Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264110
ทั้งหมด:13575393
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 181, 182, 183 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/06/2014 11:12 am    Post subject: Reply with quote

'รถไฟความเร็วสูง' สะดุดแต่ยังไม่หยุด
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อวันศุกร์ที่ 06 มิถุนายน 2014 เวลา 15:35 น.

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,955 วันที่ 8 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แม้พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ต้องล่มไปในช่วงต้นๆปีที่ผ่านมา หลังเจอกระแสต้านอย่างหนักจากสังคม ยังผลกระทบต่อแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลวาดภาพสวยหรูหวังเชื่อมโยงไลฟ์สไตล์คนเมืองกับชนบทให้มาใกล้ชิดกันมากขึ้น และยังมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

จากปีที่ผ่านมาจวบจนปัจจุบัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ยังคงเดินหน้าศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองร้อนและเปลี่ยนขั้วอำนาจใหม่ จากรัฐบาลพรรคเพื่อไทยมาเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งประกาศจะเดินหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้านบาท แต่จะเลือกโครงการที่มีความพร้อม มีทั้งระบบรางและระบบถนน โดยเฉพาะระบบรางนั้นให้ความสนใจกับโครงการรถไฟทางคู่ เพราะใช้งบประมาณลงทุนน้อยกว่ารถไฟความเร็วสูง และได้หลายเส้นทาง อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทิ้งโครงการรถไฟความเร็วสูง

ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สนข.เล่าถึงสถานะโครงการรถไฟความเร็วสูง ณ ขณะนี้ว่า ทุกสายศึกษาและออกแบบเกือบเรียบร้อยประมาณ 80% โดยสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ถือว่าเสร็จเรียบร้อยและยื่นขอรับรองผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ปัจจุบันกำลังศึกษาและออกแบบช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่

นอกจากนี้ก็มีสายกรุงเทพฯ-หนองคาย ก็ใกล้จะเสร็จเรียบร้อยเช่นกัน กล่าวได้ว่ารถไฟความเร็วสูง 4 สายนั้น มี 2 สายที่กล่าวมาถือว่ามีความเป็นไปได้ที่สุด ในอนาคตถ้าจะทำ ต้องเริ่มที่ 2 สายนี้ก่อน

