RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181794
ทั้งหมด:13493033
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49, 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2016 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเชื่อมทวาย-แหลมฉบัง ฮับด้านโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 14 ธันวาคม 2559

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,217 วันที่ 11 – 14 ธันวาคม 2559

รถไฟเส้นทางนี้อยู่ระหว่างการเตรียมนำเสนอผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ตัดสินใจนำเสนอบรรจุไว้ในแผนการลงทุนอีกหนึ่งโครงการที่จะไปเชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกทวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาที่อยู่ระหว่างการเร่งผลักดันของรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและขนส่งสินค้าเชื่อมระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายของเมียนมาและท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังของไทย

แนวเส้นทางในประเทศไทยจะเริ่มจากสถานีชายแดนบ้านพุน้ำร้อน ไปยังสถานีชุมทางหนองปลาดุก สถานีพานทอง สิ้นสุดที่ท่าเรือแหลมฉบัง ผ่าน 8 จังหวัด ใน 15 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองกาญจนบุรี อ.ไทรโยค อ.ท่าม่วง อ.บ้านโบ่ง จ.ราชบุรี อ.นครชัยศรี อ.สามพราน จ.นครปฐม อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร อ.พระสมุทรเจดีย์ อ.เมืองสมุทรปราการ อ.บางพลี อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และอ.พานทอง จ.ชลบุรี รวมระยะทางประมาณ 322 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบลงทุน ไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาท

รถไฟเส้นทางนี้ในด้านโลจิสติกส์ถือว่ามีความเหมาะสมสำหรับขนส่งสินค้าจากฝั่งภาคตะวันตกที่จะเชื่อมไปยังท่าเรือน้ำลึกทวายในเมียนมากับท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังในประเทศไทย โดยไม่ต้องผ่านใจกลางกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟสายใต้ตามแนวเส้นทางสถานีปากท่อ สถานีวงเวียนใหญ่ได้อีกด้วย

ส่วนผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจนั้นจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในการช่วยลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์ อีกทั้งยังมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการเวนคืนที่ดินของประชาชนน้อยมาก เนื่องจากแนวเส้นทางไม่ได้ผ่านในบริเวณย่านชุมชนที่อยู่อาศัยหนาแน่น หากเปิดให้บริการจะช่วยลดระยะทาง ลดต้นทุนระยะเวลาในการขนส่งสินค้าข้ามคาบสมุทรที่เดิมการขนส่งจะต้องอ้อมไปที่ช่องแคบมะละกา ประเทศมาเลเซีย

Advertisement

โดยจากการคาดการณ์ตามผลการศึกษาในปี 2594 คิดเป็นจำนวนสูงสุดประมาณ 5.08 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ต่อปี จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งของไทย และพัฒนาการเชื่อมต่อโครงข่ายโลจิสติกส์จากท่าเรือแหลมฉบังไปยังท่าเรือน้ำลึกทวาย นำไปสู่ความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนเนื่องจากจะเชื่อมแหล่งการลงทุนอุตสาหกรรมและยังเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งที่สำคัญแห่งใหม่ในระดับภูมิภาคอาเซียน ทำหน้าที่เป็นประตูสู่การค้าในเส้นทางทะเลแห่งใหม่ เนื่องจากจะเข้าถึงทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย เป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าให้กับอินเดีย จีน ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกาได้อย่างกว้างไกลมากขึ้น

ปัจจุบันร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบพร้อมแบ่งแนวเส้นทางออกเป็น 7 ช่วงตามสภาพภูมิประเทศ ข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ แนวเส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงโครงการรถไฟที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งโครงการนี้ยังมีส่วนหนึ่งจัดเป็นแนวเส้นทางที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็กอีกด้วย

โดยช่วงที่ 1 เริ่มจากสถานีชายแดนบ้านพุน้ำร้อน-บริเวณสถานีท่ากิเลน 36 กิโลเมตร
ช่วงที่ 2 สถานีท่ากิเลน-สถานีวังเย็น 23 กิโลเมตร
ช่วงที่ 3 สถานีวังเย็น-สถานีท่าเรือน้อย 29 กิโลเมตร
ช่วงที่ 4 สถานีท่าเรือน้อย-สถานีชุมทางหนองปลาดุก 30 กิโลเมตร
ช่วงที่ 5 สถานีชุมทางหนองปลาดุก-สถานีท่าแฉลบ 27 กิโลเมตร
ช่วงที่ 6 สถานีท่าแฉลบ-บริเวณก่อนถึงสถานีพานทอง 118.5 กิโลเมตร และ
ช่วงที่ 7 สถานีพานทอง-ท่าเรือแหลมฉบัง 58.5 กิโลเมตร

โดยร.ฟ.ท.ได้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนตั้งแต่ปี 2557 ที่ผ่านมา ท้ายที่สุดแล้วยังมีลุ้นว่าร.ฟ.ท.จะเร่งเสนอรัฐบาลอนุมัติให้ดำเนินการได้เมื่อใด..เท่านั้นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 23/01/2017 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

พร้อมสู้!! กลุ่มค้านท่าเรือปากบาราแห่ให้กำลังใจ “ครูหุดดีน” หลังถูกแจ้งความหมิ่นฯ
โดย MGR Online
23 มกราคม 2560 13:50 น. (แก้ไขล่าสุด 23 มกราคม 2560 14:02 น.)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/03/2017 1:07 pm    Post subject: Reply with quote

