RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181771
ทั้งหมด:13493009
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 153, 154, 155 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2021 10:43 am    Post subject: Reply with quote

‘แอร์พอร์ตลิงก์’ 10ปีแห่งความทรงจำ CPสลัดภาพเก่า รีแบรนด์ใหม่ สู่‘รถไฟฟ้าเอราวัน’(AERA1)
ประเสริฐ จารึก
นิวส์มอนิเตอร์
วันที่ 8 กันยายน 2564 - 15:04 น.





หลังเปิดให้บริการมา 1 ทศวรรษ นับจากวันที่ 23 สิงหาคม 2553 แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน (พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ) สายแรกของประเทศไทย

กำลังนับถอยหลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่าน จาก บจ.รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. (รฟฟท.) รัฐวิสาหกิจกระทรวงคมนาคม บริษัทลูกการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ไปสู่ใต้ร่มเงา บจ. เอเชีย เอราวัน ของกลุ่มซี.พี.และพันธมิตร ผู้รับสัมปทานรายใหม่

ในวันที่ 25 ตุลาคม 2564 รถไฟฟ้าสายเก่า ภายใต้เจ้าของใหม่ จะออกวิ่งวันแรกพร้อมชื่อใหม่ “รถไฟฟ้าเอราวัน” (AERA 1) หมายถึง “ยุคสมัย”

เป็นการนับหนึ่งของ บจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ยักษ์ธุรกิจแถวหน้าของประเทศได้ขยายไลน์ธุรกิจเข้าสู่ระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่

นับจากจับปากกาเซ็นสัญญาร่วมทุนรับสัมปทาน 50 ปี ก่อสร้างและเดินรถโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562

ล่าสุดเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็นการเอาฤกษ์เอาชัยจาก บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน เป็น บจ.เอเชียเอราวัน (ASIA ERA ONE) เพื่อเริ่มต้นก้าวสำคัญกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้า

กลับมาดู “แอร์พอร์ตเรลลิงก์” เมื่อได้เอกชนรายใหญ่เข้ามาบริหารย่อมเป็นที่คาดหวังของผู้ใช้บริการ กับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ จะเกิดขึ้นนับจากนี้

เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่า 10 ปี ที่แอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดบริการ ด้วยสไตล์การทำงานแบบราชการ มีสารพัดปัญหาที่ตามมา ทำให้เปิดบริการท่ามกลางเสียงสะท้อนที่หลากหลาย ในสไตล์ “เปิดไป บ่นไป ปรับไป”

ขณะที่การใช้ประโยชน์ดูเหมือน “ผิดคอนเซ็ปต์” ตั้งแต่แรกเริ่ม อย่างรถสาย Express Line เป็นรถด่วน จะยิงตรงจากต้นทางมักกะสันมีจุดเช็กอินและโหลดกระเป๋ามุ่งหน้าสนามสุวรรณภูมิ แต่เพราะไม่ตอบโจทย์ คนใช้น้อย จึงยกเลิกและปรับรถ 4 ขบวน เป็นสาย City Line ให้บริการทุกสถานีแทน

แม้จะปรับรถด่วนมาวิ่งเสริม แต่รถมีเพียง 9 ขบวน จึงเกิดปรากฏการณ์ “รถไม่พอ รอนาน” ด้วยรถมีน้อย ถูกใช้งานหนัก ทำให้ขัดข้อง ต้องเข้าโรงซ่อมบ่อยครั้ง ส่งผลกระทบต่อความถี่การให้บริการ

ทำให้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เสียงสะท้อนจึงมีเสียงติมากกว่าชม เมื่อเปลี่ยนมือไปสู่เอกชน แม้จะเป็นหน้าใหม่ในวงการรถไฟฟ้า แต่ด้วยชื่อชั้นของ “ซีพี” จึงเป็นที่จับตาจะมาพลิกโฉมรถไฟฟ้าสายนี้ให้แจ่มว้าว

เสียงจากผู้โดยสาร เชื่อมือ‘ซีพี’
ขอเพิ่มห้องน้ำ-ไฟฟ้าส่องสว่างในสถานี

จากการสอบถามผู้ที่ใช้บริการ ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกัน อยากเห็นการบริการที่ดียิ่งขึ้น

“ปนัดดา” ข้าราชการตำรวจ วัย 57 ปี กล่าวว่า อยู่บ้านทับช้าง ต้องเข้ามาทำงานที่ปทุมวัน จึงใช้บริการแอร์พอร์ตเรลลิงก์บ่อย ขับรถส่วนตัวจอดด้านข้างมอเตอร์เวย์แล้วขึ้นสกายวอล์กมายังสถานีบ้านทับช้าง นั่งมาลงที่สถานีพญาไท แล้วต่อบีทีเอสไปที่ทำงาน การเดินทางสะดวก รวดเร็ว ควบคุมเวลาได้ ไม่ต้องขับรถฝ่ารถติด แม้ค่าโดยสารจะแพงแต่ถือว่าซื้อเวลา

“โดยภาพรวมถือว่าดี ช่วงนี้โควิด คนใช้น้อย ไม่เหมือนก่อนหน้านี้คนจะเต็มตั้งแต่สุวรรณภูมิมาถึงลาดกระบัง ยังพบปัญหาความล่าช้า รอนานช่วงเร่งด่วน อยากให้เพิ่มความถี่มากขึ้น”

