RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264348
ทั้งหมด:13575631
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/06/2011 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

หวั่นท่าเรือทวายทำลายสภาพแวดล้อมฝั่งอันดามันพม่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 มิถุนายน 2554 19:00 น.

เอเอฟพี - เครื่องมือขุดเจาะบนชายหาดใกล้เมืองท่าทวาย (Dawei) เป็นสัญลักษณ์ว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมาเยือนพื้นที่ห่างไกลแห่งนี้ของพม่า แต่ไม่จำเป็นว่าความเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปในทิศทางที่ดีเสมอไป

พื้นที่ดังกล่าวถูกเลือกให้เป็นพื้นที่โครงการก่อสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ ที่เป็นตัวอย่างล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่ายังมีการลงทุนจากประเทศพันธมิตรในเอเชียเช่น จีน และไทย แม้ว่าพม่าจะถูกคว่ำบาตรจากชาติตะวันตกก็ตาม

บางคนเชื่อว่าโครงการพัฒนาทวายระยะสร้างนาน 10 ปี มูลค่า 8,000 ล้านดอลลาร์ โดยกลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมของไทยจะนำสิ่งที่ดีมาสู่ประเทศและปฏิวัติเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาค

แต่ความหวังที่ว่าแผนสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะนำเม็ดเงินมาสู่ประเทศเป็นจำนวนมากนี้ ก็สร้างความวิตกกังวลเกี่ยวกับการหลั่งไหลของอุตสาหกรรมสกปรกมาสู่ประเทศและความกังวลว่าจะต้องอพยพย้ายผู้คนหลายพันคน

"พม่ายังคงเพิกเฉยกับประเด็นสิ่งแวดล้อม" นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว และอ้างว่าการขาดกฎระเบียบควบคุมเป็นปัญหาสำคัญของโครงการทวาย

"ทวายเป็นทางออกสำหรับบรรดาอุตสาหกรรมของโลกที่มีปัญหาเรื่องกระทบสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมที่ถูกห้ามในประเทศอื่นๆ" นายธนิต กล่าว พร้อมระบุเพิ่มเติมว่าทั้งโครงการอาจจะมีมูลค่าถึง 60,000 ล้านดอลลาร์หรือสูงกว่านั้น

นักรณรงค์และช่วยเหลือแรงงานในท้องถิ่นที่ประเมินว่าประชาชนประมาณ 23,000 คน จะต้องย้ายที่อยู่ กล่าวว่า ในการก่อสร้างระยะแรกได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเมืองชายหาดที่เงียบสงบแห่งนี้ไปเสียแล้ว

"ชายฝั่งที่สวยงามพร้อมหาดทรายขาวที่ทอดยาว อีกไม่กี่ปีภาพเหล่านี้จะหายไปหมด" นักเคลื่อนไหวที่ไม่เปิดเผยชื่อเพื่อความปลอดภัย กล่าว และว่าเนื่องจากขาดกฎระเบียบควบคุมและป้องกันระบบพวกพ้องในการพัฒนาด้านต่างๆของประเทศ มีแนวโน้มที่นำมาซึ่งการคอร์รัปชั่นอย่างมาก ขณะเดียวกันราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นสร้างแรงกดดันให้กับคนท้องถิ่น

"รัฐบาลไม่ได้พิจารณาถึงประชาชน แต่ทำในสิ่งที่อยากทำ" นักเคลื่อนไหวคนเดิม กล่าว

นอกจากนั้น นายเดวิด เมธีสัน จากองค์กรคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ฮิวแมนไรท์วอช กล่าวว่า มีรายละเอียดบางอย่างอยู่ในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนจากโครงการทวาย แต่ประสบการณ์ก่อนหน้า การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่มักเป็นของความทุกข์สำหรับคนท้องถิ่น

"การละเมิดสิทธิมนุษยชนมักเกิดขึ้นเสมอพร้อมกับโครงการเหล่านี้ เช่น การอพยพย้ายถิ่น การยึดที่ดิน การบังคับใช้แรงงาน และการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของทหารหรือการรักษาความปลอดภัย" นายเมธีสัน กล่าว


ทวาย ตั้งอยู่บนฝั่งอันดามันหันหน้าไปทางมหาสมุทรอินเดีย ถูกตั้งให้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญมายาวนาน นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ของกลุ่มอิตัลไทยกล่าวว่า โครงการท่าเรือสามารถสร้างงานได้ถึง 100,000 ตำแหน่ง

"โครงการนี้จะยกระดับการจ้างงานและการศึกษาเป็นอย่างมาก นึกถึงประเทศไทยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว" นายสมเจตน์ กล่าว และว่ารัฐบาลพม่ามีความเห็นว่าโครงการนี้เป็นสิ่งเชื่อมโยงประเทศไปสู่โลกภายนอก

การจัดการทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีและระบบพวกพ้อง นานกว่าครึ่งศตวรรษในระหว่างที่กองทัพพม่าปกครองประเทศ ทำให้พม่าแยกตัวและยากจน แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ก็ตาม และในการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ถ่ายโอนอำนาจจากทหารมาสู่รัฐบาลพลเรือนที่ได้จากการเลือกตั้งเมื่อพ.ย. 2553 ที่ผ่านมา ได้สร้างความหวังว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับประเทศ แต่นายฌอน เทอร์เนลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจพม่า ของมหาวิทยาลัยแมคควารี ออสเตรเลีย สงสัยว่าการลงทุนในโครงการนี้จะถึงมือคนในท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด

"ความคิดที่ว่าจะสร้างงานนับร้อยนับพันเป็นเรื่องไร้สาระ" นายเทอร์เนลล์ กล่าว และว่าผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริงของโครงการทวายน่าจะเป็นประเทศไทย

ในปัจจุบัน สินค้าจากผู้ส่งออกไทยเดินทางออกจากอ่าวไทย ผ่านสิงคโปร์และช่องแคบมะละกาก่อนมุ่งไปตะวันตก ซึ่งถนนและทางรถไฟที่เชื่อมต่อไปยังทวายนี้เป็นช่องทางที่คาดหวังว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับเส้นทางอ้อมดังกล่าว

โครงการทวายยังช่วยร่นระยะทางการส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามที่ บริษัทอิตัลไทยระบุ และคาดว่าจะเชื่อมต่อรถไฟไปยังคุนหมิง ในภาคใต้ของจีน

แผนพัฒนาโครงการทวายครอบคลุมพื้นที่ 250 ตารางกม. ที่รวมทั้ง โรงรีดเหล็ก โรงงานปุ๋ย โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงกลั่นน้ำมัน เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานให้กับประเทศเพื่อนบ้านของพม่า

นายเทอร์เนลล์กล่าวว่า การขาดการควบคุมอาจช่วยดึงดูดนักลงทุนที่กังวลเกี่ยวกับการทำธุรกิจในพม่าว่าจะมีผู้ตรวจสอบสภาพแวดล้อมมาเคาะประตู ขณะเดียวกันการประเมินสิ่งแวดล้อมกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งนายสมเจตน์ ระบุว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์

ทางด้านนายเครก สเตฟเฟนเซน จากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือเอดีบี กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่า โครงการทวายมีศักยภาพมากสำหรับภูมิภาค แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับพื้นที่ในท้องถิ่น

"คุณต้องระมัดระวังอย่างมากเมื่อโครงการพวกนี้มาถึงชุมชนและกระทบสิ่งแวดล้อม แต่หน่วยงานในพม่าจะดำเนินกาตามขั้นตอนที่เอดีบีสนับสนุนหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ชัดเจน" นายสเตฟเฟนเซน กล่าว

การก่อสร้างถนนเชื่อมไปไทยเกือบจะเสร็จสมบูรณ์ และในการก่อสร้างระยะแรกที่ประกอบด้วยท่าเรือ 1 แห่ง จากที่วางแผนไว้ทั้งหมด 3 แห่ง จะเปิดใช้งานได้ภายในเวลา 5 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 05/06/2011 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

บ้านเขานะครับ ไม่ใช่บ้านเรา Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2011 10:50 am    Post subject: Reply with quote

บีเอสเอเอจี้ปรับบทบาท'แหลมฉบัง'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 7 มิถุนายน 2554 09:39

บีเอสเอเอแนะปรับบทบาทท่าเรือแหลมฉบัง รองรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า แทนตั้งเป้าเป็น"ฮับ"ในภูมิภาค เหตุข้อจำกัดของสภาพภูมิศาสตร์

นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล ประธานสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพหรือบีเอสเอเอ กล่าวในงานเสวนา"ทิศทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศกับบทบาทการท่าเรือฯ" วานนี้(6มิ.ย.) ว่า ท่าเรือแหลมฉบังควรมีบทบาทเป็นท่าเรือเพื่อรองรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าของไทย เพราะไม่สามารถเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีน หรือเป็นศูนย์กลางการถ่ายลำเช่นท่าเรือสิงคโปร์ได้ โดยอุปสรรคสำคัญคือทำเลที่ตั้งของท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งอยู่ในอ่าวไทย ไม่ได้ติดเส้นทางเดินเรือหลัก ดังนั้น การมาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือแหลมฉบัง ต้องใช้เวลาประมาณ 2 วัน

