Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271363
ทั้งหมด:13582652
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 180, 181, 182 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2014 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงของบปี 58 สูงปรี๊ด 3 แสนล้าน อัดลงทุนระบบรางชดเชยแทนกู้ 2 ล้านล้านไม่ได้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 เมษายน 2557 10:53 น.


“คมนาคม” เสนอของบปี 58 จำนวน 3 แสนล้าน ชดเชยไม่ได้กู้ 2 ล้านล้าน โยกระบบราง รถไฟฟ้า, รถไฟทางคู่ใช้งบประจำปี “ผอ.สนข.” เผยตั้ง รบ.ใหม่ช้ากระทบเป็นลูกโซ่ หวั่นงบประจำปีดีเลย์ไปด้วย ยอมรับต้องชะลอรถไฟความเร็วสูง หวั่นดันทันรับเดินหน้าพลอยกระทบโครงการอื่นไม่ได้เกิด แต่ไม่ล้มเตรียมเปิดเวทีให้ข้อมูลคนกรุงเทพฯ

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงการจัดทำงบประมาณปี 2558 ของกระทรวงคมนาคมว่า ได้เตรียมเสนอของบประมาณรวม 3 แสนล้านบาท จากปี 2557 ที่เสนอขอ 1.3 แสนล้านบาท เนื่องจากมีการโยกโครงการสำคัญที่เคยบรรจุไว้ในแผนการใช้เงินตามพระราชบัญญัติการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท มาใช้งบประมาณปกติปี 2558 แทน จึงทำให้งบประมาณที่เสนอขอในปี 2558 มีวงเงินค่อนข้างสูง

โดยต้องขึ้นอยู่กับว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่เมื่อใด เนื่องจากการจัดทำงบประมาณประจำปีตามปกติจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี โดยรัฐบาลต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของปีถัดไปต่อรัฐสภา แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลชุดใหม่จะเข้าทำงานในเดือนพฤษภาคมนี้ หากเป็นจริงตามนั้น การใช้งบประมาณปี 2558 ก็จะล่าช้าออกไป

โดยโครงการที่โยกจาก พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทมาบรรจุในงบประจำปี 2558 เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายทาง คือ สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยต้องของบประมาณมาเพื่อเริ่มการเวนคืน สายสีส้มเฟสแรก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี) และสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ซึ่ง 2 สายทางนี้ต้องเสนอ ครม.เพื่อขออนุมัติโครงการ พร้อมของบประมาณเวนคืน ซึ่งปี 2558 มีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาสายสีเขียวและสีส้มเฟสแรกได้

นอกจากนี้ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง คือ
1. ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น
2. สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ
3. สายลพบุรี-ปากน้ำโพ
4. สายนครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน และ
5. สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 3 เส้นทาง คือ สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี และสายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้น ยืนยันว่ายังไม่มีการล้มเลิกโครงการ แม้อาจต้องชะลอออกไปจากกำหนดเดิม ซึ่งเบื้องต้น สนข.จะปรับกลยุทธ์ใหม่โดยให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนกรุงเทพฯ มากขึ้น เพราะผู้ที่คัดค้านส่วนใหญ่เป็นคนกรุงเทพฯ ซึ่งการชะลอโครงการเพื่อไม่ให้เกิดประเด็นจนกระทบต่อโครงการอื่นๆ ที่เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเหมือนกัน โดยในปลายเดือนพฤษภาคมจะมีการจัดสัมมนาใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนและต้องการให้ข้อมูลแก่คนกรุงเทพฯ ที่ส่วนใหญ่คัดค้านเพราะค่อนข้างมีฐานะและใช้รถส่วนตัวเดินทางไปต่างจังหวัดไม่นิมยมนั่งรถไฟ จึงอาจไม่ทราบว่ารถไฟความเร็วสูงสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมาก และประเทศไทยไม่ได้พัฒนาได้เฉพาะกรุงเทพฯ เท่านั้นส่วนที่อื่นไม่ต้องทำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/04/2014 9:16 pm    Post subject: Reply with quote

โมเดล "เมืองใหม่" ไม่ล้ม ลุยต่อรับรถไฟ "ทางคู่-ไฮสปีดเทรน"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 เมษายน 2557 เวลา 12:14:27 น.


ถาม กันมาก "เมืองใหม่" 17 แห่งในแนวรถไฟความเร็วสูง 4 สายทางในเฟสแรก จะยังได้รับการผลักดันให้ไปต่อ หรือจะเป็นได้แค่โครงการขายฝันให้กับนักลงทุนและคนในพื้นที่ 4 ภูมิภาคได้ตื่นตาตื่นใจกันเล่น ๆ ซึ่งตลอดปี 2556 ที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง ที่เป็นจุดจอดของสถานีไฮสปีดเทรน มีบรรยากาศการลงทุนคึกคัก โดยเฉพาะราคาที่ดินดีดรับโปรเจ็กต์นี้จนพุ่งเกินความเป็นจริง

