RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13267971
ทั้งหมด:13579257
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 126, 127, 128 ... 546, 547, 548  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2012 6:07 pm    Post subject: Reply with quote

จีนสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง
ข่าวหุ้น Friday, 23 November 2012 06:23

เล็งเสนอสร้างกรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์

"ชัชชาติ" เผยจีนสนใจโครงการรถไฟความเร็วสูง พร้อมเสนอสร้างกรุงเทพฯ-หนองคาย ออกสู่ทะเล เพื่อขนส่งสินค้า เบื้องต้นอาจทำทางลัดแยกจากของเดิม สร้างคู่ขนานกับทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ลงท่าเรือแหลมฉบัง ขณะล่าสุดอยู่ระหว่างจ้างที่ปรึกษาทำ EIA 4 เส้นทาง คาดเปิดประมูลพร้อมกันปลายปีหน้า

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือเรื่องโครงการก่อ สร้างรถไฟความเร็วสูง (Hi Speed Train) ซึ่งจีนให้ความสนใจอย่างมากและพร้อมให้ความร่วมมือด้านเทคนิคก่อสร้าง อีกทั้งเสนอให้ก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย-เวียงจันทร์ ให้มีทางออกสู่ทะเล เพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า โดยเบื้องต้นมองว่าอาจพิจารณาเพิ่มแนวเส้นทางแยกจากสายทางกรุงเทพฯ-หนองคายเดิมวิ่งคู่ขนานรถไฟทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง

“ทางจีนเขาให้ความสนใจรถไฟความเร็วสูงมาก และอยากให้ไทยเพิ่มแนวเส้นทางจากลาว-กรุงเทพฯ ลงสู่ทะเล ก็ต้องไปลงที่แหลมฉบัง ซึ่งเบื้องต้นเรามองว่าจะทำเส้นทางแยกจากกรุงเทพฯ-หนองคายมาอีก 1 ขา เป็นทางลัดคู่ขนานไปกับทางคู่ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง” นายชัชชาติ กล่าว

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ล่าสุดได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) 4 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-หนองคาย ซึ่งจะก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมาก่อน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่จะก่อสร้าง ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน กรุงเทพฯ-ระยอง โดยสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พัทยาก่อน และกรุงเทพฯ-หัวหิน พร้อมทั้งจัดเตรียมการประกวดราคา ซึ่งต้องพิจารณาว่าจะแยกย่อยการประกวดราคากี่สัญญา รวมถึงวิธีการเดินรถ ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ศึกษาคู่ขนานกันเพื่อความรวดเร็ว โดยคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ช่วงไตรมาส 3-4 ปี 2556

ทั้งนี้ เบื้องต้นรัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด เพราะหากใช้รูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและรัฐทยอยชำระคืนภายหลังนั้น จะมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่ารัฐกู้เงินเอง ซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ โดยเป็นไปได้ว่าอาจมีการตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ขึ้นมาดูแล ส่วนงานเดินรถมีหลายแนวทางที่กำลังพิจารณาอยู่ ซึ่งมีทั้งกรณีให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นผู้เดินรถ หรืออาจเปิดประกวดราคาให้เอกชนมารับงาน

“ตอนนี้เราดูไว้หลายแนวทาง ซึ่งที่ปรึกษาเขากำลังทำ EIA จัดเตรียมรายละเอียดการประมูลและการเดินรถ ซึ่ง นายกรัฐมนตรีสั่งให้ทำคู่ขนานกันไปเลย ส่วนเจ้าภาพเรากำลังดูอยู่ว่าจะให้หน่วยงานไหนมารับผิดชอบโครงการ เรื่องการเดินรถก็เป็นไปได้ที่จะให้การรถไฟฯหรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.มารับงาน หรืออาจให้เอกชนมารับงาน แต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐาน แน่นอนว่ารัฐจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง เพราะถ้าให้เอกชนทำแล้วรัฐมาผ่อนจ่ายที่หลังจะมีต้นทุนการเงินสูงกว่ารัฐลงทุนเอง เนื่องจากเวลาเอกชนกู้เงินเขาจะได้ดอกเบี้ยสูงกว่ารัฐกู้” นายชัชชาติ กล่าว

อย่างไรก็ตามนายชัชชาติ ยอมรับว่า การจัดเก็บค่าโดยสารไม่สามารถนำมาชดเชยค่าก่อสร้างได้ จึงอยากให้พิจารณาที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า เพราะหากมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก็จะสร้างความเจริญให้กับชุมชนตามแนวเส้นทาง และเป็นการกระจายเมืองออกสูงต่างจังหวัดด้วย

----

“คมนาคม” รับลูกจีนจ่อเพิ่มแนวรถไฟความเร็วสูง ตัดตรงแหลมฉบังเชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 พฤศจิกายน 2555 14:35 น.

“ชัชชาติ” เผยจีนสนรถไฟความเร็วสูงเชื่อมออกทะเล เสนอแยกเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายลัดออกท่าเรือแหลมฉบังเพื่อขนส่งสินค้า โดยสร้างคู่ขนานกับทางคู่ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ขณะที่เร่งศึกษา EIA และออกแบบ 4 เส้นทางในเฟสแรก คาดเปิดประมูลพร้อมกันปลายปี 56

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากที่นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางเยือนประเทศไทยเมื่อวันที่ 20-21 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น ทางจีนให้ความสนใจโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของไทยอย่างมาก โดยพร้อมให้ความร่วมมือด้านเทคนิคก่อสร้าง พร้อมทั้งเสนอว่าควรก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ให้ออกสู่ทะเลได้เพื่อให้การขนส่งสินค้ามีความสะดวก เนื่องจากเส้นทางดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจากจีน-เวียงจันทน์ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะพิจารณาเพิ่มเส้นทางรถไฟความเร็วสูงโดยแยกจากสายทางกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยแนวจะคู่ขนานไปกับรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย เพื่อเป็นทางลัดลงสู่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบ และศึกษาผลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะแรก 4 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, กรุงเทพฯ-พิษณุโลก, กรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน พร้อมทั้งศึกษาการประกวดราคา ต้องพิจารณาว่าจะแยกย่อยเป็นกี่สัญญา รวมถึงวิธีการเดินรถ คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ช่วงไตรมาส 3-4 ของปี 2556

ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้น เบื้องต้นรัฐจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด ส่วนวิธีร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (PPP) โดยให้เอกชนลงทุนก่อสร้างและรัฐทยอยชำระคืนภายหลังนั้นจะมีต้นทุนทางการเงินสูงกว่ารัฐกู้เงินเอง นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาว่าจะให้หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะตั้งรัฐวิสาหกิจแห่งใหม่ขึ้นมาดูแล