ถามว่ากลุ่มซี.พี.เข้ามาบริหารอยากเห็นการปรับปรุงอะไรบ้าง “ปนัดดา” บอกว่า อยากเห็นการบริการที่ดีและเป็นระเบียบมากกว่าเดิม ขอให้เพิ่มโปรโมชั่นบัตรโดยสาร จากปัจจุบันมีเฉพาะบัตรเติมเงิน

รวมถึงให้ปรับปรุงสถานีให้กันน้ำฝนที่สาดเข้ามา ทำให้พื้นสถานีเปียกลื่น และมีห้องน้ำตามสถานีไว้บริการ ส่วนเสียงประตูมีดังเวลาเปิด-ปิด ก็เริ่มชินแล้ว

“กมลาลักษณ์” พนักงานบริษัท วัย 50 ปี เล่าถึงประสบการณ์ 10 ปี ที่ใช้แอร์พอร์ตเรลลิงก์ตั้งแต่เปิดวันแรก สิ่งที่ได้สัมผัส คือ ที่จอดแล้วจรยังมีน้อย เช่น สถานีหัวหมาก หลัง 6 โมงเช้าจะไม่มีที่จอดแล้ว เพราะจอดได้ไม่กี่ 10 คัน

ขบวนรถยังเสียบ่อย รอนาน แต่ที่ทำให้ประทับใจไม่รู้ลืม เมื่อหลายปีก่อนระบบแอร์ในรถเสียมีน้ำไหลเป็นน้ำตกจากช่องแอร์ลงมาท่วมพื้น จนผู้โดยสารต้องย้ายไปตู้ถัดไปแทน

“ใช้บริการทุกวัน ที่ทำงานอยู่ที่ชิดลม นั่งรถไฟฟ้าจะสะดวกกว่าขับรถไปเอง ขับรถมาจอดสถานีหัวหมาก นั่งมาลงพญาไท ต่อบีทีเอสเข้าไปในเมือง”

“กมลาลักษณ์” ยังบอกอีกว่า อยากให้เอกชนรายใหม่ที่เข้ามาเพิ่มบัตรโดยสารหลายประเภทเป็นทางเลือกให้ผู้โดยสารที่ใช้ประจำและเดินทางบ่อย ลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ตั๋วรายเดือน ราคาต่อเที่ยวจะถูกลง จากปัจจุบันเริ่มต้น 15-45 บาท




“บัตรเติมเงินที่ใช้ปัจจุบันก็ดี ถ้ามีตั๋วเดือนจะยิ่งดี เพราะเสียค่ารถไฟฟ้าถึง 2 สาย แอร์พอร์ตเรลลิงก์ ไป-กลับวันละ 60 บาท ตกเดือนละ 1,800 บาท บีทีเอสอีกเดือนละ 1,800 บาท รวม 2 สาย เป็นค่าเดินทางเดือนละ 3,600 บาทแล้ว”

นอกจากนี้อยากเห็นสถานีสะอาด ระบบอากาศถ่ายเท มีไฟฟ้าสว่าง เพราะเคยใช้บริการ 05.30 น. สถานีมืดมาก และขอให้ติดกันสาดป้องกันฝน เพิ่มบรรยากาศร้านค้าในสถานีให้มากขึ้น

“ซี.พี.เป็นเอกชนรายใหญ่ ต้องคาดหวังอยู่แล้วเมื่อเข้ามาลงทุนจะทำให้บริการดียิ่งขึ้น เพราะเป็นเอกชน น่าจะคล่องตัวมากกว่ารัฐ ถ้ามีสินค้าอุปโภค ในเครือ เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น มาไว้บริการที่สถานีน่าจะดี”

“ธนภูมิ” วัย 29 ปี บอกว่า นั่งแอร์พอร์ตเรลลิงก์ทุกวันจากสถานีพญาไทไปมักกะสัน เพื่อไปทำงานที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จากที่ใช้บริการ ยังมีบางจุดที่ต้องพัฒนาเพิ่ม โดยเฉพาะการบริการ เช่น การเติมเงินในบัตรให้สะดวกมากขึ้น อยากให้เพิ่มความถี่ของรถ เพราะรอนาน มีความไม่แน่ไม่นอนในบางวัน ต้องเผื่อเวลาในการเดินทาง

“ส่วนสภาพรถภายนอกดูทรุดโทรมไปบ้างจากคราบฝุ่น และให้เพิ่มการถ่ายเทอากาศในสถานีเพราะร้อนอบอ้าว และทึบ คาดหวังว่าซี.พี.เข้ามาบริหารคงจะยกระดับการบริการดียิ่งขึ้นไปอีก”

10 ปีภายใต้ชายคาการรถไฟฯ

แล้ว 10 ปีที่ผ่านมา “แอร์พอร์ตเรลลิงก์” ภายใต้ชายคาของ รฟฟท.มีพัฒนาการอะไรบ้าง

“สุเทพ พันธุ์เพ็ง” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รฟฟท. เปิดเผยว่า บริษัทรับจ้าง รฟท.เดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ในช่วงที่ผ่านมาได้ยกระดับการบริการแก่ผู้โดยสาร ตามมาตรฐานสากล นำระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 มาใช้ในการซ่อมบำรุง การปฏิบัติการเดินรถ และให้บริการอย่างต่อเนื่อง จนผ่านการรับรอง ISO 9001 : 2015 ซ่อมบำรุงใหญ่ขบวนรถไฟฟ้า (Overhaul) และซ่อมบำรุงทั่วไป จนกลับมาให้บริการได้ 9 ขบวน ยังปรับเปลี่ยนภายในขบวนรถ Express Line รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น