แต่ เมื่อร่างเงินกู้ 2 ล้านล้านไม่มี คนคิดโมเดล "เมืองใหม่" อย่างกรมโยธาธิการและผังเมือง จะมีท่าทียังไง และผังเมืองรวมจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดที่จะปรับใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้านจะชะลอไปด้วยหรือไม่

"มณฑล สุดประเสริฐ" อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรมยังเดินหน้าปรับปรุงผังเมืองรวมจังหวัดทุกจังหวัด แม้ว่าเงินกู้ 2 ล้านล้านจะไม่มีแล้ว แต่การวางผังพัฒนาเมืองเป็นเรื่องการกำหนดทิศทางการพัฒนาระยะยาวไป 5 ปี 10 ปี 20 ปี ยังไงโครงการโครงสร้างพื้นฐานยังอยู่ในแผนการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์ จะต้องกำหนดไว้ในร่างผังเมืองรวม

"แผนโครงการยังมีอยู่ แต่ยังไม่เกิดตอนนี้เท่านั้นเอง เพราะไม่มีเงินลงทุนก่อสร้าง ซึ่งทางจังหวัดที่กำลังจัดทำร่างผังเมืองจะใส่โครงการเข้าไปด้วย เพราะเราวางแผนพัฒนาเมืองระยะยาว ในผังเมืองรวมจังหวัดทุกจังหวัดต้องปรับปรุงให้ล้อตามไปด้วย"

สำหรับ "เมืองใหม่" นั้น อธิบดีกรมโยธาฯกล่าวว่า ยังเดินหน้าศึกษาและออกแบบอยู่ ปัจจุบันรอความชัดเจนเรื่องตำแหน่งที่ตั้ง 3 สถานี คือ พิษณุโลก พัทยา นครปฐม จากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะผู้ศึกษาโครงการ ส่วนที่เหลือมีความเห็นตรงกันแล้ว จะเตรียมความพร้อมรอให้รัฐบาลชุดใหม่มาพิจารณา ยังไม่รู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

"ถามว่าเมืองใหม่ที่จะเกิด บ้านเราจะง่ายหรือยาก ต้องบอกว่าที่ผ่านมาทำได้ยาก ติดเรื่องกรรมสิทธิ์ของพื้นที่ ต้องใช้วิธีการแบบจัดรูปที่ดินเข้ามาช่วย เจ้าของที่ดินจะแชร์ที่ดินร่วมกัน ก็จะทำให้เกิดขึ้นได้เหมือนที่ ต่างประเทศ หากเป็นคอนเซ็ปต์ย้ายเมืองไปที่ใหม่เลยคงจะเป็นไปได้ยาก ที่ผ่านมาเคยคิดจะทำที่นครนายกและท่าตะเกียบแต่ไม่สำเร็จ"

ถึงนาที นี้จะยังไม่ชัดเจน แต่ "อธิบดีกรมโยธาฯ" ระบุว่า เมืองที่อยู่ในแนวโครงการเส้นทางโลจิสติกส์เดิมที่อยู่ใน 2 ล้านล้านบาท มีโอกาสที่จะเกิดชุมชนใหม่ จะเกิดเมืองรอบสถานี ทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง

"เรื่องของเมืองใหม่รอบสถานีรถไฟ ความเร็วสูง เราขายความคิดว่า เมื่อรัฐลงทุนรถไฟความเร็วสูงน่าจะได้ประโยชน์จากการลงทุน อย่างน้อยที่สุดก็ผลตอบแทนคืนมาให้รัฐเพื่อลดต้นทุนของค่าก่อสร้าง กรมเลยขายไอเดียว่าจะนำการจัดรูปที่ดินเข้าไปช่วยพัฒนาโดยรอบสถานีรถไฟ รัฐจะได้ที่ดินมาหาประโยชน์ ทำเป็นศูนย์การค้า พาณิชยกรรม"

สุดท้าย "มณฑล" ย้ำว่า โครงการ 2 ล้านล้านเป็นแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น การทำผังเมืองรวมจังหวัดยังไงก็ต้องเดินหน้า ทุกจังหวัดต้องปรับปรุงหมด เนื่องจากผังเมืองรวมจังหวัดเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2549 ตอนนี้ 8 ปีแล้ว สภาพเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ต้องทำให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2014 3:25 pm    Post subject: Reply with quote

ตั้งงบ1.3ล้านล้าน ชงรบ.ใหม่ดันไฮสปีดเทรน
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 10:26 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,948 วันที่ 15 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โครงการรถไฟความเร็วสูงยังไม่ตกราง สนข.จัดงบไฮสปีดเทรนใหม่ 3 เส้นทางรวมกว่า 1.3 ล้านล้าน เตรียมชงรัฐบาลชุดใหม่เร่งผลักดัน หนุนกู้เงินในประเทศเหตุเงินล้นคลัง ล่าสุดเร่งขออีไอเอเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ส่วนเส้นทางอีสานจ่อคิวต่อไป ภาคเอกชนไม่เชื่อว่าโครงการเกิดขึ้นได้จริง
นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงอนาคตของโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทาง คือ

กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,
กรุงเทพฯ-หนองคาย และ
กรุงเทพฯ-หัวหินว่า

ต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะขับเคลื่อนโครงการต่อไปหรือไม่ และจะใช้งบประมาณจากแหล่งใด จะใช้วิธีการกู้หรือใช้จากงบประมาณปกติ ซึ่งตามผลศึกษาได้กำหนดกรอบวงเงินในเบื้องต้นเอาไว้แล้ว หากจะก่อสร้างจริงคงต้องมีลงลึกในรายละเอียดงบประมาณที่แท้จริงในขณะนั้นอีกครั้ง

"ต้องรอดูทิศทางของรัฐบาลชุดใหม่ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจขับเคลื่อน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามผลการศึกษาและออกแบบรายละเอียดของเส้นทางต่างๆซึ่งพอจะทราบกรอบงบประมาณโดยคร่าวๆแล้ว หากจะมีการก่อสร้างคงต้องมีการปรับวงเงินงบประมาณให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในขณะนั้นอีกครั้ง"

ด้านดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ วิศวกรโยธาชำนาญการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่าทางสนข.อยู่ระหว่างการเร่งจัดทำงบประมาณก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทาง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในรัฐบาลชุดใหม่เร่งผลักดันหรือจัดหาแหล่งทุนก่อสร้างโครงการดังกล่าว
alt "ต้องจับตาหลังจากตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้วโครงการเหล่านี้จะถูกนำออกมาผลักดันให้เกิดขึ้นหรือไม่

ดร.พิเชฐ ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับงบประมาณค่าก่อสร้างของโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทางที่สนข.รับผิดชอบ ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่วงเงิน 4.27 แสนล้านบาท ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 12.56% ระยะเวลาเดินทางตั้งแต่ 1.45-3.07 ชั่วโมง ค่าโดยสารช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกตั้งแต่ 640-1,700 บาท/เที่ยว ช่วงสุโขทัย-เชียงใหม่ ตั้งแต่ 1,100-2,900 บาท/เที่ยว เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงิน3.51 แสนล้านบาท

ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 11.45% ระยะเวลาเดินทางตั้งแต่ 1.12-2.40 ชั่วโมง ค่าโดยสารช่วงดอนเมือง-นครราชสีมา 569 บาท/เที่ยว ช่วงบัวใหญ่-หนองคาย 1,217 บาท/เที่ยว และ

เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 5.25 แสนล้านบาท ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 12.76% ระยะเวลาเดินทาง 1.17-4.53 ชั่วโมง ค่าโดยสารช่วงนครปฐม-หัวหิน ตั้งแต่ 385-1,040 บาท/เที่ยว และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ปาดังเบซาร์ ตั้งแต่ 1,526-4,000 บาท/เที่ยว

สำหรับความคืบหน้ากรณีการยื่นขอรับรองผลการศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ของโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 3 เส้นทางนั้น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ได้ยื่นขอไปแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งพบว่ามีการขอแก้ไขปรับปรุงข้อมูลด้านสาธารณสุขของประชาชนในพื้นที่แนวเส้นทางกรณีสถิติโรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น โดยแจ้งกลับภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และในส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน คาดว่าภายในสัปดาห์นี้จะยื่นขออีไอเอ และเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาจะทยอยขอเป็นคิวต่อไปประมาณมิถุนายน-กรกฎาคมนี้