ส่วนงานเดินรถมีหลายแนวทาง ทั้งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หรือบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) เป็นผู้เดินรถ หรืออาจเปิดประกวดราคาให้เอกชนมารับงาน

อย่างไรก็ตาม นายชัชชาติยอมรับว่า การจัดเก็บค่าโดยสารไม่สามารถนำมาชดเชยค่าก่อสร้างได้ จึงอยากให้พิจารณาที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า เพราะหากมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจะสร้างความเจริญให้แก่ชุมชนตามแนวเส้นทาง และเป็นการกระจายเมืองออกสูงต่างจังหวัดได้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2012 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

Tohoku_Line wrote:
และแล้วเส้นทางอุบลราชธานีก็หลุดไปจากโผอีกแล้ว

ถ้าเกิดโครงการทำสำเร็จจริงก็จะกลายเป็นว่าเส้นทางอื่นๆเขาโดยสารรถไฟความเร็วสูง 3-4 ชั่วโมงถึงปลายทาง
ส่วนสายอุบลราชธานีอย่างไวสุดก็ ข.21/22 ล่อเข้าไป 8 ชั่วโมงกว่า มันช่างน่าน้อยใจยิ่งสำหรับผู้โดยสารเส้นทางนี้ Evil or Very Mad Evil or Very Mad

หันกลับมาที่โลกของความเป็นจริง
ผมอยากให้ รฟท. พัฒนาอะไรให้ตามลำดับขั้นหน่อย รถไฟธรรมดาๆที่มีอยู่ทุกวันนี้ยังทำให้ดีไม่ได้เลย จะรีบข้ามขึ้นไปไหน
สู้ทำรถไฟทางคู่ระบบไฟฟ้าให้ได้ทั่วประเทศภายใน 5-10 ปี แล้วค่อยพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงก็คงไม่สาย


ข้อผูกมัดเรื่องเส้นทางข้ามประเทศ ที่สอดคล้อง ความต้องการทางการเมืองย่อมอยู่เหนือสิ่งอื่นใดทั้งสิ้่น ไม่มีข้อยกเว้น ทำให้นำหน้าทางสายอื่นจนหมดสิ้น - ไม่มีใครทำตามข้อเรียกร้องนี้จนกว่า เส้นทางหลักที่ต้องการเป็นรุปเป็นร่างขึ้นมาก่อน ... ว่าแต่ว่านายฮ้อยแต่โคราช ถึง อุบล มีงบพอค่าโดยสารแถมพกด้วยค่าระว่างความไวสูงหรือเปล่าหละครับ?


Last edited by Wisarut on 26/11/2012 7:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2012 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.เตรียมแผนสร้างรถไฟความเร็วสูง ยึดญี่ปุ่นเป็นแบบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ พฤศจิกายน 2555 11:01 น.


นี่คือเครื่องยืนยันหนะครับ:

ไฮสปีดเทรน'เกียวโต- โอซากา'
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2012 เวลา 10:45 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,795 วันที่ 25-28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้พาคณะสื่อมวลชนไทยไปดูรูปแบบการพัฒนารถไฟของประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งประสบความสำเร็จทั้งในด้านให้บริการและความคุ้มค่าในการลงทุน
++ชินคันเซ็นต้นแบบการพัฒนาเมืองญี่ปุ่น
หากกล่าวถึงต้นแบบการพัฒนารถไฟไปพร้อมๆกับการพัฒนาเมืองของญี่ปุ่น คงนึกถึงโครงการรถไฟชินคันเซ็น โดยเฉพาะสถานีซาคุไดระ อำเภอซากุ จังหวัดนากาโนะ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของโตเกียวระยะทาง 150 กิโลเมตร เดิมให้บริการด้วยรถไฟธรรมดาใช้เวลา 3 ชั่วโมง 30 นาที แต่เมื่อหันมาใช้รถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นเหลือเพียง 1 ชั่วโมง 20 นาที โดยหลักการง่ายๆคือเทศบาลในพื้นที่แต่ละแห่งได้จัดเตรียมพื้นที่รอบๆ สถานีรองรับไว้ก่อนเป็นเวลา 8 ปี โดยการจัดรูปที่ดิน วางผังการใช้ประโยชน์แทนการเวนคืน
หลักการคือที่ดินของประชาชนยังมีอยู่แต่จะเล็กลง โดยได้มูลค่าเพิ่มจากการพัฒนาเป็นการตอบแทน ในขณะที่เทศบาลจะมีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่สามารถขายเพื่อนำรายได้มาพัฒนาระบบสาธารณูปโภคส่วนกลาง ตอบแทนกลับคืนสู่สังคมได้อีกด้วย
โดยนายนเรนทร ยิ่งยงค์รัตนกุล ที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้าของบริษัทโอเรียนทอล คอนซัลแตนท์ จำกัด ได้นำคณะเที่ยวชมภายในสถานีรถไฟเกียวโตของญี่ปุ่นที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานพอๆกับสถานีหัวลำโพงของไทย พร้อมกับกล่าวถึงการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ว่าการบริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นนั้นเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยจะเปิดโอกาสให้องค์กรภาครัฐแต่ละท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เช่น รถไฟสายใหม่เพื่อเชื่อมไปยังเมืองใหม่ (อะกิฮาบาระ-ทึกุบะ) ระยะทาง 58.3 กิโลเมตร มีเอกชนเป็นผู้ลงทุนโดยร่วมทุนกับเมืองที่อยู่ตามรายทาง จึงได้เห็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นโดยรอบๆสถานีให้สามารถเข้าถึงการใช้บริการได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น
นายทาดาชิ อิชิกาวา ผู้จัดการโครงการอาวุโสโครงการรถไฟฟ้าของบริษัทโอเรียนทอล คอนซัลแตนท์ จำกัด ยังได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นมีโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง อยู่ในขณะนี้ประมาณ 2,388 กิโลเมตร มีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการกว่า 350 ล้านคนต่อปีประกอบด้วย 5 สายทาง คือ takaido&Sunyo ,tohoku,joetsu,hokuriku และ kyusyu โดย JR EAST เป็นบริษัทผู้ให้บริหารรถไฟขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยโครงข่ายรถไฟ 7,513 กิโลเมตร สามารถขนส่งผู้โดยสารวันละ 17 ล้านเที่ยวคน(เฉพาะสถานีโตเกียวมีผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 1 ล้านเที่ยวคนต่อวัน) มีจำนวนรถไฟถึง 1.3หมื่นเที่ยวต่อวัน รับรายได้ 3.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี โดยเป็นกำไร 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น JR มีความมั่นคงและบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของญี่ปุ่นมีมูลค่า 2.5หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มีพนักงาน 7 หมื่นคน และไม่ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลแต่อย่างใด
ปัจจุบันรถไฟความเร็วสูงของ JR East มีโครงข่ายรวม 1,411 กิโลเมตร ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโครงข่ายเฉพาะรถไฟความเร็วสูง 1,134 กิโลเมตร และส่วนที่วิ่งในเส้นทางรวมกับรถไฟปกติอื่นๆประมาณ 227 กิโลเมตร ให้บริการผู้โดยสารได้ประมาณ 2.4 แสนเที่ยวคนต่อวัน ด้วยรถไฟ 310-415 ขบวนต่อวัน
++ดึงภาคเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาแต่ละสถานี
ขณะที่ดร.จุฬา ผอ.สนข. กล่าวถึงความน่าสนใจของรถไฟฟ้าที่ JR เปิดให้บริการว่าอยู่ที่รายได้ของ JR East แบ่งออกเป็นรายได้จากบริการขนส่ง 67% และธุรกิจนอกบริการขนส่ง เช่น ให้เช่าพื้นที่อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ร้านอาหาร และโฆษณา 33% โดยรายได้จากธุรกิจขนส่งรถไฟ 2.08 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นส่วนของรถไฟความเร็วสูง 28% และรถไฟปกติ 72% โดยบริษัท JR EAST เป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ราง ระบบอาณัติสัญญาณ ขบวนรถและระบบส่งไฟฟ้าและโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า
ทั้งนี้จากการร่วมดูงานในสถานีต่างๆจะเห็นได้ว่ารูปแบบการพัฒนาสถานีที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง คือ สถานีโตเกียว (Tokyo grand station) ซึ่งเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 1914 ก่อนที่จะถูกทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาตามแผนระหว่างปี 1998- 2016 ซึ่งจะมีทั้งสำนักงาน โรงแรม พลาซา โดยรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์คิดเป็น 32% เนื่องจากเป็นการพัฒนาแบบเปิดพื้นที่ใหม่แม้จะมีความเสี่ยงแต่ก็มีผลตอบแทนสูงมาก
ดังนั้นเมื่อหันกลับมาดูความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 สายและไฮสปีดเทรนในประเทศไทย พร้อมกับมองความเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบันจะพบว่าการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยโดยเฉพาะรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงให้ประสบความสำเร็จนั้นน่าจะยึดต้นแบบการพัฒนาเช่นญี่ปุ่นที่มีการร่วมมือกับท้องถิ่นเพื่อให้มีการพัฒนาเมืองควบคู่ไปกับการก่อสร้าง
ปัจจุบัน สนข.อยู่ระหว่างการจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาเร่งรัดการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางต่างๆ คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ,กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และกรุงเทพฯ-หัวหิน-สุไหงโก-ลก ส่วนกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง นั้นจะใช้แอร์พอร์ตลิงค์เป็นส่วนต่อขยายแทน ซึ่งจะมีการศึกษาเพิ่มในส่วนของการกำหนดจุดสถานีโดยเน้นการเปิดพื้นที่ใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่นอกเขตเมืองมากกว่าที่จะเข้าสู่ใจกลางเมืองเพื่อเลี่ยงการเวนคืนให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะสถานีกลางบางซื่อย่านพหลโยธินที่จะนำร่องการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าและชุมชนเมืองไปพร้อมๆกัน โดยสนข.เล็งย้ายบางหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมมาไว้ในพื้นที่ดังกล่าวนี้อีกด้วย
สิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือหลักการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นที่ดูเหมือนว่าจะประสบความสำเร็จเรื่องการก่อสร้างรถไฟด้วยการเปิดพื้นที่ใหม่ของเมืองให้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ที่ดินนั้นๆ ไม่ได้มองพื้นที่เดิมที่เติบโตอยู่แล้วเพราะเชื่อมั่นว่ารถไฟฟ้าจะสามารถดึงให้เกิดการเดินทาง ส่วนการพัฒนาเมืองรอบสถานีจะเน้นไปที่การสร้างกิจกรรม และสร้างให้สถานีนั้นๆ เป็นจุดเปลี่ยนรถของเมืองที่อยู่ใกล้เคียง

//-+-------------------------------------------

ศุภาลัยหนุนรัฐเร่งไฮสปีดเทรน
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:30 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,795 วันที่ 25-28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บิ๊กศุภาลัยหนุนรัฐบาลเร่งแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟและ รถไฟฟ้า โดยเฉพาะไฮสปีดเทรน เชื่อภายใน 5 ปีแจ้งเกิดได้แน่หลายเส้นทาง จับตาอสังหาฯฯบูมตามพื้นที่มีการก่อสร้าง เชื่ออนาคตไทยก็ต้องเป็นเช่นฮ่องกง-ญี่ปุ่น

หนุนเริ่มจำกัดรถในเขตชั้นในรองรับตั้งแต่วันนี้
นายอธิป พีชานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทศุภาลัย จำกัด(มหาชน) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ต้องการให้รัฐบาลเร่งผลักดันโครงข่ายรถไฟและรถไฟฟ้าโดยเฉพาะไฮสปีดเทรนให้เกิดการเชื่อมโยงพื้นที่มากขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลและต่างจังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชาชนอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น ภูเก็ต นครราชสีมา อุดร ขอนแก่น เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี ระยอง ซึ่งเป็นจังหวัดเขตเศรษฐกิจสำคัญๆ
อย่างไรก็ดี ขณะนี้การพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาลยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพราะหลายโครงการเป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินการเรื่องแผนงาน การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียด ไม่มีการประมูลหรือก่อสร้างครบทุกสาย จึงเชื่อแน่ว่าน่าจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านใดมากนัก โดยเฉพาะการเติบโตของเมืองหรือที่อยู่อาศัย
ดังนั้นคงต้องรอให้เปิดเดินรถไฟฟ้าครบทุกสายก่อนก็จะเห็นความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยเฉพาะการเติบโตด้านที่อยู่อาศัยตามรอบสถานีและแนวเส้นทาง และยังมั่นใจว่าในอนาคตเราคงไม่แตกต่างจากฮ่องกงหรือสิงคโปร์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอน สิ่งสำคัญกฎหมายก็คงต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยเช่นกัน โดยอาจมีการจำกัดเรื่องที่จอดรถ ในเมืองก็จะจำกัดการใช้รถให้น้อยลงและหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น แต่ขณะนี้รถไฟฟ้ายังเริ่มต้นก่อสร้างไม่ครบทุกสาย
นายอธิปกล่าวอีกว่านอกจากนั้นตามพื้นที่จังหวัดสำคัญๆที่แนวรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าวิ่งผ่านยังมีหลายจังหวัดน่าสนใจ แต่ศุภาลัยยังไม่กล้าไปรุกคงต้องรอให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้ โดยข้อมูลรายละเอียดพื้นที่ทั้งหมดเรามีทีมงานลงพื้นที่ไปสำรวจเรียบร้อยแล้ว แต่การตัดสินใจลงทุนในขณะนี้ยังไม่พร้อม แม้ว่าแนวโน้มการเติบโตในต่างจังหวัดจะมีมากขึ้น แต่ก็พบว่ายังเป็นบางพื้นที่เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด แต่จะเป็นเฉพาะจังหวัดใหญ่ๆ มากกว่า แต่ที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องการขาดแคลนแรงงานโดยพม่าคาดว่าจะเริ่มนำแรงงานกลับหากท่าเรือน้ำลึกทวายเริ่มก่อสร้าง
"ศุภาลัยยังมีแผนการพัฒนาคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าอีกหลายโครงการ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะขายดีแทบทั้งสิ้น โดยหลายโครงการที่เปิดขายหมดภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว เช่นเดียวกับการรุกตลาดต่างประเทศคาดว่าในปีหน้าจะเร่งสรุปความชัดเจน"
นายอธิปยังกล่าวถึงแนวโน้มในปี 2556 ว่าโครงการที่อยู่อาศัยรูปแบบต่างๆจะขายได้แต่อาจสร้างยากขึ้นและการโอนยากขึ้น สิ่งสำคัญระเบียบกฎหมายด้านผังเมืองยังเป็นปัจจัยลบโดยเฉพาะประเด็นพ.ร.บ.ควบคุมอาคารที่กำหนดในเบื้องต้นว่าถนน 6 เมตรในโครงการจะสร้างได้ไม่เกิน 1 หมื่นตารางเมตร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/11/2012 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