"ปากบารา" เมื่อ "ท่าเรือ" สวนทาง "อนุรักษ์"
กรุงเทพธุรกิจ 15 มีนาคม 2560 | โดย ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี

มองหาจุดร่วมระหว่าง “โครงการหมื่นล้าน” กับ “ทรัพยากรธรรมชาติ” ของเวิ้งอ่าวปากบาราอยู่ตรงไหน

ความคึกคักของผู้คนพากันแวะเวียนสับเปลี่ยนมาจับจ่ายข้าวของที่ตลาดสดประจำอำเภอตั้งแต่หัวรุ่ง
ห่างกันไม่มากนาที รถยนต์เปลี่ยนหน้าหาที่จอดก่อนผ่องถ่ายสัมภาระขึ้น-ลงเรือ เลยออกไปทาง “ปากน้ำ”
เรือประมง และเรือโดยสารน้อยใหญ่ สวนทางเข้า-ออก
ทุกอย่างล้วนเป็น “ชีพจร” หล่อเลี้ยง “ปากบารา” ให้มีชีวิตชีวาตลอดมา

ท่าเทียบเรือปากบาราแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ อ.ละงู จ.สตูล เป็นท่าเดียวกันกับประตูสู่ขุมทรัพย์การท่องเที่ยวแห่งมันดามัน ไม่ว่าจะเป็น เกาะตะรุเตา หรือหมู่เกาะอาดังราวี (หลีเป๊ะ) ที่สร้างมูลค่าทางการท่องเที่ยวนับพันล้านให้กับประเทศ

อีกทั้งยังเป็นท่าเดียวกันกับพื้นที่ "โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา" โครงการที่มีข้อพิพาทยืดเยื้อ และเรื้อรังที่สุดอีกแห่งหนึ่งของบ้านเรา ซึ่งกำลังจะมีเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 หรือเวที ค.1 ขึ้นที่โรงเรียนปากบาง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูลในวันที่ 16 มีนาคม 2560 นี้

ย้อนรอยสะพานเศรษฐกิจ อันดามัน-อ่าวไทย

โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ (Logistics Master Plan) ที่มีเงินลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท เพื่อเชื่อมโครงข่ายการขนส่งระหว่างอันดามัน และอ่าวไทยภายใต้ชื่อ “โครงการแลนด์บริดจ์ สะพานเชื่อมเศรษฐกิจสองฝั่งทะเล สงขลา-สตูล"
ภายใต้โครงการนี้จะมีโครงการย่อยอื่นๆ อีกหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้งสองฝั่ง โดยมีท่าเรือน้ำลึกเป็นหนึ่งในนั้น โครงการก่อสร้างรถไฟเชื่อมท่าเรือหัวท้ายระยะทาง 142 กิโลเมตร โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ หรือ เขื่อน รวมถึงการพัฒนาแหล่งพลังงาน หรือโรงไฟฟ้า

สำหรับท่าเรือน้ำลึกนั้นมีการผลักดันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 โดยได้รับการบรรจุให้อยู่ในยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม ปี 2555-2559 มีกรมเจ้าท่าเป็นผู้พัฒนาโครงการ
พื้นที่โครงการ 4,734 ไร่ถูกกำหนดไว้ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล และมีการศึกษามาตั้งแต่ปี 2552 ด้วยหวังจะให้ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างเป็นศูนย์กลางในกิจกรรมขนส่งทะเลที่มีศักยภาพ เมื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาค ทั้งท่าเรือในเขตภาคกลางคือ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล และท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ซึ่งถูกกระแสคัดค้านมาโดยตลอด ทั้งในแง่ของความคุ้มค่าการลงทุน และผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้โครงการไม่มีความคืบหน้า

จนกรมเจ้าท่าเจ้าของโครงการพัฒนาท่าเรือได้นำขึ้นมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง โดยขออนุมัติงบเพื่อจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ โดยจะศึกษาผลกระทบในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม ในภาพรวมของพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด จากการมีท่าเรือน้ำลึกปากบาราและท่าน้ำลึกเรือสงขลา

รวมทั้งการพัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ ทางถนน เพื่อให้เกิดสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ที่จะเป็นการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมไปยังท่าเรือน้ำลึก จากนั้นจึงทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) พร้อมกับทบทวนการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่ผ่านการประเมินแล้วในบางประเด็น

บทบาทของท่าเรือน้ำลึกที่ถูกวางไว้นั้น จะเป็นประตูทางภาคใต้สู่ทะเลอันดามัน เน้นขนส่งสินค้าไปยังตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป รวมทั้งภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะร่นระยะทางการขนส่งกว่า 2,000 กิโลเมตร โดยไม่ต้องอ้อมผ่านช่องแคบมะละกา ตรงนี้จะช่วยย่นระยะเวลาจากต้องใช้เวลาเดินทางเป็นวัน เหลือเพียง 6 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสให้ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่างเป็นศูนย์กลางในกิจกรรมขนส่งทะเลที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมโยงกับภูมิภาค ทั้งท่าเรือในเขตภาคกลางคือ ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล และท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2

ตามแนวทางดังกล่าว มีการคาดหมายว่า การดำเนินงานทุกด้านจะแล้วเสร็จในปี 2560 และเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และเปิดให้บริการในปี 2565

