RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258224
ทั้งหมด:13569500
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 150, 151, 152 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2013 9:25 am    Post subject: Reply with quote

สนข.มั่นใจสรุปแนวก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มิ.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 18:38:4 น.

เดินสายเฮียริ่ง′ไฮสปีดเทรน′ สนข.ชี้ "แนวทาง5" เหมาะสมสุด ผ่านสุโขทัยบูมเขตเศรษฐกิจใหม่
มติชน
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 09:32:05 น.

ฟังความเห็นคนกรุงเก่าก่อนเคาะแนวไฮสปีดกทม.-เชียงใหม่ มิ.ย.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 พฤษภาคม 2556 20:05 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 679 กิโลเมตร วงเงิน 387,821 ล้านบาท ซึ่งจะทำการก่อสร้างระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เพื่อนำเสนอสาระสำคัญคือรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนจาก จ.ปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างทำการศึกษาแนวเส้นทาง 5 ทางเลือก โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปการศึกษาแนวเส้นทางในเดือนมิถุนายน 2556นี้ ซึ่งตามแผนที่กำหนดการก่อสร้างโครงการคาดว่ากลางปี 2557 จะเริ่มก่อสร้าง และเปิดให้บริการได้ในปลายปี 2562

ผู้อำนวยการ สนข.กล่าวว่า ในการลงพื้นที่รับฟังความเห็นประชาชนวันนี้ ได้รับผลตอบรับที่ดี ประชาชนให้การสนับให้เดินหน้าโครงการ ส่วนการกำหนดแนวเส้นทางของรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ผลศึกษาได้กำหนดแนวไว้ 5 ทางเลือก

แนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม.

แนวทางเลือกที่ 2 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี เข้าสู่ จ.นครสวรรค์ จนถึงสถานีปากน้ำโพใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม.

แนวทางเลือกที่ 3 ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 จนถึง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม.

แนวทางเลือกที่ 4 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ผ่าน จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบนออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่ อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน ไปสิ้นสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม.

อย่างไรก็ตาม แนวเส้นทางที่เป็นไปได้มากที่สุดคือ แนวทางเลือกที่ 5 ใช้เส้นทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้า จ.พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ลำปาง ลำพูน สิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางรวม 669 กิโลเมตร

โดยแนวทางเลือกที่ 5 ในช่วงที่ 1 ระหว่างกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะใช้แนวเส้นทางรถไฟเดิม แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่


ทำให้การก่อสร้างดำเนินการได้เร็ว ส่วนเส้นทางต่อจากพิษณุโลกถึงเชียงใหม่ ใช้เส้นทางตัดใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อใช้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ จ.สุโขทัย คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเปิดประกวดราคาและเริ่มก่อสร้างในปี 2557

อย่างไรก็ตาม สนข.จะสรุปแนวเส้นทางก่อสร้างอย่างเป็นทางการภายในเดือนมิถุนายนนี้ โดยการคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศโดยรวม ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสมทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา ที่เป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงจะช่วยขับเคลื่อนเมืองมรดกโลกสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม

สำหรับกรอบระยะเวลาในการดำเนินการของรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภายหลังการเปิดให้เอกชนเสนอเงื่อนไขด้านเทคนิคเกี่ยวกับระบบตัวรถและอาณัติสัญญาณในเดือนตุลาคมนี้ จะทำให้ระบบการเดินรถเกิดความชัดเจน สำหรับรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดจะเปิดประกวดราคาก่อสร้างและเริ่มงานก่อสร้างได้ภายในปี 2557 โดย สนข.กำหนดกรอบเวลาว่า สำหรับการเดินรถเริ่มให้บริการนี้

เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะเริ่มให้บริการในปี 2562 ประมาณว่าจะมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 14,000 คน และ
เฟส 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะเริ่มให้บริการในปี 2564 และจะทำให้เส้นทางมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 24,000 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เ ส้นทางรถไฟความเร็วสูง ในกรอบการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลจะดำเนินการใน 7 ปี คาดว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 170,000 ล้านบาท สำหรับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ นอกจากที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 2 พ.ค.จะลงพื้นที่ จ.นครสวรรค์ วันที่ 3 พ.ค.ที่พิษณุโลก เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชนด้วย


Last edited by Wisarut on 05/05/2013 5:02 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2013 8:46 am    Post subject: Reply with quote

มุมมองใหม่กับไฮสปีดเทรน
โดย : ประวิทย์ เรืองศิริกูลชัย
ทัศนวิจารณ์
กรุงเทพธุรกิจ
2 พฤษภาคม 2556 เวลา 21:00 น.