ขณะเดียวกันก็ศึกษาสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ค่อนข้างสั้นกว่าสายอื่น ฉะนั้นถ้าทำแค่หัวหินก็อาจจะขาดทุนยาวจนกว่ารถไฟไปถึงสุราษฎร์ธานี
"ยุทธศาสตร์รถไฟความเร็วสูง ณ ขณะนี้คือ เชื่อมคนไทยด้วยกัน เชื่อมเมืองให้คนไทยสามารถเดินทางไปไหนมาไหนสะดวกยิ่งขึ้น และเมืองจะได้เติบโตมากขึ้น ซึ่งยุทธศาสตร์รถไฟความเร็วสูงใน พ.ร.บ. 2 ล้านล้านบาท เป็นเรื่องการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่างๆ และเชื่อมโยงประเทศไทยเข้าด้วยกัน"
เพื่อให้เห็นภาพการเชื่อมเมือง สนข.ได้นำคณะสื่อมวลชนไปชมระบบรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย และล่าสุดสาธารณรัฐเกาหลี โดย ดร.จุฬา เล่าว่า เกาหลีใต้ค่อนข้างใกล้เคียงประเทศไทย ตรงที่จำนวนประชากรไม่มากเหมือนประเทศอื่น อีกทั้งหลักการในการดำเนินโครงการก็ค่อนข้างใกล้เคียงกัน นั่นคือเพื่อต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ระหว่างกรุงโซลกับเมืองปูซาน
ส่วนของไทยต้องการลดความแออัดในกรุงเทพฯ ด้วยการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และยังได้ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกรุงเทพฯกับภูมิภาค นอกจากนั้นช่วงที่ผลักดันโครงการด้านการเมืองก็มีเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แต่ในที่สุดด้วยกระแสความต้องการของประชาชนชาวเกาหลีใต้ทำให้รัฐบาลตัดสินใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง แต่เนื่องจากช่วงที่เริ่มโครงการเศรษฐกิจไม่ดี จึงแบ่งการลงทุนเป็น 2 เฟส ช่วงแรกกรุงโซล-เมืองแดกู ช่วงที่ 2 ต่อขยายไปจนถึงเมืองปูซาน ปัจจุบันรถไฟความเร็วสูงสายกรุงโซล-ปูซาน เป็นสายที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศ
"กรณีเกาหลีใต้ ไม่จำเป็นว่ารถไฟความเร็วสูงจะต้องเกิดกับประเทศที่มีประชากรจำนวนมากเป็นหลัก 100 ล้านคนเสมอไป"
นอกจากสามารถแก้ปัญหาจราจรติดขัด รถไฟความเร็วสูงยังทำให้วิถีชีวิตคนเกาหลีใต้เปลี่ยน โดยคนที่อยู่ในกรุงโซลนิยมไปเที่ยวพักผ่อนที่ปูซานและใช้บริการรถไฟความเร็วสูง หรือคนทำงาน เพียงครึ่งวันก็สามารถเดินทางกลับกรุงโซลได้ภายในวันเดียวไม่ต้องพักค้างคืน แต่ที่สำคัญเกาหลีใต้สามารถสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงของตนเองคือ KTX ใช้ในประเทศและส่งออกด้วย
"แต่สำหรับประเทศไทยคงไม่เดินไปถึงขึ้นนั้น แต่เราจะทำในลักษณะเดียวกับการบินคือการซ่อมบำรุง ซึ่งการบริการถือเป็นจุดแข็งของไทย ที่จะสามารถดึงคนเข้ามาทำงานในประเทศ ก่อให้เกิดกิจกรรม จนไทยกลายเป็นศูนย์กลางในการทำธุรกิจเหมือนสิงคโปร์ ถือว่าได้มากกว่ามีรถไฟความเร็วสูง"
ดร.จุฬาบอกว่า ฉะนั้น ถ้าเราจะเลือกรถไฟความเร็วสูงเป็นระบบใหม่ของประเทศ อันดับแรกต้องเตรียมบุคลากรด้านราง มหาวิทยาลัย และอาชีวะ ต้องผลิตบุคลากรป้อนเข้าตลาดแรงงาน ปัจจุบันตลาดงานเกี่ยวกับรถไฟมีเพียงแห่งเดียวคือการรถไฟ แต่ตอนหลังเราก็มีระบบไฟฟ้า เช่น แอร์พอร์ตลิงค์ บีทีเอส หรือบีเอ็มซีแอล ก็เริ่มมีตลาดรถไฟฟ้าแยกออกมาจากการรถไฟ
ในอนาคตไทยก็อาจจะต้องมีหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบรางทั้งหมด เหมือนโมเดลของเกาหลีใต้ ที่มีหน่วยงานชื่อ KRNA คล้ายกรมรถไฟ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน และมีหน่วยงานชื่อ KORAIL เหมือนกับการรถไฟ ทำหน้าที่เดินรถโดยเฉพาะ และทำเกี่ยวกับเรื่องวิชาการทุกอย่าง
"จากการศึกษาดูงานรถไฟความเร็วสูงในหลายประเทศ ส่วนใหญ่จะคล้ายๆกัน ในแง่ที่ว่า รถไฟความเร็วสูงไม่ได้สร้างกำไรในลักษณะที่เลิศเหมือนเครื่องบิน แต่ทำในลักษณะคล้ายเครื่องมือเพื่อกระตุ้นความเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ได้แน่ๆคือลดเวลา แต่เรื่องราคาอาจจะไม่ได้ เพราะไม่ได้เน้นทำให้ค่าขนส่งถูกลง แต่ให้เร็วขึ้น ซึ่งของไทยก็เช่นกันคือเน้นขนคน หรือเชื่อมเมือง จากจุดต่อจุดเร็วขึ้น และใช้เพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองที่รถไฟผ่าน"
ดังนั้น ของไทยถ้าจะลงทุนก็คงจะต้องแบ่งเป็นเฟส โดยเลือกว่าจะไปเมืองไหน สมมติสายทางเหนือ ถ้าดูในเชิงฐานของเมือง รายได้ ประชากร เมืองที่อยู่ในข่ายคือพิษณุโลก หรือสายตะวันออกเฉียงเหนือ คือ นครราชสีมา โดยสายเหนือกับตะวันออกเฉียงเหนือ ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน ก็อาจจะเสนอทั้งคู่ ให้รัฐบาลตัดสินใจ ทั้งนี้ สายเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนสายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-หนองคาย เฟสแรกก็คือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา แต่ทางตะวันออกเฉียงเหนือจะดีกว่าตรงที่แนวโน้มสามารถเชื่อมไปจีน ในลักษณะข้ามประเทศ เพราะจีนได้คุยกับลาวที่จะทำรถไฟจากคุนหมิงมาทางหลวงพระบาง แล้วมาเวียงจันทน์ และข้ามมาไทยที่หนองคาย
ถึงแม้ขณะนี้จะมีความพร้อมในบางสายเพื่อนำเสนอให้ คสช.พิจารณา แต่เพื่อความเข้าใจร่วมกันในเดือนกรกฎาคมนี้จะจัดรับฟังความคิดเห็นใหญ่ ในกรุงเทพฯ ได้ผลอย่างไรรีบสรุปส่งเข้า ครม.ใหม่ ซึ่งในมุมมองของ สนข.คิดว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นสิ่งดีในการพัฒนาเศรษฐกิจ
ส่วนโครงการจะได้เดินต่อหรือไม่ก็เป็นเรื่องของ ครม.ที่จะตัดสินกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2014 6:53 am    Post subject: Reply with quote

เพื่อนคุณมนเปิดประเด็นเรื่องรถไฟความไวสูงดังนี้

Deer Freedom wrote:
ทำไมรถไฟความเร็วสูงถึงถูกตัดออกจากแผนลงทุน 3 ล้านล้านบาทของ คสช. แต่ดันไปเพิ่มเรือบินมาแทน ??
.
.
รถไฟความเร็วสูง คือตัวแปรสำคัญของระบบการเชื่อมเศรษฐกิจสมัยใหม่ระหว่างไทยกับเอเชีย เพราะเป็นระบบขนส่งทั้งคน และสินค้าอุตสาหกรรมที่ต้นทุนต่ำกว่าเครื่องบิน ปลอดภัยมากกว่า ตรงเวลากว่า แต่อาจจะวิ่งช้ากว่านิดหน่อย และสำคัญที่สุดคือ สถานีรถไฟความเร็วสูง คือ หัวหอกสำคัญในการสร้างความเจริญให้กระจายตัวสู่ต่างจังหวัด ดังเช่นจีน ที่พยายามทะลวงให้ความเจริญเคลื่นตัวจากภาคตะวันนออกไปสู่ภาคตะวันตก ด้วยรถไฟความเร็วสูง แม้รัฐจะต้องแบกภาระที่สูง แต่ต้องทำ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
.
.
ส่วนทำไมรถไฟความเร็วสูงถึงถูกตัดออกจากแผนลงทุนนั้นเราต้องเริ่มต้นจากศึกษาประเทศอื่นๆ

ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดวิวัฒนาการการผลิตรถยนต์ขึ้นมาจาก 3 บริษัทผู้ผลิตใหญ่ Ford, General Motors, และ Chrysler ณ จุดนี้เองที่เกิด lobbyist ทางธุรกิจรถยนต์ขึ้นมา อเมริกาในขณะนั้นจึงให้ความสำคัญเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์เป็นตัวนำเศรษฐกิจของประเทศและมองเห็นว่าระบบการขนส่งทางรถไฟเป็นขู่แข่งและขัดขวางการเจริญเติบโตของธุรกิจยานยนต์ และนี่คือจุดสิ้นสุดของระบบขนส่งทางรถไฟแต่ถึงวันนี้ที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป การใช้เครื่องบินและรถยนต์อย่างมากมาย ทำให้เกิดภาวะมลพิษจาก CO2 นอกจากนั้นราคาน้ำมันก็ไม่ถูกอีกแล้วอย่างในอดีต ทำให้อเมริกาพึ่งคิดได้ว่าวันนี้ได้เวลาสร้างรถไฟความเร็วสูงแล้ว

และคู่ปรับที่สำคัญที่สุดของรถไฟความเร็วสูง คือเครื่องบิน จากการศึกษาเปรียบเทียบของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธ.ไทยพาณิชย์ พบว่า ปริมาณผู้โดยสารเครื่องบินมีแนวโน้มลดลงอย่างมากในเส้นทางที่มีรถไฟความเร็วสูงไปถึง โดยเฉพาะเส้นทางการบินระยะใกล้ (short haul) ไม่เกิน 800 กิโลเมตร

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เส้นทาง Madrid-Seville ของเสปน ระยะทาง 540 กิโลเมตร ผู้โดยสารเครื่องบินต่อรถไฟ ก่อนที่จะมีรถไฟความเร็วสูงบนเส้นทางนี้ มีสัดส่วน 71%:29% และเปลี่ยนเป็น 11%:89% หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ เป็นต้น

สายการบินต่างๆจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ เช่น ลดความถี่ของเที่ยวบิน และลดขนาดเครื่องบินในเส้นทางหลักของยุโรป เช่น London - Paris, London - Brussels, Barcelona - Madrid, Paris - Lyons ส่วนใต้หวัน เส้นทาง Taipei - Kaohsiung จำนวนเที่ยวบินลดลง 50% ภายใน 3 ปีหลังจากเริ่มมีรถไฟความเร็วสูง ในจีน สายการบินต้องลดค่าโดยสารลงถึง 80% ในเส้นทาง Guangzhou - Changsha หลังจากที่รถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการ ทั้งนี้ คาดว่าธุรกิจการบินของจีนจะมีรายได้ลดลง 3-4% หรือ 1.5 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2012 จากการลดจำนวนเที่ยวบินและค่าโดยสารอันเนื่องมาจากรถไฟความเร็วสูง.

และจากการศึกษาประเทศจีนของ The Financial List พบว่า ผลกระทบทางตรงของรถไฟความเร็วสูง มีแนวโน้มจะถล่มสายการบินในเส้นทางทับซ้อน ทางเลือกทางรอดของสายการบิน คือ หลีกเลี่ยงดีกว่าต้านทาน ให้หันไปบินเส้นทางอื่นแทนดีกว่าทำสงครามราคา (ลดราคาแข่ง) หรือไม่ก็แข่งด้วยจุดเด่นอื่น เช่น ทำบริการต่อเครื่องไปต่างประเทศ ฯลฯ ให้เหนือกว่ารถไฟ

ส่วนผลกระทบทางอ้อมของรถไฟความเร็วสูงคือ จะทำให้ต้นทุนการขนส่ง-คมนาคมในประเทศลดลง มลภาวะลดลง ประหยัดเชื้อเพลิง ส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้ประเทศผลิตสินค้า-บริการได้ถูกลงก่อน หลังจากนั้นเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จะส่งผลดีต่อสายการบินในระยะยาวอีกต่อหนึ่ง

กลไกที่เป็นไปได้ ที่ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจริงๆ เร็วกว่าเครื่องบิน คือ การเช็คอิน-ตรวจกระเป๋าก่อนขึ้นรถไฟ มีแนวโน้มจะเร็วกว่าเครื่องบินแถมรถไฟยังมีราคาถูกกว่า ที่นั่งสบายกว่า เดินไปมาได้ง่ายกว่า และชมวิวได้ตลอดการเดินทาง

ส่วนประสบการณ์ตอนเปิดรถไฟความเร็วสูงในไต้หวัน (ไทเป-เกาเซียง) พบว่า ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงถูกกว่าเครื่องบิน 15-32% สายการบินทยอยลดราคาลงไปเฉลี่ย 36% จนถูกกว่ารถไฟ ต่อมารถไฟความเร็วสูงก็ลดราคาลงไปอีก 20% จนต่ำกว่าเครื่องบิน ผลของสงครามราคา คือ สายการบินปิดบริการเส้นทางทับซ้อนทุกสาย !!

ดังนั้นถ้ารถไฟความเร็วสูงมา สายการบินในประเทศทั้งหมดตามแนวรถไฟเตรียมตัวปิดได้เลย เจ้งแน่นอน และถ้าระบบรถไฟเชื่อมเอเชียได้หมดแล้ว Cargo ของการบินก็จะมีรายได้ลดลงมาหาศาลแน่ ส่วนสายการบินข้ามประเทศต้องไปแข่งกับต่างชาติซึ่งสู้ได้ไหม ก็รู้ๆ กันอยู่ เพราะในปี 2558 เราจะเปิดเสรีน่านฟ้าแล้ว ทุกสายการบินจึงเข้ามาแข่งกับการบินไทยได้หมด จะเห็นว่าไทยมีสถิตินักท่องเที่ยวสูงขึ้นทุกปี แต่กำไรการบินไทยลดลงๆ มันเกิดอะไรขึ้น ?? ดังนั้นถ้าเปิดเสรีน่านฟ้า การบินไทยก็สู้ไม่ได้ ภายในประเทศก็สู้โลคอสไม่ได้ และถ้ามีรถไฟความเร็วสูงมาอีก คงหมดสภาพแน่ๆ