ด้านนายกฤช หิรัญกิจ ประธานที่ปรึกษา สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา สะท้อนถึงความเคลื่อนไหวราคาที่ดิน จากกระแสที่ กระทรวงคมนาคม ผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ –นครราชสีมาอีกครั้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเชื่อมั่น เพราะที่ผ่านมา ขนาดรัฐบาลชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีแผนลงทุนที่ชัดเจนจาก เงินกู้ 2ล้านล้านบาท ยังล่มได้ ยิ่งปัจจุบัน ไม่มีงบประมาณอีกทั้งการเมืองไม่สงบ เศรษฐกิจค่อนข้างแย่ โครงการดังกล่าวจึงไม่สามารถกระตุ้นความสนใจของคนในพื้นที่ได้โดยเฉพาะการซื้อขายที่ดินตามแนวรถไฟความเร็วสูง ยังคงปรับตัวลดลง เฉลี่ย 10-20% และเริ่มมีการวิ่งเต้นระบายที่ดินในมือออก ซึ่งมีทั้งนักการเมืองและนักเก็งกำไรซึ่งราคาที่ดินติดริมถนนมิตรภาพทางไปถนนธนะรัชต์ ราคาไร่ละ 40ล้านบาทลดลงเหลือกว่า 30ล้านบาท/ไร่ ถนนธนะรัชต์ บริเวณกม.15 ราคา ไร่ละ 10-12ล้านบาท ลดลงเหลือ 6-8ล้านบาท/ไร่ เป็นต้น
สอดคล้องกับนายเฉลิมชาติ นครังกุล ประธานหอการค้าจังหวัด เชียงใหม่ เปิดเผยว่าปัจจุบันการขยับขึ้นของราคาที่ดิน เป็นเพราะอานิสงส์ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ไทวัสดุ บุญถาวรเข้ามาซื้อที่ดินลงทนในพื้นที่ เพื่อรองรับกลุ่มพัฒนาโครงการบ้านจัดสรร โดยไม่ต้องอาศัยรถไฟความเร็วสูง อย่างไรก็ดีหากบ้านเมืองสงบ เศรษฐกิจไม่ตกต่ำไปกว่านี้และ มีการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอย่างเป็นรูปธรรม ถึงเวลานั้นเชื่อว่า ราคาที่ดินจะกลับมาเคลื่อนไหวได้อีก
เช่นเดียวกับนายนครินทร์ คีรีเพชร หัวหน้าฝ่ายทะเบียน สำนักงานที่ดินจังเพชรบุรี สาขา ชะอำ กล่าวว่าที่ผ่านมาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ- ชะอำ- หัวหิน ไม่มีผลต่อการปรับขึ้นของราคาที่ดินแต่อย่างใด แม้แต่ งบ2ล้านล้านบาทคราวที่ผ่านมา เนื่องจากทั้งชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเมืองท่องเที่ยว ซึ่งจุดนี้ต่างหากที่ดันราคาขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นางนุชจรินทร์ ศรีทองพนาบูลย์ ประธานหอการค้าจังหวัด พิษณุโลกให้มุมมองว่า แม้ว่าภาครัฐจะผลักดันโครงการขึ้นมาอีก แต่มองว่า ไม่น่าจะส่งผลต่อราคาที่ดินที่ขยับขึ้นในเวลานี้ เพราะปัญหาใหญ่คือ เศรษฐกิจ การเมืองที่ไม่ดีในขณะนี้ อย่างไรก็ดีผลพวงจากโคราการรถไฟความเร็วสูงล่มทำให้ โครงการต่างๆโดยเฉพาะคอนโดมิเนียมขายได้ช้า ขณะที่นักเก็งกำไรที่ร้อนเงินก็ต้องการขายถูกๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 29/05/2014 10:31 am    Post subject: Reply with quote

“ประจิน” ขอ 2 สัปดาห์ชี้ชะตารถไฟความเร็วสูง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 พฤษภาคม 2557 20:01 น.


“ประจิน” ยันเดินหน้างานคมนาคมที่ไม่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ สิ่งแวดล้อม และข้อกฎหมาย เน้นโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเดินทาง ขนส่งสินค้า สะดวก รวดเร็ว ส่วนรถไฟความเร็วสูงขอเวลา 2 สัปดาห์ศึกษารายละเอียดก่อน ย้ำต้องดูมีข้อขัดข้องตรงไหนต้องแก้ไขให้ได้ก่อนหนุนเดินหน้าสุวรรณภูมิเฟส 2 และขยายดอนเมือง จ่อรื้อบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เรียกประชุม 31 พ.ค.นี้ก่อนตัดสินใจ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและให้นโยบายแนวทางการดำเนินการของกระทรวงคมนาคมวันนี้ (28 พ.ค.) ว่า ภาพรวมยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมนั้นสอดคล้องกับแนวทางของ คสช. ซึ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ซึ่งเป็นจุดแข็งทางภูมิศาสตร์ของประเทศ ให้สามารถรองรับการเดินทาง และการขนส่งสินค้า ให้มีความสะดวกรวดเร็วและสร้างจุดเชื่อมต่อที่สะดวกกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน

โดยโครงการเร่งด่วนของกระทรวงคมนาคมซึ่งพบว่าที่ผ่านมาการดำเนินงานมีความล่าช้าเนื่องจากติดขัดในเรื่องงบประมาณ หรืออยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดนั้นจะเดินหน้าต่อ โดยจะสรุปปัญหาอุปสรรคนำเสนอหัวหน้า คสช.พิจารณาในสัปดาห์หน้า เพื่อขออนุมัติการดำเนินงานโครงการในสัปดาห์ต่อไป

สำหรับโครงการตามแผนแม่บท เช่น การก่อสร้างโครงสร้างรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ และโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนการใช้เงินกู้ตาม พ.ร.บ.การให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาลชุดที่แล้วนั้น โครงการที่มีความพร้อมในเรื่องงบประมาณ และไม่มีปัญหาในข้อกฎหมาย ที่ดิน สิ่งแวดล้อมจะต้องเดินหน้าต่อแน่นอน ส่วนโครงการที่อาจจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมและต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จะต้องพิจารณาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในภาพรวม เช่น รถไฟความเร็วสูง สายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพฯ-หนองคาย) ที่วางแนวเส้นทางไว้แล้ว ต้องพิจารณาว่ามีอะไรเป็นข้อขัดข้องบ้าง ต้องแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน โดยขอเวลาพิจารณารายละเอียดแต่ละโครงการประมาณ 2 สัปดาห์