หากเราลองมาดูประเทศเพื่อนบ้านที่มุ่งมั่นกับรถไฟความเร็วสูงอย่างจริงจังแล้วจะตกใจกว่ามาก

นั่นก็คือ ประเทศลาว ที่อนุมัติไปแล้ว 2 โครงการ คือ เส้นเหนือ-ใต้ จากชายแดนจีนถึงเวียงจันทน์ และ เส้นตะวันออก-ตก จากสะหวันนะเขตถึงลาวบาว ชายแดนเวียดนาม โครงการแรก 7 พันล้านดอลลาร์ โครงการหลัง 4 พันล้านดอลลาร์ รวมกันแล้วสูงถึง 11 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะสูงถึง 140% GDP ของลาว หากมองตัวเลขนี้เทียบกับไทยที่ 7% GDP แล้ว รถไฟความเร็วสูงของไทยจะกลายเป็น "รถไฟเด็กเล่น" ไปเลยทีเดียว

ทำไมลาวจึงได้พนันความเสี่ยงการคลังของประเทศกับรถไฟความเร็วสูงแบบหมดหน้าตักเช่นนั้น อาจเป็นเพราะ ลาวคงมองแล้วว่าอนาคตของประเทศขึ้นอยู่กับสิ่งนี้นั่นเอง นอกเหนือไปจาก การสร้างประเทศให้เป็น Battery of AEC ด้วยการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหิน และ รวมไปถึงการให้บริการเทคโนโลยี 4G การเชื่อมประเทศจีน และ เวียดนามเข้ากับลาว จะช่วยในการค้าและการท่องเที่ยวประเทศเป็นอย่างมาก จีนมีประชากร 1.3 พันล้านคน เวียดนามมีราว 90 ล้านคน จัดได้ว่าเป็น 2 ประเทศที่มีพลเมืองสูงสุดในภูมิภาคอินโดจีนนี้ และแน่นอนว่า ลาวก็อยากจะเชื่อมเข้ากับประเทศไทยด้วย

ในมุมมองของไทย ไทยเองก็อยากจะเชื่อมกับ จีน และ เวียดนาม ด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่หากจะต้องลงทุนมากๆ ก็ไม่ไหว ขณะที่ลาวได้ตัดสินใจช่วยสร้างให้ 2 เส้นทางไปแล้วครึ่งทาง ทั้งแนว เหนือ-ใต้ และ ตะวันออก-ตก โดยใช้ความกล้าหาญทางการคลังระดับบ้าบิ่นกันเลย ไทยเองสามารถจะลงทุนน้อยกว่าแต่ได้ประโยชน์มากกว่าเพื่อสานฝันของลาวให้เป็นจริง โดยเชื่อมเส้นทางทั้ง 2 มาบรรจบกันที่เมืองหนึ่ง เพื่อเป็น ฮับของไฮสปีดเทรน ก็พบว่าคำตอบคือ "มหานครขอนแก่น" นั่นเอง

การสร้างเส้นทางจาก ทวาย-กรุงเทพมหานคร-ขอนแก่น-หนองคาย จึงจัดได้ว่ามีความสำคัญเป็นลำดับแรก และ เส้นทาง ขอนแก่นไปถึงสะหวันนะเขต ก็สำคัญลำดับถัดไป การได้ ขอนแก่น เป็นศูนย์กลางของรถไฟความเร็วสูง จะทำให้ภาคอีสานของไทยได้ประโยชน์อย่างมหาศาล ไม่เพียงแต่ผู้คนและสินค้าไทยจะเดินทางไปจีน และ เวียดนามได้อย่างสะดวกเท่านั้น การขนส่งระหว่าง จีน และ เวียดนามตอนกลางก็ยังใช้ประโยชน์จากเส้นทางที่ผ่าน "ขอนแก่น" นี้ได้ด้วย