ส่วนรถไฟรางคู่นั้นอันนี้ทำแน่ๆ ดังนั้นรถทัวร์ตามเส้นทางรถไฟรางคู้ก็เตรียมปิดกิจการเช่นกัน เพราะเดินทางเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า และถูกกว่ารถทัวร์ด้วย

ผลการศึกษาหลายประเทศชี้ชัดขนาดนี้ รู้แล้วใช่ไหม ว่ารถไฟความเร็วสูงของไทยคงจะเกิดไม่ได้อีกนาน เพราะมีพญามารตัวเบ่อเลิ่มนอนขวางทางอยู่ 55555

ส่วนเหตุผลว่า เครื่องบินที่มีอยู่สามารถแทนรถไฟความเร็วสูงได้นั้น เป็นความคิดแบบ Static มากไป ขาดการคิดแบบ Dynamic เพราะต้นทุนของเครื่องบินคือนน้ำมัน ซึ่งมีแนวโน้มจะแพงขึ้นเรื่อยๆ แต่ระบบรถไฟนั้น ใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถมีทางเลือกด้านพลังงานที่มากกว่า และเป็นมลพิษน้อยกว่าในอนาคตด้วย

การบินไทย สายการบินแห่งญาติ เป็นสายการบินผูกขาดแห่งชาติสายการบินเดียว ยังขาดทุนขนาดนี้ ผมละนึกสภาพไม่ออกเลย ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงมาเป็นคู่แข่ง จะโซซัดโซเซขนาดไหน

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4361570974085&set=a.1562515319443.47486.1732146586&type=1
https://www.facebook.com/AComradeofMine/posts/506084766160193

Click on the image for full size
บิ๊กตู่ยังไม่เล่นเรื่องกรณี 3 ล้านล้าน ก็ต้องให้สำนักงงบประมาณชี้แจงรายละเอียดซะก่อน
Quote:
="ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์"ย้ำ! คสช.ไม่กู้ 3 ล้านล้าน

เมื่อวานนี้ (13 มิ.ย.57) ผมโพสต์เรื่อง "ผวา! เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็น 3 ล้านล้าน?" ทำให้บางคนเข้าใจผิดว่า คสช. จะกู้เงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพิ่มจาก 2 ล้านล้านบาท (ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์) เป็น 3 ล้านล้านบาท ทั้งๆ ที่ ผมได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า

"ข้อเท็จจริงก็คือ 1. วงเงินโครงการอาจไม่ถึง 3 ล้านล้านบาท และอาจจะน้อยกว่า 2 ล้านล้านบาท ด้วยซ้ำไป แต่วงเงินที่ สนข. เสนอ คสช.นั้น เป็นวงเงินที่ต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งอย่างเต็มที่ หรือต้องการก่อสร้างให้มากที่สุดตามความต้องการด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ซึ่ง คสช.จะพิจารณาปรับลดโครงการตามความเหมาะสม เช่นเดียวกับในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ สนข.เสนอกรอบวงเงินสูงถึง 4.2 ล้านล้านบาท แต่มีการคัดเลือกโครงการมาดำเนินการก่อนคิดเป็นเงินจำนวน 2 ล้านล้านบาท
2. ผมเข้าใจว่าแหล่งเงินทุนที่ คสช.จะจัดหามาดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้มาจากการกู้เงินตามที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำมาก่อน แต่ คสช.จะใช้งบประมาณประจำปีเป็นหลัก และให้เอกชนร่วมลงทุนในบางโครงการ เช่น มอเตอร์เวย์ เป็นต้น ส่วนโครงการของรัฐวิสาหกิจนั้น ก็ให้ใช้เงินลงทุนของตัวเอง

ผมเห็นด้วยที่ คสช. จะเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อยกระดับการแข่งขันของประเทศ โดยใช้งบประมาณประจำปีเป็นหลัก ไม่ใช่หวังที่จะใช้เงินกู้ (ซึ่งจะสร้างภาระหนี้ให้กับลูกหลานของเราเป็นระยะเวลายาวนานหลายสิบปี) ดังที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องการจะทำ"

ข้อเขียนดังกล่าวสอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของหัวหน้า คสช.ว่า "โครงการ 3 ล้านล้านบาท ผมยังไม่ได้อนุมัติเลย ต้องไปถามสำนักงบประมาณว่ามีเงินอยู่เท่าไร ซึ่งผมคิดว่ามีบางคนปล่อยข่าว เพื่อให้ประชาชนเรียกร้องและทำให้งานเราสะดุด ดังนั้นอยากช่วยกันอธิบายกับสังคม เพราะจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง"

หวังว่าผู้ที่เข้าใจผิดโดยวิพากษ์วิจารณ์ใน FB และ PAGE ของผมในแง่ลบต่อบทความดังกล่าวของผมจะได้เข้าใจถูกต้องนะครับ

ขอย้ำอีกทีว่า ผมเห็นด้วยที่ คสช. จะเร่งเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะรถไฟทางคู่

คุณก็เห็นเช่นนั้น ใช่มั้ยครับ

https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347.1073741828.232025966942314/455204077957834/?type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2014 11:47 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.หารือคลัง เร่งสรุปแหล่งเงินแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมฯ
โดย เมธา สกาวรัตน์
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน 2014 เวลา 18:08 น.

