Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263145
ทั้งหมด:13574427
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2013 10:34 am    Post subject: Reply with quote

พีรกันต์ ฟิตลุย 3 ภารกิจด่วนเร่งกู้รายได้แอร์พอร์ตลิงค์
หน้าคมนาคม-ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1406 ประจำวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2556



สถานีมักกะสัน - นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ซีอีโอ) บริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ เปิดเผยว่า หลังเข้ารับตำแหน่งได้เตรียมภารกิจเร่งด่วนมี 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วยการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องด้านการเงิน การสร้างเสริมภาพลักษณ์ด้านการให้บริการ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกับองค์กร และการบริหารจัดการภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ

"ภารกิจแรกที่คาดว่าจะเริ่มได้ทันที คือการสร้างภาพลักษณ์ด้านการบริการเพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในองค์กร ด้วยการปรับปรุงเวลาเดินรถให้ตรงเวลาพร้อมกับเพิ่มความถี่ในการเดินรถช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งเช้าและเย็น โดยเฉพาะขบวนซิตี้ไลน์ ที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากในช่วงเวลาดังกล่าว จนปัจจุบันแอร์พอร์ตมีรายได้ปีละประมาณ 500 ล้านบาท"

สำหรับเป้าหมายในการบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ นั้น ภายในสิ้นปี 2556 นี้จะเร่งเพิ่มรายได้และผู้โดยสารอีก 10% จากปัจจุบันที่มีรายได้ประมาณ 500 ล้านบาทต่อปี และมีผู้โดยสารเฉลี่ย 4.5-5 หมื่นคนต่อวัน ส่วนการบริหารงานจะเร่งปรับภาพลักษณ์องค์กรที่มีปัญหาในเรื่องการให้บริการ การสร้างขวัญกำลังใจพนักงานในเรื่องผลตอบแทนและปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งทำให้มีพนักงานลาออกบ่อย โดยจะเร่งประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะบริษัทแม่ เพื่อเร่งแก้ปัญหาเนื่องจาก ร.ฟ.ท.ยังค้างจ่ายเงินให้แอร์พอร์ต ลิงค์มาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 ที่จะนำมาบริหารจัดการภายในองค์กร

"บริษัทเราถือเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกที่มีวิศวกรอายุน้อยและมีความรู้ในการดำเนินโครงการรถไฟกึ่งความเร็วสูง ซึ่งเห็นว่าแม้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะมีแนวคิดในการจัดตั้งหน่วยงานใหม่อย่างกรมระบบรางขึ้นมาก่อสร้างรถไฟและรถไฟฟ้าต่างๆ แต่ในอนาคตบริษัทน่าจะเป็นศูนย์กลางในการเป็นผู้บริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าเส้นทางต่างๆ ที่การรถไฟฯรับผิดชอบได้"

ทั้งนี้ หลังจากลงพื้นที่ดูการก่อสร้างทางยกระดับจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเพชรบุรี หรือสกาย วอล์ก เชื่อมกับสถานีมักกะสัน และทางเชื่อมกับทางด่วนจากถนนรัชดาภิเษกเข้าสู่สถานีมักกะสันแล้ว เชื่อว่าจะสามารถเพิ่มยอดผู้โดยสารขึ้นอีก 1.5 แสนคน ภายใน 5 ปีนี้ และจะมีรายได้ทะลุ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ค่อยให้บริการ

"ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ จะเติบโตขึ้นอีกมากเมื่อทางเชื่อมแล้วเสร็จในลักษณะเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่มีผู้โดยสารเพิ่ม 7% แต่เมื่อทำทางเชื่อมกับรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นก็เติบโตถึง 20%"

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมพื้นที่จอดรถให้กับแท็กซี่ รวมถึงเตรียมหารือ บมจ.ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) และสมาคมโรงแรมไทย เพื่อใช้สถานีมักกะสันรองรับนักท่องเที่ยว ด้วยการจัดพื้นที่จอดรถไว้รองรับคณะทัวร์ของโรงแรมต่างๆ ที่จะใช้บริการแอร์พอร์ต ลิงค์ การจัดพื้นที่เคาน์เตอร์ให้บริการนักท่องเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2013 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมหารือชี้ชะตาบริษัทเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์สัปดาห์หน้า
สำนักข่าวไทย TNA News | 6 มิ.ย. 2556 18:39