ด้านงานบริการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก และรักษาความปลอดภัยภายในสถานีตามหลักการ Universal Design หรือการออกแบบเพื่อการใช้งานของคนทุกกลุ่ม มีสร้างลิฟต์ บันไดเลื่อน เพิ่มเติม 140 ตัว สร้างราวกั้นชั้นชานชาลา และยางปิดช่องว่างระหว่างขอบชานชาลา และประตูรถไฟฟ้า

“เปิดบริการมา 10 ปี มีผู้โดยสารกว่า 200 ล้านคน เพิ่มขึ้นทุกปีนับจากปีแรกจนมาช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 80,000-90,000 เที่ยวคนต่อวัน มีรายได้ปีละ 800 ล้านบาท แต่พอมีโควิดลดลง 80% เหลือ 10,000 เที่ยวคนต่อวัน และรายได้ปีละ 300 ล้านบาท”

สำหรับการส่งมอบโครงการให้กลุ่มซี.พี. “สุเทพ” บอกว่า กลุ่มซี.พี.ได้เข้ามาเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ เพื่อเปิดเดินรถวันที่ 25 ตุลาคม 2564 เช่น ระบบซ่อมบำรุง ด้านเทคนิค การเทรนนิ่งพนักงาน 300 คน ที่มีทั้งรับใหม่และพนักงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์เดิม



“ส่วนรถ 9 ขบวน ในปี 2565 จะครบวาระต้องซ่อมบำรุงใหญ่ระยะทาง 3.6 ล้านกิโลเมตร จากนั้นจะมีซ่อมใหญ่ในปีที่ 15 ทางซี.พี.ในช่วงแรกยังไม่ซื้อรถเพิ่ม เพราะทั้ง 9 ขบวน ยังรองรับผู้โดยสารได้ถึง 100,000 เที่ยวคนต่อวัน”

นอกจากนี้กลุ่มซี.พี.ยังได้สิทธิพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีทั้ง 8 สถานี ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ ขณะนี้สัญญาเก่าสิ้นสุดแล้ว ทางกลุ่มซี.พี.สามารถเข้าบริการพื้นที่เช่าต่อได้เลย รวมถึงการบริหารที่จอดรถแต่ละสถานีด้วย



‘บิ๊กซีพี’ทุ่ม 1,700 ล้าน
พลิกโฉมใหม่

แม้ว่าทั่วโลกจะเผชิญสถานการณ์การระบาดโควิด-19 แต่กลุ่มซี.พี.ยืนยันพร้อมรับโอนแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เพื่อให้การเดินรถไร้รอยต่อ

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหาร บจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในเดือนตุลาคมนี้มีความพร้อมที่จะดำเนินการรับช่วงแอร์พอร์ตเรลลิงก์จาก รฟท.ได้แบบไร้รอยต่อตามสัญญา เป็นไปตามแผนงานและกำหนดเวลาที่วางไว้

โดยให้ผู้เชี่ยวชาญการเดินรถและให้บริการระบบราง จากต่างประเทศและในประเทศลงพื้นที่ตรวจสอบระบบอย่างละเอียดและสำรวจความคิดเห็นจากผู้โดยสาร เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาและปรับปรุงแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้พร้อมบริการได้อย่างต่อเนื่องทันทีที่เข้ารับช่วง โดยเฉพาะความปลอดภัยและความสะดวก

“บริษัททุ่มสรรพกำลังในการดำเนินงาน ให้ผู้โดยสารได้สัมผัสกับประสบการณ์การเดินทางที่ดียิ่งขึ้นทันทีที่เราเข้าไปดำเนินงาน ต้องทำให้ดีตั้งแต่ก้าวแรก พร้อมทั้งในแง่ของระบบการเดินรถ ความสะดวกสบายและความปลอดภัย เพราะแอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกในอนาคตด้วย”

“สฤษดิ์ จิณสิทธิ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บจ. รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน หรือ บจ.เอเชียเอราวันในปัจจุบัน กล่าวว่า ตามสัญญาบริษัทจะบริหารจัดการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ตั้งแต่วัน ที่ 25 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป ได้ลงทุนปรับปรุงระบบ และสถานีด้วยงบประมาณ 1,700 ล้านบาท สำหรับดำเนินการล่วงหน้าก่อนรับโอนสิทธิ

ได้แก่ ด้านบุคลากร และถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านระบบและเทคนิค การปรับปรุงสถานีและการให้บริการ เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ความสำคัญกลุ่มผู้พิการ กลุ่มเปราะบาง ด้วยการออกแบบอารยสถาปัตย์ และความพร้อมด้านความปลอดภัย

ยกเครื่องระบบ-ฮาร์ดแวร์ยกแผง

แหล่งข่าวจากกลุ่มซี.พี.กล่าวว่า ช่วงแรกเปิดบริการวันที่ 25 ตุลาคมนี้ จะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะเป็นการปรับปรุงเทคนิคและระบบ เช่น ระบบเบรก อาณัติสัญญาณ ระบบฮาร์ดแวร์ให้ทันสมัยขึ้นไม่ว่าระบบคอมพิวเตอร์ วิทยุสื่อสาร อุปกรณ์ต่างๆ ระบบไฟฟ้า เพราะไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่เปิดมา 10 ปี