EIA ที่หายไป

"ท้องทะเล ที่ปากบารา ไม่ธรรมดาจริงๆ ” เป็นคำยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทางทะเลอย่าง ดร.ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ถึงความพิเศษของนิเวศอ่าวปากบารา
ชายฝั่งตะวันตกใต้สุดของประเทศไทยที่มีความยาวกว่า 140 กิโลเมตร ติดพื้นที่ 4 อำเภอ มีเกาะน้อยใหญ่ 104 เกาะ ร่องน้ำลึก และสันดอนเป็นภูมิประเทศสำคัญ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.37 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด โดยเฉพาะ “ปะการัง” ที่เขาเขียนอธิบายไว้ในโซเชียลเน็ตเวิร์กของตัวเองเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาว่า

...พวกเราถูกปลูกฝังมาว่า บริเวณปากแม่น้ำ เป็นบริเวณที่ไม่เหมาะสมกับระบบนิเวศแนวปะการัง
ทั้งตะกอน และน้ำจืดที่ไหลหลากลงมา เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของปะการัง
แต่ที่อ่าวปากบารา ที่เป็นแนวต่อเนื่องจากปากแม่น้ำ ผมกลับพบความมหัศจรรย์ของท้องทะเลในบริเวณนี้ หน้าคลองปากบารามีแหล่งหญ้าทะเล ต่อเนื่องมาจากชายฝั่งที่เป็นป่าชายเลนผืนใหญ่ ขณะที่รอบเกาะเขาใหญ่ ที่อยู่หน้าคลองปากบารา เต็มไปด้วยกัลปังหามากมาย...

การระบุว่า ผลกระทบที่อยู่ในระดับ “ต่ำกว่าเกณฑ์” ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ EIA โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 เกี่ยวกับคุณภาพน้ำทะเล และชายฝัง ตั้งแต่ปี 2552 จึงกลายเป็นข้อกังขาของสังคมขึ้นมาทันที

“สิ่งที่ตกหล่นไปใน EIA ฉบับที่แล้วก็คือ ข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมไม่ครบ” เขาบอก

ข้อมูลที่ “ไม่ครบ” ในคำอธิบายเชิงวิชาการก็คือ อ่าวปากบารา ตั้งแต่ปากแม่น้ำ หมู่เกาะเขาใหญ่ ไปจนถึง เส้นทางเดินเรือที่ต้องมีการขุดลอก ซึ่งกินพื้นที่ตั้งแต่ ท่าเรือปากบารา เกาะเขาใหญ่ เกาะบุโหลน เลยไปจนถึงกองหินขาว

“บริเวณหัวเกาะตะรุเตาก็จะเป็นแหล่งลูกปลาเก๋า ข้างใต้มีโขดหินเต็มเลย ลูกปลาเก๋าเต็มไปหมด อีกด้านหนึ่งก็จะเป็นกลุ่มเกาะบุโหลน ก็จะมีกองหินขาวซึ่งมีทรัพยากรที่เป็นปะการังอ่อน กลัปังหาสีขาว ปะการังอ่อนสีขาว ปะการัง 7 สี อะไรอย่างนี้ ซึ่งจะเป็นความหลากหลายค่อนข้างสูง แล้วก็ดันไปอยู่ใกล้พื้นที่ที่มีการจัดทิ้งตะกอนด้วยซ้ำไป อย่างหินขาวอยู่ห่างจุดศูนย์กลางทิ้งตะกอนแค่ 3-4 กิโลเมตรเท่านั้นเอง

"ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตรงนี้ก็มีโอกาสมาถึงหินขาว แต่การศึกษาที่ผ่านมาเนี่ย ไม่ได้มีการรายงานว่ามีทรัพยากรเหล่านี้ ไม่ได้มีการศึกษาให้ครบถ้วนว่าเรามีทรัพยากรอะไรบ้างในพทื้นที่ที่เป็นอ่าวปากบารา เกาะเขาใหญ่ หินขาว ไปจนถึงหัวเกาะตะรุเตา พอเราศึกษาข้อมูลไม่ครบถ้วน การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมมันก็เลยไม่ครบถ้วน ไม่มีมาตรการอะไรเลยที่จะป้องกันผลกระทบ ตรงนี้ ซ้ำร้ายกิจกรรมต่างๆ กลับมีแนวโน้มจะอยู่ในแนวการสร้างผลกระทบให้กับทรัพยากรต่างๆ เหล่านี้” เขาให้รายละเอียดในหมวกของที่ปรึกษาสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ความจริง 2 ด้าน

ความคาดหวังของเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จะเกิดขึ้นจึงเป็นที่จับตาของทุกฝ่ายทั้งที่เห็นด้วย และเห็นต่าง

แน่นอนว่า “ความโปร่งใส” กลายเป็น “เป้า” อันดับแรกๆ ที่ถูกหยิบขึ้นมามอง เพราะถึงวันนี้ คนในพื้นที่ต่างฝ่ายต่างได้ยินเรื่องของการ “เกณฑ์คน” เพื่อมา “ยกมือ” รวมทั้ง “เกมใต้โต๊ะ” อื่นๆ เพื่อให้เวทีนี้ “เข้าทาง” ของตัวเอง

