RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180204
ทั้งหมด:13491438
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 185, 186, 187 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/01/2015 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เผยรถไฟทางคู่เส้น กทม.-โคราช ทำง่ายสุด คาดศึกษาเสร็จสิ้นปี58
โดย ทีมข่าวภูมิภาค
ไทยรัฐ
20 มกราคม พ.ศ. 2558 18:46


รองผู้ว่าฯนครราชสีมา เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นรถไฟทางคู่ครั้งที่ 1 รอง ผอ.สนข. ระบุการดำเนินการช่วงที่ง่ายที่สุดเร็วที่สุด คือ จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และต่อเนื่องเส้นไปหนองคาย โดยคาดว่าการศึกษาเสร็จสิ้นปี 2558...

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2558 ที่ห้องสีมาธานี 1 โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายบุญยืน คำหงส์ รอง ผวจ.นครราชสีมา ตัวแทนนายธงชัย ลืออดุลย์ ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 1 โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (StandardGauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต (ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หนองคาย) ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดยมีนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำเสนอรายละเอียดของโครงการ การกำหนดขอบเขตการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมกับการรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะและตอบข้อซักถาม โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องผู้บริหารสถาบันศึกษา ผู้นำ/ประธานชุมชน ผู้นำหมู่บ้าน ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ พ่อค้านักธุรกิจ ประธานหอการค้า ประธานสภาอุตสาหกรรม ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรม ผู้นำ อปท.และพี่น้องประชาชนทั่วไปรวมกว่า 500 คน เข้ารับฟังด้วยความสนใจ

โครงการรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคตช่วง นครราชสีมา-หนองคาย ภายใต้โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มีระยะทางรวม 355 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางมาบตาพุด-นครราชสีมา-หนองคาย แนวเส้นทางรถไฟวิ่งผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคายจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมา และสิ้นสุดโครงการที่บริเวณสถานีรถไฟหนองคาย โดยกำหนดเกณฑ์ออกแบบเบื้องต้นให้เป็นแนวเสนทาง ขนานไปกับเส้นทางรถไฟในปัจจุบันก่อสร้างเป็นอิสระอยู่ภายในเขตทางรถไฟเดิม เพื่อลดผลกระทบด้านการเวนคืนที่ดิน และสามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงต่อไปในอนาคต โดยในอนาคตเส้นทางรถไฟสายนี้จะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-ลาว ที่เมืองเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เชื่อมต่อไปยังเมืองคุนหมิงสาธารณรัฐประชาชนจีน ช่วยพัฒนาระบบการขนส่งสินค้าและการเดินทางของพี่น้องประชาชนทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาคอาเซียนได้เป็นอย่างดี

รอง ผอ.สนข.กล่าวว่า โครงการนี้ต่อเนื่องโดยปีที่แล้ว สนข.ศึกษาจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ทำเสร็จแล้ว และตอนนี้กำลังเตรียมส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เนื่องจากกฎหมายบังคับว่า โครงการขนส่งขนาดใหญ่จะต้องผ่านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเพื่อให้เขาเห็นว่า เราจะทำโครงการนี้มีการป้องกันในเรื่องของผลกระทบต่อประชาชน ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการก่อสร้างมากน้อยเพียงใด และจนมาต่อเนื่องที่ศึกษาจาก นครราชสีมา-หนองคาย โดยผ่าน จ.ขอนแก่น-อุดรธานี การศึกษาโครงการนี้เพิ่งเริ่มต้น ซึ่งวันนี้เรามานำเสนอโครงการว่าเนื้อหา สาระของการศึกษาจะทำอะไรบ้างโดยหลักจะเป็นเรื่องความเหมาะสมของโครงการ

1.เรื่องเศรษฐกิจการลงทุนที่จะใช้เงินเท่าไร และมีความคุ้มค่าหรือไม่
2.เรื่องทางวิศวกรรมว่าแนวเส้นทางที่เราศึกษามีความเหมาะสมทางวิศวกรรม อย่างไรบ้าง ซึ่งจะต้องสร้างสะพานข้ามทางแยกทางตัด และเข้ามาในเมืองต้องทำสะพานอย่างไรบ้าง,
3.เรื่องสิ่งแวดล้อมว่าได้รับผลกระทบหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร บ้าง และ
4.รวมทั้งเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่อยู่ตามแนวสายทางรถไฟโดย เส้นทางรถไฟจากนครราชสีมา-หนองคายยึดแนวทางรถไฟเดิม


นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ในหลักการจะใช้แนวทางรถไฟเดิม และปัญหาเรื่องการเวนคืนเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นจะใช้แนวเขตทางของการรถไฟ โดยแนวเขตทางทั่วประเทศเรื่องความกว้าง ถ้าเราดูตามสภาพพื้นที่มีความเพียงพออยู่แล้ว และจะใช้สถานีเดิมที่มีพื้นที่อยู่แล้วในการพัฒนาปรับปรุงเป็นสถานีใหม่ แต่การเวนคืนก็คงจะมีบ้างเพราะว่าเวลาเราเพิ่มความเร็วของรถไฟสูงขึ้นก็จำเป็นจะต้องรัศมีความโค้งกว้างขึ้นซึ่งจะหักศอกไม่ได้ ฉะนั้นอาจจะมีพื้นที่บางส่วนต้องเวนคืนแต่จะให้เวนคืนให้น้อยที่สุด ส่วนจะใช้งบประมาณวงเงินเท่าไหร่นั้นตอนนี้ยังไม่ได้คิดออกมาเป็นเงิน เพราะต้องออกแบบรายละเอียดให้เสร็จก่อน แต่คิดว่าในวงเงินเป็นแสนล้านบาท การว่าจ้างศึกษาประมาณ 190 ล้านบาท อาจจะดูแพงเพราะเราออกแบบไว้เพื่อเอามาใช้งาน