“ท่าเรือแหลมฉบังต่างจากท่าเรือน้ำลึกประเทศอื่นๆในภูมิภาคนี้ ไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม อินโดนีเซีย หรือสิงคโปร์ อีกทั้งท่าเรือเวียดนาม รองรับเรือสินค้าขนาด 13,000 ทีอียูได้แล้ว ขณะที่ปริมาณสินค้าเวียดนามเพิ่มขึ้น เพราะค่าแรงถูก จึงดึงดูดเรือแม่ซึ่งขนสินค้าไปยุโรปและสหรัฐให้เข้าไปใช้บริการ ขณะที่ท่าเรือแหลมฉบังรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่สุดได้เพียง6,000-7,000 ทีอียูเท่านั้น ไทยจึงต้องตื่นจากฝันที่จะเป็นฮับได้แล้ว และหันมาส่งเสริมการขนส่งสินค้าเข้า-ออกของประเทศให้ดีที่สุด เพราะปริมาณสินค้านำเข้าและส่งออกของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง"นายสุวัฒน์ กล่าว

ทั้งนี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) ควรเพิ่มความยาวหน้าท่า ในการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เพื่อรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ จากปัจจุบันที่อนุญาตให้เทียบท่าเฉพาะเรือที่มีความยาวไม่เกิน 300 เมตร เพราะแนวโน้มของเรือสินค้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อลดต้นทุนของบริษัทเรือ และควรสร้างความชัดเจนว่าในอนาคตท่าเรือกรุงเทพจะมีบทบาทอย่างไร จะจำกัดปริมาณขนส่งสินค้าที่ปีละ 1.34 ล้านทีอียูเช่นในปัจจุบัน หรือจะเพิ่มปริมาณตู้สินค้า หรือจะหยุดให้บริการท่าเรือกรุงเทพ

ส่วนการก่อสร้างท่าเรือฝั่งอันดามัน เพื่อเชื่อมการขนส่งมายังอ่าวไทย หรือ LAND BRIDGE ไม่น่าจะคุ้มค่าการลงทุน เพราะบริษัทเรือจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากการขนถ่ายสินค้าจากท่าเรือฝั่งอันดามันมายังรถไฟ เพื่อขนถ่ายลงเรืออีกครั้งที่ฝั่งอ่าวไทย ซึ่งค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นตู้ละประมาณ 1 หมื่นบาท และบริษัทเรือต้องผลักภาระนี้ไปยังเจ้าของสินค้า ขณะที่การขนถ่ายสินค้าจะใช้เวลาประมาณ 2 วัน ซึ่งเท่ากับเวลาที่เดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่เวลาการขนส่งไม่ลดลง จึงไม่น่ามีผู้ใช้บริการ ส่งผลให้โครงการLAND BRIDGE ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ทั้งที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก

นายสุวัฒน์ ยังกล่าวถึงการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ว่า ความต้องการเรือสินค้าขนาด 1,000 ทีอียู เพื่อขนส่งสินค้าในภูมิภาคจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาครัฐต้องเร่งปรับปรุงกฏระเบียบที่เป็นอุปสรรค เพื่อดึงดูดต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทย เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออกประเทศในอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/06/2011 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าโครงการนิคมฯ ทวาย มั่นใจรัฐบาลใหม่หนุนเต็มพิกัด
สำนักข่าวไทย วันพุธ ที่ 08 มิ.ย. 2554

กรุงเทพฯ 8 มิ.ย.-ในงานสัมมนา “โอกาสการลงทุนในนิคมทวาย สหภาพพม่า” นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ กล่าวว่า ขณะนี้โครงการนิคมทวายที่ลงทุนโดยบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเม้นท์ ที่อิตัลไทยถือหุ้นทั้งหมด ยังคงเดินหน้าตามแผนเดิม ซึ่งจะสามารถเปิดดำเนินการได้ภายใน 4 ปีข้างหน้า มีพื้นที่นิคม 200,000 ไร่ โดยคณะรัฐมนตรีของไทยได้สนับสนุนโครงการนี้ และแม้จะมีการเลือกตั้ง แต่เท่าที่ทราบทุกพรรคการเมืองต่างก็สนับสนุนโครงการนี้ทั้งหมด โดยเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับตัวเลขใหม่ คาดว่าจะลงทุนน้อยกว่าเดิมที่มีเม็ดเงินลงทุน 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เหตุผลเพราะการลงทุนสาธารณูปโภคเช่น ถนน รถไฟ มีต้นทุนลดต่ำลง

ทั้งนี้ทางบริษัทได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้เป็นวันแรก และพร้อมรับพันธมิตรร่วมทุน ทั้งส่วนบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเม้นท์ โดยอิตัลไทย จะถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 รวมถึงการเป็นพันธมิตรร่วมทุนในโครงการอื่น เช่น โรงไฟฟ้า โรงเหล็ก โรงงานปุ๋ย โรงกลั่นน้ำมัน และจะมีการโรดโชว์ในต่างประเทศ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ตั้งแต่เดือนนี้ คาดว่าจะสรุปพันธมิตรภายในปีนี้ เบื้องต้นมีผู้สนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก เช่น โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังการผลิต 3,600 เมกะวัตต์ จะขายไฟให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และจะมีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 6,000 เมกะวัตต์ เพื่อใช้ในโครงการทวาย รวมแล้วจะต้องลงทุน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผู้สนใจมีทั้งจากต่างประเทศและไทย เช่น บริษัท ปตท.อินเตอร์เนชั่นแล บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี บมจ.ผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

