Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263298
ทั้งหมด:13574581
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ เขาจองตั๋วล่วงหน้ายังไง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ เขาจองตั๋วล่วงหน้ายังไง
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
bigbigtee
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 01/02/2010
Posts: 200

PostPosted: 16/02/2010 12:47 pm    Post subject: สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ เขาจองตั๋วล่วงหน้ายังไง Reply with quote

สงสัยว่า สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ออนไลน์เหมือนปัจจุบัน เขาจองตั๋วล่วงหน้ากันยังไง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่ามีที่นั่งว่างหรือเปล่า
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 16/02/2010 1:04 pm    Post subject: Reply with quote

ก็ไปติดต่อที่แผนกจองตั๋วล่วงหน้า ตามสถานีใหญ่ๆ เพื่อทำการจองสิครับ เขาจะโทรศัพท์ถามกันที่นั่นแหละ
Back to top
View user's profile Send private message
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 16/02/2010 1:21 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าจำไม่ผิด เค้าใช้ระบบ โควต้าตั๋วหรือเปล่าครับ...สถานีไหน ถือ โควต้าเท่าไหร่ ที่นั่งเบอร์อะไรบ้าง ถ้าใช้ของตัวเองไปแล้วก็ต้องโทรขอโควต้า จากสถานีอื่นๆ

ก่อนที่จะมีระบบคอมพิวเตอร์ครบทุกสถานีอย่างในปัจจุบัน ผมเคยไปจองที่นครสวรรค์ เจ้าหน้าที่ยังต้องโทรขอไปที่สถานีพิษณุโลกเลยครับ ให้ทางพิษณุโลก ช่วยดูในคอมฯ และขอเบอร์ตั๋วมาออกเป็นตั๋วเขียนสีเหลืองให้
_________________
Click on the image for full size


Last edited by donatt76 on 16/02/2010 7:30 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/02/2010 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

ไว้เจอระบบจองตั๋วล่วงหน้า 1-3 วัน โดยรถด่วนสายเหนือ จะออกทุกวันอาทิตย์ มีโควต้า รถนั่งชั้น 1 แค่ 54 ที่ จาก หัวลำโพงก็น่าที่จะคิดได้หละนะว่าเขาจองตั๋วกันอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message
tuie
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 09/07/2006
Posts: 12156
Location: สถานีบ้านตุ้ย

PostPosted: 16/02/2010 1:25 pm    Post subject: Re: สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ เขาจองตั๋วล่วงหน้ายังไง Reply with quote

bigbigtee wrote:
สงสัยว่า สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ออนไลน์เหมือนปัจจุบัน เขาจองตั๋วล่วงหน้ากันยังไง แล้วจะรู้ได้ยังไงว่ามีที่นั่งว่างหรือเปล่า


ผมเคยเล่าเรื่องนี้เอาไว้แล้วในกระทู้เรื่อง “เล่าถึงเหล่าเพื่อนผองของตั๋วแข็ง”

http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=330&postdays=0&postorder=asc&start=50

ตัดมาให้อ่านบางส่วนนะครับ Smile

tuie wrote:
ดำเนินเรื่องถึงตอนนี้แล้ว พอดีผมมีบัตรสำรองที่ และแผนผังที่นั่งซึ่งใช้สำหรับการจำหน่ายตั๋วโดยสารชั้นหนึ่ง ชั้นสองของห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า สถานีกรุงเทพ เมื่อกว่า ๒๐ ปีก่อน ในยุคที่ยังไม่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์มาใช้ในการจำหน่ายตั๋ว เลยอยากจะนำมาให้ชมพร้อมกับเล่าถึงกระบวนการในการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าในสมัยนั้นประกอบการนำเสนอ ให้เห็นว่ากว่าจะได้ซื้อตั๋วแข็ง หรือตั๋วบางสำหรับขบวนรถที่มีการสำรองที่นั่ง(รถด่วน รถเร็ว)นั้น มีขั้นตอนแตกต่างจากการซื้อตั๋วล่วงหน้าในสมัยนี้อย่างไรบ้าง ถ้าจะทำให้การเล่าเรื่องนี้ช้าไปบ้าง ก็ถือเสียว่าขบวนรถ(กระทู้)นี้กำลังเข้าทางหลีก ระหว่างรอหลีกก็ชมวิวไปพลางๆนะครับ Laughing

