Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179783
ทั้งหมด:13491015
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2007 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูดรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ไม่ง่าย...อย่างที่คิด

รายงาน
ประชาชาติธุรกิจ 25-27 มกราคม 2550
Click on the image for full size
Click on the image for full size

น่าสนใจที่ใช้ราง 1 เมตร ... พอใช้ รถดีซลรางวิ่งแก้ขัดได้ก่อนติดระบบไฟฟ้าน่อ

อ่านะ มี 4 สถานี คือ ที่บางซื่อ บางซ่อน (สำหรับเด็กย่านเตาปูน) บางบำหรุ (ให้คนฝั่งธนบุรี และนครปฐมเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าได้ที่นี่) และ ตลิ่งชัน (สำหรับผู้ที่ไปสถานีธนบุรี และ ผู้จะต่อรถไฟไปเมืองกาญจนบุรี)


ความตั้งใจของรัฐบาลชั่วคราว ที่จะ ประเดิมเปิดประกวดราคาเมกะ โปรเจ็กต์รถไฟฟ้าสีแดง เส้นทางบางซื่อ-ตลิ่งชัน เป็นสายแรกในเดือนมีนาคม 2550 นี้ เพื่อให้ผลงานปรากฏต่อสายตาประชาชน แต่ทว่าประเมินแล้วได้แต่บอกว่า ...ยากยิ่งนัก ที่จะเป็นไปได้

ข้อมูลจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หน่วยงานต้นสังกัดที่ศึกษาลงลึกรายละเอียด พบว่าไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ คำถามคือ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ในกรอบเวลาที่รัฐบาลกำหนด

ยิ่งผล ยิ่งดูห่างไกลความเป็นจริง น่าจะไม่ทันกำหนดกรอบเวลาที่รัฐบาลวางไว้

บอร์ดสั่งทบทวนใหม่

มติคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฯครั้งล่าสุด ประชุมเมื่อวันที่ 17 มกราคมที่ผ่านมา "ตีกลับ" หรือสั่งทบทวนรายละเอียดทั้งหมดที่การรถไฟฯเสนอ โดยให้คณะกรรมการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของการรถไฟฯ ซึ่งมี "สมเจตน์ ทิณพงษ์" ที่ปรึกษาบอร์ดการรถไฟฯ เป็นประธาน พิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด ก่อนที่จะนำเสนอกลับมาให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง

ประเด็นที่บอร์ดต้องการความชัดเจน คือ 1.ความชัดเจนทางด้านกฎหมาย โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการเข้าร่วมการงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 2.แหล่งเงินลงทุนในโครงการ 3.ด้านสิ่งแวดล้อม และ 4.ผลประโยชน์ของโครงการและความจำเป็นเร่งด่วน

"ผมเข้าใจว่าโครงการเร่งด่วน แต่ต้องดูรายละเอียดอย่างรอบคอบ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่ให้ไว้เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 ปัญหาคือเปเปอร์ที่การรถไฟฯเสนอขึ้นมาให้นั้น รายละเอียดยังไม่ครบถ้วน ซึ่งก็ได้สั่งตั้งกรรมการชุดใหญ่ขึ้นมาดูแลเป็นพิเศษแล้ว ผมได้มอบนโยบายด้วยว่าพยายามทำงานให้ทันต้นเดือนกุมภาพันธ์นี้" คำอธิบายของ "ศิวะ แสงมณี" ประธานบอร์ดการรถไฟฯ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"

ขั้นตอนคือ เมื่อ "คณะกรรมการบริหารโครงการลงทุนขนาดใหญ่" ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ชุดที่มี "สมเจตน์ ทิณพงษ์" นั่งหัวโต๊ะ เสนอเปเปอร์รายละเอียดโครงการขึ้นมาใหม่ หากบอร์ดการรถไฟฯเห็นชอบก็จะได้นำเสนอต่อไปยังกระทรวงคมนาคม และถ้าราบรื่นก็จะไปจบที่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นด่านสุดท้ายในระดับนโยบาย

รายละเอียดขาดเพียบ

จากการตรวจสอบข้อมูลเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ปรากฏว่ายังมีขอบเขตงานสำคัญบางรายการข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น "จุดสิ้นสุด" โครงการ ที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสถานีบางซื่อใหม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น การเชื่อมต่อนี้จะเป็นงานส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งจะเปิดประกวดราคาไม่พร้อมกัน