สำหรับเวียดนาม ก็คงจะมองเห็นประโยชน์ของเส้นทางนี้เช่นกัน แทนที่จะสร้างเส้นทางยาวตลอดทั้งประเทศ การสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแค่จาก "ลาวบาว" ไปยัง "ดานัง" จะช่วยให้การส่งออกสินค้าของลาว เมียนมาร์ และ ผลผลิตของภาคอีสานไทย ไปยังเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) เป็นไปอย่างทางตรง ประหยัดเวลาและเชื้อเพลิงได้มาก นี่คือ ผลประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน

ในเมื่อทางฝั่งอีสาน เรา "ยืมพลัง" ลาวไปเรียบร้อยแล้ว ทางด้านทิศใต้ ไทยก็ควร "ยืมพลัง" มาเลเซียด้วยเช่นกัน ไทยจะลงทุนเพียงแค่ 50 กิโลเมต ราว 2.5 หมื่นล้านบาท จากหาดใหญ่ไปปาดังเบซาร์ และ เสนอแนะให้มาเลเซีย สร้างรถไฟความเร็วสูง จากกัวลาลัมเปอร์มาถึงปาดังเบซาร์ เพียงเท่านี้ภาคใต้ไทยก็จะเชื่อมโยงกับมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีประชากรราวครึ่งหนึ่งของประเทศไทย (34 ล้านคน) แต่กลับมีขนาดของ GDP ถึง 1.5 เท่าของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการค้าและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศแถบนั้นอย่างมาก โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติของมาเลเซียซึ่งมีถึงปีละ 25 ล้านคน (มากที่สุดในภูมิภาค) รวมกับคนมาเลเซียเองที่เป็นนักท่องเที่ยวอันดับ 2 ของไทยก็น่าจะมาเที่ยวเมืองไทยได้สะดวกยิ่งขึ้น เมื่อช่วยให้ผู้คนอยู่ดีกินดีผู้คนก็ไม่น่าจะมาคิดก่อการร้ายอะไร ดังนั้น ยังน่าจะช่วยให้สถานการณ์ความรุนแรงของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลงไปด้วย เส้นทางนี้น่าจะขยายไปถึง กระบี่และภูเก็ต ในเฟส 2

การ "ยืมพลัง" ของทั้งลาวและมาเลเซียให้ลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ไทยแค่เป็นการเชื่อมรถไฟความเร็วสูงเข้ากับเพื่อนบ้านเท่านั้น แต่จะสร้างรายได้จำนวนมากจากการลงทุนไม่มาก โดยเส้นทางในอาณาเขตไทยราว 1 พันกิโลเมตร หรือราว 5 แสนล้านบาทต่ำกว่าวงเงินเดิมเสียอีก แต่สามารถเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านได้ถึง 6 ประเทศ คือ จีน เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ มาเลเซีย และ สิงคโปร์

โดยผู้คนน่าจะใช้บริการกันมากเพราะไม่ต้องเสียภาษีสนามบินระหว่างประเทศ (700 บาทที่สุวรรณภูมิ) และ ค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิง รวมไปถึงไม่ต้องเสียเวลารอเครื่องบินรอกระเป๋าด้วย รถไฟความเร็วสูง จึงไม่เพียงเป็นการทดแทนรถตู้ รถบัส หรือ สายการบินในประเทศ แต่เป็นสิ่งมาแข่งกับสายการบินระหว่างประเทศระยะสั้นต่างหาก เช่น หากจะเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปหลวงพระบาง ตอนนี้อาจต้องใช้เงินถึงขาละ 6 พันบาท (รวมภาษีสนามบินค่าประกันและค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิง) แต่ถ้าเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงระยะทางราว 800 กิโลเมตร กิโลเมตรละ 2 บาท ก็ตกแค่ 1.6 พันบาทเท่านั้นเอง ประหยัดเงินไปได้กว่าครึ่ง ระยะเวลาที่ใช้ 3 ชั่วโมง ก็น่าจะพอๆ กัน