กรุงเทพฯ 6 มิ.ย. - รมว.คมนาคม เตรียมหารือผู้บริหารบริษัทเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และผู้ว่าการ รฟท. ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้ชัดเจน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะประชุมหารือกับนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา ผู้บริหารบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำหนดทิศทางการพัฒนาแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้ชัดเจน เพื่อพิจารณาว่าควรดึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์กลับมาอยู่ภายใต้การดูแลของ รฟท.หรือไม่ หรือควรปรับเปลี่ยนให้กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ซึ่งเสนอโดยกระทรวงการคลัง จึงต้องหารือกับทั้ง 2 หน่วยงานให้ได้ผลสรุปชัดเจน ยอมรับปัญหาของแอร์พอร์ตลิงก์ คือ ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เพื่อรองรับประชาชนมากกว่า 50,000 คน/วัน และอนาคตเชื่อมต่อกับระบบคมนาคมอื่นเพิ่มเติมด้วย

นายชัชชาติ กล่าวด้วยว่า สำหรับร่าง พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ สภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 คาดว่าจะสามารถผ่านสภาผู้แทนราษฎรได้ภายในปีนี้ และเมื่อร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวผ่านออกมาจะสามารถดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแจ้งวัฒนะ-มีนบุรี และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ได้ทันที ส่วนรถไฟความเร็วสูงนั้นอยู่ระหว่างการทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และการทำผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพของประชาชน (เอชไอเอ) พร้อมยืนยันว่า รายได้จากการจำหน่ายตั๋วรถไฟความเร็วสูงนั้นไม่สามารถทำให้โครงการฯ คืนทุนได้ แต่จะสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชนอย่างมหาศาล รวมถึงการกำหนดราคาจำหน่ายตั๋วต้องคำนึงถึงความเหมาะสมหลายด้าน. - สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2013 3:01 pm    Post subject: Reply with quote

คลังจ้องฮุบ"แอร์พอร์ตลิงก์-ที่ดินมักกะสัน" "ศศินทร์"ชงคมนาคมกู้ซากรถไฟฟ้าปลดแอกภาระหนี้ 3 หมื่นล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 07 มิ.ย. 2556 เวลา 14:34:16 น.

เปิดผลศึกษา "ศศินทร์" กู้ซากแอร์พอร์ตลิงก์ ชงโอนหนี้ 3 หมื่นล้านให้กระทรวงคลัง แลกกับที่ดิน 497 ไร่ ย่านมักกะสันของการรถไฟฯ กับอีกทางเลือกให้ลดบทบาทการรถไฟฯ จากเดิมถือหุ้น 99.99% ลดเหลือ 25% โดยให้คลังถือหุ้นใหญ่ 75% พร้อมกับรับภาระหนี้ 1.8 หมื่นล้าน หนี้ก้อนที่เหลือ 1.1 หมื่นล้านให้บริษัทแอร์พอร์ตลิงก์รับผิดชอบตัวเอง ควบคู่เช่าที่ดินตลอดแนวรถไฟฟ้า 28 กม. พัฒนาที่ดินหารายได้เสริม

นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในเร็ว ๆ นี้จะนำเสนอผลการศึกษาของสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาว่าจะอนุมัติตามแนวทางข้อเสนอหรือไม่

แก้ภาระหนี้ก้อนโต 3 หมื่นล้าน

ทั้งนี้ ผลการศึกษาของศศินทร์ฯดำเนินการตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) สั่งให้กระทรวงคมนาคมหาแนวทางแก้ปัญหารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่มีภาระหนี้อยู่กว่า 3 หมื่นล้านบาท ด้วยการจัดการองค์กรใหม่ทั้งระบบ ปรับโครงสร้างทางการเงิน และการถ่ายโอนสินทรัพย์ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งเป็นองค์กรแม่ และบริษัทลูกคือบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์