ยลโมเดล "รถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่น" ต้นแบบ "ไฮสปีดเทรน ไทยแลนด์"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 พ.ย. 2555 เวลา 11:45:33 น.

ชัดเจน นับจากปี 2556 นี้เป็นต้นไป "รัฐบาลเพื่อไทย" ภายใต้การบริหารงานของ "นายกฯหญิงยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" จะเปิดให้ทั่วโลกมาประมูลก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง

ไฮสปีดเทรนไทย 4 สาย

มี 4 สาย ระยะทางรวม 1,447 กม. ใช้เม็ดเงินลงทุน 481,066 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 กม. เงินลงทุน 229,809 ล้านบาท
2.กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 กม. ลงทุน 96,826 ล้านบาท
3.กรุงเทพฯ-หัวหิน 225 กม. ลงทุน 82,166 ล้านบาท และ
4.กรุงเทพฯ-ระยอง 221 กม. ลงทุน 72,265 ล้านบาท

ทุกสายทาง...หลังศึกษาและออกแบบเสร็จพร้อมเสนอให้คณะ รัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเดือนกันยายน 2556 จากนั้นเดือนตุลาคมเปิดประมูลและเริ่มก่อสร้าง ใช้เวลาก่อสร้าง 4-5 ปี เปิดบริการปลายปี 2560

จีน-ญี่ปุ่นจ้องลงทุน

ปัจจุบัน แม้งานประมูลทาง "รัฐบาลเพื่อไทย" ยังไม่เคาะจะเป็นแบบแยกแต่ละสายทางหรือแบบยกแพ็กเกจ แต่ก็ปรากฏมีรัฐบาล 2 ประเทศที่เชี่ยวชาญด้านรถไฟความเร็วสูง คือ "จีน-ญี่ปุ่น" สนใจจะเข้ามาลงทุนก่อสร้างให้กับรัฐบาลไทย โดยทั้ง 2 ประเทศขออาสาศึกษาความเป็นไปได้โครงการเบื้องต้นให้รัฐบาลไทยไว้พิจารณาล่วง หน้าแล้ว โดย "จีน" สนใจ 2 สายทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กับกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ที่จะไปเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงที่ สปป.ลาว ซึ่งจีนกำลังจะลงมือก่อสร้างในเร็ว ๆ นี้ ขณะที่ "ญี่ปุ่น" สนใจ 2 สายทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กับกรุงเทพฯ-ระยอง

สภาวะ "ไร้ข้อยุติ" ยังรวมถึงรูปแบบบริหารจัดการโครงการ ซึ่งมีหลายทางเลือก ทั้งตั้งรัฐวิสาหกิจใหม่ รัฐและเอกชนลงทุนแบบ PPP (Public Private Partnership), ตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯ

สนข.จัดทริปดูงานญี่ปุ่น

ล่าสุดทาง "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" จัดทริปนำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมความสำเร็จระบบรถไฟความเร็วสูงของกลุ่ม JR กรุ๊ป ที่ผูกขาดการเดินรถไฟ-รถไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นมาช้านาน เพื่อนำมาเป็นต้นแบบพัฒนารถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยต่อไป

"จุฬา สุขมานพ" ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า การพัฒนาระบบรถไฟของประเทศญี่ปุ่น ทั้งรถไฟธรรมดา รถไฟความเร็วสูง จะบริหารจัดการรูปแบบเป็นแบบรัฐวิสาหกิจ มี JR หรือ Japan Railway Group กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่นที่แปรรูปมาจากการรถไฟญี่ปุ่นมาลงทุนและบริหารจัดการ เดินรถ โดยมีบริษัทย่อย ๆ อีกหลายบริษัท บริหารแต่ละสายทาง เช่น บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR East) บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตก (JR West) เป็นต้น

รายได้ค่าโดยสาร 30%

"บริษัท JR จะทำหน้าที่ซื้อที่ดินและก่อสร้าง จะได้สิทธิ์การเดินรถไฟ รวมถึงสิทธิ์พัฒนาที่ดินโดยรอบสถานีรูปแบบเชิงพาณิชย์ควบคู่ไปด้วย เพื่อเป็นแม่เหล็กซึ่งกันและกันให้เกิดได้เร็วขึ้นจึงสำเร็จ ปัจจุบันรายได้ของกลุ่มJR 30-40% มาจากค่าโดยสาร อีก 70% จากการพัฒนาอสังหาฯและร้านค้าในสถานี"

ผลจากการดูงานในครั้งนี้ ผอ.สนข. บอกว่า มีแนวคิดจะนำโมเดลการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นมาเสนอแนะให้รัฐบาลใช้ เป็นต้นแบบรถไฟความเร็วสูงที่กำลังจะลงทุนในประเทศไทย

ว่ากัน ว่า...ก่อนหน้านี้รัฐบาลไทยเคยมีแนวคิดนี้มาใช้ที่"มักกะสัน" ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ แต่สุดท้ายยังไม่ได้เริ่มอยู่ดี ต้องลุ้นกันอีกที่กับโปรเจ็กต์ไฮสปีดเทรน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 04/12/2012 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง ใครได้ ใครเสีย? : SCB EIC
คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
ออนไลน์เมื่อ วันจันทร์ที่ 03 ธันวาคม 2012 เวลา 12:39 น.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC ออกบทวิเคราะห์ รถไฟความเร็วสูง ใครได้ ใครเสีย? ระบุว่า