ยังได้ซ่อมเครื่องอ่านบัตรโดยสาร ติดป้ายบอกทาง เจาะช่องระบายอากาศในสถานี ปรับปรุงฝ้าเพดาน พื้นด้านล่างสถานีให้รองรับคนผู้พิการ ปรับปรุงรถสาย Express Line 4 ขบวน เป็นตู้บรรทุกกระเป๋ามีอยู่ขบวนละ 1 ตู้ เช่น เพิ่มห่วงจับ ที่นั่ง ให้รับผู้โดยสารได้อีกขบวนละ 200 กว่าคน เป็น 1,000 คนต่อขบวน ในเดือนตุลาคมนี้จะแล้วเสร็จ 1 ขบวน



“เพิ่มห้องน้ำอีก 3 สถานีที่ราชปรารภ ลาดกระบัง และบ้านทับช้าง และกลางเดือนกันยายนนี้ จะเริ่มเปลี่ยนโฉมหน้าบัตรโดยสารเป็น AERA 1 ตามที่รีแบรนด์ชื่อใหม่ ระบบยังคงเป็นระบบเดิมและเก็บค่าโดยสารอัตราเดิม 15-45 บาท แต่ต่อไปจะปรับปรุงระบบใหม่ให้ใช้ร่วมกับ TrueMoney Wallet”

เมื่อถามว่าเสียงประตูที่ดังนั้นจะแก้ไขได้หรือไม่ แหล่งข่าวกล่าวว่า มีวิธีที่จะแก้ไขได้ ต้องใช้งบประมาณอีกก้อนหนึ่ง จะเป็นสเต็ปต่อไปในปีหน้า เช่นเดียวกับการซื้อรถเพิ่มก็ยังต้องรอ ตามแผนจะซื้อพร้อมขบวนรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ระหว่างคัดเลือกระบบ

“ยังมีแผนพัฒนาระบบฟีดเดอร์รับส่งคนเข้ามายังสถานี เชื่อมระบบขนส่งมวลชนอื่น เพราะปัจจุบันการเข้ามาใช้บริการสถานีลำบาก จะสร้างถนนเข้า-ออก ทางเดินเข้าสถานีทุกสถานี เช่น มักกะสัน มีทางเชื่อมใต้ดินกับสายสีน้ำเงินที่สถานีเพชรบุรี”

เป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้สัมผัสในปีนี้ แต่หลังจากนี้จะเห็นการพลิกโฉม “แอร์พอร์ตเรลลิงก์” อย่างครบเครื่องแน่นอน ไม่นานเกินรอ


https://www.facebook.com/groups/164027930945387/posts/807461919935315/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2021 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.เคาะงบปี 65 กว่า 449 ล้าน จ้าง “รฟฟท.” เดินรถและซ่อมบำรุงสายสีแดงผนวก “แอร์พอร์ตลิงก์”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:45 น.
ปรับปรุง: วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:45 น.



บอร์ด รฟท.อนุมัติจ้าง รฟฟท.บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟสายสีแดงรอบปี 2565 ผนวกบริหารเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์จนถึงวันที่ 24 ต.ค. 64 ก่อนโอนให้ ซี.พี.ไฮสปีด 3 สนามบิน รวมวงเงิน 449.96 ล้านบาท

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน วันที่ 29 ก.ย. ได้มีมติอนุมัติจ้าง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) บริหารการเดินรถไฟฟ้าระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์) และให้บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยเป็นการเพิ่มภารกิจให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (รฟฟท.) ในรอบปีงบประมาณ 2565 มีกรอบวงเงินค่าจ้างไม่เกิน 449,962,071 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มโดยให้ถือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงเป็นเกณฑ์

ในส่วนการบริหารการเดินรถรถไฟชานเมืองสายสีแดงนั้นจะเป็นการจ้างปกติแบบปีต่อปี ส่วนจ้างบริหารการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ในรอบนี้ รฟฟท.จะมีภารกิจดำเนินการจนถึงวันที่ 24 ต.ค. 2564 โดยหลังจากนั้นจะโอนโครงการให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

ปัจจุบัน รฟฟท.ได้มีการรับพนักงาน และทำการฝึกอบรมเพื่อเตรียมเปิดให้บริการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงอย่างเป็นทางการในเดือน พ.ย. 2564 เรียบร้อยแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2021 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงก์ ขยายเวลาปิดบริการเวลา 4 ทุ่มเริ่ม 1 ต.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 21:01 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 21:01 น.



นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่าตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (ศบค.) ครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ผ่านมามีมติคลายล็อกดาวน์ ซึ่งกำหนดห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืนจากเดิมกำหนดไว้ 21.00 - 04.00 น. ปรับไปเป็น เวลา 22.00 - 04.00 น. ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับมติข้างต้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นเวลา 05.30 - 22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยรถไฟขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทางคือ สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 21.30 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 22.00 น.

ทั้งนี้ตามที่บริษัท ครอบครัวขนส่ง (2002) จำกัด ผู้ให้บริการเรือโดยสารในคลองแสนแสบได้ออกประกาศหยุดให้บริการในวันที่ 29 กันยายน 2564 เนื่องจากนำพนักงานทั้งหมดเข้ารับวัคซีน เข็มที่ 3 ที่สถานีกลางบางซื่อ และจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 30 กันยายน 2564 นั้น บริษัทฯขอแจ้งประชาสัมพันธ์สำหรับผู้โดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่ใช้บริการเชื่อมต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบโปรดวางแผนการเดินทางของท่านเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกในช่วงดังกล่าว

'แอร์พอร์ต เรล ลิงก์'ปรับเวลาปิดวิ่งรถไฟฟ้าเป็น 22.00 น.รับขยายเวลาเคอร์ฟิว
วันพุธ ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 19.05 น.



เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เปิดเผยว่า ตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (ศบค.) ครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ผ่านมามีมติคลายล็อกดาวน์ ซึ่งกำหนดห้ามประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืนจากเดิมกำหนดไว้ 21.00 - 04.00 น. ปรับไปเป็น เวลา 22.00 - 04.00 น. ตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น

ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับมติข้างต้น บริษัทจึงเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นเวลา 05.30 - 22.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป โดยรถไฟขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทางคือ สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 21.30 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 22.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2021 10:16 pm    Post subject: Reply with quote

สถานีราชปรารภ AERA1 SkyTrain

อีกหนึ่งสถานที่กำลังปรับปรุงเตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
***กลุ่มซีพีลงทุนปรับปรุงบริการของแอร์พอร์ตเรลลิงค์ในหลายส่วน เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในสถานีรถไฟฟ้า ป้ายโฆษณา ตลอดจน การปรับปรุงขบวนรถโดยสารเพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นราว 250-300 คนต่อเที่ยว และยังเตรียมงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบสื่อสาร และระบบอาณัติสัญญาณ ระบบของรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ให้สามารถรองรับระบบไฮสปีดเทรน อีกทั้งเตรียมปรับปรุงทางหลีกของขบวนรถไฟฟ้า ปรับปรุงสถานี จะมีการปรับโฉมในเรื่องของสีตกแต่งภายในอาคารและตัวรถโดยสารและปรับปรุงพื้นที่ทางเดิน ฟุตบาท โดยรอบสถานี
https://www.facebook.com/102531745517120/posts/113431324427162/
https://www.youtube.com/watch?v=jt1D4hvNadM
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2021 12:18 am    Post subject: Reply with quote


อัพเกรดสถานีพญาไท AERA1 SkyTrain เตรียมรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน coming soon!!!
https://www.youtube.com/watch?v=NX-QEA2rlcg
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/10/2021 9:49 am    Post subject: Reply with quote

สถานีมักกะสัน หรือ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง เป็นสถานีรถไฟฟ้าเดียวในประเทศไทยไทยที่เป็น”ชานชาลาโค้ง”และรองรับความยาวรถไฟถึง”20ตู้โดยสาร”!!!
.
สำหรับ ชานชาลา รถด่วน Express Line จะกลับมาเปิดใช้งาน เมื่อ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน
ภายในชานชาลา รถด่วน Express Line จะมีระบบปรับอากาศรองรับ ในชานชาลา และ ระบบปรับอากาศ ในห้องโถงมักกะสัน ระบบปรับอากาศ มีรองรับที่ สถานีสุวรรณภูมิ - สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือสถานีมักกะสัน - สถานีกลางบางซื่อ
.
ส่วน ชานชาลา รถไฟฟ้าชานเมือง City Line ขณะนี้ทาง กลุ่ม บริษัท เอเชีย เอราวัณ จำกัด หรือ CP กรุ๊ป ได้มีการติดตั้งระบบระบายอากาศและปรับปรุงรอบสถานีของ สถานีรายทางแล้ว ก่อนส่งมอบ พื้นที่ 24 ตุลาคม นี้อย่างเป็นทางการ
📷🚅: Toto Chitipat Witee
https://www.facebook.com/groups/164027930945387/posts/823989438282563/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2021 5:23 am    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ต ลิงก์ แจ้งปรับเวลาปิดให้บริการ 23.00 น.เริ่ม 16 ต.ค.นี้

15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:33 น.
รถไฟฟ้า “แอร์พอร์ต เรล ลิงก์” ปรับเวลาปิดให้บริการเป็น 5 ทุ่ม
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
15 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:05 น.

รถไฟฟ้า “แอร์พอร์ตลิงก์” ปรับเวลาปิดให้บริการเป็น 5 ทุ่ม ขบวนสุดท้ายออกจากสถานีพญาไท-สถานีสุวรรณภูมิ 4 ทุ่มครึ่ง สอดรับมาตรการลดเวลาเคอร์ฟิว


15 ต.ค.2574-รายงานข่าวจากบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แจ้งว่าตามมติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (ศบค.) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา ลดเวลากำหนดห้ามให้ประชาชนออกนอกเคหสถานในเวลากลางคืน หรือเคอร์ฟิวจากเดิมกำหนดไว้ เวลา 22.00 - 04.00 น. ปรับเป็นเวลา 23.00 – 03.00 น.

อย่างไรก็ตามดังนั้นบริษัทจึงเปลี่ยนแปลงเวลาให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เป็นเวลา 05.30 - 23.00 น. ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะมีการประกาศแจ้งเปลี่ยนแปลง โดยรถไฟขบวนสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทางคือ สถานีพญาไท และสถานีสุวรรณภูมิ เวลา 22.30 น. และจะถึงสถานีปลายทางเวลา 23.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/10/2021 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.เคาะเยียวยาซี.พี.เลื่อนจ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล.ชี้ผลกระทบโควิดทำผู้โดยสารต่ำเป้า เหตุสุดวิสัย
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันอังคาร ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 17:01 น.