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. กล่าวว่า สนข.จะหารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และสำนักงบประมาณ ที่กระทรวงการคลัง เพื่อสรุปแหล่งที่มาของงบประมาณที่จะใช้ดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทยในภาพรวมทั้งหมด ให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ระหว่างปี 2558 - 2565 โดยล่าสุดได้ปรับลดวงเงินงบประมาณ จากเดิม 3ล้านล้านบาท เหลือ 2.4ล้านล้านบาท โดยนำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงออกจากแผน และนำโครงการอื่นเข้ามาแทน ซึ่งโครงการเร่งด่วนที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2558คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี สายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี - สุวินทวงศ์ สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - ศรีนครินทร์ - สำโรง การก่อสร้างมอเตอร์เวย์ และรถไฟทางคู่ โดยจะใช้เงินงบประมาณของปี 2558เป็นค่าเวนคืนที่ดิน ส่วนงบประมาณในการก่อสร้างจะใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน
สำหรับยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ประกอบด้วย 5ยุทธศาสตร์หลัก คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งทางราง ยุทธศาสตร์การขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งทางถนน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งทางน้ำ และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะสรุปข้อมูลโครงการทั้งหมดเสนอต่อ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ในฐานะหัวฝ่ายเศรษฐกิจ รับทราบอีกครั้งในวันที่ 19มิถุนายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/06/2014 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

จริงหรือหลอก "คสช." ตัดไฮสปีดเทรน หรือแค่ชะลอ รอ "รัฐบาลใหม่"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
20 มิถุนายน 2557 เวลา 15:19:31 น.


กลาย เป็นประเด็นฮอต เมื่อ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รองหัวหน้า "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" ผ่านพิมพ์เขียวยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย 2558-2566 มีกรอบวงเงินลงทุน 3.1 ล้านล้านบาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

ที่ฮือฮาเพราะคนนำไปเทียบ "โครงการ 2 ล้านล้าน" ยุคเพื่อไทย พร้อมตั้งคำถามตามมาว่า...อีก 1 ล้านล้านงอกมาจากไหน ?

ทำไมถึงโป่ง 3 ล้านล้าน

เมื่อ พลิกดูแผนงานมีเพิ่มใหม่การลงทุน "ทางอากาศ" ยังไม่ตัดรถไฟความเร็วสูง 2 สาย คือ กทม.-หนองคาย และ กทม.-พิษณุโลก ที่ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ใส่ไว้ในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ใช้เงินลงทุน 598,443 ล้านบาท

อีกทั้งเพิ่มโครงการใหม่สารพัดที่ ไม่อยู่ใน 2 ล้านล้าน อาทิ มอเตอร์เวย์อีก 3 สาย ทางด่วน 5 สาย ถนนวงแหวนรอบที่ 3 รถไฟทางคู่เพิ่มจาก 14 สาย เป็น 17 สาย โครงการศึกษารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑลสาย 4) สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการ เป็นต้น

แต่ยังเป็นแค่กรอบ ลงทุนภาพรวมที่แต่ละหน่วยเสนอเข้ามา ต้องรอกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณจัดสรรเม็ดเงินให้ ยังไม่รู้จะได้ตามที่ขอหรือไม่

เบื้องหลังแยกไฮสปีดเทรน

ขณะที่กรอบเงินลง ทุน เมื่อตัด "ไฮสปีดเทรน" ออกจากบัญชี จะลดลงทันทีเหลือประมาณ 2.469 ล้านล้านบาท ถือว่าเกินจากยุค "เพื่อไทย" ไม่มาก เพราะถ้าจะให้เดินตามรอยนโยบายเดิม เท่ากับจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง หากจะประกาศโรดแมปออกมา

จึงเป็นที่มาว่า ทำไม "คสช." แยกไฮสปีดเทรนออกมาพักไว้นอกบัญชี เป้าหมายไม่มีเจตนาจะล้มเลิก แค่ชะลอชั่วคราว รอดูผลศึกษาอย่างละเอียด ระหว่างรอจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเห็นโฉมหน้า 3 เดือนนี้ จะพอดีที่ผลศึกษาแล้วเสร็จ

เมื่อวันนั้นมาถึง คาดว่าจะคงไว้แค่บางสายทาง จะไม่สร้าง 4 สายรวด อย่างที่ "เพื่อไทย" คิด เพราะหากทำแบบนั้น นอกจากจะผิดท่าทีของ คสช.ที่มุ่งแก้ปัญหาปากท้องและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก การจะใช้เงินลงทุนมากมายขนาดนั้นคงไม่ใช่ภารกิจสำคัญ จึงต้องหยิบสายทางที่คุ้มค่าจริง ๆ มาเดินหน้า

รอชงรัฐบาลใหม่

ว่า กันว่า แม้แต่ "หม่อมอุ๋ย-ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" ที่ปรึกษา คสช.ที่เชียร์ให้ลงทุนรถไฟทางคู่ก่อน ยัง อยากให้ "คมนาคม" คงไฮสปีดเทรนไว้ ไม่ให้ตัดทิ้งเสียทีเดียว เพราะเมื่อเทียบระหว่าง "รถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูง" การพัฒนาเมือง "รถไฟความเร็วสูง" ภาพจะชัดเจนกว่า

ขณะที่ "รถไฟทางคู่" ช่วยเรื่องโลจิสติกส์เป็นหลัก สามารถทำความเร็วการเดินรถไฟเร็วขึ้นจากเดิมรถขนสินค้าและผู้โดยสารวิ่ง เฉลี่ย 20-50 กม./ชม. เป็น 60-100 กม./ชม. ยกเว้นจะปรับระบบเดินรถจาก "รถดีเซล" เป็น "รถไฟฟ้า" เหมือนประเทศมาเลเซีย จะได้ประโยชน์สมบูรณ์ แต่นั่นหมายความว่าจะต้องยกเครื่องระบบเดินรถทั้งประเทศให้เป็นระบบไฟฟ้า ทั้งหมด