นอกจากนี้โครงการหลักที่ทางบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเม้นท์ จะเข้าร่วมทุน ประกอบด้วยโรงกลั่นน้ำมันกำลังไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาร์เรลต่อวัน โครงการเหล็กต้นน้ำ ที่จะผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน 6 ล้านตัน โครงการผลิตปุ๋ยเป็นต้น ซึ่งในส่วนโรงไฟฟ้าและโรงงานเหล็กต้นน้ำ ทางบริษัทได้จัดหาแหล่งวัตถุดิบให้พร้อมสำหรับผู้ร่วมทุนต่าง ๆ
“นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศสนใจลงทุนในทวายจำนวนมาก แต่สิ่งที่มีการสอบถามและห่วงมากที่สุดคือ การคว่ำบาตรต่อพม่า โดยสหภาพยุโรปและสหรัฐ ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่า ประชาธิปไตยในพม่ามีการพัฒนาต่อเนื่อง ส่วนญี่ปุ่น จีน หรืออินเดีย ที่ไม่คว่ำบาตร ได้สนใจจะลงทุนเป็นจำนวนมาก”นายเปรมชัย กล่าว

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ครม.ชุดนี้ได้เห็นชอบการสนับสนุนโครงการทวาย และแม้มีรัฐบาลใหม่ คาดว่าการสนับสนุนจะยังเดินหน้าต่อไป เพราะโครงการนี้อยู่ในกรอบความร่วมมือของอาเซียน โดยสิ่งที่รัฐบาลจะหนุนเช่น ระบบเส้นทาง มอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี เงินลงทุน 30,000 ล้านบาท โครงการปรับปรุงเส้นทางรถไฟเพื่อขนส่งสินค้า 25,000 ล้านบาท และจะมีการพัฒนากาญจนบุรี รวมทั้งการพัฒนาด่านชายแดนต่าง ๆ เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า

ด้านนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการทวายจะเป็นอีก 1 หัวใจหลักในการพัฒนาการลงทุนจากไทยที่จะสามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันในอนาคต โดยงบประมาณที่รัฐสนับสนุน นอกจากมาจากไทยแล้ว ยังจะมีจากกองทุนพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานของอาเซียน(อาเซียน อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์) ที่ 10 ประเทศอาเซียนมีข้อตกลงในการจัดตั้ง และคาดว่าจะสามารถลงนามจัดตั้งใน 3-4 เดือนข้างหน้า โดยเม็ดเงินของกองทุนฯ จะมีประมาณ 500-600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเป็นกองทุนที่ธนาคารชาติของ 10 ประเทศอาเซียนสามารถเข้ามาลงทุนได้ ส่วนการอำนวยความสะดวกการลงทุนในทวายนั้น ทางกระทรวงการคลัง ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีการส่งเสริมในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น การยกเว้นภาษีซ้ำซ้อนเรื่องการลงทุนในต่างประเทศ เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย

-----------------

สภาพัฒน์หนุน"ท่าเรือทวาย" แนะรัฐลงทุน 5.2 หมื่นล. สร้างมอเตอร์เวย์เชื่อม
ไทยโพสต์ 9 มิถุนายน 2554

สภาพัฒน์ประกาศชัดหนุน "ท่าเรือทวาย" เต็มที่ เตรียมใช้งบประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท สร้างมอเตอร์เวย์-ส่วนต่อขยายรถไฟทางคู่เชื่อมไทย-พม่า ระบุ "ปากบารา" มีข้อจำกัดหลายด้าน ด้าน "เปรมชัย" แจงความคืบหน้า คาดผลสำรวจแบบก่อสร้างโปรเจ็กต์แสนล้านเสร็จในปีนี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยในงานสัมมนาโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกทวายในสหภาพพม่า เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.2554 ว่า หลังจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนหน้านี้ได้เห็นชอบกรอบความร่วมมือระหว่างไทยและพม่า ที่จะให้ประเทศไทยเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาระบบเชื่อมต่อท่าเรือทวายนั้น

ล่าสุด สศช.ได้เตรียมความพร้อมที่จะรองรับโครงการดังกล่าว โดยจะเร่งผลักดันโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ส่วนต่อขยายจากนครปฐม-กาญจนบุรี วงเงินรวม 2 โครงการ ประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งการขยายด่านศุลกากรบริเวณชายแดนไทย-พม่า ที่บ้านน้ำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรีด้วย