ด้วยการยืมพลังเพื่อนบ้าน เราจึงสร้างน้อยลงแต่ได้รับผลกำไรมากขึ้น เพียงแค่เชื่อมเข้ากับหาดใหญ่และขอนแก่น ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของภาคใต้และอีสานเท่านั้นเอง ผลประโยชน์ที่จะตกกับประเทศไทยและภูมิภาคนั้นมากมาย นี่อาจเป็นกลยุทธ์ใหม่แบบ "ป่าล้อมเมือง" ซึ่งจะสานฝันการเติบโตแบบมีสมดุลลดความเหลื่อมล้ำของภูมิภาคตาม "ทฤษฎีตรีนครา" ได้อีกด้วย คือ แทนที่กรุงเทพมหานคร จะโตเดี่ยว เราจะได้มาอีก 2 มหานคร คือ มหานครขอนแก่น และ สงขลามหานคร เติบโตแบบ 3 เมืองพร้อมกัน และ แน่นอนด้วยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแบบนี้จะสร้างเมืองสำคัญของเวียดนามจากฮานอยและโฮจิมินห์ เพิ่มมาอีกเมืองคือ "ดานัง" เป็น "ตรีนครา" เช่นกัน รวมถึงลาวซึ่งจะมีเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และ สะหวันเขต

หลังจากสร้างแล้วดูดีมีกำไรสูง การทำเฟส 2 เพื่อเชื่อมโยงจากทุกทิศทาง เพื่อเข้าสู่ เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร ก็น่าจะทำได้อย่างดีได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายเป็นแน่แท้นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2013 11:49 am    Post subject: Reply with quote

สนข.ระบุค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงไม่เกิน 1,000 บาท
By สำนักข่าวไทย TNA News | 3 พ.ค. 2556 11:19

พิษณุโลก 3 พ.ค.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ จ.พิษณุโลก โดยจังหวัดยืนยันการเกิดขึ้นของโครงการจะสอดคล้องยุทธศาสตร์สี่แยกอินโดจีน ขณะที่ สนข.ระบุค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจะไม่เกิน 1,000 บาท

เช้าวันนี้ (3 พ.ค.) สนข.จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ที่โรงแรมอัมรินทร์รางกูล จ.พิษณุโลก โดยมีนายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งมีภาคประชาชน เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสื่อมวลชนร่วมสัมมนา

นายปรีชากล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกจะก่อสร้างถึง จ.พิษณุโลก เมื่อโครงการเกิดขึ้นเชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อจังหวัด ทั้งการท่องเที่ยว การค้า และการสัญจร เชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคต่างๆ ในส่วนของ จ.พิษณุโลก ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในอนาคตให้สอดคล้องกับการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟความเร็วสูง คือ ยุทธศาสตร์จังหวัดผู้นำด้านบริการของสี่แยกอินโดจีน ในฐานะจังหวัดมีที่ตั้งภูมิศาสตร์จุดตัดสำคัญของภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมียุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาสุขภาพของจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ในอนาคตมั่นใจว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงจะทำให้พิษณุโลกก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือตอนล่างของไทยได้อย่างแท้จริง

ขณะที่นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ วิศวกรชำนาญการ สนข. กล่าวว่า ภายหลังจาก สนข.ลงพื้นที่สำรวจความเห็นของประชาชนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นครสวรรค์ และพิษณุโลก พบว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนและสนับสนุนให้โครงการเกิดขึ้นโดยเร็ว หลังจากนี้ สนข.จะเดินหน้าศึกษารายละเอียดของการกำหนดเส้นทาง ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในอนาคตจะเสนอโครงการขออนุมัติจาก ครม.และประกวดราคาก่อสร้าง

สำหรับ จ.พิษณุโลก ความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่อยากให้สถานีไปก่อสร้างใกล้ท่าอากาศยานของจังหวัดหรือบริเวณ อ.บึงพระ เพื่อลดผลกระทบความแออัดด้านการจราจร เนื่องจากสถานีรถไฟ จ.พิษณุโลกปัจจุบันมีพื้นที่พาณิชย์ทั้งตลาด อาคารพาณิชย์ จำนวนมาก ซึ่ง สนข.เห็นสอดคล้องกัน

ส่วนที่ประชาชนมีข้อสงสัยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเมื่อก่อสร้างเสร็จค่าโดยสารจะแพงหรือไม่ และประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการมากน้อยเพียงใด นายพิเชฐกล่าวว่า การกำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจะต้องต่ำกว่าโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ที่ปัจจุบันเฉลี่ย 1,300-1,600 บาท ซึ่งในอนาคตค่าโดยสารที่เป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูงน่าจะไม่เกิน 1,000 บาท โดยช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถเก็บค่าโดยสารได้ 999 บาท/ที่นั่ง นอกเวลาเร่งด่วนเก็บ 499 บาท/ที่นั่ง ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูง เช่น ฝรั่งเศสกำหนดค่าโดยสารลักษณะโลว์คอสต์ไฮสปีดเทรนเช่นนี้ เพื่อจูงใจให้คนมาใช้บริการ และประสบความสำเร็จด้านการตลาดด้วย.-สำนักข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
AD24C
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 03/05/2010
Posts: 79

