Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258580
ทั้งหมด:13569857
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 179, 180, 181 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2014 9:43 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินสายเปิดเวทีรถไฟเร็วสูงต่อ ไม่สนวิกฤตการเมือง-เงินกู้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2557 14:29 น.

สนข.ระดมความเห็น 3 จว.เหนือ เตรียมเคาะแนวรถไฟความเร็วสูงช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2557 17:34 น



ลำปาง - สนข.เดินหน้าเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ต่อ ไม่สนปัญหาการเมือง-เงินกู้

วันนี้ (12 ก.พ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ที่โรงแรมลำปางเวียงทอง อ.เมือง จ.ลำปาง

โดยนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบเส้นทางเลือก 3 เส้นทาง เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงตัดผ่าน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ ซึ่งมีประชาชน หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชน ทั้งใน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ เข้าร่วมการประชุม

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า แม้สถานการณ์การเมืองจะไม่อยู่ในภาวะปกติ และการกู้เงินเพื่อทำระบบรถไฟความเร็วสูงยังมีปัญหา ซึ่งต้องรอจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ แต่การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการศึกษา และออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ยังคงเดินหน้าต่อไป ส่วนเรื่องการกู้เงินเพื่อนำมาใช้ในโครงการ ทางกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ดำเนินการหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเอง

ที่ผ่านมาจากการออกรับฟังความคิดเห็นทั้งในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ไม่มีประชาชนออกมาคัดค้าน ส่วนใหญ่จะมีความห่วงใยมากกว่า โดยเฉพาะเรื่องความล่าช้า ส่วนเรื่องความโปร่งใสมีแน่นอน เนื่องจากเป็นโครงการใหญ่ โดยโครงการดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาผลกระทบ และความเป็นไปได้ของโครงการที่จะเลือกเส้นทาง ซึ่งโครงการศึกษาระยะที่ 1 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ยังคงเดินหน้าศึกษาและเปิดรับฟังความคิดเห็นในระยะที่ 2 จากนั้นก็จะมีการรวบรวม และเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

กรณีที่โครงการรถไฟความเร็วสูงบางจุดจะต้องผ่านพื้นที่บ้านเรือนนั้น เรื่องนี้ก็ไม่เป็นกังวล เนื่องจากทางโครงการจะต้องเวนคืนพื้นที่และมีเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทำการเกษตรมากกว่า ซึ่งหากเทียบการตัดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะใช้พื้นที่น้อยกว่าการตัดถนนใหม่มาก

สำหรับทางเลือก 3 เส้นทางที่เปิดให้ประชาชนได้ศึกษาทำความเข้าใจ และเสนอความคิดเข้ามาว่า ในระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ จะใช้เส้นทางใด ได้แก่

1. แนวทางที่ 1 ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วนเพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กิโลเมตร มี 5 สถานีจอด ใน จ.อุตรดิตถ์, อ.เด่นชัย จ.แพร่, จ.ลำปาง, จ.ลำพูน และ จ.เชียงใหม่

2. แนวทางที่ 2 ปรับเข้าใกล้ตัวเมือง จ.แพร่ โดยแยกออกที่ อ.ห้วยไร่ จ.แพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิมที่ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มี 5 สถานีจอดใน จ.อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง, ลำพูน และเชียงใหม่

3. แนวทางที่ 3 เป็นแนวเส้นทางใหม่ที่แยกไปจาก จ.พิษณุโลก มุ่งไป จ.สุโขทัย ไปทางสวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ผ่านเข้าลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กิโลเมตร มี 5 สถานีจอด ใน จ.สุโขทัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.ลำปาง, จ.ลำพูน และเชียงใหม่


โดยขณะนี้แนวทางที่ 3 ถือว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุดจะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง และในส่วนตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง มีการพิจารณารายละเอียดและกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กม. มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสัญจรเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น

//--------------------------------

สนข.เดินหน้าต่อรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
โพสเมื่อ: วันอังคาร 11 กุมภาพันธ์ 2557,
หมวดหมู่: ข่าวเด่น, ข่าวเศรษฐกิจ เวลา 09.00 น.

Click on the image for full size
Click on the image for full size
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ห้องคอนเวนชั่นฮอล โรงแรมท็อปแลนด์พลาซ่า อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข. ) นายวัฒนะ กันนะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงาน และรูปแบบแนวเส้นทางเลือก พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ จากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน ในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เข้าร่วมสัมมนากว่า 200 คน

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข. ) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สนข. เมื่อปี 2556 ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลกแล้วเสร็จแล้ว สถานะปัจจุบัน เป็นสายที่มีความพร้อมมากที่สุดที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ จากการศึกษารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ขณะนี้ ได้ส่งผลการศึกษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาแล้ว และมีการปรับแก้บางจุด ถ้าหากรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่าน สนข. ก็จะนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ ดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกทันที แม้ว่าปัจจุบัน พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลชุดนี้ ยังมีปัญหา ยังอยู่การตีความในขั้นตอนศาลรัฐธรรมนูญ หากไม่มีปัญหา แหล่งที่มาของเงินก่อสร้างก็จะมาจากพ.ร.บ.เงินกู้ฉบับนี้ แต่หากมีปัญหา สนข.ก็จะเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ โดยกระทรวงคมนาคม ขอใช้แหล่งเงินกู้จากกระทรวงการคลัง มาพิจารณาดำเนินการก่อสร้างเป็นโครงการ ๆ ไป สำหรับการศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 เส้นทางจากสถานีพิษณุโลก ถึงสถานีเชียงใหม่นั้น สนข.จะใช้ระยะเวลาศึกษา 1 ปี และได้นำเสนอแนวทางเลือกไว้ 3 แนวทาง ประกอบด้วย

แนวทางเลือกที่ 1 เป็นแนวทางที่ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วน เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กิโลเมตร จากสถานีพิษณุโลก-สถานีเชียงใหม่ มี 5 สถานี ประกอบด้วย อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ซึ่งแนวทางเลือกนี้ผอ.สนข.ให้ข้อมูลว่า การก่อสร้างจะต้องใช้งบประมาณสูงจากงบที่วางไว้อีกประมาณ 20,000 ล้านบาท เนื่องจากต้องทำอุโมงค์และสะพานผ่านเขตภูเขาสูงระยะทางร่วม 50 กิโลเมตร