ประเด็นของ "กรอบวงเงินลงทุน" ตามมติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 อนุมัติวงเงินลงทุน 11,868 ล้านบาท โดยรายละเอียดงานประกอบด้วย งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่ง งานระบบรถไฟฟ้า

กรอบการลงทุนยังไม่ได้รวมค่าตัวรถไฟฟ้า กับยังไม่รวมการก่อสร้างถนนเลียบทางรถไฟ เนื่องจากตลอดเส้นทางของโครงการออกแบบการก่อสร้างเป็น 2 ส่วน คือ ทางยกระดับประมาณ 7.2 กิโลเมตร และทางระดับเสมอพื้นดินอีก 7.8 กิโลเมตร ผลลัพธ์คือ ประชาชนที่อยู่อาศัยตลอดแนวรถไฟฟ้าจะไม่สามารถสัญจรข้ามทางรถไฟได้ เนื่องจากไม่มีการสร้างสะพานถนนข้ามทางรถไฟ

นอกจากนี้ ยังไม่มีแบบรายละเอียดของศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับระบบรถไฟฟ้าหรือเดโป้ ศูนย์ควบคุมการเดินรถและสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อย และไม่มีแม้แต่รายละเอียดจำนวนตู้รถไฟฟ้าสำหรับการเดินรถ

ยังไม่ตอกเสาเข็ม...งบฯโป่งพันล้าน

ประเด็นที่น่าเสียวสันหลังยิ่งกว่าข้อมูลไม่ครบถ้วนคือ เรื่องของ "งบฯบานปลาย" เพราะข้อมูลชุดแรกที่ถูกตีกลับมานั้น บอร์ดพบว่างบฯก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 1 พันล้านบาท จาก 11,868 ล้านบาท เพิ่มเป็น 12,806 ล้านบาท เหตุผลมาจากมี "เนื้องาน" เพิ่มขึ้น คือ บวกค่าก่อสร้างทางโลคอลโรดด้านข้างทั้ง 2 ข้าง

"การรถไฟฯกำลังดูว่าจำเป็นต้องเป็นผู้ลงทุนเองหรือไม่ หรือจะมอบให้ กทม.เป็นผู้ลงทุน เพราะตอนนี้ทาง กทม.ก็ก่อสร้างอยู่แล้วบางส่วน" แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าว

ตามข้อมูลพบด้วยว่า วงเงินใหม่ 12,806 ล้านบาท ไม่รวมงานระบบรถไฟฟ้า ประกอบด้วย ค่ารื้อย้าย 1,758 ล้านบาท ค่าควบคุมงาน ก่อสร้าง 269 ล้านบาท งานโยธาและโครงสร้างทางวิ่ง 7,274 ล้านบาท มี 3 สถานี คือ บางซ่อน บางบำหรุ และตลิ่งชัน งานระบบราง 1,397 ล้านบาท และงานถนนเลียบทางรถไฟ 2,108 ล้านบาท

ด้านแหล่งเงินทุน การรถไฟฯเสนอให้สำนัก งบประมาณจัดสรรงบประมาณรายปีให้ กรณีจัดหางบฯไม่ได้ การรถไฟฯจะกู้เงินเอง โดยกระทรวงการคลังจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสม และค้ำประกันเงินกู้ให้ แน่นอนว่ารัฐบาลต้องเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยและเงินต้นทั้งหมด รวมทั้ง ค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน ในขณะที่สำนักงบประมาณจะต้องจัดสรรงบประมาณให้การรถไฟฯเป็นรายปี เพื่อชำระภาระหนี้ทั้งหมด