PostPosted: 03/05/2013 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:

ส่วนที่ประชาชนมีข้อสงสัยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเมื่อก่อสร้างเสร็จค่าโดยสารจะแพงหรือไม่ และประชาชนมีโอกาสเข้าถึงบริการมากน้อยเพียงใด นายพิเชฐกล่าวว่า การกำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจะต้องต่ำกว่าโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ที่ปัจจุบันเฉลี่ย 1,300-1,600 บาท ซึ่งในอนาคตค่าโดยสารที่เป็นไปได้ของรถไฟความเร็วสูงน่าจะไม่เกิน 1,000 บาท โดยช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถเก็บค่าโดยสารได้ 999 บาท/ที่นั่ง นอกเวลาเร่งด่วนเก็บ 499 บาท/ที่นั่ง ซึ่งที่ผ่านมาหลายประเทศที่มีรถไฟความเร็วสูง เช่น ฝรั่งเศสกำหนดค่าโดยสารลักษณะโลว์คอสต์ไฮสปีดเทรนเช่นนี้ เพื่อจูงใจให้คนมาใช้บริการ และประสบความสำเร็จด้านการตลาดด้วย.-สำนักข่าวไทย

ผมมีข้อสงสัยอย่างหนึ่งครับ
รถไฟความเร็วสูง มี"ชั่วโมงเร่งด่วน"ด้วยหรือครับ ในเมื่อเป็นการเดินทางในระยะไกล เหมือนการโดยสารเครื่องบิน มิใช่ระบบขนส่งมวลชนชานเมือง/ในเมือง ผู้โดยสารจะไ่ม่เดินทางกระชั้นชิดกับเวลาที่ต้องทำธุรกิจต่างๆ หรือเวลาที่วางแผนในการท่องเที่ยว เพราะเสี่ยงต่อการล่าช้าและยังเหนื่อยล้าอีกด้วย
ถ้าหากค่าโดยสารแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา และราคา่ห่างกันแบบนี้ ผมว่า"ช่วงเวลาเร่งด่วน"ที่ว่า รถไฟคงโล่งว่างแน่นอน Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44457
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2013 2:06 pm    Post subject: Reply with quote

ก่อนหน้านี้ แอร์พอร์ตลิงก์ก็ประสบความล้มเหลวมาแล้ว ในการลดราคานอกชั่วโมงเร่งด่วนเหลือ 20 บาทนะครับ Confused
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2013 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

ขอใช้ที่ราชพัสดุในกองบิน46สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง
หมวดหมู่: ข่าวเด่น
พิษณุโลกฮอตนิวส์
วันศุกร์ 3 พฤษภาคม 2556

วันที่ 3 พฤษภาคม 2556 เวลา 09.00 น. ที่ โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานในพิธีเปิดงาน สัมมนา รับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพ ฯ – พิษณุโลก เพื่อนำเสนอสาระสำคัญคือรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน จากจังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก เข้าร่วมการสัมมนากว่า 300 คน


แนวเส้นทางเลือกการพัฒนารถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ทางเลือก คือ

1. แนวทางเลือกที่ 1 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม จากสถานีกลางบางซื่อ ผ่าน จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 677 กม.

2. แนวทางเลือกที่ 2 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี สถานีปากน้ำโพ แล้วช้แนวเส้นทางใหม่ ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม.

3. แนวทางเลือกที่ 3 ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือก ที่ 2 จนถึง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม.

4. แนวทางเลือกที่ 4 ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ผ่าน จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบนออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน ไปสิ้นสุดที่ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม.