ขั้นตอนที่หนึ่ง เวลาท่านจะไปซื้อตั๋วล่วงหน้าที่ห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า สถานีกรุงเทพ ท่านจะต้องติดต่อที่เคาน์เตอร์หมายเลข ๑ ด้านหน้าสุด แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ผู้แจกบัตรสำรองที่ตามภาพต่อไปนี้ ก่อนว่าท่านจะเดินทางวันที่เท่าไร ไปไหน ชั้นใด ถ้าทราบขบวนที่ต้องการโดยสารก็แจ้งได้เลยครับ

Click on the image for full size

พอเจ้าหน้าที่ทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว หากวันเดินทางเป็นวันที่มีผู้โดยสารหนาแน่น รถชั้นที่ต้องการโดยสารเต็มแล้ว ก็จะมีการบันทึกข้อมูลไว้ในไวท์บอร์ดขนาดใหญ่ด้านหลังเคาน์เตอร์ ตีตารางเป็นช่องหมายเลขขบวนรถ ช่องรถชั้นต่างๆที่ขบวนรถนั้นมีบริการโดยระบุ วันที่ เดือนที่รถชั้นนั้นๆเต็มเอาไว้ เจ้าหน้าที่หันไปดูก็แจ้งได้ทันทีว่าขบวนรถในวันที่ที่ผู้ซื้อตั๋วประสงค์จะเดินทางนั้นเต็ม ไม่แจกบัตรสำรองที่ให้ นอกจากจะเปลี่ยนวันเดินทาง หรือเป็นกรณีที่ประสงค์จะเดินทางในวันที่ขบวนรถมีที่ว่างอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ถึงจะแจกบัตรสำรองที่ตามภาพข้างต้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นบัตรคิวไปด้วยในตัวให้นำไปติดต่อสำรองที่ที่เคาน์เตอร์ถัดไป คือ เคาน์เตอร์หมายเลข ๒,๓ สำหรับขบวนรถสายเหนือ-อีสาน เคาน์เตอร์หมายเลข ๔,๕ สำหรับขบวนรถสายใต้ ซึ่งใช้บัตรสำรองที่สีขาว ข้อความในบัตรสำรองที่ขบวนรถสายใต้เป็นทำนองเดียวกันกับบัตรสำรองที่ตามภาพข้างต้น

ตามแบบฟอร์มในบัตรสำรองที่ตามภาพนั้น บางท่านอาจสงสัยข้อความที่ว่า “ขึ้นที่สถานี” มีไว้ทำไม ในเมื่อมีข้อความว่า “จาก.....ถึง......” อยู่แล้ว เดินทางจากสถานีใดก็ต้องขึ้นสถานีนั้นสิ จากประสบการณ์ในฐานะผู้โดยสารตัวเล็กๆ(ตอนนั้นยังเป็นเด็ก)คนหนึ่ง พออธิบายได้ว่า ข้อความว่า ขึ้นที่สถานีนั้นใช้ในกรณีที่ผู้โดยสารจะเดินทางในระยะทางต่ำกว่าที่อนุญาตให้ซื้อตั๋วล่วงหน้า เช่น การเดินทางรถด่วนสายใต้เที่ยวกลับ สมัยก่อนกำหนดระยะทางขั้นต่ำที่เปิดจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าให้ คือ ชุมพร-กรุงเทพ เท่านั้น หากจะเดินทางจากบางสะพานใหญ่ถึงกรุงเทพซึ่งเป็นระยะทางสั้นกว่าชุมพร-กรุงเทพ เจ้าหน้าที่ไม่อาจจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าให้ได้ นอกจากจะซื้อตั๋วตามระยะทางขั้นต่ำที่สามารถจำหน่ายตั๋วให้ได้ คือ ชุมพร-กรุงเทพ แล้วแจ้งว่าขึ้นที่สถานีบางสะพานใหญ่ เจ้าหน้าที่ก็จะจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าให้ได้โดยบันทึกในแบบฟอร์มบัตรสำรองที่ว่า จากชุมพร ถึงกรุงเทพ ขึ้นที่สถานี บางสะพานใหญ่ ครับ