โดยกระทรวงคมนาคมได้ว่าจ้างศศินทร์ฯเป็นผู้ศึกษาโครงการภายใต้โจทย์ที่กระทรวงการคลังให้มา คือแยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ออกจากการบริหารจัดการของ ร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น 99.99%

"ขณะเดียวกันทางศศินทร์ฯจะดูความเหมาะสมในการถือหุ้นในบริษัทด้วยว่าใครจะเหมาะสมที่สุด ระหว่าง ร.ฟ.ท.เหมือนเดิม กับกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น ถึงจะทำให้มีกำไรและมีสภาพคล่องด้านการเงิน"

นายจำรูญกล่าวว่า การดำเนินการจะเริ่มจากบริหารจัดการองค์กรของบริษัททั้งระบบ ด้วยการแยกทรัพย์สิน มี 3 ประเภทคือ โครงสร้างพื้นฐาน ที่ดิน และระบบ แนวทางจะมี 2 ทางเลือกคือ การโอนสินทรัพย์ หรือการเช่าสินทรัพย์

แยกทรัพย์สิน-หาเงินกู้เพิ่ม

สำหรับรายละเอียดทรัพย์สินประกอบด้วย สินทรัพย์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า 18,318 ล้านบาท และสินทรัพย์ที่เป็นงานระบบ เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ ไฟฟ้า โทรคมนาคม รถไฟฟ้า เครื่องจักรกล เป็นต้น มูลค่า 15,094 ล้านบาท

"ทางศศินทร์ฯเสนอแนะให้โอนทรัพย์สินที่เป็นงานระบบมาอยู่กับบริษัททั้งหมด ส่วนภาระหนี้ที่ได้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้รัฐบาลรับภาระแทน ส่วนที่ดินนั้นควรจะให้บริษัทเช่าในราคาถูกจึงจะอยู่ได้ เพื่อสร้างรายได้เสริมนอกเหนือจากค่าโดยสารที่จัดเก็บอยู่ปีละ 600 ล้านบาท" นายจำรูญกล่าวและว่า

สำหรับงานระบบที่บริษัทต้องรับภาระหนี้กว่า 15,094 ล้านบาท เมื่อหักค่าเสื่อมแล้วจะเหลือ 11,705 ล้านบาท ในจำนวนนี้บริษัทรับภาระกว่า 6,350 ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้กระทรวงการคลังแปลงเป็นทุนให้บริษัทเพื่อนำเงินมาดำเนินการบริษัทต่อไป

นอกจากนี้จะต้องหาเงินกู้ให้บริษัทในอนาคตสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 1,860 ล้านบาท และค่าซื้อรถไฟฟ้าใหม่จำนวน 7 ขบวน วงเงิน 5,200 ล้านบาท รวมเบ็ดเสร็จภายหลังการโอนทรัพย์สินและแยกองค์กรออกมาแล้ว บริษัทจะต้องมีภาระหนี้ประมาณ 18,765 ล้านบาท ภายใน 20 ปี และจากประมาณการผลดำเนินงานยังขาดทุนกระแสเงินสดอยู่ 7-8 ปี แต่จะไม่เป็นภาระให้กับกระทรวงการคลัง

ชงคลังถือหุ้นใหญ่แทน ร.ฟ.ท.

"ตามโมเดลนี้ แอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นบริษัทจำกัด มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ดำเนินงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคม แต่กระทรวงการคลังจะเข้ามาถือหุ้นในบริษัทไม่น้อยกว่า 75% เพื่อให้มีอำนาจในการบริหารเบ็ดเสร็จ ส่วนที่เหลืออีก 25% จะให้การรถไฟฯถือหุ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่การตัดสินใจของกระทรวงคมนาคม โดยกระทรวงการคลังจะเข้ามามีสิทธิ์ในเรื่องการส่งผู้บริหารมานั่งในบอร์ดบริษัท" นายจำรูญกล่าว