ทั้งนี้ ศสช.ยืนยันตามมติ ครม.ที่จะเข้าไปสนับสนุนโครงการท่าเรือทวาย แต่ต้องดูข้อกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนด้วย รวมถึงต้องหารือกับกระทรวงคมนาคมในเรื่องงานโครงสร้างพื้นฐาน ถนน และรถไฟ ว่ามีแผนดำเนินงานอย่างไร รวมไปถึงด่านศุลกากรชายแดนต้องทำให้สอดคล้องกันไปด้วย เพราะบริเวณดังกล่าวจะเป็นเส้นทางหลักที่มีความสำคัญในอนาคต

“การทำโครงการในประเทศไทยมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมต้องผ่านกระบวนการทางสิ่งแวดล้อม ทำให้โครงการไม่ได้เดินหน้าเท่าที่ควร เราจึงจำเป็นต้องขยายการพัฒนาไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งการเดินหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายก็ยังเป็นการสนับสนุนการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนให้มีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้นด้วย ส่วนการทำท่าเรือน้ำลึกปากบารามีข้อจำกัดหลายด้าน“ นายอาคมกล่าว

นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หากมองดูในภาพใหญ่ของโครงการแล้ว ประเทศไทยเองก็มีความต้องการที่จะเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งในประเทศพม่าเองที่ผ่านมา ไทยก็มีความคิดที่จะเข้าไปทำธุรกิจหลายประเภท และการดำเนินโครงการครั้งนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่มีการเชื่อมโยงระหว่างกัน รวมทั้งรัฐบาลเองก็ยังต้องการให้เกิดการค้าชายแดนด้วย

นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายว่า ล่าสุดบริษัทได้จัดตั้งบริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด โดยใช้ทุนจดทะเบียน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และถือหุ้น 100% เพื่อพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึก วงเงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และนิคมอุตสาหกรรมทวาย วงเงินลงทุนประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ภายใต้สัญญาเช่าที่ดินระยะเวลา 75 ปี โดยขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาจัดทำแบบก่อสร้างแล้ว คาดว่าในปีนี้จะแล้วเสร็จ และสามารถเริ่มงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานได้ภายในปี 2555 โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2011 2:28 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนระนองรุกจี้ว่าที่ ส.ส.ใหม่เร่งรถไฟ

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 07 มิถุนายน 2011 เวลา 11:05 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,642 9-11 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นาง นฤมล ขรภูมิภาคเอกชนจ.ระนองจี้ว่าที่ ส.ส. ใหม่ เร่งเดินหน้าโครงการรถไฟรางเดี่ยวเชื่อมระนอง-ชุมพร หวังลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และรับยุทธศาสตร์เมืองท่าขนส่งสินค้าฝั่งอันดามัน อีกทั้งรองรับแผนการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน

นางนฤมล ขรภูมิ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดระนองต้องการให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.)ในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง ที่ชนะการเลือกตั้งได้เป็นตัวแทนคนระนองเข้าทำหน้าที่ในสภาคนใหม่ ให้ช่วยเร่งรัดรัฐบาลเดินหน้าโครงการรถไฟรางเดี่ยว หรือระบบรางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลอีกครั้ง เนื่องจากทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่า ระบบรางเป็นโครงการที่สำคัญที่จะช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน อุตสาหกรรม และการขนส่งสินค้า ที่สำคัญยังเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์จังหวัดระนอง และกลุ่มจังหวัดอันดามันที่กำหนดให้ระนองเป็นเมืองท่าขนส่งสินค้าฝั่งอันดามัน อีกทั้งรองรับแผนการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน

"ระบบรางมีการพูดคุยมานาน แต่ยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ ทำให้การขนส่งสินค้ามายังจังหวัดระนอง และจากระนองสู่จังหวัดอื่นๆ มีความยากลำบาก เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง ส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายการขนส่งสูง ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุด คือ ต้องใช้ระบบราง อีกทั้งปัจจุบันจังหวัดระนองมีท่าเรือขนาดใหญ่ แต่ยังไม่ได้ใช้เต็มศักยภาพ ยังไม่มีบริษัทเดินเรือเข้ามาใช้บริการ เพราะมีปัญหาในส่วนของการขนส่งสินค้าจากท่าเรือระนองสู่พื้นที่ต่างๆ หรือจากพื้นที่ต่างๆ มายังท่าเรือระนอง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐจะต้องเข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก่อนที่จะเสียโอกาสให้กับประเทศเพื่อนบ้าน ที่พบว่าขณะนี้กำลังมีการก่อสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ และมีการตัดโครงข่ายถนนเชื่อมโยงไปถึงประเทศจีน"

นางนฤมล กล่าวว่า ที่ผ่านมาทางภาครัฐและเอกชนจังหวัดระนองได้ร่วมกับจังหวัดชุมพร ร่วมกันเดินหน้าผลักดันโครงการระบบราง ในโครงการรถไฟรางเดี่ยวเชื่อมเส้นทางการขนส่งระหว่างจังหวัดระนอง และจังหวัดชุมพร เพื่อรองรับแผนการเชื่อมโยงระบบโครงข่ายการคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีความคืบหน้าและชัดเจนในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาล

"จังหวัดระนองได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลกว่า 1,000 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างท่าเรืออเนกประสงค์ที่บ้านเขานางหงส์ แต่พบว่ายังไม่สามารถใช้งานได้เต็มศักยภาพเนื่องจากบริษัทขนส่ง และบริษัทการเดินเรือยังไม่ให้ความสนใจ เพราะระบบการคมนาคมทางบกที่ยังไม่สะดวก ในขณะที่ท่าเรือระนองเป็นท่าเรือที่สามารถร่นระยะเวลาการเดินทางในการขนส่งสินค้าไปยังประเทศกลุ่มบริมเทค และตะวันออกกลางได้กว่า 10-15 วัน เมื่อเทียบกับท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือสิงคโปร์ ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่ากุญแจสำคัญที่จะผลักดันให้จังหวัดระนองเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลฝั่งอันดามันได้นั้นจะต้องมีระบบรางเข้ามาช่วยรองรับและเชื่อมโยงโครงข่ายการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางตู้คอนเทนเนอร์จากฝั่งอ่าวไทยมายังฝั่งอันดามัน"


นางนฤมล กล่าวอีกว่า หากสามารถวางโครงข่ายให้ระนองและชุมพร เชื่อมโยงซึ่งกันและกันได้น่าจะส่งผลดีต่อระบบการขนส่ง และผลดีต่อการพัฒนายุทธศาสตร์ของทั้ง2 จังหวัดอย่างแน่นอน โดยจากการศึกษาพบว่าระยะทางของระบบรางที่จะใช้เชื่อมต่อมายังจังหวัดระนองนั้นประมาณ 100 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท

//---------------------------------------------------------------------------

แล้วอีตอนตั้งโครงการท่าเรือระนองทำไมไม่ยักกกำหนดให้สร้างทางรถไฟจากชุมพรไประนองเสีแต่แรกหละหวา?
Back to top
View user's profile Send private message
kikoo
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 01/02/2010
Posts: 1667
Location: มอ.ตรัง และ สถานีตรัง

PostPosted: 09/06/2011 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


//---------------------------------------------------------------------------

แล้วอีตอนตั้งโครงการท่าเรือระนองทำไมไม่ยักกกำหนดให้สร้างทางรถไฟจากชุมพรไประนองเสีแต่แรกหละหวา?


เมืองไทย ถ้าทำท่าเรือ จะนึกถึงรถสิบแปดล้อก่อนเป็นอันดับหนึ่งครับ
(บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่ารถไฟมันขนสินค้าเข้าออกท่าเรือได้)

ถ้าสายชุมพร-คอคอดกระไม่โดนรื้อออกทั้งหมดหลังสงครามโลก ก็คงได้ใช้งานเหมือนกับสายน้ำตกครับ Laughing

แต่ถ้าสร้างทาง เค้าคงทำถนนแน่นอน เพราะระบบราง(สำหรับเมืองไทย)เป็นอะไรที่แพงมากๆ เช่น เงินทุนที่สร้างทางรถไฟสายนึง อาจทำถนนได้เป็นสิบๆสาย แล้วแบบนี้ใครจะยอมกำหนดการสร้างทางรถไฟเข้าท่าเรือไว้ในโครงการล่ะครับ
_________________
ความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางช่วงที่วัง-กันตัง
http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=5618
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2011 4:27 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
แล้วกรณีสายสัตหีบ ตามคำแนะนำของ KAMPENSEK สายแหลมฉบัง และ สายมาบตาพุด หละครับจะว่ากระไร นี่ยังไม่นับกรณีสายแม่น้ำ ที่สร้างเมื่อ 100 กว่าปีก่อนนะครับ Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/06/2011 11:20 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมดัน"แลนด์บริดจ์-ปากบารา"
ไทยโพสต์ 10 มิถุนายน 2554

คมนาคมเตรียมเปิดเวทีแจงความเหมาะสมลงทุน "แลนด์บริดจ์-ท่าเรือน้ำลึกปากบารา" 15 มิ.ย.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม จะประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน (แลนด์บริดจ์) และความจำเป็นในการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล พร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะของภาคเอกชนเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งเมื่อวันที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ทำหนังสือยืนยันขอดำเนินโครงการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา พร้อมขออนุมัติงบดำเนินการก่อสร้างในกรอบวงเงิน 9,741.130 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2560

แหล่งข่าวกล่าวว่า บริษัทที่ปรึกษารายงานว่าหากมีการลงทุนในระยะ 30 ปี พบว่าโครงการแลนด์บริดจ์จะให้ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ต่ำ เช่นเดียวกับการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางโดยทั่วไป ขณะที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูง 17.5% และมี B/C Ratio (อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน) ที่อัตราคิดลดร้อยละ 12 เท่ากับ 1.47