"ตอนนี้ทางคลังกำลังดูแหล่งเงินกู้ให้อยู่ แต่ปีงบประมาณ 2549 เราได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วสำหรับดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 1,102 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จำนวน 503 ล้านบาท รวมทั้งได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีถึงเดือนมีนาคม 2550 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ล่าสุดการรถไฟฯเสนอขอเปลี่ยนแปลงการใช้งบประมาณ โดยโยกงบฯช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่อยู่ระหว่างออกแบบมาใช้ก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันไปก่อน" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับปัญหาในการเชื่อมต่อระบบและการใช้สถานีบางซื่อใหม่ร่วมกับช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหา การรถไฟฯมีแนวคิดจะเปิดประกวดราคาช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เฉพาะงานโยธาและระบบรางก่อน ส่วนงานระบบเครื่องกล ไฟฟ้า เช่น ระบบจ่ายกำลังขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบโทรคมนาคม ระบบควบคุมปฏิบัติการเดินรถและระบบจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ จะนำไปรวมกับช่วงบางซื่อ-รังสิต เพื่อให้เป็นระบบเดียวกันทั้ง 2 ช่วง

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดยังไม่ใช่บทสรุปสุดท้าย เพราะบอร์ดยังไม่ได้ "เซย์เยส" ไปกับแนวทางข้อเสนอของการรถไฟฯ

หวั่นสะดุดตอ "ปัญหาชุมชนบุกรุก"

นอกจากเรื่องรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ที่ยังเป็นปัญหาอยู่ ยังมีอุปสรรคทะมึนขวางหน้าก็คือเรื่องของการ "เวนคืน-รื้อย้าย" โดยการรถไฟฯต้องรื้อย้ายชุมชนบุกรุกที่ดินลอดแนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้า ระยะทาง 15 กิโลเมตร เพื่อเคลียร์พื้นที่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง เคสแบบนี้การรถไฟฯได้รับบทเรียนมาแล้วจากโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ว่ายากเย็นแสนเข็ญแค่ไหน

"รถไฟฟ้าสายสีแดงนี้คงต้องเคลียร์พื้นที่ให้เสร็จก่อนถึงจะส่งมอบให้ผู้รับเหมาเข้าไปก่อสร้างได้ เท่าที่ประเมินดูแล้วคงจะเป็นปัญหาใหญ่ เพราะมีชุมชนใหญ่ๆ ที่ต้องเข้าไปบริหารจัดการ เช่น ช่วงบางซ่อน มีคนอาศัยอยู่จำนวนมาก การรถไฟฯยังไม่มั่นใจว่าจะเคลียร์ได้หรือเปล่า อาจจะต้องเสียเวลาถ้าหากชาวบ้านไม่ยอมรับค่าชดเชยที่เราเสนอไป" แหล่งข่าวกล่าว

สารพัดสารพันปัญหาขนาดนี้ ไม่รู้ว่ารัฐบาลจะปรับแผนและวิธีการยังไง เพื่อให้ทุกอย่างรวดเร็วและเป็นไปตามกรอบเวลาที่ตั้งธงไว้
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/01/2007 10:36 am    Post subject: Reply with quote

เสนอแผนฯ ของบประมาณนับพันล้านบาท แต่ไม่มีข้อมูลรายละเอียดในมือ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานไหนๆ โดนตีกลับมาทั้งสิ้นแหละ...

โลคัลโรด ไปเกี่ยวอะไรด้วย ? เพราะไม่ใช่หน้าที่ของการรถไฟฯ ที่จะลงทุนสร้าง ต้องโยนให้ กทม. ผู้รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินการสิครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2007 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ทางรถไฟด่วนสนามบิน ใกล้สถานีราชปรารภ เมื่อ 31 มกราคม 2550 ถ่ายโดย Barth
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2007 10:22 am    Post subject: Reply with quote

ออกบอนด์ 1.3 หมื่นล้านสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง - เข้า ครม.วันนี้

โดย ผู้จัดการรายวัน 6 กุมภาพันธ์ 2550 09:26 น.

ผู้จัดการรายวัน - สบน.เตรียมออกพันธบัตร 1.3 หมื่นล้านบาท เดินหน้าสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงแทนการกู้เงินเจบิก ยื่นยันไม่กระทบตลาดตราสารหนี้ พร้อมเชื่อมั่นแบงก์ชาติจะไม่ออกมาตรการใดมาช็อคตลาดอีก เผยคมนาคมเสนอ ครม.อนุมัติวันนี้ ขณะที่การก่อสร้างสายสีน้ำเงินและสายสีเขียวจะใช้เงินกู้เจบิก