ทางศศินทร์ฯยังได้จำลองโมเดลกรณีที่บริษัทรับจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงอย่างเดียว โดยไม่รับภาระใด ๆ จะมีรายได้จากผลประกอบการ จึงสามารถมีผลกำไรในปีแรกของการประกอบการ แต่มีข้อควรระวังคือ กรณียังไม่มีระบบต่าง ๆ ในการประกอบการ บริษัทอาจจะต้องกู้ยืมเพื่อจัดหาระบบ ซึ่งหมายถึงจะมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และอยู่ภายใต้ระเบียบการจัดซื้อของ ร.ฟ.ท.เหมือนเดิม อาจทำให้การบริหารจัดการไม่คล่องตัว อีกทั้งกระแสเงินสดของบริษัทจะลดต่ำลงจนขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ ซึ่งอาจจะกระทบทำให้แผนการจัดหาซื้อและซ่อมบำรุงไม่เป็นไปตามแผน

โดยสรุปสุดท้ายในผลการศึกษาระบุด้วยว่า หากบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ให้ ร.ฟ.ท.ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทจะทำให้สถานการณ์ของบริษัทกลับไปที่เดิม เพราะขั้นตอนกระบวนการจัดซื้อของ ร.ฟ.ท.ล่าช้าและไม่เอื้ออำนวย การขาดสภาพคล่องขององค์กร หรือการจัดทำและบริหารสัญญาจ้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาด เป็นต้น การขาดความเข้าใจและความชำนาญในเชิงปฏิบัติทางด้านการตลาดที่ต้องรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์

จับตาข้อเสนอแลกที่ดินมักกะสัน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ก่อนหน้านี้ทางศศินทร์ฯได้เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นมาแล้วเมื่อต้นเดือนพ.ค. 2556 ที่ผ่านมา โดยยังยึดหลักการเดียวกันคือ แยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์ออกจาก ร.ฟ.ท. แต่ได้เสนอวิธีการอื่นเข้ามาเป็นทางเลือกด้วยคือให้แลกเปลี่ยนที่ดินมักกะสันกับหนี้สินของแอร์พอร์ตลิงก์ทั้งหมดกว่า 3 หมื่นล้านบาท

วิธีการคือให้กระทรวงการคลังนำที่ดินมักกะสันพื้นที่ 497 ไร่ ไปพัฒนาประโยชน์เพื่อหารายได้ในเชิงพาณิชย์ในระยะยาว 30 ปี ประมาณการรายได้คร่าว ๆ อยู่ที่ 30,000-64,000 ล้านบาท แต่ข้อเสนอนี้ทาง ร.ฟ.ท.ยังไม่ตอบตกลง เนื่องจากมีแผนจะนำที่ดินแปลงนี้มาประมูลหารายได้ระยะยาวเช่นกัน

ขณะที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เคยหยิบมาพิจารณาในที่ประชุมบ้างแล้ว เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังก็เคยมีแนวคิดจะดำเนินการแนวทางนี้เช่นกัน เพื่อเป็นการหารายได้เข้ารัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2013 11:13 am    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงก์เจรจาผู้ผลิตจีน-สเปน ซื้อรถ 7 ขบวนปลดล็อกระบบซีเมนส์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
10 มิถุนายน 2556 00:11 น.


“แอร์พอร์ตลิงก์” เร่งเจรจาผู้ผลิตรถหลายประเทศทั้งจีน และสเปน เป็นทางเลือกหากซีเมนส์ยืนราคา 5.2 พันล้าน คาดเปรียบเทียบราคาสรุปแผนซื้อรถใหม่ 7 ขบวนเสนอ ครม.ได้ภายใน มิ.ย.นี้ ระบุรายอื่นราคาต่ำกว่าซีเมนส์ 20-30% เล็งซื้อกล่องควบคุมคลายล็อกระบบอาณัติสัญญาณรถทุกยี่ห้อวิ่งได้หมด ขณะที่ “ชัชชาติ” เรียกซีเมนส์เจรจาขอให้ลดราคาลง จับตาปี 57 รถไม่มีเพิ่มกระทบบริการแน่ เหตุรถวิ่งครบล้าน กม.ต้องซ่อมใหญ่

นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (CEO) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำ กัด (แอร์พอร์ตลิงก์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ 7 ขบวนว่า จากที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ตั้งข้อสังเกตเรื่องราคารถ 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ วงเงินรวมประมาณ 5,200 ล้านบาท (รวมอะไหล่สำรอง) ว่าเป็นราคาที่ยังสูงเกินไปนั้น ในหลักการบริษัทจะเจราจากับทางบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตและเจ้าของระบบรถแอร์พอร์ตลิงก์ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันก่อน ซึ่งทางซีเมนส์ยังไม่มีการปรับลดวงเงินให้ แต่ภาวะเงินบาทที่แข็งค่าในปัจจุบันส่งผลดีทำให้ราคารถทั้ง 7 ขบวนปรับลดลงตามค่าเงินเหลือประมาณ 4,800 ล้านบาท แต่ราคาที่ลดลงจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นนั้นถือเป็นผลพลอยได้ซึ่งไม่สามารถนำมาอ้างว่าเป็นราคารถที่ลดลงได้

ทั้งนี้ ในขณะเดียวกันบริษัทจะต้องเจรจากับผู้ผลิตรถรายอื่นด้วย เช่น ผู้ผลิตจากประเทศสเปน และจีนเพื่อนำราคารถมาเปรียบเทียบกัน โดยในเบื้องต้นพบว่าราคาตัวรถของจีนและสเปนจะต่ำกว่าของซีเมนส์ประมาณ 20-30% ใช้เวลาในการผลิตและส่งมอบ 18-24 เดือน ส่วนซีเมนส์จะผลิตเสร็จใน 18 เดือน นอกจากนั้นจะต้องพิจารณาประเด็นระบบอาณัติสัญญาณที่เป็นของซีเมนส์ในปัจจุบันด้วย ซึ่งหากใช้รถของผู้ผลิตรายอื่นจะมี 2 ทางเลือก คือ 1. ใช้ระบบอาณัติสัญญาณของซีเมนส์เหมือนเดิม โดยลงทุนซื้อกล่องระบบของซีเมนส์มาติดตั้งบนตัวรถ ซึ่งแนวทางนี้มีความเป็นไปได้สูงเพราะนอกจากจะปลดล็อกระบบอาณัติสัญญาณแล้วการลงทุนไม่สูงมากนัก หรือ 2. เปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณใหม่ทั้งหมดโดยให้เป็นระบบกลางเพื่อให้รถทุกยี่ห้อวิ่งได้ ซึ่งเป็นวิธีที่บีทีเอสใช้ในการเดินรถส่วนต่อขยาย

โดยบริษัทจะสรุปข้อมูลรายละเอียดตัวเลข ข้อดีข้อเสียของแนวทางต่างๆ ในการจัดซื้อรถไฟฟ้า 7 ขบวนเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เห็นชอบการลงทุนจัดซื้อรถไฟฟ้า 7 ขบวนไปแล้ว ส่วนเงินลงทุนนั้นทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดตั้งงบลงทุนในปี 2557 จำนวนกว่า 400 ล้านบาทสำหรับจ่ายงวดแรกไว้แล้ว จึงไม่มีปัญหาหาก ครม.อนุมัติสามารถดำเนินการจัดซื้อได้ทันที

“ปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์เพิ่มมากขึ้น โดยมีประมาณ 5.5 หมื่นคนต่อวัน ขณะที่มีขบวนรถทั้ง 9 ขบวนใช้งานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากขบวนรถ Express Line ที่มี 4 ขบวนชำรุดไป 1 ขบวนซึ่งได้เร่งรัดให้ซ่อมและนำกลับมาให้บริการโดยเร็ว และในปีนี้รถจะวิ่งครบ 1 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะต้องทยอยเข้าสู่การซ่อมหนัก (Over hall) โดยในปี 2557 ต้องใช้งบซ่อมบำรุงหนักประมาณ 250 ล้านบาท รวมกับซ่อมปกติประจำปีกว่า 100 ล้านบาท และหลังจากนี้หากรถไม่ได้รับการซ่อมบำรุงตามระบบและไม่มีรถใหม่เข้ามาช่วยวิ่งให้บริการเพิ่มจะต้องซ่อมหนักในอีก 3 ปีข้างหน้าเพราะรถจะถูกใช้งานหนักเกินไป” นายพีรกันต์กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายชัชชาติได้หารือกับผู้แทนบริษัทซีเมนส์ โดยขอให้ทางซีเมนส์ปรับลดราคารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ใน 7 ขบวนลง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2013 6:38 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงค์คาด2สัปดาห์สรุปซื้อรถไฟฟ้า
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 มิถุนายน 2556 16:32

แอร์พอร์ตลิงค์ คาด 2 สัปดาห์ สรุปศึกษาซื้อขบวนรถไฟฟ้า 7 ขบวนได้ ชี้ เตรียมจัดโปรโมชั่นสมนาคุณผู้ใช้บริการ

นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ 7 ขบวน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งศึกษาข้อมูลสรุปราคาเปรียบเทียบจากผู้ผลิตรถหลายราย สรุปข้อดีข้อเสียในการจัดซื้อจากผู้ผลิตแต่ละราย รวมถึง การขยายเวลาในการผลิต จาก 18 เดือน เป็น 1 ปี และคาดว่า ภายใน 2 สัปดาห์ จะสามารถสรุปข้อมูลให้แล้วเสร็จ และเสนอต่อกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ตาม นายพีรกันต์ กล่าวต่อว่า การจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ทั้ง 7 ขบวน จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในปลายปี 2557 นี้ เพื่อรองรับกับจำนวนผู้โดยสาร ทั้งนี้ อยากจะเร่งในเรื่องของการให้บริการกับผู้โดยสารที่มาใช้บริการ แอร์พอร์ตลิงค์ มากกว่า โดยจะเน้นทางเชื่อมจากรถไฟฟ้าใต้ดินเป็นหลัก พร้อมทั้งจะมีการจัดแคมเปญให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ และจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้โดยสาร เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2013 6:43 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
18 เดือนเป็น 2 ปี (24 เดือน) เพื่อให้เข้าล็อก CNR/CSR หรือเปล่าครับ?
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2013 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

จริงด้วยครับ Exclamation

----

“แอร์พอร์ตลิงค์” เร่งเชื่อมโยง “รถไฟใต้ดิน-บีทีเอส” ดึงผู้ใช้บริการมากขึ้น
ThaiPBS Tue, 11/06/2013 - 12:35

ผู้บริหารแอร์พอร์ตลิ้งค์ ระบุว่า ภายในเดือนนี้ผู้โดยสารที่ใช้บริการ จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการเดินทางที่จะเชื่อมต่อระหว่าง รถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้า เเละ สถานที่จอดรถทำได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันเตรียมบริหารจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อนำมาชดเชยกับรายได้ด้านการเดินรถ

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กล่าวยอมรับว่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์จะต้องเร่งปรับปรุง โดยเฉพาะภาพลักษณ์การให้บริการ และการบริหารงานภายในให้ได้ผลกำไรมากขึ้น และตอนนี้เตรียมบริหารจัดการให้พัฒนาธุรกิจเชิงพาณิชย์ เพื่อนำรายได้มาชดเชยกับรายได้จากการเดินรถ

นายพีรกันต์ มองว่า การจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ทั้ง 7 ขบวน จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปลายปี 2557 นี้ เพื่อรองรับกับจำนวนผู้โดยสาร น่าจะช่วยทำให้แอร์พอร์ตลิ้งค์มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

สำหรับการตั้งหน่วยธุรกิจหรือยุบบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด นายพีรกันต์ระบุว่า เป็นเรื่องระดับนโยบาย แต่ส่วนตัวมองว่า การบริหารแบบบริษัทจำกัดน่าจะมีความคล่องตัวมากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2013 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกษาเชื่อมรถไฟฟ้าเข้าดอนเมือง
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน 2556 เวลา 16:07 น.