ภายใต้กรอบแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง ปี 2013-2020 มูลค่า 2 ล้านล้านบาท โครงการรถไฟความเร็วสูง 4 สาย มีมูลค่าการลงทุนรวมสูงที่สุดถึง 4.81 แสนล้านบาท หากพิจารณาเฉพาะสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สายเร่งรัดที่รัฐประกาศว่าจะเริ่มเปิดใช้บริการประมาณปี 2018 ระยะทาง 745 กิโลเมตร รถไฟวิ่งด้วยความเร็ว 200-250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมงครึ่ง สู่ใจกลางเมือง ประมาณราคาค่าโดยสารไว้ที่ 1,200 บาทต่อเที่ยว ใครมีแนวโน้มได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ จากรถไฟความเร็วสูงสายนี้บ้าง?

ราคาค่าโดยสาร 1,200 บาทต่อเที่ยว ค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ค่าโดยสาร 1,200 บาท หรือ 1.6 บาท/กิโลเมตร เป็นราคาที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่มีรถไฟความเร็วสูงให้บริการแล้ว เช่น จีน มีค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.2 บาท/กิโลเมตร ส่วนญี่ปุ่น มีราคาแพงที่สุด เฉลี่ย 9.5 บาท/กิโลเมตร ในขณะที่ เกาหลี และไต้หวัน ค่าโดยสารเฉลี่ย 3.4 และ 5 บาท/กิโลเมตร ตามลำดับ ซึ่งความแตกต่างของราคา ขึ้นอยู่กับระดับค่าครองชีพและการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ในส่วนของไทย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ 1,200 บาทต่อเที่ยว ไว้เบื้องต้น ซึ่งเมื่อโครงการเป็นรูปธรรมมากขึ้นใน 5 ปีข้างหน้า ค่าโดยสารอาจเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นกับค่าครองชีพในขณะนั้น และนโยบายของภาครัฐ ที่อาจยอมแบกรับภาระต้นทุนค่าโดยสาร โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในด้านอื่นมากกว่า เช่น การเติบโตของพื้นที่ ทั้งนี้ การวิเคราะห์ถึงผู้ได้รับประโยชน์ หรือเสียประโยชน์ ในส่วนต่อจากนี้ จะใช้สมมติฐานของราคาค่าโดยสาร 1,200 บาท เป็นหลัก

ผู้โดยสารบางส่วนจากการเดินทางทางรถไฟ และถนน มีแนวโน้มหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง เพราะได้ประโยชน์จากการประหยัดเวลาในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้โดยสารเดิมที่เดินทางโดยรถไฟแบบด่วนพิเศษ รถโดยสารปรับอากาศชนิด VIP หรือ 1st Class และรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งการเดินทางที่ใช้เวลาสั้นลงจะช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาส จากการใช้เวลาไปทำกิจกรรมอื่นที่สร้างรายได้หรือให้ประโยชน์สูงกว่า ทั้งนี้ รถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แบบด่วนพิเศษ ใช้เวลาในการเดินทางสูงถึง 12 ชั่วโมง ค่าตั๋วโดยสารตู้นอนปรับอากาศชั้น 1 และ 2 มีราคา 800 - 1,450 บาทต่อเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงที่ 1,200 บาท ผู้โดยสารรถไฟด่วนพิเศษน่าจะยอมจ่ายแพงกว่าเล็กน้อย เพื่อให้สามารถเดินทางได้รวดเร็วขึ้นจาก 12 ชั่วโมง เหลือเพียง 3 ชั่วโมงครึ่ง ส่วนผู้ที่เคยจ่ายตู้นอนปรับอากาศที่มีราคาสูงถึง 1,450 บาท คงเปลี่ยนไปนั่งรถไฟความเร็วสูงอย่างแน่นอน ยกเว้นผู้ที่ต้องการนอนในรถไฟเพื่อประหยัดค่าที่พัก

เช่นเดียวกับผู้โดยสารรถปรับอากาศชนิด VIP ซึ่งมีราคาค่าโดยสาร 876 บาท ใช้เวลาเดินทาง 9 ชั่วโมงครึ่ง หากเปลี่ยนมาใช้รถไฟความเร็วสูงจะต้องจ่ายค่าโดยสารที่แพงขึ้น แต่สามารถประหยัดเวลาในการเดินทางได้ถึง 6 ชั่วโมง ส่วนการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ปกติจะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง คาดว่าผู้โดยสารส่วนหนึ่งจะหันมาใช้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพราะประหยัดเวลา และน้ำมัน ซึ่งการลดจำนวนรถโดยสารและรถยนต์ในท้องถนน จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร และลดอุบัติเหตุได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ อุบัติเหตุทางถนนบริเวณพื้นที่เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ไม่รวมอุบัติเหตุในกรุงเทพฯ) ปี 2011 เกิดขึ้นราว 1 หมื่นครั้ง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินเกือบ 100 ล้านบาท นอกจากนี้ ปริมาณการเดินทางทางถนนที่ลดลงยังช่วยลดปัญหามลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะรถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่ารถยนต์ถึง 10 เท่า

ผู้โดยสารเครื่องบินส่วนหนึ่งจะหันมาใช้รถไฟความเร็วสูง จากการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ด้วยระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก ปัจจุบัน ตั๋วเครื่องบินเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีราคาประมาณ 2,500 บาทต่อเที่ยว สายการบิน Low cost ราคา 1,650 - 2,000 บาทต่อเที่ยว ใช้ระยะเวลาบิน 1 ชั่วโมง 15 นาที หากรวมเวลาที่ต้องไปสนามบินก่อน 1 ชั่วโมง และเวลาเดินทางจากสนามบินเข้าตัวเมือง เทียบแล้วการเดินทางโดยเครื่องบินยังเร็วกว่าเกือบ 1 ชั่วโมง ดังนั้น คนที่มีมูลค่าเวลาสูง เช่น นักธุรกิจ อาจยังคงเลือกเดินทางโดยเครื่องบินและยอมจ่ายแพงกว่า ในขณะที่ผู้โดยสารที่ไม่เร่งรีบ น่าจะพึ่งรถไฟความเร็วสูงเพราะมีราคาค่าโดยสารถูกกว่าเครื่องบิน นอกจากนี้ ปัญหาเที่ยวบินดีเลย์ เช่น ในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มีอัตราความล่าช้าของเที่ยวบินขาเข้าและขาออก คิดเป็น 26% และ 13% ตามลำดับโดยเฉลี่ย จะเป็นอีกแรงจูงใจที่ทำให้ผู้โดยสารเปลี่ยนมาใช้บริการรถไฟความเร็วสูงซึ่งตรงต่อเวลามากกว่า ซึ่งอัตราความล่าช้าของรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ประมาณ 1% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขณะที่เที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีทุกๆ 1-2 ชั่วโมง ตารางเวลารถไฟความเร็วสูงที่มีความเหมาะสม เช่น ความถี่ของขบวน ช่วงเวลาในการออกเดินทางและถึงที่หมาย จะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้โดยสารเช่นกัน