ครม.เห็นชอบ ซี.พี.เลื่อนจ่ายค่า”แอร์พอร์ตเรลลิงก์” 1.06 หมื่นล้านจาก 24 ต.ค. 64 ออกไปก่อน ชี้เหตุสุดวิสัย"โควิด"ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามคาดการณ์ มอบรฟท.-อีอีซี เร่งเจราแก้สัญญาร่วมทุน ยันไม่กระทบบริการประชาชน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 19 ต.ค. มีมติรับทราบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ตามมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) และมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินงานโดยเร็ว เพื่อให้การบริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก

โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินมีปัญหา เรื่องการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องจากผลกระทบสถานการณ์โควิด-19 โดยทาง บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ซึ่งเป็นคู่สัญญา มีหนังสือหารือผลกระทบอันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการฯ เพื่อปรับปรุงข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งภาวะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นผลกระทบเกิดขึ้นจริงจากเหตุสุดวิสัย โดยขอให้ภาครัฐพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยา โดยขอขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จนกว่าจะได้ข้อยุติในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน และกำหนดมาตรการเยียวยาอื่นได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิธีการชำระเงินร่วมลงทุนโครงการฯ และการขยายระยะเวลาโครงการฯ

ทั้งนี้คณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เห็นว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุการณ์ที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจคาดการณ์ได้ก่อนลงนามในสัญญา และมีผลกระทบเกิดขึ้นจริง จึงมีมติเห็นชอบหลักการเยียวยาผลกระทบของโควิด-19 ในส่วนของค่าสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ แก่เอกชนคู่สัญญาและแนวทางดำเนินการระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ



อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกำกับฯ เห็นด้วยกับหลักการ และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เรื่องที่เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามสัญญาร่วมลงทุนฯที่จะถึงกำหนดชำระในวันที่ 24 ต.ค. 2564 เนื่องจากโควิด-19 นั้น ไม่ถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเหตุผ่อนผันในการไม่ชำระเงิน ดังนั้นกพอ.จึงได้มอบหมายให้รฟท. สกพอ. และคณะกรรมการกำกับดูแลฯพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหา ให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ขอให้ดำเนินการตามกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนก่อนนำเสนอครม.

โดยตามเงื่อนไขสัญญาร่วมทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะเวลาสัญญา 50 ปี มูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท กำหนดว่า ในวันที่ 24 ต.ค. 2564 หรือ 2 ปี หลังลงนามสัญญา บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือ ซี.พี.และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งได้ปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะต้องชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงก์ จำนวน 10,671.090 ล้านบาทให้ รฟท. เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในวันที่ 25 ต.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2021 12:18 am    Post subject: Reply with quote

กรมรางถกส่งต่อบริการ”แอร์พอร์ตลิงก์”วางขั้นตอนเปลี่ยนบัตรโดยสารใหม่
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:43 น.
ปรับปรุง: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 21:43 น.


กรมการขนส่งทางราง เตรียมความพร้อมถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรลลิงก์
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
เผยแพร่: วันพุธ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:39 น.


กรมราง ถก”เอเชีย เอรา วัน”เตรียมพร้อมถ่ายโอนบริการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ เปิดนำบัตรโดยสารเก่าเปลี่ยนเป็นบัตรใหม่ ภายใน6 ด.เริ่ม 25 ต.ค. โอนมูลค่าในบัตรเต็มจำนวน กรณี บัตรชำรุด ไม่ได้เงินมัดจำคืน

วันที่ 19 ตุลาคม 2564 นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เป็นประธาน ประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรลลิงก์ โดยผู้แทน บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1) ซึ่งเป็นเอกชนที่ได้รับสิทธิในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (รถไฟฟ้า ARL) ได้เตรียมความพร้อมการถ่ายโอนธุรกิจแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการให้บริการ ด้านความปลอดภัย ด้านการบริการลูกค้า ด้านพนักงาน ด้านบัตรโดยสาร เป็นต้น เพื่อให้การให้บริการของรถไฟฟ้า ARL เป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการและไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินงานด้านบัตรโดยสาร เพื่อให้ผู้รับบริการรถไฟฟ้า ARL ได้รับความสะดวกในการเดินทาง ได้มีการกำหนดแนวทางในช่วงการถ่ายโอนการให้บริการ ดังนี้

1. สามารถเปลี่ยนบัตรโดยสารของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (บัตรเดิม) เป็นบัตรโดยสารของเอกชนที่ได้รับสิทธิ (บัตรใหม่) ได้ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2564 - 30 เมษายน 2565 (ประมาณ 6 เดือน)

2. บัตรเดิมที่ผู้โดยสารนำมาเปลี่ยนเป็นบัตรใหม่จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมการออกบัตรซ้ำซ้อน ทั้งนี้ หากบัตรชำรุด บิด หัก เจาะ และงอ จะไม่ได้รับเงินค่ามัดจำบัตรคืนตามเงื่อนไขของการออกบัตรที่กำหนดไว้

3. มูลค่าการเดินทางหรือวงเงินในบัตรเดิมของผู้โดยสารจะถูกโอนไปเป็นวงเงินในบัตรใหม่ที่ออกใหม่ให้กับผู้โดยสาร

4. อัตราค่าโดยสารกลุ่มบุคคลพิเศษ เช่น เด็ก คนชรา และผู้พิการที่จะได้รับยกเว้นค่าโดยสารเพื่อรองรับนโยบายการเข้าถึงและใช้ประโยชน์บริการขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม อัตราค่าโดยสารสำหรับกลุ่มบุคคลดังกล่าวจะกำหนดตามอัตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