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ( สบน.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) วันนี้ ( 6 ก.พ.) กระทรวงคมนาคมจะทำการเสนอให้ ครม. อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.) ดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ซึ่งที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำการประกาศแล้วว่าจะใช้เงินลงทุนจากการออกพันธบัตรกู้เงินในประเทศแทน มาดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายดังกล่าวในระยะแรก แทนการกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ( เจบิก )

ทั้งนี้ สบน. จะทำการพิจารณาดำเนินการออกพันธบัตรวงเงินประมาณ 13,000 ล้านบาท เพื่อนำมาดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายดังกล่าวนั้น หากการออกพันธบัตรดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกจะไม่ทำให้สภาพคล่องในตลาดพันธบัตรตึงตัวแต่อย่างใด เพราะเชื่อว่าขณะนี้ ตลาดยังมีสภาพคล่องเหลืออยู่มาก และ สบน.ก็จะไม่ต้องรับภาระเรื่องอัตราดอกเบี้ยมากนัก เนื่องจากขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยเริ่มมีแนวโน้มจะลดลงแล้ว และหวังว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท.) จะไม่ออกมาตรการใดๆ ออกมาช็อกตลาดอีกด้วย

“ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ทำการเตรียมพร้อมเรื่องแหล่งเงินกู้เพื่อนำมาดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 5 สายไว้เรียบร้อยหมดแล้ว ดังนั้น เรื่องของเงินทุนไม่มีปัญหาแน่ ส่วนของสายสีแดงนั้น น่าจะเป็นการออกพันธบัตรกู้เงินในประเทศอย่างเดียว เพราะ ครม. ต้องการเริ่มประมูลตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ ซึ่งช่วงเวลานั้น ทาง เจบิค คงยังพิจารณาการขอกู้เงินไม่เสร็จแน่นอน และคาดว่าโครงการดังกล่าวนั้น จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างหลังจากเดือน กันยายน 2550 " นายพงษ์ภาณุ กล่าว

ส่วนการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 2 สายที่เหลือนั้น คาดว่า จะเป็นการนำเงินกู้จาก เจบิก มาดำเนินการก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่ หลังจากเมื่อวันที่ 16 - 20 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ผู้แทนจาก เจบิกได้เดินทางมาตรวจสอบความคืบหน้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 3 สาย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง การรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) สำนักนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม ( สผ.) และ สบน. เรียบร้อยแล้วนั้น ขณะนี้ ผู้แทนชุดดังกล่าวอยู่ระหว่างนำผลของความคืบหน้า ไปรายงานให้กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยกู้เงินของประเทศญี่ปุ่น เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงต่างประเทศ รับทราบแล้ว

โครงการรถไฟฟ้า 5 สาย ประกอบด้วย

สายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน วงเงินก่อสร้าง 8,400 ล้านบาท ดำเนินงานโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.)
ช่วงบางซื่อ - รังสิต ของ ร.ฟ.ท. วงเงินก่อสร้าง 29,200 ล้านบาท
สายสีม่วง บางใหญ่ - บางซื่อ วงเงินก่อสร้าง 25,000 ล้านบาท
ดำเนินงานโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม. )
สายสีน้ำเงิน บางซื่อ - ท่าพระ และหัวลำโพง - บางแค ของ รฟม. วงเงินก่อสร้าง 42,000 ล้านบาท และสายสีเขียว แบริ่ง - สมุทรปราการ และหมอชิต - สะพานใหม่ วงเงินก่อสร้าง 29,600 ล้านบาท ดำเนินงานโดย กรุงเทพมหานคร

ก่อนหน้านี้ นายสันต์ วิเทศพงษ์ รองผู้อำนวยการ สบน. กล่าวว่า กระทรวงการคลังได้วางแผนเงินลงทุน 2.18 แสนล้านบาท ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า โดยแบ่งเป็น

งบประมาณจำนวน 2.3 หมื่นล้านบาท เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจบิค จำนวน 8.47 หมื่นล้านบาท
เงินกู้ในประเทศ 3.81 หมื่นล้านบาท และ
เงินกู้พิเศษ 2.7 หมื่นล้านบาท

ที่เหลือ เป็นเงินลงทุนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน จำนวน 4.57 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนในการใช้งบประมาณ 16% และเงินกู้ 84%

ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หาก ค.ร.ม.อนุมัติ ก็จะทำให้สามารถประมูลสายสีแดง ได้ภายในเดือน เมษายนนี้ และจะประมูลสายสีม่วง ได้ภายในเดือนมิถุนายน 2550 และสายอื่นๆจะเริ่มประมูลได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 โดยโครงการดังกล่าว จะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง และจะทำให้เกิดการจ้างงานตามมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2007 2:54 pm    Post subject: Reply with quote

"ธีระ" กังวลแหล่งเงินกู้ทำรถไฟฟ้า 5 สาย เตรียมแผนสำรอง หากเจบิคมีปัญหา
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 6 กุมภาพันธ์ 2550 14:27 น.