รอง ผอ.สนข.กล่าวอีกว่า กรอบระยะเวลานี้เป็นเวทีแรกและจากนี้จะไป จ.ขอนแก่น และวันต่อไป จ.อุดรธานี และ จ.หนองคาย สุดท้ายฉะนั้นรอบแรกจะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์โครงการให้ ประชาชนเห็นว่ากระทรวงคมนาคมกำลังจะทำอะไร และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคืออะไร รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อห่วงใยของประชาชนที่มีต่อโครงการอย่างไรบ้าง และหลังจากรับฟังครั้งนี้แล้วเราก็ต้องมาอีกรอบ เพื่อที่ทางที่ปรึกษาโครงการจะรู้ว่าประชาชนกลุ่มใดบ้างที่รับผลกระทบมาก น้อยเพียงใดโดยจะมีการลงกลุ่มย่อยไปพบปะกลุ่มย่อยรับฟังมาแล้วนำเสนอรายละเอียดเป็นกลุ่มๆ และจะมีการประชุมใหญ่ครั้งที่ 2 เพื่อมานำเสนออีกครั้งว่าสิ่งที่ที่ปรึกษาได้ไปรวบรวมมานั้นครบถ้วนถูกต้องหรือยัง และนำมาเสนอรูปแบบของการออกแบบว่าสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและเป็น ไปตามหลักวิชาการหรือไม่



นายชัยวัฒน์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ การศึกษานี้จะเสร็จประมาณปลายปี 2558 นี้ เป็นเส้นทางที่รัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนได้คุยกันในการพัฒนาด้วยกันโดยแนว ที่รัฐบาลได้คุยคือจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย และจากชุมทางแก่งคอย-มาบตาพุด ส่วนตัวเลขวงเงินกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก็เป็นหมื่นล้านบาทโดยการลงทุนมี 2 ส่วน ส่วนแรกตัวโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่การทำพื้นฐานและวางระบบราง รวมทั้งอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า อีกส่วนตัวรถกับการบริหารจัดการเดินรถเป็นเรื่องที่เรายังไม่เคยมีมาก่อน ฉะนั้นเราไม่รู้ว่าตัวนี้มูลค่าจริงๆ เท่าไหร่ โดยต้องคุยกับทางจีนเขาส่วนรางรถไฟระบบใหม่เป็น 1.435 แต่รถไฟใหม่ของเดิมก็ยังใช้อยู่คือ 1 เมตร ฉะนั้นการดำเนินการช่วงที่ง่ายที่สุดเร็วที่สุด คือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ส่วนจาก นครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างการศึกษา.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/01/2015 4:42 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้ว! ถกรถไฟทางคู่ไทย-จีน เห็นชอบกรอบเริ่มงาน มี.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 มกราคม 2558 14:37 น.

ไทย-จีนเริ่มหารือความร่วมมือครั้งที่ 1 พัฒนารถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช-หนองคาย “ประจิน” เผยจีนรับข้อเสนอแบ่งงานก่อสร้าง 4 ช่วง พร้อมส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญจาก CRC ลงพื้นที่สำรวจ ออกแบบประมาณการลงทุนใน มี.ค.นี้ เร่งก่อสร้างเสร็จใน 2.5 ปี

วันนี้ (21 ม.ค.) พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหู จู่ฉาย รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมเป็นประธานการประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มกราคมนี้ ที่กระทรวงคมนาคม เพื่อร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 หลังได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557

โดย พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า การหารือในครั้งนี้เพื่อกำหนดกรอบตารางการทำงาน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินงานร่วมกันทั้งในการวางแผน อำนวยการและลงพื้นที่ปฏิบัติการ สำรวจและออกแบบการประมาณการด้านราคาของโครงการ รวมถึงการกำหนดรูปแบบการลงทุนร่วมกันจะนำไปสู่การก่อสร้างทางในกรอบเวลาที่กำหนด สำหรับโครงการดังกล่าวมีความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เกิดการจ้างงาน มีรายได้ในการจัดเก็บภาษี ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงด้านการคมนาคมจีนกับอาเซียน อำนวยความสะดวกด้านการค้า การท่องเที่ยว

ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งถึงแผนงานเพื่อให้ทางจีนพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่วมกัน โดยไทยได้ตั้งสำนักงานบริหารโครงการภายใต้เอ็มโอยูไทย-จีน (สบร.) โดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าสำนักงาน ทำหน้าที่ประสานงาน ส่วนการปฏิบัติงานนั้นมีคณะทำงาน 2 ชุด โดยเป็นคณะอนุกรรมการที่มีกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำงานร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น (CRC) ของฝ่ายจีน และอีกคณะจะเป็นอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุน มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ทั้งนี้ ไทยและจีน เคยมีการศึกษาร่วมกันมาแล้วตั้งแต่ปี 2553 และมีการปรับข้อมูลครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 จึงมั่นใจว่าทั้งสองฝ่ายมีข้อมูลในความร่วมมือนี้มากกว่า 50% แล้ว

ส่วนการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 4 ช่วง โดย
ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ จึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและประชาชนน้อยที่สุด

ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. แนวเส้นทางจะยากขึ้น เนื่องจากผ่านพื้นที่อุทยานและต้องเวนคืนที่ดิน แต่เชื่อว่าการสำรวจออกแบบและประมาณราคารวมถึงการกำหนดรูปแบบ ช่วงที่1, 2 จะเสร็จตามเผน คือ เริ่มออกแบบเดือนมีนาคม 2558 สรุปในกันยายน 2558 เริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จเปิดเดินรถได้ในเดือนมีนาคม 2561

ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และ

ช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. แม้เส้นทางจะยากมากขึ้นแต่เชื่อว่าทาง CRC ของจีนจะดำเนินการได้ตามแผน โดยฝ่ายไทยจะจัดเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการทำงานของจีนอย่างเต็มขีดความสามารถ

โดยคาดว่าจะจัดทีมสำรวจออกแบบ 2 ชุด เพื่อเร่งรัดงานได้ตามกรอบเวลา โดยในวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์นี้จะมีการประชุมร่วมครั้งที่ 2 เพื่อตกลงรูปแบบการลงทุนต่อไป

โดยผลการหารือครั้งแรกได้ข้อสรุป
1. ทางจีนเข้าใจแผนและกรอบเวลาของไทย เบื้องต้นเข้าใจตรงกัน ตั้งแต่ความเป็นมาของความร่วมมือสองฝ่าย การทำเอ็มโอยู และการตั้งคณะทำงาน \
2. มีการแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารโครงการในระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติ และด้านการเงิน ซึ่งจะทำกรอบตารางการทำงานร่วมกัน
3. เห็นชอบร่วมกันในการแบ่งงานเป็น 4 ช่วง เพื่อก่อสร้างโครงการได้รวดเร็วเป็นไปตามแผนงาน
4. ทางจีนยินดีในการจัดคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจาก CRC เข้ามาลงมือสำรวจและออกแบบทันที โดยไทยจัดเจ้าหน้าที่ให้การสนับสนุนการสำรวจ

อย่างไรก็ตาม ทางนายหู จู่ฉาย รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ระบุว่า แผนงานก่อสร้างโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงเพื่อเร่งรัดให้แล้วเสร็จภายใน 2.5 ปีนั้นมีความเป็นไปได้ ซึ่งต้องอยู่ที่การศึกษาสำรวจออกแบบที่จะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2558 ด้วย และถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของความร่วมมือ โดยหน่วยงานและบริษัทของจีนจะให้ความร่วมมือกับไทยอย่างทุ่มเท เพราะทราบดีว่ามีเวลาจำกัด ซึ่งจีนจะส่งผู้เชี่ยวชาญและทีมสำรวจทำงานทันทีตามข้อตกลง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2015 4:43 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดชื่อบริษัทคาดรับเหมา"รถไฟไทย-จีน"เฟสแรก "แก่งคอย-มาบตาพุด"-รอเคาะรูปแบบลงทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 ม.ค. 2558 เวลา 15:51:20 น.

ประชุมนัดแรกรถไฟไทย-จีน 4 แสนล้านฉลุย แบ่งสำรวจพื้นที่ 4 ช่วง งานก่อสร้าง 2 สัญญา จีนเสนอ 3 โมเดลลงทุน เตรียมลงพื้นที่โครงการ มี.ค.นี้ ดีเดย์ ก.ย.ลงเข็ม "กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด" ระยะทาง 379.5 กม. เผย ก.พ.นี้เคาะรูปแบบลงทุน + ผู้รับเหมา

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ผลการหารือร่วมกับจีนครั้งแรกเพื่อพัฒนารถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตรเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 873 กม. เป็นไปด้วยดี มีความเห็นตรงกันว่าจะแบ่งดำเนินการเป็น 4 ช่วง ได้แก่
1.กรุงเทพฯ-แก่งคอย 133 กม.
2.แก่งคอย-มาบตาพุด 246.5 กม.
3.แก่งคอย-นครราชสีมา 138.5 กม.
4.นครราชสีมา-หนองคาย 355 กม.

จีนเร่งตอกเข็ม 1 ก.ย. 58

ทั้งนี้ เพื่อความรวดเร็วในการออกแบบและสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง เริ่มสำรวจเดือน มี.ค.นี้ รวมถึงการออกแบบรายละเอียดและประเมินค่าก่อสร้างให้เสร็จใน 6-7 เดือน เนื่องจากเงินลงทุน 392,570 ล้านบาท เป็นกรอบเบื้องต้นเท่านั้น โดยบริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น (CRC) ของฝ่ายจีนจะลงพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานฝ่ายไทย รวมทั้งจีนยังเห็นชอบกรอบเวลาที่ฝ่ายไทยเสนอ ในการเริ่มก่อสร้างช่วงระยะที่ 1-2 ในวันที่ 1 ก.ย.นี้ กำหนดแล้วเสร็จใน 2 ปีครึ่งหรือเดือน ธ.ค. 2560 ส่วนช่วงที่ 3-4 ทางจีนมีความเห็นว่ามีความซับซ้อนของพื้นที่เพราะต้องเจาะอุโมงค์ยาว 8-10 กม.ช่วงมาบกะเบา และผ่านพื้นที่อุทยาน อาจทำให้การก่อสร้างล่าช้าจากเดิมไปบ้าง เดิมคาดว่าเริ่มก่อสร้าง ธ.ค. 2558 เลื่อนเป็นไม่เกินไตรมาส 1/59

ประชุมนัด 2 ที่ปักกิ่ง ก.พ.นี้

พล.อ.อ. ประจินกล่าวว่า รูปแบบลงทุนจะหารือร่วมกันครั้งต่อไป 11-13 ก.พ.นี้ ที่เมืองปักกิ่ง เบื้องต้นจีนนำเสนอโมเดลที่เคยไปลงทุนในประเทศต่าง ๆ ให้ฝ่ายไทยทราบ มี 3 รูปแบบคือ