สินค้าน้ำหนักเบาที่มีมูลค่าสูง และสินค้าเน่าเสียง่าย จะได้ประโยชน์จากการขนส่งทางรถไฟความเร็วสูง ภาคเหนือมีแหล่งผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ซึ่งห่างจากเชียงใหม่เพียง 25 กิโลเมตร มีการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กที่มีมูลค่าสูง เช่น ชิ้นส่วนจอ Navigator ในรถยนต์ ส่วนประกอบใน Tablet, Smartphone และ GPS รวมทั้ง Sensor ในยานยนต์ และคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หากจัดให้มีพื้นที่ตู้สินค้าในขบวนรถไฟ คาดว่าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะมีการขนส่งโดยรถไฟความเร็วสูงจากเชียงใหม่ ลงมากรุงเทพฯ เพื่อกระจายต่อไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ หรือเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของภาคเหนือปี 2011 มีมูลค่ากว่า 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และช่วงปี 2003-2011 มีการเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี นอกจากนี้ สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงสินค้าเน่าเสียง่ายที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการขนส่ง เช่น ดอกไม้เมืองหนาว สตรอเบอรี่ จะได้รับประโยชน์ด้วย ส่วนการขนส่งจากภาคกลางขึ้นไปภาคเหนือโดยใช้รถไฟความเร็วสูง เพื่อส่งต่อไปยังจีนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยแผงวงจรไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าส่งออกหลักไปจีนน่าจะได้รับประโยชน์ เพราะมีการเติบโตกว่า 16% ต่อปี ในช่วง 2003-2011 นอกจากนี้ การขนส่งทางราง มีต้นทุนพลังงานที่น้อยกว่าทางถนน และทางอากาศถึง 3.5 และ 55 เท่า ตามลำดับ ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบขนส่งมาเป็นทางรางมากขึ้น จะช่วยให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศมีแนวโน้มลดลง

การเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่แนวรถไฟความเร็วสูง สร้างโอกาสทางธุรกิจ รถไฟความเร็วสูงสามารถสร้างความเจริญ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มการจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่อย่างมหาศาล ดังเช่นรถไฟ Shinkansen ของญี่ปุ่น สาย Kyushu ที่วิ่งจาก Hakata – Kagoshima – Chuo หลังจากเริ่มให้บริการตลอดเส้นทางในเดือนมีนาคม 2011 ทำให้มีนักท่องเที่ยวใน Kagoshima เพิ่มขึ้นถึง 24.5% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้มีเงินสะพัดมากถึง 460 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังเกิดการย้ายถิ่นฐานและแรงงาน เช่น ปรากฏการณ์ Paris-on-Thames ที่คนฝรั่งเศสก่อร่างสร้างตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในกรุง London หลังจากที่มีรถไฟ Eurostar ระหว่าง London – Paris ดังนั้น จังหวัดที่เป็นสถานีหลักของเส้นทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เช่น อยุธยา นครสวรรค์ พิษณุโลก เชียงใหม่ การเติบโตมีแนวโน้มสูงมากขึ้นในอนาคต จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปทำธุรกิจในพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ โดยธุรกิจที่มีศักยภาพได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าส่งค้าปลีก โลจิสติกส์ รถเช่า โรงแรม และร้านอาหาร เพื่อรองรับการท่องเที่ยว การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ธุรกิจสายการบินจะโดนผลกระทบมาก เนื่องจากเสียส่วนแบ่งการตลาด ปริมาณผู้โดยสารเครื่องบินมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในเส้นทางที่มีรถไฟความเร็วสูงไปถึง โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้ (short haul) ไม่เกิน 800 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ผู้โดยสารมีแนวโน้มจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางระหว่างเครื่องบินและรถไฟความเร็วสูง ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เส้นทาง Madrid-Seville ของเสปน ระยะทาง 540 กิโลเมตร ผู้โดยสารเครื่องบินต่อรถไฟ ก่อนที่จะมีรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางนี้ มีสัดส่วน 71%:29% และเปลี่ยนเป็น 11%:89% หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ เป็นต้น สายการบินต่างๆจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เช่น ลดความถี่ของเที่ยวบิน และลดขนาดเครื่องบินในเส้นทางหลักของยุโรป เช่น London – Paris, London – Brussels, Barcelona – Madrid, Paris – Lyons ส่วนใต้หวัน เส้นทาง Taipei – Kaohsiung จำนวนเที่ยวบินลดลง 50% ภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมีรถไฟความเร็วสูง ในจีน สายการบินต้องลดค่าโดยสารลงถึง 80% ในเส้นทาง Guangzhou - Changsha หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจการบินของจีนจะมีรายได้ลดลง 3-4% หรือ 1.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2012 จากการลดจำนวนเที่ยวบินและค่าโดยสารอันเนื่องมาจากรถไฟความเร็วสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2012 12:58 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รักษาสิ่งแวดล้อม เพราะรถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่ารถยนต์ถึง 10 เท่า

มันก็ขึ้นอยู่กับว่า โรงไฟฟ้าที่ผลิตพลังงานให้รถไฟความเร็วสูงนั้น ใช้แหล่งพลังงานมาจากแหล่งใดนะครับ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำ ชีวมวลหรือนิวเคลียร์
แต่ปลดปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเครื่องบินแน่นอน

----

รมว.คมนาคมถกรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนคาดเริ่มโครงการปี 2556
ฐานเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 06 ธันวาคม 2012 เวลา 11:40 น.