แนวทางเลือกที่ 2 จากพิษณุโลก-เด่นชัย ใช้แนวทางรถไฟเดิม แต่เพิ่มเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่จังหวัดแพร่ โดยแยกออกที่อ.ห้วยไร่ จ.แพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิม ที่ต.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

แนวทางเลือกที่ 3 เป็นแนวทางเลือกเส้นทางใหม่ ที่แยกไปจากสถานีพิษณุโลก มุ่งไปทางจ..สุโขทัย ผ่านอ.สวรรคโลก อ.ศรีสัชนาลัย และผ่านเข้าเมืองลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ทางเลือกนี้ จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่ม ตลอดแนวระยะทางรถไฟความกว้างประมาณ 80 เมตร ทั้งนี้ในทุกทางเลือก จากสถานีลำปาง จะวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงบริเวณดอยขุนตาลมุ่งเข้าสู่สถานีลำพูน จะมีการตัดแนวเส้นทางใหม่ เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ จากนั้นที่สถานีลำพูนจะใช้แนวรถไฟเดิมไปจนถึงเชียงใหม่

นายจุฬา เผยต่อว่า ยังไม่ได้ตั้งธงว่าจะพิจารณาทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง สนข.จะคัดเลือกแนวทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ส่วนกรณีที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลไทยจะเอาข้าวแลกรถไฟความเร็วสูงของจีนนั้น คิดว่า ยาก คงไม่จริงจัง เดิมที่รัฐบาลจีนนำเสนอเส้นทางภาคอีสานเพื่อเชื่อมต่อ แต่คิดว่ารัฐบาลไทยน่าจะกู้เงินมาทำเองมากกว่า เพราะสามารถเลือกเทคโนโลยีรถไฟที่มีตัวเลือกจากหลายประเทศ สรุปว่า แนวทางแลกเปลี่ยนข้าวเพื่อทำรถไฟในทางปฎิบัตินั้นยากมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 13/02/2014 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ขึ้นเชียงใหม่จัดเวทีชี้แจง-รับฟังโครงการรถไฟเร็วสูงระยะ 2


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กุมภาพันธ์ 2557 15:15 น.


ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดเวทีชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เบื้องต้นกำหนด 3 แนวทางเลือก คาดอีกประมาณ 1 ปีได้ข้อสรุป ชี้ได้ประโยชน์ช่วยกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ต่างจังหวัด

วันนี้ (13 ก.พ.) นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอความสำคัญ ขอบเขตการดำเนินงานและรูปแบบแนวเส้นทางเลือก โดยมีผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนเข้าร่วมประมาณ 200 คน ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรกล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอแนวเส้นทางเลือกของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ 3 แนวเส้นทางเลือก โดยเริ่มจากจังหวัดพิษณุโลก จะผ่านอำเภอกระทุ่มแบน อำเภอเมืองพิษณุโลก และอำเภอพรหมพิราม เข้าสู่ทางเลือก ประกอบด้วย
แนวทางเลือกที่ 1 เป็นแนวเส้นทางที่ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วนเพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

ขณะที่แนวทางเลือกที่ 2 เป็นแนวเส้นทางที่ปรับเข้าใกล้ตัวเมืองจังหวัดแพร่ โดยแยกออกที่อำเภอห้วยไร่ จังหวัดแพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิมที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

ส่วนแนวทางเลือกที่ 3 เป็นแนวเส้นทางใหม่ที่แยกจากจังหวัดพิษณุโลกเข้าจังหวัดสุโขทัย ไปทางอำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสัชนาลัย แล้วผ่านเข้าเมืองลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กิโลเมตร มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยที่ช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ทุกทางเลือกจะวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงบริเวณดอยขุนตาล จากนั้นจะมีการตัดแนวเส้นทางใหม่เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ และจะวิ่งตามแนวเดิมจนถึงเชียงใหม่

สำหรับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมที่สุดจะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ทั้งนี้ แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง โดยที่ในส่วนที่ตั้งของสถานีรถไฟความเร็วสูงจะมีการพิจารณารายละเอียดและกำหนดหลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กิโลเมตร มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสามารถสัญจรเข้าถึงได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น ซึ่งทุกขั้นตอนจะมีการศึกษาวิเคราะห์ทุกด้านอย่างรอบคอบ

นอกจากนี้ นายจุฬาบอกว่า โครงการศึกษาฯ นี้ใช้งบประมาณ 304 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน ซึ่งถึงตอนนี้เริ่มดำเนินการไปแล้วประมาณ 3 เดือน เหลือเวลาดำเนินการอีกประมาณ 1 ปี ซึ่งการศึกษาเส้นทางคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จก่อน โดยในช่วงต่อจากนี้ไปจะเป็นการลงพื้นที่รายจังหวัดและเส้นทางเพื่อเก็บข้อมูลในเชิงรายละเอียดเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกเส้นทาง รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในแนวสายทาง

ขณะที่ในส่วนของโครงการนี้ที่เกี่ยวข้องกับเงินกู้ 2.2 ล้านบาทนั้น หาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านบาทไม่ผ่านความเห็นชอบ ก็ยังสามารถใช้งบประมาณตามขั้นตอนปกติมาดำเนินการได้ แม้อาจจะทำให้เกิดความล่าช้าจากแผนเดิมบ้าง

โดยภาพรวมของการจัดเวทีรับฟังความเห็นในครั้งนี้ ส่วนใหญ่ให้การตอบรับค่อนข้างดีและเข้าใจว่าการมีรถไฟความเร็วสูงจะทำให้พื้นที่ได้รับประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ เป็นการกระจายความเจริญสู่ต่างจังหวัด โดยเฉพาะเมืองใหญ่ที่อยู่ในเส้นทางที่ผ่านจะกลายเป็นเมืองหลัก ใช้ระยะเวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่เพียงประมาณ 3 ชั่วโมง เบื้องต้นอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ประมาณ 1,074 บาท ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเกิดผลดีต่อผู้เดินทางและสามารถแข่งขันกับสายการบินโลว์คอสต์ได้ไม่ยาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/02/2014 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยต่อ "รถไฟความเร็วสูง" 4 สาย เร่งสปีด "พิษณุโลก-เชียงใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 16:13:11 น.