นอกจากนี้ บริษัทที่ปรึกษายังรายงานว่า ในปี 2561 ซึ่งเป็นการพัฒนาในระยะที่ 1 เปิดให้บริการเส้นทางรถไฟจากท่าเรือน้ำลึกปากบารา-ชุมทางหาดใหญ่ จะมีจำนวนตู้สินค้าขนส่งผ่านท่าเรือน้ำลึกปากบารารวม 654,000 TEU และท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 จำนวน 412,000 TEU และเมื่อเปิดเต็มรูปแบบในปี 2563 ตู้สินค้าขนส่งผ่านท่าเรือน้ำลึกปากบารารวม 920,000 TEU และท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 จำนวน 570,000 TEU และมีสินค้าเปลี่ยนถ่ายรวม 378,000 TEU.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2011 9:53 am    Post subject: Reply with quote

"อิตัลไทย" ย้ายพม่านับหมื่นพ้นเขตท่าเรือทวาย ก.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2554 23:19 น.


เอเอฟพี - กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของไทยที่อยู่เบื้องหลังโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพม่า ระบุวานนี้ (8 มิ.ย.) ว่า ประชาชนราว 10,000 คนต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเพื่อเปิดทางให้กับโครงการพัฒนาแห่งนี้

บริษัทอิตัลไทยที่รับผิดชอบการก่อสร้างและดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในโครงการพัฒนานิคมทวาย ได้วางแผนที่จะเปลี่ยนเมืองชายฝั่งที่เงียบสงบให้เป็นท่าเรือน้ำลึกพร้อมกับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมขนาด 250 ตารางกม. ยืนยันว่าโครงการดังกล่าวนี้จะต้องย้ายคนในท้องถิ่นออกจากพื้นที่ แต่รับรองว่าชาวบ้านจะได้รับการช่วยเหลือจัดหาพื้นที่อยู่อาศัยแหง่ใหม่เพื่อตั้งถิ่นฐานเป็นอย่างดี

"มีประชากรเพียงแค่ประมาณ 10,000 คนที่ต้องย้ายที่อยู่อาศัย" นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

สำหรับข้อกังวลเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมได้ถูกหยิบยกขึ้นถึงขนาดและลักษณะของท่าเรือ เพราะพม่ายังคงขาดกฎระเบียบควบคุม โดยโครงการท่าเรือน้ำลึกระยะเวลาก่อสร้างนาน 10 ปี มูลค่าลงทุน 8,000 ล้านดอลลาร์ ยังประกอบด้วยการก่อสร้างโรงงานผลิตเหล็ก โรงงานปุ๋ย โรงไฟฟ้​​าถ่านหินและโรงกลั่นน้ำมัน

กลุ่มท้องถิ่นระบุว่าอาจมีประชาชนมากกว่า 20,000 คน ที่อาจถูกบังคับให้ย้ายที่อยู่ ขณะเดียวกันก็มีความวิตกกังวลว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อาจเกิดขึ้นซ้ำอีก

นายติน ออง ที่ทำงานให้กับบริษัทในพื้นที่ กล่าวว่า บริษัทตัดสินใจดำเนินการตามแนวทางของคนในท้องถิ่น และว่าชาวบ้านเพียงแค่ย้ายไปยังบ้านหลังใหม่ที่สร้างขึ้นในพื้นที่ 6 แห่งใกล้กับนิคม

"เราระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่เพียงแค่เรื่องสภาพแวดล้อมแต่รวมทั้งผลกระทบต่อสังคมและวัฒนธรรมด้วย" นายติน ออง กล่าว และว่าเมืองที่สร้างขึ้นจะมีระบบสุขอนามัยที่ดีกว่าเดิม มีโรงเรียนและศาสนสถาน และชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากถนนที่สร้างขึ้นใหม่ด้วย

นายติน ออง ระบุว่า ในเวลานี้บริษัทกำลังเร่งสร้างที่อยู่อาศัยให้กับชาวบ้านที่ต้องย้ายที่อยู่เพราะจำเป็นต้องย้ายผู้คนออกจากพื้นที่ก่อสร้างภายในเดือนก.ค. เพราะเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะทำให้การก่อสร้างเป็นไปได้ยากขึ้น และเขาหวังให้โครงการนิคมทวายเป็นความสำเร็จ ที่ผู้คนในพื้นได้รับโอกาสทางเศรษฐกิจในประเทศตัวเองแทนที่การทำงานในสภาพย่ำแย่ในไทย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/06/2011 11:35 am    Post subject: Reply with quote

กนอ.แย้มสนเช่าที่ทวาย2หมื่นไร่ บีโอไอเล็งดึงเอสเอ็มอีญี่ปุ่นเข้าไทย
หน้า เศรษฐกิจ
ไทยโพสต์ 13 มิถุนายน 2554 - 00:00