รมว.คมนาคม เผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เตรียมจัดหาเงินกู้ลงทุนระบบงานโยธา หวั่นตัวเลขศก.หดตัว กระทบแผนปล่อยกู้ ระบุ คลังจะหาแผนสำรองหากกู้เจบิคมีปัญหา "ปรีดิยาธร" เตรียมบินเจรจาญี่ปุ่น ก.พ.นี้

วันนี้ ( 6 ม.ค.) พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว.คมนาคม เผยความคืบหน้าการลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง ระบุว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดหาเงินกู้เพื่อลงทุนงานระบบโยธาในโครงการฯ ซึ่งตามแผนงานหลักจะใช้เงินกู้จากเจบิค แต่สำหรับระบบเดินรถจะมีเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจาณาแผนสำรองหากการเจรจาเงินกู้กับเจบิคมีปัญหา

"เวลานี้เท่าที่ทราบ จะกู้จากเจบิคอย่างเดียว แต่ถ้าเจรจาไม่สำเร็จก็อาจจะมีเงินกู้อื่น หรือวิธีการอื่นก็แล้วแต่กระทรวงการคลัง" พล.ร.อ.ธีระ กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรี

รมว.คมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะพยายามดำเนินการตามกรอบเวลาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 สายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีการเปิดประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นสายแรก ราวเดือนเม.ย.นี้ และจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือน ต.ค.50 โดยเงินลงทุนจะเป็นเงินกู้เป็นหลัก

ขณะที่แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้าง เปิดเผยว่า การเจรจากู้เงินจากเจบิคเพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างรถไฟฟ้ามีแนวโน้มว่าอาจเกิดปัญหา เนื่องจากเจบิคเห็นว่า ภาวะแวดล้อมต่างๆ ของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเงื่อนไขที่ได้ยื่นขอกู้เงินในครั้งนี้ โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต อาจไม่เป็นไปตามที่เคยคาดไว้ในเบื้องต้น ซึ่งหากเงินกู้เจบิคมีปัญหา จะส่งผลให้การเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายแรกอาจต้องเลื่อนออกไป เป็นช่วงครึ่งหลังของปี 50 หรือปีหน้า

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังยังหวังว่าจะสามารถเจรจาให้เจบิคตัดสินใจปล่อยกู้ให้กับโครงการรถไฟฟ้า 1.49 แสนล้านบาท ในโอกาสที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง จะไปเจรจากับเจบิค และเจบิคจะส่งตัวแทนเข้ามาหารืออีกครั้งในราวเดือน มี.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.)เปิดเผยว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จะเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นเพื่อหารือกับเจบิคอีกครั้งในเดือนนี้

" ก็หารือกับญี่ปุ่นมาโดยตลอด แต่การตัดสินใจสุดท้ายอยู่ที่กระทรวงการคลังว่า จะเห็นว่าแหล่งใดมีประโยชน์สูงสุด " นายประภัสร์ กล่าว

นายประภัสร์ กล่าวว่า ในการหลักการเจรจา จะหารือถึงเงื่อนไขเงินกู้จากเจบิคในรูปแบบผ่อนปรน โดยมีอัตราดอกเบี้ย 0.75% ระยะเวลาการกู้ 40 ปี

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) วันนี้ มีมติรับทราบกรอบดำเนินการ และแผนงานโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 5 สาย พร้อมทั้งผลการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ข้อเสนอแนะ ซึ่งประชาชนกว่าร้อยละ 96 เห็นด้วยกับการสร้างรถไฟฟ้า