2. แนวทางเลือกที่ 5 ช่วงบางซื่อ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 1 และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 669 กม. โดยการคัดเลือกแนวเส้นทางจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ควบคู่กับการพิจารณาความเหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจและการเงิน และสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ จ.พิษณุโลกมียุทธศาสตร์สำคัญ ในการพัฒนาเมืองให้เป็น Service City และ Safe City เมื่อมีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของระบบโครงสร้างพื้นฐานนำไปสู่การสนับสนุนเมืองสองแควให้เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่ง ได้เป็นอย่างดี และเมื่อเปรียบเทียบราคาค่าโดยสารของรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ – พิษณุโลก มีราคาเพียง 760 บาท/เที่ยว แต่ถ้าใช้บริการเครื่องบินโลว์คอร์สจะมีค่าใช้จ่าย 2,390 บาท/เที่ยว

นายปรีชา เรืองจันทร์ ผวจ.พิษณุโลก กล่าวว่า วันนี้สนข.มารับฟังความคิดเห็นมีหลังจากนำเสนอ 5 เส้นทางเลือก สำหรับตนมองเห็นว่า ทางเลือกที่ 1 ที่ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมผ่านจ.พิษณุโลก มีความเหมาะสมที่สุด และสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจ.พิษณุโลก ที่ครม.มีมติให้เป็นจังหวัดศูนย์กลางการคมนาคมการขนส่ง

ดร.พิเชฐ คุณาคุณธรรมรักษ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการขนส่งระหว่างเมือง สนข. เปิดเผยว่า เป็นการรับฟังความเห็นครั้งสุดท้ายของจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง สำหรับโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก หลังจากนี้ สนข.ก็จะดำเนินการสำรวจความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ต่อไป และนำผลการศึกษาทั้งหมด ทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสม ความเห็นของประชุม เสนอต่อสนข.เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ก่อนนำเสนอครม.พิจารณาต่อไป

ดร.พิเชฐ เผยต่อว่า สำหรับเส้นทาง 5 ทางเลือกที่ศึกษานั้น เกือบจะ 90 % รถไฟความเร็วสูง เส้นทางจำเป็นต้องผ่านจ.พิษณุโลก ซึ่งต้องพิจารณาจากความเหมาะสมสูงสุด โดยแนวทางเลือกที่ 1 เส้นทางรถไฟเดิม ไม่ต้องเวนคืนที่ดินมาก ขณะที่สถานีพิษณุโลก ได้ศึกษา 3 จุด ได้แก่

1.สถานีรถไฟบึงพระ
2.สถานีรถไฟพิษณุโลก และ
3.ที่ราชพัสดุภายในบริเวณกองบิน 46 พิษณุโลก

ความเป็นไปได้เราจัดลำดับความสำคัญและความเหมาะสม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2013 6:17 am    Post subject: Reply with quote

คาดสถานีรถไฟเร็วสูงปักธงพิษณุโลก-สนข.เชื่อนักการเมืองล็อกเส้นทางไม่ได้แน่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2556 19:56 น.

พิษณุโลก - สนข.เปิดเวทีรับฟังความเห็นรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รอบสุดท้ายของพิจิตร-พิษณุโลก ก่อนเปิดเวทีที่สุโขทัยปลายเดือนนี้ คาด 80-90% ทำสถานีที่เมืองสองแคว ชี้ที่กองบิน 46 เหมาะสุด เชื่อนักการเมืองล็อก 1 ใน 5 เส้นทาง ลงหมุดสถานีตัวเองไม่ได้แน่

วันนี้ (3 พ.ค. 56) นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 2 งานศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ที่ทีมงานบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ตัวแทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดขึ้นที่โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก โดยเชิญนักธุรกิจ, หัวหน้าส่วนราชการ, อปท.ในเขตพิจิตร-พิษณุโลก เข้าร่วมประมาณ 300 คน

ดร.พิเชฐ คุณาคุณธรรมรักษ์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการขนส่งระหว่างเมือง สนข. เปิดเผยว่า การเปิดรับฟังความเห็นวันนี้เป็นครั้งสุดท้ายของจังหวัดพิษณุโลก และพิจิตร จากนั้นปลายเดือนนี้ จะทำประชาพิจารณ์ที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อรวบรวมผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม ความเหมาะสม ความเห็นของประชุมให้แล้วเสร็จทั้งหมดสิ้นเดือนมิถุนายน 56 นี้ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ สนข.พิจารณาความเหมาะสมและนำเสนอสภาพัฒน์ เพื่อให้ ครม.อนุมัติ

“เป็นไปได้ 80-90% ว่ารถไฟความเร็วสูงจะลงสถานีพิษณุโลก กรณีเลือกแนวรถไฟเดิม ซึ่งตามผลการศึกษาได้เลือกสถานที่ไว้ทำเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง 3 แห่ง ที่เป็นไปได้มากสุด คือ