1.EPC (Engineering Procurement Construction) รัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ จีนจะออกแบบ จัดหาระบบและก่อสร้าง รูปแบบนี้มี 2 ทางเลือกคือ
EPC + F (Engineering Procurement Construction and Finance) จะออกแบบ จัดหาระบบ ก่อสร้าง จัดหาเงินกู้ และ
EPC + F + O (Engineering Procurement Construction and Finance and Operation) ออกแบบ จัดหาระบบ ก่อสร้าง จัดหาเงินกู้ และบริหารโครงการในช่วงแรก 3-5 ปี ส่วนเงินกู้จีนจะให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าหรือไชน่าเอ็กซิมแบงก์ เป็นผู้ให้กู้กับรัฐบาลไทยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

2.รัฐและเอกชนร่วมทุน รูปแบบ PPP เป็นรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer Contract) โดยจ้างเอกชนคือ CRC ของจีนและบริษัทไทยลงทุนก่อสร้างและบริหารโครงการ เมื่อครบอายุสัมปทานก็โอนกรรมสิทธิ์ให้รัฐบาลไทย และ

3.ร่วมกันลงทุนแบบรัฐต่อรัฐตามสัดส่วนที่ตกลงกัน โดยตั้งบริษัทร่วมไทย-จีนขึ้นมา

"ทั้ง 3 รูปแบบอยู่ในระหว่างการพิจารณา แต่ถ้าหากมีเงื่อนไขเวลาที่ต้องเริ่มสร้างในปีนี้ วิธีกู้เงินจากจีนน่าจะเป็นวิธีการที่เร็วที่สุด แต่ต้องดูเงื่อนไขของฝ่ายจีนด้วย ส่วนระบบรถต้องใช้ของจีน ซึ่งจะมีการพิจารณาให้จบในเดือน พ.ค.นี้"

รอเคาะ "รูปแบบลงทุน"

พล.อ.อ. ประจินกล่าวอีกว่า สำหรับการก่อสร้างจาก 4 ช่วงแผนงาน แบ่งเป็น 2 สัญญา โดยสัญญาแรก ช่วงที่ 1-2 กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด และสัญญาที่ 2 เป็นช่วงที่ 3-4 แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย โดยฝ่ายไทยให้จีนคัดเลือกบริษัทรับเหมามาให้อย่างน้อย 5 บริษัท และซับคอนแทร็กต์ (รับเหมาช่วง) อีก 15 บริษัท ส่วนฝ่ายไทยจะคัดเลือกบริษัทรับเหมาไว้เช่นกัน เป้าหมายให้ได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งที่ 2 นี้ โดยจะไม่เปิดประมูลแบบนานาชาติเพราะเป็นความร่วมมือแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยฝ่ายจีนให้ CRC เป็นผู้คัดเลือกบริษัทจีน รวมทั้งจีนจะเป็นผู้รับเหมาหลัก โดยมีรับเหมาไทยจะเป็นผู้รับเหมาช่วง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกรูปแบบการลงทุนด้วย เพราะหากไม่ใช่เงินกู้ การคัดเลือกผู้รับเหมาจะเป็นอีกแบบหนึ่ง

"การ ประชุมครั้งที่ 2 สิ่งที่ฝ่ายไทยอยากเห็นคือรายชื่อผู้รับเหมาไทยและจีนที่จะก่อสร้าง ซึ่ง CRC ของจีนมี 5 รัฐวิสาหกิจหลักที่มีประสบการณ์สร้างรถไฟอยู่แล้ว เขาจะแนะนำพร้อมลำดับความสำคัญแต่ละบริษัทไม่ให้เกิดความสับสน เนื่องจาก คสช.เข้ามาบริหารประเทศและผลักดันรถไฟ ปรากฏว่ามีบริษัทจีนจำนวนมากเข้ามานำเสนอตัว จึงไม่ค่อยมั่นใจ"

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า จีนเสนอให้เงินกู้ฝ่ายไทยดอกเบี้ยต่ำ แต่ไม่ระบุอัตราชัดเจน ที่ผ่านมาเคยแจ้ง 3% โดยมีสัดส่วนให้กู้ 85% ของวงเงินลงทุนโครงการ เวลา 15 และ 20 ปี ส่วนอีก 15% เป็นการลงทุนโดยรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตาม ยังไม่สรุป ซึ่งยังมีหลายหน่วยงานไม่เห็นด้วยที่จะใช้เงินกู้จากจีน เช่น สำนักงบประมาณ มองว่าน่าจะใช้เงินกู้ในประเทศ

เปิดชื่อรับเหมาจีน-ไทย

แหล่งข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างกล่าวว่า สำหรับ 5 บริษัทของฝ่ายจีนที่จะมาลงทุนด้วย เช่น บริษัท ซีอาร์ซีซี, บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป (ซีอาร์อีซี), บริษัท ไชน่า พาวเวอร์, บริษัท ไชน่าอาร์เบอร์ และบริษัท ซีอาร์อีซี

ส่วนบริษัทรับเหมาไทย แหล่งข่าวกล่าวว่า แนวโน้มเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ก่อสร้างรถไฟและขึ้นบัญชีกับการรถไฟแห่ง ประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เช่น
บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์,
บมจ.ช.การช่าง,
บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น,
บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นจิเนียริ่ง (1964),
บริษัท ทิพากร บริษัท กรุงธนเอ็นยิเนียริ่ง เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2015 5:51 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เยือนญี่ปุ่นลงนามเอ็มโอยูรถไฟความเร็วสูง 8-10 ก.พ.นี้
ThaiPBS Tue, 27/01/2015 - 17:09

นายกรัฐมนตรีเตรียมเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น 8-10 ก.พ.นี้ ลงนามเอ็มโอยูรถไฟความเร็วสูง ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร จะเดินทางไปเมียนมาร์ 30 ม.ค.นี้ หารือโครงการทวาย

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ระบุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น วันที่ 8-10 ก.พ.2558 เพื่อลงนามความร่วมมือรถไฟความเร็วสูง ขนาดรางมาตรฐานยุโรป 1.435 เมตร

ส่วนในวันที่ 30 ม.ค.ที่จะถึงนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล จะเดินทางไปประเทศเมียนมาร์ เพื่อหารือโครงการทวาย โดยมีญี่ปุ่นร่วมหารือด้วย ซึ่งจะทำให้โครงการนี้มีโอกาสสำเร็จมากขึ้นเพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2015 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแนวเวนคืนที่ดินรถไฟไทย-จีน โคราชแจ็กพอตพันไร่เจาะอุโมงค์ "ผาเสด็จ-หินลับ"ทะลุหนองคาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 28 ม.ค. 2558 เวลา 21:05:34 น.