ถ้าไม่มีการบันทึกไว้แบบนี้ก็จะไม่มีข้อมูลสำหรับ พรร.ขบวนรถใช้ตรวจตั๋ว พอถึงวันเดินทาง พรร.ไม่เห็นผู้โดยสารขึ้นที่ชุมพรก็จะถือว่าสละสิทธิสามารถจำหน่ายตั๋วเลขที่นั่งนี้แก่ผู้โดยสารอื่นได้ โดยไม่ต้องรอให้ขบวนรถถึงบางสะพานใหญ่เสียก่อน แต่ถ้ามีการบันทึกข้อมูลว่าขึ้นสถานีใดไว้ พรร. ก็จะยังเก็บที่นั่งนี้ไว้จนกว่าผู้โดยสารคนนี้ขึ้นรถที่สถานีบางสะพานใหญ่

สำหรับกรณีที่ขึ้นโดยสารตรงตามสถานีต้นทางในตั๋วอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะปล่อยว่างไว้ ไม่ต้องระบุในช่อง “ขึ้นที่สถานี” ให้ซ้ำกันอีก หรือในกรณีต้นทางเป็นสถานีกรุงเทพ หากจะขึ้นโดยสารจริงที่สถานีสามเสน ชุมทางบางซื่อ ก็ทำได้โดยไม่ต้องแจ้งในขั้นตอนการสำรองที่ว่าขึ้นสถานีใดแน่

ขั้นตอนที่สอง นำบัตรสำรองที่ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์สำรองที่นั่ง/นอน เจ้าหน้าที่จะถามข้อมูลอีกครั้งว่าจะเดินทางจากสถานีใดถึงสถานีใด วันไหน ขบวนรถอะไร โดยสารชั้นใด กี่คนเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ฯลฯ แล้วก็ไปพลิกดูข้อมูลในผังที่นั่งว่างของขบวนรถ ชั้นที่และวันที่ต้องการโดยสาร ลักษณะของผังที่นั่งเป็นไปตามภาพนี้ครับ

Click on the image for full size

ผังที่นั่งตามภาพเป็นผังของรถ บชท.ป. เวลาใช้งานจริงจะมีการกรอกข้อมูลหมายเลขขบวนรถ วันที่ ปลายทาง รถคันที่ เอาไว้ครบถ้วนเก็บรวมกันกับผังที่นั่งสำหรับวันเดินทางวันอื่นๆไว้ในแฟ้ม หน้าปกแฟ้มมีระบุหมายเลขขบวนรถ บชท.ป.คันที่ เอาไว้ชัดเจนสะดวกแก่การหยิบมาเปิดดูที่นั่งว่าง หากที่นั่งใดมีการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าไปแล้ว เจ้าหน้าที่จะลงข้อมูลหมายเลขตั๋ว จากสถานีใดถึงสถานีใดเอาไว้ในช่องตารางสำหรับที่นั่งหมายเลขนั้นๆ แต่ถ้าช่องตารางของที่นั่งหมายเลขใดยังไม่มีการกรอกข้อมูลดังกล่าว ก็แสดงว่าที่นั่งยังว่างอยู่สามารถสำรองที่นั่งนั้นได้ เจ้าหน้าที่ก็จะกรอกข้อมูลลงในผังที่นั่งว่างแสดงว่ามีการสำรองที่นั่งเลขที่นี้แล้ว และกรอกแบบฟอร์มบัตรสำรองที่ให้ครบถ้วนโดยระบุหมายเลขรถคันที่ เลขที่นั่งเอาไว้ เว้นแต่ยังไม่กรอกเลขที่ตั๋ว เพราะในขั้นตอนนี้ยังไม่ได้ออกตั๋วให้ ผู้ซื้อตั๋วต้องนำบัตรสำรองที่ที่ผ่านการกรอกข้อมูลดังกล่าวไปติดต่อซื้อตั๋วเคาน์เตอร์ต่อไป ตามที่ระบุในบัตรสำรองที่ว่าให้ไปรับตั๋วที่เคาน์เตอร์หมายเลขใด