"ไม่ต้องมองไกลถึงหินขาวหรอกครับ แค่เกาะเขาใหญ่ที่อยู่ปลายจมูกนี่ก็ตายแล้ว" ดีนเชาว์ ชูสกูล คณะกรรมการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอ่าวปากบาราสะท้อน

ชุมชนแถบนี้โดยส่วนใหญ่พึ่งพิงกับการประมงเป็นหลัก ดังนั้นหากมีการปักเสาเข็มลงในท้องน้ำจริงๆ ความเปลี่ยนแปลงไม่ว่าด้านไหนก็พวกเขานั่นแหละที่เป็นคนรับคนแรก

“คุณบอกว่าเศรษฐกิจจะพัฒนา ความเจริญจะเข้ามา ทุกคนจะกินดีอยู่ดีขึ้น แต่ผมถามว่า กว่าโครงการจะเสร็จชาวบ้านจะเอาอะไรกินครับถ้าไม่ได้เป็นลูกจ้างเขา”
ดีนเชาว์ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเป็น “ลูกจ้างโครงการ” กับ “ลูกจ้างตัวเอง” ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ เรื่องของวัย เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านถึงจะสูงอายุแล้วก็ยังนั่งเรือออกไปหาปลามาขายให้กับสะพานปลา ขณะที่หากมีโครงการเกิดขึ้นลูกจ้างก็ต้องมีการจำกัดอายุ ซึ่งทำให้หลายบ้านในชุมชนขาดแคลนรายได้ไปโดยปริยาย

“ทะเลบ้านเราอุดมสมบูรณ์มากนะครับ” เขาย้ำพร้อมอธิบายให้ฟังว่า ทุกวันชาวบ้านจะใช้เวลาเพียง 4-5 ชั่วโมงในการออกทะเล แลกกับรายได้เฉลี่ยวันละไม่ต่ำกว่าพันบาท เรื่องนี้เจ้าของแพปลาแห่งหนึ่งในชุมชนบ่อเจ็ดลูกยืนยันผ่านตัวเลขในบัญชีซื้อขายปลาจากชาวประมงพื้นบ้านที่ต่อวันมีไม่ต่ำกว่าหลักแสน

“หอยท้ายเภานี่ก็กิโลละ 600 บาทเข้าไปแล้ว” เธอชี้ไปยังกองหอยในตระกร้าที่ชาวบ้านเพิ่งเอามาขายให้

เมื่อความสมบูรณ์ของธรรมชาติสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ชุมชนเครือข่ายบริเวณนี้จึงพยายามชูเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับสังคมอีกแรงหนึ่ง พร้อมๆ กับการนำเอา “ภาพถ่าย” ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวเผยแพร่ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างดี

“เป็นทุ่งเลยนะครับ กัลปังหาที่เกาะเขาใหญ่ ไหนในรายงานบอกว่าไม่มีอะไร ผมก็เอาขึ้นมาให้ดูเลย” เขาบอก

หรือการรวมกลุ่มของช่างภาพ และนักวิชาการในโครงการรักษ์หินขาว ที่ดำน้ำบริเวณกองหินขาวเพื่อนำเอาความหลากหลายของระบบนิเวศในพื้นที่ขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 1 สนามขึ้นมาบอกเล่าผ่านคลิปวีดิโอความยาว 3 นาที

“ความมีคุณค่าไม่ใช่แค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว ตั้งแต่พื้นทรายไล่มาเนี่ย เราเจอทั้งปะการังอ่อน ปะการังแข็ง ฝูงปลาเล็ก ฝูงปลาใหญ่ ไล่มาจนผิวน้ำ เจอปลาอาศัยบนผิวน้ำ ขึ้นมาบนยอดหินเรายังเจอนกโจรสลัด ซึ่งเป็นนกหายาก เพราะฉะนั้น เป็นสิ่งที่เราจะต้องปกป้องไว้ครับเมื่อเรารู้ว่ามันจะมีสิ่งที่มารบกวน” บารมี เต็มบุญเกียรติ ช่างภาพมือรางวัลอีกคนที่ได้มาร่วมโครงการอธิบายถึงหินขาวที่เขาได้สัมผัส

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ดร.ทนงศักดิ์ จันทร์เมธากุล ผู้เชี่ยวชาญด้านปะการังได้เขียนบทความผ่านโซเชียลมีเดียส่วนตัวให้หัวข้อ "ยังไม่รู้จักกันเลย น่าเสียดายที่ต้องจากกัน" ถึงความสำคัญของปะกังรังอ่อน และแหล่งของปะการังอ่อนหายากอย่าง Nephthyigorgia sp. ที่มีรายงานเฉพาะกองหินขาว และเกาะโลซิน จ.ปัตตานีเท่านั้น

ตลอดจนการเตรียมผนวก “กองหินขาว” เป็นแหล่งปะการังอ่อนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา โดยกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เพื่อเพิ่มน้ำหนักในการพิจารณาผลกระทบจากโครงการก่อสร้างให้มากขึ้นก็เป็นอีกความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน

เวทีรับฟังความคิดเห็นคราวนี้จึงไม่ต่างจากการหาไม้บรรทัด และทางออกร่วมกันระหว่างการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ และผลกระทบต่อทรัพยากรในพื้นที่ว่า หากเกิดโครงการพัฒนาขึ้นมาจริงๆ สังคมต้องเสียทรัพยากรอะไรไปบ้าง หรือมีแนวทางการหาทางออกร่วมกันอย่างไร
เพื่อให้ปากบาราไม่เป็นทางเดินคู่ขนานที่ดูจะไม่มีจุดเชื่อมอย่างทุกวันนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2017 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ด่วน!! กลุ่มค้านสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา เข้ายึดเวทีฟังความเห็นปชช.แล้ว
มติชน
วันที่: 15 มีนาคม 2560เวลา: 23:42 น.