1. ที่ดินราชพัสดุ 200 ไร่บริเวณกองบิน 46 พิษณุโลก
2. รองลงมาคือ บริเวณ ต.บึงพระ และ
3. สถานีรถไฟพิษณุโลกเดิม”

สำหรับที่ดินราชพัสดุภายในกองบิน 46 พิษณุโลก ถือว่าเป็นที่ว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อยู่ใกล้สนามบิน เหมาะสำหรับก่อตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเร็วนี้ๆจะมีการเจรจาเพื่อขอใช้ที่ดิน ส่วนสถานี ต.บึงพระยังถือว่าไกลไป ขณะที่สถานีรถไฟพิษณุโลกเดิมถือเป็นทางเลือกท้ายสุด เพราะเป็นเขตชุมชน

ส่วนคำถามที่ว่าทำไมรัฐบาลไทยไม่ร่วมทุนกับรัฐบาลจีนเพื่อทำรถไฟความเร็วสูง หน.กลุ่มพัฒนาการขนส่งระหว่างเมืองบอกว่า หากให้สิทธิ์ไปปัญหาอยู่ที่ขอบเขตริมทางรถไฟเดิมที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากถือว่ายุ่งยาก เพราะจะต้องกันรัศมีออกไปถึง 500 เมตร

ดร.พิเชฐกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม เส้นทางรถไฟความเร็วสูงจะต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายด้าน เช่น ระยะเวลาก่อสร้าง, วิศวกรรม เศรษฐกิจ, การเงิน และสิ่งแวดล้อมความเหมาะสมด้านต่างๆ ก่อนตัดสินใจเลือก 1 ใน 5 เส้นทาง

คำถามที่ว่า นักการเมืองจะล้วงลูกล็อกเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหรือไม่นั้น หน.กลุ่มพัฒนาการขนส่งระหว่างเมืองบอกว่า มีหลายหน่วยงานเป็นคณะกรรมการและมีสภาผู้แทนราษฎรเข้าตรวจสอบ คิดว่าโปร่งใส นักการเมืองไม่สามารถล็อกสเปกเลือก 1 ใน 5 เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลกได้

ทั้งนี้ แนวรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีการศึกษาอยู่ 5 เส้นทาง คือ 1.ขนานไปตามแนวรถไฟเดิม บางซื่อ จ.ปทุมธานี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ลพบุรี จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก จ.อุตรดิตถ์ จ.ลำปาง จ.ลำพูนจ.เชียงใหม่ ระยะ 677 กม.

2. ตามแนวรถไฟเดิมเหมือนกับแนวทางเลือกที่ 1 จนถึง จ.พระนครศรีอยุธยา แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปทางฝั่งตะวันตกไปบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ อ.พยุหะคีรี สถานีปากน้ำโพ แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ ไปถึง อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก จากนั้นตัดเข้าแนวรถไฟเดิม มุ่งสู่ อ.เมืองพิษณุโลก แล้วใช้แนวเส้นทางใหม่ด้านทิศตะวันตก มุ่งไป อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย และบรรจบกับแนวเส้นทางรถไฟสายเดิมที่ ต.กล้วยแพะ อ.เมือง จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน และสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 639 กม.

3. เหมือนทางเลือกที่ 2 จนถึง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จากนั้นจะใช้แนวเส้นทางใหม่ออกไปทางด้านทิศตะวันตกของ จ.นครสวรรค์ ผ่าน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร และมาบรรจบกับแนวทางเลือกที่ 2 ที่ อ.เมือง จ.สุโขทัย ระยะทางประมาณ 610 กม.

4. ขนานไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออกทางพิเศษหมายเลข 9 จากนั้นเบี่ยงออกไปทางทิศตะวันตกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา ผ่าน จ.อ่างทอง จ.สิงห์บุรี จ.ชัยนาท จ.อุทัยธานี จ.นครสวรรค์ แล้วขึ้นเหนือตัดไป จ.สุโขทัย แล้วเบนออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เข้าสู่ อ.สบปราบ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผ่าน จ.ลำพูน สิ้นสุด อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 597 กม.

และ 5. ช่วงบางซื่อ-พิษณุโลก ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 1 และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ใช้แนวเส้นทางเหมือนทางเลือกที่ 2 ระยะทางประมาณ 669 กม.

ขณะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกกล่าวว่า ทางเลือก 5 เส้นรถไฟความเร็วสูง ถ้าไม่เกาะเส้นทางหลัก หรือผ่านพิษณุโลกก็ไม่ดี เพราะจะต้องลงทุนสูง เสียเวลา มีปัญหามาก แนวรถไฟเดิมที่ผ่านพิษณุโลกน่าจะเหมาะสมมากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2013 6:26 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สนข.ระบุค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงไม่เกิน 1,000 บาท
By สำนักข่าวไทย TNA News | 3 พ.ค. 2556 11:19


เวอร์ชัน ASTV ดูได้ที่นี่ครับ
สนข.กำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงไม่เกิน 1,000 บ.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 พฤษภาคม 2556 12:56 น.

เช้าวันนี้ (3 พ.ค.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ที่โรงแรมอัมรินทร์รางกูล จ.พิษณุโลก โดยมีนายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการ จ.พิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน โดยกล่าวว่า จ.พิษณุโลก ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในอนาคตให้สอดคล้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูง เช่น ยุทธศาสตร์จังหวัดผู้นำด้านบริการของสี่แยกอินโดจีน ซึ่งในอนาคตมั่นใจว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงจะทำให้พิษณุโลกก้าวเข้าสู่การเป็นเมืองหลวงของภาคเหนือตอนล่างของไทย
ขณะที่ นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ วิศวกรชำนาญการ สนข. กล่าวว่า ความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่อยากให้สถานีไปก่อสร้างใกล้ท่าอากาศยานของจังหวัด หรือ บริเวณ อ.บึงพระ เพื่อลดผลกระทบความแออัดด้านการจราจร เนื่องจากสถานีรถไฟ จ.พิษณุโลก ปัจจุบันมีพื้นที่พาณิชย์ทั้งตลาด อาคารพาณิชย์ จำนวนมาก ซึ่ง สนข.เห็นสอดคล้องกัน
ส่วนการกำหนดค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเบื้องต้น จะต้องต่ำกว่าโลว์คอสต์แอร์ไลน์ ที่ปัจจุบันเฉลี่ย 1,300-1,600 บาท ซึ่งน่าจะไม่เกิน 1,000 บาท โดยช่วงเวลาเร่งด่วนสามารถเก็บค่าโดยสารได้ 999 บาทต่อที่นั่ง นอกเวลาเร่งด่วนเก็บ 499 บาทต่อที่นั่ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2013 4:58 am    Post subject: Reply with quote

คค.จ่อชง ครม.ดึงเกาหลีใต้ร่วมพัฒนาระบบรางรถไฟความเร็วสูง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤษภาคม 2556 16:02 น.


การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 พฤษภาคมนี้ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอขอความเห็นชอบ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงที่ดิน การขนส่ง และกิจการทางทะเลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจะมีกิจกรรมการพัฒนาระบบรางร่วมกันในลักษณะให้คำปรึกษา การฝึกอบรม การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ และการศึกษาดูงานระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบาย กฎระเบียบ การแลกเปลี่ยนการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมสัมมนาในหัวข้อที่สนใจร่วมกัน โดยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย ความร่วมมือต่างๆ ซึ่งอาจรวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ความร่วมมือระหว่างสถาบันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร การพัฒนาล้อเลื่อนสมัยใหม่ รวมถึงระบบอาณัติสัญญาณและระบบสื่อสารสำหรับระบบราง การบริหารจัดการและการเดินรถ รวมทั้งกฎระเบียบด้านระบบราง การพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ศูนย์โลจิสติกส์และศูนย์สินค้า การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการก่อสร้างและการซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงราง สะพาน อุโมงค์ ระบบไฟฟ้าและพลังงาน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รถไฟความเร็วสูง โดยที่ประชุมจะประเมินจัดสรร และติดตามกิจกรรมความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้
อย่างไรก็ตาม บันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม มีอายุ 3 ปี และอาจมีการต่ออายุได้อีก 2 ปี ตามความเห็นชอบของทั้ง 2 ฝ่าย และอาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกความเข้าใจได้ โดยความเห็นชอบร่วมกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 06/05/2013 6:49 am    Post subject: Reply with quote

รูปแบบสถานีพิษณุโลกสำหรับรถไฟความไวสูงดูได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/media/set/?set=o.429658833756299&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 150, 151, 152 ... 545, 546, 547  Next
Page 151 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©