เลาะเส้นทางมินิไฮสปีดเทรน "กรุงเทพฯ-หนองคาย" ดูผลศึกษาโมเดลจีน แบบต้นทุนก่อสร้าง 330 ล้าน/กม. ระยะทาง 615 กม. ลงทุนเฉียด 2 แสนล้าน เจาะ 4 อุโมงค์ช่วงแก่งคอย สนข.เปิดเส้นทางนำร่องถึงโคราช เวนคืน 926 ไร่ ช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด สร้างคู่ขนานทางคู่ "แก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา" เจาะอุโมงค์กว่า 700 เมตร ทะลวงเขาพระพุทธฉาย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ รวม 873 กม. ที่ร่วมพัฒนากับรัฐบาลจีน จะยึดผลศึกษาเดิมของจีนเมื่อหลายปีที่แล้ว โดยเร่งสรุปโครงการทั้งผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ออกแบบรายละเอียด ประเมินค่าก่อสร้าง เวนคืนที่ดินใน 6 เดือน ตั้งเป้าเริ่มงานมีนาคม-กันยายนนี้

Click on the image for full size

6 เดือนรายละเอียดเสร็จ

โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะลงพื้นที่สำรวจเส้นทางมีนาคมนี้ เพื่อให้เฟสแรก "กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด" เริ่มก่อสร้าง 1 กันยายน กำหนดเสร็จ 2 ปีครึ่ง หรือธันวาคม 2560 เฟสที่ 2 "แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย" เริ่มสร้างอย่างช้าไตรมาส 1/59 ล่าสุดจัด 2 ทีมลงสำรวจพื้นที่ มีบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRC) เป็นผู้นำทีมร่วมกับฝ่ายไทย

"จีนและไทยศึกษาร่วมกันไว้เมื่อปีཱ ปรับข้อมูลล่าสุดปีཱུ หลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้ามา 7 เดือน ทั้ง 2 ฝ่ายมีข้อมูลเบื้องต้นแล้วมากกว่า 50%"

ช่วงโคราชสร้างยาก

สิ่งที่จะต้องพิจารณาต่อคือความยากง่ายเส้นทางที่จะก่อสร้างทางจีนเสนอว่าช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคายใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปีขึ้นไป ทำให้ล่าช้าจากแผนงานที่ไทยเสนอ เนื่องจากพื้นที่ผ่านภูเขาต้องเจาะอุโมงค์และใช้เทคโนโลยีสูง

"เส้นทางสร้างได้เร็วคือกรุงเทพฯ-แก่งคอย เพราะเป็นที่ราบและเวนคืนน้อย ส่วนช่วงแก่งคอย-มาบตาพุดทำยากเช่นกัน เพราะผ่านพื้นที่อุทยานต้องมีการเวนคืน"

สร้างคู่ขนานแนวเดิม

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าผลศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิมที่จีนศึกษาให้เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายมีระยะทาง 615 กม. ก่อสร้างตามแนวรถไฟเดิม รูปแบบก่อสร้างระดับดินตลอดเส้นทาง ค่าก่อสร้าง 198,000 ล้านบาท เฉลี่ย 330 ล้านบาท/กม. มีช่วงแก่งคอยเป็นพื้นที่ภูเขาต้องเวนคืนกว้าง 20 เมตรของแนวเส้นทางเพื่อเจาะอุโมงค์ ซึ่งบริเวณนี้ปัจจุบันเป็นพื้นที่ประทานบัตรผู้ประกอบการปูน 4 บริษัท อาทิ ปูนซิเมนต์ไทย ปูนทีพีไอ ปูนนครหลวง

ขณะที่ผลศึกษารถไฟความเร็วสูงของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาเสร็จและส่งรายงานอีไอเอแล้วคือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 กม. ส่วนช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 355 กม. อยู่ระหว่างศึกษาโครงการ โดยรวมเส้นทางจะสร้างคู่ขนานแนวรถไฟเดิม ยกเว้นบางช่วงที่ปรับรัศมีโค้งให้มีเหมาะสมกับความเร็วรถไฟซึ่งต้องเวนคืนที่ดินมาก แนวช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี 84 กม. ใช้โครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่

สำหรับแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่สนข.ศึกษาเสร็จจุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีบางซื่อ ผ่านสถานีดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา มาถึงชุมทางบ้านภาชี จากนั้นแยกเข้าสู่เส้นทางรถไฟสายอีสาน จากบ้านภาชีมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดสระบุรี ผ่านสถานีปากช่อง จากนั้นเส้นทางจะเลียบอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองไปยังสถานีปลายทางที่นครราชสีมา