วันนี้ (15 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 22.00 น. เยาวชนพลังเครือข่ายภาคประชาชน กว่า300 คน เข้ายึดสถานที่จัดเวทีแสดงความคิดเห็นหรือ ค.1 โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา. ที่โรงเรียนบ้านปากบาง. ต.ละงู อ.ละงู. จ.สตูล. เพื่อแสดงเจตนารมณ์คัดค้าน

หลังก่อนหน้านี้ได้พยายามส่งสัญญาณไม่ต้องการให้เกิดเวทีนี้เกิดขึ้นเนื่องจากเห็นความไม่ชอบธรรมและยืนยันในค่ำคืนนี้จะย้ายจากจุดลานสาธารณะ 18 ล้านปากบารา. มาปักหลักที่นี่ไปจนถึงเช้าวันพรุ่งนี้ของการเปิดเวที ซึ่งตลอดทั้งวันนี้มีการเปิดเวทีคู่ขนานมาอย่างตลอดเพื่อต่อต้านเวทีของรัฐ ท่ามกลางการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจและอส. โดยไม่ได้มีการปะทะใดๆทั้งสิ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/05/2017 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน 2.6 หมื่นล้าน
โพสต์ทูเดย์ 05 พฤษภาคม 2560 เวลา 20:31 น.

ครม.เตรียมชงแผนแม่บทเข้าครม.มิ.ย.นี้ พร้อมรอข้อสรุปปากบาราก่อนเดินหน้าก่อสร้างโครงการ

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายหลังการประชุมร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งในพืน้ที่ศักยภาพภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ สนข.จัดทำข้อมูลเสร็จแล้วเป็นโครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ระยะทาง 142 กิโลเมตร วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ช่วง หาดใหญ่-ปากบารา และหาดใหญ่-ท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ เป็นการศึกษาเพื่อวิเคราะห์เชื่อมโยงระบบโลจิสต์ในภาคใต้ (SEA : Strategic Environmental Assessment) ทั้งระบบท่าเรือชายฝั่งและสะพานเศรษฐกิจ (แลนด์บริดจ์) ครอบคลุม 6 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ สงขลา และสตูล ซึ่งขณะนี้สนข.ได้จัดทำรายละเอียดเสร็จเรียบร้อยแล้วเตรียมเสนอกระทรวงคมนาคมภายในเดือน พ.ค.จกานั้นจะขอความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติภายในเดือน มิ.ย.

อย่างไรก็ตามการเดินหน้าก่อสร้างเส้นทางรถไฟดังกล่าวยังคงต้องรอข้อสรุปของโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบาราว่าจะออกมาในทิศทางใด สามารถเดินหน้าต่อได้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้กรมเจ้าท่า(จท.) อยู่ระหว่างจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ของโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล และท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ) แม้ก่อนหน้านี้จะจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากมีเสียงคัดค้านว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ จึงได้มอบให้ จท. ไปศึกษาอีเอชไอเอเพิ่มเติมเพื่อศึกษาว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างไรบ้าง

"แม้ขณะนี้ผลการศึกษาทั้งโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ) ยังไม่แล้วเสร็จ แต่ที่ประชุมเห็นว่าโครงการเชื่อมโยงรถไฟฯ ไม่จำเป็นต้องรอผลการศึกษาดังกล่าว สามารถให้ความเห็นชอบโครงการได้ แต่จะยังไม่มีการขออนุมัติเพื่อดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟจนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่องการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา และท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (อ.จะนะ)" นายพีระพล กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโยงขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ระยะทาง 142 กิโลเมตร วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาทมีแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 4 อำเภอ 8 ตำบลใน จ.สตูลและอีก 4 อำเภอ 14 ตำบลใน จ.สงขลา ส่วนรูปแบบการก่อสร้างแบ่งเป็นทางยกระดับในทะเล 4.5 กิโลเมตร ทางยกระดับบนบก 29 กิโลเมตรและรางบนพื้นดิน 108.5 กิโลเมตร โดยมีสถานีซ่อมบำรุงอยู่ที่สถานีควนกาหลงและเชื่อมต่อรถไฟทางคู่เส้นหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และรถไฟสายใต้สุไหงโกลก คาดว่าจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 17.53% หรือราว 5.3แสนล้านบาทภายในระยะเวลา 30 ปี ขณะที่การขนส่งสินค้าจะอยู่ที่ตู้คอนเทรนเนอร์ 3,400 TEU ต่อปีภายในปี 2585 แบ่งสัดส่วนเป็นสินค้าเปลี่ยนถ่ายร้อยละ 28 สินค้านำเข้าและส่งออกอีกร้อยละ 72 โดยสินค้าส่วนใหญ่เป็นของภาคใต้และมาจากจีนตอนใต้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2017 9:57 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ดันรถไฟเชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน 2.6 หมื่นล้าน
โพสต์ทูเดย์ 05 พฤษภาคม 2560 เวลา 20:31 น.