“โครงการไหนที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประชาชนได้ประโยชน์ต้องทำก่อนเน้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง แต่ต้องยอมรับว่ามีปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการตัดสินใจด้วย ทั้งการต้องเสนอ ครม.พิจารณา การกู้เงินมาดำเนินการ ส่วนโครงการที่มีงบประมาณหรือมีความพร้อมในเรื่องการลงทุนอยู่แล้วก็สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องทันที เช่น การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 เพื่อขยายการรองรับเป็น 60 ล้านคนต่อปี และการขยายท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อรองรับเป็น 30 ล้านคนต่อปี โดย คสช.จะหาทางแก้ปัญหาอุปสรรคเพื่อกระตุ้นให้เดินหน้าได้รวดเร็วขึ้น” พล.อ.อ.ประจินกล่าว

สำหรับมาตรการลดค่าครองชีพ ทั้งรถไฟฟรี รถเมล์ฟรีนั้น ทาง คสช.จะพิจารณาเมื่อกระทรวงคมนาคมนำเสนอไปตามขั้นตอน พร้อมกันนี้ได้กำชับให้เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 ที่ยังล่าช้ากว่าแผน โดยกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ครบภายในไตรมาส 4 ของปีงบประมาณ 2557 ส่วนงบประมาณปี 2558 ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เสนอขอไว้มากขึ้นประมาณ 3 เท่านั้น ทางสำนักงบประมาณได้เร่งพิจารณาส่วนจะได้แค่ไหนต้องดูภาพรวมประกอบกันทั้งหมด โดยยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557 และเริ่มใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการปรับเปลี่ยนผู้บริหารหน่วยงานและคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจกระทรวงคมนาคมนั้น ในส่วนของหน่วยงานคงไม่มีการปรับเปลี่ยน ส่วนรัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นั้นจะเรียกประชุมในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ ที่สโมสรกองทัพบก เพื่อพิจารณาตัดสินใจอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2014 1:39 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมลุ้นโรดแม็ปเศรษฐกิจประเทศ รถไฟฟ้าความเร็วสูงส่อแววเป็นหมัน!
ไทยรัฐออนไลน์ 30 พ.ค. 2557 06:30


เดินหน้าไฮสปีดเทรน
เดลินิวส์
วันศุกร์ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 03:00 น.

คมนาคมเร่งทำข้อมูลไฮสปีดเทรน เตรียมพร้อมเสนอ คสช.รับแผนแม่บทเศรษฐกิจ
นายพีระพล ถาวรเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนข.ได้ศึกษาออกแบบรถไฟความเร็วสูงในบางเส้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างยื่นรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) และกำลังรอดูการแถลงแผนแม่บทเศรษฐกิจของประเทศ ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) วันที่ 6 มิ.ย.นี้ก่อนว่ามีนโยบายไปทิศทางใด หากมีความชัดเจนที่จะเดินหน้า สนข.ก็พร้อมเสนอเรื่องเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บท

นายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)จะต้องรอความชัดเจนจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศก่อน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำเป็นแผนแม่บทเศรษฐกิจประเทศในภาพรวม แต่ยืนยันว่ากระทรวงคมนาคมมีความพร้อมเร่งดำเนินการทุกโครงการที่ คสช. เห็นว่ามีความสำคัญอย่างเต็มที่

ด้านแหล่งข่าวจาก สนข. แจ้งว่า สนข.ได้ยื่นทำอีไอเอโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้ว 2 เส้นทาง คือ

1. เส้นทางสายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กม. และ
2. เส้นทางสายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ ระยะแรกกรุงเทพฯ-หัวหิน 225 กม.

ส่วนเส้นทางสายอีสาน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 กม. อยู่ระหว่างการศึกษาและออกแบบเพื่อจัดทำรายละเอียดสรุปข้อมูลก่อนยื่นอีไอเอต่อไป

สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 2 จากพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 287 กม.ที่ปรึกษาอยู่ระหว่างจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมเพื่อเตรียมยื่นอีไอเอเช่นเดียวกัน

ส่วนสายอีสาน ระยะที่ 2 จากช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. อยู่ระหว่างขอผูกพันงบประมาณประจำปี 58 เพื่อใช้จัดจ้างที่ปรึกษา

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ ระยะที่ 2 จากหัวหิน-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 757 กม. จะต้องของบประมาณปี 58 เพื่อเป็นค่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาและออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง

ส่วนรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 221 กม.อยู่ในความรับผิดชอบการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) โดยได้ลงนามว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสม สำรวจและออกแบบรายละเอียดไปแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 57
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2014 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท.จะขอความชัดเจนจาก คสช.การเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 พฤษภาคม 2557 12:48 น.


นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันนี้ จะขอความชัดเจนเรื่องการปรับแบบก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพราะปัจจุบันผู้รับเหมาก่อสร้างยังไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้อย่างเต็มที่ เพราะต้องรอให้มีการอนุมัติปรับแบบให้แล้วเสร็จก่อน หากดำเนินการล่าช้าก็จะส่งผลกระทบถึงระยะเวลาการแล้วเสร็จที่กำหนดไว้ในสัญญาการก่อสร้างด้วย
ส่วน คสช.จะดำเนินโครงการการก่อสร้างรถไฟทางคู่ถือเป็นเรื่องดี เพราะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพบริการประชาชนให้ดียิ่งขึ้น หลังจากรถไฟไทยไม่ได้พัฒนามานาน และไม่สามารถนำเงินจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท มาพัฒนาโครงการต่อไปได้ ส่วนแนวทางจะมีความชัดเจนแค่ไหนคงต้องรอฟังการประชุมร่วมระหว่างหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกับ คสช.
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการกำหนดแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยยังขาดความเข้าใจอยู่ โดยเฉพาะสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เช่น กรณีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่นำเรื่องของการจัดหาระบบรถไฟฟ้าไปผูกไว้กับช่วงบางซื่อ-รังสิต ดังนั้น เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจึงไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เพราะต้องรอให้ช่วงบางซื่อ-รังสิตก่อสร้างเสร็จก่อน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีก 4-5 ปี จึงสามารถเปิดให้บริการได้ ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องสูญเสียงบประมาณบำรุงรักษาโครงสร้างช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มูลค่ามหาศาล
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2014 12:08 pm    Post subject: Reply with quote

'คสช.' ปัดเชิญ 'อดีต รมต.' ให้ข้อมูล 'โครงการรถไฟฯ'
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 3 มิ.ย. 2557 11:55

"วินธัย สุวารี" รองโฆษก ทบ. แจงรถไฟฟ้าความเร็วสูง ยังไม่อยู่ในกรอบหารือเร่งด่วน ชี้สื่อเสนอคลาดเคลื่อน ปัดเชิญอดีต รมต.รับฟัง-ให้ข้อมูล ยัน คสช. ใช้กลไกปกติเป็นหลัก

วันที่ 3 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีสื่ออาจนำเสนอคลาดเคลื่อนไปเรื่องการสานต่อโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงว่า ขอเรียนว่า ขณะนี้โครงการขนาดใหญ่ยังไม่อยู่ในกรอบหารือเร่งด่วน ในขณะนี้ปัจจุบันเน้นงานโครงการที่ยังคงค้างอยู่ ถ้าไม่รีบดำเนินการอาจส่งผลกระทบกับประชาชนและระบบการบริหารงบประมาณ

โดยเฉพาะมีสื่อมวลชนได้นำเสนอว่า คสช.จะเชิญอดีตรัฐมนตรีบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มารับฟังความคิดและให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการพัฒนาระบบรถไฟไทยนั้น ยืนยันเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนแผนงานหรือโครงการใดๆ คสช. ยังคงใช้กลไกปกติของส่วนราชการ กระทรวง ทบวงกรม หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเป็นหลัก.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2014 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

แนะคสช.3เงื่อนไขก่อนปัดฝุ่นรถไฟความเร็วสูง
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 3 มิถุนายน 2557 14:19

อดีตประธานกรรมาธิการการเงินฯ วุฒิสภาแนะ 3 เงื่อนไขก่อนคสช. ปัดฝุ่นโครงการรถไฟความเร็วสูง



นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตส.ว.สรรหา ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คว่าถ้าคสช.จะฟื้น 'รถไฟด่วนความเร็วสูง' จากโครงการ 2 ล้านล้านที่ตกไปก็ไม่ว่ากัน เพราะที่ผ่านมาผมไม่เคยคัดค้านตัวโครงการ แม้จะไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด เนื่องจากต้องการให้การคัดค้านโฟกัสอยู่ที่ประเด็นหลักที่สำคัญที่สุดคือวิธีการใช้เงินกู้นอกงบประมาณโดยการออกกฎหมายพิเศษ ซึ่งก็เป็นจุดยืนเดิมที่คัดค้านมาตั้งแต่โครงการไทยเข้มแข็งแล้ว

แต่ถ้าจะเป็น 'รถไฟด่วนความเร็วสูง' ขอให้อยู่ใน 3 เงื่อนไขเรียงลำดับจากง่ายไปยากดังนี้

1. ให้โครงการอยู่ในกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามปรกติ และให้คำนึงถึงวิธีการอื่นนอกเหนือไปจากลงทุนเองทั้งหมดด้วย

2. ทำเฉพาะสายกรุงเทพ-หนองคาย เพื่อเชื่อมโยงต่อไปยังลาวและจีน อันจะเป็นการประสานกับจีนที่จะลงทุนสร้างในลาว

3. ออกกฎหมายเก็บภาษีลาภลอย หรือ Windfall (Profit) Tax เพื่อสร้างความโปร่งใสและความเป็นธรรมให้สังคม

ส่วนรถไฟทางคู่นั้นแทบทุกคนเห็นด้วยอยู่แล้ว

ส่วนจะเรียกใครมาคุยเรื่องโครงสร้างคมนาคมพื้นฐาน ก็ขอให้คิดให้รอบคอบโดยคำนึงถึงภาพลักษณ์และความรู้สึกของประชาชนด้วย