เงินกู้ 2 ล้านล้านไม่มี...ไฮสปีดเทรน 4 สาย ใช้เงินลงทุนร่วม 783,299 ล้านบาท จะได้ไปต่อไหม ? เป็นคำถามที่ใครหลายคนอยากจะได้คำตอบ

พลันที่ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ...ต้องชะลอรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) แบบไม่มีกำหนด ลุยศึกษาต่อ-เร่งอีไอเอจบปีนี้

"จุฬา สุขมานพ" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สนข.ยังเดินหน้าศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สายทาง ได้แก่

สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
สายกรุงเทพฯ-หนองคาย และ
สายกรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์

ส่วนสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง อยู่ในความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ซึ่งก็กำลังศึกษา โดยจะเร่งศึกษาและทำอีไอเอหรือรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเฟสแรกให้แล้วเสร็จในปีนี้ คือ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา ส่วนสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และ สายกรุงเทพฯ-หัวหิน กำลังปรับแก้รายงานอีไอเอ จะเสนอได้เร็ว ๆ นี้ ทุกสายจะเร่งอีไอเอให้จบปีนี้

นำร่อง กทม.-พิษณุโลก

หลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้ว จะนำโครงการพร้อมประมูล คือสายเหนือจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้รัฐบาลชุดใหม่อนุมัติต่อไป หลังประเมินแล้วประเทศไทยควรจะเร่งผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงขึ้นมาสักสายเพื่อพัฒนาประเทศเหมือนกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งแหล่งเงินลงทุนจะใช้เงินกู้เหมือนกับโครงการรถไฟฟ้า

"เฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 382 กม. จะใช้ค่าก่อสร้าง 193,206 ล้านบาท สร้างไปตามแนวรถไฟเดิมมี 7 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก"

เคาะเส้นทางไปเชียงใหม่

ขณะที่เฟส 2 "พิษณุโลก-เชียงใหม่" ผอ.สนข.กล่าวว่า จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์นี้ ระยะทาง 363 กม. โดยจะปรับแนวใหม่ เบี่ยงมาทางพื้นที่ จ.สุโขทัย สร้างคู่ขนานไปกับถนนสายพิษณุโลก-สุโขทัย แล้วตัดเข้าสู่ถนนสาย 101 ผ่าน อ.ศรีสำโรง และ สวรรคโลก จากนั้นตรงไป อ.ศรีสัชนาลัย อ.วังชิ้น อ.แม่ทะ ไปบรรจบกับรถไฟสายเดิมที่ จ.ลำปาง ผ่าน อ.ห้างฉัตร แล้วเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาช่วงรอยต่อเขาขุนตาลและเขาผาเมือง ก่อนตัดเข้า จ.ลำพูน มาสิ้นสุดที่เชียงใหม่ มี 5 สถานี คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยตลอดทั้งเส้น "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ระยะทางจะสั้นลงเหลือ 669 กม. มีเวนคืน 5,835 ไร่ จำนวน 1,750 แปลง

"เลือกแนวผ่านศรีสัชนาลัย จะเป็นการเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่ และเสริมการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เมืองมรดกโลก" ผอ.สนข.กล่าวย้ำ

เปิดแนวอีก 3 สาย

สำหรับสายอีสาน "กรุงเทพฯ-หนองคาย" ระยะทาง 615 กม. วงเงิน 170,450 ล้านบาท เกาะแนวเส้นทางรถไฟเดิม ผ่าน 7 จังหวัด ต่อจากกรุงเทพฯผ่านปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

เฟสแรก "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" ระยะทาง 256 กม. ใช้เงินลงทุน 123,950 ล้านบาท มี 3 สถานี คือ สถานีสระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา เพราะจะใช้โครงสร้างร่วมกับรถไฟสายเหนือช่วง "บางซื่อ-บ้านภาชี" ระยะทาง 84 กิโลเมตร คาดว่าจะมีเวนคืนที่ดิน 1,600 ไร่ วงเงิน 8,000 ล้านบาท

ส่วนเฟส 2 "นครราชสีมา-หนองคาย" ระยะทาง 359 กม. จะสร้างช้าจากเฟสแรก 2 ปี มี 5 สถานี ต่อจากนครราชสีมา เป็นสถานีบัวใหญ่ บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ปัจจุบันได้งบประมาณปี 2557 วงเงิน 199 ล้านบาท ศึกษารายละเอียดโครงการแล้ว หากแล้วเสร็จสายนี้จะเป็นโครงข่ายเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงของจีนสร้างมารอที่ฝั่ง สปป.ลาว

สำหรับสายใต้ "กรุงเทพฯ-หัวหิน" ได้ข้อสรุปแนวเส้นทางและรูปแบบสถานี รอฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ครั้งสุดท้ายหลังปรับตำแหน่งสถานีใหม่ โดย "สนข." ตั้งเป้าภายในปีนี้ทุกอย่างจะแล้วเสร็จรอรัฐบาลใหม่มาสานต่อ

แนวเส้นทางพาดผ่าน 5 จังหวัด สร้างอยู่แนวรถไฟเดิม ระยะทาง 209 กม. จาก "สถานีบางซื่อ" วิ่งไปตามแนวรถไฟสายใต้ไปสิ้นสุดที่ ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มี 4 สถานี ถัด "สถานีบางซื่อ" เป็นสถานีนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน สร้างอยู่บนสถานีรถไฟเดิม 1 แห่ง คือ สถานีนครปฐมอีก 3 สถานีอยู่บนพื้นที่ใหม่ จะมีเวนคืนที่ดิน 900 ไร่ สิ่งปลูกสร้าง 4,310 หลังคาเรือน เงินลงทุน 98,399 ล้านบาท