ทั้งนี้ ตามกรอบเวลา กำหนดว่า

1 ) สายสีแดง ( บางซื่อ - ตลิ่งชัน ) จะเปิดประมูล เม.ย.50 ก่อสร้างใน ต.ค.50 แล้วเสร็จ มี.ค.53
2 ) สายสีม่วง ( บางใหญ่ - บางซื่อ ) เปิดประมูล พ.ค.50 ก่อสร้าง ธ.ค.50 แล้วเสร็จ มิ.ย.54
3 ) สายสีน้ำเงิน ( บางซื่อ - ท่าพระ - หัวลำโพง - บางแค ) เปิดประมูล ธ.ค.50 ก่อสร้าง เม.ย.51 แล้วเสร็จ พ.ย.55
4 ) สายสีแดง ( บางซื่อ - รังสิต ) เปิดประมูล ต.ค.50 ก่อสร้าง เม.ย.51 แล้วเสร็จ มี.ค.55
5 ) สายสีเขียว ( หมอชิต - สะพานใหม่ ) เปิดประมูล ธ.ค.50 ก่อสร้าง มิ.ย.51 แล้วเสร็จ มี.ค.54
6 ) ส่วนสายสีแดง ( บางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก ) เปิดประมูล ธ.ค.50 ก่อสร้าง มิ.ย.51 แล้วเสร็จ พ.ย.55

ซึ่งรวมเส้นทางใหม่ จะมีระยะทางทั้งสิ้น 137 กม. โดยกระทรวงคมนาคมจะแบ่งนำเสนอ ครม.เพื่อขอนุมัติเป็นแต่ละสายทางไป
__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2007 3:14 pm    Post subject: Reply with quote

The Details:
1) Red Line Commuter (Bangsue - Talingchan) Bidding April 2007, Constructed October 2007, Done March 2010
2) Purple Line (Bangsue - Bang Yai) Bidding May 2007, Constructed December 2007, Done June 2011
3) Blue Ring (Bangsue - Tha Phra/Hua Lamphong - Bang Khae) Bidding December 2007, Constructed April 2008 Done November 2012
4) Red Line Commuter (Bang Sue - Rangsit) Bidding October 2007, constructed April 2008, Done March 2012
5) Geen Phaholyothin Extension (Mochit - Saphan Mai) bidding December 2007 constructed June 2008, Done March 2011
6) Red line commuter (Bangsue - Makkasan - Hua Mark) Bidding Dec 2007, Constructed June 2008 and Done November 2012

Total cost: 149 Billion Baht

Even thouhg Governemnnt is aimgn for JBIC Loan, MOF has to find an alternative if JBIC REFUSES to accept the projects.


NOTE: No Paknam Extension (Bearing - Samut Prakarn) at the time being until the settlement on the issue of goign across BMA Border has been solved.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2007 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

สนช.ห่วง รฟท.ต้องแบกภาระดอกเบี้ยแอร์พอร์ตลิงก์

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 16 กุมภาพันธ์ 2550 18:46 น.

นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามผลการใช้งบประมาณของรัฐวิสาหกิจ นำคณะอนุกรรมาธิการฯ เข้าตรวจเยี่ยม และสอบถามข้อมูลโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมสุวรรณภูมิ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ มูลค่าประมาณ 25,000 ล้านบาท จากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โดยกล่าวว่า สิ่งที่คณะอนุกรรมาธิการฯ เป็นห่วงก็คือ ภาระดอกเบี้ยของโครงการอันเนื่องจากความล่าช้า จากกำหนดเดิมที่ให้ก่อสร้างแล้วเสร็จ 900 วัน และอีก 90 วันในการตรวจสอบระบบ ซึ่งจะทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ล่าช้า ที่ยังไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ อาจทำให้ รฟท.ต้องแบกรับภาระอย่างหนักหน่วง เบื้องต้นคาดว่า มูลค่าโครงการนี้ รวมดอกเบี้ยจะสูงถึง 30,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ทำให้โครงการแอร์พอร์ตลิงก์ล่าช้า คือ รฟท.ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาล่าช้า ทำให้งานด้านโยธาคืบหน้าเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าแผนที่วางไว้ ส่งผลให้โครงการก่อสร้างไม่ทันตามกำหนดแล้วเสร็จในเดือน สิงหาคม 2550 และการทดสอบระบบอีก 90 วันแล้วเสร็จเดือน พฤศจิกายน 2550 ดังนั้น คณะกรรมาธิการฯ จะนำเรื่องนี้หารือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางแนวแก้ไขต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2007 10:26 am    Post subject: Reply with quote