5. การออกบัตรโดยสารของเอกชนที่ได้รับสิทธิ (บัตรใหม่) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่ามัดจำการออกบัตร และวงเงินค่าเดินทางที่ต้องเติมในบัตรครั้งแรกเท่ากับอัตราเดิม

ทั้งนี้ ขร. ขอให้ทาง AERA1 ที่ได้รับสิทธิให้บริการเดินรถไฟฟ้า ARL เร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารได้รับทราบถึงขั้นตอนวิธีการและเงื่อนไขของการเปลี่ยนบัตรโดยสาร เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการได้รับผลกระทบ ต่อไป

ผู้โดยสารถูกใจสิ่งนี้! คลอด “สิทธิ์บัตรรถไฟฟ้า ARL”
*25ต.ค.เปลี่ยนผ่านสู่”เอเชียเอราวัน”พร้อมบริการ
*ขร.ย้ำใบเก่าใช้ได้อีก6เดือน/ไม่เสียค่าธรรมเนียม
*โอนวงเงินบัตรใหม่/เด็ก-สูงอายุ-ผู้พิการได้ส่วนลด
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3027265220828309
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/10/2021 3:19 pm    Post subject: Reply with quote

ขอผ่อน10งวด หมื่นล้าน รฟท.เซ็น MOUซีพีเลื่อนจ่ายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์
ฐานเศรษฐกิจ หน้าแรก เศรษฐกิจ Mega Project
21 ต.ค. 2564 เวลา 7:39 น.

โควิดทำพิษ ! รฟท. รื้อสัญญาร่วมทุน แอร์พอร์ตลิงค์ตามข้อเสนอคู่สัญญา เซ็น MOU ซีพี หรือเอเชีย เอรา วัน จ่ายค่าโอนสิทธิ์ในอีก3เดือนข้างหน้าจาก 24 ต.ค.นี้ พร้อมพิจารณา เงื่อนไขแบ่งชำระ 10 งวด 10,671ล้าน

มติที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.) ที่มีนายจิรุตม์ วิศาลจิตร เป็นประธาน เมื่อวันที่ 18ตุลาคม 2564 ขยายเวลาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) โอนสิทธิ์การเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ออกไปอีก3เดือน จากเดิมวันที่24ตุลาคม พร้อมลงนามบันทึกความเข้าใจหรือMOUต่อไป

โดยให้เหตุผลว่า จากสถานการณ์โควิด-19เอกชนคู่สัญญา เสนอขอผ่อนชำระค่าแอร์พอร์เรลลิงค์ แต่ประสงค์จะเข้าดำเนินการบริหารโครงการในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ตามเงื่อนไขสัญญา เมื่อยังไม่มีการชำระค่าโอนสิทธิ์ จึงต้องถือว่า รฟท.ยังเป็นเจ้าของแอร์พอร์ตเรลลิงค์ต่อไป โดยจะให้ เอเชีย เอรา วันเข้ามาดำเนินการได้ก่อน สามารถส่งพนักงานเข้ามาดำเนินการแทน บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ซึ่งจะต้องโยกย้ายบุคลากรไปให้บริการที่รถไฟชานเมืองสายสีแดงตามแผน ส่วนการให้บริการจะไม่มีผลกระทบต่อประชาชน

แหล่งข่าวจากรฟท. กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ว่า จะเร่งลงนาม MOU ร่วมกันก่อน ส่วนการแก้ไขสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น เนื่องจากมีกระบวนการที่ต้องดำเนินการตามระเบียบและข้อกฎหมาย คือต้องเสนอร่างสัญญาที่มีการแก้ไขให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ รวมถึงผ่านความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กฤษฎีกา และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ”

จากเงื่อนไขสัญญาร่วมทุนฯ ที่ตกลงจะจ่ายค่าแอร์พอร์เรลลิงค์จำนวน 10,671.090 ล้านบาทเป็นก้อนเดียวในวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่ง กลุ่มซีพีได้เจรจาขอเลื่อนชำระ พร้อมกับแบ่งชำระ 10 งวด (10 ปี) ซึ่งคณะกรรมการบริหารสัญญาโครงการฯ ได้มีการเจรจากับบริษัทฯ แบ่งชำระเหลือ 6 งวด (6 ปี) โดยปีแรกจ่ายในสัดส่วน 5% ปีที่ 2 จ่าย 7% ปีที่ 3 จ่าย 10% ปีที่ 4 จ่าย 10% ปีที่ 5 จ่าย 10% ปีที่ 6 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดประมาณ 67.7% ซึ่งกรณีแบ่งชำระเอกชนต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม โดยค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) จะอยู่ที่ 11,705.463 ล้านบาท เพิ่มจากวงเงินเดิม 1,034.373 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หลังจากเซ็น MOU แล้วจะมีการเจรจากันอีก ซึ่งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนจำนวนงวด รวมถึงการเริ่มจ่ายงวดแรกเมื่อใด โดยจะประเมินโควิดด้วยเนื่องจากจะส่งผลต่อจำนวนผู้โดยสารที่จะกลับเป็นปกติ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะทาง220กิโลเมตร มูลค่า 224,544 ล้านบาท คู่สัญญาร่วมลงทุนรฟท.50ปี คือ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด กลุ่มซีพีและพันธมิตร) ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC), บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด จะต้องชำระเงินค่าโอนสิทธิ์แอร์พอร์ตเรลลิงค์ จำนวน 10,671.090 ล้านบาท ให้ รฟท.วันที่ 24 ต.ค. 2564 หรือ 2 ปีหลังลงนามสัญญา เพื่อเข้าบริหารการเดินรถแอร์พอร์ตเรลลิงค์