สายตะวันออกจอดป้ายที่ศรีราชา

สุดท้ายสายตะวันออก "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ระยะทาง 221 กม. เงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท สร้างไปตามแนวรถไฟเดิมมี 7 สถานี เริ่มต้นที่สถานีบางซื่อแล้วเกาะแนวทางรถไฟสายตะวันออกผ่านพญาไท มักกะสัน ลาดกระบัง ช่วงนี้จะใช้สถานีและแนวเส้นทางร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์

จากนั้นผ่าน จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา และสิ้นสุดที่ระยอง โดยจุดที่ตั้ง "สถานีฉะเชิงเทรา" ขยับไปทางเหนือห่างจากสถานีเดิมประมาณ 1 กม. "สถานีชลบุรี" อยู่ที่เดิม "สถานีพัทยา" อยู่ที่สถานีเดิมตรงพัทยากลาง และ "สถานีระยอง" อยู่ที่ใหม่บริเวณถนนบายพาสระยอง

ปัจจุบันการศึกษาความเหมาะสมเสร็จแล้ว กำลังเริ่มศึกษารายละเอียดโครงการ แนวโน้มอาจจะเพิ่ม 1 สถานี "ที่ศรีราชา" รอเคาะความชัดเจนอีกครั้งในเดือนสิงหาคมนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 21/02/2014 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

ความเห็นเรื่องรถไฟความไวสูง

Noch Hautavanija wrote:
เราอยากได้รถไฟความเร็วสูง แบบไม่ต้องกู้นอกระบบ และ... เราขอดูแผนการศึกษาการลงทุนให้ละเอียดก่อนด้วย

ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูง
ระบุว่า รัฐบาลจีน ต้องการและยังมีโอกาสได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับโครงการรถไฟความเร็วสูงกับประเทศไทย

นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยในสิงคโปร์
โอห์ อ้าย ซัน วิทยาลัยวิเทศศึกษา แห่ง เอส ราชารัตนาม

รัฐบาลจีนยังสนใจและมีโอกาสร่วมทุนกับไทยในโครงการรถไฟความเร็วสูงต่อ เพื่อเชื่อมจีน ลาว ไทย มาเลเซีย ลงไปถึงสิงคโปร์ ตาม ***แผน MOU ที่ไทยกับจีนเตรียมเพื่อจะลงนามกันไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่แล้ว*** นอกจากนี้ยังมีการพูดถึง MOU ที่ไทยเซ็นกับรัฐบาลจีนปีก่อน ในสมัยรัฐบาลนี้ ที่เสนอให้จีนยอมซื้อข้าวไทย เพื่อแลกกับการชำระหนี้ได้ด้วยเช่นกัน

นักวิชาการจากสิงคโปร์ท่านนี้แนะนำให้จีนอดทนไปก่อน

China Business News - Shanghai

ทั้งนี้ พรบ.กู้ 2 ล้านล้าน ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ล้มพับแผนร่วมทุนกับจีนทำให้ต้องหยุดชะงักเรื่องนี้ไป จีนก็สบโอกาสแสดงตัวแต่เนิ่นๆ ในการที่

1.จะกลับไปร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูงเหมือนเดิมที่เคยคุยกันไว้นานแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ โดยที่รัฐบาลไทย ไม่ได้ดันทุรังไปกู้นอกระบบถึง 2 ล้านล้าน และ
2.ยังเสนอจะช่วยรับซื้อข้าวคุณภาพต่ำในโกดัง ที่เป็นผลจากการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อีกด้วย
...

https://www.facebook.com/NochPH/posts/10202585674977547
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2014 11:07 am    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินหน้า'รถไฟความเร็วสูง'สถานีแรก'กรุงเทพฯ-พิษณุโลก'
Sunday, 23 February 2014 05:46
สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

"การพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางในภาคเหนือให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น"

แม้ว่าร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ยังเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ต่อไป โดยคาดว่าจะทำการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นสายแรก ในช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ซึ่งขณะนี้ได้ออกแบบก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

"จุฬา สุขมานพ" ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้ความชัดเจนว่า การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคาย กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง จะยังเดินหน้าต่อไป ถึงแม้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะไม่สามารถดำเนินการต่อได้ตามแผนงานที่กำหนดก็ตาม โดยจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาเพื่อดำเนินงานในโครงการที่มีความพร้อมมากที่สุดได้ทันที หากเห็นชอบจะต้องหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำมาดำเนินโครงการต่อไป

ทั้งนี้ เส้นทางแรกที่น่าจะดำเนินการได้ก่อน คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย กรุงเทพฯ- หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง หากเส้นทางไหนผ่านอีไอเอก่อนก็จะเสนอขออนุมัติดำเนินงานได้ทันที โดยกระทรวงการคลังจะต้องเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ให้ดำเนินการ

สำหรับการดำเนินการในช่วงที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่นั้น ขณะนี้ สนข.ได้จัดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาแล้ว 1 ครั้ง ซึ่งน่าจะได้ข้อสรุปแนวเส้นทางตามความเหมาะสมทางวิศวกรรม เรื่องของสิ่งแวดล้อมภายในสิ้นปี 2557 นี้

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สนข.ได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุง เทพฯ-พิษณุโลก แล้วเสร็จ และได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็ว สูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง

ทั้งนี้ การสัมมนาได้มีการนำเสนอแนวเส้นทางเลือกของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ 3 แนวเส้นทางเลือก โดย จ.พิษณุโลก จะผ่าน อ.บางกระทุ่ม อ.เมืองพิษณุโลก และ อ.พรหมพิราม เข้าสู่ทางเลือก ประกอบด้วย
แนวทางเลือกที่ 1 เป็นแนวเส้นทางที่ใช้ทางรถไฟเดิมเป็นหลัก โดยปรับรัศมีโค้งบางส่วน เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วที่ต้องการได้ ระยะทางประมาณ 299 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

แนวทางเลือกที่ 2 เป็นแนวเส้นทางที่ปรับเข้าใกล้ตัวเมือง จ.แพร่ โดยแยกออกที่ อ.ห้วยไร่ จ.แพร่ และวกกลับเข้าเส้นทางรถไฟเดิมที่ ต.แม่ทะ จ.ลำปาง ระยะทางประมาณ 315 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่