อันที่จริงเรื่องนี้ไม่ใช่ความคิดริเริ่มของนักการเมือง เพียงแต่นักการเมืองไปหยิบสารพัดโครงการที่ระบบราชการประจำทำไว้อยู่แล้วมาใช้วิชาการตลาดปัดฝุ่นปรับแต่งให้ดูหรูเลิศเท่านั้น

ถ้าจะเรียกคุย ก็เรียกข้าราชการประจำถ้าจะเรียกนักการเมือง ก็ควรเรียกทุกฝ่ายให้เสมอภาคกัน เพราะสมัยรัฐบาลก่อนหน้ารัฐบาลที่ถูกควบคุมอำนาจบริหารก็เคยมีนโยบายมาแล้วแต่คนละรูปแบบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 10/06/2014 2:04 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดรถไฟความเร็วสูง จาก "เพื่อไทย" ถึง "คสช."
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 10 มิถุนายน 2557เวลา 14:48:32 น.


เป็นวัฏจักรเมื่อ "การเมือง" เปลี่ยนทิศนโยบายเก่าที่เคยวาดไว้จำต้องถูกทบทวนหากประเมินแล้วไม่เข้าตา ส่วนโครงการไหนที่เดินหน้าไปแล้ว เร่งสานต่อให้เร็วขึ้น

เช่นเดียวกับโปรเจ็กต์ "รถไฟความเร็วสูง" 4 สาย มูลค่าลงทุน 783,299 ล้านบาท ที่ "รัฐบาลเพื่อไทย" อยากผลักดันเพื่อเชื่อม 4 ภูมิภาค ภายใต้ พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่เมื่อเงินกู้ไม่มี ตัวโครงการยังอยู่ในบัญชีงานของกระทรวงคมนาคม และกำลังเป็นที่จับตา หลัง "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" มีท่าทีให้ศึกษาความคุ้มค่าโครงการใหม่ ยังไม่รู้จะสั่งให้เดินหน้าหรือยกเลิกโครงการไปเลย

ความคืบหน้าล่าสุด "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ยังเดินหน้าศึกษาให้จบกระบวนการทุกขั้นตอน หลังออกสตาร์ตไปล่วงหน้าหลายก้าว จนถึงขั้นตอนยื่นรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และในเดือนกรกฎาคมนี้จะจัดรับฟังความคิดเห็นทั้ง 4 สายและเสนอให้ คสช.หรือรัฐบาลใหม่พิจารณาในเดือนสิงหาคมนี้

ขณะที่สถานะโครงการสาย "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" 745 กม. เฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม. ปัจจุบัน "สนข." ส่งรายงานอีไอเอแล้ว จะใช้ค่าก่อสร้าง 212,893 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 13.39% ผู้โดยสาร 24,800 เที่ยวคน/วัน เฟส 2 "พิษณุโลก-เชียงใหม่" อยู่ระหว่างศึกษาและคัดเลือกแนวเส้นทางจะเบี่ยงแนวไปจังหวัดสุโขทัย ผ่านอำเภอศรีสัชนาลัย หรือเลาะไปตามเส้นทางรถไฟเดิม มีระยะทาง 365 กม. คาดว่าใช้เงินก่อสร้าง 214,005 ล้านบาท

สาย "กรุงเทพฯ-หนองคาย" 615 กม. ว่ากันว่ามีแนวโน้มจะถูกหยิบมาก่อสร้างก่อนสายอื่น เพื่อรองรับกับโครงข่ายสายทางที่ "จีน" สร้างมารออยู่ที่เวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งสายนี้ทางรัฐบาลจีนคาดหวังไว้มาก ดูได้จากความตั้งใจที่ปีที่แล้วขนเทคโนโลยีมาโชว์ถึงถิ่นประเทศไทย และหาก "คสช." จะหยิบมาสร้างก่อนคงไม่มีใครคัดค้าน แม้แต่ "พรรคประชาธิปัตย์" เพราะสายนี้เคยอยู่ในบัญชีที่พรรคสีฟ้าจะแจ้งเกิดเช่นกัน

ปัจจุบันโครงการในเฟสแรกจาก "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" 256 กม. ศึกษาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานอีไอเอใช้เงินลงทุน 176,598 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 14.95% ผู้โดยสารปีแรก 14,658 เที่ยวคน/วัน

ส่วนเฟส 2 "นครราชสีมา-หนองคาย" 359 กม. ทาง "สนข." กำลังจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการ ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2557 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 199 ล้านบาท คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้าง 170,725 ล้านบาท

สาย "กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์" 982 กม. คืบหน้าไปมากในเฟสแรก "กรุงเทพฯ-หัวหิน" 225 กม. ส่งรายงานอีไอเอแล้ว ใช้เงินลงทุน 98,399 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 9.76% ผู้โดยสาร 9,211 เที่ยวคน/วัน แต่หากสร้างต่อไปถึง "สุราษฎร์ธานี" ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 14.89%

สุดท้ายสาย "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" 221 กม. ขณะนี "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" กำลังศึกษาโครงการ กำหนดเสร็จในปีนี้ คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 100,631 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 13.05% ผู้โดยสารอยู่ที่ 13,200 เที่ยวคน/วัน