เปิดจุดที่ตั้งสถานี

ที่ตั้งสถานีมีทั้งอยู่ที่เดิมและสร้างใหม่ ถัดจากสถานีกลางบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ภาชี จะสร้างอยู่ที่เดิม มาถึงสระบุรีจะสร้างอยู่ที่ใหม่ ห่างสถานีรถไฟเดิม 3 กม. เยื้องศูนย์การค้าเซ็นทรัล สถานีปากช่องจะอยู่ที่ราชพัสดุหนองสาหร่าย ห่างสถานีเดิม 5 กม. และสถานีนครราชสีมาจะอยู่ที่เดิม ส่วนช่วงนครราชสีมา-หนองคายมี 3 สถานี คือ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย เบื้องต้นตำแหน่งอยู่ที่สถานีรถไฟเดิม

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า รูปแบบโครงสร้างมีทั้งทางยกระดับกว่า 100 กม. เพราะผ่านเขตเมือง ทางระดับพื้น 58 กม. สะพานบก 4 กม. และอุโมงค์ 4 แห่งช่วงภาชี-โคราช มีอุโมงค์รถไฟบริเวณผาเสด็จถึงหินลับ ในพื้นที่ประทานบัตรเหมืองหินโรงปูนซีเมนต์ 3 บริษัท มี 2 อุโมงค์ความยาว 202 เมตร กับ 3,326 เมตร อุโมงค์รถไฟบริเวณริมอ่างเก็บน้ำลำตะคอง โดยเป็นอุโมงค์ 2 ช่วง อยู่บริเวณสถานีคลองขนานจิตร ความยาว 557 เมตร และ 1,243 เมตร

กทม.-โคราชเวนคืน 926 ไร่

สำหรับเงินลงทุนเฟสแรก (กรุงเทพฯ-โคราช) อยู่ที่ 170,450 ล้านบาท แยกเป็น ค่าเวนคืนกว่า 8,000 ล้านบาท สำหรับเวนคืนที่ดิน 926 ไร่ ยังไม่รวมที่ราชพัสดุ ตั้งแต่ภาชี-โคราช ค่าก่อสร้าง 140,855 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 3,000 ล้านบาท และระบบรถไฟฟ้า 31,700 ล้านบาท ส่วนเฟส 2 (โคราช-หนองคาย) คาดว่าค่าก่อสร้างอยู่ที่ 108,245 ล้านบาท

ทั้งนี้ แนวช่วงแรกปรับ 2 ช่วง คือ 1.ช่วงแก่งคอยที่ผ่านพื้นที่ประทานบัตรปูนซีเมนต์ 2.ช่วงอ่าง

เก็บน้ำลำตะคอง จะสร้างทางวิ่งยกระดับเลียบอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง และยกระดับข้ามทางรถไฟเดิม จากนั้นแนวเส้นทางเลียบอ่างเก็บน้ำ ก่อนข้ามทางรถไฟเดิมอีกครั้ง แล้วจึงกลับมาขนานกับแนวทางรถไฟเดิม ระยะทางบริเวณนี้ 17 กม.

รื้อชุมชนนับพันราย

สำหรับช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด จะสร้างคู่ขนานกับทางคู่สายแก่งคอย-คลอง 19-ฉะเชิงเทรา 106 กม. ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังประมูลก่อสร้าง มีเวนคืน 119 ไร่ ย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ชุมทางบ้านภาชี ชุมทางแก่งคอย และสร้างอุโมงค์ 1 แห่ง ช่วงเขาพระพุทธฉาย 736 เมตร

โดยการก่อสร้างจะแยกรางออกจากกัน แนวเส้นทางเริ่มจากแก่งคอย ผ่านคลองสิบเก้ามาออกฉะเชิงเทรา และไปเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบัง มีเป้าหมายใช้เป็นเส้นทางขนสินค้า และเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สะดวกขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่ากรณีผู้บุกรุกในแนวเส้นทางจากข้อมูลร.ฟ.ท. เมื่อปี 2555 ในเส้นทางสายอีสานมีผู้บุกรุกประมาณ 3,700 ราย ช่วงฉะเชิงเทรามี 406 ราย และศรีราชา 422 ราย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/02/2015 9:45 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กจิน"บินข้ามโขงถกรถไฟเร็วสูง"จีน-ลาว-ไทย"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 02 ก.พ. 2558 เวลา 21:40:16 น.

"ประจิน" บุกลาว ดูความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง หลังลงนามกับจีนมา 4 ปี หวังเก็บข้อมูลมาบูรณาการรถไฟไทย-จีน ก่อนถกครั้งที่ 2 กรุงปักกิ่ง 11-13 ก.พ.นี้ หวังเป็นเส้นทางเชื่อมโยงการค้าและเดินทาง 3 ประเทศ "จีน-ลาว-ไทย" สมบูรณ์แบบทั้งรางและระบบเดินรถ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 1-3 กุมภาพันธ์นี้ กระทรวงคมนาคมประเทศไทยกับกระทรวงคมนาคมของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จะหารือร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นการพัฒนารถไฟทางมาตรฐานที่รัฐบาลจีนจะลงทุนสร้างจากคุนหมิง-เวียงจันทน์ที่จะมาเชื่อมกับรถไฟราง1.435 เมตรของประเทศไทย จังหวัดหนองคายที่จะสร้างในเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุดและแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 873 กิโลเมตร

"การไปครั้งนี้เพื่อให้ประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศสอดคล้องกัน ตามที่ไทยคาดหวังไว้คือเชื่อมต่อจากคุนหมิง-เวียงจันทน์-หนองคาย-กรุงเทพฯ จะทำให้ประโยชน์ของประเทศไทยและลาวมีความสมดุลมากขึ้นและเชื่อมต่อกับจีนได้ชัดเจนทั้งรูปแบบรางและเทคโนโลยีในการเดินรถที่วิ่งด้วยความเร็ว160-180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง"