และ แนวทางเลือกที่ 3 เป็นแนวเส้นทางใหม่ที่แยกไปจาก จ.พิษณุโลก มุ่งไป จ.สุโขทัย ไปทางสวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ผ่านเข้าเมืองลำปาง ระยะทางประมาณ 293 กม. มี 5 สถานี ได้แก่ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยช่วงลำปาง-เชียงใหม่ ทุกทางเลือกจะวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงบริเวณดอยขุนตาล จนถึงลำพูน จะตัดแนวเส้นทางใหม่ เพื่อให้รถไฟสามารถทำความเร็วได้ จากนั้นวิ่งไปตามแนวรถไฟเดิมจนถึงเชียงใหม่

สำหรับหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกแนวเส้นทางที่มีความเหมาะสมมากที่สุด จะเปรียบเทียบและให้คะแนนครอบคลุมปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ด้านวิศวกรรม เช่น ระยะเวลาในการเดินทาง ความสามารถในการเข้าถึงระบบรถไฟความ เร็วสูง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน เช่น ค่าก่อสร้างและเวนคืน ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น และด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น คุณภาพอากาศ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลกเชียงใหม่ มีพื้นที่ที่ต้องตัดแนวเส้นทางใหม่และผ่านภูเขาสูง และในส่วนตำแหน่งที่ตั้งสถานีรถไฟความเร็วสูง มีการพิจารณารายละเอียดและกำหนด หลักเกณฑ์ให้มีความเหมาะสมมากที่สุด เช่น มีที่ตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองในระยะ 1-5 กม. มีโครงข่ายเชื่อมโยงกับถนนสายหลักรองรับ ประชาชนสัญจรเข้าสู่สถานีได้อย่างสะดวก และเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสในการพัฒนาสู่ความเป็นเมืองสูง เป็นต้น รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ทุกด้านอย่างรอบคอบ

ในการนี้ ประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ที่เข้าร่วมการสัมมนา ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นสำคัญๆ อาทิ จังหวัดพิษณุโลก เห็นด้วยกับโครงการฯ โดยต้องการให้ใช้รูปแบบทางยกระดับในการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ และเสนอให้สรรหาเงินงบประมาณการลงทุนก่อสร้างจากภายในประเทศก่อนที่จะพิจารณากู้เงินจากต่างประเทศ

จังหวัดลำปางเห็นด้วยกับโครงการฯ โดยต้องการให้มีหน่วยงานเฉพาะในการบริหารระบบรถไฟความเร็วสูงโดยตรง และมีการควบคุมพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบสถานีอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับผังเมือง จังหวัดเชียงใหม่เห็นด้วยกับโครงการฯ โดยควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนร่วมเป็นกรรมการในการกำหนดราคาเวนคืน และควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบรถไฟความเร็วสูงด้วย ส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ และสุโขทัย ต่างมีความประสงค์ให้เส้นทางผ่านจังหวัดของตนเอง โดยขอให้ทำการศึกษาเปรียบเทียบอย่างรอบคอบที่สุด ซึ่ง สนข.จะนำทุกความคิดเห็นมาพิจารณาประกอบร่วมกับการศึกษาของโครงการฯ เพื่อให้ประชาชนได้รับผล กระทบน้อยที่สุด และประเทศชาติได้ประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ การพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะเป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางในภาคเหนือให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 25/02/2014 9:26 am    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม จัดประกวดออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ชิงเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
วันที่ข่าว : 24 กุมภาพันธ์ 2557


กระทรวงคมนาคม จัดประกวดออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ชิงเงินรางวัลกว่า 500,000 บาท

นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จัดการประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ อัตลักษณ์สร้างคุณค่า เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนเกิดควาฒตื่นตัวและมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงของประเทศ โดยได้รับความร่วมมือจากผูเชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมภายในและการออกแบบหลายหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน ซึ่งการประกวดดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้สนใจนำเสนอแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่รวม 3 สถานี ได้แก่สถานีพิษณุโลก สถานีลำปาง และสถานีเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด อัตลักษณ์สร้างคุณค่า โดยจะเลือกแบบสถานีใดก็ได้ โดยการตัดสินแบ่งเป็นสองระดับคือ ระดับอาชีพ สำหรับสถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ ทั้งอิสระ กลุ่มบุคตล และบริษัท และระดับสมัครเล่น สำหรับนิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยมีเงินรางวัลทั้งสองระดับแบ่งเป็นละดับละ 12 รางวัล รวม 3 สถานี สถานีละ 4 รางวัล โดยรางวัลที่ 1 รางวัลละ 40,000 บาท รวมมูลค่าเงินรางวัล 510,000 บาท

สำหรับผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครประกวดผ่านเว็บ http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2/ และ www.facebook.com/hispeedchiangmaiphase2 ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 เมษายน 2557 และติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2509-9091 ต่อ 113 และ 119
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2014 12:25 pm    Post subject: Reply with quote

เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงสายเหนือ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2557 11:57 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร( สนข.) เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 “ โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่” ณ ห้องคอน 1 โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อเร็วๆนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 13/03/2014 11:29 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูงสะดุดเอกชนเบรกลงทุนราคาที่ดินตจว.ร่วง

13 มีนาคม 2557


นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย ประธานหอการค้า จังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า หลังจากโครงการลงทุน ขนาดใหญ่วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ชะลอการดำเนินการ ออกไปตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาเดียวกับปัญหาการเมืองปะทุส่งผลให้โครงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดที่ถูกระบุว่า จะเป็นทางผ่าน รถไฟความเร็วสูง ต้องสะดุดลง จากเดิมในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาการ ลงทุนมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว นักพัฒนาอสังหาฯขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 10 ราย เข้ามาลงทุนในพื้นที่เพื่อดักโอกาสการ เกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ทำให้ราคาที่ดินสูงขยับสูงขึ้นถึง 100-200 % บริเวณใจกลางเมืองอย่าง เช่น ยูดีทาวน์ ราคาที่ดินสูงมาถึงไร่ละ 20-30 ล้านบาท เมื่อเปิดตัวโครงการมียอดจองไม่ต่ำกว่า 60-70% จนทำให้เกิดการเก็งกำไรที่ดิน จนกระทั่งเกิดวิกฤติการเมือง ทำให้ราคาที่ดิน ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากที่ดินส่วนใหญ่ตกอยู่ใน มือของนายหน้าค้าที่ดิน โดยราคาที่ดินเหลือเฉลี่ยไร่ละ10 ล้านบาท