นอกจากการระบุข้อมูลที่นั่งว่างไว้ในผังตามภาพข้างต้นแล้ว ยังมีการลงข้อมูลที่นั่งว่างไว้อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ลงข้อมูลในสมุดปกแข็งเล่มใหญ่ หน้าปกเขียนหมายเลขขบวนรถไว้ ภายในสมุดเป็นกระดาษเส้นบรรทัดประทับวันเดือนปี รถคันที่ ชั้นและประเภทรถไว้บนหัวกระดาษ แล้วเขียนหมายเลขที่นั่งเรียงไปตามแต่ละบรรทัดจากบนลงล่าง ส่วนมากการลงข้อมูลที่นั่งว่างในสมุดแบบนี้จะใช้สำหรับขบวนรถเที่ยวกลับ ซึ่งมีการกำหนดโควต้าที่นั่งเที่ยวกลับให้สถานีกรุงเทพจำหน่ายตั๋วแทนสถานีต้นทางที่ผู้โดยสารจะเดินทางเที่ยวกลับ เช่น เที่ยวกลับขบวน ๑๒ (ขบวน ๓๖ ในปัจจุบัน) ระยะทางจากหาดใหญ่-กรุงเทพ ก็จะมีข้อมูลลงไว้ในสมุดปกแข็งหน้าปกมีเลข ๑๒ ตัวใหญ่ๆ เปิดภายในก็จะไล่เรียงตั้งแต่หน้ากระดาษโควต้าที่นั่ง/นอนรถ บนอ.ป.คันที่ ๒ รถ บนอ.คันที่ ๓ รถ บนท.ป. คันที่ ๔ ของแต่ละวันเดินทาง โดยระบุหมายเลขที่นั่ง/นอนที่สถานีกรุงเทพได้โควต้ามาจำหน่ายตั๋วแทนเอาไว้ อย่างรถ บนท.ป. คันที่ ๔ ก็จะมีโควต้าหมายเลขที่นั่ง/นอน เลขที่ ๑-๑๒ เท่านั้น ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วเที่ยวกลับที่สถานีกรุงเทพจะเลือกหมายเลขอื่นไม่ได้ นอกจากที่นั่งตามโควต้าเต็มหมดแล้ว เจ้าหน้าที่อาจโทรศัพท์ติดต่อขอสำรองที่นั่งหมายเลขอื่นของรถบนท.ป.คันนี้จากสถานีชุมทางหาดใหญ่ให้เป็นรายๆไป ซึ่งจะสำเร็จสมประสงค์หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างครับ ถ้าที่นั่งของสถานีชุมทางหาดใหญ่ก็เต็ม หรือเจ้าหน้าที่บางคนไม่โทรติดต่อให้ใช้วิธีบอกเอาง่ายๆตามข้อมูลในสมุดว่าเต็มแล้ว ซึ่งผู้โดยสารส่วนใหญ่โดนแบบนี้ก็ยอมจำนน แต่พวกแฟนรถไฟแบบเราๆท่านๆทราบว่า สามารถโทรขอโควต้าได้ก็จะบอกให้เจ้าหน้าที่คนนั้นช่วยโทรให้หน่อย แต่ถ้ายังบอกว่าโทรติดต่อไม่ได้ก็อดซื้อตั๋วล่วงหน้าเที่ยวกลับกันละครับ

แต่ถ้าเจ้าหน้าที่โทรขอโควต้าที่นั่งเที่ยวกลับให้สำเร็จ ก็จะกรอกข้อมูลการติดต่อสำรองที่จากสถานีต้นทางเที่ยวกลับลงในแบบฟอร์มอีกแบบหนึ่ง ลักษณะเป็นเอกสารโรเนียวลงกระดาษสีขาวขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของกระดาษเอ ๔(ผมยังหาแบบฟอร์มนี้ไม่พบเลยครับ เลยไม่ได้นำภาพมาให้ชมกัน) มอบให้ผู้ซื้อตั๋วนำไปติดต่อรับตั๋วแทนบัตรสำรองที่ตามภาพข้างต้น เป็นอย่างไรครับ เริ่มเห็นความลำบาก ยุ่งยากในการซื้อตั๋วล่วงหน้ายุคโบราณแล้วหรือยัง ช่างผิดกับยุคคอมพิวเตอร์นะครับ ถ้าไม่เล่าไว้ก็จะไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้อนุชนได้ศึกษาถึงวิวัฒนาการในการจำหน่ายตั๋ว(ว่าเข้าไปนั่น)