ทอท.อยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษารานละอียดต่อเชื่อมโครงการรถไฟฟ้าเข้าสู่ท่าอากาศยานดอนเมือง เพิ่มความสะดวกในการเข้าใช้สนามบิน

ว่าที่ ร.ท.จตุรงคพล สดมณี ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง บริษัท ท่าอากาศยานไทย (ทอท.)เปิดเผยว่า ทอท.อยู่ระหว่างพิจารณาปรับแผนดำเนินงานเพื่อรองรับโครงการ รถไฟฟ้าที่จะเชื่อมต่อมายังสนามบินดอนเมืองหลายสาย เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ สายเหนือ และสายอีสาน รวมถึงรถไฟทางคู่ เพื่อให้ประชาชนที่จะเข้าใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองได้รับความสะดวกมาก ยิ่งขึ้น

ทั้งนี้เบื้องต้น ทอท.มีแนวคิดจะก่อสร้างอาคารไปเชื่อมต่อกับทางเชื่อมของรถไฟฟ้าที่จะทำทาง เชื่อมเข้ามาประชิดรั้วของสนามบินดอนเมือง บริเวณสะพานลอยข้ามถนนวิภาวดี ย่านตลาดใหม่ดอนเมือง แต่จะเป็นรูปแบบไหนคงต้องพิจารณาก่อน โดยมั่นใจว่าการก่อสร้างจะเสร็จทันการเปิดให้บริการของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิ้งค์ และรถไฟชานเมืองสายมีแดง ที่จะแล้วเสร็จประมาณปี 60-61 อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/06/2013 10:23 am    Post subject: Reply with quote

เปิดทรัพย์สินหมื่นล้าน "แอร์พอร์ตลิงก์"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 14 มิ.ย. 2556 เวลา 18:33:06 น.

Click on the image for full size

แนวทางหนึ่งที่สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สรุปผลศึกษาการจัดองค์กรทั้งระบบของ "รฟฟท.-บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด" ผู้บริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ คือ การแบ่งแยกสินทรัพย์และองค์กรออกจาก "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศ" ผู้เป็นแม่ที่ถือหุ้นเกือบ 100%

โดย "รฟฟท." จะรับผิดชอบภาระหนี้เฉพาะในส่วนของ "สินทรัพย์งานระบบ" เท่านั้น ส่วนหนี้โครงสร้างพื้นฐานให้รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับนิยาม "สินทรัพย์งานระบบ"

หมายถึงสินทรัพย์ถาวรที่เกี่ยวกับงานระบบไฟฟ้าและเครื่องจักรกล ตามสัญญาจ้างก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ระหว่าง ร.ฟ.ท. และ "บริษัท บี.กริมฯ-บริษัทซีเมนส์" ที่ทำร่วมกันไว้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 มี 8 ระบบ ประกอบด้วย ระบบอาณัติสัญญาณ ไฟฟ้า คมนาคม รถไฟฟ้า เครื่องจักรกลโรงซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ระบบสายพานลำเลียงและระบบเช็กอิน ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และระบบประตูชานชาลา

กาลเวลาช่วงที่ผ่านมา มีการใช้งานจวนจะครบ 3 ปี มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ลดลงจาก 15,000 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2556 คงเหลือ 11,700 ล้านบาท เพราะมีค่าเสื่อมปีละ 610 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการดูแลหรือจัดหาเพิ่มเติม ก็ไม่รู้ว่าสินทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้านบาทนี้จะลดลงอีกสักเท่าไร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2013 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

แพงเว่อร์คมนาคมรื้อ"ซีเมนส์"ดึง"จีน-ยุโรป"เสียบแอร์พอร์ตลิงก์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
18 มิถุนายน 2556 เวลา 10:46:00 น.