สรุป...นโยบาย คสช.ให้ชะลอ "ไฮสปีดเทรน" เพราะไม่เหมาะมาพูดถึงโครงการเวลานี้ ยุคที่ "คสช." มีอำนาจบริหารประเทศเพียงช่วงสั้น ๆ ต้องรอมีรัฐบาลตัวจริงมาบริหารยาว ๆ

จึง ไม่แปลกที่ "บิ๊กจิน" สั่งคมนาคมตั้งคณะทำงานมาดูรายละเอียดให้ถี่ถ้วนใน 3 เดือนนี้ เพราะมีเป้าหมายใหญ่ ว่ากันว่าเตรียมจะนำโครงการนี้ประกาศเป็นนโยบายทันทีที่มีรัฐบาลใหม่เดือน กันยายนนี้

มีลุ้น 2 สาย "หนองคาย-ระยอง"

มีแนวโน้ม จะหยิบ 1-2 สายมาเดินหน้า คือ กทม.-นครราชสีมา-หนองคาย เพราะผลศึกษาเบื้องต้นของ "สนข." ระบุคุ้มค่าทางเศรษฐกิจกว่า 16% สำคัญไปกว่านั้น เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างประเทศ และเป็นยุทธศาสตร์การค้าแนวเหนือ-ใต้ มีไทยเป็นศูนย์กลาง

ด้านเหนือ มี "จีน" จะสร้างรถไฟความเร็วสูงมารอที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว ผ่านชายแดน "หนองคาย" มาถึง "กทม." และอนาคตข้างหน้า หากไทยสร้างสายใต้จาก "กทม.-ปาดังเบซาร์" จะไปเชื่อม "มาเลเซีย" ทะลุถึงสิงคโปร์ สายนี้ "จีน" สนใจและเซ็นบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ร่วมกันกับรัฐบาลไทยจะศึกษาโครงการให้

อีกสายคือส่วนต่อขยาย "แอร์พอร์ตเรลลิงก์-พัทยา-ระยอง" เพราะจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเดินทางเชื่อมระหว่างเมืองได้เป็น อย่างดี เพราะ "ชลบุรี-ระยอง" นั้นเป็นเมืองอุตสาหกรรม โดยไม่จำ เป็นต้องใช้ระบบรถที่วิ่งด้วยความเร็วสูง 250 กม./ชม. สามารถปรับสปีดลงมาเท่า "แอร์พอร์ตลิงก์" วิ่งอยู่ 160 กม./ชม.ก็ได้ อีกทั้งใช้เงินลงทุนไม่สูงเพราะเวนคืนไม่มาก ส่วนใหญ่ใช้แนวเขตทางรถไฟสายตะวันออกเดิม

ล่าสุด "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" กำลังศึกษาโครงการ จะเสร็จสิ้นเร็ว ๆ นี้ เบื้องต้นจะมีระยะทาง 180 กม. เริ่มต้นจากลาดกระบัง ผ่านฉะเชิงเทรา ศรีราชา ชลบุรี พัทยา และระยอง มี 6 สถานี เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท

สายนี้ "ประเทศญี่ปุ่น" ที่เป็นคู่ค้ากับไทยมานานให้ความสนใจไม่น้อย และเคยศึกษาโครงการเบื้องต้นให้มาแล้วก่อนหน้านี้

รอดูท่าที "คสช.และรัฐบาลใหม่" จะคิดต่างหรือเห็นแปลกแยกออกไปจากนี้ยังไง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2014 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

เชิญร่วมโหวตว่าจะให้สร้างสถานีรถไฟความไวสูง พิษณุโลก - เชียงใหม่แบบไหนเป็นเหมาะ

สถานีพิษณุโลก - แก้ใหม่หลังจาก โดนตำหนิมา มี 3 แบบ

Click on the image for full size
สถานีพิษณุโลกแบบที่ 1

Click on the image for full size
สถานีพิษณุโลกแบบที่ 2

Click on the image for full size
สถานีพิษณุโลกแบบที่ 3


สถานีลำปาง 5 แบบ

Click on the image for full size
สถานีลำปางแบบที่ 1
Click on the image for full size
สถานีลำปางแบบที่ 2
Click on the image for full size
สถานีลำปางแบบที่ 3
Click on the image for full size
สถานีลำปางแบบที่ 4
Click on the image for full size
สถานีลำปางแบบที่ 5

สถานีเชียงใหม่ 6 แบบ
Click on the image for full size
สถานีเชียงใหม่ แบบที่ 1
Click on the image for full size
สถานีเชียงใหม่ แบบที่ 2
Click on the image for full size
สถานีเชียงใหม่แบบที่ 3
Click on the image for full size
สถานีเชียงใหม่แบบที่ 4
Click on the image for full size
สถานีเชียงใหม่แบบที่ 5
Click on the image for full size
สถานีเชียงใหม่แบบที่ 6
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.677526515666792.1073741830.602298849856226&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/07/2014 8:05 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูงยังไม่หยุด
สมรัตน์ มะลิลา ผู้สื่อข่าว : ช่างภาพ
แหล่งที่มา : สทท.เชียงใหม่
วันที่ข่าว : 17 กรกฎาคม 2557

โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงยังคงดำเนินต่อไป โดยเส้นทางสายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ จะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569 ด้วยค่าตั๋วเพียงพันบาทเศษ ใช้เวลาเดินทางเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น

คณะทำงานโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะที่ 2 ระหว่างพิษณุโลก - เชียงใหม่ ได้เปิดเผยถึงผลการศึกษาและออกแบบโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้อนุมัติให้ดำเนินการต่อไปว่า โครงการดังกล่าวมีแผนก่อสร้างให้แล้วเสร็จและเปิดให้บริการประชาชน ได้ภายในปี 2567 ในเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ - พิษณุโลก และภายในปี 2569 ระหว่างกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ รวมงบประมาณค่าก่อสร้างและเวนคืนที่ดินประมาณ 3 แสน 8 หมื่นล้านบาท