การจองตั๋ว(ซื้อตั๋ว)รถบนท.ป.สมัย ๒๐ กว่าปีที่แล้วนั้นซื้อได้ยากจริงๆ ถ้าไม่รีบซื้อตั๋วล่วงหน้านานๆรถ บนท.ป.มักจะเต็มก่อนเสมอ เนื่องจากสมัยปี ๒๕๒๕-๒๕๓๐ ยุคก่อนที่จะมีรถบนท.ป.๔๐ ที่ ล็อตใหญ่เข้ามาให้บริการในปี ๒๕๓๑ รถบนท.ป. มีแต่รุ่นเก่า ๓๒ ที่ เพียงรุ่นเดียว ทั้งประเทศมี ๑๖ คัน ปกติพ่วงกับขบวน ๑/๒(กรุงเทพ-อุบลฯ) ๗/๘(กรุงเทพ-เชียงใหม่) ๑๑/๑๒หรือ๑๕/๑๖(กรุงเทพ-บัตเตอร์เวอร์ธ/สุไหงโกลก) ๔๗/๔๘(กรุงเทพ-นครศรีธรรมราช)ขบวนละหนึ่งคัน พ่วงขบวน ๑๙/๒๐(กรุงเทพ-ยะลา ซึ่งต่อมาขยายปลายทางไปถึงสุไหงโกลก เป็นขบวน ๓๗/๓๘ ในปัจจุบัน) ขบวนละสองคัน รวมรถบนท.ป.ที่นำออกให้บริการจริงตามปกติแค่ ๑๒ คันเท่านั้นเอง ไม่เหมือนกับรถ บนท. ในยุคนั้นที่มีเยอะ แต่ไปๆมาๆสมัยนี้กลับกันเสียแล้วนะครับ รถที่หาโดยสารยากกลับเป็นรถ บนท. โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่เดินทางด้วยขบวนรถด่วนพิเศษจะไม่มีทางเลือกโดยสารรถ บนท.เลย เพราะรถนอนชั้นสองของขบวนรถด่วนพิเศษมีแต่รถ บนท.ป. ทั้งนั้น เล่าๆไปชักจะบ่นมากอีกแล้วกลับมาขั้นตอนต่อไปกันดีกว่าครับ

ขั้นตอนที่สาม ผู้ซื้อตั๋วนำบัตรสำรองที่ที่ผ่านการกรอกข้อมูลการสำรองที่ มีการระบุหมายเลขรถคันที่และเลขที่นั่งไว้เรียบร้อยแล้ว ไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วตามที่ระบุไว้ในบัตรสำรองที่ว่า “โปรดรับตั๋วหมายเลข” เจ้าหน้าที่จำหน่ายตั๋วก็จะออกตั๋วให้ตามข้อมูลที่ระบุไว้ในบัตรสำรองที่ว่าเดินทางวันไหน รถขบวนใด ชั้นใด คันที่เท่าไร เลขที่นั่ง/นอนใด จะได้ตั๋วแข็งหรือตั๋วบางก็ลุ้นระทึกกันตอนนี้ละครับ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะกรอกหมายเลขตั๋วลงในบัตรสำรองที่เพื่อสงไปลงข้อมูลหมายเลขตั๋วในผังหรือสมุดแสดงที่นั่งว่างตามแต่กรณีต่อไป ถ้าเป็นกรณีที่ออกตั๋วแข็งให้หลายใบสำหรับผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นตั๋วค่าโดยสาร ตั๋วค่าธรรมเนียมต่างๆ ก็ไม่ต้องกรอกหมายเลขตั๋วสำรับนั้นทุกใบลงในบัตรสำรองที่นะครับ กรอกแค่ข้อมูลหมายเลขตั๋วโดยสารซึ่งเป็นตั๋วใบหลักก็พอ เพราะว่าตั๋วค่าธรรมเนียมต่างๆไม่ว่าจะมีกี่ใบก็ต้องอ้างถึงตั๋วโดยสารอยู่แล้วว่าใช้ควบตั๋วโดยสารหมายเลขใด