ทั้งหมดเป็นความพร้อม ส่วนจะได้เดินหน้าหรือเป็นแค่ผลศึกษาในแผ่นกระดาษเหมือนที่ผ่านมา อยู่ที่การพิจารณาของ "คสช." ในเวลานี้ เพราะแค่นี้เม็ดเงินลงทุนทะลุกว่า 1 ล้านล้านบาท ถ้าหากปล่อยเวลาล่วงเลยไปมากกว่านี้ ไม่รู้จะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลขนาดไหน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2014 11:10 am    Post subject: เจ้าสัวซีพีกะรถไฟความไวสูง Reply with quote

เปิดใจ"ธนินท์ เจียรวนนท์" รถไฟ(เร็วสูง)ถึงไหนเจริญที่นั่น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 09 มิถุนายน 2557 เวลา 15:57:21 น.


สบโอกาสอันดีได้พบหน้ากับอภิมหาเศรษฐีของเมืองไทย "เจ้าสัวซีพี"นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธาน กรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ในงานเฉลิมฉลองการผลิตรถยนต์คันแรกออกจากสายการผลิต "MG6" ของค่ายน้องใหม่ล่าสุด MG จากประเทศจีนสัญชาติอังกฤษ


ภาย ในชื่อบริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ด้วยการร่วมทุนกับบริษัทเซี่ยงไฮ้ ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น ยักษ์ใหญ่ยานยนต์จาก ประเทศจีน
โดยเจ้าสัวเดินทางมาเป็นประธานของงานด้วย
นานๆ ออกงานสักทีแบบนี้มีหรือจะพลาดโอกาสเข้าไปขอความรู้ ขอความเห็น ถึงสถานการณ์ปัจจุบันในแง่มุมเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งเสียงสะท้อน (ที่ดังมาก)
ภาพรวมของประเทศขณะนี้
สิ่ง แรกต้องขอชื่นชมกับนโยบายต่างๆ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพราะสิ่งที่เร่งดำเนินการอยู่ในขณะนี้ล้วนเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะมาตรการจ่ายหนี้ค่าข้าวให้กับชาวนา ทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้ามาในระบบ ช่วยขับเคลื่อนสภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลดีกับโดยรวมให้กลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
แผนการลงทุนด้านต่างๆ ของคสช.
นี่ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องเร่งดำเนินการโดยเฉพาะโครงการ 2 ล้านล้านบาท หากไม่ตัดสินใจลงทุนในวันนี้วันหน้าจะลงทุนด้วยมูลค่าขนาดนี้ไปไม่ได้อย่าง แน่นอน จะต้องสูงกว่านี้อย่างมาก ไม่ว่าจะรถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้า การนำผู้เชี่ยวชาญมาดูแลเรื่องการชลประทานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนแต่มีประโยชน์และทำให้ประเทศเดินหน้าได้ต่อ และการลงทุนจะเพิ่มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ทำไมต้องรถไฟความเร็วสูง
การ ลงทุนประเภทนี้ใช้เวลาไม่นานก็สามารถคืนทุนได้ เพราะเมื่อรถไฟไปถึงไหนความเจริญก็ตามไปถึงที่นั่น ทำให้เกิดการค้าขาย ที่ผ่านมาหลายประเทศ เช่น เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น ที่เร่งลงทุนในเรื่องสาธารณูปโภคแล้วเกิดความเจริญอย่างรวดเร็ว

ได้รับการทาบทามไปเป็นรัฐมนตรี
ไม่ มี...และถึงมีก็ขอยืนยันว่าไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองอย่างแน่ นอน เราเป็นนักธุรกิจ ทำธุรกิจ เราเก่งในเรื่องทำมาค้าขาย แต่เราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง

หันมาลงทุนธุรกิจยานยนต์
ประเทศ ไทยวันนี้ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาคที่สำคัญ เราสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจรถยนต์นานพอสมควรแล้ว และล่าสุดเจรจาร่วมทุนกับเซี่ยงไฮ้ออโตโมทีฟ อินดัสทรี คอร์ปอเรชั่น เจ้าของแบรนด์เอ็มจี ค่ายรถยนต์จากประเทศจีนเทคโนโลยีจากอังกฤษ นำรถยนต์เอ็มจีมาผลิตในประเทศไทยได้สำเร็จ
ตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร
เรา ต้องเป็นศูนย์กลางการผลิตรถรุ่นพวงมาลัยขวาเพื่อส่งออกไปทั่วโลก ขณะที่ตลาดในประเทศมั่นใจว่าด้วยมาตรฐานการผลิตคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เข้าใจความต้องการของลูกค้า เอ็มจีจะทำให้ตลาดเกิดความคึกคัก และมีสีสันขึ้นรวมถึงได้รับการตอบรับจากลูกค้าคนไทยอย่างแน่นอน


ที่มา ข่าวสดออนไลน์
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 180, 181, 182 ... 547, 548, 549  Next
Page 181 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©