วันนี้ (6 ธ.ค.) ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรี ดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน หรือ JSC ครั้งที่ 2 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงรถไฟสาธารณรัฐประชาชนจีน

ร่วมประชุมหารือเพื่อติดตามผลการดำเนินงานจากการประชุมครั้งที่ 1 ที่กรุงปักกิ่ง ใน 3 ด้าน คือ เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ซึ่งฝ่ายจีนยินดีให้การสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรไทย รวมถึงความคืบหน้าผลการศึกษาและสำรวจเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง'กรุงเทพฯ-เชียงใหม่' เน้นการขนส่งผู้โดยสาร และเส้นทาง 'กรุงเทพฯ-หนองคาย' ขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายและการบริหารจัดการขนส่งผู้โดยสาร สินค้า บริการที่สะดวกและปลอดภัย รวมทั้ง การขยายการผลิตตามแนวเส้นทางรถไฟ โดยการศึกษาและพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เตรียมการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งทางกระทรวงคมนาคม ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ล่าสุดกำหนดตัวชี้วัดระดับนโยบายของกระทรวงคมนาคม ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555 – 2558ซึ่งกำหนดศึกษาความเหมาะสม ของโครงการรถไฟความเร็วสูงให้แล้วเสร็จภายในปี 2555 และเริ่มกระบวนการดำเนินโครงการได้ภายในปี 2556 โดยรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนและร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้ารถไฟระหว่างไทยกับจีน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2012 2:32 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เร่งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ก่อนเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างช่วงปลายปี 2556
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาัสัมพันธ์ วันที่ข่าว : 6 ธันวาคม 2555

กระทรวงคมนาคม เร่งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดเส้นทางก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ก่อนเปิดประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้างช่วงปลายปี 2556

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารร่วมระดับรัฐมนตรีไทย-จีน หรือ JSC ว่า จีนได้เสนอรูปแบบการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 2 แนวทาง

แนวทางแรกให้ใช้อัตราความเร็ววิ่งให้บริการ250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง
แนวทางที่ 2 ใช้ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง โดยเน้นการขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก

นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่สำรวจเส้นทางการก่อสร้าง พบระยะทางก่อสร้าง 680 กิโลเมตร จากปัจจุบันประมาณ 753 กิโลเมตร งบประมาณการก่อสร้างรวมทั้งระบบประมาณ 300,000 ล้านบาท อัตราค่าโดยสารหากใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะอยู่ในอัตรา 2.1 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร หากใช้ความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อัตราค่าโดยสาร2.5 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร ซึ่งจะคุ้มทุน

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร งบประมาณก่อสร้าง 198,000 ล้านบาท ใช้ความเร็วที่ 250 กิโเมตรต่อชั่วโมง เพราะในอนาคตต้องใช้ขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า เนื่องจากในอนาคตจะเป็นมีการเชื่อมโยงรถไฟจากสาธารณรัฐประชาชนจีนผ่านทางประเทศลาว ใช้รางขนาดมาตรฐานกว้าง 1.435 เมตร

อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคม ต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมชานชาลา สถานีรถไฟบางซื่อ และราง เนื่องจากการออกแบบสถานีกลางบางซื่อ รถไฟชานเมืองสายสีแดง เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้รองรับการเดินรถความเร็วสูง พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง หากการดำเนินงานเป็นไปตามแผน คาดว่าปลายปี 2556 จะเปิดประมูลได้ หากเบื้องต้นจีนได้แนะนำให้ทำการทดสอบความพร้อมระบบรถไฟความเร็สูงระยะทางกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ประมาณ 54 กิโลเมตร สำหรับหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินโครงการขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2012 10:45 pm    Post subject: Reply with quote

จีนส่งพิมพ์เขียว”รถไฟความเร็วสูง”พร้อมลงทุนกรุงเทพ-เชียงใหม่3แสนล.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 ธันวาคม 2555 22:18 น.

“ชัชชาติ”เผยหารือจีน เสนอลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ วงเงิน 3 แสนล.ชูความเร็วที่ 250-300 กม./ชม.เพราะเน้นขนส่งผู้โดยสาร ค่าโดยสาร 2.1-2.5 บาท/กม. และปรับแบบก่อสร้างเจาะเขาทำอุโมงค์ เพื่อย่นระยะทางและเลี่ยงออกนอกเมืองลดผลกระทบโบราณสถาน ส่วนคมนาคมเตรียมปรับแบบสถานีบางซื่อเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง พร้อมเปิดประมูลแบบนานาชาติ ปีหน้า

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารร่วมในระดับรัฐมนตรีดำเนินงานความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (JSC) ครั้งที่ 2 วานนี้ (6 ธ.ค.) ว่า จีนได้เสนอผลศึกษาการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ค่าก่อสร้างประมาณ 3 แสนล้านบาท ใน 2 รูปแบบ คือ ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำหนดค่าโดยสารที่ 2.1 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร และความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งค่าก่อสร้างจะสูงกว่าประมาณ 9% กำหนดค่าโดยสาร 2.5 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร ทำให้มีรายได้มากกว่า 20% เพราะต้องการเน้นผู้โดยสารเป็นหลัก

ทั้งนี้ ทางจีน ต้องการให้ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี ระยะทางประมาณ 54 กิโลเมตรก่อน เพื่อทดสอบระบบการให้บริการ โดยชุมทางภาชีจะเป็นสถานีร่วมของรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางสายเหนือและสายอีสานด้วย โดยจีนจะปรับรูปแบบการก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ช่วงที่มีความคดเคี้ยวตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ขึ้นไป โดยเจาะช่องเขาสร้างเป็นอุโมงค์ ซึ่งนอกจากทำให้วิ่งเร็วขึ้นแล้ว ยังลดระยะทางลงจาก 740 กิโลเมตรเหลือ 680 กิโลเมตรและปรับแนวเส้นทางช่วงที่ผ่านโบราณสถานจังหวัดลพบุรี เลี่ยงออกนอกเมือง ซึ่งในส่วนของไทยได้ให้ที่ปรึกษาปรับแนวเส้นทางเช่นกัน

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร กำหนดให้วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง งบประมาณ 1.98 แสนล้านบาท เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าระหว่างไทยและจีนไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ที่ อัตราค่าโดยสาร 2.1 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร หากให้ความเร็วถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะคิดค่าบริการ 2.5 บาทต่อคนต่อกิโลเมตร โดยจีนได้แจ้งว่ารถไฟความเร็วสูงส่วนที่อยู่ในประเทศลาว จะเริ่มก่อสร้างได้ในอีก 1 ปี ใช้ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อประเทศไทยก่อสร้างแล้วเสร็จก็สามารถเชื่อมต่อไปถึงประเทศจีน รวมถึงมาเลเซียได้ในอนาคต