แอร์พอร์ตลิงก์เตรียมปลดระวาง "ซีเมนส์" เจรจาผู้ผลิตจีนและสเปนซื้อรถไฟฟ้าขบวนใหม่ 7 ขบวน มูลค่า 5,200 ล้านบาท หลังพบราคาถูกกว่าเพียบ เล็งรื้อระบบอาณัติสัญญาณยกแผง จีบ "บอมบาดิเอร์" เป็นผู้ติดตั้ง เพราะเปิดกว้างปลดล็อกรถไฟฟ้าวิ่งได้ทุกยี่ห้อ

นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในเร็ว ๆ นี้จะนำเรื่องการจัดซื้อรถไฟฟ้าขบวนใหม่จำนวน 7 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้รวม 28 ตู้ เสนอให้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป

"บริษัทจะเร่งสรุปโดยเร็วว่าจะซื้อยี่ห้อไหน หลังท่านรัฐมนตรีชัชชาติติงราคาที่บริษัทซีเมนส์เจ้าเดิมผู้ผลิตจากประเทศเยอรมนีเสนอมา 5,200 ล้านบาท โดยมองว่ายังสูงเกินไป และสั่งให้เช็กราคาตลาดว่าอยู่ที่เท่าไหร่ เราจะเสนอซัพพลายเออร์จากประเทศอื่นเปรียบเทียบด้วย อาทิ บริษัท CNR ผู้ผลิตจากประเทศจีน และบริษัท CAF จากประเทศสเปน รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณจากบริษัทบอมบาดิเอร์

ผู้ผลิตจากประเทศแคนาดา เพราะถ้าหากซีเมนส์ไม่ยอมลดราคาจะต้องแก้ปัญหานำรถยี่ห้ออื่นมาวิ่งในระบบได้ด้วย"

นายจำรูญกล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาจะมี 2 วิธีคือ 1.ซื้อรถไปก่อน ยี่ห้อไหนก็ได้ จากนั้นค่อยมาติดกล่องระบบโทรคมนาคมไว้กับตัวรถไฟฟ้า เพื่อให้ขับเคลื่อนระบบร่วมกับระบบเดิมของซีเมนส์ได้ กับ 2.เปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณใหม่ทั้งหมด เหมือนกับที่รถไฟฟ้าบีทีเอสดำเนินการมาแล้ว โดยเปลี่ยนจากระบบของซีเมนส์มาใช้ระบบบอมบาดิเอร์แทน เนื่องจากสามารถนำระบบรถจากที่ไหนมาวิ่งก็ได้ ปัจจุบันบีทีเอสนำขบวนรถไฟฟ้าผลิตจากประเทศจีนมาวิ่งให้บริการอยู่ ซึ่งแนวทางนี้จะต้องลงทุนเพิ่ม

"ล่าสุดซีเมนส์ยอมลดราคาลงจาก 5,200 ล้านบาทเหลือ 4,800-4,900 ล้านบาท โดยลดจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ผู้ผลิตจีนและสเปนก็เสนอราคาต่ำกว่าซีเมนส์อีกพอสมควร แต่ละรายมีเงื่อนไขแตกต่างกัน เช่น ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นระบบออโตเมติก โดยเฉพาะจีนจะนำส่งขบวนแรกใน 18 เดือนได้ ส่วนซีเมนส์เสนอใช้รถแบบบอดี้เก่า แต่จะเปลี่ยนประตูใหม่ ทั้งนี้ อยู่ที่การพิจารณาของกระทรวงคมนาคมจะเลือกรายไหน"

นายจำรูญกล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้า 9 ขบวนที่ให้บริการปัจจุบันจะครบรอบซ่อมใหญ่หลังวิ่งครบ 1 ล้านกิโลเมตร (Overhaul) ในเดือนกรกฎาคมนี้ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อไม่ให้กระทบต่อการบริการของผู้โดยสารที่เพิ่มจำนวนขึ้น ล่าสุด 50,000 เที่ยวคน/วัน จึงจะทยอยนำมาซ่อมทีละ 1 ขบวน ใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน และจะต้องบริหารเวลาให้ดีด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 97, 98, 99 ... 159, 160, 161  Next
Page 98 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©