รื้อ 4 ชุมชน 411 หลังคาเรือน สร้างรถไฟสายสีแดง " บางซื่อ - รังสิต "
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

ประชาชาติธูรกิจ - 19 กุมภาพันธ์ 2550

Click on the image for full size


โครงการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ใหญ่ ที่หลายรัฐบาลพยายามผลักดันแจ้งเกิด และล่าสุด รัฐบาลไฟเขียวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ

รถไฟสายสีแดงถูกนำมาปัดฝุ่นเป็นโครงการแรก ด้วยเหตุผลที่ว่า สามารถก่อสร้างได้ง่าย และใช้งบประมาณค่อนข้างน้อย เพราะมีโครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์บางส่วนอยู่แล้ว เพียงแค่สานต่อให้โครงการให้แล้วเสร็จ พร้อมกับก่อสร้างสถานี และนำรถไฟกับติดตั้งระบบรถไฟฟ้า ก็สามารถเปิดให้บริการได้ทันที

ปัจจุบันโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง อยู่ระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติม

ผลการศึกษาตลอดเส้นทางของโครงการนี้ จากจุดเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อ ไปจนสุดปลายทางที่สถานีรังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร จะมีสถานีทั้งหมด 5 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และรังสิต และอาจปรับเพิ่มอีก 5 สถานี คือ จตุจักร วัดเสมียนนารี ทุ่งสองห้อง การเคหะฯ และหลักหก

รวมเบ็ดเสร็จจะมีทั้งหมด 10 สถานี คือ บางซื่อ จตุจักร วัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะฯ ดอนเมือง หลักหก และรังสิต

รูปแบบโครงการ จะก่อสร้างทั้งยกระดับ และอยู่ในระดับพื้นดิน สำหรับโครงสร้างยกระดับจะเริ่มตั้งแต่สถานีบางซื่อ ไปจนถึงสถานีหลักหก จากนั้นจะเป็นโครงสร้างระดับดิน ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการที่สถานีรังสิต

ในส่วนของการก่อสร้าง ตามกรอบเวลาที่คณะรัฐมนตรี ( ครม.) เห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมา หลังจากบริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเริ่มประกวดราคาเดือนตุลาคม 2550 และตอกเสาเข็มก่อสร้างเดือนเมษายน 2551 วงเงินก่อสร้างประมาณ 42,117 ล้านบาท ไม่รวมค่ารถไฟฟ้า

โดยการรถไฟฯ จะก่อสร้างส่วนของโครงสร้าง และระบบไฟฟ้า ขนาดความกว้างของราง 1 เมตร มี 2 ระบบ สามารถใช้กับระบบรถที่ใช้เครื่องดีเซล และระบบไฟฟ้า มี 2 ราง วิ่งสวนทางไป-กลับ ส่วนตัวรถไฟที่จะนำมาวิ่งให้บริการนั้น ในเบื้องต้นการรถไฟฯ จะนำรถไฟที่วิ่งอยู่ในปัจจุบันมาวิ่งไปก่อน จนกว่ารัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณสำหรับซื้อรถไฟฟ้าให้ในอนาคต

แม้โครงการนี้การรถไฟฯ จะยืนยันว่าไม่มีการเวนคืนที่ดิน เพราะจะใช้แนวเขตทางของการรถไฟฯ โดยใช้โครงสร้างโครงการโฮปเวลล์เดิม แต่จะต้องมีการรื้อย้ายชุมชนริมเขตทางบางส่วน

เนื่องจากตลอดเส้นทาง มีชุมชนผู้บุกรุกพื้นที่ของการรถไฟฯหลายจุด ทั้งนี้ จากการจัดเก็บข้อมูลของการรถไฟฯ ล่าสุดพบว่า มีทั้งหมด 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตึกแดง ชุมชนหลักหก ชุมชนเลียบทางรถไฟใกล้สถานีคลองรังสิต และชุมชนคอกวัว รวมทั้งหมด 411 หลังคาเรือน ทั้งหมดนี้ จะต้องรื้อย้ายออกไป