ส่วนราคาค่าโดยสารนั้น เบื้องต้นได้คำนวนไว้ที่คนละ 1,074 บาท สำหรับการเดินทางระหว่างกรุงเทพ - เชียงใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นห่วงเรื่องการเวนคืนที่ดิน ว่า ขอให้ศึกษาให้ละเอียดเพื่อป้องกันปัญหาและขอให้ออกแบบสถานีจอด เชื่อมโยงกับระบบการคมนาคมอื่นๆ รวมทั้งให้มีที่สำหรับการจำหน่ายสินค้าของท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้จะมีการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 24 กรกฎาคมนี้ ที่โรงแรมดิเอมเพรส จังหวัดเชียงใหม่

ประเด็นเรื่องสายส่งไฟฟ้า สำหรับเครือข่ายรถไฟความไวสูง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
https://www.pea.co.th/sites/c1/Documents/PEA%20%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/07/2014 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ประธานเจโทรส่งสัญญาณ “คสช.” ทบทวนโครงการรถไฟความเร็วสูง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 กรกฎาคม 2557 16:18 น.



ประธานเจโทรแนะไทยใช้โอกาสพิเศษนี้เร่งปรับปรุงระบอบ ศก.และการเมืองให้ปราศจากคอร์รัปชัน พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยหวังว่าไทยจะมีการทบทวนโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคต

นายเซทซูโอะ อิอุชิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (เจโทร) เปิดเผยในงานสัมมนาเรื่อง “ความเชื่อมั่นหรือหวั่นไหว ประเทศไทยในสายตานักลงทุน” ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เมื่อวันที่ 18 ก.ค.ว่า ต้องการให้ไทยใช้โอกาสนี้ในการปฏิรูปประเทศด้วยการปรับปรุงระบอบเศรษฐกิจและการเมืองในระยะกลางและระยะยาว โดยนักลงทุนญี่ปุ่นต้องการเห็นมากที่สุด ได้แก่ ความโปร่งใส และความมีธรรมาภิบาลในองค์กรทั้งรัฐและเอกชน รวมถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการลงทุน ซึ่งหวังว่าไทยจะเร่งทบทวนโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตด้วย

“หวังว่าไทยจะใช้ประโยชน์จากการปฏิรูป เปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ให้มากที่สุด โดยให้ความสำคัญต่อเรื่องความโปร่งใส ลดคอร์รัปชัน การทำให้ตลาดมีการแข่งขันแบบเสรีลดการแทรกแซง มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จะเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ซึ่งญี่ปุ่นได้ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อขยายการลงทุนไปยังเพื่อนบ้าน” นายอิอุจิกล่าว

น.ส.รัชดา เจียสกุล หุ้นส่วนและผู้อำนวยการ กลุ่มที่ปรึกษาเศรษฐกิจและธุรกิจ บริษัทโบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากผลสำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทยประจำปี 2557 จากนักลงทุนจำนวน 600 บริษัท พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ 98% มีความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย โดย 74% มีแผนจะรักษาระดับการลงทุนในไทย 24% มีแผนจะขยายการลงทุนในไทย และ 2% อาจลดระดับการลงทุน รวมทั้งไม่มีนักลงทุนรายใดเตรียมถอนการลงทุนจากไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/07/2014 1:44 am    Post subject: Reply with quote

บริษัทที่ปรึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
ผู้สื่อข่าว : เชาวรินทร์ สอนปาละ
Rewriter : สุริยน ตันตราจิณ
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์
18 กรกฎาคม 2557


บริษัททีม คอลซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เพื่อขอคำแนะนำโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นทางระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่
ที่ห้องประชุมมหันตยศ ศาลากลางจังหวัดลำพูน บริษัททีม คอลซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด พร้อมด้วยบริษัทดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ได้เข้าพบนายสุวรรณ กล่าวสุนทร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ รวมทั้งผลกระทบที่อาจส่งผลต่อชุมชนด้วย

บริษัทที่ปรึกษา ได้สำรวจเส้นทางของรถไฟฟ้าความเร็วสูงระยะที่ 2 เริ่มจากสถานีพิษณุโลก – เชียงใหม่ โดยมีเส้นทางที่เหมาะสมเป็นเส้นทางใหม่ โดยจะเริ่มต้นที่สถานีพิษณุโลก - สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย (สถานีใหม่) - ลำปาง - ลำพูน - เชียงใหม่ รวมระยะทางจาก 296 กิโลเมตร แนวเส้นทางบางส่วนจะคู่ขนานกับเส้นทางเดิมหรือยกระดับเหนือเส้นทางเดิม บางเส้นทางเป็นเส้นทางที่ตัดใหม่ เพื่อให้เป็นแนวทางตรงให้มากที่สุด เพื่อทำความเร็วได้สูงสุด สำหรับที่จังหวัดลำพูนจะเป็นที่ตั้งของสถานีที่จะจัดสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณสถานีเดิม และเป็นจุดที่หมายที่จอดรับส่งผู้โดยสารก่อนสิ้นสุดปลายทางที่จังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จการเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ จะใช้ระยะทางประมาณ 3 ชั่วโมงเศษ

โดยในวันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2557 บริษัทที่ปรึกษาฯจะจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ระยะที่ 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ที่จังหวัดสุโขทัย, ลำปาง และเชียงใหม่ สำหรับเชียงใหม่กำหนดจัดในวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 ในเวลา 08.30 – 12.00 น. ที่โรงแรมดิเอ็มเพรส จึงขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วกัน นอกจากนี้บริษัทที่ปรึกษาฯ ก็จะไปรับฟังความคิดเห็นในระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านในจังหวัดต่างๆ อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/07/2014 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

โปรเจ็กต์ชะลอ แต่ สนข.ไม่ท้อลุยไฮสปีดเทรนเฟส 2 พิษณุโลก - เชียงใหม่ ลงทุน 2 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 ก.ค. 2557 เวลา 11:55:38 น.