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า หากโครงการนี้สำเร็จจะเป็นโมเดลนำร่องให้กับกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในเพื่อนบ้านที่ยังเป็นรถไฟราง 1 เมตรอยู่ เช่น เวียดนาม เขมร มาเลเซีย สำหรับความคืบหน้าของรถไฟจีน-ลาวได้ลงนามร่วมกันพัฒนารถไฟรางมาตรฐานตั้งแต่ปี 2554 หรือผ่านมาประมาณ 4 ปีแล้ว ปัจจุบันเพิ่งร่างสัญญาแล้วเสร็จ รอลงนามทั้ง 2 ฝ่าย เนื่องจากยังติดเรื่องข้อกฎหมาย คาดว่าจะมีการลงนามในปี 2558 และเริ่มก่อสร้างพร้อมกับโครงการของไทยในปี 2559 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวยังเป็นข้อมูลที่ได้รับรายงานก่อนปีใหม่ แต่คาดว่าหลังกลับจากลาวจะมีข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมและเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เส้นทางรถไฟที่เชื่อมจากกรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุนหมิงเป็นเส้นทางมีปริมาณการค้าขายและการเดินทางระหว่าง3 ประเทศ คือไทย-ลาว-จีนที่มีเพิ่มขึ้น ถึงได้รับความสำคัญในขณะนี้ค่อนข้างสูง และเป็นเส้นทางที่ไทยจะพยายามทำให้เชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน

อนึ่ง รถไฟเส้นทางคุนหมิง-เวียงจันทน์ มีระยะทางกว่า 420 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านดอลลาร์ โดยใช้วิธีการลงทุนในรูปแบบลงทุนร่วมกัน โดยรัฐบาลจีน 70% และ สปป.ลาว 30% โดยโครงการจะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างจีนกับอาเซียน เริ่มต้นจากมณฑลยูนนานของจีน ผ่านลาว ไทย มาเลเซีย เข้าไปยังสิงคโปร์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/02/2015 5:15 am    Post subject: Reply with quote

ลาวจี้ไทยชัดเจนลงทุนทางคู่ “วุฒิชาติ”ผู้ว่ารฟท.คนใหม่ ลั่น6เดือนนั่งรถปลอดภัย
ไทยโพสต์ Wednesday, 4 February, 2015

“ลาวขอข้อมูลชัดเจนฝ่ายไทยที่จะเดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เพราะจะเชื่อมต่อ 3 ประเทศ หลังเจรจาไม่เป็นทางการระดับรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1-2 ก.พ.ที่ผ่านมา ด้าน “วุฒิชาติ” ขอเวลา 1 เดือนทำความเข้าใจคนรถไฟ มั่นใจทำงานได้ไม่มีปัญหาแม้เป็นคนนอก ชูนโยบายเดินตามรอยรัฐบาลผลักดันรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ลั่น! ตั้งเป้า 3-6 เดือน เรียกความเชื่อมั่นประชาชนคืน นั่งรถไฟปลอดภัย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 1-2 ก.พ.57 ได้มีการหารือนอกรอบอย่างไม่เป็นทางการระดับรัฐมนตรีกับทาง สปป.ลาว ณ นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างจีน-สปป.ลาว และระหว่างไทย-จีน เป็นรถไฟทางคู่ รางขนาด 1.435 เมตร ซึ่งทาง สปป.ลาว ต้องการความชัดเจนจากฝ่ายไทยที่จะเดินหน้าในโครงการรถไฟไทย-จีน เพราะจะมีผลเชื่อมต่อโครงการระหว่างกัน 3 ประเทศ และมีกำหนดที่จะเริ่มก่อสร้างพร้อมกับโครงการของไทยในช่วงปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559 ด้วย เพื่อการเชื่อมต่อด้านการก่อสร้างที่ใช้เทคโนโลยีในระบบเดียวกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างการก่อสร้าง การบริหารจัดการโครงการ ตลอดจนการซ่อมบำรุง รวมทั้งแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกันด้วย

“ทาง สปป.ลาว ต้องการความชัดเจนจากไทย โดยให้ยืนยันวันเวลาที่ชัดเจน ว่าจะมีการสำรวจออกแบบการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เพื่อที่จะได้ดำเนินโครงการควบคู่กันไป ในเรื่องการก่อสร้าง การแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยีรวมระหว่างกันด้วย อย่างไรก็ตาม รูปแบบการลงทุนระหว่างรถไฟไทยจีนนั้นก็ยังไม่มีข้อสรุป จะต้องรอหารือรอบสุดท้ายในช่วงเดือน ก.พ.2558 นี้ก่อน แต่เรื่องการบริหารโครงการนั้นไทยกับลาวมีความแตกต่างกัน เพราะไทยมีประสบการณ์ แต่ สปป.ลาวไม่มีประสบการณ์ จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากจีนเข้ามาช่วย“ พล.อ.อ.ประจินกล่าว

“ข้อแตกต่างระหว่างไทยกับ สปป.ลาว คือไทยมีประสบการณ์บริหารรถไฟมากว่า 100 ปี มีบทเรียน แต่ สปป.ลาวไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ จึงต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากจีน จึงไม่เหมือนกัน ดังนั้นรูปแบบการลงทุนของไทยจะมีการหารือร่วมกันก่อนที่จะตัดสินใจ“ พล.อ.อ.ประจินกล่าว

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การดำเนินงานหลังเข้ารับตำแหน่งนั้นจะเดินตามนโยบายหลักๆ ของรัฐบาล ทั้งเรื่องของการก่อสร้างในโครงการรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ รถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เนื่องจากเป็นระบบขนส่งสาธารณะที่สำคัญ นอกจากนั้นจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นทางด้านมาตรฐานความปลอดภัย และความสะอาดของห้องน้ำสถานี และห้องน้ำบนขบวนรถไฟ กับประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟไทยกลับคืนมา ซึ่งในส่วนนี้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3-6 เดือนนี้จะเห็นภาพชัดเจนถึงการเปลี่ยนแปลง