ถือเป็นปัญหาหนักอกผู้บริหารการรถไฟฯ เพราะการย้ายผู้บุกรุกที่อยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แม้การรถไฟฯจะยอมจ่ายค่าชดเชย หรือหาที่อยู่ใหม่ให้

เมื่อโครงการนี้ก่อสร้างเสร็จ ประโยชน์ที่จะได้รับ จะทำให้มีระบบขนส่งมวลชนระบบรถไฟฟ้าที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สำหรับการให้บริการแก่ประชาชน นอกจากนี้ ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านการเดินรถ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง ลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณทางตัดผ่านเสมอระดับ ช่วยประหยัด และลดต้นทุนด้านพลังงานของประเทศ และส่งเสริมการขนส่งด้วยระบบราง

ที่สำคัญ จะช่วยกระจายการเติบโต และความเจริญไปยังจังหวัดใกล้เคียง อย่าง ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ในอนาคต เส้นทางนี้ยังจะสามารถเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าช่วงบางซื่อ - มักกะสัน - หัวหมาก ได้อีกด้วย

ทำให้การเดินทางระหว่างในเมือง และชานเมือง เชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้ง เหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก โดยมีศูนย์เชื่อมต่อที่สถานีบางซื่อ ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นศูนย์คมนาคมขนส่งทุกระบบ สามารถเชื่อมการเดินทางไปมาระหว่างสนามบินดอนเมือง กับสนามบินสุวรรณภูมิ ให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 19/02/2007 12:32 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่อยากจะพูดเลย ขนาดที่ดินระหว่างการรถไฟฯ กับด่านเก็บเงินค่าทางด่วน กทพ. บริเวณคลองเตย มีรั้วกั้นแบ่งเรียบร้อยแท้ๆ ยังมีคนไปตั้งกระต๊อบไม้ลังประชิดรั้ว กับตัวรถไฟ อาศัยอยู่จนได้ Sad

อยู่กันนานๆ เข้า มาเรียกร้องสิทธิ์ ค่าขนย้าย รื้อถอน สารพัดสารพัน ทั้งๆ ที่ตนเองน่าจะโดนฟ้องร้องขับไล่ด้วยซ้ำไป ทำไม? ถึงปล่อยให้ลุกลามเช่นนั้น

ถ้าจะใช้หลักรัฐศาสตร์ ก็ไม่ควรให้ลุกลามจนเลยคันทางมาประชิดราง ดีอยู่นิดหน่อย ตรงที่ยังไม่ปลูกยกระดับคร่อมราง ให้รถไฟลอดไต้ถุนบ้าน

ไม่แน่นะ เราอาจมีโอกาสได้เห็นกันสักวันหนึ่งหรอก 8)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2007 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ดันรถไฟชานเมือง4สายเชื่อมเมืองหลวงกว่าแสนล้าน

Bangkok Biznews 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 17:48:34

ดร.ไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.ได้จัดสัมมนารับฟังความเห็นครั้งสุดท้าย โครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดระบบรถไฟฟ้าชานเมืองร่วมกับรถไฟทางไกล 4 เส้นทาง เพื่อเป็นระบบขนส่งมวลชนทางเลือกให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดปริมณฑลเดินทางมาต่อระบบรถไฟฟ้าโครงข่ายในเมืองที่รัฐบาลได้อนุมัติให้ดำเนินการไปแล้ว 5 เส้นทาง

ทั้งนี้ ในส่วนการศึกษาดังกล่าวประกอบด้วย 4 เส้นทาง ที่ คาดใช้เงินลงทุน 140,000 ล้านบาท คือ
1. สายเหนือ จากสถานีรถไฟรังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทางประมาณ 60 กิโลเมตร
2. สายตะวันออก จากสถานีมักกะสัน - สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา ระยะทาง 54 กิโลเมตร
3. สายตะวันตก จากสถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน -สถานีรถไฟนครปฐม ระยะทาง 54 กิโลเมตรและ
4. สายใต้ จากสถานีรถไฟมหาชัย - สถานีรถไฟชุมทางปากท่อ ระยะทางประมาณ 56 กิโลเมตร

รวมระยะทาง 213 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 8, 9, 10 ... 159, 160, 161  Next
Page 9 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©