พอเจ้าหน้าที่ออกตั๋วให้เสร็จก็จะเขียนซองตั๋วให้ด้วย สมัยก่อนข้อมูลหน้าซองตั๋วเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้โดยสารทั่วๆไปนะครับ เพราะข้อความตามตั๋ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั๋วแข็งยังมีข้อมูลที่จำเป็นในการเดินทางไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างตั๋วคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เช่น ไม่มีข้อมูลเวลารถออก ตั๋วบางใบก็ไม่ระบุรถคันที่ หมายเลขที่นั่ง/นอนไว้เลย เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะประทับตรายางแล้วกรอกข้อมูลดังกล่าวเพิ่มเติมให้ดังที่เคยนำเสนอไปแล้ว ผู้โดยสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างชาติก็สามารถดูข้อมูลการเดินทางที่หน้าซองตั๋วได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยรักษาตั๋วแข็งไม่ให้กระจัดกระจายสูญหายไปก่อนใช้เดินทางด้วยครับ ส่วนการชำระค่าตั๋วก็ต้องเป็นเงินสดเท่านั้น ไม่รับบัตรเครดิตเหมือนปัจจุบัน

_________________
นสน.าย./อ.ตุ้ย/อ.หลวงอัคคีเทพอาณัติ/
http//:www.facebook.com/VISIT-RAILWAY-MUSEUMS-1521959098131925/
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Rakpong
President
President


Joined: 29/03/2006
Posts: 1716
Location: แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก

PostPosted: 16/02/2010 2:16 pm    Post subject: Reply with quote

ความรู้ที่เราเคยสะสมไว้ ตามกระทู้ต่าง ๆ บางทีก็หายากเหมือนกัน
บางทีมีโจทย์คำถามจากสมาชิกใหม่ ก็น่าจะรวบรวมเรียบเรียงไว้ ให้เป็นเรื่องเป็นราวครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
box_car
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 2169
Location: บ่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิต ชนิดกินไก่ ผิวเกล็ด

PostPosted: 16/02/2010 3:45 pm    Post subject: Reply with quote

donatt76 wrote:
ถ้าจำไม่ผิด เค้าใช้ระบบ ดควต้าตั๋วหรือเปล่าครับ...สถานีไหน ถือ โควต้าเท่าไหร่ ที่นั่งเบอร์อะไรบ้าง ถ้าใช้ของตัวเองไปแล้วก็ต้องโทรขอโควต้า จากสถานีอื่นๆ

ก่อนที่จะมีระบบคอมพิวเตอร์ครบทุกสถานีอย่างในปัจจุบัน ผเคยไปจองที่นครสวรรค์ เจ้าหน้าที่ยังต้องโทรของไปที่สถานีพิษณุโลกเลยครับ ให้ทางพิษณุโลก ช่วยดูในคอม และขอเบอร์ตั๋วมาออกเป็นตั๋วเขียนสีเหลืองให้


ใจเย็นกันนิดนึงนะ...
ไม่ต้องรีบพิมพ์ ไม่มีใครแย่ง
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
tong_sanam
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 15/05/2007
Posts: 1550
Location: พิกัดที่ 385.593

PostPosted: 16/02/2010 3:59 pm    Post subject: Reply with quote

^
^
^
เฮียกวงมา ความฮาบังเกิด Laughing


โพสต์ของพี่กวง คือ โพสต์ที่น่าติดตาม(ความฮา) อีกท่านหนึ่งเลยทีเดียว
_________________
Click on the image for full size

"ที่นี่สถานีชุมทางสนามชัยเขต
ท่านที่จะเดินทางไป จันทบุรี ตราด
โปรดข้ามไปรอการโดยสารในชานชาลาที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
donatt76
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 03/09/2006
Posts: 2587
Location: บางนา สุวรรณภูมิครับ

PostPosted: 16/02/2010 7:29 pm    Post subject: Reply with quote

box_car wrote:
donatt76 wrote:
ถ้าจำไม่ผิด เค้าใช้ระบบ ดควต้าตั๋วหรือเปล่าครับ...สถานีไหน ถือ โควต้าเท่าไหร่ ที่นั่งเบอร์อะไรบ้าง ถ้าใช้ของตัวเองไปแล้วก็ต้องโทรขอโควต้า จากสถานีอื่นๆ