++ทุนเชียงใหม่แตะเบรกลงทุน

ด้านนายวิทยา ครองทรัพย์ เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจังหวัดเชียงใหม่ เริ่มซบเซาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาเช่นกัน ส่งผลให้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดที่เคยเป็นเป้าหมายสำคัญหยุดชะงักลง ส่งผลทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงใหม่ชะลอการลงทุน

"ในปีนี้ถือว่าสถานการณ์กลับตาลปัตร ค่อนข้างมาก เพราะที่ผ่านมามีกลุ่มทุนเตรียมตัว พัฒนาพื้นที่ติดกับสถานี รถไฟความเร็วสูงสารภี อยู่ห่างจากตัวเมืองจ.เชียงใหม่ 10 กม. ทำให้ราคาที่ดิน บริเวณนั้นขยับสูงขึ้นถึง 30% จากการที่ทุน ต่างถิ่นใน กลุ่มห้างสรรพสินค้า วัสดุก่อสร้าง เข้าไปปักธง เชียงใหม่ แต่ช่วงนี้กลับไม่มีการลงทุนใหม่เกิดขึ้น"

เขายังกล่าวว่า กลุ่มทุนที่เคลื่อนไหวรวดเร็วและน่าจับตาอีกหนึ่งกลุ่ม คือ นักลงทุนจากจีน ที่เข้ามาลงทุน ห้างสรรพสินค้า รวมถึงซื้อโรงแรมดาราเทวี ซึ่งเป็นกลุ่มทุนที่ยังมีศักยภาพ และต้องการออกลงทุนนอกประเทศเพียงแต่ รอ ดูจังหวะที่เหมาะสมเท่านั้น



++โคราช-ชัยภูมิ-สุรินทร์ กระทบต่อเนื่อง

นางสุบงกช วงศ์วิชยาภร ประธานกลุ่มหอการค้าจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมภ์ สุรินทร์) กล่าวว่า การพัฒนาโครการอสังหาฯ และราคาที่ดินในจังหวัดนครราชสีมาในช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เริ่มซบเซาลงจากปัญหาการเมือง และการชะลอโครงการขนาดใหญ่วงเงิน 2 ล้านล้านบาท

"สภาพเศรษฐกิจตกต่ำจากปัญหาการเมือง จนถึงการชะงักของโครงการ 2 ล้านล้านบาท ล้วน ส่งผลกระทบทำให้ อสังหาฯไม่เติบโต ทั้งในนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ แต่ตอนนี้ ชะลอหมด"

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านที่ตกไปนั้น ไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนของภาคอสังหาริมทรัพย์มากนัก เนื่องจากพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว จะเกี่ยวข้องกับ 4 โครงการหลัก ได้แก่

โครงการรถไฟความเร็วสูง
รถไฟรางคู่
รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และ
การก่อสร้างทางหลวง

จะมีเพียงโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับลงทุนภาคอสังหาฯ เนื่องจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักจะเลือกทำเลตั้งโครงการใกล้รถไฟฟ้า เป็นหลัก

"ที่ผ่านมารถไฟความเร็วสูงไม่ได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในแผนการลงทุนของผู้ประกอบการอยู่แล้ว เนื่องจากมองว่าเป็นโครงการลงทุนในระยาว จะมี ผลแค่กระตุ้นให้ราคาที่ดินในต่างจังหวัด ที่คาดว่ารถไฟความเร็วสูงจะวิ่งผ่าน เช่น อุดรธานี ขอนแก่น ซึ่งพบว่าราคาที่ดินปรับสูงขึ้นมากกว่าปกติ"

++เสนอแยกพิจารณารายโครงการ

นายอธิป ยังกล่าวว่า อยากเสนอภาครัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็ตาม หากพิจารณาแผนลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ควรแยกการลงทุนแต่ละโครงการออกจากกัน เพราะหากร่างกฎหมายไม่ผ่าน บางโครงการจะสามารถเดินหน้า ต่อไปได้ ไม่ตกหมดเหมือนที่เป็นอยู่ เห็นได้ชัดอย่างโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่นกัน ทำให้การเปิดใช้งานถูกเลื่อนออกไปทั้งหมด รวมถึงรถไฟฟ้าที่อยู่ในแผนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สายสีส้ม สายสีชมพู ก็ต้องยืดระยะเวลาการก่อสร้างออกไป เช่นกัน

"โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่ชะลอออกไป ย่อม กระทบกับโครงการก่อสร้างคอนโดมิเนียม ที่อิงกับ แนวรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายทั้งหมด ที่โฆษณาการขายไปแล้ว ก็ต้องสร้างเข้าใจต่อผู้บริโภคว่าระยะเวลาการเปิดรถไฟฟ้าผันแปรไปตามภาครัฐ"

++แสนสิริผ่อนคันเร่งรุกตจว.

นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการ อาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจ และพัฒนาคอนโด มิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านตกไป บริษัทคงต้อง ผ่อนคันเร่งการลงทุนในต่างจังหวัด ไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่บุกขยายเหมือนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งที่ผ่านมาบริษัทได้เข้าไปลงทุนโครงการใน 6 หัวเมืองใหญ่ไปแล้ว คือ หัวหิน-ชะอำ ภูเก็ต เขาใหญ่ เชียงใหม่ พัทยา และ ขอนแก่น ปีนี้จะขยายเพิ่ม 6 จังหวัด 7 ทำเล ได้แก่ ระยอง อุดรธานี นครราชสีมา มหาสารคาม ศรีราชา บางแสน และหาดใหญ่ ซึ่ง โครงการที่จะเข้าไปในตลาดต่างจังหวัดปีนี้ จะเน้น เรื่องแนวราบ บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ มากกว่า ซึ่งเป็น ตลาดที่มีความต้องการซื้อจริง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ได้บุกเบิกตลาดด้วยโครงการคอนโดมิเนียม

"เมื่อโครงการ 2 ล้านล้านไม่เกิดขึ้น ก็มีผลกระทบ อยู่บ้าง เพราะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งสะดุด ทำให้เกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจ และกำลังซื้อของคนในพื้นที่ชะลอตัวลง ดังนั้นการ พัฒนาที่อยู่อาศัยก็ต้องดูตามจังหวะเศรษฐกิจและ สถานการณ์ทางการเมืองเป็นหลักอยู่แล้ว"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2014 10:32 pm    Post subject: Reply with quote

ร่างพ.ร.บ.2ล้านล.ล้ม แต่เดินหน้าแข่งดีไซน์สถานีไฮสปีดเทรน พิษณุโลก-ลำปาง-เชียงใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
3 เมษายน 2557 เวลา 14:28:18 น.


ถึงร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านจะอวสานไป แต่โครงการ "ไฮสปีดเทรน" โปรเจ็กต์ไฮไลต์ ยังคงดำเนินการต่อไปให้จบกระบวนการ

ล่า สุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ดึงมวลชนคนในพื้นที่ไฮสปีดเทรนสายเหนือ "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" จัดประกวดการออกแบบภายในสถานี

โดยจัดแข่งขัน ดีไซน์รูปแบบสถานีในระยะที่ 2 จาก "พิษณุโลก-เชียงใหม่" ที่อยู่ระหว่างคัดเลือกแนวเส้นทาง จะสร้างเกาะไปตามแนวเดิมของ "รถไฟสายเหนือ" หรือจะตัดผ่านจังหวัดสุโขทัย เพื่อเปิดพื้นที่พัฒนาใหม่และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่อุทยานศรีสัชนาลัย

ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 หลังครั้งแรกจัดแข่งขันและได้ผู้ชนะมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในสายใต้ "กรุงเทพฯ-หัวหิน" จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และหัวหิน

สำหรับการออกแบบสถานีช่วง "พิษณุโลก-เชียงใหม่" ทาง "สนข." คัดสรรสถานี ต้นแบบมานำร่อง 3 สถานี มีตำแหน่งที่ตั้งชัดเจน ประกอบด้วย สถานีพิษณุโลก ลำปาง และเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิด "อัตลักษณ์สร้างคุณค่า" หรือ Identity Create Value ชิงเงินรางวัลรวมมูลค่ากว่า 5 แสนบาท

"สมชัย ศิริวัฒนโชค" ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประกวดออกแบบภายในรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 จากพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะเปิดให้ท้องถิ่นมาร่วมออกแบบว่าอยากจะตกแต่งภายในสถานีรถไฟเป็นแบบไหน จะเน้นคุณค่าเอกลักษณ์เป็นหลัก รวมถึงเรื่องความสวยงาม ความโดดเด่นด้านคุณค่าทางการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความเป็นไทย

สำหรับ รายละเอียดการนำเสนอชิ้นงาน "ปลัดสมชัย" อธิบายว่า จะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

1) แนวคิดออกแบบภายในของสถานี จะมีผังภายใน หรือแบบ Plan และรูปตัดภายในสถานี (Elevation or Section) อย่างน้อย 3 รูป

2) ภาพทัศนียภาพ (Perspective) อย่างน้อย 3 พื้นที่ คือโถงจำหน่ายตั๋วและพักคอยสำหรับผู้โดยสาร (Concourse Area) โถงชานชาลาของรถไฟความเร็วสูง (Platform Area) และพื้นที่พาณิชยกรรมใน สถานี (Commercial Zone) เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบ ผู้ส่งผลงานสามารถดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกอาคารได้ แต่ต้องไม่กระทบกับโครงสร้างที่มีอยู่

สำหรับเกณฑ์การตัดสินผลงานจะ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ

ระดับอาชีพ เช่น สถาปนิก มัณฑนากร นักออกแบบ ทั้งอิสระ กลุ่มบุคคล และบริษัท และระดับสมัครเล่น เช่น นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่วนเงินรางวัลนั้น ล่อตาล่อใจพอสมควร

ขณะที่ "รางวัล" แบ่งเป็นระดับละ 12 รางวัล รวม 3 สถานี สถานีละ 4 รางวัล ได้แก่
รางวัลที่ 1 รางวัลละ 40,000 บาท
รางวัลที่ 2 รางวัลละ 25,000
รางวัลที่ 3 รางวัลละ 15,000 บาท และ
รางวัล Popular Vote 3 รางวัล (สถานีละ 1 รางวัล) รางวัลละ 10,000 บาท

รวมมูลค่าเงินรางวัลทั้งสิ้นถึง 510,000 บาท ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครผ่านเว็บไซต์ http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2 ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เม.ย. 2557 หมดเขตส่งผลงานในวันที่ 30 พ.ค. 2557

กิจกรรมครั้งนี้ นอกจากผู้ชนะจะได้รางวัลที่เป็นตัวเงินแล้ว ผลงานที่ชนะทาง "สนข." จะนำไปต่อยอดออกแบบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายนี้ เพื่อก่อสร้างได้จริงในอนาคต

//--------------------

ดูความเห็นแล้วมีจำนวนไม่น้อยที่พยายาม ให้ไปตามทางเดิม เป็นเหมาะ แถมบอกว่าสถานี นครลำปางสำหรับรถไฟความไวสูงไปไว้ที่หนองวัวเฒ่าหรือบ่อแฮ้วเป็นเหมาะ - แนวทางที่ 3 ที่ผ่านสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเวนคืนหนักไป รับไม่ไหว และ คนเมืองแพร่ตั้งข้อรังเกียจอย่างหนักเพราะไม่ผ่านเด่นชัย แต่บางท่านก็ยืนยันให้ไปตรงจากพิษณุโลกไปยังศรีสัชนาลัยเลยมี เพื่เปิดพื้นที่ใหม่ - ส่วนรายที่ต้องการทางเก่า ให้ช่วงพิษณุโลก ไป อุตรดิตถ์ลอยฟ้าไป ที่แปลกก็เรื่องไม่อยากให้มีสาถานีที่ลำพูนเพราะ ใกล้เขียยงใหม่ไป และ ไม่เอาสถานีเชีรยงใหม่ที่มีอยู่เดิมเป็นปลายราง
http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2/file/S1_2_570303.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 04/04/2014 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