เท่าที่ดูจากแผนที่ทางรถไฟที่ว่านี้ สามารถทำเป็น Airport Link เชื่อมสนามบินหาดใหญ่ที่คลองหอยโข่ง กับสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ได้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2017 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

‘ระนอง’ หนุนลากทางรถไฟเชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย
ฐานเศรษฐกิจ 6 July 2017

ภาคเอกชนระนองหนุนสร้างทางรถไฟเชื่อมอ่าวไทย-ท่าเรือนํ้าลึก เชื่อมเส้นทางการขนส่งกับกลุ่มประเทศเอเชียใต้

นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง อดีตประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทางภาคเอกชนจังหวัดระนองสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟจาก จ.ชุมพรมายังท่าเรือระนอง ซึ่งจะเป็นระบบรางสำคัญในการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบการขนส่งทางเรือจากอ่าวไทยมายังอันดามันที่พยายามมีการผลักดันมานาน ที่ผ่านมา JETRO ได้ว่าจ้างบริษัท MITSUI ให้ทำการศึกษาการขยายขีดความสามารถท่าเรือระนองเพื่อให้มีการใช้ประโยชน์จากท่าเรือดังกล่าวในการขนส่งสินค้าไปเมืองเชนไน ประเทศอินเดีย เพราะว่าในอนาคตเส้นทางการเดินเรือจะเปลี่ยนไป หากมีการขยายช่องแคบปานามาให้สามารถรองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาด 12,000 TEU ส่งผลให้รูปแบบการขนส่งสินค้าทางทะเลจากตะวันออกไกลไปยังอเมริกาฝั่งตะวันออกเปลี่ยนไป โดยการขนส่งสินค้าไปยังยุโรป ผ่านประเทศสิงคโปร์น้อยลง โดยฮับย้ายไปอยู่ในเอเชียใต้แทน

"ผลสรุปจากบริษัท MITSUI ที่ได้สำรวจท่าเรือระนอง,กระบี่,เมาะละแหม่ง และทวาย พบว่าท่าเรือระนองมีต้นทุนต่ำที่สุด สามารถรองรับเรือขนาด 12,000 ตัน ที่น้ำลึก 8 ม. แต่ไม่สามารถรองรับเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ได้ และเห็นว่าท่าเรือระนองของไทยจะมีบทบาทเป็นฮับ เล็กๆ สนับสนุนฮับในเอเชียใต้"

นายนิตย์ กล่าวต่อไปว่า ระนองมีทำเลที่ตั้งเป็นประตูสู่ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย สามารถใช้เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างทะเลตะวันตก(อันดามัน) กับทะเลฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย) เพราะมีระยะถึงกันสั้นที่สุด เหมาะแก่การขนถ่ายสินค้าระหว่าง 2 ฝั่งและขนถ่ายไปยังประเทศริมฝั่งทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ท่าเรือระนองถือเป็นจุดใกล้ที่สุดในการขนส่งสินค้าจากภาคกลางไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTECโดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูผ่านช่องแคบมะละกา ช่วยร่นระยะเวลา-ระยะทางในการเดินเรือไปยังประเทศในแถบฝั่งอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดียลงประมาณ 3 เท่าตัว

"ศักยภาพในการรองรับสินค้าของท่าเรือระนอง ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีสำหรับการเชื่อมโยงระบบการค้ากับประเทศในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป ปัจจุบันท่าเรือระนองสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดไม่เกิน 1.2 หมื่นเดทเวทตัน มีเครื่องมือทุ่นแรงที่สำคัญคือปั้นจั่นหน้าท่าล้อยางขับเคลื่อนด้วยตนเอง (Mobile Harbour Crane) น้ำหนักยกไม่น้อยกว่า 63 เมตริกตัน 1 คัน ปั้นจั่นขนาด 50 ตัน 1 คัน รถยกตู้สินค้าหนัก 40 ตัน จำนวน 1 คัน รถยกตู้สินค้าเปล่า 7 ตัน จำนวน 1 คัน รถยกขนาด 10 ตัน 1 คัน ขนาด 3.5 ตัน 2 คัน และขนาด 2.5 ตัน 2 คัน รถยนต์หัวลากจำนวน 4 คัน และหางลากพ่วงตู้สินค้า 4 คัน ที่ผ่านมา ท่าเรือระนองได้ปรับกลยุทธ์เพิ่มบทบาทกิจกรรมการให้บริการเรือ ซึ่งเป็นกิจกรรมการรับมอบ เก็บรักษา ส่งมอบ วัสดุ อุปกรณ์สำรวจและขุดเจาะ ท่อก๊าซ น้ำมันดีเซล น้ำจืด ปูนซิเมนต์ผง เวชภัณฑ์ อาหาร ฯลฯ เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาได้ให้สัมปทานบริษัทข้ามชาติเข้าไปขุดเจาะก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,276 วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/07/2017 8:01 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ว่าชุมพรประชุมศึกษาหารือความเป็นไปได้!! ในการสร้างทางรถไฟเชื่อม ชุมพร-ระนอง (รายละเอียด)
www.janghetchumphon.com 13 ก.ค. 60