ก่อนที่จะมีระบบคอมพิวเตอร์ครบทุกสถานีอย่างในปัจจุบัน ผเคยไปจองที่นครสวรรค์ เจ้าหน้าที่ยังต้องโทรของไปที่สถานีพิษณุโลกเลยครับ ให้ทางพิษณุโลก ช่วยดูในคอม และขอเบอร์ตั๋วมาออกเป็นตั๋วเขียนสีเหลืองให้


ใจเย็นกันนิดนึงนะ...
ไม่ต้องรีบพิมพ์ ไม่มีใครแย่ง


แก้แล้วครับ.....แต่คำว่า "คอม" ผมเขียนถูกนะ แค่ลืม ฯ เท่านั้นครับ

PS. ไม่ได้กลัวใครแย่งพิมพ์นะเฮียกวง....แต่กลัวเจ้านายมาเห็นว่าแอบเล่นเวปรถไฟไทยในเวลางาน
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
AONZON
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/12/2006
Posts: 221
Location: กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ

PostPosted: 21/02/2010 1:51 am    Post subject: Reply with quote

นึกถึงเรื่องการจองตั๋วนี่...ในวัยเด็ก..(ราวๆ ก่อนปี 2520) .นอกจากพ่อจะไปจองตั๋วที่สถานีอุดร เพื่อกลับมาทำงานที่ดอนเมืองแล้ว...พ่อผมยังไปจองตั๋วที่ร้านขายยา ๕ แยกน้ำพุ...ที่นั่นจะมีบริการรับจองตั๋วรถไฟ เครื่องบิน...พอไปจองเค้าก็จะโทรไปสอบถามที่สถานีและจัดการออกใบตั๋วให้เรา...ต่อมามีบริการโทรจอง(สอบถาม)จากที่บ้านได้แล้วรีบมารับตั๋วภายในวันนั้นก็มีครับ...

ครั้นปี 2531 ผมมาเรียนอยู่กรุงเทพ...จะจองตั๋วรถ...จำได้ว่า..ต้องนั่งรถไฟจากดอนเมืองเข้าไปจองที่หัวลำโพง...เพราะห้องจองตั๋วล่วงหน้าดอนเมืองเปิด ๘ โมงเช้า.(จำได้เพราะต้องยืนเคารพธงชาติก่อน...เดี๋ยวนี้เค้าเปิดตั้งแต่ ๖ โมงกันแล้ว)..ผมมีความรู้สึกว่า..ถ้ารอจนเปิดขาย..ตั๋วเต็มพอดี...เพราะที่หัวลำโพง...ขายตั้งแต่ ๖ โมงเช้า (ไม่แน่ใจอาจจะตั้งแต่ตีห้าครึ่งหรือเปล่า)....ครั้นพอมีระบบคอมพิวเตอร์และการพิมพ์ตั๋ว...สดวกขึ้นเยอะ...ผมจองได้ ๒๔ ชั่วโมง ถ้าห้องขายตั๋วเปิด (เพราะยังมีรถวิ่งอยู่) ต้องขอบคุณการรถไฟครับ...ที่นำสิ่งที่ดีๆ มาพัฒนาการรถไฟ...จองตั๋วล่วงหน้าแบบนี้ผมยังเคยไปราชการที่หาดใหญ่...ตอนนั้นนอนโรงแรม...เช้าผมเดินออกมาดูรถไฟที่สถานีหาดใหญ่..แล้วผมเดินขึ้นไปจองตั๋ว...ผมจองเดินทางวันนั้น(ขบวนด่วน)ขึ้นที่ดอนเมือง ไปลงอุดร...คนขายยังถามย้ำเลย..วันนี้จริงๆนะครับ...ผมลืมบอกเค้าไปว่า..ใช่เพราะผมนั่งเครื่องบิน(ทหาร)กลับดอนเมืองเที่ยงวันนั้น..ไม่ว่าอยู่ในเส้นทางสายไหน...ก็สะดวกในการจองตั๋วดีครับ...
_________________
ภาพถ่ายในวันนี้..คือประวัติศาสตร์ในวันพรุ่งนี้
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail Visit poster's website MSN Messenger
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©