที่ได้นำไปประกอบการพิจารณาเรื่องการทำงานก่อสร้างส่วนที่เหลือต่อเงื่อนไขการเงินหลังจากครบกำหนด 990 วัน ตามสัญญาก่อสร้างเดิม

โดย ณ วันที่ 30 เม.ย.2550 การก่อสร้างรวมคืบหน้า 60.97% จากแผนกำหนด 97.44% โดยส่วนงานโยธามีผลงาน 24.49% ส่วนแผนกำหนดไว้ที่ 47.30% งานไฟฟ้าและเครื่องกลมีผลงาน 36.47% ส่วนแผนกำหนดไว้ที่ 50.14%

นายนครกล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ที่มีนายศิวะ แสงมณี เป็นประธาน ในวันที่ 15 พ.ค.2550 จะเสนอที่ประชุมอนุมัติว่าจ้างผู้บริหารระบบการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ และรถไฟชานเมือง 1 คน และวิศวกรอีก 5 คน เพื่อรองรับและเตรียมความในการตั้งบริษัทลูก ซึ่งจะส่งทั้ง 6 คนไปอมรมความรู้กับผู้ผลิตและเดินรถไฟฟ้าก่อน

นายอารักษ์ ราษฎร์บริหาร หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน (CFO) ร.ฟ.ท.กล่าวว่า หลังสิ้นสุดเวลาก่อสร้าง 990 วัน ตามมติ ครม. ร.ฟ.ท.จะต้องรับภาระรวม 33,024 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้าง 25,907 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมทางเงิน 1,667 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ย 1,450 ล้านบาท ค่าก่อสร้างอุโมงค์ทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ 4,000 ล้านบาท โดยจะเสนอแนวทางดำเนินการด้านการเงินให้บอร์ดพิจารณา.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 15/05/2007 11:18 am    Post subject: Reply with quote

Quote:
นายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ จะเป็นโครงการที่จะก่อสร้างทางรถไฟยกระดับจากบางซื่อมาถึงตลิ่งชัน ระยะทางประมาณ 14.7 กิโลเมตร จะเป็นการขออนุมัติเพื่อให้มีการเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในส่วนของงานโยธา คาดว่า ร.ฟ.ท.น่าจะเปิดประมูลได้ในเดือนมิถุนายน เมื่อโครงสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ ทาง ร.ฟ.ท.จะจัดหาขบวนรถไฟปกติที่ใช้เครื่องดีเซลมาวิ่งบนรางดังกล่าวในช่วงแรก หลังจากนั้นเมื่อมีความพร้อมในภายหลัง จึงจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้า

นายประณตกล่าวว่า ในส่วนของงานโยธาจะมีการออกแบบสำหรับปรับเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ โครงการสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน หากเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าในช่วงแรกของการดำเนินการ จะใช้เงินลงทุนที่สูงและไม่มีความคุ้มทุน ดังนั้น การดำเนินการในช่วงแรก จึงเป็นเรื่องของรัฐบาลและ ร.ฟ.ท. โดยเอกชนเป็นเพียงผู้รับเหมาก่อสร้างในส่วนของงานโยธาเท่านั้น

"โครงการสายสีแดง ทั้งในช่วงของบางซื่อ-ตลิ่งชันที่จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาในเดือนมิถุนายน และช่วงรังสิต-บางซื่อที่ยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงแบบ ในช่วงแรกจะใช้รถไฟธรรมดาวิ่งบนรางทั้งหมด โดยการรถไฟฯจะเป็นผู้จัดหาขบวนรถและเป็นผู้ให้บริการโดยที่ไม่มีเอกชนมาเกี่ยวข้อง โครงการดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาจราจร หลังจากนั้นในช่วงต่อไปที่มีความเหมาะสม จึงจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้าในภายหลัง" นายประณตกล่าว


แล้วเขาคิดกันยังไงอ่ะ ? ที่ว่าช่วงตลิ่งชัน - บางซื่อ จะใช้รถดีเซลรางก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าทีหลัง

- สรุปแล้ว โครงการสายสีแดง ใช้ขนาดรางมาตรฐาน หรือ 1 เมตรครับ ? ถ้าเป็นขนาด 1 เมตร อาจเรียกได้ว่าโครงการสายสีแดง ( กำมะลอ ) น่าจะได้ เพราะเสร็จมานานแล้ว ขาดแต่ขบวนรถมาวิ่งบริการเต็มรูปแบบเท่านั้น

- ถ้าเป็นขนาดรางมาตรฐาน ก็ต้องสั่งรถดีเซลมาใช้ แล้วพอเปลี่ยนเป็นระบบรถไฟฟ้า จะขายต่อให้ประเทศใดไม่ทราบ ? ในเมื่อเพื่อนบ้านใช้รางขนาด 1 เมตรทั้งนั้น

- ถ้าเป็นทางขนาด 1 เมตร หมายความว่าต้องเปลืองงบลงทุน 2 ต่อ ทำไมไม่ทำให้เสร็จในคราวเดียว ? ต้นทุนอาจสูงกว่าในชั้นแรก แต่คุ้มค่ากว่า

- โครงการจะรับกับรถไฟด่วน แอร์พอร์ต ลิ้งค์ หรือไม่ ? ผู้โดยสารต้องเปลี่ยนถ่ายขบวนรถกันโกลาหล ระหว่างตลิ่งชัน - ดอนเมือง มาที่สถานพญาไท ลองคิดดูสิ

- คิดหรือว่า รถดีเซลที่ใช้พนักงานควบคุม สามารถทำเวลาได้ตรงตามกำหนด ? ยังไม่ต้องคิดถึงเรื่องจอดให้ประตูรถตรงกับเส้นที่กำหนดให้ผู้โดยสารยืนรอขึ้นขบวนรถหรอกครับ

ชาวบ้านอย่างผม อ่านแล้วเป็นงงจริงๆ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 12, 13, 14 ... 159, 160, 161  Next
Page 13 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©