ส่วนของการกำหนดทิศทางการทำงานร่วมกับบุคลากรฝ่ายต่างๆ ของ ร.ฟ.ท.นั้น ในสัปดาห์หน้าจะเริ่มพูดทำความเข้าใจกับพนักงานในทุกๆ ฝ่าย และใน 1 เดือนจะกำหนดทิศทางการทำงานกับฝ่ายต่างๆ ใน ร.ฟ.ท.เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน มั่นใจว่าจะทำงานร่วมกันได้ไม่มีปัญหา เพราะบุคลากรของรถไฟเป็นคนมีคุณภาพและพร้อมที่จะก้าวไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ นโยบายหลักๆ จะไม่ปรับเปลี่ยนคนที่ทำงานอยู่เดิม จะเปิดโอกาสให้ทุกคนทำงานเต็มที่ แต่หากส่วนไหนมีปัญหาก็ค่อยมาหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขให้มีทางออก.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2015 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมโว! ก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน คืบหน้าเร็วกว่าแผน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กุมภาพันธ์ 2558 18:24 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน ภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน ว่า ขณะนี้โครงการก่อสร้างเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด การทำงานรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ โดยจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนที่จีนจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจเส้นทางในประเทศไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์ จากเดิมที่วางแผนไว้ว่าจะเริ่มสำรวจได้ในเดือนมีนาคม 2558

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังกล่าวถึงการดำเนินความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นถึงการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนง หรือ MOI ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมไทยกับประเทศญี่ปุ่น ว่า ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะแถลงความชัดเจนอีกครั้งระหว่างการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือก คือ เส้นทางแม่สอด จังหวัดตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กิโลเมตร เส้นทางพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 339 กิโลเมตร และเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กิโลเมตร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2015 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมงบปี 59 เพิ่ม 65%
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น
NowTV26
วันที่ 05 กุมภาพันธ์ 2558

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมได้เตรียมแผนจัดทำงบประมาณประจำปี 2559 ที่ 177,095 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2558 ถึง 65% ส่วนใหญ่เป็นงบประมาณเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) มุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบขนส่งทางราง และการพัฒนาทางหลวงเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี และเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 แห่งตามแนวชายแดน

สำหรับโครงการที่กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งขับเคลื่อน คือโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน เส้นทาง หนองคาย-กรุงเทพ / แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน โดยขณะนี้เหลือการเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 11-13 ก.พ.และปลายเดือน ก.พ.ทางจีนจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจเส้นทาง ซึ่งเร็วกว่ากำหนด จากเดิมจะเริ่มสำรวจได้ในเดือน มี.ค.58
ส่วนการดำเนินความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นจะเป็นความร่วมมือในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐานโดยจะต้องพิจารณาเส้นทางร่วมกัน เช่น แม่สอด จ.ตาก -มุกดาหาร /พุน้ำร้อน (จ.กาญจนบุรี)-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด / กรุงเทพ-เชียงใหม่
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2015 8:11 am    Post subject: Reply with quote

ไทยเหวอต้องถอย! สร้างรถไฟทางคู่ชะงัก จีนให้กู้รีดดอกเบี้ยสูง แถมขอสร้าง-เดินรถเองอีก
มติชนออนไลน์ วันที่ 06 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 07:22:18 น.

การประชุมเพื่อพิจารณาด้านการเงินในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ร่วมไทย-จีน ถึงกับชะงัก เมื่อทางการจีนเสนอดอกเบี้ยในการกู้เงินสูงถึงกว่า 2-4 % ต่างจากที่ไทยเคยกู้จากญี่ปุ่นที่มีดอกเบี้ยเพียง 1.5 %

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนภายใต้บันทึกความเข้าใจ ไทย-จีน เรื่องโครงการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอยมาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร ว่า รัฐบาลจีนเสนอรูปแบบการลงทุนแบบการกู้ร่วมกันผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน โดยฝ่ายจีนเสนออัตราดอกเบี้ย 2-4% ระยะเวลาคืนทุนภายใน 20 ปี นอกจากนี้จีนยังเสนอตัวขอเป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง ก่อสร้างงานโยธาและเดินรถเองด้วย ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันว่าจะเป็นผู้บริหารการเดินรถเอง

ทั้งนี้จากการพิจารณา ฝ่ายไทยเห็นว่า อัตราดอกเบี้ยที่จีนเสนอมายังสูงเกินไป เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินกู้ 1.5% ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) ที่ไทยกู้มาสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งฝ่ายไทยขอให้จีนกลับไปปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก รวมทั้งขอเพิ่มระยะเวลาปลอดหนี้ให้มากขึ้นด้วย ซึ่งฝ่ายจีนจะต้องนำข้อเสนอของไทยไปเสนอให้รัฐบาลพิจารณาก่อนหากจีนลดอัตราดอกเบี้ยแล้วยังไม่พอใจ ไทยก็อาจจะพิจารณาแหล่งเงินกู้แห่งอื่นที่คิดดอกเบี้ยถูกกว่านี้รูปแบบการลงทุนรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ คาดว่าจะสามารถดำเนินการเจรจาในรายละเอียดและได้ข้อสรุปในการประชุมร่วมกับจีนครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-12 ก.พ. 2558 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แต่ยืนยันว่าการดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือ จีทูจี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 185, 186, 187 ... 542, 543, 544  Next
Page 186 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©