-------


ซีพีอ่วม วิกฤตโควิด รัฐ บีบรับดำเนินการ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในวิกฤตผู้โดยสารลดฮวบ 80%
เลื่อนวันส่งมอบได้ แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มกว่าพันล้าน
สยามรัฐออนไลน์ 23 ตุลาคม 2564 13:07 น. เศรษฐกิจ

ในช่วงวิกฤตโควิด โครงการขนาดใหญ่ได้รับผลกระทบกันทั่วโลก โดยคาดการณ์ว่าบริษัทต่างๆ จะเริ่มทยอยให้พนักงานกลับมาทำงานบางส่วน ซึ่งกว่าจะกลับมาทำงานแบบเดิม 100% จะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ซึ่งผลกระทบเรื่องจำนวนผู้โดยสาร น้อยกว่าการคาดการณ์ถือเป็นความหนักใจของโครงการรัฐร่วมเอกชน (PPP) ที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหา และรัฐต้องไม่เสียประโยชน์ ทำให้บริษัท เอเชีย เอรา วัน และภาครัฐต้องร่วมกันหาทางออก ซึ่งล่าสุด โฆษกรัฐบาลแจ้งมติคณะรัฐมนตรีให้ 3 ฝ่ายหารือหาทางออกร่วมกัน แต่คาดการณ์ว่าซีพีอ่วมแน่ เพราะถูกบีบให้จ่ายดอกเบี้ย โดยบ. เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา การรถไฟแห่งประเทศไทยโครงการร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ร่วมหาทางออกกรณีสิทธิการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ในช่วงเวลาที่ผู้โดยสารลดวูบกว่า 80% จากปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 จนต้องขอความเห็นใจการเยียวยาจากภาครัฐนั้น แต่ก็ต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มกว่าพันล้านบาท

ตรวจสอบกลับไปถึงข้อมูลผู้โดยสารในช่วงก่อนและหลังโควิด พบว่ากรมการขนส่งทางราง เคยเปิดเผยข้อมูลปริมาณผู้โดยสารรถไฟฟ้าทุกระบบเดือน เม.ย. วูบเหลือ 527,835 คน ซึ่งแอร์พอร์ต เรลลิงก์หนักสุดเหลือเพียง 2.5 หมื่นคน จากวันละกว่า 70,000 - 90,000 คนต่อวันในช่วงก่อนโควิด 19 ระบาด

ผู้สื่อข่าวยังรายงานอีกว่าในช่วงที่สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มเข้ามาระบาดประเทศไทยตั้งแต่ช่วงเดือน ม.ค. 2563 ส่งผลให้การใช้บริการระบบขนส่งทางรางมีปริมาณน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าจากข้อมูลผู้โดยสาร แอร์พอร์ต เรลลิงก์ช่วงระหว่างวันเดือน มค. - กย. 2564 ซึ่งมีการระบาดของ โควิด-19 ละลอกใหม่พบว่า ในเดือนสิงหาคม มีสถิติผู้โดยสารต่ำที่สุดเป็นประวัติการเหลือเพียงเฉลี่ย 9,356 คนต่อวัน ก่อนจะค่อยๆ กลับมาดีขึ้นเป็นเฉลี่ยวันละ 14,644 ในเดือนกันยายน จึงคาดว่าเอกชนคงคำนวนแล้วว่างานนี้เจ็บหนักเพราะเรียกว่าเข้ามารับก็ขาดทุนทันที คิดกันเล่นหากจำนวนผู้โดยสารยังเป็นแบบนี้ต่อไป ซีพีคงต้องใช้เวลาเกิน 50 ปี กว่าคืนทุนค่าสิทธิ์ แต่ก็ต้องทำใจทำตามสัญญาไม่อย่างนั้นคนที่เดือดร้อนที่สุดจะเป็นประชาชนตาดำๆ ว่ากันว่าซีพีจึงยอมกลืนเลือด

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าแม้รัฐบาลจะยอมยืดหยุ่นให้ผ่อนชำระ และปรับปรุงแก้ไขสัญญาตามข่าวที่เสนอไปแล้ว แหล่งข่าววงในต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่างานนี้ไม่ฟรี รัฐรักษาผลประโยชน์เต็มที่ เพราะสั่งซีพีจ่ายก่อน 10% ประมาณ 1.6 พันล้าน ไม่พอหากมีการแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ เพิ่มเติม ซีพีก็ต้อมยอมแลกกับค่าปรับมหาศาลกว่า 1 พันล้าน

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ซีพี จะทำอย่างไรต่อไป คิดหนักทั้งค่าปรับ เงินมัดจำ และต้องรักษาสัญญาเดินรถตามกำหนด 25 ตค. นี่ยังไม่นับรวมถึงความกดดันว่าต้องทำให้ได้ ให้ดี และดีกว่าเดิม

สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ภายใต้การให้บริการเดินรถโดย บริษัท เอเชีย เอรา วัน จะยังคงเดินหน้าให้บริการผู้โดยสารมี 8 สถานีบริการประกอบไปด้วย สถานีพญาไท สถานีปราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง และสถานีสถานีสุวรรณภูมิ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30 – 24.00 (ยกเว้นในช่วงปฏิบัติตามประกาศศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เปิดดำเนินการถึง 23.00) มีค่าโดยสารระหว่าง 15 – 45 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 153, 154, 155 ... 159, 160, 161  Next
Page 154 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©