สนข. เสนอแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ 5 สถานี พาดผ่าน 5 จังหวัด ระยะทาง 296 กิโลเมตร ลงทุนกว่า 2.1 แสนล้านบาท

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข. ) เปิดเผยว่า สนข.ยังเดินหน้าศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก – เชียงใหม่ เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน แม้โครงการยังไม่มีนโยบายลงทุนในตอนนี้แต่จะดำเนินการให้จบขั้นตอน เพื่อเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาต่อไป

สำหรับแนวเส้นทางช่วงนี้ ได้คัดเลือกแล้ว โดยเส้นทางที่เหมาะสมเป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง เริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ระยะทางรวม 296 กิโลเมตร

ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยเป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร และสถานีศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี ได้แก่ สถานีลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมซึ่งอยู่ในตัวเมือง และมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
1.ช่วงพิษณุโลก-ลำปาง เมื่อออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาส ก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย

จากนั้แนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง

และ 2.ช่วงลำปาง-เชียงใหม่ จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า – สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไป อำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา จากนั้นบรรจบ เข้ากับทางรถไฟเดิมบริเวณ กม.647+000 ก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร จากนั้นวิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูน และช่วงลำพูน-เชียงใหม่จะอยู่ในเขตทางรถไฟ

ทั้งนี้ จุดเด่นของแนวเส้นทางที่ผ่านการคัดเลือกว่าเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนก่อสร้างน้อยกว่าเส้นทางอื่น โดยเงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 214,570 ล้านบาท มีการเวนคืนน้อย อีกทั้งมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ซึ่งแนวเส้นทางที่ผ่านพื้นที่จังหวัดลำปางได้เลือกใช้สถานีรถไฟเดิมเป็นสถานีรับส่งผู้โดยสารโดยมีพื้นที่อยู่ในเมืองจังหวัดลำปางทำให้สะดวกเดินทางขนส่งเนื่องจากจังหวัดลำปางเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งไปสู่ภาคเหนือตอนบนอีกทั้งเป็นศูนย์กลางหัตถอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมพื้นถิ่น(เซรามิก) ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/07/2014 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.คัดแนวเส้นทางรถไฟเร็วสูง "พิษณุโลก-สุโขทัย-ลำปาง-เชียงใหม่"เหมาะสมที่สุด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กรกฎาคม 2557 12:38 น.

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - สนข.จัดเวทีสัมมนารับฟังความคิดเห็นโครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ครั้งที่ 2 สนอแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด “พิษณุโลก-สุโขทัย-ลำปาง-เชียงใหม่” เงินลงทุนกว่า 2.14 แสนล้านบาท ชี้จุดเด่นเวนคืนและกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

วันนี้(24 ก.ค.) ที่ที่โรงแรมดิ เอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) จัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยมีนายนาวิน สินธุสอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสนข. ร่วมเป็นประธานเปิดการสัมมนา มีผู้แทนหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนในจ.เชียงใหม่ และจ.ลำพูน เข้าร่วมประมาณ 300 คน

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้เพื่อนำเสนอสาระสำคัญแนวเส้นทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะโครงการ ซึ่งขณะนี้ได้คัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดแล้ว เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจ.สุโขทัย-ลำปาง เริ่มต้นจากจ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก

ทั้งนี้ แนวเส้นทางนี้จะประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ โดยเป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ สถานีสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยประมาณ 6 กิโลเมตร และสถานีศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี ได้แก่ ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมที่อยู่ในตัวเมือง และมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่จ.เชียงใหม่ รวมระยะทาง 296 กิโลเมตร

สำหรับเส้นทางนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงพิษณุโลก-ลำปาง เมื่ออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายผ่านไปทางอ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าจ.สุโขทัย ผ่านอ.กงไกรลาส อ.สวรรคโลก และอ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เข้าอ.วังชิ้น และอ.ลอง จ.แพร่ ผ่านอ.แม่ทะ จ.ลำปาง เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง

ขณะที่ช่วงลำปาง-เชียงใหม่ จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่ และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางจะอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม แต่เส้นทางจากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร เบี่ยงไปทางอ.แม่ทา จ.ลำพูน บรรจบเข้ากับทางรถไฟเดิมก่อนถึงสถานีลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร จากนั้นวิ่งตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีเชียงใหม่

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า จุดเด่นของแนวเส้นทางที่ผ่านการคัดเลือกว่าเหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 214,570 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นทางอื่น รวมทั้งมีการเวนคืนน้อย มีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดด้วย โดยหลังจากรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะในครั้งนี้แล้ว จะลงพื้นที่เพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกับประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงตามแนวเส้นทางอีกครั้ง เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปประกอบการพิจารณาศึกษา แล้วสรุปผลนำเสนอในการจัดสัมมนาครั้งที่ 3 ประมาณปลายเดือนกันยายนนี้

ส่วนเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงนั้น ปัจจุบันเทคโนโลยีรที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมาจาก 3 กลุ่มประเทศ คือ ญี่ปุ่น จีน และยุโรป ทั้งเยอรมนีและฝรั่งเศส ในส่วนของประเทศไทย สนข.จะศึกษาและพิจารณาเทคโนโลยีของทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน โดยยึดประโยชน์ ความเหมาะสม และตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ได้มากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 181, 182, 183 ... 545, 546, 547  Next
Page 182 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©