“กนอ.” รับสนใจร่วมพัฒนานิคมฯ ทวาย พม่า เหตุพื้นที่มาบตาพุดเริ่มเต็ม เล็งศึกษากฎหมายเล็งเช่าที่ 2 หมื่นไร่มาบริหารเองก่อนส่งรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ บีโอไอเริ่มลุยโรดโชว์ 2 เมืองใหญ่ญี่ปุ่น ฮิโรชิมาและคิตะคิวชู หวังดึงดูดกลุ่มเอสเอ็มอีญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในไทย

นายประสาน ตันประเสริฐ ประธานคณะกรรมการบริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (บอร์ด กนอ.) เปิดเผยถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายและนิคมอุตสาหกรรมในพม่า 2 แสนไร่ ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ว่า คงจะต้องรอให้รัฐบาลใหม่มาตัดสินใจถึงแผนการดำเนินงานของ กนอ.ว่าจะเข้าไปร่วมดำเนินการหรือไม่และอย่างไร แต่ส่วนตัวก็มีความสนใจ เพราะการพัฒนาในพื้นที่มาบตาพุด ระยะยาวคงจะรองรับอุตสาหกรรมหนักได้แบบจำกัด และพื้นที่อื่นๆ ยังคงถูกต่อต้าน ทวายจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง โดย กนอ.อาจจะเช่าพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ซึ่งเท่ากับพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดแล้วให้เช่าต่อกับเอกชนเพื่อบริหารจัดการและรัฐบาลสนับสนุนระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น “คงต้องไปศึกษารายละเอียดของกฎหมายเรื่องที่ดินให้ละเอียดว่าจะเป็นรูปแบบให้เช่าระยะยาวได้หรือไม่อย่างไร และดูข้อดีและข้อเสียอื่นๆ โดยเฉพาะความมั่นคงการเมืองของพม่า แต่มองวันนี้ส่วนตัวเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีพื้นที่มากกว่ามาบตาพุดถึง 10 เท่า อยู่ฝั่งอันดามันอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเหล็กของไทยที่หาพื้นที่ลงยากก็อาจจะมองจุดนี้เป็นทางเลือกได้” นายประสานกล่าว

นายวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นิคมฯ ทวายเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นทางเลือกการลงทุน แต่ขณะนี้ผู้ที่แสดงความสนใจจะลงทุนโรงถลุงเหล็กคุณภาพสูงที่ไทย 4 ราย ได้แก่

1. นิปปอนสตีล (ผู้ผลิตรางเหล้กตรา พระอาทิตย์มีตัว S อยู่ตรงกลาง)
2. เจเอฟอีสตีล
3. อาร์ซิลอว์ มิทเทิล และ
4. บาวสตีล ของจีนแดง

ยังไม่ได้แสดงว่าจะย้ายไปยังทวายแต่อย่างใด ซึ่งเท่าที่หารือกับผู้บริหารทางนิปปอนสตีลและเจเอฟอีสตีลก็มองว่า พม่าถูกกีดกันทางการค้าอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก และระบบโลจิสติกส์ที่จะเชื่อมกับไทยยังไม่ดีนัก เว้นแต่จะมีระบบรางเข้ามาช่วยจึงจะทำให้ดูน่าสนใจขึ้น

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) กล่าวว่า นิคมฯ ทวายเป็นโครงการระยะยาว 5-10 ปี ที่จะเป็นทางเลือกการลงทุน แต่ส่วนตัวระยะสั้นรัฐบาลใหม่ควรจะเข้ามาเร่งสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่มีอยู่ให้สามารถพัฒนาศักยภาพให้เต็มที่ก่อน โดยเฉพาะการลดมลพิษและการอยู่ร่วมกับชุมชน ซึ่งหากการลงทุนอยู่ที่ไทยได้จะเป็นเรื่องที่ดีกว่าทั้งแง่การจ้างงาน ความมั่นคง พม่ายังคงต้องดูแลใกล้ชิด เพราะการเมืองไม่แน่นอน

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 13-16 มิ.ย.2554 บีโอไอจะจัดกิจกรรมชักจูงการลงทุนและงานสัมมนาใหญ่ที่เมืองฮิโรชิมาและคิตะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เพื่อชักชวนกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนในไทย หลังจากที่เอสเอ็มอีญี่ปุ่นจำนวนมากแสดงความสนใจจะเข้ามาลงทุนในไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2553 ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินเยนแข็งค่าเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการญี่ปุ่น โดยเฉพาะเอสเอ็มอีต้องการไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น และประเทศไทยก็มีความพร้อมในด้านต่างๆ มากกว่าประเทศคู่แข่ง

สำหรับสถิติการขอรับส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่นในไทย พบว่า ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ค.2554) มีจำนวน 221 โครงการ มูลค่าลงทุนรวมกว่า 57,483 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน 77% ส่วนใหญ่จะลงทุนกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 24, 25, 26 ... 50, 51, 52  Next
Page 25 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©