นายชัชชาติกล่าวว่า จะมีการปรับแบบก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อด้วย เนื่องจากแบบในปัจจุบันไม่ได้รองรับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นไปได้ที่จะต้องสร้างสถานีเฉพาะรถไฟความเร็วสูงหรือเพิ่มชานชาลาในตัวสถานีเดิม โดยให้รถไฟความเร็วสูงอยู่ชั้น 3 ส่วนรถไฟชานเมืองสายสีแดง และรถไฟอื่นๆ อยู่ชั้น 2 ซึ่งการปรับแบบจะไม่กระทบกับที่ได้ประกวดราคาสถานีกลางบางซื่อไปแล้ว เพราะเป็นการปรับตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทั้งฝ่ายจีนและไทยจะมีความร่วมมือในเรื่องการฝึกอบรมบุคลากร การจัดนิทรรศการแสดงรูปแบบรถไฟความเร็วสูงในปี 2556 และคาดว่าจะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติให้ทุกประเทศที่สนใจเข้าร่วมดำเนินโครงการได้ประมาณไตรมาส 3-4 ในปี 2556 โดย

สำหรับผลการศึกษาของจีนเส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะทาง 677.67 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 317,185 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี (2557-2562 ) เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-บ้านภาชี (2557-2559 ) เฟส 2 ช่วงบ้านภาชี-เชียงใหม่ (2559-2562) ปริมาณผู้โดยสาร ในปี 2563 ที่เปิดบริการประมาณ 36,108 คน/วัน (เฉพาะช่วงกรุงเทพฯ - บ้านภาชี ประมาณ 24,191คน/วัน ) ระบบตัวรถ EMU (8 คัน) ความจุผู้โดยสาร 600คน/ขบวน ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 13.74% รูปแบบการลงทุน การร่วมทุนภาครัฐ- เอกชน (PPP)

เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย ระยะทาง 524.76 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 203,730 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (2559-2562) ปริมาณผู้โดยสาร 31,917 คน/วัน ในปี 2563 ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 14.99% การให้บริการขนส่งสินค้า (ในปี 2563 ที่เปิดบริการ) ช่วงแก่งคอย - ขอนแก่น รองรับการให้บริการ 12 ขบวนต่อวัน ช่วงขอนแก่น - หนองคาย รองรับการให้บริการ 14 ขบวนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42722
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2012 8:58 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ข่าวหน้า 1 ของโพสต์ทูเดย์ยังเสริมอีกว่า จะใช้รถจักรไฟฟ้า โหลดเพลา 22 ตันทำขบวนรถสินค้าในทางช่วง กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ) - หนองคาย หนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44592
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2012 10:10 am    Post subject: Reply with quote

ในข่าวสดก็ลงคล้าย ๆ กันครับคุณวิศรุต
---
รับเจ้าภาพเวิลด์เอ็กซ์โป-จีนชิงเค้กปีหน้า ไทยตีปี๊บไฮสปีดเทรนกทม.-ภาชี
วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8044 ข่าวสดรายวัน หน้า 9

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Steering Committee:JSC) ครั้งที่ 2 ว่า จีนได้สรุปผลศึกษาการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-หนองคาย โดยเสนอให้ไทยก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 54 กิโลเมตร (ก.ม.) เป็นโครงการนำร่องก่อนเพื่อทดสอบระบบและจะใช้รองรับการจัดงานไทยแลนด์ เวิลด์เอ็กซ์โป 2020 คาดว่าช่วงไตรมาส 3-4 ปีหน้าจะประกวดราคาหาผู้รับเหมาได้

ทั้งนี้ ทางจีนได้สรุปผลศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางเดิม 753 ก.ม. หากก่อสร้างจริงจะร่นระยะทางเหลือ 677 ก.ม. วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยใช้รถไฟความเร็วที่ 250 หรือ 300 ก.ม./ชั่วโมง (ช.ม.) ซึ่งจีนเห็นว่าหากใช้รถไฟความเร็วที่ 300 ก.ม./ช.ม. จะคุ้มค่ามากกว่า แม้วงเงินค่าก่อสร้างจะเพิ่มขึ้น 9% หรือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่จะทำให้เก็บค่าโดยสารเพิ่มได้อีก 20% ซึ่งการจัดเก็บค่าโดยสารเบื้องต้นตามผลการศึกษาดังกล่าวที่อัตรา 2.1 บาท/คน/ก.ม. หากใช้ความเร็ว 250 ก.ม./ช.ม. และจัดเก็บอัตรา 2.5 บาท/คน/ก.ม. หากใช้ความเร็ว 300 ก.ม./ช.ม.

ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 615 ก.ม. วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 2.98 แสนล้านบาท โดยใช้รถไฟความเร็วที่ 200 หรือ 250 ก.ม./ช.ม. ใช้ น้ำหนักกดเพลา 22 ตัน เนื่องจากต้องการใช้ขนส่งสินค้าจากไทย-ลาว-จีน ส่วนอัตราค่าโดยสารต่อคนจะเท่ากับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

"จีนได้เสนอแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยเริ่มจากกรุงเทพฯ-อุตรดิตถ์ ไปตามแนวเส้นทางเดิมหรืออาจเบี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทาง เนื่องจากเส้นทางเก่าบางช่วงติดพื้นที่โบราณสถาน ส่วนเส้นทางจากอุตรดิตถ์ไปเชียงใหม่อาจจะต้องเป็นเส้นทางใหม่ ซึ่งขณะนี้ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ซึ่งผมคิดว่าทางเหนือไทยจะใช้รางขนาด 1.435 เมตร เพื่อต่อเชื่อมกับลาว-จีนในการขนส่งสินค้าและคน ส่วนทางภาคใต้จะใช้รางขนาด 1 เมตร เชื่อมต่อกับมาเลเซีย" นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติกล่าวว่า ในปี 2556 ไทยจะจัดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงและฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยจีนจะช่วยเหลือเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนการเปิดประกวดราคานั้นจีนยืนยันที่จะแข่งขันกับเอกชนรายอื่นที่มีเทคโนโลยีแบบเดียวกัน ซึ่งจีนยืนยันว่า ระบบและงานก่อสร้างของจีนถูกที่สุด คือ สร้างรถไฟความเร็วสูงก.ม. ละประมาณ 460 ล้านบาท ขณะที่ญี่ปุ่นสร้างก.ม.ละ 600 ล้านบาท

นอกจากนี้ ทางจีนจะให้ข้อเสนอแนะเรื่องการจัดระบบรางบริเวณศูนย์พหลโยธิน (บางซื่อ) ของไทยด้วย ซึ่งส่วนตัวคิดว่าต่อไปเส้นทางรถไฟไทยจะเป็นเช่นเดียวกับถนนทางหลวง เอกชนแต่ละประเทศสามารถเข้ามาใช้โดยเช่ารางรถไฟไทย แต่ปัญหาใหญ่ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปคือหน่วยงานเจ้าภาพในการดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งหากเป็นการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก คาดว่าจะสามารถช่วยแบ่งงานในส่วนนี้ไปได้

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า คาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ภายในปีหน้า โดยจะเปิดประกวดราคาแบบนานาชาติ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 126, 127, 128 ... 546, 547, 548  Next
Page 127 of 548

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©