ทางราชการได้มีการหารือเรื่องสร้างรถไฟระหว่าง ชุมพร ไปท่าเรือน้ำลึกระนอง เพื่อความสะดวกสบายการเดินทางของประชาชน เพื่อจะได้มีทางเลือกในการเดินทางมากขึ้น เพราะ ปัจจุบันประชาชนมีการใช้รถส่วนตัวกันมากขึ้น ทำให้การจราจรบนถนนติดขัดกว่าแต่ก่อนมาก จึงมีการพิจารณาโครงการนี้ขึ้นมา

เมื่อเวลา09.00น.วันที่13ก.ค.60 นายณรงค์ พลละเอียด ผวจ.ช.พ. เป็นประธานการประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวะกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ในพื้นที่จังหวัดชุมพร (ระยะทาง125 กม.) ณ ห้องประชุมพุดพิชญา รร.นานาบุรี เลขที่ 355/9 ถ.ประชาอุทิศ 1 ต.ท่าตะเภา อ.เมืองฯ โดยมี สนข. เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดการประชุมปฐมนิเทศพร้อมหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง,รัฐวิสาหกิจ ,และหน่วยงานเอกชนเข้าร่วมประชุม ยอดผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ 110 คน รายละเอียดดังนี้

- นายณรงค์ พลละเอียด ผวจ.ช.พ. กล่าวเปิดประชุม ความเป็นมาของโครงการ การพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายใหม่จากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง เชื่อมโยงอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน ระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร เป็นโครงการที่คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในวาระที่ได้ประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ได้รับทราบผลการประชุมร่วมดังกล่าว และได้มอบให้กระทรวงคมนาคม (ศค.) พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนฯ ในการพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายใต้จากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง เพื่อพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามันอีกเส้นทางหนึ่งสำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งสามารถให้เชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนองเพื่อรองรับการเป็นประตูสู่ BIMSTEC ในอนาคตโครงการดังกล่าวสอดคล้อง กับนโยบายรัฐบาลในข้อ 6 ด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจีสติกส์ ในส่วนของแนวทางการพัฒนาโครงข่ายทางรางโดยให้ศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างรถไฟสายใหม่เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าในระบบรถไฟ (Feeder Line) จากพื้นที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆ เข้ากับโครงข่ายหลักของประเทศ ซึ่ง ศค..ได้บรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแผนงานในภารกิจหลักของกระทรวงคมนาคม ภายใต้(ร่าง) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ..2560-2579)กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการวางแผนและบูณณาการการจัดทำแผนด้านการขนส่งและจราจร รวมทั้งการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ จึงได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท อินฟรา พลัส คอนซัลติ้ง จำกัด และบริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินโครงการงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เพื่อพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เพื่อเชื่อมโยงฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยและฝั่งทเลอันดามัน สนันสนุนส่งเสริมด้านคมนาคมขนส่งและการท่องเที่ยวของสองฝั่งทะเล อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับ ประชาชนในพื้น ทั้ง 2 จว.มีความต้องการหรือไม่

-นายสายันต์ อิ่มสม-สมบูรณ์ ผจก.โครงการ กล่าวถึงวัตถุประสงค์โครงการใน4หัวข้อ,พื้นที่ศึกษาของโครงการ,
-นายเอม เอมนฤมล รอง ผจก.โครงการกล่าวถึงการศึกษาและออกแบบแนวความคิดหรือแบบขั้นต้น,ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนาโครงการ,ขอบเขตการศึกษาและการดำเนินงานโครงการ
-นายธานี นันทวัฒนาศิริชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนขนส่ง กล่าวถึงความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ การเงิน ,รูปแบบการลงทุน,การพิจารณาความเหมาะสมของเส้นทางรถไฟ
-ดร.รัฐกรณ์ ว่อวพิพัฒนานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวถึง การศึกษาผลกระทบด้านสื่งแวดล้อมเบื้องต้นและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน,การศึกษาและออกแบบแนวเส้นทางเบื้องต้น

2.ยุติการประชุมปฐมนิเทศ 11.30 น. เหตุการณ์ทั่วไปปกติ (รับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกัน)

ข้อพิจารณา

การประชุมปฐมนิเทศครั่งนี้เพื่อแนะนำและชี้แจงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลสำหรับการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ หลังจากให้ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความคิดเห็น หลายหน่วยงานภาครัฐ,เอกชน และประชาชนในพื้นที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ เพราะเป็นประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2017 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

จ.ระนองประชุมปฐมนิเทศเดินหน้ารถไฟสายใหม่เชื่อมทะเลอ่าวไทย จ.ชุมพร กับทะเลอันดามัน จ.ระนอง
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดระนอง
วันที่ข่าว : 14 กรกฎาคม 2560

ที่ห้องประชุมโรงแรมทินีดี อ.เมือง จ.ระนอง นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุมปฐมนิเทศโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดขึ้นเพื่อแนะนำและชี้แจงข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้อง สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่

นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง กล่าวว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ต.ค.2559 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบผลการประชุมร่วมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในการพัฒนาแนวทางเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับฝั่งทะเลอันดามัน จากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึกจังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคต ซึ่งการพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายใหม่ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลข้อ 6 ด้านการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ

ในส่วนของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ในส่วนของแนวทางการพัฒนาโครงข่ายทางราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านนโยบายและแผนของกระทรวงคมนาคม จึงได้จัดให้มีการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม ในการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันให้กับกลุ่มจังหวัดภาคใต้และเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าด้วยระบบรถไฟ (Feeder Line) จากพื้นที่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆ เข้ากับโครงข่ายหลักของประเทศ โดยได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัท ประกอบด้วย บริษัท เอเชียนเอ็นจิเนียริง คอนซัลแต้นส์ จำกัด ร่วมกับบริษัท อินฟรา พลัส คอนซัลติง จำกัด และบริษัท เอ็นริช คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โครงการพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟสายใหม่จากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง เชื่อมโยงอ่าวไทยกับฝั่งอันดามัน มีระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร มีพื้นที่ศึกษาโครงการ ครอบคลุมบริเวณแนวเส้นทางเลือกของโครงการเบื้องต้น 4 แนวเส้นทาง และบริเวณใกล้เคียงอาจได้รับผลกระทบในเขตปกครอง 2 จังหวัด คือ ชุมพร ผ่านท้องที่ 6 อำเภอ ได้แก่ เมืองชุมพร สวี หลังสวน ท่าแซะ ทุ่งตะโก และพะโต๊ะ ส่วนระนอง ผ่าน 3 อำเภอ ได้แก่ เมืองระนอง ละอุ่น และกระบุรี ซึ่งการกำหนดแนวเส้นทางเลือกของโครงการเบื้องต้นได้พิจารณาแนวเส้นทางจากผลการศึกษาเดิมตามแผนแม่บท และจากการตรวจสอบสภาพพื้นที่ในภาคสนาม รวมทั้งการศึกษาสภาพภูมิประเทศของทั้งจังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง ประกอบกับการพิจารณาโครงข่ายเส้นทางคมนาคมขนส่งที่เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันการติดต่อคมนาคมทางรถยนต์ มีถนนสายหลักที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดชุมพรและระนอง 2 เส้นทาง ได้แก่ ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่าน อ.กระบุรี จ.ระนอง และทางหลวงหมายเลข 4006 ซึ่งผ่าน อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร ส่วนสายย่อย 1 เส้นทาง ได้แก่ทางหลวงหมายเลข 4139 พาดผ่านผ่าน อ.เขาทะลุ จ.ชุมพร ดังนั้นจึงได้แบ่งพื้นที่ศึกษา (Corridor)ออกเป็น 3 ส่วนตามแนวเส้นทางดังกล่าว เพื่อการสำรวจและออกแบบให้ครอบคลุมพื้นที่ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/11/2017 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 9 พ.ย. 2560

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร เสนอแนวเส้นทางและรูปแบบทางเลือกรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมนานาบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้จัดการประชุมเพื่อแนะนำโครงการและระดมความคิดเห็นโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และสิ่งแวดล้อม เส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง โดยนายชัยสิทธิ์ พานิชพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วยนายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. และมีผู้แทนจากหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และสื่อมวลชน เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทาง ทางเลือก รูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมกับโครงการ รวมทั้งกำหนดรูปแบบแนวคิดเบื้องต้นของทางรถไฟ รูปแบบสถานีผู้โดยสาร แนวคิดทางสถาปัตยกรรมอาคารของสถานี และการออกแบบแนวคิดจุดตัดทางรถไฟ พร้อมทั้งแนวทางเบื้องต้นในการจัดการปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ให้มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนให้น้อยที่สุดและมีความสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการดำเนินงานศึกษาให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

นายวิจิตต์ นิมิตวานิช นักวิชาการขนส่งทรงคุณวุฒิ สนข. กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจส่วนกลางและกลุ่มจังหวัดภาคใต้อันดามัน ในการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่ เชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยกับทะเลฝั่งอันดามันจากจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง สำหรับการคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวสองฝั่งทะเล รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังท่าเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อรองรับการเป็นประตูเศรษฐกิจสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC ในอนาคตกระทรวงคมนาคม จึงมอบหมายให้ สนข. ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเส้นทางรถไฟชุมพร-ท่าเรือน้ำลึกระนอง ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 10 เดือน (เดือนพฤษภาคม 2560 ถึงกุมภาพันธ์ 2561)

และจากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์เพื่อประเมินและคัดเลือกแนวเส้นทาง โดยพิจารณาจากปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม พบว่า แนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ แนวเส้นทางที่ 1 มีจุดเริ่มต้นของแนวเส้นทางบริเวณพื้นที่ทางใต้ของสถานีรถไฟชุมพรและอยู่ด้านเหนือของสถานีรถไฟแสงแดด โดยแนวเส้นทางรถไฟจะโค้งออกจากรถไฟสายใต้เดิมมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกและขนานกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จนสิ้นสุดโครงการที่บริเวณท่าเรือน้ำลึกระนอง รวมระยะทาง 102.5 กิโลเมตร โดยตำแหน่งสถานีเบื้องต้น 9 สถานี ได้แก่ สถานีขุนกระทิง สถานีบ้านนา สถานีวังใหม่ สถานีปากจั่น สถานีกระบุรี สถานีบางใหญ่ สถานีละอุ่น สถานีท่าเรือระนอง และจากสถานีท่าเรือระนอง จะมีเส้นทางแยก (Spur Line) เข้าสู่เมืองระนอง โดยสิ้นสุดที่สถานีระนอง ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 47, 48, 49, 50, 51, 52  Next
Page 48 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©