'ชัชชาติ'ดิ้นสานต่อ2ล้านล. รมีลุ้นสบน.-คลังเคาะความชัดเจนแหล่งทุน
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 01 เมษายน 2014 เวลา 14:17 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,936 วันที่ 3 - 5 เมษายน พ.ศ. 2557

คมนาคมเร่งจัดระบบแหล่งทุนสานต่อโครงการ 2 ล้านล้าน เผยระบบราง-งานถนน-รถไฟฟ้ายังฮอต แต่ยังดองยาวไฮสปีดเทรน มีลุ้นสบน.-คลังเคาะความชัดเจน "ชัชชาติ" เผยเน้นผลักดันโครงการหลักที่มีความพร้อมจริงๆก่อนบรรจุไว้ในงบประมาณประจำปี 2558 ส่วนปลัดคมนาคมเตรียมต่อยอดเพื่อจัดระบบงบประมาณได้อีกหลายโครงการ สนข.เผยผลหารือร่วมสบน.เตรียมตั้งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการที่พร้อมใช้งบประมาณภายใน 7 เดือน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการตามร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งพ.ศ ...หรือร่างพ.ร.บ.2ล้านล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาว่าขัดรัฐธรรมนูญไปแล้วนั้นว่าได้สั่งให้แต่ละหน่วยกลับไปจัดทำรายละเอียดในโครงการต่างๆให้พร้อมเพื่อนำเข้าสู่การหารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณาหาแหล่งทุนสนับสนุนโครงการต่างๆให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ ว่าโครงการใดจะนำไปจัดไว้แหล่งทุนจากการใช้งบประมาณประจำปีหรือจากการกู้เงินตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ รวมถึงงบประมาณเพื่อกรณีโครงการเร่งด่วน และการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPPs) ในวันที่ 31 มีนาคม 2557ที่ผ่านมา
alt "กำชับให้ทุกหน่วยดูการจัดลำดับความสำคัญ วงเงินที่มีอยู่ว่าจะสามารถจัดลงในโครงการใดได้บ้าง โดยวงเงินเหล่านั้น สบน.จะแจ้งให้ทราบ ให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินเพื่อเตรียมนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่พิจารณาซึ่งในเบื้องต้นจะให้ความสำคัญเท่ากันทั้งหมดทุกโครงการ เพียงแต่ว่าโครงการไหนมีความพร้อมมากกว่าเท่านั้น ซึ่งหลังจากนั้นจึงจะนำงบประมาณประจำปีเข้าไปเสริมกับโครงการหลักจึงจะขับเคลื่อนอย่างสอดคล้องกัน"
สอดรับกับที่นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปหารือร่วมกับสบน. กระทรวงการคลัง ว่าจะสามารถบริหารจัดการงบประมาณปี 2558 ได้อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะโครงการตามร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท บรรจุไปไว้ในงบประมาณประจำปีได้อย่างไร
ทั้งนี้คาดว่าภายหลังการหารือน่าจะบ่งบอกได้หลายโครงการว่าจะไปใช้แหล่งทุนในรูปแบบใดได้บ้าง ซึ่งแต่ละหน่วยจัดลำดับรองรับไว้แล้ว สิ่งสำคัญไม่ทิ้งโครงการในงบตามพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทยังคงขับเคลื่อนต่อไป เพียงแต่จะนำโครงการไหนไปบรรจุไว้ในงบประมาณประจำปีเท่านั้น ซึ่งในเบื้องต้นยังคงเป็นงานโครงสร้างพื้นฐานกลุ่มโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย งานด้านถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท งานด้านรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
"โดยแต่ละหน่วยจะเป็นผู้นำเสนอขึ้นมาให้พิจารณาเพื่อเตรียมเข้าสู่การหารือร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งการขับเคลื่อนยังคงต้องรอดูสถานการณ์ทางการเมืองที่จะสามารถตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาพิจารณาโครงการปี 2558 ได้รวดเร็วหรือล่าช้าไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งยังต้องติดตามว่าจะสามารถบรรจุเข้ากรอบวงเงินกู้ได้มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ซึ่งหลังจากนี้การจัดระบบงบประมาณปี 2558 น่าจะเริ่มเห็นความชัดเจนมากขึ้น"
ด้านแหล่งข่าวระดับสูงสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่าผลของการหารือร่วมระหว่างสบน. สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ได้มีการเสนอตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อพิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีความพร้อมดำเนินการให้สอดคล้องกับการจัดงบประมาณประจำปี 2558 ซึ่งขณะนี้มีเวลาอีกเพียงแค่ 7 เดือนเท่านั้น ทั้งนี้คณะกรรมการชุดดังกล่าวมีสบน.ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ โดยจะมีหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการ อาทิ สนข. สภาพัฒน์ (สศช.) สำนักงบประมาณ เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองโครงการต่างๆ หลังจากได้ตัวคณะกรรมการครบถ้วนแล้วจะมีการประชุมเพื่อลงลึกในรายละเอียดต่างๆของแต่ละโครงการต่อไป
"ในหลักการคือว่าโครงการตามร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทและพ.ร.บ.หนี้สาธารณะจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาว่าจะต้องใส่งบประมาณลงไปในแต่ละโครงการจำนวนเท่าใด ซึ่งน่าจะจบภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 นี้ซึ่งจะมีเวลาเพียงแค่ 7 เดือน ดังนั้นโครงการที่จะนำบรรจุไว้ในงบประมาณประจำปี 2558 จึงต้องมีความพร้อมจริงๆเท่านั้นที่จะใช้จ่ายเงินภายใน 7 เดือนนี้เท่านั้น"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 179, 180, 181 ... 545, 546, 547  Next
Page 180 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©